ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบแปด

บทสรุปความสมบูรณ์แห่งการเสียสละ

SIMPLE

โศลก 1

arjuna uvāca
sannyāsasya mahā-bāho
tattvam icchāmi veditum
tyāgasya ca hṛṣīkeśa
pṛthak keśi-niṣūdana
อรฺชุน อุวาจ
สนฺนฺยาสสฺย มหา-พาโห
ตตฺตฺวมฺ อิจฺฉามิ เวทิตุมฺ
ตฺยาคสฺย จ หฺฤษีเกศ
ปฺฤถกฺ เกศิ-นิษูทน
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัส, สนฺนฺยาสสฺย — ของการเสียสละ, มหา-พาโห — โอ้ นักรบผู้ยอดเยี่ยม, ตตฺตฺวมฺ — ความจริง, อิจฺฉามิ — ข้าปรารถนา, เวทิตุมฺ — เข้าใจ, ตฺยาคสฺย — การเสียสละ, — เช่นกัน, หฺฤษีเกศ — โอ้ เจ้าแห่งประสาทสัมผัส, ปฺฤถกฺ — แตกต่าง, เกศิ-นิษูทน — โอ้ ผู้สังหารมาร เกศี

คำแปล

อรฺชุน ตรัสว่า โอ้ ยอดนักรบ ข้าปรารถนาที่จะเข้าใจจุดมุ่งหมายแห่งการเสียสละ (ตฺยาค) และชีวิตสละโลก (สนฺนฺยาส) โอ้ ผู้สังหารมาร เกศี โอ้ เจ้าแห่งประสาทสัมผัส

คำอธิบาย

อันที่จริง ภควัท-คีตา จบลงในบทที่สิบเจ็ด บทที่สิบแปดเป็นบทสรุปเสริมประเด็นต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้ว ทุกบทของ ภควัท-คีตา องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเน้นการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อบุคลิกภาพสูงสุดว่าเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต ประเด็นเดียวกันนี้ได้สรุปไว้ในบทที่สิบแปดว่าเป็นวิถีทางแห่งความรู้ที่ลับที่สุด หกบทแรกเน้นถึงการอุทิศตนเสียสละรับใช้ โยคินามฺ อปิ สเรฺวษามฺ “ในบรรดาโยคี หรือนักทิพย์นิยมทั้งหลายผู้ที่ระลึกถึงข้าอยู่ภายในใจเสมอดีที่สุด” หกบทต่อมาได้กล่าวถึงการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์พร้อมทั้งธรรมชาติและกิจกรรม และหกบทสุดท้ายอธิบายถึงความรู้ การเสียสละ กิจกรรมของธรรมชาติวัตถุ ธรรมชาติทิพย์ และการอุทิศตนเสียสละรับใช้ สรุปได้ว่าการปฏิบัติทั้งหมดควรทำไปในความสัมพันธ์กับองค์ภควานฺที่มีคำว่า โอํ ตตฺ สตฺ เป็นผู้แทน ซึ่งแสดงถึงพระวิษฺณุ บุคลิกภาพสูงสุด ส่วนที่สามของ ภควัท-คีตา ได้แสดงว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้คือจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตมิใช่สิ่งอื่นใด ได้มีการสถาปนาเช่นนี้โดยอ้างถึง อาจารฺย ในอดีต และ พฺรหฺม-สูตฺร, เวทานฺต-สูตฺร พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์บางกลุ่มพิจารณาว่าพวกตนมีความรู้ใน เวทานฺต-สูตฺร แต่เพียงผู้เดียว อันที่จริง เวทานฺต-สูตฺร หมายไว้เพื่อให้เข้าใจการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เพราะว่าพระองค์ทรงเป็นผู้รวบรวม และทรงเป็นผู้รู้ เวทานฺต-สูตฺร ซึ่งได้อธิบายไว้ในบทที่สิบห้า ในทุกคัมภีร์และในพระเวททุกเล่มการอุทิศตนเสียสละรับใช้คือวัตถุประสงค์ประเด็นนี้ได้อธิบายไว้ใน ภควัท-คีตา

ดังที่บทที่สองได้ประมวลเรื่องราวทั้งหมดที่กล่าวมา บทที่สิบแปดก็เช่นกันได้สรุปถึงคำสั่งสอนทั้งหมดที่ให้ไว้ แสดงให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายของชีวิตคือการเสียสละ และบรรลุถึงสถานภาพทิพย์เหนือสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ อรฺชุน ทรงปรารถนาที่จะทำให้ทั้งสองประเด็นของ ภควัท-คีตา คือ การเสียสละ (ตฺยาค) และชีวิตสละโลก (สนฺนฺยาส) กระจ่างขึ้น ดังนั้นท่านจึงถามถึงความหมายของสองคำนี้

สองคำที่ใช้ในโศลกนี้แสดงถึงองค์ภควานฺคือคำว่า หฺฤษีเกศ และ เกศิ-นิษูทน มีความสำคัญ หฺฤษีเกศ คือองค์กฺฤษฺณเจ้าแห่งประสาทสัมผัสทั้งหมด ผู้ที่สามารถช่วยเราให้มีความสงบภายในใจเสมอ อรฺชุน ทรงขอร้องให้พระองค์ทรงสรุปทุกสิ่งทุกอย่างที่จะทำให้เกิดความมั่นใจเนื่องจาก อรฺชุน ทรงมีข้อสงสัยบางประการ และข้อสงสัยเปรียบเสมือนมาร ดังนั้นท่านจึงเรียกองค์กฺฤษฺณว่า เกศิ-นิษูทน เกศิ เป็นมารที่น่ารังเกียจที่สุดซึ่งพระองค์ทรงสังหาร บัดนี้ อรฺชุน ทรงคาดหวังให้องค์กฺฤษฺณสังหารมารแห่งความสงสัย

โศลก 2

śrī-bhagavān uvāca
kāmyānāṁ karmaṇāṁ nyāsaṁ
sannyāsaṁ kavayo viduḥ
sarva-karma-phala-tyāgaṁ
prāhus tyāgaṁ vicakṣaṇāḥ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
กามฺยานำ กรฺมณำ นฺยาสํ
สนฺนฺยาสํ กวโย วิทุห์
สรฺว-กรฺม-ผล-ตฺยาคํ
ปฺราหุสฺ ตฺยาคํ วิจกฺษณาห์
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงตรัส, กามฺยานามฺ — ด้วยความปรารถนา, กรฺมณามฺ — ของกิจกรรม, นฺยาสมฺ — การเสียสละ, สนฺนฺยาสมฺ — ชีวิตสละโลก, กวยห์ — ผู้รู้, วิทุห์ — รู้, สรฺว — ทั้งหมด, กรฺม — กิจกรรม, ผล — ผล, ตฺยาคมฺ — การเสียสละ, ปฺราหุห์ — เรียก, ตฺยาคมฺ — การเสียสละ, วิจกฺษณาห์ — ประสบการณ์

คำแปล

บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงตรัสว่า การยกเลิกกิจกรรมที่มีพื้นฐานอยู่ที่ความต้องการทางวัตถุ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่เรียกว่าชีวิตสละโลก (สนฺนฺยาส) และการยกเลิกผลของกิจกรรมทั้งหลายผู้มีปัญญาเรียกว่า การเสียสละ (ตฺยาค)

คำอธิบาย

การปฏิบัติกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ต้องยกเลิก นี่คือคำสั่งสอนของ ภควัท-คีตา แต่กิจกรรมที่นำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าแห่งความรู้ทิพย์ไม่ควรยกเลิกสิ่งเหล่านี้จะทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้นในโศลกต่อๆไป ในวรรณกรรมพระเวทมีวิธีกรรมมากมายในการปฏิบัติพิธีบูชาเพื่อจุดมุ่งหมายบางประการ มีพิธีบูชาบางอย่างทำไปเพื่อให้ได้บุตรที่ดี หรือเพื่อพัฒนาให้ไปยังดาวเคราะห์ที่สูงกว่าแต่พิธีบูชาที่ถูกกระตุ้นด้วยความปรารถนาควรหยุด อย่างไรก็ดีพิธีบูชาเพื่อความบริสุทธิ์แห่งจิตใจของตนเอง หรือเพื่อความเจริญก้าวหน้าในศาสตร์ทิพย์ไม่ควรยกเลิก

โศลก 3

tyājyaṁ doṣa-vad ity eke
karma prāhur manīṣiṇaḥ
yajña-dāna-tapaḥ-karma
na tyājyam iti cāpare
ตฺยาชฺยํ โทษ-วทฺ อิตฺยฺ เอเก
กรฺม ปฺราหุรฺ มนีษิณห์
ยชฺญ-ทาน-ตปห์-กรฺม
น ตฺยาชฺยมฺ อิติ จาปเร
ตฺยาชฺยมฺ — ต้องยกเลิก, โทษ-วตฺ — ว่าเป็นสิ่งชั่วร้าย, อิติ — ดังนั้น, เอเก — กลุ่มหนึ่ง, กรฺม — งาน, ปฺราหุห์ — พวกเขากล่าวว่า, มนีษิณห์ — นักคิดผู้ยิ่งใหญ่, ยชฺญ — ของการบูชา, ทาน — การให้ทาน, ตปห์ — และการบำเพ็ญเพียร, กรฺม — งาน, — ไม่เคย, ตฺยาชฺยมฺ — ยกเลิก, อิติ — ดังนั้น, — และ, อปเร — ผู้อื่น

คำแปล

ผู้รู้บางท่านประกาศว่ากิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุทั้งหมดควรยกเลิกเพราะเป็นสิ่งที่ผิด แต่นักปราชญ์อื่นๆกล่าวว่า การปฏิบัติพิธีบูชา การให้ทาน และการบำเพ็ญเพียรไม่ควรยกเลิก

คำอธิบาย

มีกิจกรรมมากมายในวรรณกรรมพระเวทซึ่งเป็นเรื่องราวต้องถกเถียงกัน ตัวอย่างเช่น ได้กล่าวไว้ว่าสัตว์ถูกฆ่าได้ในพิธีบูชา แต่บางคนยืนยันว่าการฆ่าสัตว์เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจที่สุด ถึงแม้ว่าการฆ่าสัตว์ในพิธีบูชาได้แนะนำไว้ในวรรณกรรมพระเวท แต่ไม่พิจารณาว่าสัตว์ถูกฆ่าเพราะพิธีบูชาจะให้ชีวิตใหม่แก่สัตว์ บางครั้งสัตว์ได้รับชีวิตในร่างสัตว์ตัวใหม่หลังจากถูกฆ่าในพิธีบูชา และบางครั้งได้รับการส่งเสริมให้ไปมีร่างชีวิตมนุษย์ทันที แต่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในหมู่นักปราชญ์ บ้างกล่าวว่าการฆ่าสัตว์ควรหลีกเลี่ยงเสมอ และบ้างก็กล่าวว่าเป็นสิ่งดีหากทำไปเพื่อพิธีบูชา ความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับกิจกรรมพิธีบูชาทั้งหมดนี้ บัดนี้องค์ภควานฺเองจะทรงทำให้กระจ่างขึ้น

โศลก 4

niścayaṁ śṛṇu me tatra
tyāge bharata-sattama
tyāgo hi puruṣa-vyāghra
tri-vidhaḥ samprakīrtitaḥ
นิศฺจยํ ศฺฤณุ เม ตตฺร
ตฺยาเค ภรต-สตฺตม
ตฺยาโค หิ ปุรุษ-วฺยาฆฺร
ตฺริ-วิธห์ สมฺปฺรกีรฺติตห์
นิศฺจยมฺ — แน่นอน, ศฺฤณุ — สดับฟัง, เม — จากข้า, ตตฺร — ณ ที่นี้, ตฺยาเค — ในเรื่องของการเสียสละ, ภรต-สตฺ-ตม — โอ้ ผู้ยอดเยี่ยมแห่งราชวงศ์ ภารต, ตฺยาคห์ — การเสียสละ, หิ — แน่นอน, ปุรุษ-วฺยาฆฺร — โอ้ เสือในหมู่มนุษย์, ตฺริ-วิธห์ — ของสามประเภท, สมฺปฺรกีรฺติตห์ — ประกาศ

คำแปล

โอ้ ผู้ยอดเยี่ยมที่สุดในหมู่ ภารต บัดนี้จงฟังคำตัดสินของข้าเกี่ยวกับการเสียสละ โอ้ เสือในหมู่มนุษย์ ในพระคัมภีร์ได้กล่าวว่าการเสียสละมีอยู่สามประเภท

คำอธิบาย

ถึงแม้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการเสียสละ ที่นี้ศฺรี กฺฤษฺณ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงให้คำพิพากซึ่งควรถือว่าเป็นคำตัดสินสุดท้าย อันที่จริงคัมภีร์พระเวทเป็นกฎหมายที่องค์ภควานฺทรงเป็นผู้ให้ บัดนี้ทรงปรากฏด้วยพระองค์เอง และคำดำรัสขององค์ศฺรี กฺฤษฺณถือว่าเป็นข้อยุติ พระองค์ตรัสว่าวิธีการเสียสละควรพิจารณาในความสัมพันธ์กับสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุที่ปฏิบัติกันอยู่

โศลก 5

yajña-dāna-tapaḥ-karma
na tyājyaṁ kāryam eva tat
yajño dānaṁ tapaś caiva
pāvanāni manīṣiṇām
ยชฺญ-ทาน-ตปห์-กรฺม
น ตฺยาชฺยํ การฺยมฺ เอว ตตฺ
ยชฺโญ ทานํ ตปศฺ ไจว
ปาวนานิ มนีษิณามฺ
ยชฺญ — ของการบูชา, ทาน — การทำงาน, ตปห์ — และการบำเพ็ญเพียร, กรฺม — กิจกรรม, — ไม่เคย, ตฺยาชฺยมฺ — ยกเลิก, การฺยมฺ — ต้องการทำ, เอว — แน่นอน, ตตฺ — นั้น, ยชฺญห์ — การบูชา, ทานมฺ — การให้ทาน, ตปห์ — การบำเพ็ญเพียร, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, ปาวนานิ — บริสุทธิ์, มนีษิณามฺ — แม้แต่ดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่

คำแปล

การปฏิบัติพิธีบูชา การให้ทาน และการบำเพ็ญเพียรไม่ควรยกเลิก ต้องปฏิบัติต่อไป แน่นอนว่าพิธีบูชา การให้ทาน และการบำเพ็ญเพียรทำให้แม้กระทั่งดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่บริสุทธิ์ขึ้น

คำอธิบาย

โยคี ควรปฏิบัติตนเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของสังคมมนุษย์ มีวิธีการเพื่อความบริสุทธิ์มากมายที่ทำให้มนุษย์เจริญรุ่งเรืองในชีวิตทิพย์ ตัวอย่างเช่น พิธีแต่งงานพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในพิธีบูชาเรียกว่า วิวาห-ยชฺญ สนฺนฺยาสี ผู้มีชีวิตสละโลกซึ่งยกเลิกความสัมพันธ์กับทางครอบครัวแล้วควรสนับสนุนพิธีแต่งงานนี้หรือไม่ องค์ภควานฺตรัส ที่นี้ว่าพิธีบูชาใดๆที่หมายไว้เพื่อสวัสดิการแห่งมนุษยชาติไม่ควรยกเลิก วิวาห-ยชฺญ เป็นพิธีแต่งงาน หมายไว้เพื่อประมาณจิตใจทำให้มนุษย์มีความสงบเพื่อความเจริญก้าวหน้าในวิถีทิพย์ สำหรับผู้ชายส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนพิธี วิวาห-ยชฺญ แม้ผู้สละโลกแล้วก็ควรให้การสนับสนุน สนฺนฺยาสี ไม่ควรอยู่ใกล้ชิดกับผู้หญิงแต่นั่นไม่ได้หมายความว่าผู้ที่อยู่ในระดับชีวิตที่ต่ำกว่า เช่น ชายหนุ่มควรถูกห้ามไม่ให้เข้าพิธีแต่งงานเพื่อมีภรรยา พิธีบูชาที่กำหนดไว้ทั้งหมดหมายไว้เพื่อบรรลุถึงองค์ภควานฺ ดังนั้นในระดับที่ต่ำกว่าเราไม่ควรยกเลิกพิธีบูชา ในทำนองเดียวกันการให้ทานก็เพื่อความบริสุทธิ์ของจิตใจ หากทำทานให้แก่บุคคลที่เหมาะสมจะทำให้เราก้าวหน้าในชีวิตทิพย์ ดังที่ได้อธิบายไว้แล้ว

โศลก 6

etāny api tu karmāṇi
saṅgaṁ tyaktvā phalāni ca
kartavyānīti me pārtha
niścitaṁ matam uttamam
เอตานฺยฺ อปิ ตุ กรฺมาณิ
สงฺคํ ตฺยกฺตฺวา ผลานิ จ
กรฺตวฺยานีติ เม ปารฺถ
นิศฺจิตํ มตมฺ อุตฺตมมฺ
เอตานิ — ทั้งหมดนี้, อปิ — แน่นอน, ตุ — แต่, กรฺมาณิ — กิจกรรม, สงฺคมฺ — คบหา, ตฺยกฺตฺวา — เสียสละ, ผลานิ — ผล, — เช่นกัน, กรฺตวฺยานิ — ควรทำไปตามหน้าที่, อิติ — ดังนั้น, เม — ของข้า, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, นิศฺจิตมฺ — แน่นอน, มตมฺ — ความเห็น, อุตฺตมมฺ — ดีที่สุด

คำแปล

กิจกรรมทั้งหลายเหล่านี้ควรปฏิบัติโดยปราศจากความยึดติดหรือหวังผลประโยชน์ใดๆ และควรปฏิบัติไปในฐานะที่เป็นหน้าที่ โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา นั่นคือความเห็นสุดท้ายของข้า

คำอธิบาย

ถึงแม้ว่าพิธีบูชาทั้งหลายจะทำให้บริสุทธิ์เราก็ไม่ควรคาดหวังผลประโยชน์ใดๆจากการกระทำพิธีเหล่านี้ อีกนัยหนึ่งพิธีบูชาทั้งหมดที่หมายไว้เพื่อความเจริญก้าวหน้าในชีวิตทางวัตถุควรยกเลิก แต่พิธีบูชาที่ทำให้ความเป็นอยู่ของตนบริสุทธิ์ขึ้น และพัฒนาไปสู่ระดับทิพย์ไม่ควรยกเลิกทุกสิ่งทุกอย่างที่นำมาสู่กฺฤษฺณจิตสำนึกต้องสนับสนุน ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ กล่าวไว้เช่นกันว่ากิจกรรมใดที่นำมาสู่การอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺควรรับไว้ นั่นคือบรรทัดฐานแห่งศาสนาที่สูงสุด สาวกขององค์ภควานฺควรยอมรับงาน พิธีบูชา หรือการให้ทานทุกชนิดที่จะช่วยตนเองในการปฏิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อพระองค์

โศลก 7

niyatasya tu sannyāsaḥ
karmaṇo nopapadyate
mohāt tasya parityāgas
tāmasaḥ parikīrtitaḥ
นิยตสฺย ตุ สนฺนฺยาสห์
กรฺมโณ โนปปทฺยเต
โมหาตฺ ตสฺย ปริตฺยาคสฺ
ตามสห์ ปริกีรฺติตห์
นิยตสฺย — กำหนดไว้, ตุ — แต่, สนฺนฺยาสห์ — การเสียสละ, กรฺมณห์ — ของกิจกรรม, — ไม่เคย, อุปปทฺยเต — ควรได้, โมหาตฺ — ด้วยความหลง, ตสฺย — ของพวกเขา, ปริตฺยาคห์ — เสียสละ, ตามสห์ — ในระดับอวิชชา, ปริกีรฺติตห์ — ประกาศ

คำแปล

หน้าที่ที่กำหนดไว้ไม่ควรยกเลิก หากยกเลิกหน้าที่ที่กำหนดไว้เนื่องจากความหลง การเสียสละเช่นนี้กล่าวว่าอยู่ในระดับอวิชชา

คำอธิบาย

งานเพื่อความพึงพอใจทางวัตถุต้องยกเลิก แต่กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ไปสู่กิจกรรมทิพย์ เช่น การปรุงอาหารเพื่อถวายแด่องค์ภควานฺและการรับประทานอาหารเหล่านี้ได้แนะนำให้ปฏิบัติ ได้กล่าวไว้ว่าบุคคลในระดับชีวิตสละโลกไม่ควรปรุงอาหารเพื่อตนเอง การปรุงอาหารเพื่อตนเองต้องห้ามแต่การปรุงอาหารเพื่อองค์ภควานฺมิได้ห้าม ในทำนองเดียวกัน สนฺนฺยาสี อาจปฏิบัติพิธีแต่งงานเพื่อช่วยให้สาวกของตนเจริญก้าวหน้าในกฺฤษฺณจิตสำนึก หากยกเลิกกิจกรรมเหล่านี้เข้าใจได้ว่าเขาปฏิบัติในระดับแห่งความมืด

โศลก 8

duḥkham ity eva yat karma
kāya-kleśa-bhayāt tyajet
sa kṛtvā rājasaṁ tyāgaṁ
naiva tyāga-phalaṁ labhet
ทุห์ขมฺ อิตฺยฺ เอว ยตฺ กรฺม
กาย-เกฺลศ-ภยาตฺ ตฺยเชตฺ
ส กฺฤตฺวา ราชสํ ตฺยาคํ
ไนว ตฺยาค-ผลํ ลเภตฺ
ทุห์ขมฺ — ไม่มีความสุข, อิติ — ดังนั้น, เอว — แน่นอน, ยตฺ — ซึ่ง, กรฺม — งาน, กาย — สำหรับร่างกาย, เกฺลศ — ปัญหา, ภยาตฺ — เนื่องจากความกลัว, ตฺยเชตฺ — ยกเลิก, สห์ — เขา, กฺฤตฺวา — หลังจากกระทำ, ราชสมฺ — ในระดับตัณหา, ตฺยาคมฺ — ความเสียสละ, — ไม่, เอว — แน่นอน, ตฺยาค — แห่งการเสียสละ, ผลมฺ — ผล, ลเภตฺ — อีกครั้ง

คำแปล

ผู้ใดยกเลิกหน้าที่ที่กำหนดไว้ว่าเป็นปัญหา หรือเนื่องจากกลัวความไม่สะดวกทางร่างกาย กล่าวว่าผู้นั้นเสียสละในระดับตัณหา การเสียสละเช่นนี้จะไม่ทำให้เขาพัฒนาขึ้น

คำอธิบาย

ผู้อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่ควรยกเลิกการหาเงินเนื่องจากกลัวว่าตนเองปฏิบัติกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ การทำงานและใช้เงินในกฺฤษฺณจิตสำนึก หรือการตื่นนอนแต่เช้าและเจริญก้าวหน้าในกฺฤษฺณจิตสำนึกทิพย์ไม่ควรยกเลิกเนื่องมาจากความกลัว หรือเนื่องจากพิจารณาว่ากิจกรรมเหล่านี้เป็นปัญหาการเสียสละเช่นนี้อยู่ในระดับตัณหา ผลแห่งงานในระดับตัณหาจะเป็นความเศร้าเสมอหากบุคคลสละงานด้วยความรู้สึกเช่นนั้นจะไม่ได้รับผลแห่งการเสียสละ

โศลก 9

kāryam ity eva yat karma
niyataṁ kriyate ’rjuna
saṅgaṁ tyaktvā phalaṁ caiva
sa tyāgaḥ sāttviko mataḥ
การฺยมฺ อิตฺยฺ เอว ยตฺ กรฺม
นิยตํ กฺริยเต ’รฺชุน
สงฺคํ ตฺยกฺตฺวา ผลํ ไจว
ส ตฺยาคห์ สาตฺตฺวิโก มตห์
การฺยมฺ — ต้องกระทำ, อิติ — ดังนั้น, เอว — แน่นอน, ยตฺ — ซึ่ง, กรฺม — งาน, นิยตมฺ — กำหนด, กฺริยเต — ปฏิบัติ, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน, สงฺคมฺ — คบหา, ตฺยกฺตฺวา — ยกเลิก, ผลมฺ — ผล, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, สห์ — นั้น, ตฺยาคห์ — การเสียสละ, สาตฺตฺวิกห์ — ในระดับความดี, มตห์ — ในความเห็นของข้า

คำแปล

โอ้ อรฺชุน เมื่อเขาปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้เนื่องจากเพียงเห็นว่าควรจะทำเท่านั้น โดยสละการคบหาสมาคมทางวัตถุ และการยึดติดต่อผลทั้งหมด การเสียสละเช่นนี้อยู่ในระดับความดี

คำอธิบาย

หน้าที่ที่กำหนดไว้ต้องกระทำด้วยแนวคิดเช่นนี้ เราควรปฏิบัติโดยไม่ยึดติดต่อผลของงาน และไม่ควรสัมพันธ์กับระดับต่างๆของงาน บุคคลที่ทำงานด้วยกฺฤษฺณจิตสำนึกในโรงงานมิได้สัมพันธ์ตนเองกับงานที่โรงงานหรือกับพนักงานอื่นๆในโรงงาน เขาเพียงแต่ทำงานเพื่อองค์กฺฤษฺณ และเมื่อยกผลงานให้องค์กฺฤษฺณการปฏิบัติเช่นนี้เป็นทิพย์

โศลก 10

na dveṣṭy akuśalaṁ karma
kuśale nānuṣajjate
tyāgī sattva-samāviṣṭo
medhāvī chinna-saṁśayaḥ
น เทฺวษฺฏฺยฺ อกุศลํ กรฺม
กุศเล นานุษชฺชเต
ตฺยาคี สตฺตฺว-สมาวิษฺโฏ
เมธาวี ฉินฺน-สํศยห์
— ไม่เคย, เทฺวษฺฏิ — เกลียด, อกุศลมฺ — ไม่เป็นมงคล, กรฺม — งาน, กุศเล — มงคล, — ไม่, อนุษชฺชเต — ยึดติด, ตฺยาคี — ผู้เสียสละ, สตฺตฺว — ในความดี, สมาวิษฺฏห์ — ซึมซาบ, เมธาวี — ปัญญา, ฉินฺน — ตัดออก, สํศยห์ — ความสงสัยทั้งหมด

คำแปล

ผู้เสียสละที่มีปัญญาสถิตในระดับความดีจะไม่เกลียดงานอัปมงคล หรือยึดติดกับงานมงคล และจะไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับงาน

คำอธิบาย

บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกหรือในระดับความดี ไม่เกลียดผู้ใดหรือสิ่งใดที่สร้างปัญหาให้ร่างกายของตน เขาจะทำงานในสถานที่และเวลาที่เหมาะสมโดยไม่กลัวต่อปัญหาที่จะมากระทบต่อหน้าที่ บุคคลผู้สถิตในระดับทิพย์เช่นนี้ควรเข้าใจว่ามีปัญญาสูงสุดอยู่เหนือความสงสัยในกิจกรรมทั้งปวง

โศลก 11

na hi deha-bhṛtā śakyaṁ
tyaktuṁ karmāṇy aśeṣataḥ
yas tu karma-phala-tyāgī
sa tyāgīty abhidhīyate
น หิ เทห-ภฺฤตา ศกฺยํ
ตฺยกฺตุํ กรฺมาณฺยฺ อเศษตห์
ยสฺ ตุ กรฺม-ผล-ตฺยาคี
ส ตฺยาคีตฺยฺ อภิธียเต
— ไม่เคย, หิ — แน่นอน, เทห-ภฺฤตา — โดยร่างกาย, ศกฺยมฺ — เป็นไปได้, ตฺยกฺตุมฺ — เสียสละ, กรฺมาณิ — กิจกรรม, อเศษตห์ — ทั้งหมด, ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, ตุ — แต่, กรฺม — ของงาน, ผล — ของผล, ตฺยาคี — ผู้เสียสละ, สห์ — เขา, ตฺยาคี — ผู้เสียสละ, อิติ — ดังนั้น, อภิธียเต — กล่าวว่า

คำแปล

แน่นอนว่าเป็นไปไม่ได้สำหรับสิ่งมีชีวิตผู้อยู่ในร่างกายที่จะยกเลิกกิจกรรมทั้งหมด แต่ผู้สละผลของกิจกรรมได้ชื่อว่าเป็นผู้เสียสละที่แท้จริง

คำอธิบาย

ได้กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา ว่าเราไม่สามารถยกเลิกงานไม่ว่าในขณะใด ดังนั้นผู้ทำงานให้องค์กฺฤษฺณและไม่รื่นเริงกับผลทางวัตถุ ถวายทุกสิ่งทุกอย่างแด่องค์กฺฤษฺณนั้นเป็นผู้เสียสละที่แท้จริง มีสมาชิกของสมาคมนานาชาติเพื่อกฺฤษฺณจิตสำนึกมากมายที่ทำงานหนักมากในสำนักงาน โรงงาน หรือสถานที่อื่นๆ เงินที่ได้มาพวกนี้ถวายแก่สมาคม ดวงวิญญาณผู้เจริญเหล่านี้เป็น สนฺนฺยาสี และสถิตในชีวิตสละโลกที่แท้จริง ได้กล่าวโดยย่ออย่างชัดเจน ที่นี้ว่าเราควรจะสละผลของงานอย่างไรและสละผลเพื่อจุดมุ่งหมายอันใด

โศลก 12

aniṣṭam iṣṭaṁ miśraṁ ca
tri-vidhaṁ karmaṇaḥ phalam
bhavaty atyāgināṁ pretya
na tu sannyāsināṁ kvacit
อนิษฺฏมฺ อิษฺฏํ มิศฺรํ จ
ตฺริ-วิธํ กรฺมณห์ ผลมฺ
ภวตฺยฺ อตฺยาคินำ เปฺรตฺย
น ตุ สนฺนฺยาสินำ กฺวจิตฺ
อนิษฺฏมฺ — นำไปสู่นรก, อิษฺฏมฺ — นำไปสู่สวรรค์, มิศฺรมฺ — ผสม, — และ, ตฺริ-วิธมฺ — ของสามประเภท, กรฺมณห์ — ของงาน, ผลมฺ — ผล, ภวติ — มา, อตฺยาคินามฺ — ของพวกที่ไม่เสียสละ, เปฺรตฺย — หลังจากตายไป, — ไม่, ตุ — แต่, สนฺนฺยาสินามฺ — สำหรับพวกสละโลก, กฺวจิตฺ — ทุกขณะ

คำแปล

สำหรับผู้ไม่เสียสละผลทั้งสามแห่งกิจกรรม เช่น สิ่งที่ปรารถนา สิ่งที่ไม่ปรารถนา และที่ผสมกัน ผลนั้นจะเพิ่มพูนขึ้นหลังจากตายไป แต่พวกที่อยู่ในชีวิตสละโลกไม่มีผลที่จะเศร้าโศกหรือรื่นเริงเช่นนี้

คำอธิบาย

บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกที่ปฏิบัติในความรู้แห่งความสัมพันธ์ระหว่างตนเององค์กฺฤษฺณเป็นผู้หลุดพ้นเสมอ ดังนั้นเขาไม่ต้องรื่นเริง หรือเศร้าโศกกับผลจากการกระทำของตนเองหลังจากตายไป

โศลก 13

pañcaitāni mahā-bāho
kāraṇāni nibodha me
sāṅkhye kṛtānte proktāni
siddhaye sarva-karmaṇām
ปญฺไจตานิ มหา-พาโห
การณานิ นิโพธ เม
สางฺเขฺย กฺฤตานฺเต โปฺรกฺตานิ
สิทฺธเย สรฺว-กรฺมณามฺ
ปญฺจ — ห้า, เอตานิ — เหล่านี้, มหา-พาโห — โอ้ นักรบผู้ยอดเยี่ยม, การณานิ — สาเหตุ, นิโพธ — เพียงเข้าใจ, เม — จากข้า, สางฺเขฺย — ใน เวทานฺต, กฺฤต-อนฺเต — ในบทสรุป, โปฺรกฺตานิ — กล่าว, สิทฺธเย — เพื่อความสมบูรณ์, สรฺว — ของทั้งหมด, กรฺมณามฺ — กิจกรรม

คำแปล

โอ้ อรฺชุน นักรบผู้ยอดเยี่ยม ตาม เวทานฺต มีเหตุห้าประการเพื่อความสำเร็จในการกระทำทั้งหมด บัดนี้จงเรียนรู้สิ่งเหล่านี้จากข้า

คำอธิบาย

อาจมีคำถามว่าเนื่องจากไม่ว่ากิจกรรมใดที่กระทำไปต้องมีผลกรรมบางอย่างแล้วบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่รับทุกข์หรือรื่นเริงกับผลของงานได้อย่างไร องค์ภควานฺทรงอ้างปรัชญา เวทานฺต เพื่อแสดงให้เห็นว่ามันเป็นไปได้อย่างไร พระองค์ตรัสว่ามีสาเหตุห้าประการสำหรับกิจกรรมทั้งหลาย และเพื่อความสำเร็จในกิจกรรมทั้งปวงเราควรพิจารณาสาเหตุทั้งห้านี้ สางฺขฺย หมายถึงแกนแห่งความรู้ และ เวทานฺต คือแกนสุดท้ายแห่งความรู้ที่ อาจารฺย ผู้นำทั้งหลายยอมรับ แม้แต่ ศงฺกร ยังยอมรับ เวทานฺต-สูตฺร เช่นเดียวกันนี้ ฉะนั้นเราควรปรึกษาผู้น่าเชื่อถือได้ประเภทนี้

การควบคุมขั้นสุดท้ายอยู่ที่องค์อภิวิญญาณดังที่ได้กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา ว่า สรฺวสฺย จาหํ หฺฤทิ สนฺนิวิษฺฏห์ พระองค์ทรงให้ทุกคนทำกิจกรรมบางอย่างด้วยการเตือนถึงกรรมในอดีต การปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกกระทำไปภายใต้การชี้นำขององค์ภควานฺจากภายใน และจะไม่มีผลกรรมไม่ว่าในชาตินี้หรือในชาติต่อๆไป

โศลก 14

adhiṣṭhānaṁ tathā kartā
karaṇaṁ ca pṛthag-vidham
vividhāś ca pṛthak ceṣṭā
daivaṁ caivātra pañcamam
อธิษฺฐานํ ตถา กรฺตา
กรณํ จ ปฺฤถคฺ-วิธมฺ
วิวิธาศฺ จ ปฺฤถกฺ เจษฺฏา
ไทวํ ไจวาตฺร ปญฺจมมฺ
อธิษฺฐานมฺ — สถานที่, ตถา — เช่นกัน, กรฺตา — ผู้ทำงาน, กรณมฺ — เครื่องมือ, — และ, ปฺฤถกฺ-วิธมฺ — ของสิ่งต่างๆ, วิวิธาห์ — ต่างๆ, — และ, ปฺฤถกฺ — แยกออก, เจษฺฏาห์ — ความพยายาม, ไทวมฺ — องค์ภควานฺ, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, อตฺร — ที่นี่, ปญฺจมมฺ — ที่ห้า

คำแปล

สถานที่แห่งกิจกรรม (ร่างกาย) ผู้กระทำ ประสาทสัมผัสต่างๆ ความพยายามอันมากมาย และในที่สุดองค์อภิวิญญาณ สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยทั้งห้าของกิจกรรม

คำอธิบาย

คำว่า อธิษฺฐานมฺ หมายถึงร่างกาย ดวงวิญญาณภายในร่างกายปฏิบัติเพื่อนำผลแห่งกิจกรรมมาดังนั้นจึงเรียกว่า กรฺตา “ผู้กระทำ” ดวงวิญญาณเป็นผู้รู้และผู้กระทำได้กล่าวไว้ใน ศฺรุติ ว่า เอษ หิ ทฺรษฺฏา สฺรษฺฏา (ปฺรศฺน อุปนิษทฺ 4.9) ได้ยืนยันไว้ใน เวทานฺต-สูตฺร เช่นกัน ด้วยโศลก ชฺโญ ’ต เอว (2.3.18) และ กรฺตา ศาสฺตฺรารฺถวตฺตฺวาตฺ (2.3.33) เครื่องมือของกิจกรรมคือประสาทสัมผัสต่างๆ และจากประสาทสัมผัสดวงวิญญาณปฏิบัติในวิธีต่างๆนานาแต่ละกิจกรรมมีความพยายามที่แตกต่างกัน แต่กิจกรรมทั้งหมดขึ้นอยู่กับความปรารถนาขององค์อภิวิญญาณผู้ทรงประทับอยู่ภายในหัวใจในฐานะที่เป็นสหาย องค์ภควานฺทรงเป็นสาเหตุสูงสุดภายใต้สถานการณ์เหล่านี้ ผู้ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกภายใต้การชี้นำขององค์อภิวิญญาณผู้ทรงสถิตภายในหัวใจโดยธรรมชาติจะไม่ถูกพันธนาการด้วยกิจกรรมใดๆ พวกที่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ในที่สุดจะไม่รับผิดชอบต่อกิจกรรมของตนเอง ทุกสิ่งขึ้นอยู่กับความปรารถนาสูงสุดขององค์อภิวิญญาณบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า

โศลก 15

śarīra-vāṅ-manobhir yat
karma prārabhate naraḥ
nyāyyaṁ vā viparītaṁ vā
pañcaite tasya hetavaḥ
ศรีร-วางฺ-มโนภิรฺ ยตฺ
กรฺม ปฺรารภเต นรห์
นฺยายฺยํ วา วิปรีตํ วา
ปญฺไจเต ตสฺย เหตวห์
ศรีร — โดยร่างกาย, วากฺ — การพูด, มโนภิห์ — และจิตใจ, ยตฺ — ซึ่ง, กรฺม — งาน, ปฺรารภเต — เริ่ม, นรห์ — บุคคล, นฺยายฺยมฺ — ถูกต้อง, วา — หรือ, วิปรีตมฺ — ตรงกันข้าม, วา — หรือ, ปญฺจ — ห้า, เอเต — ทั้งหมดนี้, ตสฺย — ของมัน, เหตวห์ — สาเหตุ

คำแปล

กิจกรรมไม่ว่าถูกหรือผิดที่มนุษย์ปฏิบัติด้วยร่างกาย จิตใจ หรือคำพูด ปัจจัยทั้งห้านี้เป็นต้นเหตุ

คำอธิบาย

คำว่า “ถูก” และ “ผิด” มีความสำคัญมากในโศลกนี้ งานที่ถูกต้องคืองานที่กระทำไปตามคำชี้นำที่กำหนดไว้ในพระคัมภีร์ และงานที่ผิดคืองานที่กระทำโดยละเมิดหลักธรรมคำสั่งสอนของพระคัมภีร์ แต่สิ่งใดที่กระทำไปจำเป็นต้องมีปัจจัยทั้งห้านี้เพื่อการปฏิบัติที่สมบูรณ์

โศลก 16

tatraivaṁ sati kartāram
ātmānaṁ kevalaṁ tu yaḥ
paśyaty akṛta-buddhitvān
na sa paśyati durmatiḥ
ตไตฺรวํ สติ กรฺตารมฺ
อาตฺมานํ เกวลํ ตุ ยห์
ปศฺยตฺยฺ อกฺฤต-พุทฺธิตฺวานฺ
น ส ปศฺยติ ทุรฺมติห์
ตตฺร — ที่นั่น, เอวมฺ — ดังนั้น, สติ — เป็น, กรฺตารมฺ — ผู้ปฏิบัติงาน, อาตฺมานมฺ — ตัวเขา, เกวลมฺ — เท่านั้น, ตุ — แต่, ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, ปศฺยติ — เห็น, อกฺฤต-พุทฺธิตฺวาตฺ — เนื่องจากไม่มีปัญญา, — ไม่เคย, สห์ — เขา, ปศฺยติ — เห็น, ทุรฺมติห์ — โง่

คำแปล

ดังนั้นผู้ที่คิดว่าตนเองเท่านั้นเป็นผู้กระทำโดยไม่พิจารณาถึงปัจจัยทั้งห้า แน่นอนว่าไม่มีปัญญา และไม่สามารถเห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง

คำอธิบาย

คนโง่ไม่สามารถเข้าใจว่าองค์อภิวิญญาณทรงประทับในฐานะที่ทรงเป็นพระสหายอยู่ภายใน และทรงดำเนินกิจกรรมต่างๆของเขา ถึงแม้จะมีสาเหตุทางวัตถุ เช่น สถานที่ ผู้ปฏิบัติ ความพยายาม และประสาทสัมผัส แต่สาเหตุสุดท้ายคือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ฉะนั้นเราไม่ควรเพียงแต่เห็นสาเหตุสี่ประการทางวัตถุเท่านั้น แต่ควรเห็นสาเหตุที่มีศักยภาพสูงสุดด้วย ผู้ที่ไม่เห็นองค์ภควานฺคิดว่าตนเองเป็นผู้กระทำ

โศลก 17

yasya nāhaṅkṛto bhāvo
buddhir yasya na lipyate
hatvāpi sa imāḻ lokān
na hanti na nibadhyate
ยสฺย นาหงฺกฺฤโต ภาโว
พุทฺธิรฺ ยสฺย น ลิปฺยเต
หตฺวาปิ ส อิมาฬฺ โลกานฺ
น หนฺติ น นิพธฺยเต
ยสฺย — ผู้ซึ่ง, — ไม่เคย, อหงฺกฺฤตห์ — ของอหังการ, ภาวห์ — ธรรมชาติ, พุทฺธิห์ — ปัญญา, ยสฺย — ผู้ซึ่ง, — ไม่เคย, ลิปฺยเต — ยึดติด, หตฺวา — สังหาร, อปิ — แม้, สห์ — เขา, อิมานฺ — นี้, โลกานฺ — โลก, — ไม่เคย, หนฺติ — สังหาร, — ไม่เคย, นิพธฺยเต — ถูกพันธนาการ

คำแปล

ผู้ที่ไม่ถูกกระตุ้นด้วยอหังการ ผู้ที่ปัญญาไม่ถูกพันธนาการ ถึงแม้สังหารมนุษย์ในโลกนี้เขาก็มิได้สังหาร และจะไม่ถูกพันธนาการด้วยกิจกรรมของตนเอง

คำอธิบาย

โศลกนี้องค์ภควานฺทรงให้ข้อมูลแก่ อรฺชุน ว่าความปรารถนาที่จะไม่สู้รบเกิดจากอหังการ อรฺชุน ทรงคิดว่าตนเองเป็นผู้กระทำกิจกรรม แต่มิได้พิจารณาถึงการอนุมัติสูงสุดทั้งภายในและภายนอก หากไม่รู้ว่ามีการอนุมัติสูงสุดแล้ว อรฺชุน จะทรงปฏิบัติไปทำไม แต่ผู้ที่รู้เครื่องมือของงานตัวเขาเป็นผู้ทำงาน และองค์ภควานฺทรงเป็นผู้อนุมัติสูงสุดเป็นผู้ที่สมบูรณ์ในการกระทำทุกสิ่งทุกอย่าง บุคคลเช่นนี้ไม่อยู่ในความหลงกิจกรรมส่วนตัว และความรับผิดชอบเกิดขึ้นจากอหังการ และความไม่มีธรรมะหรือขาดกฺฤษฺณจิตสำนึก ผู้ใดที่ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกภายใต้การชี้นำขององค์อภิวิญญาณ หรือองค์ภควานฺ ถึงแม้ว่ากำลังสังหารเขามิได้สังหาร และจะไม่ได้รับผลกรรมจากการสังหารเช่นนั้นด้วย เมื่อทหารปฏิบัติการภายใต้คำสั่งของผู้บังคับบัญชาจะไม่ถูกจับขึ้นศาล แต่หากทหารสังหารด้วยเหตุผลส่วนตัวแน่นอนว่าเขาจะต้องถูกศาลตัดสิน

โศลก 18

jñānaṁ jñeyaṁ parijñātā
tri-vidhā karma-codanā
karaṇaṁ karma karteti
tri-vidhaḥ karma-saṅgrahaḥ
ชฺญานํ เชฺญยํ ปริชฺญาตา
ตฺริ-วิธา กรฺม-โจทนา
กรณํ กรฺม กรฺเตติ
ตฺริ-วิธห์ กรฺม-สงฺคฺรหห์
ชฺญานมฺ — ความรู้, ชฺเญยมฺ — จุดมุ่งหมายของความรู้, ปริชฺญาตา — ผู้รู้, ตฺริ-วิธา — สามประเภท, กรฺม — ของงาน, โจทนา — แรงกระตุ้น กรณมฺ — ประสาทสัมผัสต่างๆ, กรฺม — งาน, กรฺตา — ผู้กระทำ, อิติ — ดังนั้น, ตฺริ-วิธห์ — สามประเภท, กรฺม — ของงาน, สงฺคฺรหห์ — การสะสม

คำแปล

ความรู้ จุดมุ่งหมายของความรู้ และผู้รู้ คือสามปัจจัยที่กระตุ้นการกระทำประสาทสัมผัสต่างๆ งาน และผู้กระทำคือส่วนประกอบทั้งสามของการกระทำ

คำอธิบาย

มีแรงกระตุ้นสามอย่างสำหรับงานประจำวันคือ ความรู้ จุดมุ่งหมายของความรู้ และผู้รู้ เครื่องมือของงาน ตัวงานเอง และผู้ทำงานเรียกว่าส่วนประกอบของงาน งานใดๆที่มนุษย์กระทำจะมีส่วนประกอบเหล่านี้ก่อนลงมือกระทำจะมีแรงกระตุ้นบางอย่างเรียกว่า แรงดลใจ ผลลัพธ์ใดๆที่ได้รับก่อนที่งานจะสำเร็จเสร็จสิ้นเป็นรูปแบบที่ละเอียดอ่อนของงาน จากนั้นงานดำเนินไปในรูปของการลงมือทำก่อนอื่นเขาต้องผ่านวิธีการทางจิตวิทยา เช่น ความคิด ความรู้สึก ความยินดีเต็มใจ เช่นนี้เรียกว่าแรงกระตุ้น แรงดลใจในการทำงานนั้นเหมือนกันหากมาจากคัมภีร์หรือจากคำสั่งสอนของพระอาจารย์ทิพย์ เมื่อมีแรงดลใจและมีผู้ปฏิบัติงานกิจกรรมจริงจะเกิดขึ้นด้วยการช่วยเหลือของประสาทสัมผัสต่างๆรวมทั้งจิตใจ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของประสาทสัมผัสทั้งหมด เมื่อส่วนประกอบของกิจกรรมทั้งหมดรวมกันเข้าเรียกว่า การสะสมของงาน

โศลก 19

jñānaṁ karma ca kartā ca
tridhaiva guṇa-bhedataḥ
procyate guṇa-saṅkhyāne
yathāvac chṛṇu tāny api
ชฺญานํ กรฺม จ กรฺตา จ
ตฺริไธว คุณ-เภทตห์
โปฺรจฺยเต คุณ-สงฺขฺยาเน
ยถาวจฺ ฉฺฤณุ ตานฺยฺ อปิ
ชฺญานมฺ — ความรู้, กรฺม — งาน, — เช่นกัน, กรฺตา — ผู้ปฏิบัติงาน, — เช่นกัน, ตฺริธา — สามประเภท, เอว — แน่นอน, คุณ-เภทตห์ — ตามระดับต่างๆของธรรมชาติวัตถุ, โปฺรจฺยเต — กล่าวว่า, คุณ-สงฺขฺยาเน — ตามระดับต่างๆ, ยถา-วตฺ — ตามที่พวกเขาเป็น, ศฺฤณุ — สดับฟัง, ตานิ — ทั้งหมด, อปิ — เช่นกัน

คำแปล

ตามสามระดับที่แตกต่างกันของธรรมชาติวัตถุมีความรู้ การกระทำ และผู้ปฏิบัติการอยู่สามประเภท บัดนี้จงฟังสิ่งเหล่านี้จากข้า

คำอธิบาย

บทที่สิบสี่กล่าวถึงการแบ่งระดับต่างๆของธรรมชาติวัตถุ ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดว่าระดับความดีส่องแสงสว่าง ระดับตัณหาเป็นวัตถุนิยม และระดับอวิชชานำมาซึ่งความเกียจคร้านและอยู่นิ่งเฉย ระดับทั้งหมดของธรรมชาติวัตถุผูกมัดเรา สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่แหล่งแห่งความหลุดพ้น แม้ในระดับความดีก็ยังอยู่ในพันธสภาวะ บทที่สิบเจ็ดได้อธิบายถึงการบูชาต่างๆของมนุษย์ที่ไม่เหมือนกันตามระดับต่างๆของธรรมชาติวัตถุ โศลกนี้องค์ภควานฺตรัสว่าพระองค์ทรงปรารถนาจะตรัสเกี่ยวกับความรู้ต่างๆ ผู้ปฏิบัติงาน และตัวของงานเองตามสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ

โศลก 20

sarva-bhūteṣu yenaikaṁ
bhāvam avyayam īkṣate
avibhaktaṁ vibhakteṣu
taj jñānaṁ viddhi sāttvikam
สรฺว-ภูเตษุ เยไนกํ
ภาวมฺ อวฺยยมฺ อีกฺษเต
อวิภกฺตํ วิภกฺเตษุ
ตชฺ ชฺญานํ วิทฺธิ สาตฺตฺวิกมฺ
สรฺว-ภูเตษุ — ในมวลชีวิต, เยน — ซึ่ง, เอกมฺ — หนึ่ง, ภาวมฺ — สถิต, อวฺยยมฺ — ไม่สูญสิ้น, อีกฺษเต — เขาเห็น, อวิภกฺตมฺ — ไม่แบ่งแยก, วิภกฺเตษุ — แบ่งออกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน, ตตฺ — นั้น, ชฺญานมฺ — ความรู้, วิทฺธิ — รู้, สาตฺตฺวิกมฺ — ในระดับความดี

คำแปล

ความรู้ที่ทำให้เห็นธรรมชาติทิพย์ซึ่งไม่มีการแบ่งแยกในมวลชีวิต ถึงแม้ว่าพวกเขาแบ่งออกเป็นรูปลักษณ์นับจำนวนไม่ถ้วน เธอก็ควรเข้าใจว่าอยู่ในระดับความดี

คำอธิบาย

บุคคลที่เห็นดวงวิญญาณในทุกๆชีวิตไม่ว่าจะเป็นเทวดา มนุษย์ สัตว์ นก สัตว์เดรัจฉาน สัตว์น้ำ หรือต้นไม้ เป็นผู้ที่มีความรู้ในระดับความดี ในสิ่งมีชีวิตทั้งหลายนั้นจะมีหนึ่งดวงวิญญาณอยู่หนึ่งดวง ถึงแม้ว่ามีร่างกายที่แตกต่างกันตามกรรมในอดีต ดังที่ได้อธิบายไว้ในบทที่สิบเจ็ดว่า ปรากฏการณ์ของพลังชีวิตในทุกร่างเนื่องมาจากธรรมชาติที่สูงกว่าขององค์ภควานฺ ดังนั้นจึงเห็นธรรมชาติที่สูงกว่า การเห็นพลังชีวิตในทุกร่างคือการเห็นในระดับความดี พลังชีวิตไม่มีวันสูญสลายถึงแม้ว่าร่างกายแตกสลาย ข้อแตกต่างสำเหนียกเห็นทางร่างกายเพราะว่ามีรูปลักษณ์มากมายในความเป็นอยู่ทางวัตถุของพันธชีวิต พลังชีวิตดูเหมือนแบ่งแยก ความรู้ที่ไม่เชื่อในรูปลักษณ์เช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของความรู้แจ้งแห่งตน

โศลก 21

pṛthaktvena tu yaj jñānaṁ
nānā-bhāvān pṛthag-vidhān
vetti sarveṣu bhūteṣu
taj jñānaṁ viddhi rājasam
ปฺฤถกฺเตฺวน ตุ ยชฺ ชฺญานํ
นานา-ภาวานฺ ปฺฤถคฺ-วิธานฺ
เวตฺติ สเรฺวษุ ภูเตษุ
ตชฺ ชฺญานํ วิทฺธิ ราชสมฺ
ปฺฤถกฺเตฺวน — เนื่องจากการแบ่งแยก, ตุ — แต่, ยตฺ — ซึ่ง, ชฺญานมฺ — ความรู้, นานา-ภาวานฺ — สภาวะอันหลากหลาย, ปฺฤถกฺ-วิธานฺ — แตกต่าง, เวตฺติ — รู้, สเรฺวษุ — ในทั้งหมด, ภูเตษุ — สิ่งมีชีวิต, ตตฺ — นั้น, ชฺญานมฺ — ความรู้, วิทฺธิ — ต้องรู้, ราชสมฺ — ในระดับตัณหา

คำแปล

ความรู้ที่ทำให้เห็นว่าในทุกๆร่างกายที่แตกต่างกันมีสิ่งมีชีวิตที่ไม่เหมือนกันนั้น เธอควรเข้าใจว่าอยู่ในระดับตัณหา

คำอธิบาย

แนวคิดที่ว่าร่างวัตถุคือสิ่งมีชีวิต และเมื่อร่างกายแตกสลายจิตสำนึกก็ถูกทำลายไปด้วยเช่นกัน เช่นนี้เป็นความรู้ในระดับตัณหา ตามความรู้นี้ร่างกายต่างๆไม่เหมือนกันก็เนื่องมาจากการพัฒนาจิตสำนึกที่แตกต่างกัน มิฉะนั้นจะไม่มีดวงวิญญาณที่แยกออกไปซึ่งปรากฏมาเป็นจิตสำนึก ร่างกายเป็นดวงวิญญาณในตัวเอง ไม่มีดวงวิญญาณที่แยกออกไปนอกเหนือจากร่างกาย ตามความรู้นี้จิตสำนึกไม่ถาวร หรือมิฉะนั้นก็ไม่มีปัจเจกวิญญาณแต่มีหนึ่งดวงวิญญาณที่แผ่กระจายไปทั่ว เปี่ยมไปด้วยความรู้และร่างกายนี้เป็นปรากฏการณ์ของอวิชชาชั่วคราว หรือนอกเหนือไปจากร่างกายนี้จะไม่มีปัจเจกวิญญาณพิเศษหรือดวงวิญญาณสูงสุด แนวความคิดทั้งหลายเหล่านี้พิจารณาว่าเป็นผลผลิตของระดับตัณหา

โศลก 22

yat tu kṛtsna-vad ekasmin
kārye saktam ahaitukam
atattvārtha-vad alpaṁ ca
tat tāmasam udāhṛtam
ยตฺ ตุ กฺฤตฺสฺน-วทฺ เอกสฺมินฺ
กาเรฺย สกฺตมฺ อไหตุกมฺ
อตตฺตฺวารฺถ-วทฺ อลฺปํ จ
ตตฺ ตามสมฺ อุทาหฺฤตมฺ
ยตฺ — นั้นซึ่ง, ตุ — แต่, กฺฤตฺสฺน-วตฺ — ประหนึ่งเป็นทั้งหมด, เอกสฺมินฺ — ในหนึ่ง, กาเรฺย — งาน, สกฺตมฺ — ยึดติด, อไหตุกมฺ — ไม่มีสาเหตุ, อตตฺตฺว-อรฺถ-วตฺ — ปราศจากความรู้แห่งความเป็นจริง, อลฺปมฺ — ขาดแคลนมาก, — และ, ตตฺ — นั้น, ตามสมฺ — ในระดับแห่งความมืด, อุทาหฺฤตมฺ — กล่าวว่าเป็น

คำแปล

และความรู้ที่ทำให้เขายึดติดอยู่กับงานชนิดเดียวว่าเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง ปราศจากความรู้แห่งสัจธรรมซึ่งขาดแคลนมาก กล่าวว่าอยู่ในระดับแห่งความมืด

คำอธิบาย

“ความรู้” ของคนธรรมดาสามัญอยู่ในระดับแห่งความมืดหรืออวิชชาเสมอ เพราะว่าทุกๆชีวิตอยู่ในพันธสภาวะซึ่งเกิดมาในระดับอวิชชา ผู้ที่ไม่พัฒนาความรู้จากผู้ที่เชื่อถือได้หรือจากคำสั่งสอนของพระคัมภีร์มีความรู้ที่จำกัดอยู่กับร่างกาย เขาไม่สนใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำแนะนำของพระคัมภีร์ สำหรับบุคคลนี้เงินตราคือพระเจ้า และความรู้หมายถึงความพึงพอใจกับอุปสงค์ทางร่างกาย ความรู้เช่นนี้ไม่มีความสัมพันธ์กับสัจธรรมซึ่งเหมือนกับความรู้ของสัตว์เดรัจฉานธรรมดา เช่น ความรู้ในการกิน การนอน การป้องกันตัว และเพศสัมพันธ์ มีการอธิบายในที่นี้ว่าความรู้เช่นนี้เป็นผลผลิตของระดับแห่งความมืด อีกนัยหนึ่งความรู้เกี่ยวกับจิตวิญญาณเหนือร่างกายนี้เรียกว่าความรู้ในระดับความดี ความรู้ที่ผลิตทฤษฎีและลัทธิมากมายตามตรรกวิทยาทางโลก และการคาดคะเนทางจิตเป็นผลผลิตของระดับตัณหา และความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับการรักษาร่างกายให้สะดวกสบายเท่านั้น กล่าวว่าอยู่ในระดับอวิชชา

โศลก 23

niyataṁ saṅga-rahitam
arāga-dveṣataḥ kṛtam
aphala-prepsunā karma
yat tat sāttvikam ucyate
นิยตํ สงฺค-รหิตมฺ
อราค-เทฺวษตห์ กฺฤตมฺ
อผล-เปฺรปฺสุนา กรฺม
ยตฺ ตตฺ สาตฺตฺวิกมฺ อุจฺยเต
นิยตมฺ — ประมาณ, สงฺค-รหิตมฺ — ไม่ยึดติด, อราค-เทฺวษตห์ — ไม่รักหรือไม่เกลียด, กฺฤตมฺ — ทำไป, อผล-เปฺรปฺสุนา — โดยผู้ที่ไม่ปรารถนาผลทางวัตถุ, กรฺม — การกระทำ, ยตฺ — ซึ่ง, ตตฺ — นั้น, สาตฺตฺวิกมฺ — ในระดับความดี, อุจฺยเต — เรียกว่า

คำแปล

การกระทำที่มีการประมาณและทำไปโดยไม่ยึดติด ไม่มีความรักหรือความเกลียดชัง และไม่มีความปรารถนาเพื่อผลทางวัตถุ กล่าวว่าอยู่ในระดับความดี

คำอธิบาย

หน้าที่ตามอาชีพโดยประมาณดังที่กำหนดไว้ในพระคัมภีร์ตามวรรณะ และระดับของสังคมปฏิบัติไปโดยไม่ยึดติด หรือไม่ถือสิทธิ์เป็นเจ้าของ ดังนั้นจึงไม่มีทั้งความรักหรือความเกลียดชัง และปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเพื่อความพึงพอพระทัยขององค์ภควานฺโดยปราศจากความพึงพอใจของตนเอง หรือสนองความต้องการของตนเองเช่นนี้เรียกว่าการกระทำในระดับความดี

โศลก 24

yat tu kāmepsunā karma
sāhaṅkāreṇa vā punaḥ
kriyate bahulāyāsaṁ
tad rājasam udāhṛtam
ยตฺ ตุ กาเมปฺสุนา กรฺม
สาหงฺกาเรณ วา ปุนห์
กฺริยเต พหุลายาสํ
ตทฺ ราชสมฺ อุทาหฺฤตมฺ
ยตฺ — นั้นซึ่ง, ตุ — แต่, กาม-อีปฺสุนา — โดยผู้ปรารถนาผลทางวัตถุ, กรฺม — งาน, ส-อหงฺกาเรณ — ด้วยอหังการ, วา — หรือ, ปุนห์ — อีกครั้งหนึ่ง, กฺริยเต — ปฏิบัติ, พหุล-อายาสมฺ — ด้วยการทำงานอย่างหนัก, ตตฺ — นั้น, ราชสมฺ — ในระดับตัณหา, อุทาหฺฤตมฺ — กล่าวว่าเป็น

คำแปล

แต่การกระทำที่ทำไปด้วยความพยายามอันใหญ่หลวงของผู้ปรารถนาที่จะสนองความต้องการของตนเอง และมีอหังการเป็นตัวบงการ เรียกว่าการกระทำในระดับตัณหา

โศลก 25

anubandhaṁ kṣayaṁ hiṁsām
anapekṣya ca pauruṣam
mohād ārabhyate karma
yat tat tāmasam ucyate
อนุพนฺธํ กฺษยํ หึสามฺ
อนเปกฺษฺย จ เปารุษมฺ
โมหาทฺ อารภฺยเต กรฺม
ยตฺ ตตฺ ตามสมฺ อุจฺยเต
อนุพนฺธมฺ — พันธนาการในอนาคต, กฺษยมฺ — การทำลาย, หึสามฺ — และความทุกข์ของผู้อื่น, อนเปกฺษฺย — โดยไม่พิจารณาถึงผลที่ตามมา, — เช่นกัน, เปารุษมฺ — ลงโทษตัวเอง, โมหาตฺ — ด้วยความหลง, อารภฺยเต — เริ่มต้น, กรฺม — งาน, ยตฺ — ซึ่ง, ตตฺ — นั้น, ตามสมฺ — ในระดับอวิชชา, อุจฺยเต — กล่าวว่าเป็น

คำแปล

การกระทำที่ทำไปในความหลงโดยไม่คำนึงถึงคำสั่งสอนของพระคัมภีร์ และไม่คำนึงถึงพันธกรณีในอนาคต หรือเป็นการเบียดเบียน หรือสร้างความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น กล่าวว่าอยู่ในระดับอวิชชา

คำอธิบาย

เราต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของเราต่อรัฐหรือต่อผู้แทนขององค์ภควานฺที่เรียกว่ายมทูต หรือ ยมทูต งานที่ไม่รับผิดชอบเป็นการทำลาย เนื่องจากทำลายหลักธรรมคำสอนของพระคัมภีร์ส่วนมากอยู่บนฐานแห่งการเบียดเบียน และทำให้ชีวิตอื่นต้องได้รับทุกข์ งานที่ไม่รับผิดชอบเช่นนี้ดำเนินไปในแสงแห่งประสบการณ์ส่วนตัวเช่นนี้เรียกว่า ความหลง งานในความหลงทั้งหลายเหล่านี้เป็นผลผลิตของระดับอวิชชา

โศลก 26

mukta-saṅgo ’nahaṁ-vādī
dhṛty-utsāha-samanvitaḥ
siddhy-asiddhyor nirvikāraḥ
kartā sāttvika ucyate
มุกฺต-สงฺโค ’นหํ-วาที
ธฺฤตฺยฺ-อุตฺสาห-สมนฺวิตห์
สิทฺธฺยฺ-อสิทฺโธฺยรฺ นิรฺวิการห์
กรฺตา สาตฺตฺวิก อุจฺยเต
มุกฺต-สงฺคห์ — เป็นอิสระจากการคบหาสมาคมทางวัตถุทั้งหมด, อนหมฺ-วาที — ปราศจากอหังการ, ธฺฤติ — ด้วยความมุ่งมั่น, อุตฺสาห — และความกระตือรือร้นอย่างยิ่ง, สมนฺวิตห์ — มีคุณสมบัติ, สิทฺธิ — ในความสมบูรณ์, อสิทฺโธฺยห์ — และความล้มเหลว, นิรฺวิการห์ — ไม่เปลี่ยนแปลง, กรฺตา — ผู้ทำงาน, สาตฺตฺวิกห์ — ในระดับความดี, อุจฺยเต — กล่าวว่าเป็น

คำแปล

ผู้ปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ ปราศจากอหังการ ปฏิบัติด้วยความมุ่งมั่น และกระตือรือร้นเป็นอย่างยิ่ง และไม่หวั่นไหวทั้งในความสำเร็จหรือความล้มเหลว กล่าวว่าเป็นผู้ทำงานในระดับความดี

คำอธิบาย

บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นทิพย์เหนือระดับต่างๆแห่งธรรมชาติวัตถุเสมอ เขาไม่คาดหวังต่อผลลัพธ์ของงานที่ได้รับมอบหมายให้กระทำเนื่องจากอยู่เหนืออหังการและความยโส ถึงกระนั้นเขากระตือรือร้นเสมอจนกว่างานนั้นจะเสร็จสมบูรณ์โดยไม่วิตกกังวลต่อความทุกข์ที่ต้องเผชิญ เขายังคงความกระตือรือร้นเสมอ เขาไม่สนใจกับความสำเร็จหรือล้มเหลว และมีความเสมอภาคทั้งในความทุกข์และความสุข คนทำงานเช่นนี้สถิตในระดับความดี

โศลก 27

rāgī karma-phala-prepsur
lubdho hiṁsātmako ’śuciḥ
harṣa-śokānvitaḥ kartā
rājasaḥ parikīrtitaḥ
ราคี กรฺม-ผล-เปฺรปฺสุรฺ
ลุพฺโธ หึสาตฺมโก ’ศุจิห์
หรฺษ-โศกานฺวิตห์ กรฺตา
ราชสห์ ปริกีรฺติตห์
ราคี — ยึดติดมาก, กรฺม-ผล — ผลของงาน, เปฺรปฺสุห์ — ความปรารถนา, ลุพฺธห์ — ความโลภ, หึสา-อาตฺมกห์ — อิจฉาริษยาเสมอ, อศุจิห์ — สกปรก, หรฺษ-โศก-อนฺวิตห์ — อยู่ภายใต้ความรื่นเริงและความเศร้าโศก, กรฺตา — ผู้ปฏิบัติงานเช่นนี้, ราชสห์ — ในระดับตัณหา, ปริกีรฺติตห์ — ประกาศว่า

คำแปล

ผู้ทำงานที่ยึดติดกับงานและผลของงาน ปรารถนาจะรื่นเริงกับผล มีความโลภ อิจฉาริษยาเสมอ ไม่บริสุทธิ์ มีความดีใจและเสียใจเป็นตัวผลักดัน กล่าวว่าอยู่ในระดับตัณหา

คำอธิบาย

บุคคลผู้ยึดติดมากต่องานบางชนิดหรือผลของงาน เนื่องจากมีความยึดติดมากกับวัตถุนิยมหรือว่าบ้าน ภรรยาและบุตรธิดา เช่นนี้ไม่มีความปรารถนาจะพัฒนาชีวิตให้สูงขึ้น เขาเพียงแต่สนใจอยู่กับการกระทำให้โลกนี้สะดวกสบายทางวัตถุเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยทั่วไปจะเป็นคนโลภมากและคิดว่าสิ่งใดที่ได้มาจะอยู่กับตนอย่างถาวรโดยไม่มีวันสูญสลายไป บุคคลเช่นนี้อิจฉาริษยาผู้อื่นและเตรียมพร้อมที่จะทำสิ่งที่ผิดเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตนเอง ดังนั้นจะเป็นคนที่ไม่สะอาดและไม่สนใจว่าเงินที่ได้มานั้นบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ เขาจะมีความสุขมากหากงานของตนประสบความสำเร็จ และจะมีความทุกข์มากหากงานของตนล้มเหลว ผู้ทำงานเช่นนี้อยู่ในระดับตัณหา

โศลก 28

ayuktaḥ prākṛtaḥ stabdhaḥ
śaṭho naiṣkṛtiko ’lasaḥ
viṣādī dīrgha-sūtrī ca
kartā tāmasa ucyate
อยุกฺตห์ ปฺรากฺฤตห์ สฺตพฺธห์
ศโฐ ไนษฺกฺฤติโก ’ลสห์
วิษาที ทีรฺฆ-สูตฺรี จ
กรฺตา ตามส อุจฺยเต
อยุกฺตห์ — ไม่อ้างถึงคำสั่งสอนของพระคัมภีร์, ปฺรากฺฤตห์ — นักวัตถุนิยม, สฺตพฺธห์ — ดื้อ รั้น, ศฐห์ — หลอกลวง, ไนษฺกฺฤติกห์ — ชำนาญในการดูถูกผู้อื่น, อลสห์ — เกียจคร้าน, วิษาที — อารมณ์เสีย, ทีรฺฆ-สูตฺรี — ผลัดวันประกันพรุ่ง, — เช่นกัน, กรฺตา — ผู้ทำงาน, ตามสห์ — ในระดับอวิชชา, อุจฺยเต — กล่าวว่าเป็น

คำแปล

ผู้ทำงานที่ละเมิดคำสั่งสอนของพระคัมภีร์เสมอ เป็นนักวัตถุนิยม ดื้อรั้น ขี้โกง ชำนาญในการดูถูกผู้อื่น เกียจคร้าน อารมณ์เสียเสมอ และผัดวันประกันพรุ่งกล่าวว่าเป็นผู้ทำงานในระดับอวิชชา

คำอธิบาย

ในคำสั่งสอนของพระคัมภีร์เราพบว่างานชนิดใดควรปฏิบัติและงานชนิดใดไม่ควรปฏิบัติ พวกที่ไม่สนใจต่อคำสั่งสอนเหล่านี้ปฏิบัติในงานที่ไม่ควรทำโดยทั่วไปเป็นนักวัตถุนิยม เขาทำงานตามระดับแห่งธรรมชาติไม่ทำตามคำสั่งสอนของพระคัมภีร์ ผู้ปฏิบัติงานเหล่านี้ไม่สุภาพ และโดยทั่วไปฉลาดแกมโกงและชำนาญในการดูถูกผู้อื่นเสมอ เกียจคร้านมาก ถึงแม้มีงานบางอย่างต้องทำแต่ทำไม่ดีและจะผัดไว้ทำภายหลัง ดังนั้นดูเหมือนว่าจะมีอารมณ์เสียอยู่เสมอ ชอบผัดวันประกันพรุ่ง สิ่งใดสามารถทำให้เสร็จภายในหนึ่งชั่วโมงก็จะลากทำไปเป็นปี ผู้ปฏิบัติงานเช่นนี้สถิตในระดับอวิชชา

โศลก 29

buddher bhedaṁ dhṛteś caiva
guṇatas tri-vidhaṁ śṛṇu
procyamānam aśeṣeṇa
pṛthaktvena dhanañ-jaya
พุทฺเธรฺ เภทํ ธฺฤเตศฺ ไจว
คุณตสฺ ตฺริ-วิธํ ศฺฤณุ
โปฺรจฺยมานมฺ อเศเษณ
ปฺฤถกฺเตฺวน ธนญฺ-ชย
พุทฺเธห์ — ของปัญญา, เภทมฺ — แตกต่าง, ธฺฤเตห์ — ของความสม่ำเสมอ, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, คุณตห์ — โดยระดับต่างๆแห่งธรรมชาติวัตถุ, ตฺริ-วิธมฺ — สามประเภท, ศฺฤณุ — จงฟัง, โปฺรจฺยมานมฺ — ข้าจะอธิบาย, อเศเษณ — ในรายละเอียด, ปฺฤถกฺเตฺวน — แตกต่าง, ธนมฺ-ชย — โอ้ ผู้ชนะความร่ำรวย

คำแปล

โอ้ ผู้ชนะความร่ำรวย บัดนี้จงฟัง ข้าจะบอกรายละเอียดแก่เธอเกี่ยวกับความเข้าใจ และความมุ่งมั่นที่แตกต่างกันตามสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ

คำอธิบาย

บัดนี้หลังจากอธิบายเรื่องความรู้ จุดมุ่งหมายของความรู้ และผู้รู้ในสามระดับตามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ องค์ภควานฺทรงอธิบายถึงปัญญาและความมุ่งมั่นของผู้ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกัน

โศลก 30

pravṛttiṁ ca nivṛttiṁ ca
kāryākārye bhayābhaye
bandhaṁ mokṣaṁ ca yā vetti
buddhiḥ sā pārtha sāttvikī
ปฺรวฺฤตฺตึ จ นิวฺฤตฺตึ จ
การฺยากาเรฺย ภยาภเย
พนฺธํ โมกฺษํ จ ยา เวตฺติ
พุทฺธิห์ สา ปารฺถ สาตฺตฺวิกี
ปฺรวฺฤตฺติมฺ — กระทำ, — เช่นกัน, นิวฺฤตฺติมฺ — ไม่ทำ, — และ, การฺย — อะไรควรทำ, อกาเรฺย — และอะไรไม่ควรทำ, ภย — ความกลัว, อภเย — และความไม่กลัว, พนฺธมฺ — พันธะ, โมกฺษมฺ — ความอิสระ, — และ, ยา — นั้นซึ่ง, เวตฺติ — รู้, พุทฺธิห์ — เข้าใจ, สา — นั้น, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, สาตฺตฺวิกี — ในระดับความดี

คำแปล

โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา ความเข้าใจที่รู้ว่าอะไรควรทำและอะไรไม่ควรทำ อะไรควรกลัวและอะไรไม่ควรกลัว อะไรที่ผูกมัดและอะไรที่เป็นอิสระ อยู่ในระดับความดี

คำอธิบาย

การกระทำตามคำชี้นำของพระคัมภีร์เรียกว่า ปฺรวฺฤตฺติ หรือทำในสิ่งที่ควรและไม่ทำในสิ่งที่ไม่ได้แนะนำไว้ ผู้ที่ไม่รู้คำสั่งสอนของพระคัมภีร์ถูกพันธนาการอยู่ในกรรมและผลแห่งกรรม ความเข้าใจที่สามารถแยกแยะด้วยปัญญาสถิตอยู่ในระดับความดี

โศลก 31

yayā dharmam adharmaṁ ca
kāryaṁ cākāryam eva ca
ayathāvat prajānāti
buddhiḥ sā pārtha rājasī
ยยา ธรฺมมฺ อธรฺมํ จ
การฺยํ จาการฺยมฺ เอว จ
อยถาวตฺ ปฺรชานาติ
พุทฺธิห์ สา ปารฺถ ราชสี
ยยา — ซึ่ง, ธรฺมมฺ — หลักธรรมแห่งศาสนา, อธรฺมมฺ — ไร้ศาสนา, — และ, การฺยมฺ — อะไรควรทำ, — เช่นกัน, อการฺยมฺ — อะไรไม่ควรทำ, เอว — แน่นอน, — เช่นกัน, อยถา-วตฺ — ไม่สมบูรณ์, ปฺรชานาติ — รู้, พุทฺธิห์ — ปัญญา, สา — และ, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, ราชสี — ในระดับตัณหา

คำแปล

โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา ความเข้าใจที่ไม่สามารถแยกแยะระหว่างศาสนาและที่ไม่ใช่ศาสนา ระหว่างสิ่งที่ควรทำและสิ่งที่ไม่ควรทำ อยู่ในระดับตัณหา

โศลก 32

adharmaṁ dharmam iti yā
manyate tamasāvṛtā
sarvārthān viparītāṁś ca
buddhiḥ sā pārtha tāmasī
อธรฺมํ ธรฺมมฺ อิติ ยา
มนฺยเต ตมสาวฺฤตา
สรฺวารฺถานฺ วิปรีตำศฺ จ
พุทฺธิห์ สา ปารฺถ ตามสี
อธรฺมมฺ — ไม่มีศาสนา, ธรฺมมฺ — ศาสนา, อิติ — ดังนั้น, ยา — ซึ่ง, มนฺยเต — คิด, ตมสา — ด้วยความหลง, อาวฺฤตา — ปกคลุม, สรฺว-อรฺถานฺ — สิ่งทั้งหมด, วิปรีตานฺ — ในทิศทางที่ผิด, — เช่นกัน, พุทฺธิห์ — ปัญญา, สา — นั้น, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, ตามสี — ในระดับอวิชชา

คำแปล

ความเข้าใจซึ่งพิจารณาว่าศาสนาที่ไม่ใช่ศาสนาว่าเป็นศาสนา และที่เป็นศาสนาว่าไม่ใช่ศาสนา ภายใต้มนต์สะกดแห่งความหลงและความมืดพยายามไปในทิศทางที่ผิดเสมอ โอ้ ปารฺถ อยู่ในระดับอวิชชา

คำอธิบาย

ปัญญาในระดับอวิชชาทำงานไปในทางตรงกันข้ามกับที่ควรจะเป็นเสมอยอมรับศาสนาซึ่งอันที่จริงไม่ใช่ศาสนา และปฏิเสธศาสนาที่แท้จริง มนุษย์ในอวิชชาเข้าใจดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ว่าเป็นบุคคลธรรมดาสามัญ และยอมรับบุคคลสามัญว่าเป็นดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ พวกเขาคิดว่าสัจธรรมคือความไม่จริง และยอมรับสิ่งที่ไม่จริงว่าเป็นสัจธรรม และดำเนินกิจกรรมทั้งหมดไปในวิถีทางที่ผิด ดังนั้นปัญญาของพวกนี้จึงอยู่ในระดับอวิชชา

โศลก 33

dhṛtyā yayā dhārayate
manaḥ-prāṇendriya-kriyāḥ
yogenāvyabhicāriṇyā
dhṛtiḥ sā pārtha sāttvikī
ธฺฤตฺยา ยยา ธารยเต
มนห์-ปฺราเณนฺทฺริย-กฺริยาห์
โยเคนาวฺยภิจาริณฺยา
ธฺฤติห์ สา ปารฺถ สาตฺตฺวิกี
ธฺฤตฺยา — ความมุ่งมั่น, ยยา — ซึ่ง, ธารยเต — ค้ำจุน, มนห์ — ของจิตใจ, ปฺราณ — ชีวิต, อินฺทฺริย — และประสาทสัมผัส, กฺริยาห์ — กิจกรรม, โยเคน — ด้วยการปฏิบัติโยคะ, อวฺยภิจาริณฺยา — โดยไม่ขาดตอน, ธฺฤติห์ — ความมุ่งมั่น, สา — นั้น, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, สาตฺตฺวิกี — ในระดับความดี

คำแปล

โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา ความมุ่งมั่นที่ไม่ขาดตอน สนับสนุนด้วยความมั่นคงจากการปฏิบัติโยคะ ทำให้ควบคุมกิจกรรมของจิตใจ ชีวิต และประสาทสัมผัสได้เป็นความมุ่งมั่นในระดับความดี

คำอธิบาย

โยคะหมายไว้เพื่อให้เข้าใจดวงวิญญาณสูงสุด ผู้ที่ตั้งมั่นอย่างแน่วแน่ในดวงวิญญาณสูงสุดด้วยความมุ่งมั่น ตั้งสมาธิจิต ชีวิต และกิจกรรมทางประสาทสัมผัสของตนอยู่ที่องค์ภควานฺปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก ความมุ่งมั่นเช่นนี้อยู่ในระดับความดี คำว่า อวฺยภิจาริณฺยา สำคัญมากเพราะแสดงว่าบุคคลปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่ถูกเบี่ยงเบนด้วยกิจกรรมอื่นๆ

โศลก 34

yayā tu dharma-kāmārthān
dhṛtyā dhārayate ’rjuna
prasaṅgena phalākāṅkṣī
dhṛtiḥ sā pārtha rājasī
ยยา ตุ ธรฺม-กามารฺถานฺ
ธฺฤตฺยา ธารยเต ’รฺชุน
ปฺรสงฺเคน ผลากางฺกฺษี
ธฺฤติห์ สา ปารฺถ ราชสี
ยยา — ซึ่ง, ตุ — แต่, ธรฺม — ศาสนา, กาม — การสนองประสาทสัมผัส, อรฺถานฺ — และการพัฒนาเศรษฐกิจ, ธฺฤตฺยา — ด้วยความมุ่งมั่น, ธารยเต — เขาสนับสนุน, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน, ปฺรสงฺเคน — เนื่องจากความยึดติด, ผล-อากางฺกฺษี — ปรารถนาผลทางวัตถุ, ธฺฤติห์ — ความมุ่งมั่น, สา — นั้น, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, ราชสี — ในระดับตัณหา

คำแปล

แต่ความมุ่งมั่นที่ทำให้ยึดติดอยู่ในผลประโยชน์ทางวัตถุ ในศาสนา การพัฒนาเศรษฐกิจ การสนองประสาทสัมผัส เป็นธรรมชาติแห่งตัณหา โอ้ อรฺชุน

คำอธิบาย

บุคคลใดที่ปรารถนาผลประโยชน์ทางวัตถุในกิจกรรมทางศาสนา หรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจอยู่เสมอ มีความปรารถนาอยู่สิ่งเดียวคือการสนองประสาทสัมผัส เมื่อจิตใจ ชีวิต และประสาทสัมผัสใช้ไปในทางนั้นผู้นี้อยู่ในระดับตัณหา

โศลก 35

yayā svapnaṁ bhayaṁ śokaṁ
viṣādaṁ madam eva ca
na vimuñcati durmedhā
dhṛtiḥ sā pārtha tāmasī
ยยา สฺวปฺนํ ภยํ โศกํ
วิษาทํ มทมฺ เอว จ
น วิมุญฺจติ ทุรฺเมธา
ธฺฤติห์ สา ปารฺถ ตามสี
ยยา — ซึ่ง, สฺวปฺนมฺ — ฝัน, ภยมฺ — ความกลัว, โศกมฺ — ความเศร้าโศก, วิษาทมฺ — อารมณ์เสีย, มทมฺ — ความหลง, เอว — แน่นอน, — เช่นกัน, — ไม่เคย, วิมุญฺจติ — เขายกเลิก, ทุรฺเมธา — ไม่มีปัญญา, ธฺฤติห์ — ความมุ่งมั่น, สา — นั้น, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, ตามสี — ในระดับอวิชชา

คำแปล

และความมุ่งมั่นที่ไม่สามารถอยู่เหนือความฝัน ความกลัว ความเศร้าโศก ความขุ่นเคือง และความหลง โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา ความมุ่งมั่นที่ไร้สติปัญญาเช่นนี้อยู่ในระดับแห่งความมืด

คำอธิบาย

เราไม่ควรสรุปว่าบุคคลในระดับความดีจะไม่ฝัน ที่นี้ “ความฝัน” หมายความว่านอนมากเกินไป ความฝันเกิดขึ้นเสมอไม่ว่าในระดับความดี ตัณหา หรืออวิชชา ความฝันเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ แต่สำหรับพวกที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการนอนมากเกินไป ผู้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความยโสในการรื่นเริงกับสิ่งของทางวัตถุ ผู้ที่ฝันว่าเป็นเจ้าเหนือโลกวัตถุเสมอและผู้ที่ชีวิต จิตใจ และประสาทสัมผัสที่ใช้ไปในทางนี้พิจารณาว่ามีความมุ่งมั่นอยู่ในระดับอวิชชา

โศลก 36

sukhaṁ tv idānīṁ tri-vidhaṁ
śṛṇu me bharatarṣabha
abhyāsād ramate yatra
duḥkhāntaṁ ca nigacchati
สุขํ ตฺวฺ อิทานีํ ตฺริ-วิธํ
ศฺฤณุ เม ภรตรฺษภ
อภฺยาสาทฺ รมเต ยตฺร
ทุห์ขานฺตํ จ นิคจฺฉติ
สุขมฺ — ความสุข, ตุ — แต่, อิทานีมฺ — บัดนี้, ตฺริ-วิธมฺ — ของสามประเภท, ศฺฤณุ — สดับฟัง, เม — จากข้า, ภรต-ฤษภ — โอ้ ผู้ยอดเยี่ยมในหมู่ ภารต, อภฺยาสาตฺ — จากการฝึกฝน, รมเต — เขารื่นเริง, ยตฺร — ที่, ทุห์ข — ของความทุกข์, อนฺตมฺ — จบ, — เช่นกัน, นิคจฺฉติ — ได้รับ

คำแปล

โอ้ ผู้ยอดเยี่ยมแห่ง ภารต บัดนี้โปรดสดับฟังจากข้าเกี่ยวกับความสุขสามประเภทที่พันธวิญญาณรื่นเริง และบางครั้งทำให้เขาจบสิ้นความทุกข์ทั้งปวง

คำอธิบาย

พันธวิญญาณพยายามรื่นเริงกับความสุขทางวัตถุครั้งแล้วครั้งเล่า ดังนั้นเขาจึงได้แต่เคี้ยวกากเดน แต่บางครั้งในระหว่างความรื่นเริงเช่นนี้เขาได้รับการปลดเปลื้องจากพันธนาการทางวัตถุด้วยการมาคบหาสมาคมกับดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ อีกนัยหนึ่งพันธวิญญาณหมกมุ่นอยู่กับการสนองประสาทสัมผัสเสมอ แต่เมื่อได้มาคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร และเข้าใจว่าความรื่นเริงทางวัตถุเป็นเพียงการกระทำที่ซ้ำซากอยู่ในสิ่งเดียวกัน และได้ตื่นขึ้นในกฺฤษฺณจิตสำนึกที่แท้จริง บางครั้งเขาได้รับการปลดเปลื้องจากสิ่งที่สมมติว่าเป็นความสุขซ้ำซากเช่นนี้

โศลก 37

yat tad agre viṣam iva
pariṇāme ’mṛtopamam
tat sukhaṁ sāttvikaṁ proktam
ātma-buddhi-prasāda-jam
ยตฺ ตทฺ อเคฺร วิษมฺ อิว
ปริณาเม ’มฺฤโตปมมฺ
ตตฺ สุขํ สาตฺตฺวิกํ โปฺรกฺตมฺ
อาตฺม-พุทฺธิ-ปฺรสาท-ชมฺ
ยตฺ — ซึ่ง, ตตฺ — นั้น, อเคฺร — ในตอนต้น, วิษมฺ อิว — เหมือนยาพิษ, ปริณาเม — ในบั้นปลาย, อมฺฤต — น้ำทิพย์, อุปมมฺ — เปรียบเทียบกับ, ตตฺ — นั้น, สุขมฺ — ความสุข, สาตฺตฺวิกมฺ — ในระดับความดี, โปฺรกฺตมฺ — กล่าวว่า, อาตฺม — ในตัว, พุทฺธิ — ของปัญญา, ปฺรสาท-ชมฺ — เกิดจากความพึงพอใจ

คำแปล

สิ่งที่ในตอนแรกอาจเหมือนกับยาพิษ แต่ในบั้นปลายกลายเป็นน้ำทิพย์ ซึ่งปลุกเขาให้ตื่นอยู่ในความรู้แจ้งแห่งตนกล่าวว่า เป็นความสุขในระดับความดี

คำอธิบาย

ในการแสวงหาความรู้แจ้งแห่งตนเราต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์มากมายเพื่อควบคุมจิตใจและประสาทสัมผัส และตั้งสมาธิจิตอยู่ที่ดวงชีวิต ขั้นตอนนี้ยากมากและขมขื่นเหมือนกับยาพิษ แต่ถ้าหากประสบความสำเร็จในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และมาถึงสถานภาพทิพย์เราจะเริ่มดื่มน้ำทิพย์ที่แท้จริง และรื่นเริงอยู่กับชีวิต

โศลก 38

viṣayendriya-saṁyogād
yat tad agre ’mṛtopamam
pariṇāme viṣam iva
tat sukhaṁ rājasaṁ smṛtam
วิษเยนฺทฺริย-สํโยคาทฺ
ยตฺ ตทฺ อเคฺร ’มฺฤโตปมมฺ
ปริณาเม วิษมฺ อิว
ตตฺ สุขํ ราชสํ สฺมฺฤตมฺ
วิษย — ของอายตนะภายนอก, อินฺทฺริย — และประสาทสัมผัส, สํโยคาตฺ — จากการรวมกัน, ยตฺ — ซึ่ง, ตตฺ — นั้น, อเคฺร — ในตอนต้น, อมฺฤต-อุปมมฺ — เหมือนกับน้ำทิพย์, ปริณาเม — ในบั้นปลาย, วิษมฺ อิว — เหมือนยาพิษ, ตตฺ — นั้น, สุขมฺ — ความสุข, ราชสมฺ — ในระดับตัณหา, สฺมฺฤตมฺ — พิจารณาว่า

คำแปล

ความสุขที่ได้รับจากการมาสัมผัสระหว่างอายตนะภายในกับอายตนะภายนอกซึ่งดูเหมือนกับน้ำทิพย์ในตอนต้น แต่ในบั้นปลายกลายเป็นยาพิษ กล่าวว่าเป็นธรรมชาติแห่งตัณหา

คำอธิบาย

เมื่อชายหนุ่มและหญิงสาวพบกันประสาทสัมผัสจะฉุดชายหนุ่มให้ไปหาหญิงสาวสัมผัสกับนางและมีเพศสัมพันธ์กัน ในตอนต้นสิ่งนี้อาจเป็นที่รื่นรมย์มากของประสาทสัมผัส แต่ในบั้นปลายหรือหลังจากระยะเวลาหนึ่งจะกลายมาเป็นยาพิษ เมื่อทั้งคู่แยกทางหรือหย่าร้างจากกันจะมีความเศร้าโศกเสียใจ ความสุขเช่นนี้อยู่ในระดับตัณหาเสมอ ความสุขที่ได้รับจากการสัมผัสกันระหว่างอายตนะภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) และอายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) เป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์เสมอจึงควรหลีกเลี่ยงด้วยประการทั้งปวง

โศลก 39

yad agre cānubandhe ca
sukhaṁ mohanam ātmanaḥ
nidrālasya-pramādotthaṁ
tat tāmasam udāhṛtam
ยทฺ อเคฺร จานุพนฺเธ จ
สุขํ โมหนมฺ อาตฺมนห์
นิทฺราลสฺย-ปฺรมาโทตฺถํ
ตตฺ ตามสมฺ อุทาหฺฤตมฺ
ยตฺ — ซึ่ง, อเคฺร — ในตอนต้น, — เช่นกัน, อนุพนฺเธ — ในบั้นปลาย, — เช่นกัน, สุขมฺ — ความสุข, โมหนมฺ — ความหลง, อาตฺมนห์ — ของตน, นิทฺรา — การนอน, อาลสฺย — เกียจคร้าน, ปฺรมาท — และความหลง, อุตฺถมฺ — ผลิตจาก, ตตฺ — นั้น, ตามสมฺ — ในระดับอวิชชา, อุทาหฺฤตมฺ — กล่าวว่าเป็น

คำแปล

และความสุขที่ทำให้มองไม่เห็นความรู้แจ้งแห่งตนเป็นความหลงผิดตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งเกิดจากการนอน ความเกียจคร้าน และความหลง กล่าวว่าเป็นธรรมชาติแห่งอวิชชา

คำอธิบาย

ผู้ที่มีความสุขอยู่กับความเกียจคร้านและการนอนแน่นอนว่าอยู่ในระดับของความมืดแห่งอวิชชา ผู้ที่ไม่รู้ว่าอะไรควรทำและอะไรไม่ควรทำก็อยู่ในระดับอวิชชาเช่นกัน บุคคลที่อยู่ในระดับนี้ทุกสิ่งทุกอย่างคือความหลง จะไม่มีความสุขทั้งในตอนต้นหรือตอนจบ บุคคลที่อยู่ในระดับตัณหาอาจมีความสุขอยู่บ้างในตอนต้น แต่ไม่ยั่งยืนและจะเป็นความทุกข์ในตอนจบ แต่สำหรับบุคคลในระดับอวิชชาจะมีแต่ความทุกข์เพียงอย่างเดียวตั้งแต่ต้นจนจบ

โศลก 40

na tad asti pṛthivyāṁ vā
divi deveṣu vā punaḥ
sattvaṁ prakṛti-jair muktaṁ
yad ebhiḥ syāt tribhir guṇaiḥ
น ตทฺ อสฺติ ปฺฤถิวฺยำ วา
ทิวิ เทเวษุ วา ปุนห์
สตฺตฺวํ ปฺรกฺฤติ-ไชรฺ มุกฺตํ
ยทฺ เอภิห์ สฺยาตฺ ตฺริภิรฺ คุไณห์
— ไม่, ตตฺ — นั้น, อสฺติ — มี, ปฺฤถิวฺยามฺ — บนโลก, วา — หรือ, ทิวิ — ในระบบดาวเคราะห์ที่สูงกว่า, เทเวษุ — ในหมู่เทวดา, วา — หรือ, ปุนห์ — อีกครั้ง, สตฺตฺวมฺ — เป็นอยู่, ปฺรกฺฤติ-ไชห์ — เกิดจากธรรมชาติวัตถุ, มุกฺตมฺ — อิสรภาพ, ยตฺ — นั้น, เอภิห์ — จากอิทธิพลของสิ่งเหล่านี้, สฺยาตฺ — เป็น, ตฺริภิห์ — สาม, คุไณห์ — ระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ

คำแปล

ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดไม่ว่าจะอยู่ที่นี่ หรืออยู่ในหมู่เทวดาในระบบดาวเคราะห์ที่สูงกว่า จะเป็นอิสระจากสามระดับที่เกิดจากธรรมชาติวัตถุนี้

คำอธิบาย

ที่นี้ องค์ภควานฺทรงสรุปถึงอิทธิพลทั้งหมดของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุที่มีอยู่ทั่วทั้งจักรวาล

โศลก 41

brāhmaṇa-kṣatriya-viśāṁ
śūdrāṇāṁ ca paran-tapa
karmāṇi pravibhaktāni
svabhāva-prabhavair guṇaiḥ
พฺราหฺมณ-กฺษตฺริย-วิศำ
ศูทฺราณำ จ ปรนฺ-ตป
กรฺมาณิ ปฺรวิภกฺตานิ
สฺวภาว-ปฺรภไวรฺ คุไณห์
พฺราหฺมณ — ของพราหมณ์ , กฺษตฺริยกฺษตฺริย, วิศามฺ — และ ไวศฺย, ศูทฺราณามฺ — ของ ศูทฺร, — และ, ปรมฺ-ตป — โอ้ ผู้ปราบศัตรู, กรฺมาณิ — กิจกรรม, ปฺรวิภกฺตานิ — แบ่งออก, สฺวภาว — ตามธรรมชาติของพวกเขา, ปฺรภไวห์ — เกิดจาก, คุไณห์ — โดยระดับต่างๆแห่งธรรมชาติวัตถุ

คำแปล

พฺราหฺมณ, กฺษตฺริย, ไวศฺย, และ ศูทฺร แบ่งออกตามคุณสมบัติที่เกิดจากธรรมชาติของตนเองตามระดับต่างๆทางวัตถุ โอ้ ผู้กำราบศัตรู

โศลก 42

śamo damas tapaḥ śaucaṁ
kṣāntir ārjavam eva ca
jñānaṁ vijñānam āstikyaṁ
brahma-karma svabhāva-jam
ศโม ทมสฺ ตปห์ เศาจํ
กฺษานฺติรฺ อารฺชวมฺ เอว จ
ชฺญานํ วิชฺญานมฺ อาสฺติกฺยํ
พฺรหฺม-กรฺม สฺวภาว-ชมฺ
ศมห์ — ความสงบ, ทมห์ — ควบคุมตนเอง, ตปห์ — ความสมถะ, เศาจมฺ — ความบริสุทธิ์, กฺษานฺติห์ — ความอดทน, อารฺชวมฺ — ความซื่อสัตย์, เอว — แน่นอน, — และ, ชฺญานมฺ — ความรู้, วิชฺญานมฺ — ปัญญา, อาสฺติกฺยมฺ — ศาสนา, พฺรหฺม — ของพราหมณ์ , กรฺม — หน้าที่, สฺวภาว-ชมฺ — เกิดจากธรรมชาติของตัวเขา

คำแปล

ความสงบ การควบคุมตนเองได้ ความสมถะ ความบริสุทธิ์ ความอดทน ความซื่อสัตย์ ความรู้ ปัญญา และการปฏิบัติตามหลักศาสนา สิ่งเหล่านี้คือคุณลักษณะตามธรรมชาติที่บรรดา พฺราหฺมณ (พราหมณ์) ถือปฏิบัติ

โศลก 43

śauryaṁ tejo dhṛtir dākṣyaṁ
yuddhe cāpy apalāyanam
dānam īśvara-bhāvaś ca
kṣātraṁ karma svabhāva-jam
เศารฺยํ เตโช ธฺฤติรฺ ทากฺษฺยํ
ยุทฺเธ จาปฺยฺ อปลายนมฺ
ทานมฺ อีศฺวร-ภาวศฺ จ
กฺษาตฺรํ กรฺม สฺวภาว-ชมฺ
เศารฺยมฺ — ความกล้าหาญ, เตชห์ — อำนาจ, ธฺฤติห์ — ความมุ่งมั่น, ทากฺษฺยมฺ — หาหนทาง, ยุทฺเธ — ในสนามรบ, — และ, อปิ — เช่นกัน, อปลายนมฺ — ไม่หลบหนี, ทานมฺ — ใจกว้าง, อีศฺวร — ของผู้นำ, ภาวห์ — ธรรมชาติ, — และ, กฺษาตฺรมฺ — ของ กฺษตฺริย, กรฺม — หน้าที่, สฺวภาว-ชมฺ — เกิดจากธรรมชาติของตัวเขาเอง

คำแปล

ความกล้าหาญ อำนาจ มุ่งมั่น คิดหาหนทาง ใจสู้ในสนามรบ ใจกว้าง และความเป็นผู้นำเป็นคุณลักษณะตามธรรมชาติของงานสำหรับ กฺษตฺริย (กษัตริย์)

โศลก 44

kṛṣi-go-rakṣya-vāṇijyaṁ
vaiśya-karma svabhāva-jam
paricaryātmakaṁ karma
śūdrasyāpi svabhāva-jam
กฺฤษิ-โค-รกฺษฺย-วาณิชฺยํ
ไวศฺย-กรฺม สฺวภาว-ชมฺ
ปริจรฺยาตฺมกํ กรฺม
ศูทฺรสฺยาปิ สฺวภาว-ชมฺ
กฺฤษิ — ไถนา, โค — ของโค, รกฺษฺย — ปกป้อง, วาณิชฺยมฺ — ค้าขาย, ไวศฺย — ของ ไวศฺย, กรฺม — หน้าที่, สฺวภาว-ชมฺ — เกิดจากธรรมชาติของตัวเขา, ปริจรฺยา — รับใช้บริการ, อาตฺมกมฺ — ประกอบด้วย, กรฺม — หน้าที่, ศูทฺรสฺย — ของ ศูทฺร, อปิ — เช่นกัน, สฺวภาว-ชมฺ — เกิดจากธรรมชาติของตัวเขา

คำแปล

การทำฟาร์ม การคุ้มครองโค และธุรกิจ เป็นธรรมชาติการทำงานของ ไวศฺย สำหรับ ศูทฺร จะใช้แรงงานและบริการรับใช้ผู้อื่น

โศลก 45

sve sve karmaṇy abhirataḥ
saṁsiddhiṁ labhate naraḥ
sva-karma-nirataḥ siddhiṁ
yathā vindati tac chṛṇu
เสฺว เสฺว กรฺมณฺยฺ อภิรตห์
สํสิทฺธึ ลภเต นรห์
สฺว-กรฺม-นิรตห์ สิทฺธึ
ยถา วินฺทติ ตจฺ ฉฺฤณุ
เสฺว เสฺว — แต่ละคน, กรฺมณิ — งาน, อภิรตห์ — ปฏิบัติตาม, สํสิทฺธิมฺ — สมบูรณ์, ลภเต — บรรลุ, นรห์ — มนุษย์, สฺว-กรฺม — ในหน้าที่ของตน, นิรตห์ — ปฏิบัติ, สิทฺธิมฺ — สมบูรณ์, ยถา — ประหนึ่ง, วินฺทติ — ได้รับ, ตตฺ — นั้น, ศฺฤณุ — ฟัง

คำแปล

จากการปฏิบัติตามคุณลักษณะแห่งงานของตนเองทุกคนสามารถบรรลุถึงความสมบูรณ์ได้ บัดนี้ โปรดฟังจากข้าว่าเช่นนี้เป็นไปได้อย่างไร

โศลก 46

yataḥ pravṛttir bhūtānāṁ
yena sarvam idaṁ tatam
sva-karmaṇā tam abhyarcya
siddhiṁ vindati mānavaḥ
ยตห์ ปฺรวฺฤตฺติรฺ ภูตานำ
เยน สรฺวมฺ อิทํ ตตมฺ
สฺว-กรฺมณา ตมฺ อภฺยรฺจฺย
สิทฺธึ วินฺทติ มานวห์
ยตห์ — จากผู้ใด, ปฺรวฺฤตฺติห์ — ออกมา, ภูตานามฺ — ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย, เยน — จาก ใคร, สรฺวมฺ — ทั้งหมด, อิทมฺ — นี้, ตตมฺ — แผ่กระจาย, สฺว-กรฺมณา — จากหน้าที่ของเขา, ตมฺ — องค์ภควานฺ, อภฺยรฺจฺย — จากการบูชา, สิทฺธิมฺ — ความสมบูรณ์, วินฺทติ — บรรลุ, มานวห์ — มนุษย์

คำแปล

จากการบูชาองค์ภควานผู้ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของมวลชีวิต และทรงแผ่กระจายไปทั่ว มนุษย์สามารถบรรลุถึงความสมบูรณ์ด้วยการปฏิบัติงานของตนเอง

คำอธิบาย

ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทที่สิบห้าว่ามวลชีวิตเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ ดังนั้นพระองค์ทรงเป็นจุดเริ่มต้นของมวลชีวิต ได้ยืนยันไว้ใน เวทานฺต-สูตฺร ว่า ชนฺมาทฺยฺ อสฺย ยตห์ องค์ภควานฺทรงเป็นจุดเริ่มต้นชีวิตของทุกๆชีวิต ดังที่กล่าวไว้ในบทที่เจ็ดของ ภควัท-คีตา ว่าด้วยพลังงานทั้งสองของพระองค์คือพลังงานเบื้องต่ำและพลังงานเบื้องสูง พระองค์ทรงแผ่กระจายไปทั่ว ฉะนั้นเราควรบูชาองค์ภควานฺพร้อมทั้งพลังงานของพระองค์โดยทั่วไปเหล่าสาวก ไวษฺณว จะบูชาองค์ภควานฺและพลังงานเบื้องสูงของพระองค์พลังงานเบื้องต่ำของพระองค์เป็นภาพสะท้อนที่กลับตาลปัตรของพลังงานเบื้องสูง พลังงานเบื้องต่ำอยู่เบื้องหลัง แต่องค์ภควานฺโดยภาคแบ่งแยกของส่วนสมบูรณ์ของพระองค์ในรูป ปรมาตฺมา ทรงสถิตอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทรงเป็นอภิวิญญาณของมวลเทวดา มวลมนุษย์ มวลสัตว์ในทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นเราควรรู้ว่าในฐานะที่เป็นละอองอณูขององค์ภควานฺจึงมีหน้าที่ต้องถวายการรับใช้แด่พระองค์ทุกคนควรปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อพระองค์ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์นี่คือคำแนะนำของโศลกนี้

ทุกคนควรคิดว่า หฺฤษีเกศ ผู้เป็นเจ้านายของประสาทสัมผัส ทรงให้มีอาชีพบางอย่าง และจากผลงานที่เรากระทำบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าศฺรีกฺฤษฺณควรได้รับการบูชา หากคิดเช่นนี้เสมอในกฺฤษฺณจิตสำนึกที่สมบูรณ์ด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺเราจะกลายเป็นผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่างโดยสมบูรณ์ นั่นคือความสมบูรณ์แห่งชีวิต พระองค์ตรัสใน ภควัท-คีตา (12.7) ว่า เตษามฺ อหํ สมุทฺธรฺตา องค์ภควานฺเองจะทรงดูแลการจัดส่งสาวกเช่นนี้ นั่นคือความสมบูรณ์สูงสุดของชีวิต ไม่ว่าอาชีพการงานใดก็ตามที่เราทำอยู่หากทำไปเพื่อรับใช้องค์ภควานฺเราจะบรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุด

โศลก 47

śreyān sva-dharmo viguṇaḥ
para-dharmāt sv-anuṣṭhitāt
svabhāva-niyataṁ karma
kurvan nāpnoti kilbiṣam
เศฺรยานฺ สฺว-ธรฺโม วิคุณห์
ปร-ธรฺมาตฺ สฺวฺ-อนุษฺฐิตาตฺ
สฺวภาว-นิยตํ กรฺม
กุรฺวนฺ นาปฺโนติ กิลฺพิษมฺ
เศฺรยานฺ — ดีกว่า, สฺว-ธรฺมห์ — อาชีพของเขาเอง, วิคุณห์ — ปฏิบัติโดยไม่สมบูรณ์, ปร-ธรฺมาตฺ — กว่าอาชีพของผู้อื่น, สุ-อนุษฺฐิตาตฺ — ทำอย่างสมบูรณ์, สฺวภาว-นิยตมฺ — กำหนดตามธรรมชาติของตน, กรฺม — งาน, กุรฺวนฺ — ปฏิบัติ, — ไม่เคย, อาปฺโนติ — บรรลุ, กิลฺพิษมฺ — ผลบาป

คำแปล

การปฏิบัติตามอาชีพของตนแม้อาจทำได้ไม่สมบูรณ์ทีเดียว ยังดีกว่าไปรับเอาอาชีพของคนอื่นและมาทำได้อย่างสมบูรณ์ หน้าที่ที่กำหนดไว้ตามธรรมชาติของตนเองจะไม่มีวันได้รับผลบาป

คำอธิบาย

อาชีพการงานของเรากำหนดไว้ใน ภควัท-คีตา ดังที่ได้กล่าวไว้ในโศลกก่อนๆหน้าที่ของ พฺราหฺมณ, กฺษตฺริย, ไวศฺย และ ศูทฺร กำหนดไว้ตามระดับแห่งธรรมชาติโดยเฉพาะของตนเอง เราไม่ควรเลียนแบบหน้าที่ของผู้อื่นบุคคลที่โดยธรรมชาติชอบทำงานของ ศูทฺร ไม่ควรอ้างว่าเป็น พฺราหฺมณ อย่างผิดธรรมชาติ ถึงแม้อาจเกิดในตระกูล พฺราหฺมณ เขาควรทำงานตามธรรมชาติของตน ไม่มีงานใดน่ารังเกียจหากปฏิบัติเพื่อรับใช้องค์ภควานฺ อาชีพการงานของ พฺราหฺมณ แน่นอนว่าอยู่ในระดับความดี แต่หากว่าบุคคลไม่อยู่ในระดับความดีโดยธรรมชาติก็ไม่ควรเลียนแบบอาชีพการงานของ พฺราหฺมณ สำหรับ กฺษตฺริย หรือผู้บริหารมีสิ่งที่น่ารังเกียจมากมาย เช่น กฺษตฺริย ต้องเบียดเบียนผู้อื่นเพื่อสังหารศัตรู บางครั้ง กฺษตฺริย ต้องพูดเท็จเพื่อผลประโยชน์ทางการทูต การเบียดเบียนและการตีสองหน้าเช่นนี้มาพร้อมกับภารกิจทางการเมือง แต่ กฺษตฺริย ไม่ควรยกเลิกอาชีพการงานของตนและไม่ควรพยายามไปปฏิบัติหน้าที่ของ พฺราหฺมณ

เราควรปฏิบัติเพื่อให้องค์ภควานฺทรงพอพระทัย ตัวอย่างเช่น อรฺชุน ทรงเป็น กฺษตฺริย ผู้ลังเลใจในการต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม แต่ถ้าหากการสู้รบเช่นนี้กระทำไปเพื่อประโยชน์ขององค์กฺฤษฺณ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าก็ไม่จำเป็นจะต้องกลัวตกต่ำลง ในสนามธุรกิจก็เช่นกัน บางครั้งพ่อค้าต้องพูดเท็จบ่อยๆเพื่อผลกำไร หากไม่ทำเช่นนี้จะไม่มีผลกำไร บางครั้งพ่อค้ากล่าวว่า “โอ้ ลูกค้าที่รัก สำหรับคุณฉันไม่มีกำไรอะไรเลย” แต่ควรรู้ว่าปราศจากผลกำไรพ่อค้าอยู่ไม่ได้ ดังนั้นเราควรยอมรับว่าเป็นการพูดเท็จแน่เมื่อพ่อค้ากล่าวว่าไม่ได้กำไรแต่พ่อค้าไม่ควรคิดว่าเพราะมีอาชีพที่การพูดเท็จเป็นสิ่งจำเป็นจึงควรยกเลิกอาชีพของตน และมามีอาชีพเป็น พฺราหฺมณ เช่นนี้ไม่แนะนำ ไม่ว่าจะเป็น กฺษตฺริย, ไวศฺย หรือ ศูทฺร ไม่สำคัญ หากเรารับใช้บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าด้วยผลงานของตน แม้ พฺราหฺมณ ผู้ทำพิธีบูชาต่างๆบางครั้งต้องฆ่าสัตว์เนื่องจากบางครั้งต้องใช้สัตว์ในพิธีบูชา ในทำนองเดียวกันหาก กฺษตฺริย ทำตามอาชีพของตนในการสังหารศัตรูจะไม่มีผลบาป ในบทที่สามได้อธิบายเรื่องนี้อย่างละเอียดและชัดเจนว่า ทุกคนควรทำงานเพื่อจุดมุ่งหมายแห่ง ยชฺญ หรือเพื่อองค์วิษฺณุ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า สิ่งใดที่กระทำไปเพื่อสนองประสาทสัมผัสส่วนตัวเป็นต้นเหตุแห่งพันธนาการ ข้อสรุปคือ ทุกคนควรปฏิบัติตามระดับแห่งธรรมชาติโดยเฉพาะที่ตนได้รับมา และควรตัดสินใจทำงานเพื่อรับใช้อย่างสูงสุดแด่องค์ภควานฺเท่านั้น

โศลก 48

saha-jaṁ karma kaunteya
sa-doṣam api na tyajet
sarvārambhā hi doṣeṇa
dhūmenāgnir ivāvṛtāḥ
สห-ชํ กรฺม เกานฺเตย
ส-โทษมฺ อปิ น ตฺยเชตฺ
สรฺวารมฺภา หิ โทเษณ
ธูเมนาคฺนิรฺ อิวาวฺฤตาห์
สห-ชมฺ — เกิดขึ้นพร้อมกัน, กรฺม — งาน, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, ส-โทษมฺ — ด้วยความผิดพลาด, อปิ — ถึงแม้ว่า, — ไม่เคย, ตฺยเชตฺ — เขาควรยกเลิก, สรฺว-อารมฺภาห์ — การเสี่ยงภัยทั้งหมด, หิ — แน่นอน, โทเษณ — ด้วยความผิด, ธูเมน — กับควัน, อคฺนิห์ — ไฟ, อิว — เหมือน, อาวฺฤตาห์ — ปกคลุม

คำแปล

ความพยายามทุกครั้งจะถูกปกคลุมด้วยความผิดพลาดบางอย่าง เหมือนกับไฟที่ถูกควันปกคลุม ดังนั้นจึงไม่ควรยกเลิกงานที่เกิดจากธรรมชาติของตนเอง โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี ถึงแม้งานนี้จะเต็มไปด้วยความผิดพลาด

คำอธิบาย

ในพันธชีวิตงานทั้งหมดนั้นเป็นมลทินโดยระดับวัตถุแห่งธรรมชาติ แม้จะเป็น พฺราหฺมณ ต้องทำพิธีบูชาซึ่งการฆ่าสัตว์เป็นสิ่งจำเป็น ในทำนองเดียวกัน กฺษตฺริย ไม่ว่าจะใจบุญเพียงใดต้องต่อสู้กับศัตรูซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นเดียวกันกับพ่อค้าไม่ว่าจะใจบุญแค่ไหนบางครั้งต้องซ่อนผลกำไรเพื่อให้ธุรกิจอยู่ได้ หรือบางครั้งต้องทำธุรกิจในตลาดมืด สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นซึ่งเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ในทำนองเดียวกันถึงแม้ว่าบุคคลเป็น ศูทฺร รับใช้เจ้านายเลวเขาก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้านายแม้จะไม่ควรทำ แม้จะมีข้อผิดพลาดเหล่านี้เขาควรปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้เพราะเกิดจากธรรมชาติของตนเอง

ได้ให้ตัวอย่างที่ดีไว้ ที่นี้ว่า แม้ว่าไฟบริสุทธิ์แต่ยังมีควัน แต่ควันไม่ได้ทำให้ไฟไม่บริสุทธิ์ ถึงแม้จะมีควันในไฟไฟนั้นก็ยังพิจารณาว่าเป็นธาตุบริสุทธิ์ที่สุดในบรรดาธาตุทั้งหมด หากยกเลิกงานของ กฺษตฺริย และไปรับเอาอาชีพของ พฺราหฺมณ มาทำก็ไม่แน่ใจว่างานในอาชีพ พฺราหฺมณ จะราบรื่นเสมอไป อาจสรุปได้ว่าในโลกวัตถุไม่มีผู้ใดสามารถเป็นอิสระโดยสมบูรณ์จากมลทินแห่งธรรมชาติวัตถุ ตัวอย่างของไฟและควันเหมาะสมมากในประเด็นนี้ ในฤดูหนาวเราเอาหินมาจากไฟ บางครั้งควันรบกวนดวงตาและส่วนอื่นๆของร่างกาย แต่เราต้องใช้ไฟถึงแม้จะมีสภาวะรบกวน ในทำนองเดียวกันเราไม่ควรยกเลิกอาชีพตามธรรมชาติของตนเองอันเนื่องจากมีปัจจัยรบกวนบางอย่าง แต่ควรมุ่งมั่นที่จะรับใช้องค์ภควานฺด้วยอาชีพการงานของตนในกฺฤษฺณจิตสำนึก นั่นคือจุดแห่งความสมบูรณ์ เมื่ออาชีพบางอย่างปฏิบัติไปเพื่อความพึงพอพระทัยขององค์ภควานฺ ข้อบกพร่องทั้งหลายในอาชีพนั้นก็ถูกทำให้บริสุทธิ์ขึ้น เมื่อผลของงานบริสุทธิ์ด้วยการเชื่อมสัมพันธ์กับการอุทิศตนเสียสละรับใช้เราจะกลายมาเป็นผู้สมบูรณ์ในการเห็นตนเองภายใน และนั่นคือความรู้แจ้งแห่งตน

โศลก 49

asakta-buddhiḥ sarvatra
jitātmā vigata-spṛhaḥ
naiṣkarmya-siddhiṁ paramāṁ
sannyāsenādhigacchati
อสกฺต-พุทฺธิห์ สรฺวตฺร
ชิตาตฺมา วิคต-สฺปฺฤหห์
ไนษฺกรฺมฺย-สิทฺธึ ปรมำ
สนฺนฺยาเสนาธิคจฺฉติ
อสกฺต-พุทฺธิห์ — มีปัญญาที่ไม่ยึดติด, สรฺวตฺร — ทุกหนทุกแห่ง, ชิต-อาตฺมา — มีจิตใจที่ควบคุมได้, วิคต-สฺปฺฤหห์ — ปราศจากความต้องการทางวัตถุ, ไนษฺกรฺมฺย-สิทฺธิมฺ — ความสมบูรณ์แห่งการไม่มีผลกรรม, ปรมามฺ — สูงสุด, สนฺนฺยาเสน — ด้วยชีวิตสละโลก, อธิคจฺฉติ — เขาบรรลุ

คำแปล

ผู้ที่ควบคุมตนเองได้ ไม่ยึดติด และไม่สนใจต่อความรื่นเริงทางวัตถุทั้งปวง จากการฝึกปฏิบัติการเสียสละเขาสามารถบรรลุถึงระดับสมบูรณ์สูงสุดแห่งความเป็นอิสระจากผลกรรม

คำอธิบาย

การเสียสละที่แท้จริงหมายความว่า เราควรคิดอยู่เสมอว่าตนเองเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ ดังนั้นจึงคิดว่าไม่มีสิทธิ์จะรื่นเริงกับผลงานของตน เนื่องจากเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺผลงานของเราต้องถวายให้พระองค์รื่นเริง นี่คือกฺฤษฺณจิตสำนึกที่แท้จริง บุคคลปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็น สนฺนฺยาสี หรือผู้มีชีวิตสละโลกที่แท้จริง ด้วยความคิดเช่นนี้เราจึงมีความพึงพอใจเพราะว่าเราปฏิบัติเพื่อองค์ภควานฺโดยแท้จริง ดังนั้นจึงไม่ยึดติดกับสิ่งใดๆที่เป็นวัตถุ เราจะเคยชินกับการไม่หาความสุขกับสิ่งใดที่นอกเหนือจากความสุขทิพย์ซึ่งได้รับจากการรับใช้พระองค์สนฺนฺยาสี ควรเป็นอิสระจากผลกรรมจากกรรมในอดีตของตน แต่บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกบรรลุถึงความสมบูรณ์โดยปริยายโดยไม่ต้องอุปสมบทในระดับที่สมมติว่าเป็นชีวิตสละโลก ระดับจิตเช่นนี้เรียกว่า โยคารูฒ หรือระดับสมบูรณ์แห่งโยคะ ดังที่ได้ยืนยันไว้ในบทที่สามว่า ยสฺ ตฺวฺ อาตฺม-รติรฺ เอว สฺยาตฺ เป็นผู้ที่มีความพึงพอใจในตนเอง และไม่มีความกลัวต่อผลกรรมใดๆจากการกระทำของตนเอง

โศลก 50

siddhiṁ prāpto yathā brahma
tathāpnoti nibodha me
samāsenaiva kaunteya
niṣṭhā jñānasya yā parā
สิทฺธึ ปฺราปฺโต ยถา พฺรหฺม
ตถาปฺโนติ นิโพธ เม
สมาเสไนว เกานฺเตย
นิษฺฐา ชฺญานสฺย ยา ปรา
สิทฺธิมฺ — ความสมบูรณ์, ปฺราปฺตห์ — บรรลุ, ยถา — เหมือน, พฺรหฺม — สูงสุด, ตถา — ดังนั้น, อาปฺโนติ — เขาบรรลุ, นิโพธ — พยายามเข้าใจ, เม — จากข้า, สมาเสน — โดยสรุป, เอว — แน่นอน, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, นิษฺฐา — ระดับ, ชฺญานสฺย — ของความรู้, ยา — ซึ่ง, ปรา — ทิพย์

คำแปล

โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี จงเรียนรู้จากข้าว่า ผู้บรรลุถึงความสมบูรณ์เช่นนี้สามารถจะบรรลุถึงระดับสมบูรณ์สูงสุด พฺรหฺมนฺ ซึ่งเป็นระดับแห่งความรู้ที่สมบูรณ์สูงสุดด้วยการปฏิบัติเช่นนี้ได้อย่างไร บัดนี้ข้าจะสรุปให้ฟัง

คำอธิบาย

องค์ภควานฺทรงอธิบายแด่ อรฺชุน ว่าบุคคลจะสามารถบรรลุถึงระดับแห่งความสมบูรณ์สูงสุดจากการปฏิบัติหน้าที่การงานของตนได้อย่างไร ด้วยการปฏิบัติหน้าที่เพื่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าเขาจะบรรลุถึงระดับสูงสุดแห่ง พฺรหฺมนฺ เพียงแต่ต้องสละผลงานของตนเพื่อความพึงพอพระทัยขององค์ภควานฺ นั่นคือวิธีแห่งความรู้แจ้งแห่งตน ความสมบูรณ์แห่งความรู้ที่แท้จริงอยู่ที่การบรรลุถึงกฺฤษฺณจิตสำนึกที่บริสุทธิ์ ดังจะอธิบายในโศลกต่อๆไป

โศลก 51-53

buddhyā viśuddhayā yukto
dhṛtyātmānaṁ niyamya ca
śabdādīn viṣayāṁs tyaktvā
rāga-dveṣau vyudasya ca
พุทฺธฺยา วิศุทฺธยา ยุกฺโต
ธฺฤตฺยาตฺมานํ นิยมฺย จ
ศพฺทาทีนฺ วิษยำสฺ ตฺยกฺตฺวา
ราค-เทฺวเษา วฺยุทสฺย จ
vivikta-sevī laghv-āśī
yata-vāk-kāya-mānasaḥ
dhyāna-yoga-paro nityaṁ
vairāgyaṁ samupāśritaḥ
วิวิกฺต-เสวี ลฆฺวฺ-อาศี
ยต-วากฺ-กาย-มานสห์
ธฺยาน-โยค-ปโร นิตฺยํ
ไวราคฺยํ สมุปาศฺริตห์
ahaṅkāraṁ balaṁ darpaṁ
kāmaṁ krodhaṁ parigraham
vimucya nirmamaḥ śānto
brahma-bhūyāya kalpate
อหงฺการํ พลํ ทรฺปํ
กามํ โกฺรธํ ปริคฺรหมฺ
วิมุจฺย นิรฺมมห์ ศานฺโต
พฺรหฺม-ภูยาย กลฺปเต
พุทฺธฺยา — ด้วยปัญญา, วิศุทฺธยา — บริสุทธิ์โดยสมบูรณ์, ยุกฺตห์ — ปฏิบัติ, ธฺฤตฺยา — ด้วยความมุ่งมั่น, อาตฺมานมฺ — ตนเอง, นิยมฺย — ประมาณ, — เช่นกัน, ศพฺท-อาทีนฺ — เช่นเสียง, วิษยานฺ — อาตยนะภายนอก, ตฺยกฺตฺวา — ยกเลิก, ราค — การยึดติด, เทฺวเษา — และความเกลียดชัง, วฺยุทสฺย — วางไว้ข้างๆ, — เช่นกัน, วิวิกฺต-เสวี — อยู่ในที่สันโดษ, ลฆุ-อาศี — รับประทานปริมาณน้อย, ยต — ควบคุม, วากฺ — การพูด, กาย — ร่างกาย, มานสห์ — และจิตใจ, ธฺยาน-โยค-ปรห์ — ซึมซาบในสมาธิ, นิตฺยมฺ — วันละยี่สิบสี่ชั่วโมง, ไวราคฺยมฺ — ไม่ยึดติด, สมุปาศฺริตห์ — เข้าพึ่ง, อหงฺการมฺ — อหังการ, พลมฺ — กำลังที่ผิด, ทรฺปมฺ — ความยโสที่ผิด, กามมฺ — ราคะ, โกฺรธมฺ — ความโกรธ, ปริคฺรหมฺ — และยอมรัมสิ่งของวัตถุ, วิมุจฺย — ถูกส่งจาก, นิรฺมมห์ — ไม่รู้สึกว่าเป็นเจ้าของ, ศานฺตห์ — ความสงบ, พฺรหฺม-ภูยาย — เพื่อความรู้แจ้งแห่งตน, กลฺปเต — มีคุณสมบัติ

คำแปล

ได้รับความบริสุทธิ์จากปัญญา และควบคุมจิตใจด้วยความมุ่งมั่น ไม่ยุ่งกับอายตนะภายนอกเพื่อสนองประสาทสัมผัส เป็นอิสระจากการยึดติดและความเกลียดชัง เป็นผู้อยู่ในสถานที่สันโดษ รับประทานน้อย ควบคุมร่างกาย จิตใจ และพลังในการพูด อยู่ในสมาธิเสมอ และไม่ยึดติด เป็นผู้ปราศจากอหังการอำนาจที่ผิด ความยโสที่ผิด ราคะ ความโกรธ และการยอมรับสิ่งของวัตถุปราศจากความเป็นเจ้าของที่ผิด และมีความสงบ บุคคลเช่นนี้แน่นอนว่าจะพัฒนาไปสู่สถานภาพการรู้แจ้งแห่งตน

คำอธิบาย

เมื่อบริสุทธิ์ขึ้นด้วยปัญญาเขาจะรักษาตัวให้อยู่ในระดับความดี ดังนั้นจึงเป็นผู้ควบคุมจิตใจได้และตั้งอยู่ในสมาธิเสมอโดยไม่ยึดติดกับอายตนะภายนอกเพื่อสนองประสาทสัมผัส จึงเป็นอิสระจากการยึดติดและความเกลียดชังในกิจกรรมของตนเอง บุคคลที่ไม่ยึดติดเช่นนี้โดยธรรมชาติชอบอยู่ในที่สันโดษ ไม่รับประทานอาหารมากเกินความจำเป็น ควบคุมกิจกรรมของร่างกาย และจิตใจของตนเองได้ ไม่มีอหังการเพราะไม่ยอมรับว่าร่างกายเป็นตัวเขาเอง และไม่ปรารถนาที่จะทำให้ร่างกายอ้วนท้วมแข็งแรงจากการยอมรับเอาสิ่งของวัตถุต่างๆมากมาย เนื่องจากไม่มีแนวคิดแห่งชีวิตทางร่างกายจึงไม่มีความยโสอย่างผิดๆ มีความพึงพอใจกับทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้มาด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺ ไม่มีความโกรธที่ไม่ได้สนองประสาทสัมผัส และไม่พยายามได้มาซึ่งอายตนะภายนอก เมื่อเป็นอิสระจากอหังการโดยสมบูรณ์และไม่ยึดติดกับสิ่งของวัตถุทั้งหลายนั่นคือระดับความรู้แจ้งแห่งตนของ พฺรหฺมนฺ ระดับนี้เรียกว่า พฺรหฺม-ภูต เมื่อเป็นอิสระจากแนวคิดแห่งชีวิตทางวัตถุเขาจะไม่มีความเร่าร้อน ได้อธิบายไว้ใน ภควัท-คีตา (2.70) ว่า

อาปูรฺยมาณมฺ อจล-ปฺรติษฺฐํ
สมุทฺรมฺ อาปห์ ปฺรวิศนฺติ ยทฺวตฺ
ตทฺวตฺ กามา ยํ ปฺรวิศนฺติ สเรฺว
ส ศานฺติมฺ อาปฺโนติ น กาม-กามี
“บุคคลผู้ไม่ถูกรบกวนจากความต้องการที่ไหลออกมาอย่างไม่หยุดยั้งนั้นเหมือนกับแม่น้ำที่ไหลลงสู่มหาสมุทร ซึ่งเต็มเปี่ยมแต่สงบนิ่งอยู่ตลอดเวลา เขาผู้นี้เท่านั้นที่ได้รับความสงบ ไม่ใช่บุคคลผู้ดิ้นรนเพื่อสนองความต้องการเหล่านี้”

โศลก 54

brahma-bhūtaḥ prasannātmā
na śocati na kāṅkṣati
samaḥ sarveṣu bhūteṣu
mad-bhaktiṁ labhate parām
พฺรหฺม-ภูตห์ ปฺรสนฺนาตฺมา
น โศจติ น กางฺกฺษติ
สมห์ สเรฺวษุ ภูเตษุ
มทฺ-ภกฺตึ ลภเต ปรามฺ
พฺรหฺม-ภูตห์ — เป็นหนึ่งเดียวกับสัจธรรม, ปฺรสนฺน-อาตฺมา — มีความรื่นเริงเต็มที่, — ไม่เคย, โศจติ — เศร้าโศก, — ไม่เคย, กางฺกฺษติ — ปรารถนา, สมห์ — เสมอภาค, สเรฺวษุ — ทั้งหมด, ภูเตษุ — สิ่งมีชีวิต, มตฺ-ภกฺติมฺ — การอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อข้า, ลภเต — ได้รับ, ปรามฺ — ทิพย์

คำแปล

ผู้ที่สถิตในระดับทิพย์จะรู้แจ้ง พฺรหฺมนฺ สูงสุดในทันที และจะมีความรื่นเริงอย่างเต็มเปี่ยม เขาจะไม่เศร้าโศกหรือปรารถนาจะได้สิ่งใด และเสมอภาคกับทุกชีวิต ในระดับนั้นเขาบรรลุถึงการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อข้าด้วยความบริสุทธิ์ใจ

คำอธิบาย

สำหรับผู้ที่ไม่เชื่อในรูปลักษณ์การบรรลุถึงระดับ พฺรหฺม-ภูต หรือกลายมาเป็นหนึ่งเดียวกับสัจธรรมนั้นจะเป็นคำสุดท้าย แต่สำหรับผู้ที่เชื่อในรูปลักษณ์หรือสาวกผู้บริสุทธิ์จะก้าวไปไกลกว่านั้นโดยปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยความบริสุทธิ์ เช่นนี้หมายความว่า ผู้ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยความบริสุทธิ์ใจต่อองค์ภควานฺอยู่ในระดับหลุดพ้นแล้วเรียกว่า พฺรหฺม-ภูต หรือเป็นหนึ่งเดียวกับสัจธรรมเรียบร้อยแล้ว ปราศจากการมาเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควานฺหรือสัจธรรมเราไม่สามารถถวายการรับใช้ต่อพระองค์ได้ ในแนวคิดที่สมบูรณ์จะไม่มีข้อแตกต่างระหว่างผู้รับ การรับใช้ และผู้รับใช้ แต่ในระดับทิพย์ที่สูงกว่าจะมีข้อแตกต่าง

ในแนวคิดชีวิตทางวัตถุเมื่อทำงานเพื่อสนองประสาทสัมผัสจะมีความทุกข์ยากลำบาก แต่ในโลกที่สมบูรณ์เมื่อปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยความบริสุทธิ์ใจจะไม่มีความทุกข์ยาก สาวกในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่มีอะไรที่ต้องเศร้าโศกหรือต้องปรารถนา เนื่องจากองค์ภควานฺทรงมีความสมบูรณ์ สิ่งมีชีวิตผู้ปฏิบัติรับใช้พระองค์ในกฺฤษฺณจิตสำนึกกลายมาเป็นผู้มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวเช่นกัน เขาเหมือนกับแม่น้ำที่ชะล้างน้ำสกปรกออกไปหมดแล้ว เนื่องจากสาวกผู้บริสุทธิ์ไม่มีความนึกคิดถึงสิ่งอื่นใดนอกจากองค์กฺฤษฺณจึงมีความรื่นเริงอยู่เสมอ โดยธรรมชาติจะไม่เศร้าโศกกับการสูญเสียทางวัตถุใดๆ หรือปรารถนาจะได้กำไรสิ่งใด เนื่องจากอิ่มเอิบอยู่ในการรับใช้พระองค์เขาจึงไม่มีความปรารถนาจะรื่นเริงทางวัตถุ เพราะรู้ว่าทุกๆชีวิตเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ ดังนั้นทุกๆชีวิตจึงเป็นผู้รับใช้นิรันดร เขาจะไม่มองตามแนวคิดทางวัตถุว่าบางคนสูงกว่าหรือบางคนต่ำกว่า สภาวะที่สูงกว่าและต่ำกว่านั้นไม่ถาวร สาวกไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับการปรากฏหรือการไม่ปรากฏที่ไม่ยั่งยืน สำหรับบุคคลเช่นนี้ทั้งก้อนหินหรือทองคำมีค่าเท่ากันนี่คือระดับ พฺรหฺม-ภูต และระดับนี้สาวกผู้บริสุทธิ์บรรลุได้โดยง่ายดายในระดับแห่งความเป็นอยู่เช่นนี้ ความคิดที่จะกลายมาเป็นหนึ่งเดียวกับ พฺรหฺมนฺ สูงสุดและทำลายความเป็นปัจเจกของตนเองเหมือนกับตกนรก ความคิดที่จะบรรลุถึงอาณาจักรสวรรค์กลายมาเป็นสิ่งหลอกลวง และประสาทสัมผัสนั้นเหมือนกับเขี้ยวของงูพิษที่หักไปแล้ว เฉกเช่นเราไม่กลัวงูพิษที่เขี้ยวหักเราก็จะไม่กลัวประสาทสัมผัสที่ควบคุมได้โดยปริยาย โลกนี้มีความทุกข์ยากสำหรับบุคคลที่ติดเชื้อโรคทางวัตถุ แต่สำหรับสาวกโลกทั้งโลกนั้นดีเท่าๆกับ ไวกุณฺฐ หรือท้องฟ้าทิพย์ บุคลสูงสุดในจักรวาลวัตถุนี้ไม่มีความสำคัญยิ่งไปกว่ามดตัวหนึ่ง สำหรับสาวกระดับจิตสำนึกเช่นนี้บรรลุได้ด้วยพระเมตตาขององค์ไจตนฺย ผู้ทรงสอนการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์ในยุคนี้

โศลก 55

bhaktyā mām abhijānāti
yāvān yaś cāsmi tattvataḥ
tato māṁ tattvato jñātvā
viśate tad-anantaram
ภกฺตฺยา มามฺ อภิชานาติ
ยาวานฺ ยศฺ จาสฺมิ ตตฺตฺวตห์
ตโต มำ ตตฺตฺวโต ชฺญาตฺวา
วิศเต ตทฺ-อนนฺตรมฺ
ภกฺตฺยา — ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์, มามฺ — ข้า, อภิชานาติ — เขาสามารถรู้, ยาวานฺ — มากเท่าๆกับ, ยห์ จ อสฺมิ — เหมือนข้าเป็น, ตตฺตฺวตห์ — ในความจริง, ตตห์ — หลังจากนั้น, มามฺ — ข้า, ตตฺตฺวตห์ — ในความจริง, ชฺญาตฺวา — รู้, วิศเต — เขาเข้าไป, ตตฺ-อนนฺตรมฺ — หลังจากนั้น

คำแปล

บุคคลสามารถเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ข้าคือองค์ภควาน ก็ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่านั้น และเมื่อมาอยู่ในจิตสำนึกแห่งข้าโดยสมบูรณ์ด้วยการอุทิศตนเสียสละเช่นนี้ เขาจะสามารถเข้าไปในอาณาจักรแห่งองค์ภควาน

คำอธิบาย

องค์กฺฤษฺณบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าและส่วนที่สมบูรณ์ของพระองค์ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ด้วยการคาดคะเนทางจิตหรือโดยผู้ไม่ใช่สาวก หากผู้ใดปรารถนาจะเข้าใจองค์ภควานฺเขาต้องปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์ภายใต้การชี้นำของสาวกผู้บริสุทธิ์ มิฉะนั้นความจริงเกี่ยวกับองค์ภควานฺจะถูกซ่อนเร้นอยู่เสมอ ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา (7.25) ว่า นาหํ ปฺรกาศห์ สรฺวสฺย พระองค์ทรงไม่เปิดเผยกับทุกๆคน ไม่มีผู้ใดสามารถเข้าใจองค์ภควานฺด้วยการมาเป็นนักวิชาการ ผู้คงแก่เรียน หรือเป็นนักคาดคะเนทางจิต ผู้ที่ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกและอุทิศตนเสียสละรับใช้จริงๆเท่านั้นจึงสามารถเข้าใจว่าองค์กฺฤษฺณคือใคร แม้ปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยอะไรก็ช่วยไม่ได้

ผู้มีความชำนาญมากในศาสตร์แห่งองค์กฺฤษฺณมีสิทธิ์ที่จะเข้าไปในอาณาจักรทิพย์หรือพระตำหนักของพระองค์การกลายเป็น พฺรหฺมนฺ มิได้หมายความว่าสูญเสียบุคลิกลักษณะของตนเอง ตราบใดที่การอุทิศตนเสียสละรับใช้มีอยู่จะต้องมีองค์ภควานฺ มีสาวก และมีวิธีการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ความรู้เช่นนี้ไม่สูญหายแม้หลังจากหลุดพ้นไปแล้ว การหลุดพ้นหมายถึงเป็นอิสระจากแนวคิดชีวิตทางวัตถุ ในชีวิตทิพย์มีข้อแตกต่างเช่นเดียวกันและมีความเป็นปัจเจกบุคคลเช่นเดียวกัน แต่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกที่บริสุทธิ์ เราไม่ควรคิดผิดๆกับคำว่า วิศเต หรือ “เข้ามาในข้า” ว่าไปสนับสนุนทฤษฏีของผู้ที่เชื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันว่าเราจะกลายมาเป็นเนื้อเดียวกันกับ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ มันไม่ใช่คำว่า วิศเต หมายความว่าเขาสามารถเข้าไปในพระตำหนักขององค์ภควานฺในความเป็นปัจเจกของตนเองเพื่อปฏิบัติอย่างใกล้ชิดและถวายการรับใช้แด่พระองค์ตัวอย่างเช่น นกสีเขียวไปอยู่บนต้นไม้สีเขียว ไม่ใช่เพื่อกลายมาเป็นหนึ่งเดียวกับต้นไม้ แต่เพื่อรื่นเริงกับผลไม้บนต้น พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์โดยทั่วไปให้ตัวอย่างว่า แม่น้ำไหลลงไปในมหาสมุทรและกลืนหายไป เช่นนี้อาจเป็นเหตุแห่งความสุขสำหรับผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ แต่ผู้เชื่อในรูปลักษณ์จะรักษาความเป็นปัจเจกบุคคลของตนเองเหมือนกับสัตว์น้ำในมหาสมุทร เราจะพบสิ่งมีชีวิตมากมายภายใต้มหาสมุทรหากเราดำลึกลงไป ความคุ้นเคยกับผิวน้ำของมหาสมุทรไม่เพียงพอ เราจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับชีวิตสัตว์น้ำในส่วนลึกของมหาสมุทรอย่างสมบูรณ์ด้วย

ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์สาวกจึงสามารถเข้าใจคุณลักษณะทิพย์และความมั่งคั่งขององค์ภควานฺตามความเป็นจริง ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทที่สิบเอ็ดว่า ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่านั้นที่เราสามารถเข้าใจ ได้ยืนยันไว้ตรงนี้เช่นเดียวกันว่าเราสามารถเข้าใจบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าได้ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้ แล้วจึงเข้าไปในอาณาจักรของพระองค์

หลังจากบรรลุถึงระดับ พฺรหฺม-ภูต ที่เป็นอิสระจากแนวคิดทางวัตถุ การอุทิศตนเสียสละรับใช้เริ่มต้นจากการสดับฟังเกี่ยวกับองค์ภควานฺเมื่อสดับฟังเกี่ยวกับพระองค์ระดับ พฺรหฺม-ภูต ก็จะพัฒนาโดยปริยายและมลทินทางวัตถุ เช่น ความโลภและราคะ เพื่อรื่นเริงทางประสาทสัมผัสจะเลือนหายไป ขณะที่ราคะและความปรารถนาเลือนหายไปจากหัวใจของสาวกท่านจะยึดมั่นกับการรับใช้พระองค์มากยิ่งขึ้น และจากการยึดมั่นเช่นนี้ทำให้เป็นอิสระจากมลทินทางวัตถุ ชีวิตในระดับนั้นจึงสามารถเข้าใจองค์ภควานฺ นี่คือข้อความจาก ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ หลังจากหลุดพ้นแล้ววิธีแห่ง ภกฺติ หรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้ทิพย์จะดำเนินต่อไป เวทานฺต-สูตฺร (4.1.12) ยืนยันดังนี้ อา-ปฺรายณาตฺ ตตฺราปิ หิ ทฺฤษฺฏมฺ หมายความว่าหลังจากหลุดพ้นแล้ววิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้จะดำเนินต่อไป ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ความหลุดพ้นแห่งการอุทิศตนเสียสละที่แท้จริงนิยามว่า สิ่งมีชีวิตกลับคืนมาสู่บุคลิกลักษณะของตนเองเหมือนดังเดิม สถานภาพเดิมแท้ได้อธิบายไว้แล้วว่า ทุกๆชีวิตเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ ดังนั้นสถานภาพเดิมแท้คือการรับใช้ หลังจากหลุดพ้นไปแล้วการรับใช้เช่นนี้ไม่มีวันหยุดลง อันที่จริงการหลุดพ้นคือเป็นอิสระจากแนวคิดชีวิตที่ผิด

โศลก 56

sarva-karmāṇy api sadā
kurvāṇo mad-vyapāśrayaḥ
mat-prasādād avāpnoti
śāśvataṁ padam avyayam
สรฺว-กรฺมาณฺยฺ อปิ สทา
กุรฺวาโณ มทฺ-วฺยปาศฺรยห์
มตฺ-ปฺรสาทาทฺ อวาปฺโนติ
ศาศฺวตํ ปทมฺ อวฺยยมฺ
สรฺว — ทั้งหมด, กรฺมาณิ — กิจกรรม, อปิ — ถึงแม้ว่า, สทา — เสมอ, กุรฺวาณห์ — ปฏิบัติ, มตฺ-วฺยปาศฺรยห์ — ภายใต้การปกป้องของข้า, มตฺ-ปฺรสาทาตฺ — ด้วยความเมตตาของข้า, อวาปฺโนติ — เขาบรรลุ, ศาศฺวตมฺ — ความเป็นอมตะ, ปทมฺ — พระตำหนัก, อวฺยยมฺ — ไม่มีวันสูญสลาย

คำแปล

แม้ปฏิบัติในกิจกรรมต่างๆทั้งหลาย สาวกผู้บริสุทธิ์ภายใต้การปกป้องของข้าจะบรรลุถึงพระตำหนักอมตะและไม่มีวันสูญสลาย ด้วยพระกรุณาธิคุณของข้า

คำอธิบาย

คำว่า มทฺ-วฺยปาศฺรยห์ หมายถึงภายใต้การปกป้องขององค์ภควานฺ การเป็นอิสระจากมลทินทางวัตถุ สาวกผู้บริสุทธิ์ปฏิบัติภายใต้การกำกับขององค์ภควานฺ หรือพระอาจารย์ทิพย์ซึ่งเป็นผู้แทนของพระองค์ไม่มีการจำกัดเวลาสำหรับสาวกผู้บริสุทธิ์ ท่านปฏิบัติในกิจกรรมภายใต้การกำกับขององค์ภควานฺวันละยี่สิบสี่ชั่วโมงร้อยเปอร์เซ็นต์ สำหรับสาวกผู้ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเช่นนี้พระองค์ทรงมีพระเมตตามากถึงแม้จะมีความยากลำบากนานัปการ ท่านจะถูกนำพาไปยังพระตำหนักทิพย์หรือ กฺฤษฺณโลก ในอนาคตซึ่งรับประกันได้โดยไม่ต้องสงสัย พระตำหนักสูงสุดนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอมตะ ไม่มีการสูญสลาย และเปี่ยมไปด้วยความรู้

โศลก 57

cetasā sarva-karmāṇi
mayi sannyasya mat-paraḥ
buddhi-yogam upāśritya
mac-cittaḥ satataṁ bhava
เจตสา สรฺว-กรฺมาณิ
มยิ สนฺนฺยสฺย มตฺ-ปรห์
พุทฺธิ-โยคมฺ อุปาศฺริตฺย
มจฺ-จิตฺตห์ สตตํ ภว
เจตสา — ด้วยปัญญา, สรฺว-กรฺมาณิ — กิจกรรมต่างๆทั้งหลาย, มยิ — แด่ข้า, สนฺนฺยสฺย — ยกเลิก, มตฺ-ปรห์ — ภายใต้การปกป้องของข้า, พุทฺธิ-โยคมฺ — กิจกรรมการอุทิศตนเสียสละ, อุปาศฺริตฺย — เป็นที่พึ่ง, มตฺ-จิตฺตห์ — ในจิตสำนึกแห่งข้า, สตตมฺ — วันละยี่สิบสี่ชั่วโมง, ภว — จงมาเป็น

คำแปล

ในกิจกรรมทั้งหลาย จงขึ้นอยู่กับข้าและทำงานภายใต้การปกป้องของข้าเสมอ ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้เช่นนี้ จงมีจิตสำนึกอยู่ที่ข้าโดยสมบูรณ์

คำอธิบาย

เมื่อปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเราไม่ทำตัวว่าเป็นเจ้าโลก เฉกเช่นผู้รับใช้ควรปฏิบัติภายใต้การชี้นำขององค์ภควานฺอย่างสมบูรณ์ ผู้รับใช้ไม่มีปัจเจกอิสรภาพแต่จะปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น ผู้รับใช้ปฏิบัติเพื่อเจ้านายสูงสุดโดยไม่ได้รับผลกระทบจากกำไรหรือขาดทุน เพียงแต่ปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตามคำสั่งขององค์ภควานฺ บัดนี้อาจมีคนเถียงว่า อรฺชุน ทรงปฏิบัติภายใต้การชี้นำโดยตรงขององค์กฺฤษฺณ แต่เมื่อองค์กฺฤษฺณทรงไม่ปรากฏเราควรจะปฏิบัติอย่างไร หากเราปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์กฺฤษฺณจากหนังสือเล่มนี้ พร้อมทั้งอยู่ภายใต้การนำทางของผู้แทนขององค์กฺฤษฺณผลจะเหมือนกัน คำสันสกฤต มตฺ-ปรห์ สำคัญมากในโศลกนี้ แสดงว่าไม่มีจุดมุ่งหมายอื่นใดในชีวิตนอกจากปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเพื่อให้องค์กฺฤษฺณทรงพอพระทัย ขณะทำงานเช่นนี้ควรระลึกถึงองค์กฺฤษฺณเท่านั้น โดยคิดว่า “องค์กฺฤษฺณทรงเลือกข้าให้มาทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ” ขณะปฏิบัติเช่นนี้เราย่อมระลึกถึงองค์กฺฤษฺณ นี่คือความสมบูรณ์แห่งกฺฤษฺณจิตสำนึก อย่างไรก็ดีควรสังเกตว่าหลังจากกระทำบางสิ่งบางอย่างตามอำเภอใจเราไม่ควรถวายผลนั้นต่อพระองค์หน้าที่เช่นนี้ไม่อยู่ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ของกฺฤษฺณจิตสำนึก เราควรจะปฏิบัติตามคำสั่งขององค์กฺฤษฺณ นี่คือประเด็นที่สำคัญมาก คำสั่งขององค์กฺฤษฺณผ่านทางระบบปรัมปราจากพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ดังนั้นคำสั่งของพระอาจารย์ทิพย์ควรถือว่าเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดในชีวิต หากเรามีพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้และปฏิบัติตามการชี้แนะของท่านความสมบูรณ์แห่งชีวิตในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะเป็นที่รับประกัน

โศลก 58

mac-cittaḥ sarva-durgāṇi
mat-prasādāt tariṣyasi
atha cet tvam ahaṅkārān
na śroṣyasi vinaṅkṣyasi
มจฺ-จิตฺตห์ สรฺว-ทุรฺคาณิ
มตฺ-ปฺรสาทาตฺ ตริษฺยสิ
อถ เจตฺ ตฺวมฺ อหงฺการานฺ
น โศฺรษฺยสิ วินงฺกฺษฺยสิ
มตฺ — ของข้า, จิตฺตห์ — อยู่ในจิตสำนึก, สรฺว — ทั้งหมด, ทุรฺคาณิ — อุปสรรค, มตฺ-ปฺรสาทาตฺ — ด้วยพระเมตตาของข้า, ตริษฺยสิ — เธอจะข้ามพ้น, อถ — แต่, เจตฺ — หาก, ตฺวมฺ — เธอ, อหงฺการาตฺ — ด้วยอหังการ, น โศฺรษฺยสิ — ไม่ฟัง, วินงฺกฺษฺยสิ — เธอจะสูญเสีย

คำแปล

หากมีจิตสำนึกอยู่ที่ข้า เธอจะข้ามพ้นอุปสรรคแห่งพันธชีวิตทั้งหมดด้วยความกรุณาธิคุณของข้า อย่างไรก็ดีหากเธอไม่ทำงานในจิตสำนึกเช่นนี้แต่ทำตามอหังการ ไม่เชื่อฟังข้า เธอจะหลงทาง

คำอธิบาย

บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่กระตือรือร้นเกินควรเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่เพื่อความเป็นอยู่ของตน คนโง่เขลาไม่สามารถเข้าใจความเป็นอิสรเสรีจากความวิตกกังวลทั้งหมดนี้ สำหรับผู้ที่ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกองค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงกลายมาเป็นสหายสนิทที่สุด พระองค์ทรงดูแลความสะดวกสบายของสหายเสมอ และทรงให้ตัวพระองค์เองแก่สหายผู้ปฏิบัติวันละยี่สิบสี่ชั่วโมงด้วยการอุทิศตนเสียสละเพื่อให้พระองค์พอพระทัย ดังนั้นไม่ควรมีผู้ใดถูกอหังการแห่งแนวคิดชีวิตทางวัตถุนำพาไป เราไม่ควรคิดผิดๆว่าตนเองเป็นอิสระจากกฎแห่งธรรมชาติหรือเป็นอิสระในการกระทำ เราอยู่ภายใต้กฎอันเข้มงวดแห่งวัตถุ แต่ทันทีที่ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเราจะหลุดพ้นเป็นอิสระจากความสับสนทางวัตถุ ควรสังเกตอย่างรอบคอบว่าผู้ที่ไม่ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกกำลังสูญเสียตนเองไปในวังวนแห่งวัตถุ ในมหาสมุทรแห่งการเกิดและการตาย ไม่มีพันธวิญญาณดวงไหนรู้อย่างแท้จริงว่าอะไรควรทำและอะไรไม่ควรทำ แต่บุคคลผู้ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นอิสระในการกระทำ เพราะว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้กระตุ้นทุกสิ่งทุกอย่างจากภายใน และพระอาจารย์ทิพย์จะยืนยันเพื่อให้ความมั่นใจ

โศลก 59

yad ahaṅkāram āśritya
na yotsya iti manyase
mithyaiṣa vyavasāyas te
prakṛtis tvāṁ niyokṣyati
ยทฺ อหงฺการมฺ อาศฺริตฺย
น โยตฺสฺย อิติ มนฺยเส
มิไถฺยษ วฺยวสายสฺ เต
ปฺรกฺฤติสฺ ตฺวำ นิโยกฺษฺยติ
ยตฺ — หาก, อหงฺการมฺ — ของอหังการ, อาศฺริตฺย — ไปพึ่ง, น โยตฺเสฺย — ข้าจะไม่สู้รบ, อิติ — ดังนั้น, มนฺยเส — เธอคิด, มิถฺยา เอษห์ — เช่นนี้ผิดทั้งหมด, วฺยวสายห์ — ความมุ่งมั่น, เต — ของเธอ, ปฺรกฺฤติห์ — ธรรมชาติวัตถุ, ตฺวามฺ — เธอ, นิโยกฺษฺยติ — จะปฏิบัติ

คำแปล

หากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของข้า และไม่ต่อสู้ เธอจะถูกนำไปในทางที่ผิด ตามธรรมชาติของเธอแล้วเธอจะต้องต่อสู้ในสงคราม

คำอธิบาย

อรฺชุน ทรงเป็นทหารและเกิดจากธรรมชาติแห่งความเป็น กฺษตฺริย ดังนั้นหน้าที่โดยธรรมชาติคือการต่อสู้ แต่เนื่องจากอหังการจึงกลัวว่าเมื่อสังหารครูบาอาจารย์ เสด็จปู่ และบรรดาสหายจะได้รับผลบาป อันที่จริง อรฺชุน ทรงพิจารณาว่าตนเองเป็นเจ้านายแห่งการกระทำของตน ประหนึ่งว่าตนเองเป็นผู้กำกับผลดีและผลเสียของงานนี้ โดยลืมไปว่าองค์ภควานฺทรงประทับอยู่เคียงข้าง และทรงสอนให้ อรฺชุน ต่อสู้ นั่นคือการลืมของพันธวิญญาณ องค์ภควานฺทรงให้คำชี้นำว่าอะไรดีและอะไรไม่ดี เราเพียงแต่ต้องปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกเพื่อบรรลุถึงความสมบูรณ์แห่งชีวิต ไม่มีผู้ใดมีความมั่นใจในชะตากรรมของตนเองเท่ากับพระองค์ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือรับเอาคำสั่งจากพระองค์และปฏิบัติตาม ไม่มีผู้ใดควรปฏิเสธคำสั่งขององค์ภควานฺหรือคำสั่งของพระอาจารย์ทิพย์ซึ่งเป็นผู้แทนของพระองค์เราควรปฏิบัติตามคำสั่งขององค์ภควานฺโดยไม่ลังเล เช่นนี้จะรักษาตัวเราให้ปลอดภัยภายใต้สถานการณ์ทั้งปวง

โศลก 60

svabhāva-jena kaunteya
nibaddhaḥ svena karmaṇā
kartuṁ necchasi yan mohāt
kariṣyasy avaśo ’pi tat
สฺวภาว-เชน เกานฺเตย
นิพทฺธห์ เสฺวน กรฺมณา
กรฺตุํ เนจฺฉสิ ยนฺ โมหาตฺ
กริษฺยสฺยฺ อวโศ ’ปิ ตตฺ
สฺวภาว-เชน — เกิดจากธรรมชาติของตัวเธอเอง, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, นิพทฺธห์ — พันธสภาวะ, เสฺวน — จากตัวเธอ, กรฺมณา — กิจกรรม, กรฺตุมฺ — กระทำ, — ไม่, อิจฺฉสิ — เธอชอบ, ยตฺ — นั้นซึ่ง, โมหาตฺ — ด้วยความหลง, กริษฺยสิ — เธอจะทำ, อวศห์ — ไม่อาสา, อปิ — แม้, ตตฺ — นั้น

คำแปล

ภายใต้ความหลงบัดนี้เธอนั้นปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำของข้า แต่ถูกบังคับด้วยงานที่เกิดจากธรรมชาติของตัวเธอเอง เธอจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี

คำอธิบาย

หากปฏิเสธในการปฏิบัติภายใต้คำแนะนำขององค์ภควานฺเราจะถูกบังคับให้ปฏิบัติภายใต้ระดับต่างๆที่ตนเองสถิตอยู่ ทุกคนอยู่ภายใต้มนต์สะกดของการผสมผสานโดยเฉพาะของระดับต่างๆแห่งธรรมชาติ และปฏิบัติไปตามแนวทางนั้น แต่หากผู้ใดอาสามาปฏิบัติภายใต้คำแนะนำขององค์ภควานฺผู้นั้นจะได้รับการสรรเสริญ

โศลก 61

īśvaraḥ sarva-bhūtānāṁ
hṛd-deśe ’rjuna tiṣṭhati
bhrāmayan sarva-bhūtāni
yantrārūḍhāni māyayā
อีศฺวรห์ สรฺว-ภูตานำ
หฺฤทฺ-เทเศ ’รฺชุน ติษฺฐติ
ภฺรามยนฺ สรฺว-ภูตานิ
ยนฺตฺรารูฒานิ มายยา
อีศฺวรห์ — องค์ภควาน, สรฺว-ภูตานามฺ — ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย, หฺฤตฺ-เทเศ — อยู่ในหัวใจ, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน, ติษฺฐติ — อาศัย, ภฺรามยนฺ — เป็นเหตุให้เดินทาง, สรฺว-ภูตานิ — มวลชีวิต, ยนฺตฺร — บนเครื่องจักร, อารูฒนิ — ถูกวาง, มายยา — ภายใต้มนต์สะกดของพลังงานวัตถุ

คำแปล

องค์ภควานทรงสถิตภายในหัวใจของทุกๆคน โอ้ อรฺชุน และทรงชี้นำการเดินทางของมวลชีวิตผู้เสมือนกับนั่งอยู่บนเครื่องจักรที่ผลิตจากพลังงานวัตถุ

คำอธิบาย

อรฺชุน ทรงไม่ใช่ผู้รู้สูงสุด และการตัดสินใจในการสู้หรือไม่สู้อยู่ในขอบเขตของดุลยพินิจที่จำกัดของตนเอง องค์กฺฤษฺณทรงสั่งสอนว่าปัจเจกชีวิตมิใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าหรือองค์กฺฤษฺณเองในฐานะที่เป็นอภิวิญญาณทรงประทับอยู่ภายในหัวใจและทรงชี้แนะสิ่งมีชีวิต หลังจากเปลี่ยนร่างกายแล้วสิ่งมีชีวิตลืมกรรมเก่าในอดีตของตน แต่อภิวิญญาณในฐานะที่เป็นผู้รู้อดีต ปัจจุบัน และอนาคตยังทรงเป็นพยานในกิจกรรมของเขาทั้งหมด ดังนั้นกิจกรรมทั้งหลายของสิ่งมีชีวิตนั้นองค์อภิวิญญาณทรงเป็นผู้ชี้นำ สิ่งมีชีวิตได้รับสิ่งที่ตนควรได้และร่างวัตถุ ซึ่งสร้างขึ้นมาจากพลังงานวัตถุนำพาไปภายใต้การชี้นำของอภิวิญญาณ ทันทีที่สิ่งมีชีวิตถูกวางให้อยู่ในร่างอะไรก็แล้วแต่เขาต้องทำงานภายใต้มนต์สะกดของสถานการณ์ทางร่างกายนั้น บุคคลนั่งอยู่ในรถที่มีความเร็วสูงจะไปได้เร็วกว่าผู้ที่นั่งในรถที่ช้ากว่า ถึงแม้ว่าสิ่งมีชีวิตหรือคนขับอาจจะเหมือนกัน ในทำนองเดียวกันจากคำสั่งของดวงวิญญาณสูงสุดธรรมชาติวัตถุออกแบบร่างกายที่เหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะ เพื่อเขาอาจทำงานตามความปรารถนาของตนในอดีตซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่เป็นอิสระ เราไม่ควรคิดว่าตนเองเป็นอิสระจากบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ปัจเจกชีวิตอยู่ภายใต้การควบคุมขององค์ภควานฺเสมอ ฉะนั้นหน้าที่ของเขาคือ การศิโรราบ และนั่นคือคำสอนของโศลกต่อไป

โศลก 62

tam eva śaraṇaṁ gaccha
sarva-bhāvena bhārata
tat-prasādāt parāṁ śāntiṁ
sthānaṁ prāpsyasi śāśvatam
ตมฺ เอว ศรณํ คจฺฉ
สรฺว-ภาเวน ภารต
ตตฺ-ปฺรสาทาตฺ ปรำ ศานฺตึ
สฺถานํ ปฺราปฺสฺยสิ ศาศฺวตมฺ
ตมฺ — แด่พระองค์, เอว — แน่นอน, ศรณมฺ คจฺฉ — ศิโรราบ, สรฺว-ภาเวน — ในทุกๆด้าน, ภารต — โอ้ โอรสแห่ง ภรต, ตตฺ-ปฺรสาทาตฺ — ด้วยพระกรุณาของพระองค์, ปรามฺ — ทิพย์, ศานฺติมฺ — ความสงบ, สฺถานมฺ — พระตำหนัก, ปฺราปฺสฺยสิ — เธอจะได้รับ, ศาศฺวตมฺ — อมตะ

คำแปล

โอ้ ผู้สืบราชวงศ์แห่ง ภรต ศิโรราบต่อองค์ภควานอย่างเต็มที่ ด้วยพระกรุณาธิคุณของพระองค์เธอจะบรรลุถึงความสงบทิพย์ และบรรลุถึงพระตำหนักสูงสุดนิรันดร

คำอธิบาย

ดังนั้นสิ่งมีชีวิตควรศิโรราบต่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าผู้ทรงสถิตภายในหัวใจของทุกๆคน และนั่นจะปลดเปลื้องตัวเขาให้ออกจากความทุกข์แห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุทั้งปวง จากการศิโรราบนี้ไม่เพียงแต่จะได้รับการปลดเปลื้องจากความทุกข์ทั้งหลายในชาตินี้ แต่ในบั้นปลายเขาจะบรรลุถึงองค์ภควานฺ ในวรรณกรรมพระเวท (ฤคฺ เวท 1.22.20) ได้อธิบายถึงโลกทิพย์ว่า ตทฺ วิษฺโณห์ ปรมํ ปทมฺ เนื่องจากการสร้างทั้งหมดเป็นอาณาจักรของพระองค์ทุกสิ่งทางวัตถุอันที่จริงเป็นทิพย์ แต่ ปรมํ ปทมฺ หมายถึง เฉพาะพระตำหนักนิรันดรซึ่งเรียกว่า ท้องฟ้าทิพย์ หรือ ไวกุณฺฐ

บทที่สิบห้าของ ภควัท-คีตา กล่าวไว้ว่า สรฺวสฺย จาหํ หฺฤทิ สนฺนิวิษฺฏห์ องค์ภควานฺทรงสถิตภายในหัวใจของทุกๆคน ดังนั้นการแนะนำที่ว่าควรศิโรราบต่ออภิวิญญาณผู้ทรงประทับอยู่ภายในหัวใจหมายความว่า ควรศิโรราบต่อองค์ภควานฺกฺฤษฺณ อรฺชุน ทรงยอมรับว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคคลสูงสุด ในบทที่สิบทรงได้รับการยอมรับว่าเป็น ปรํ พฺรหฺม ปรํ ธาม อรฺชุน ยอมรับองค์กฺฤษฺณว่าทรงเป็นองค์ภควานฺ และทรงเป็นพระตำหนักสูงสุดของมวลชีวิต ไม่เฉพาะแต่ประสบการณ์ส่วนตัวของ อรฺชุน เท่านั้น แต่จากหลักฐานของบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ที่เชื่อถือได้ เช่น นารท, อสิต, เทวล และ วฺยาส

โศลก 63

iti te jñānam ākhyātaṁ
guhyād guhya-taraṁ mayā
vimṛśyaitad aśeṣeṇa
yathecchasi tathā kuru
อิติ เต ชฺญานมฺ อาขฺยาตํ
คุหฺยาทฺ คุหฺย-ตรํ มยา
วิมฺฤไศฺยตทฺ อเศเษณ
ยเถจฺฉสิ ตถา กุรุ
อิติ — ดังนั้น, เต — แด่เธอ, ชฺญานมฺ — ความรู้, อาขฺยาตมฺ — อธิบาย, คุหฺยาตฺ — ลับกว่า, คุหฺย-ตรมฺ — ยิ่งลับขึ้นไปอีก, มยา — โดยข้า, วิมฺฤศฺย — พิจารณา, เอตตฺ — เกี่ยวกับเรื่องนี้, อเศเษณ — อย่างรอบคอบ, ยถา — ประหนึ่ง, อิจฺฉสิ — เธอชอบ, ตถา — นั้น, กุรุ — ปฏิบัติ

คำแปล

ข้าได้อธิบายแก่เธอถึงความรู้ที่ลับขึ้นไปอีก จงพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ จากนั้นก็ทำตามที่เธอปรารถนา

คำอธิบาย

องค์ภควานฺทรงอธิบายแก่ อรฺชุน ถึงความรู้แห่ง พฺรหฺม-ภูต บุคคลที่อยู่ในสภาวะ พฺรหฺม-ภูต มีความรื่นเริง ไม่เคยเศร้าโศกหรือต้องการสิ่งใด เช่นนี้เนื่องมาจากรู้ความลับนี้องค์กฺฤษฺณทรงเปิดเผยความรู้แห่งองค์อภิวิญญาณให้ ซึ่งเป็นความรู้ พฺรหฺมนฺ เช่นกันแต่เป็นความรู้ พฺรหฺมนฺ ที่สูงกว่า

ที่นี้ คำว่า ยเถจฺฉสิ ตถา กุรุ “ตามที่เธอชอบ เธออาจปฏิบัติได้” แสดงให้เห็นว่าองค์ภควานฺทรงไม่ก้าวก่ายกับเสรีภาพเล็กน้อยที่สิ่งมีชีวิตมี ใน ภควัท-คีตา พระองค์ทรงอธิบายถึงทุกแง่ทุกมุมว่า เราสามารถพัฒนาสภาวะความเป็นอยู่ของเราได้อย่างไร คำแนะนำที่ดีที่สุดได้ให้แก่ อรฺชุน ว่า จงศิโรราบต่อองค์อภิวิญญาณผู้ทรงประทับอยู่ภายในหัวใจของตนเอง จากการแยกแยะอย่างถูกต้องนั้นเราควรตกลงปลงใจที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของอภิวิญญาณ เช่นนี้จะช่วยให้เราสถิตในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เสมอซึ่งเป็นระดับสมบูรณ์สูงสุดของชีวิตมนุษย์ อรฺชุน ได้รับคำสั่งโดยตรงจากบุคลิกภาพแห่งพระเจ้าให้ต่อสู้ การศิโรราบต่อพระองค์จะเป็นผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของสิ่งมีชีวิต ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ขององค์ภควานฺ ก่อนการศิโรราบเรามีอิสระเสรีในการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนี้เท่าที่สติปัญญาจะอำนวยให้ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการที่จะยอมรับคำสั่งสอนขององค์ภควานฺ คำสั่งสอนเช่นนี้จะถูกถ่ายทอดผ่านมาทางพระอาจารย์ทิพย์ซึ่งเป็นผู้แทนที่เชื่อถือได้ขององค์กฺฤษฺณเช่นกัน

โศลก 64

sarva-guhyatamaṁ bhūyaḥ
śṛṇu me paramaṁ vacaḥ
iṣṭo ’si me dṛḍham iti
tato vakṣyāmi te hitam
สรฺว-คุหฺยตมํ ภูยห์
ศฺฤณุ เม ปรมํ วจห์
อิษฺโฏ ’สิ เม ทฺฤฒมฺ อิติ
ตโต วกฺษฺยามิ เต หิตมฺ
สรฺว-คุหฺย-ตมมฺ — ลับที่สุด, ภูยห์ — อีกครั้งหนึ่ง, ศฺฤณุ — จงฟัง, เม — จากข้า, ปรมมฺ — สูงสุด, วจห์ — คำสั่งสอน, อิษฺฏห์ อสิ — เธอเป็นที่รัก, เม — ของข้า, ทฺฤฒมฺ — มาก, อิติ — ดังนั้น, ตตห์ — จึง, วกฺษฺยามิ — ข้าตรัส, เต — เพื่อเธอ, หิตมฺ — ประโยชน์

คำแปล

เนื่องจากเธอเป็นสหายที่ข้ารักมาก ข้าจึงตรัสคำสั่งสอนสูงสุดนี้แก่เธอซึ่งเป็นความรู้ที่ลับสุดยอด จงฟังจากข้าเพื่อประโยชน์ของเธอ

คำอธิบาย

ความรู้ที่เป็นความลับที่องค์ภควานฺทรงให้แก่ อรฺชุน คือ “ความรู้ พฺรหฺมนฺ ความรู้ที่ลับยิ่งไปกว่านี้คือ “ความรู้องค์อภิวิญญาณภายในหัวใจของทุกคน” และมาบัดนี้พระองค์ทรงให้ส่วนที่เป็นความลับที่สุดของความรู้คือ เพียงแต่ศิโรราบต่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ในตอนท้ายของบทที่เก้าพระองค์ตรัสว่า มนฺ-มนาห์ “เพียงแต่ระลึกถึงข้าเสมอ” คำสอนเดียวกันนี้ได้ตรัสซ้ำตรงนี้เพื่อเน้นถึงแก่นสารสาระสำคัญแห่งคำสั่งสอนของ ภควัท-คีตา แก่นสารสาระสำคัญนี้บุคคลธรรมดาทั่วไปจะไม่เข้าใจ แต่ผู้เป็นที่รักยิ่งอันแท้จริงขององค์กฺฤษฺณหรือสาวกผู้บริสุทธิ์ของพระองค์จึงจะเข้าใจ นี่คือคำสั่งสอนที่สำคัญที่สุดในวรรณกรรมพระเวททั้งหมด สิ่งที่องค์กฺฤษฺณตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นส่วนสำคัญที่สุดแห่งความรู้ และไม่เพียง อรฺชุน เท่านั้นที่ทรงควรปฏิบัติแต่สิ่งมีชีวิตทั้งหมดก็ควรปฏิบัติตาม

โศลก 65

man-manā bhava mad-bhakto
mad-yājī māṁ namaskuru
mām evaiṣyasi satyaṁ te
pratijāne priyo ’si me
มนฺ-มนา ภว มทฺ-ภกฺโต
มทฺ-ยาชี มำ นมสฺกุรุ
มามฺ เอไวษฺยสิ สตฺยํ เต
ปฺรติชาเน ปฺริโย ’สิ เม
มตฺ-มนาห์ — ระลึกถึงข้า, ภว — เพียงมาเป็น, มตฺ-ภกฺตห์ — สาวกของข้า, มตฺ-ยาชี — เป็นผู้บูชาข้า, มามฺ — แด่ข้า, นมสฺกุรุ — ถวายความเคารพ, มามฺ — แด่ข้า, เอว — แน่นอน, เอษฺยสิ — เธอจะมา, สตฺยมฺ — อย่างแท้จริง, เต — แก่เธอ, ปฺรติชาเน — ข้าสัญญา, ปฺริยห์ — ที่รัก, อสิ — เธอเป็น, เม — ของข้า

คำแปล

ระลึกถึงข้าเสมอ มาเป็นสาวกของข้า บูชาข้า และถวายความเคารพแด่ข้า เช่นนี้เธอจะมาหาข้าอย่างแน่นอน ข้าสัญญาเช่นนี้เพราะเธอเป็นสหายที่รักยิ่งของข้า

คำอธิบาย

ส่วนลับที่สุดของความรู้คือ มาเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ขององค์กฺฤษฺณ ระลึกถึงพระองค์เสมอ และปฏิบัติเพื่อพระองค์เราไม่ควรเป็นนักปฏิบัติสมาธิแค่เป็นเพียงพิธีกรรมแต่ควรหล่อหลอมชีวิตให้มีโอกาสระลึกถึงองค์กฺฤษฺณเสมอ เราควรปฏิบัติในวิธีที่กิจกรรมประจำวันของเราทั้งหมดเชื่อมสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณ และควรตระเตรียมชีวิตให้เป็นเช่นนี้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงจนไม่สามารถคิดถึงอย่างอื่นนอกจากองค์กฺฤษฺณ และคำสัญญาขององค์ภควานฺก็คือ ผู้ใดที่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกที่บริสุทธิ์เช่นนี้จะกลับคืนสู่พระตำหนักของพระองค์สถานที่ที่เราจะปฏิบัติอย่างใกล้ชิดและอยู่กับองค์กฺฤษฺณซึ่งๆหน้า ส่วนลับที่สุดของความรู้นี้ได้ตรัสแก่ อรฺชุน เพราะว่า อรฺชุน ทรงเป็นสหายรักขององค์กฺฤษฺณ ทุกๆคนที่ปฏิบัติตามวิถีทางของ อรฺชุน จะกลายมาเป็นสหายรักขององค์งกฺฤษฺณ และจะบรรลุถึงความสมบูรณ์เหมือนกับ อรฺชุน

คำพูดเหล่านี้เน้นว่าเราควรตั้งสมาธิจิตอยู่ที่องค์กฺฤษฺณรูปลักษณ์สองกร ทรงขลุ่ย เด็กน้อยที่มีผิวสีน้ำเงิน มีดวงหน้าอันงดงาม และมีหางนกยูงประดับอยู่ที่พระเกศา มีคำพรรณนาถึงองค์กฺฤษฺณที่พบใน พฺรหฺม-สํหิตา และวรรณกรรมอื่นๆ เราควรตั้งจิตมั่นอยู่ที่รูปลักษณ์เดิมแท้ขององค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณโดยไม่เบี่ยงเบนความสนใจไปที่รูปลักษณ์อื่นใดของพระองค์องค์ภควานฺทรงมีรูปลักษณ์มากมาย เช่น พระวิษฺณุ พระนารายณ์ พระราม พระวราห ฯลฯ แต่สาวกควรตั้งสมาธิจิตอยู่ที่รูปลักษณ์ที่ทรงปรากฏอยู่ต่อหน้า อรฺชุน การตั้งสมาธิจิตอยู่ที่องค์กฺฤษฺณเป็นส่วนลับที่สุดของความรู้ และได้เปิดเผยต่อ อรฺชุน เช่นนี้เพราะว่า อรฺชุน ทรงเป็นสหายที่รักยิ่งขององค์กฺฤษฺณ

โศลก 66

sarva-dharmān parityajya
mām ekaṁ śaraṇaṁ vraja
ahaṁ tvāṁ sarva-pāpebhyo
mokṣayiṣyāmi mā śucaḥ
สรฺว-ธรฺมานฺ ปริตฺยชฺย
มามฺ เอกํ ศรณํ วฺรช
อหํ ตฺวำ สรฺว-ปาเปโภฺย
โมกฺษยิษฺยามิ มา ศุจห์
สรฺว-ธรฺมานฺ — ศาสนาทั้งหลาย, ปริตฺยชฺย — ยกเลิก, มามฺ — แด่ข้า, เอกมฺ — เท่านั้น, ศรณมฺ — เพื่อศิโรราบ, วฺรช — ไป, อหมฺ — ข้า, ตฺวามฺ — เธอ, สรฺว — ทั้งหมด, ปาเปภฺยห์ — จากผลบาป, โมกฺษยิษฺยามิ — จะส่ง, มา — ไม่, ศุจห์ — วิตก

คำแปล

ยกเลิกศาสนาทั้งหมด และเพียงแต่ศิโรราบต่อข้า ข้าจะส่งเธอให้ออกจากผลบาปทั้งปวง จงอย่ากลัว

คำอธิบาย

องค์ภควานฺทรงอธิบายความรู้ต่างๆและวิธีต่างๆของศาสนา เช่น ความรู้ของ พฺรหฺมนฺ สูงสุด ความรู้ของอภิวิญญาณ ความรู้ระดับชีวิต และวรรณะต่างๆทางสังคม ความรู้ชีวิตสละโลก ความรู้แห่งการไม่ยึดติด การควบคุมประสาทสัมผัสและจิตใจ การทำสมาธิ ฯลฯ พระองค์ทรงอธิบายหลายวิธีเกี่ยวกับศาสนาต่างๆ บัดนี้ในการสรุป ภควัท-คีตา พระองค์ตรัสว่า อรฺชุน ควรยกเลิกวิธีต่างๆทั้งหมดที่ได้ทรงอธิบายมาแล้วเพียงแต่ศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณ การศิโรราบนี้จะช่วยให้ออกจากผลบาปทั้งปวง เพราะว่าองค์ภควานฺทรงให้สัญญาด้วยพระองค์เองว่าจะปกป้อง อรฺชุน

ในบทที่เจ็ดได้มีการกล่าวไว้ว่า บุคคลผู้เป็นอิสระจากผลบาปทั้งหมดเท่านั้นจึงสามารถปฏิบัติบูชาองค์ศฺรี กฺฤษฺณได้ ดังนั้นเราอาจคิดว่านอกเสียจากจะเป็นอิสระจากผลบาปทั้งหมด มิฉะนั้นเราก็จะไม่สามารถปฏิบัติวิธีการศิโรราบ สำหรับข้อสงสัยนี้ได้กล่าวไว้ตรงนี้ว่า แม้หากเราไม่เป็นอิสระจากผลบาปทั้งหมด เพียงด้วยวิธีการศิโรราบต่อศฺรี กฺฤษฺณเราก็จะเป็นอิสระโดยปริยาย ไม่มีความจำเป็นต้องพยายามเป็นพิเศษเพื่อให้ตนเองเป็นอิสระจากผลบาป เราควรยอมรับองค์กฺฤษฺณโดยไม่มีข้อสงสัยว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ช่วยเหลือสูงสุดของมวลชีวิต ด้วยความศรัทธาและความรักเราจึงควรศิโรราบต่อพระองค์

วิธีแห่งการศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณได้อธิบายไว้ใน หริ-ภกฺติ-วิลาส (11.676)

อานุกูลฺยสฺย สงฺกลฺปห์
ปฺราติกูลฺยสฺย วรฺชนมฺ
รกฺษิษฺยตีติ วิศฺวาโส
โคปฺตฺฤเตฺว วรณํ ตถา
อาตฺม-นิกฺเษป-การฺปเณฺย
ษฑฺ-วิธา ศรณาคติห์
ตามวิธีการอุทิศตนเสียสละเราเพียงแต่ยอมรับหลักธรรมทางศาสนา เช่นนี้จะนำมาสู่การอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺในที่สุด เราอาจปฏิบัติอาชีพการงานโดยเฉพาะตามสถานภาพชีวิตในสังคม แต่ถ้าหากปฏิบัติตามหน้าที่แล้วมาไม่ถึงจุดแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกกิจกรรมของเราทั้งหมดจะไร้ประโยชน์ สิ่งใดที่ไม่นำมาให้ถึงระดับสมบูรณ์แห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกควรหลีกเลี่ยง เราควรมั่นใจว่าในทุกๆสถานการณ์ว่าองค์กฺฤษฺณจะทรงปกป้องเราจากความยากลำบากทั้งปวง ไม่จำเป็นต้องคิดว่าควรดำรงรักษาร่างกายและดวงวิญญาณให้อยู่ด้วยกันอย่างไร องค์กฺฤษฺณจะทรงดูแลเอง เราควรคิดเสมอว่าตนเองช่วยตัวเองไม่ได้ และควรพิจารณาว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นพื้นฐานแห่งความเจริญก้าวหน้าในชีวิตของเราเท่านั้น ทันทีที่ปฏิบัติอย่างจริงจังในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺในกฺฤษฺณจิตสำนึกที่สมบูรณ์ เราจะเป็นอิสระจากมลทินทั้งปวงแห่งธรรมชาติวัตถุทันที มีวิธีทางศาสนาต่างๆและวิธีการที่ทำให้บริสุทธิ์ด้วยการพัฒนาความรู้ การทำสมาธิในระบบโยคะอิทธิฤทธิ์ แต่ผู้ที่ศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณไม่ต้องปฏิบัติตามวิธีการมากมาย การศิโรราบอย่างง่ายๆต่อองค์กฺฤษฺณจะช่วยให้เราไม่ต้องสูญเสียเวลาไปโดยไม่จำเป็น เราสามารถทำความเจริญก้าวหน้าทั้งหมดโดยทันที และเป็นอิสระจากผลบาปทั้งปวง

เราควรชื่นชอบกับรูปลักษณ์อันสง่างามขององค์กฺฤษฺณ พระนามของพระองค์คือองค์กฺฤษฺณก็เพราะว่าพระองค์ทรงมีเสน่ห์สูงสุด ผู้ที่ชื่นชอบกับภาพลักษณ์ขององค์กฺฤษฺณที่มีความสง่างาม มีพลังอำนาจทั้งหมด และมีพระเดชทั้งหมดเป็นผู้ที่โชคดี มีนักทิพย์นิยมต่างๆบ้างชื่นชอบกับ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ บ้างก็ชื่นชอบกับลักษณะของอภิวิญญาณ ฯลฯ แต่ผู้ที่ชื่นชอบกับลักษณะส่วนพระองค์ของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า และเหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมดผู้ที่ชื่นชอบกับองค์ภควานฺในรูปลักษณ์ขององค์กฺฤษฺเป็นนักทิพย์นิยมที่สมบูรณ์ที่สุด อีกนัยหนึ่งการอุทิศตนเสียสละต่อองค์กฺฤษฺณในจิตสำนึกที่สมบูรณ์เป็นส่วนลับที่สุดของความรู้ และนี่คือเนื้อหาสาระของ ภควัท-คีตา ทั้งหมด กรฺม-โยคี หรือนักปราชญ์ช่างสังเกต โยคีหรือผู้มีฤทธิ์ และสาวก ทั้งหมดเรียกว่านักทิพย์นิยม แต่ผู้เป็นสาวกที่บริสุทธิ์ดีที่สุด คำที่ใช้โดยเฉพาะ ที่นี้คือ มา ศุจห์ “จงอย่ากลัว จงอย่าลังเล จงอย่าวิตก” มีความสำคัญมาก เราอาจสับสนว่าจะสามารถยกเลิกรูปแบบของศาสนาต่างๆทั้งหมดและเพียงแต่ศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณได้อย่างไร แต่ความวิตกกังวลเช่นนี้ไร้ประโยชน์

โศลก 67

idaṁ te nātapaskāya
nābhaktāya kadācana
na cāśuśrūṣave vācyaṁ
na ca māṁ yo ’bhyasūyati
อิทํ เต นาตปสฺกาย
นาภกฺตาย กทาจน
น จาศุศฺรูษเว วาจฺยํ
น จ มำ โย ’ภฺยสูยติ
อิทมฺ — นี้, เต — โดยเธอ, — ไม่เคย, อตปสฺกาย — แก่ผู้ที่ไม่สมถะ, — ไม่เคย, อภกฺตาย — แก่ผู้ที่ไม่ใช่สาวก, กทาจน — ทุกเวลา, — ไม่เคย, — เช่นกัน, อศุศฺรูษเว — แก่ผู้ที่ไม่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้, วาจฺยมฺ — พูด, — ไม่เคย, — เช่นกัน, มามฺ — แก่ข้า, ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, อภฺยสูยติ — อิจฉาริษยา

คำแปล

ความรู้ที่ลับเฉพาะนี้ไม่อาจอธิบายแก่พวกที่ไม่สมถะ ไม่เสียสละ หรือไม่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ และผู้ที่อิจฉาริษยาข้า

คำอธิบาย

พวกที่ไม่เคยผ่านการฝึกฝนความสมถะของวิธีทางศาสนา ไม่เคยพยายามอุทิศตนเสียสละรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึก ผู้ไม่เคยรับใช้สาวกผู้บริสุทธิ์ และโดยเฉพาะพวกที่มีจิตสำนึกว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นเพียงบุคคลทางประวัติศาสตร์ หรือผู้อิจฉาริษยาความยิ่งใหญ่ขององค์กฺฤษฺณไม่ควรได้รับการบอกเล่าส่วนลับที่สุดแห่งความรู้นี้ อย่างไรก็ดีบางครั้งเราพบว่าแม้เหล่ามารผู้อิจฉาริษยาองค์กฺฤษฺณจะบูชาองค์กฺฤษฺณในวิธีต่างๆกัน มีอาชีพเป็นผู้อธิบาย ภควัท-คีตา ในวิธีต่างๆเพื่อทำธุรกิจ แต่ผู้ใดปรารถนาที่จะเข้าใจองค์กฺฤษฺณโดยแท้จริงต้องหลีกเลี่ยงการบรรยาย ภควัท-คีตา เช่นนี้ ความจริงแล้วจุดมุ่งหมายของ ภควัท-คีตา ไม่สามารถเป็นที่เข้าใจสำหรับพวกที่ยังหมกมุ่นกับประสาทสัมผัส แม้ผู้ที่ไม่อยู่ในระดับประสาทสัมผัสแต่ปฏิบัติตามหลักธรรมอย่างเคร่งครัดที่กำหนดไว้ในวรรณกรรมพระเวท หากไม่ใช่สาวกก็ไม่สามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณได้ หากอ้างตนเองว่าเป็นสาวกขององค์กฺฤษฺณแต่ไม่ปฏิบัติในกิจกรรมของกฺฤษฺณจิตสำนึกก็จะไม่สามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณ มีหลายคนที่อิจฉาริษยาองค์กฺฤษฺณเพราะว่าพระองค์ทรงอธิบายใน ภควัท-คีตา ว่า พระองค์ทรงเป็นผู้สูงสุดและไม่มีผู้ใดเหนือไปกว่าหรือเทียบเท่าพระองค์ได้ มีหลายคนที่อิจฉาริษยาองค์กฺฤษฺณ บุคคลเหล่านี้ไม่ควรได้รับการบอกเล่าเกี่ยวกับ ภควัท-คีตา เพราะว่าจะไม่สามารถเข้าใจ เป็นไปไม่ได้ที่พวกไม่ศรัทธาจะเข้าใจ ภควัท-คีตา และองค์กฺฤษฺณ หากปราศจากการเข้าใจองค์กฺฤษฺณโดยผ่านทางสาวกผู้บริสุทธิ์ที่เชื่อถือได้เราไม่ควรพยายามวิจารณ์ ภควัท-คีตา

โศลก 68

ya idaṁ paramaṁ guhyaṁ
mad-bhakteṣv abhidhāsyati
bhaktiṁ mayi parāṁ kṛtvā
mām evaiṣyaty asaṁśayaḥ
ย อิทํ ปรมํ คุหฺยํ
มทฺ-ภกฺเตษฺวฺ อภิธาสฺยติ
ภกฺตึ มยิ ปรำ กฺฤตฺวา
มามฺ เอไวษฺยตฺยฺ อสํศยห์
ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, อิทมฺ — นี้, ปรมมฺ — มากที่สุด, คุหฺยมฺ — ความลับมาก, มตฺ — ของข้า, ภกฺเตษุ — ในหมู่สาวก, อภิธาสฺยติ — อธิบาย, ภกฺติมฺ — การอุทิศตนเสียสละรับใช้, มยิ — แด่ข้า, ปรามฺ — ทิพย์, กฺฤตฺวา — กระทำ, มามฺ — แด่ข้า, เอว — แน่นอน, เอษฺยติ — มา, อสํศยห์ — โดยไม่ต้องสงสัย

คำแปล

สำหรับผู้ที่อธิบายความลับสุดยอดนี้แด่เหล่าสาวก การอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างบริสุทธิ์เป็นที่รับประกัน และในที่สุดเขาจะกลับมาหาข้า

คำอธิบาย

โดยทั่วไปแนะนำว่า ภควัท-คีตา ควรสนทนากันในหมู่สาวกเท่านั้น สำหรับพวกที่ไม่ใช่สาวกจะไม่เข้าใจทั้งองค์กฺฤษฺณหรือ ภควัท-คีตา พวกที่ไม่ยอมรับองค์กฺฤษฺณตามความเป็นจริง และไม่ยอมรับ ภควัท-คีตา ฉบับเดิมไม่ควรพยายามอธิบาย ภควัท-คีตา ตามอำเภอใจ และมาเป็นผู้กระทำผิด ภควัท-คีตา ควรอธิบายแด่บุคคลผู้ยอมรับองค์กฺฤษฺณว่าทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า จึงเป็นเรื่องราวสำหรับบรรดาสาวกเท่านั้น ไม่ใช่สำหรับนักปราชญ์ผู้คาดคะเน อย่างไรก็ดีผู้ใดที่พยายามเสนอ ภควัท-คีตา ฉบับเดิมด้วยความจริงใจจะเจริญก้าวหน้าในกิจกรรมการอุทิศตนเสียสละ และบรรลุถึงระดับแห่งการอุทิศตนเสียสละที่บริสุทธิ์ของชีวิต จากผลแห่งการอุทิศตนเสียสละที่บริสุทธิ์เช่นนี้แน่นอนว่าเขาจะกลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควานฺ

โศลก 69

na ca tasmān manuṣyeṣu
kaścin me priya-kṛttamaḥ
bhavitā na ca me tasmād
anyaḥ priya-taro bhuvi
น จ ตสฺมานฺ มนุเษฺยษุ
กศฺจินฺ เม ปฺริย-กฺฤตฺตมห์
ภวิตา น จ เม ตสฺมาทฺ
อนฺยห์ ปฺริย-ตโร ภุวิ
— ไม่เคย, — และ, ตสฺมาตฺ — กว่าเขา, มนุเษฺยษุ — ในหมู่มนุษย์, กศฺจิตฺ — ผู้ใด, เม — ต่อข้า, ปฺริย-กฺฤตฺ-ตมห์ — รักมากกว่า, ภวิตา — จะมาเป็น, — ไม่, — และ, เม — แก่ข้า, ตสฺมาตฺ — กว่าเขา, อนฺยห์ — อีกคนหนึ่ง, ปฺริย-ตรห์ — รักมากกว่า, ภุวิ — ในโลกนี้

คำแปล

ไม่มีคนรับใช้ใดในโลกนี้ที่ข้ารักมากกว่าเขา และจะไม่มีผู้ใดที่ข้าจะรักมากไปกว่าอีกแล้ว

โศลก 70

adhyeṣyate ca ya imaṁ
dharmyaṁ saṁvādam āvayoḥ
jñāna-yajñena tenāham
iṣṭaḥ syām iti me matiḥ
อเธฺยษฺยเต จ ย อิมํ
ธรฺมฺยํ สํวาทมฺ อาวโยห์
ชฺญาน-ยชฺเญน เตนาหมฺ
อิษฺฏห์ สฺยามฺ อิติ เม มติห์
อเธฺยษฺยเต — จะศึกษา, — เช่นกัน, ยห์ — เขาซึ่ง, อิมมฺ — นี้, ธรฺมฺยมฺ — น่าเลื่อมใส, สํวาทมฺ — การสนทนา, อาวโยห์ — ของพวกเรา, ชฺญาน — แห่งความรู้, ยชฺเญน — ด้วยการบูชา, เตน — โดยเขา, อหมฺ — ข้า, อิษฺฏห์ — บูชา, สฺยามฺ — จะเป็น, อิติ — ดังนั้น, เม — ของข้า, มติห์ — ความเห็น

คำแปล

และข้าประกาศว่า ผู้ใดที่ศึกษาการสนทนาอันน่าเลื่อมใสของเรานี้จะบูชาข้าด้วยสติปัญญาของเขา

โศลก 71

śraddhāvān anasūyaś ca
śṛṇuyād api yo naraḥ
so ’pi muktaḥ śubhāḻ lokān
prāpnuyāt puṇya-karmaṇām
ศฺรทฺธาวานฺ อนสูยศฺ จ
ศฺฤณุยาทฺ อปิ โย นรห์
โส ’ปิ มุกฺตห์ ศุภาฬฺ โลกานฺ
ปฺราปฺนุยาตฺ ปุณฺย-กรฺมณามฺ
ศฺรทฺธา-วานฺ — ศรัทธา, อนสูยห์ — ไม่อิจฉาริษยา, — และ, ศฺฤณุยาตฺ — สดับฟัง, อปิ — แน่นอน, ยห์ — เขา, นรห์ — มนุษย์, สห์ — เขา, อปิ — เช่นกัน, มุกฺตห์ — หลุดพ้น, ศุภานฺ — เป็นมงคล, โลกานฺ — โลก, ปฺราปฺนุยาตฺ — เขาบรรลุ, ปุณฺย-กรฺมณามฺ — แห่งบุญ

คำแปล

และผู้ที่สดับฟังด้วยความศรัทธาโดยปราศจากความอิจฉาริษยาจะเป็นอิสระจากผลบาป และบรรลุถึงโลกอันเป็นสิริมงคลที่คนมีบุญบารมีพำนักอาศัยอยู่

คำอธิบาย

โศลกที่หกสิบเจ็ดของบทนี้องค์ภควานฺทรงห้ามไว้อย่างชัดเจนว่า ไม่ควรสอน คีตา แก่พวกที่อิจฉาริษยาพระองค์อีกนัยหนึ่ง ภควัท-คีตา มีไว้สำหรับสาวกเท่านั้น แต่บางครั้งสาวกขององค์ภควานฺเปิดชั้นเรียนและในชั้นเรียนไม่ใช่ว่านักศึกษาทุกคนเป็นสาวก คำถามคือแล้วทำไมจึงเปิดชั้นเรียน ได้อธิบายตรงนี้ว่าถึงแม้ว่าไม่ใช่ทุกคนเป็นสาวกแต่มีหลายคนที่ไม่อิจฉาริษยาองค์กฺฤษฺณ และมีความศรัทธาพระองค์ในฐานะที่เป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า หากบุคคลเหล่านี้สดับฟังเกี่ยวกับองค์ภควานฺจากสาวกผู้ที่เชื่อถือได้ผลก็คือ พวกเขาจะเป็นอิสระจากผลบาปทั้งปวงทันที และหลังจากนั้นจะบรรลุถึงระบบดาวเคราะห์ที่คนมีคุณธรรมทั้งหลายอาศัยอยู่ ดังนั้นเพียงแต่สดับฟัง ภควัท-คีตา แม้บุคคลผู้ไม่พยายามเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์จะบรรลุถึงผลแห่งกิจกรรมที่มีคุณธรรม ดังนั้นสาวกผู้บริสุทธิ์ของพระองค์เปิดโอกาสให้ทุกๆคนเป็นอิสระจากผลบาปทั้งหมด และมาเป็นสาวกขององค์ภควานฺ

โดยทั่วไปผู้ที่เป็นอิสระจากผลบาป พวกที่มีคุณธรรมจะปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกได้โดยง่ายดาย คำว่า ปุณฺย-กรฺมณามฺ มีความสำคัญมากตรงนี้ ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติพิธีบูชาที่ยิ่งใหญ่ เช่น อศฺวเมธ-ยชฺญ ที่ได้กล่าวไว้ในวรรณกรรมพระเวท พวกที่มีคุณธรรมปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้แต่ยังไม่บริสุทธิ์ทีเดียวสามารถบรรลุถึงระบบดาวเคราะห์ของดาวเหนือหรือ ธฺรุวโลก ที่ ธฺรุว มหาราช สาวกผู้ยิ่งใหญ่ขององค์ภควานฺทรงประทับอยู่ และทรงมีดาวเคราะห์พิเศษเรียกว่า ดาวเหนือ

โศลก 72

kaccid etac chrutaṁ pārtha
tvayaikāgreṇa cetasā
kaccid ajñāna-sammohaḥ
praṇaṣṭas te dhanañ-jaya
กจฺจิทฺ เอตจฺ ฉฺรุตํ ปารฺถ
ตฺวไยกาเคฺรณ เจตสา
กจฺจิทฺ อชฺญาน-สมฺโมหห์
ปฺรณษฺฏสฺ เต ธนญฺ-ชย
กจฺจิตฺ — หรือไม่, เอตตฺ — นี้, ศฺรุตมฺ — ได้ยิน, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, ตฺวยา — โดยเธอ, เอก-อเคฺรณ — ด้วยความตั้งใจอย่างดี, เจตสา — ด้วยจิตใจ, กจฺจิตฺ — หรือไม่, อชฺญาน — แห่งอวิชชา, สมฺโมหห์ — ความหลง, ปฺรณษฺฏห์ — ปัดเป่า, เต — ของเธอ, ธนมฺ-ชย — โอ้ ผู้ชนะความร่ำรวย (อรฺชุน)

คำแปล

โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา โอ้ ผู้ชนะความร่ำรวย เธอได้ฟังด้วยความตั้งใจหรือเปล่า บัดนี้ทั้งอวิชชาและความหลงของเธอถูกขจัดออกไปหรือยัง

คำอธิบาย

องค์ภควานฺทรงทำตัวพระองค์ในฐานะที่เป็นพระอาจารย์ทิพย์ของ อรฺชุน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ที่ทรงถาม อรฺชุน ว่าเข้าใจ ภควัท-คีตา ทั้งหมดอย่างถูกต้องดีหรือเปล่า หากไม่เข้าใจพระองค์ทรงพร้อมที่จะอธิบายอีกครั้งหนึ่ง ประเด็นไหนก็ได้หรือทั้ง ภควัท-คีตา ก็ได้หากจำเป็น อันที่จริงผู้ใดที่สดับฟัง ภควัท-คีตา จากพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้เหมือนกับองค์กฺฤษฺณหรือผู้แทนของพระองค์จะพบว่าอวิชชาทั้งหมดของตนถูกขจัดออกไป ภควัท-คีตา ไม่ใช่หนังสือธรรมดาที่เขียนโดยนักเขียนกวีนิพนธ์หรือนักเขียนนวนิยาย บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงเป็นผู้ตรัส ผู้ใดโชคดีที่ได้สดับฟังคำสอนเหล่านี้จากองค์กฺฤษฺณ หรือจากผู้แทนทิพย์ของพระองค์ที่เชื่อถือได้แน่นอนว่าจะเป็นบุคคลที่หลุดพ้น และหลุดออกจากความมืดแห่งอวิชชา

โศลก 73

arjuna uvāca
naṣṭo mohaḥ smṛtir labdhā
tvat-prasādān mayācyuta
sthito ’smi gata-sandehaḥ
kariṣye vacanaṁ tava
อรฺชุน อุวาจ
นษฺโฏ โมหห์ สฺมฺฤติรฺ ลพฺธา
ตฺวตฺ-ปฺรสาทานฺ มยาจฺยุต
สฺถิโต ’สฺมิ คต-สนฺเทหห์
กริเษฺย วจนํ ตว
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัส, นษฺฏห์ — ปัดเป่า, โมหห์ — ความหลง, สฺมฺฤติห์ — ความจำ, ลพฺธา — กลับคืนมา, ตฺวตฺ-ปฺรสาทาตฺ — ด้วยพระเมตตาของพระองค์, มยา — โดยข้า, อจฺยุต — โอ้ กฺฤษฺณ ผู้ไม่ผิดพลาด, สฺถิตห์ — สถิต, อสฺมิ — ข้าเป็น, คต — ออกไป, สนฺเทหห์ — ความสงสัยทั้งหมด, กริเษฺย — ข้าจะปฏิบัติ, วจนมฺ — คำสั่ง, ตว — ของพระองค์

คำแปล

อรฺชุน ตรัสว่า โอ้ กฺฤษฺณที่รัก โอ้ ผู้ไร้ความผิดพลาด บัดนี้ความหลงของข้าพเจ้ามลายไปสิ้น ข้าได้รับความจำกลับคืนมาด้วยพระเมตตาของพระองค์บัดนี้ข้ามีความมั่นคง หมดความสงสัย และเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์

คำอธิบาย

สถานภาพพื้นฐานเดิมแท้ของสิ่งมีชีวิตซึ่ง อรฺชุน ทรงเป็นตัวแทนคือ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งขององค์ภควานฺ ตัวท่านทรงหมายไว้เพื่อฝึกฝนความมีระเบียบวินัยกับตนเอง ศฺรี ไจตนฺย มหาปฺรภุ ตรัสว่าสถานภาพอันแท้จริงของสิ่งมีชีวิตคือ เป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์ภควานฺ จากการลืมหลักธรรมนี้จึงเป็นพันธกรณีของสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติวัตถุ แต่จากการรับใช้องค์ภควานฺทำให้เรามาเป็นผู้รับใช้ที่หลุดพ้นของพระองค์สถานภาพพื้นฐานเดิมแท้ของสิ่งมีชีวิตคือ ต้องเป็นผู้รับใช้ ต้องรับใช้ไม่ว่าต่อความหลงแห่ง มายา หรือต่อองค์ภควานฺ หากรับใช้องค์ภควานฺเราจะอยู่ในสภาวะปกติ แต่หากชอบรับใช้ความหลงหรือพลังงานเบื้องต่ำแน่นอนว่าเราจะถูกพันธนาการอยู่ในความหลง สิ่งมีชีวิตรับใช้อยู่ในโลกวัตถุนี้ถูกพันธนาการด้วยราคะและความต้องการ ถึงกระนั้นยังคิดว่าตัวเองเป็นเจ้าโลก เช่นนี้เรียกว่าความหลง เมื่อบุคคลหลุดพ้นแล้วและความหลงจบสิ้นลงจะอาสามาศิโรราบต่อองค์ภควานฺ และปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระองค์หลุมพรางสุดท้ายของ มายา ที่กักขังสิ่งมีชีวิตไว้คือการอ้างว่าตนเองเป็นพระเจ้า สิ่งมีชีวิตคิดว่าตัวเขาไม่ใช่พันธวิญญาณแต่เป็นองค์ภควานฺ เขาขาดสติปัญญามากจนไม่คิดว่าถ้าหากตนเองเป็นพระเจ้าแล้วจะอยู่ในความสงสัยได้อย่างไร เขาไม่ได้พิจารณาเช่นนี้ นั่นคือหลุมพรางสุดท้ายแห่งความหลง อันที่จริงการเป็นอิสระจากพลังงานแห่งความหลงคือ การเข้าใจองค์กฺฤษฺณบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า และตกลงปลงใจปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์

คำว่า โมห มีความสำคัญมากในโศลกนี้ โมห หมายถึงสิ่งตรงกันข้ามกับความรู้ อันที่จริงความรู้ที่แท้จริงคือการเข้าใจว่าทุกๆชีวิตเป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์ภควานฺ แต่แทนที่จะคิดว่าตนเองอยู่ในต่ำแหน่งนั้น สิ่งมีชีวิตกลับคิดว่าตนเองไม่ใช่ผู้รับใช้แต่เป็นเจ้าของโลกวัตถุนี้ เพราะต้องการเป็นเจ้าเหนือธรรมชาติวัตถุนั่นคือความหลง ความหลงนี้ข้ามพ้นได้ด้วยพระเมตตาขององค์ภควานฺหรือด้วยพระเมตตาของสาวกผู้บริสุทธิ์ของพระองค์เมื่อความหลงจบสิ้นลงเขาจึงตกลงปลงใจมาปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึก

กฺฤษฺณจิตสำนึกคือการปฏิบัติตามคำสั่งขององค์กฺฤษฺณ พันธวิญญาณอยู่ในความหลงด้วยพลังงานเบื้องต่ำแห่งวัตถุ ไม่รู้ว่าองค์ภควานฺทรงเป็นเจ้านายผู้ทรงเปี่ยมไปด้วยความรู้ และทรงเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่าง อะไรที่พระองค์ปรารถนาทรงสามารถให้แก่สาวกได้ พระองค์ทรงเป็นสหายของทุกคน และทรงเอนเอียงต่อสาวกโดยเฉพาะ พระองค์ทรงเป็นผู้ควบคุมธรรมชาติวัตถุและมวลชีวิต พระองค์ยังทรงเป็นผู้ควบคุมกาลเวลาที่ไม่รู้จักจบสิ้น และทรงเปี่ยมไปด้วยความมั่งคั่งและพลังอำนาจทั้งหลายทั้งปวง องค์ภควานฺทรงสามารถแม้แต่ให้ตัวพระองค์เองแก่สาวก ผู้ไม่รู้จักพระองค์จะอยู่ภายใต้มนต์สะกดแห่งความหลงไม่มาเป็นสาวกแต่จะเป็นผู้รับใช้ มายา อย่างไรก็ดีหลังจากสดับฟัง ภควัท-คีตา จากบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า อรฺชุน ทรงเป็นอิสระจากความหลงทั้งปวง และสามารถเข้าใจว่าองค์กฺฤษฺณไม่ทรงเป็นเพียงสหายเท่านั้น แต่ยังทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า อรฺชุน ทรงเข้าใจองค์กฺฤษฺณตามความเป็นจริง ดังนั้นการศึกษา ภควัท-คีตา ก็เพื่อให้เข้าใจองค์กฺฤษฺณตามความเป็นจริง เมื่อบุคคลเปี่ยมไปด้วยความรู้เขาจะศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณโดยธรรมชาติ เมื่อ อรฺชุน ทรงเข้าใจว่าเป็นแผนขององค์กฺฤษฺณที่จะลดจำนวนประชากรซึ่งมีเพิ่มมากขึ้นโดยไม่จำเป็น จึงทรงตกลงใจต่อสู้ตามพระประสงค์ขององค์กฺฤษฺณ อรฺชุน จึงทรงหยิบอาวุธคันธนูและลูกศรขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อต่อสู้ภายใต้คำสั่งขององค์ภควานฺ

โศลก 74

sañjaya uvāca
ity ahaṁ vāsudevasya
pārthasya ca mahātmanaḥ
saṁvādam imam aśrauṣam
adbhutaṁ roma-harṣaṇam
สญฺชย อุวาจ
อิตฺยฺ อหํ วาสุเทวสฺย
ปารฺถสฺย จ มหาตฺมนห์
สํวาทมฺ อิมมฺ อเศฺราษมฺ
อทฺภุตํ โรม-หรฺษณมฺ
สญฺชยห์ อุวาจสญฺชย กล่าว, อิติ — ดังนั้น, อหมฺ — ข้า, วาสุเทวสฺย — โอ้ กฺฤษฺณ , ปารฺถสฺย — และ อรฺชุน, — เช่นกัน, มหา-อาตฺมนห์ — แห่งวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่, สํวาทมฺ — ปรึกษา, อิมมฺ — นี้, อเศฺราษมฺ — ได้ยิน, อทฺภุตมฺ — อัศจรรย์, โรม-หรฺษณมฺ — ทำให้ขนลุก

คำแปล

สญฺชย กล่าวว่า ดังนี้ข้าได้สดับฟังการสนทนาระหว่างสองวิญญูชนผู้ยิ่งใหญ่ องค์กฺฤษฺณ และ อรฺชุน และสาส์นที่ถ่ายทอดมานั้นอัศจรรย์มากจนข้าพเจ้าขนลุก

คำอธิบาย

ในตอนต้นของ ภควัท-คีตา ธฺฤตราษฺฏฺร ทรงถาม สญฺชย ราชเลขาของพระองค์ว่า “มีอะไรเกิดขึ้นที่สมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร การศึกษาทั้งหมดสัมพันธ์กับหัวใจของ สญฺชย ด้วยพระเมตตาของ วฺยาส ผู้เป็นพระอาจารย์ทิพย์ ดังนั้นท่านจึงอธิบายเหตุการณ์ที่สมรภูมิ การสนทนาที่สำคัญระหว่างสองวิญญูชนผู้ยิ่งใหญ่เช่นนี้ไม่เคยมีมาก่อนและจะไม่เกิดขึ้นอีก เป็นที่น่าอัศจรรย์ว่าเพราะองค์ภควานฺทรงตรัสเกี่ยวกับพระองค์เอง และพลังงานต่างๆของพระองค์ต่อสิ่งมีชีวิต อรฺชุน ซึ่งเป็นสาวกผู้ยิ่งใหญ่ หากเราปฏิบัติตามรอยพระบาทของ อรฺชุน ในการเข้าใจองค์กฺฤษฺณชีวิตของพวกเราจะมีความสุขและประสบความสำเร็จ สญฺชย รู้แจ้งเช่นนี้ และขณะที่เริ่มเข้าใจท่านได้ถ่ายทอดการสนทนาแด่ ธฺฤตราษฺฏฺร บัดนี้สรุปได้ว่าที่ใดที่มีองค์กฺฤษฺณและ อรฺชุน ที่นั่นจะมีชัยชนะ

โศลก 75

vyāsa-prasādāc chrutavān
etad guhyam ahaṁ param
yogaṁ yogeśvarāt kṛṣṇāt
sākṣāt kathayataḥ svayam
วฺยาส-ปฺรสาทาจฺ ฉฺรุตวานฺ
เอตทฺ คุหฺยมฺ อหํ ปรมฺ
โยคํ โยเคศฺวราตฺ กฺฤษฺณาตฺ
สากฺษาตฺ กถยตห์ สฺวยมฺ
วฺยาส-ปฺรสาทาตฺ — ด้วยพระกรุณาของ วฺยาสเทว, ศฺรุตวานฺ — ได้สดับฟัง, เอตตฺ — นี้, คุหฺยมฺ — ความลับ, อหมฺ — ข้า, ปรมฺ — สูงสุด, โยคมฺ — ลัทธิโยคะ, โยค-อีศฺวราตฺ — จากเจ้านายของระบบโยคะทั้งหมด, กฺฤษฺณาตฺ — จากองค์กฺฤษฺณ , สากฺษาตฺ — โดยตรง, กถยตห์ — ตรัส, สฺวยมฺ — ด้วยตัวพระองค์เอง

คำแปล

ด้วยพระเมตตาของ วฺยาส ข้าได้สดับฟังการสนทนาที่ลับสุดยอดนี้โดยตรงจากศฺรี กฺฤษฺณ ปรมาจารย์แห่งระบบโยคะทั้งหลาย ผู้ตรัสต่อ อรฺชุน ด้วยพระองค์เอง

คำอธิบาย

วฺยาส ทรงเป็นพระอาจารย์ทิพย์ของ สญฺชย และ สญฺชย ยอมรับว่าด้วยพระเมตตาของ วฺยาส ที่ทำให้ท่านสามารถเข้าใจองค์ภควานฺ เช่นนี้หมายความว่าเราต้องเข้าใจองค์กฺฤษฺณไม่ใช่โดยตรงแต่ผ่านการเชื่อมต่อจากพระอาจารย์ทิพย์ พระอาจารย์ทิพย์เป็นผู้เชื่อมโยงที่โปร่งใสถึงแม้เป็นความจริงที่เราได้รับประสบการณ์โดยตรง นี่คือความเร้นลับของระบบ ปรมฺปรา เมื่อพระอาจารย์ทิพย์เป็นผู้ที่เชื่อถือได้เราสามารถสดับฟัง ภควัท-คีตา โดยตรงเหมือนกับ อรฺชุน ทรงได้สดับฟัง มีผู้มีฤทธิ์เดชและโยคีมากมายทั่วโลกแต่องค์กฺฤษฺณทรงเป็นปรมาจารย์ของระบบโยคะทั้งหมด คำสั่งสอนขององค์กฺฤษฺณกล่าวไว้อย่างชัดเจนใน ภควัท-คีตา ว่า จงศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณ ผู้ปฏิบัติเช่นนี้เป็นโยคีสูงสุด ได้ยืนยันไว้ในโศลกสุดท้ายของบทที่หกว่า โยคินามฺ อปิ สเรฺวษามฺ…

นารท เป็นสาวกโดยตรงขององค์กฺฤษฺณ และเป็นพระอาจารย์ทิพย์ของ วฺยาส ดังนั้น วฺยาส ก็เป็นผู้ที่เชื่อถือได้เช่นเดียวกับ อรฺชุน เพราะมาในระบบ ปรมฺปรา และ สญฺชย เป็นสาวกโดยตรงของ วฺยาส ดังนั้นด้วยพระกรุณาธิคุณของ วฺยาส ทำให้ประสาทสัมผัสของ สญฺชย บริสุทธิ์ขึ้น ท่านจึงสามารถเห็นและได้ยินองค์กฺฤษฺณโดยตรง ผู้ที่สามารถได้ยินองค์กฺฤษฺณโดยตรงสามารถเข้าใจความรู้อันเร้นลับนี้ หากไม่มาในระบบ ปรมฺปรา จะไม่สามารถได้ยินองค์กฺฤษฺณ ดังนั้นความรู้จะไม่สมบูรณ์อยู่เสมออย่างน้อยที่สุดเกี่ยวกับการเข้าใจ ภควัท-คีตา

ใน ภควัท-คีตา ได้อธิบายระบบโยคะทั้งหมด เช่น กรฺม-โยค, ชฺญาน-โยค และ ภกฺติ-โยค องค์กฺฤษฺณทรงเป็นปรมาจารย์ของระบบโยคะทั้งหลายเหล่านี้ อย่างไรก็ดีเข้าใจว่า อรฺชุน ทรงโชคดีพอที่เข้าใจองค์กฺฤษฺณโดยตรง ดังนั้นด้วยพระกรุณาธิคุณของ วฺยาส สญฺชย จึงสามารถได้ยินองค์กฺฤษฺณโดยตรง อันที่จริงไม่มีข้อแตกต่างระหว่างการได้ยินโดยตรงจากองค์กฺฤษฺณและการได้ยินโดยตรงจากองค์กฺฤษฺณโดยผ่านทางพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ เช่น วฺยาส พระอาจารย์ทิพย์เป็นผู้แทนของ วฺยาสเทว เช่นเดียวกัน ดังนั้นตามระบบพระเวทในวันคล้ายวันเกิดของพระอาจารย์ทิพย์สาวกจะทำพิธีบูชามีชื่อว่า วฺยาส-ปูชา

โศลก 76

rājan saṁsmṛtya saṁsmṛtya
saṁvādam imam adbhutam
keśavārjunayoḥ puṇyaṁ
hṛṣyāmi ca muhur muhuḥ
ราชนฺ สํสฺมฺฤตฺย สํสฺมฺฤตฺย
สํวาทมฺ อิมมฺ อทฺภุตมฺ
เกศวารฺชุนโยห์ ปุณฺยํ
หฺฤษฺยามิ จ มุหุรฺ มุหุห์
ราชนฺ — โอ้ กษัตริย์, สํสฺมฺฤตฺย — การจำ, สํสฺมฺฤตฺย — การจำ, สํวาทมฺ — สาส์น, อิมมฺ — นี้, อทฺภุตมฺ — อัศจรรย์, เกศว — โอ้ องค์กฺฤษฺณ, อรฺชุนโยห์ — และ อรฺชุน, ปุณฺยมฺ — บุญ, หฺฤษฺยามิ — ข้าปลาบปลื้ม, — เช่นกัน, มุหุห์ มุหุห์ — ครั้งแล้วครั้งเล่า

คำแปล

โอ้ พระราชา ขณะที่ข้าพเจ้าทบทวนความจำถึงการสนทนาอันบริสุทธิ์และน่าอัศจรรย์ระหว่างศฺรีกฺฤษฺณ และ อรฺชุน นี้ครั้งแล้วครั้งเล่า ข้าพเจ้ามีความปลาบปลื้มยินดีและซาบซึ้งอยู่ทุกๆนาที

คำอธิบาย

การเข้าใจ ภควัท-คีตา เป็นทิพย์ ผู้ใดรอบรู้ประเด็นต่างๆของ อรฺชุน และองค์กฺฤษฺณจะกลายมาเป็นผู้มีคุณธรรม และจะไม่สามารถลืมการสนทนาเช่นนี้ได้ นี่คือสถานภาพที่เหนือโลกแห่งชีวิตทิพย์ อีกนัยหนึ่งผู้ได้ยิน ภควัท-คีตา จากแหล่งที่ถูกต้องโดยตรงคือ จากองค์กฺฤษฺณจะบรรลุถึงองค์กฺฤษฺณอย่างสมบูรณ์ ผลของกฺฤษฺณจิตสำนึกคือเราจะได้รับแสงสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และรื่นเริงกับชีวิตด้วยความซาบซึ้งไม่เฉพาะบางเวลาเท่านั้น แต่จะซาบซึ้งอยู่ตลอดเวลา

โศลก 77

tac ca saṁsmṛtya saṁsmṛtya
rūpam aty-adbhutaṁ hareḥ
vismayo me mahān rājan
hṛṣyāmi ca punaḥ punaḥ
ตจฺ จ สํสฺมฺฤตฺย สํสฺมฺฤตฺย
รูปมฺ อตฺยฺ-อทฺภุตํ หเรห์
วิสฺมโย เม มหานฺ ราชนฺ
หฺฤษฺยามิ จ ปุนห์ ปุนห์
ตตฺ — นั้น, — เช่นกัน, สํสฺมฺฤตฺย — ความจำ, สํสฺมฺฤตฺย — ความจำ, รูปมฺ — รูปลักษณ์, อติ — ยิ่งใหญ่, อทฺภุตมฺ — อัศจรรย์, หเรห์ — ขององค์กฺฤษฺณ, วิสฺมยห์ — อัศจรรย์ใจ, เม — ของข้า, มหานฺ — ยิ่งใหญ่, ราชนฺ — โอ้ พระราชา, หฺฤษฺยามิ — ข้ารื่นเริง, — เช่นกัน, ปุนห์ ปุนห์ — ครั้งแล้วครั้งเล่า

คำแปล

โอ้ พระราชา ขณะที่ระลึกถึงรูปลักษณ์อันเลอเลิศขององค์กฺฤษฺณ ข้าพเจ้ารู้สึกอัศจรรย์ใจมากยิ่งขึ้น และร่าเริงครั้งแล้วครั้งเล่า

คำอธิบาย

ด้วยพระกรุณาธิคุณของ วฺยาส ปรากฏว่า สญฺชย สามารถเห็นรูปลักษณ์จักรวาลขององค์กฺฤษฺณที่ทรงแสดงให้ อรฺชุน ทรงเห็นเช่นกัน แน่นอนที่ได้กล่าวว่าองค์กฺฤษฺณทรงไม่เคยแสดงรูปลักษณ์นี้มาก่อน แต่ทรงแสดงให้แก่ อรฺชุน เท่านั้น ถึงกระนั้นสาวกผู้ยิ่งใหญ่บางท่านสามารถเห็นรูปลักษณ์จักรวาลขององค์กฺฤษฺณด้วยเช่นกัน ขณะที่แสดงให้ อรฺชุน วฺยาส ก็เป็นหนึ่งในสาวกเหล่านั้น ท่านเป็นหนึ่งในสาวกผู้ยิ่งใหญ่ขององค์ภควานฺ และยังพิจารณาว่าท่านเป็นอวตารผู้ทรงพลังขององค์กฺฤษฺณ วฺยาส ทรงเปิดเผยประเด็นนี้แก่ สญฺชย สาวกของท่าน ผู้ระลึกถึงรูปลักษณ์อันน่าอัศจรรย์ขององค์กฺฤษฺณที่แสดงให้ อรฺชุน และรื่นเริงครั้งแล้วครั้งเล่า

โศลก 78

yatra yogeśvaraḥ kṛṣṇo
yatra pārtho dhanur-dharaḥ
tatra śrīr vijayo bhūtir
dhruvā nītir matir mama
ยตฺร โยเคศฺวรห์ กฺฤษฺโณ
ยตฺร ปารฺโถ ธนุรฺ-ธรห์
ตตฺร ศฺรีรฺ วิชโย ภูติรฺ
ธฺรุวา นีติรฺ มติรฺ มม
ยตฺร — ที่ซึ่ง, โยค-อีศฺวรห์ — ปรมาจารย์แห่งระบบโยคะ, กฺฤษฺณห์ — องค์กฺฤษฺณ , ยตฺร — ที่ซึ่ง, ปารฺถห์ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, ธนุห์-ธรห์ — ผู้ถือคันธนูและลูกศร, ตตฺร — ที่นั่น, ศฺรีห์ — ความมั่งคั่ง, วิชยห์ — ชัยชนะ, ภูติห์ — พลังอำนาจพิเศษ, ธฺรุวา — แน่นอน, นีติห์ — ศีลธรรม, มติห์ มม — ความเห็นของข้า

คำแปล

ที่ใดที่มีองค์กฺฤษฺณ ปรมาจารย์แห่งระบบโยคะทั้งหลาย และที่ใดที่มี อรฺชุน นักยิงธนูผู้ยอดเยี่ยม แน่นอนว่าที่นั่นจะมีความมั่งคั่ง ชัยชนะ พลังอำนาจพิเศษ พร้อมทั้งศีลธรรม นั่นคือความเห็นของข้า

คำอธิบาย

ภควัท-คีตา เริ่มด้วยคำถามของ ธฺฤตราษฺฏฺร ผู้หวังให้โอรสของพระองค์ได้รับชัยชนะ ซึ่งมีนักรบผู้ยิ่งใหญ่ เช่น ภีษฺม, โทฺรณ และ กรฺณ ช่วย ธฺฤตราษฺฏฺร หวังว่าฝ่ายของพระองค์จะได้รับชัยชนะ หลังจากได้อธิบายถึงภาพที่สมรภูมิ สญฺชย กล่าวต่อพระราชาว่า “พระองค์ทรงคิดถึงชัยชนะแต่ความเห็นของข้าพเจ้าคือ ที่ใดที่มีองค์กฺฤษฺณและ อรฺชุน ที่นั่นจะมีความโชคดีทั้งหมด” ธฺฤตราษฺฏฺร ไม่สามารถคาดหวังชัยชนะให้ฝ่ายพระองค์แน่นอนว่าชัยชนะจะเป็นของฝ่าย อรฺชุน เพราะว่าองค์กฺฤษฺณทรงอยู่ที่นั่น การที่องค์กฺฤษฺณทรงยอมรับตำแหน่งสารถีให้ อรฺชุน เป็นการแสดงถึงความมั่งคั่งอีกประการหนึ่ง องค์กฺฤษฺณทรงเปี่ยมไปด้วยความมั่งคั่งทั้งปวง และการเสียสละก็เป็นหนึ่งในนั้น มีตัวอย่างมากมายเกี่ยวกับการเสียสละเช่นนี้เพราะองค์กฺฤษฺณทรงเป็นปรมาจารย์แห่งการเสียสละ

อันที่จริงเป็นการต่อสู้ระหว่าง ทุโรฺยธน และ ยุธิษฺฐิร อรฺชุน ทรงต่อสู้เพื่อพระเชษฐา ยุธิษฺฐิร เนื่องจากองค์กฺฤษฺณและ อรฺชุน ทรงอยู่ฝ่าย ยุธิษฺฐิร ชัยชนะของ ยุธิษฺฐิร จึงเป็นที่แน่นอน การทำศึกสงครามก็เพื่อตัดสินว่าใครจะเป็นผู้ปกครองโลก สญฺชย ทำนายว่าอำนาจจะย้ายไปอยู่ที่ ยุธิษฺฐิร และยังทำนายตรงนี้ว่าหลังจากได้รับชัยชนะในสงครามนี้แล้ว ยุธิษฺฐิร จะเจริญรุ่งเรื่องมากยิ่งขึ้นเพราะไม่เพียงเป็นผู้มีคุณธรรมและมีบุญเท่านั้น แต่ ยุธิษฺฐิร ยังเป็นผู้มีศีลธรรมอย่างเคร่งครัด โดยไม่เคยตรัสคำโกหกเลยแม้แต่ครั้งเดียวในชีวิต

มีบุคคลผู้ด้อยปัญญามากมายที่คิดว่า ภควัท-คีตา เป็นการสนทนาประเด็นต่างๆระหว่างเพื่อนสองคนที่สมรภูมิ และหนังสือเล่มนี้ไม่สามารถเป็นพระคัมภีร์ได้ บางคนอาจต่อต้านว่าองค์กฺฤษฺณทรงยุยงให้ อรฺชุน ต่อสู้ซึ่งผิดศีลธรรม แต่ความจริงของสถานการณ์ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน ภควัท-คีตา เป็นคำสั่งสอนศีลธรรมสูงสุด คำสั่งสอนศีลธรรมสูงสุดได้กล่าวไว้ในบทที่เก้า โศลกสามสิบสี่ว่า มนฺ-มนา ภว มทฺ-ภกฺตห์ เราต้องมาเป็นสาวกขององค์กฺฤษฺณและแก่นสารสาระของศาสนาทั้งหมดคือ การศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณ (สรฺว-ธรฺมานฺ ปริตฺยชฺย มามฺ เอกํ ศรณํ วฺรช) คำสั่งสอนต่างๆของ ภควัท-คีตา รวมกันเป็นวิธีการสูงสุดแห่งศาสนาและศีลธรรม วิธีการอื่นๆทั้งหมดอาจทำให้บริสุทธิ์และอาจนำมาสู่วิธีการนี้ แต่คำสั่งสุดท้ายของ ภควัท-คีตา เป็นคำสุดท้ายในศีลธรรมและศาสนาทั้งหมดคือ การศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณ นี่คือคำสรุปของบทที่สิบแปด

จาก ภควัท-คีตา เราสามารถเข้าใจว่าการรู้แจ้งตนเองด้วยการคาดคะเนทางปรัชญา และด้วยการทำสมาธิเป็นวิธีการหนึ่ง แต่การศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณโดยบริบูรณ์เป็นความสมบูรณ์สูงสุด นี่คือแก่นสารสาระแห่งคำสอนต่างๆของ ภควัท-คีตา วิถีทางแห่งหลักปฏิบัติโดยประมาณตามระดับชีวิตทางสังคม และตามวิชาต่างๆทางศาสนาอาจเป็นวิธีลับแห่งความรู้ แต่แม้ว่าพิธีกรรมทางศาสนาจะเป็นความลับ การทำสมาธิและการพัฒนาความรู้เป็นความลับยิ่งขึ้นไปอีก และการศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์เป็นคำสั่งสอนที่ลับสุดยอด นั่นคือแก่นสารสาระของบทที่สิบแปด

คุณลักษณะหนึ่งของ ภควัท-คีตา คือสัจธรรมที่แท้จริงคือ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า องค์กฺฤษฺณ สัจธรรมที่สมบูรณ์รู้แจ้งได้ในสามลักษณะคือ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ ปรมาตฺมา ภายในหัวใจของทุกคน และในที่สุดองค์กฺฤษฺณ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ความรู้อันสมบูรณ์แห่งสัจธรรมหมายถึง ความรู้อันบริบูรณ์แห่งองค์กฺฤษฺณ หากเราเข้าใจองค์กฺฤษฺณความรู้ในสาขาวิชาต่างๆทั้งหมดก็เป็นส่วนหนึ่งแห่งการเข้าใจนั้น องค์กฺฤษฺณทรงเป็นทิพย์เนื่องจากทรงสถิตในพลังงานเบื้องสูงนิรันดรของพระองค์เสมอ สิ่งมีชีวิตปรากฏออกมาจากพลังงานของพระองค์และแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ พันธนิรันดร และอิสรนิรันดร สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีจำนวนนับไม่ถ้วน พิจารณาว่าเป็นละอองอณูขององค์กฺฤษฺณ พลังงานวัตถุปรากฏเป็นยี่สิบสี่ธาตุ การสร้างมีผลกระทบมาจากกาลเวลาอมตะ พลังงานเบื้องต่ำเป็นผู้สร้างและทำลาย การปรากฏแห่งโลกจักรวาลนี้ปรากฏให้เห็นและไม่เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก

ใน ภควัท-คีตา ได้สนทนาหัวข้อหลักห้าประเด็นคือ องค์ภควานฺบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ธรรมชาติวัตถุ สิ่งมีชีวิต กาลเวลาอมตะ และกิจกรรมต่างๆทั้งหลายทั้งหมดขึ้นอยู่กับองค์กฺฤษฺณบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า แนวคิดทั้งหมดแห่งสัจธรรม เช่น พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ ปรมาตฺมา ภายในหัวใจของทุกคน และแนวคิดทิพย์อื่นๆมีอยู่ภายในประเด็นแห่งการเข้าใจองค์ภควานฺ ถึงแม้ว่าโดยผิวเผินแล้วองค์ภควานฺ สิ่งมีชีวิต ธรรมชาติวัตถุ และกาลเวลาดูเหมือนจะแตกต่างกัน ไม่มีสิ่งใดแตกต่างไปจากองค์ภควานฺ แต่พระองค์ทรงแตกต่างจากทุกสิ่งทุกอย่างเสมอ ปรัชญาขององค์ไจตนฺย คือ “เป็นหนึ่งเดียวกันและแตกต่างกันอย่างไม่สามารถมองเห็นได้” ระบบปรัชญานี้รวมกันเป็นความรู้อันสมบูรณ์แห่งสัจธรรม

สิ่งมีชีวิตในสถานภาพเดิมแท้เป็นดวงวิญญาณบริสุทธิ์เหมือนกับละอองอณูของดวงวิญญาณสูงสุด ดังนั้นองค์กฺฤษฺณทรงอาจเปรียบเทียบได้กับดวงอาทิตย์ และสิ่งมีชีวิตเปรียบเทียบได้กับแสงอาทิตย์ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตเป็นพลังงานพรมแดนขององค์กฺฤษฺณจึงมีแนวโน้มที่จะสัมผัสกับไม่พลังงานวัตถุก็พลังงานทิพย์ อีกนัยหนึ่งสิ่งมีชีวิตสถิตระหว่างสองพลังงานขององค์ภควานฺ และเนื่องจากอยู่ในพลังงานที่สูงกว่าของพระองค์จึงมีความเป็นอิสระอยู่เล็กน้อย เมื่อใช้อิสรภาพเล็กน้อยที่มีอยู่อย่างถูกต้องเขาจะมาอยู่ภายใต้คำสั่งโดยตรงขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้นจึงบรรลุถึงสภาวะปกติธรรมดาในพลังอำนาจที่ให้ความสุข

ดังนั้นได้จบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่สิบแปดของหนังสือ ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา ในหัวข้อเรื่อง บทสรุปความสมบูรณ์แห่งการเสียสละ