บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
sañjaya uvāca
taṁ tathā kṛpayāviṣṭam
aśru-pūrṇākulekṣaṇam
viṣīdantam idaṁ vākyam
uvāca madhusūdanaḥ
สญฺชย อุวาจ
ตํ ตถา กฺฤปยาวิษฺฏมฺ
อศฺรุ-ปูรฺณากุเลกฺษณมฺ
วิษีทนฺตมฺ อิทํ วากฺยมฺ
อุวาจ มธุสูทนห์
สญฺชยห์ อุวาจ — สญฺชย กล่าว, ตมฺ — แด่ อรฺชุน, ตถา — ดังนั้น, กฺฤปยา — ด้วยความสงสาร, อาวิษฺฏมฺ — เต็มตื้น, อศฺรุ-ปูรฺณ-อากุล — เปี่ยมไปด้วยน้ำตา, อีกฺษณมฺ — ดวงตา, วิษีทนฺตมฺ — เศร้าโศก, อิทมฺ — เหล่านี้, วากฺยมฺ — คำพูด, อุวาจ — กล่าว, มธุ-สูทนห์ — ผู้สังหาร มธุ
คำแปล
สญฺชย กล่าวว่า ได้เห็น อรฺชุน ทรงเปี่ยมไปด้วยความเมตตาสงสาร จิตใจเศร้าสลด ดวงตาเปี่ยมไปด้วยน้ำตา มธุสูทน กฺฤษฺณ ตรัสดังต่อไปนี้
คำอธิบาย
ความเมตตาสงสารทางวัตถุ ความเศร้าโศกเสียใจ และน้ำตาทั้งหมดนี้คือ สัญลักษณ์แห่งอวิชชาต่อดวงชีวิตที่แท้จริง ความเมตตาสงสารต่อดวงวิญญาณอมตะนั้นคือ ความรู้แจ้ง คำว่า “มธุสูทน” มีความสำคัญในโศลกนี้ องค์กฺฤษฺณทรงสังหารอสูร มธุ และบัดนี้ อรฺชุน ทรงปรารถนาให้องค์กฺฤษฺณสังหารมารแห่งความเข้าใจผิดที่ได้มาครอบงำพระองค์ในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่มีใครรู้ว่าควรนำความเมตตากรุณาไปใช้อย่างไร การเมตตาต่อเสื้อผ้าของคนที่กำลังจมน้ำนั้นเป็นเรื่องไร้เหตุผล เราไม่สามารถที่จะช่วยเหลือเสื้อผ้า หรือช่วยร่างวัตถุที่หยาบของผู้ที่กำลังตกอยู่ในมหาสมุทรแห่งอวิชชาได้ ผู้ไม่ทราบเช่นนี้และเศร้าโศกเสียใจกับเสื้อผ้าภายนอกเรียกว่า ศูทฺร หรือผู้ที่โศกเศร้าโดยไม่จำเป็น อรฺชุน ทรงเป็น กฺษตฺริย จึงไม่สมควรกระทำเช่นนี้ อย่างไรก็ดี ศฺรี กฺฤษฺณ ทรงสามารถปัดเป่าความโศกเศร้าของผู้ที่ถูกอวิชชาครอบงำได้ และด้วยจุดประสงค์นี้พระองค์จึงทรงขับร้องเพลง ภควัท-คีตา บทนี้ ทรงแนะนำเราให้รู้สำนึกตนเองด้วยการวิเคราะห์ศึกษาร่างวัตถุและดวงวิญญาณดังที่ได้อธิบายไว้โดยผู้ที่เชื่อถือได้สูงสุดคือองค์ศฺรีกฺฤษฺณ การรู้แจ้งเช่นนี้เป็นไปได้เมื่อเราทำงานโดยไม่ยึดติดต่อผลทางวัตถุ และสถิตในแนวคิดแห่งตนเองที่แท้จริงอย่างมั่นคง
śrī-bhagavān uvāca
kutas tvā kaśmalam idaṁ
viṣame samupasthitam
anārya-juṣṭam asvargyam
akīrti-karam arjuna
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
กุตสฺ ตฺวา กศฺมลมฺ อิทํ
วิษเม สมุปสฺถิตมฺ
อนารฺย-ชุษฺฏมฺ อสฺวรฺคฺยมฺ
อกีรฺติ-กรมฺ อรฺชุน
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัสว่า, กุตห์ — จากที่ใด, ตฺวา — ถึงท่าน, กศฺมลมฺ — ความสกปรก, อิทมฺ — ความเศร้าโศกเสียใจนี้, วิษเม — ในชั่วโมงฉุกเฉินนี้, สมุปสฺถิตมฺ — มาถึง, อนารฺย — ผู้ที่ไม่รู้คุณค่าของชีวิต, ชุษฺฏมฺ — ปฏิบัติโดย, อสฺวรฺคฺยมฺ — จะไม่นำเราไปสู่โลกที่สูงกว่า, อกีรฺติ — เสียชื่อเสียง, กรมฺ — เป็นต้นเหตุของ, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน
คำแปล
บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัสว่า โอ้ อรฺชุน ที่รัก มลทินเหล่านี้เกิดขึ้นต่อเธอได้อย่างไร มันไม่เหมาะสำหรับผู้ที่รู้คุณค่าแห่งชีวิตอย่างยิ่ง เพราะจะไม่นำพาเธอไปสู่โลกที่สูงกว่าแต่จะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง
คำอธิบาย
องค์กฺฤษฺณและบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงเป็นบุคคลเดียวกัน ดังนั้นใน ภควัท-คีตา ทั้งเล่มทรงเรียกพระองค์ว่า ภควานฺ องค์ภควานฺทรงเป็นสัจธรรมสูงสุด การรู้แจ้งสัจธรรมอันสมบูรณ์นี้เข้าใจได้ในสามระดับคือ พฺรหฺมนฺ หรือดวงวิญญาณอันไร้รูปลักษณ์ที่แผ่กระจายอยู่ทั่วไป ปรมาตฺมา หรือพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงประทับอยู่ภายในหัวใจของมวลชีวิต และ ภควานฺ หรือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์ศฺรีกฺฤษฺณ ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (1.2.11) ได้อธิบายแนวคิดแห่งสัจธรรมที่สมบูรณ์ไว้ดังนี้
วทนฺติ ตตฺ ตตฺตฺว-วิทสฺ
ตตฺตฺวํ ยชฺ ชฺญานมฺ อทฺวยมฺ
พฺรเหฺมติ ปรมาตฺเมติ
ภควานฺ อิติ ศพฺทฺยเต
“ผู้รู้แจ้งสัจธรรมที่สมบูรณ์จะเข้าใจได้ในสามระดับ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันคือ พฺรหฺมนฺ ปรมาตฺมา และ ภควานฺ”
ระดับทิพย์สามระดับนี้เปรียบเทียบได้กับดวงอาทิตย์ที่แบ่งออกเป็นสามส่วนคือ แสงอาทิตย์ ผิวอาทิตย์ และดวงอาทิตย์ ผู้ที่ศึกษาเฉพาะแสงอาทิตย์เปรียบได้กับนักศึกษาชั้นประถม ผู้ที่เข้าใจผิวของดวงอาทิตย์อยู่ในระดับที่สูงกว่า และผู้ที่สามารถเข้าไปอยู่ในดวงอาทิตย์ได้นั้นเป็นผู้รู้สูงสุด นักศึกษาทั่วไปที่พอใจกับการเข้าใจเฉพาะแสงอาทิตย์ที่สาดส่องรัศมีไปทั่วจักรวาลอย่างเจิดจรัส ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ไร้รูปลักษณ์เปรียบเทียบได้กับผู้รู้แจ้งเฉพาะในส่วนของ พฺรหฺมนฺ แห่งสัจธรรมที่สมบูรณ์โดยส่วนเดียว นักศึกษาขั้นสูงกว่านี้จะทราบถึงผิวของดวงอาทิตย์ซึ่งเปรียบเทียบได้กับความรู้ในส่วนของ ปรมาตฺมา ของสัจธรรมที่สมบูรณ์ และนักศึกษาผู้ที่สามารถเข้าไปถึงใจกลางดวงอาทิตย์เปรียบเทียบได้กับผู้รู้แจ้งรูปลักษณ์แห่งสัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุด ดังนั้น ภกฺต หรือนักทิพย์นิยมผู้รู้แจ้งในส่วนขององค์ภควานฺแห่งสัจธรรมที่สมบูรณ์ถือว่าเป็นนักทิพย์นิยมชั้นสูงสุด ถึงแม้ว่านักศึกษาทั้งหมดจะศึกษาในวิชาเดียวกันคือวิชาแห่งสัจธรรมที่สมบูรณ์ แสงอาทิตย์ ผิวของดวงอาทิตย์ และกิจกรรมภายในดวงอาทิตย์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ แต่นักศึกษาทั้งสามกลุ่มก็มิได้อยู่ในระดับเดียวกัน
ปราศร มุนิ ผู้ที่เชื่อถือได้และเป็นพระบิดาของ วฺยาสเทว ทรงอธิบายคำสันสกฤต ภควานฺ ว่าหมายถึงบุคลิกภาพสูงสุดผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งความร่ำรวยทั้งหมด พลังอำนาจทั้งหมด ชื่อเสียงทั้งหมด ความสง่างามทั้งหมด วิชาความรู้ทั้งหมด และความเสียสละทั้งหมด ผู้ที่มีคุณสมบัติทั้งหมดนี้ได้ชื่อว่าเป็นองค์ภควานฺ มีมนุษย์หลายคนที่ร่ำรวยมาก มีอำนาจมาก มีความสง่างามมาก มีชื่อเสียงมาก มีความรู้มาก และไม่ยึดติด แต่ไม่มีใครที่สามารถอ้างได้ว่าตนเองเป็นเจ้าของแห่งความร่ำรวยทั้งหมด พลังอำนาจทั้งหมด องค์ศฺรีกฺฤษฺณเพียงพระองค์เดียวเท่านั้นที่สามารถตรัสเช่นนี้ได้ เพราะว่าพระองค์ทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดรวมทั้งพระพรหม พระศิวะ หรือพระนารายณ์ ที่จะสามารถเป็นเจ้าแห่งความมั่งคั่งอย่างสมบูรณ์เท่ากับองค์กฺฤษฺณได้ ดังนั้นพระพรหมทรงสรุปในหนังสือ พฺรหฺม-สํหิตา ว่า องค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน และไม่มีผู้ใดยิ่งใหญ่ไปกว่าพระองค์ ทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าองค์แรกหรือองค์ภควานฺที่ทราบกันในอีกพระนามหนึ่งว่า โควินฺท ผู้ทรงเป็นแหล่งกำเนิดสูงสุดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง
อีศฺวรห์ ปรมห์ กฺฤษฺณห์
สจฺ-จิทฺ-อานนฺท-วิคฺรหห์
อนาทิรฺ อาทิรฺ โควินฺทห์
สรฺว-การณ-การณมฺ
“มีบุคลิกภาพมากมายผู้เป็นเจ้าของคุณสมบัติแห่งองค์ภควานฺ แต่องค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคลิกภาพที่สูงสุด เพราะว่าไม่มีผู้ใดเลอเลิศไปกว่าพระวรกายของพระองค์ ทรงเป็นอมตะ เปี่ยมไปด้วยความรู้ และความสุขเกษมสำราญ พระองค์ทรงเป็น โควินฺท ภควานฺ องค์แรกและทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง” (พฺรหฺม-สํหิตา 5.1)
ใน ภาควต ก็มีพระนามของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้ามากมายเช่นกัน แต่ได้อธิบายไว้ว่า ศฺรี กฺฤษฺณ ทรงเป็นองค์แรกของบุคลิกภาพแห่งพระเจ้า และจากองค์กฺฤษฺณจึงมีอวตารแห่งองค์ภควานฺมากมายที่ทรงแบ่งภาคออกมา
เอเต จำศ-กลาห์ ปุํสห์
กฺฤษฺณสฺ ตุ ภควานฺ สฺวยมฺ
อินฺทฺราริ-วฺยากุลํ โลกํ
มฺฤฑยนฺติ ยุเค ยุเค
“รายพระนามของอวตารต่างๆขององค์ภควานฺที่เสนอไว้ ณ ที่นี้ ทั้งหมดนั้นเป็นภาคที่แบ่งแยกมาจากพระองค์หรือเป็นส่วนของภาคที่แบ่งแยกมาจากพระองค์แต่องค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าพระองค์เอง” (ภาควต 1.3.28)
ฉะนั้น องค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์แรก ทรงเป็นสัจธรรมที่สมบูรณ์ และทรงเป็นแหล่งกำเนิดของทั้ง ปรมาตฺมา และ พฺรหฺมนฺ ที่ไร้รูปลักษณ์
ความเศร้าโศกเสียใจของ อรฺชุน ที่ทรงมีต่อบรรดาสังคญาติเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นต่อหน้าพระพักตร์ของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ดังนั้นองค์กฺฤษฺณจึงทรงแสดงความประหลาดใจให้กับ อรฺชุน ด้วยการกล่าวคำว่า กุตห์ “มาจากไหน” มลทินเหล่านี้ไม่ควรเกิดขึ้นกับผู้ที่อยู่ในชนชั้นที่มีอารยธรรมซึ่งได้ชื่อว่าเป็นชาว อารฺยนฺ คำว่า อารฺยนฺ ใช้กับผู้ที่ทราบถึงคุณค่าแห่งชีวิต และมีอารยธรรมอยู่บนฐานความรู้แจ้งแห่งดวงวิญญาณ ผู้ที่ถูกแนวความคิดทางวัตถุนำจะไม่ทราบถึงจุดมุ่งหมายของชีวิตว่าเราควรรู้แจ้งถึงสัจธรรมที่สมบูรณ์นั้นคือ องค์วิษฺณุ หรือองค์ภควานฺ และจะถูกของต่างๆภายนอกของโลกวัตถุยั่วยวน ดังนั้นจึงจะไม่ทราบว่าอะไรคือความหลุดพ้น ผู้ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับความหลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุเรียกว่าอนารยชน ถึงแม้ว่า อรฺชุน ทรงเป็น กฺษตฺริย แต่พระองค์ทรงหลีกเลี่ยงหน้าที่ทั้งหมดด้วยการปฏิเสธที่จะสู้รบ การกระทำด้วยความขลาดเช่นนี้เหมาะสำหรับอนารยชน การบ่ายเบี่ยงจากหน้าที่เช่นนี้จะไม่ช่วยให้เราเจริญก้าวหน้าในชีวิตทิพย์ และจะไม่เปิดโอกาสให้เราได้มีชื่อเสียงที่ดีงามในโลกใบนี้ องค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ อรฺชุน เรียกว่าความเมตตาสงสารที่ทรงมีต่อสังคญาติของเขา
klaibyaṁ mā sma gamaḥ pārtha
naitat tvayy upapadyate
kṣudraṁ hṛdaya-daurbalyaṁ
tyaktvottiṣṭha paran-tapa
ไกฺลพฺยํ มา สฺม คมห์ ปารฺถ
ไนตตฺ ตฺวยฺยฺ อุปปทฺยเต
กฺษุทฺรํ หฺฤทย-เทารฺพลฺยํ
ตฺยกฺโตฺวตฺติษฺฐ ปรนฺ-ตป
ไกฺลพฺยมฺ — ไร้สมรรถภาพ, มา สฺม — ไม่, คมห์ — นำไป, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, น — ไม่เคย, เอตตฺ — นี้, ตฺวยิ — แก่เธอ, อุปปทฺยเต — เหมาะสม, กฺษุทฺรมฺ — เล็กน้อย, หฺฤทย — ของหัวใจ, เทารฺพลฺยมฺ — ความอ่อนแอ, ตฺยกฺตฺวา — ยกเลิก, อุตฺติษฺฐ — ลุกขึ้น, ปรมฺ-ตป — โอ้ ผู้กำราบศัตรู
คำแปล
โอ้ โอรสแห่ง ปฺฤถา เธอจงอย่ายอมจำนนให้กับความไร้สมรรถภาพที่น่าอับอายจนไม่เป็นตัวของตัวเองเช่นนี้ จงสลัดความอ่อนแอแห่งจิตใจเพียงเล็กน้อยนี้ออกไปให้พ้น และลุกขึ้นมาสู้ โอ้ ผู้กำราบศัตรู
คำอธิบาย
อรฺชุน ทรงถูกเรียกว่าโอรสของ ปฺฤถา ผู้ทรงเป็นพระขนิษฐภคินีของ วสุเทว พระบิดาขององค์กฺฤษฺณ ฉะนั้น อรฺชุน ทรงมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับองค์กฺฤษฺณ หากโอรส กฺษตฺริย ปฏิเสธการสู้รบผู้นั้นก็เป็น กฺษตฺริย แต่เพียงในนามเท่านั้น และหากบุตรของ พฺราหฺมณ ทำบาปเขาก็เป็น พฺราหฺมณ แต่เพียงในนามเท่านั้น กฺษตฺริย และ พฺราหฺมณ เช่นนี้จะถือเป็นบุตรที่ไร้ค่าของบิดา ดังนั้นองค์กฺฤษฺณไม่ทรงปรารถนาจะให้ อรฺชุน มาเป็นโอรสของ กฺษตฺริย ที่ไร้คุณค่า อรฺชุน ทรงเป็นพระสหายที่สนิทสนมมากกับองค์กฺฤษฺณ และองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้นำทางของ อรฺชุน โดยตรงบนราชรถ แต่หาก อรฺชุน จะทรงละทิ้งสนามรบไปจะเป็นการกระทำที่เสื่อมเสียชื่อเสียงเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นองค์กฺฤษฺณจึงตรัสว่าท่าทีของ อรฺชุน เช่นนี้ไม่เหมาะสมสำหรับบุคลิกภาพแห่ง กฺษตฺริย อรฺชุน ทรงอาจมีข้อโต้แย้งว่าทรงยกเลิกการสู้รบบนพื้นฐานแนวคิดแห่งคุณธรรมอันสูงส่งเพื่อผู้ที่เราควรให้ความเคารพสูงสุด เช่น ภีษฺม และบรรดาสังคญาติ แต่องค์กฺฤษฺณทรงพิจารณาว่าความมีคุณธรรมอันสูงส่งเช่นนี้เป็นเพียงความอ่อนแอแห่งจิตใจเท่านั้น ผู้ที่เชื่อถือได้จะไม่เห็นด้วยกับคุณธรรมอันสูงส่งที่ผิดเช่นนี้ ฉะนั้นคุณธรรมอันสูงส่ง หรือที่เรียกว่าอหิงสานี้บุคคล เช่น อรฺชุน นั้นควรยกเลิกภายใต้การชี้นำโดยตรงของ ศฺรี กฺฤษฺณ
arjuna uvāca
kathaṁ bhīṣmam ahaṁ saṅkhye
droṇaṁ ca madhusūdana
iṣubhiḥ pratiyotsyāmi
pūjārhāv ari-sūdana
อรฺชุน อุวาจ
กถํ ภีษฺมมฺ อหํ สงฺเขฺย
โทฺรณํ จ มธุสูทน
อิษุภิห์ ปฺรติโยตฺสฺยามิ
ปูชารฺหาวฺ อริ-สูทน
อรฺชุนห์ อุวาจ — อรฺชุน ตรัสว่า, กถมฺ — อย่างไร, ภีษฺมมฺ — ภีษฺม, อหมฺ — ข้าพเจ้า, สงฺเขฺย — ในการสู้รบ, โทฺรณมฺ — โทฺรณ, จ — เช่นกัน, มธุ-สูทน — โอ้ ผู้สังหาร มธุ, อิษุภิห์ — ด้วยลูกศร, ปฺรติโยตฺสฺยามิ — จะโต้ตอบ, ปูชา-อเรฺหา — ผู้ที่ควรเคารพบูชา, อริ-สูทน — โอ้ ผู้สังหารศัตรู
คำแปล
อรฺชุน ตรัสว่า โอ้ ผู้สังหารศัตรู โอ้ ผู้สังหาร มธุ ข้าจะตอบโต้ด้วยลูกศรในสนามรบกับ ภีษฺม และ โทฺรณ ผู้ที่ควรค่าแก่การได้รับการบูชาจากข้าพเจ้าได้อย่างไรกัน
คำอธิบาย
ผู้อาวุโสที่ควรเคารพ เช่น พระอัยกา ภีษฺม และพระอาจารย์ โทฺรณาจารฺย ควรได้รับการเคารพบูชาอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าท่านจะมาเพื่อสู้รบเราไม่ควรตอบโต้ ซึ่งเป็นมารยาทโดยทั่วไปที่ผู้อาวุโสไม่ควรถูกก้าวร้าวแม้แต่ด้วยเพียงคำพูดก็ตาม ถึงแม้บางครั้งพฤติกรรมของอาจารย์จะไม่ถูกต้องเหมาะสม แต่ก็ไม่ควรได้รับการปฏิบัติตอบด้วยความก้าวร้าว แล้วจะให้ อรฺชุน ตอบโต้ท่านเหล่านี้ได้อย่างไร องค์กฺฤษฺณจะยอมทำร้ายพระอัยกา อุคฺรเสน หรือพระอาจารย์ สานฺทีปนิ มุนิ หรือไม่ ประการเหล่านี้เป็นข้อโต้แย้งบางประการที่ อรฺชุน เสนอแด่องค์กฺฤษฺณ
gurūn ahatvā hi mahānubhāvān
śreyo bhoktuṁ bhaikṣyam apīha loke
hatvārtha-kāmāṁs tu gurūn ihaiva
bhuñjīya bhogān rudhira-pradigdhān
คุรูนฺ อหตฺวา หิ มหานุภาวานฺ
เศฺรโย โภกฺตุํ ไภกฺษฺยมฺ อปีห โลเก
หตฺวารฺถ-กามำสฺ ตุ คุรูนฺ อิไหว
ภุญฺชีย โภคานฺ รุธิร-ปฺรทิคฺธานฺ
คุรูนฺ — ผู้อาวุโส, อหตฺวา — ไม่สังหาร, หิ — แน่นอน, มหา-อนุภาวานฺ — ดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่, เศฺรยห์ — เป็นสิ่งที่ดีกว่า, โภกฺตุมฺ — ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข, ไภกฺษฺยมฺ — ด้วยการภิกขาจาร, อปิ — ถึงแม้ว่า, อิห — ในชีวิตนี้, โลเก — ในโลกนี้, หตฺวา — สังหาร, อรฺถ — ได้รับ, กามานฺ — ปรารถนา, ตุ — แต่, คุรูนฺ — ผู้อาวุโส, อิห — ในโลกนี้, เอว — แน่นอน, ภุญฺชีย — ผู้ที่ต้องหาความสุข, โภคานฺ — สิ่งที่ให้ความสุข, รุธิร — เลือด, ปฺรทิคฺธานฺ — เปื้อนด้วย
คำแปล
อยู่ในโลกนี้ด้วยการภิกขาจารยังดีกว่าที่จะอยู่ด้วยค่าครองชีพของดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ที่เป็นพระอาจารย์ของข้าทั้งหลาย ถึงแม้ปรารถนาผลกำไรทางโลกแต่พวกท่านก็ยังเป็นผู้อาวุโส หากพวกท่านถูกสังหารทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นความสุขของเราจะถูกแปดเปื้อนไปด้วยเลือด
คำอธิบาย
ตามหลักพระคัมภีร์อาจารย์ผู้กระทำสิ่งที่น่ารังเกียจขาดสติดุลยพินิจสมควรถูกทอดทิ้ง ภีษฺม และ โทฺรณ จำเป็นต้องอยู่ฝ่าย ทุโรฺยธน เพราะ ทุโรฺยธน ช่วยเหลือเรื่องการเงินทั้งสองท่านไม่ควรรับสถานภาพนี้เพียงเพื่อเห็นแก่เงินเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านได้สูญเสียคุณสมบัติความน่าเคารพนับถือในฐานะเป็นอาจารย์ไปแล้วแต่ อรฺชุน ทรงถือว่าท่านทั้งสองเป็นผู้อาวุโส หากถูกสังหารเท่ากับผลกำไรทางวัตถุและความสุขที่ อรฺชุน ได้รับเป็นสิ่งปฏิกูลที่แปดเปื้อนไปด้วยเลือด
na caitad vidmaḥ kataran no garīyo
yad vā jayema yadi vā no jayeyuḥ
yān eva hatvā na jijīviṣāmas
te ’vasthitāḥ pramukhe dhārtarāṣṭrāḥ
น ไจตทฺ วิทฺมห์ กตรนฺ โน ครีโย
ยทฺ วา ชเยม ยทิ วา โน ชเยยุห์
ยานฺ เอว หตฺวา น ชิชีวิษามสฺ
เต ’วสฺถิตาห์ ปฺรมุเข ธารฺตราษฺฏฺราห์
น — ไม่, จ — เช่นกัน, เอตตฺ — นี้, วิทฺมห์ — เรารู้, กตรตฺ — ซึ่ง, นห์ — สำหรับเรา, ครียห์ — ดีกว่า, ยตฺ วา — หรือไม่, ชเยม — เราอาจมีชัย, ยทิ — ถ้า, วา — หรือ, นห์ — เรา, ชเยยุห์ — พวกเขามีชัย, ยานฺ — เขาเหล่านั้น, เอว — แน่นอน, หตฺวา — ด้วยการสังหาร, น — ไม่เคย, ชิชีวิษามห์ — เราต้องการที่จะมีชีวิตอยู่, เต — ทั้งหมด, อวสฺถิตาห์ — สถิตอยู่, ปฺรมุเข — ข้างหน้า, ธารฺตราษฺฏฺราห์ — โอรสของดริทะราชทระ
คำแปล
เราไม่ทราบว่าสิ่งไหนดีกว่ากัน ระหว่างการเอาชนะพวกเขา หรือปล่อยให้พวกเขามีชัย หากสังหารเหล่าโอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร เราก็ไม่ควรมีชีวิตอยู่เช่นกัน บัดนี้ พวกเขาได้มายืนอยู่ต่อหน้าเราในสมรภูมินี้แล้ว
คำอธิบาย
อรฺชุน ทรงไม่ทราบว่าควรจะรบ และเสี่ยงในการเบียดเบียนผู้อื่นโดยไม่จำเป็นหรือไม่ ถึงแม้การทำศึกสงครามจะเป็นหน้าที่ของ กฺษตฺริย หรือควรจะหลีกเลี่ยงการรบ และไปใช้ชีวิตอยู่ด้วยการภิกขาจาร หากไม่ได้รับชัยชนะการภิกขาจารก็เป็นหนทางเดียวที่จะประทังชีวิตอยู่ และชัยชนะก็มิใช่เป็นสิ่งแน่นอน เพราะก็ต้องมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่ได้รับชัยชนะ ถึงแม้ว่าชัยชนะกำลังรอพวกเขาอยู่ (การกระทำเช่นนี้สมเหตุสมผล) แต่หากเหล่าโอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร ตายในสนามรบก็จะลำบากมากที่จะมีชีวิตอยู่โดยไม่มีพวกเขา ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้เปรียบเสมือนกับการพ่ายแพ้อีกอย่างหนึ่ง อรฺชุน ทรงพิจารณาอย่างรอบคอบเช่นนี้พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าไม่เพียงแต่เป็นสาวกผู้ยิ่งใหญ่ขององค์ภควานฺเท่านั้น แต่ยังมีความรู้แจ้งอย่างสูง และยังทรงสามารถควบคุมจิตใจ และประสาทสัมผัสของตนเองได้อย่างสมบูรณ์อีกด้วย ความปรารถนาของเขาที่จะอยากมีชีวิตอยู่ด้วยการภิกขาจาร (ขอทาน) แม้ตนได้กำเนิดในตระกูล กฺษตฺริย ก็เป็นข้อบ่งชี้อีกอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าอารจุนะทรงไม่ยึดติดและเป็นผู้มีคุณธรรมอย่างแท้จริงด้วยคุณสมบัติเหล่านี้บวกกับความศรัทธาที่มีต่อคำดำรัสของ ศฺรี กฺฤษฺณ (พระอาจารย์ทิพย์) จึงสรุปได้ว่า อรฺชุน ทรงมีความเหมาะสมเพื่อการหลุดพ้น หากเราไม่สามารถควบคุมประสาทสัมผัสได้ทั้งหมด เราก็จะไม่มีโอกาสเจริญขึ้นมาสู่ระดับแห่งความรู้ได้ หากไม่มีความรู้ และการอุทิศตนเสียสละเราก็จะไม่มีโอกาสได้รับความหลุดพ้น อรฺชุน ทรงมีคุณสมบัติทั้งหมดเหล่านี้ ซึ่งสำคัญกว่าคุณสมบัติอันยิ่งใหญ่ในความสัมพันธ์ทางวัตถุ
kārpaṇya-doṣopahata-svabhāvaḥ
pṛcchāmi tvāṁ dharma-sammūḍha-cetāḥ
yac chreyaḥ syān niścitaṁ brūhi tan me
śiṣyas te ’haṁ śādhi māṁ tvāṁ prapannam
การฺปณฺย-โทโษปหต-สฺวภาวห์
ปฺฤจฺฉามิ ตฺวำ ธรฺม-สมฺมูฒ-เจตาห์
ยจฺ เฉฺรยห์ สฺยานฺ นิศฺจิตํ พฺรูหิ ตนฺ เม
ศิษฺยสฺ เต ’หํ ศาธิ มำ ตฺวำ ปฺรปนฺนมฺ
การฺปณฺย — เล็กน้อย, โทษ — ด้วยความอ่อนแอ, อุปหต — ทำให้เดือดร้อน, สฺวภาวห์ — บุคลิก, ปฺฤจฺฉามิ — ข้าพเจ้าขอถาม, ตฺวามฺ — แด่พระองค์, ธรฺม — ศาสนา, สมฺมูฒ — สับสน, เจตาห์ — ในหัวใจ, ยตฺ — อะไร, เศฺรยห์ — ดีทั้งหมด, สฺยาตฺ — อาจจะ, นิศฺจิตมฺ — ความมั่นใจ, พฺรูหิ — บอก, ตตฺ — นั้น, เม — แด่ข้าพเจ้า, ศิษฺยห์ — สาวก, เต — ของพระองค์, อหมฺ — ข้าพเจ้าเป็น, ศาธิ — ได้โปรดสั่งสอน, มามฺ — ข้าพเจ้า, ตฺวามฺ — แด่พระองค์, ปฺรปนฺนมฺ — ศิโรราบ
คำแปล
บัดนี้ข้าพเจ้ารู้สึกสับสนเกี่ยวกับหน้าที่ และสูญเสียความสงบจนหมดสิ้น อันเนื่องมาจากความอ่อนแอเล็กน้อย ในสภาวะเช่นนี้ข้าพเจ้าขอเรียนถาม ได้ทรงโปรดกรุณาตรัสอย่างชัดเจนด้วยว่า อะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับข้า บัดนี้ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมเป็นสาวก วิญญาณดวงนี้ขอศิโรราบแด่พระองค์ ทรงโปรดกรุณาชี้ทาง
คำอธิบาย
โดยวิถีทางของธรรมชาติระบบอันสมบูรณ์ของกิจกรรมทางวัตถุเป็นต้นเหตุแห่งความสับสนวุ่นวาย สำหรับทุกคนความสับสนวุ่นวายมีอยู่ในทุกฝีก้าว ดังนั้นจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากเราเข้าพบพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ซึ่งสามารถให้คำแนะนำที่เหมาะสมเพื่อนำไปปฏิบัติให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายแห่งชีวิต วรรณกรรมพระเวททั้งหมดแนะนำเราให้เราเข้าพบพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้เพื่อให้เป็นอิสระจากความสับสนวุ่นวายแห่งชีวิต ซึ่งเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ปรารถนาเสมือนดั่งไฟป่าที่ลุกไหม้ขึ้นมาโดยไม่มีใครจุด ลักษณะเดียวกันสถานการณ์โลกทำให้ชีวิตเกิดความสับสนวุ่นวายโดยปริยายทั้งๆที่ไม่มีใครต้องการมัน ไม่มีใครต้องการให้ไฟไหม้แต่ไฟก็ไหม้ และทำให้เราสับสนวุ่นวาย ปรัชญาพระเวทแนะนำว่าในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับความสับสนวุ่นวายแห่งชีวิต และเข้าใจถึงศาสตร์แห่งการแก้ปัญหานั้นเราจะต้องเข้าพบพระอาจารย์ทิพย์ผู้อยู่ในสาย ปรมฺปรา บุคคลผู้มีพระอาจารย์ทิพย์ที่เชื่อถือได้จะรู้แจ้งในทุกสิ่งทุกอย่าง ดังนั้นเราไม่ควรอยู่ในความสับสนวุ่นวายทางวัตถุ แต่ควรเข้าพบพระอาจารย์และนี่คือคำอธิบายของโศลกนี้
แล้วใครคือบุคคลผู้อยู่ในความสับสนวุ่นวายทางวัตถุ บุคคลนั้นก็คือผู้ที่ไม่เข้าใจปัญหาของชีวิต ใน พฺฤหทฺ-อารณฺยก อุปนิษทฺ (3.8.10) ได้อธิบายถึงผู้สับสนวุ่นวายไว้ดังนี้ โย วา เอตทฺ อกฺษรํ คารฺคฺยฺ อวิทิตฺวาสฺมาฬฺ โลกาตฺ ไปฺรติ ส กฺฤปณห์ “บุคคลผู้มีความโลภไม่แก้ปัญหาชีวิตแม้เกิดมาเป็นมนุษย์ และจากโลกนี้ไปก็เหมือนแมวและสุนัข โดยไม่เข้าใจศาสตร์ความรู้แจ้งแห่งตน” ร่างมนุษย์มีคุณค่าสูงสุดสำหรับสิ่งมีชีวิตในการที่จะใช้มันเพื่อแก้ปัญหาชีวิต ฉะนั้นผู้ไม่ใช้โอกาสนี้อย่างเหมาะสมเป็นคนที่โง่เขลา ส่วนอีกด้านหนึ่งมี พฺราหฺมณ หรือผู้ฉลาดพอที่จะใช้ร่างกายนี้แก้ปัญหาชีวิตทั้งหมด ย เอตทฺ อกฺษรํ คารฺคิ วิทิตฺวาสฺมาลฺ โลกาตฺ ไปฺรติ ส พฺราหฺมณห์
กฺฤปณ หรือคนโลภเสียเวลากับความเสน่หาต่อครอบครัว สังคม และประเทศ ฯลฯ มากเกินไป ตามแนวคิดชีวิตแห่งโลกวัตถุ ส่วนมากจะยึดติดอยู่กับชีวิตครอบครัว เช่น ภรรยา บุตร ธิดา และสมาชิกคนอื่นๆบนพื้นฐานของ “โรคผิวหนัง” กฺฤปณ คิดว่าตัวเขาเองสามารถปกป้องสมาชิกในครอบครัวให้พ้นจากความตายได้ หรือมิเช่นนั้น กฺฤปณ ก็จะคิดว่าครอบครัว หรือสังคมสามารถช่วยเขาให้หลุดพ้นจากเงื้อมมือของพญามัจจุราชได้ ความยึดติดกับครอบครัวเช่นนี้พบได้เช่นกันแม้ในสัตว์ชั้นต่ำที่ดูแลลูกของมัน ด้วยความมีสติปัญญา อรฺชุน ทรงเข้าใจว่าความเสน่หาในการยึดติดต่อสมาชิกในครอบครัว และความปรารถนาที่จะปกป้องพวกเขาจากความตายนั้นเป็นต้นเหตุแห่งความสับสนวุ่นวาย ถึงแม้ อรฺชุน ทรงทราบดีว่าหน้าที่ในการรบรอคอยพระองค์อยู่ แต่เนื่องมาจากความอ่อนแอเพียงเล็กน้อยทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามหน้าที่ได้ ฉะนั้น อรฺชุน ทรงตรัสถามองค์กฺฤษฺณผู้ทรงเป็นพระอาจารย์ทิพย์สูงสุดเพื่อให้ได้คำตอบที่แน่นอน อรฺชุน ทรงถวายชีวิตแด่องค์กฺฤษฺณด้วยการมาเป็นสาวก พระองค์ทรงปรารถนาที่จะหยุดการสนทนาฉันมิตร การสนทนาระหว่างพระอาจารย์และสาวกจึงเริ่มขึ้นอย่างจริงจัง บัดนี้ อรฺชุน ทรงปรารถนาที่จะสนทนาอย่างจริงจังต่อหน้าพระพักตร์ของผู้ที่พระองค์ทรงยอมรับว่าเป็นพระอาจารย์ทิพย์ ดังนั้น องค์กฺฤษฺณทรงเป็นพระอาจารย์ทิพย์องค์แรกแห่งศาสตร์ ภควัท-คีตา และ อรฺชุน ทรงเป็นสาวกรูปแรกที่เข้าใจ ภควัท-คีตา อรฺชุน ทรงเข้าใจ ภควัท-คีตา อย่างไรนั้นได้กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา นี้เอง ถึงกระนั้นก็ยังมีนักวิชาการทางโลกผู้เบาปัญญาอธิบายว่าเราไม่จำเป็นต้องยอมจำนนต่อองค์กฺฤษฺณในฐานะที่ทรงเป็นบุคคล แต่ยอมจำนนต่อ “ผู้ที่ยังไม่เกิดภายในองค์กฺฤษฺณ” ไม่มีข้อแตกต่างระหว่างภายในและภายนอกขององค์กฺฤษฺณ ผู้ที่ไม่สามารถเข้าใจเช่นนี้เป็นบุคคลโง่เขลาเบาปัญญาที่สุดที่พยายามที่จะเข้าใจ ภควัท-คีตา
na hi prapaśyāmi mamāpanudyād
yac chokam ucchoṣaṇam indriyāṇām
avāpya bhūmāv asapatnam ṛddhaṁ
rājyaṁ surāṇām api cādhipatyam
น หิ ปฺรปศฺยามิ มมาปนุทฺยาทฺ
ยจฺ โฉกมฺ อุจฺโฉษณมฺ อินฺทฺริยาณามฺ
อวาปฺย ภูมาวฺ อสปตฺนมฺ ฤทฺธํ
ราชฺยํ สุราณามฺ อปิ จาธิปตฺยมฺ
น — ไม่, หิ — แน่นอน, ปฺรปศฺยามิ — ข้าพเจ้าเห็น, มม — ของข้าพเจ้า, อปนุทฺยาตฺ — สามารถขจัดออก, ยตฺ — สิ่งซึ่ง, โศกมฺ — ความเศร้าโศก, อุจฺโฉษณมฺ — แห้งผาก, อินฺทฺริยาณามฺ — ของประสาทสัมผัส, อวาปฺย — บรรลุถึง, ภูเมา — บนโลก, อสปตฺนมฺ — โดยไม่มีคู่แข่ง, ฤทฺธมฺ — มั่งคั่ง, ราชฺยมฺ — อาณาจักร, สุราณามฺ — ของเหล่าเทวดา, อปิ — ถึงแม้, จ — เช่นกัน, อาธิปตฺยมฺ — ยิ่งใหญ่ที่สุด
คำแปล
ข้าพเจ้าไม่สามารถหาวิธีขจัดความทุกข์ที่ทำให้ประสาทสัมผัสเหือดแห้งลงได้ ถึงแม้จะได้รับชัยชนะทั้งทรัพย์สมบัติ และอาณาจักรที่ไร้คู่แข่งบนโลกนี้ พร้อมทั้งอำนาจสูงสุดเยี่ยงเทวดาบนสวรรค์ ก็ยังจะไม่สามารถขจัดปัดเป่ามันออกไปได้
คำอธิบาย
ถึงแม้ว่า อรฺชุน ทรงยกข้ออ้างมากมายตามหลักความรู้ทางศาสนาและหลักศีลธรรม แต่ดูเหมือนว่าไม่สามารถแก้ปัญหาที่แท้จริงได้หากไม่ได้รับการช่วยเหลือจากพระอาจารย์ทิพย์องค์ศฺรีกฺฤษฺณ อรฺชุน ทรงสามารถเข้าใจว่าสิ่งที่สมมุติว่าเป็นความรู้ที่มีอยู่นั้นใช้ไม่ได้ในการที่จะขจัดปัดเป่าปัญหาที่ทำให้พระวรกายของพระองค์แห้งผากลง และเป็นไปไม่ได้ที่ อรฺชุน จะทรงสามารถแก้ปัญหาความสับสนวุ่นวายนี้ได้โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากพระอาจารย์ทิพย์อย่างองค์กฺฤษฺณ ความรู้ทางโลก ความเป็นผู้คงแก่เรียน และตำแหน่งสูงๆเหล่านี้ใช้ไม่ได้ในการนำมาแก้ปัญหาชีวิต พระอาจารย์ทิพย์อย่างองค์กฺฤษฺณเท่านั้นที่ทรงสามารถให้ความช่วยเหลือเราได้ ฉะนั้นข้อสรุปคือ พระอาจารย์ทิพย์ผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นพระอาจารย์ทิพย์ที่เชื่อถือได้ เพราะท่านสามารถแก้ปัญหาชีวิตได้ องค์ ไจตนฺย ตรัสว่าผู้ที่มีความรู้จริงในศาสตร์แห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงจะเป็นพระอาจารย์ทิพย์ที่แท้จริงได้ ไม่ว่าสถานภาพทางสังคมของท่านจะเป็นเช่นไรก็ตาม
กิพา วิปฺร, กิพา นฺยาสี, ศูทฺร เกเน นย
เยอิ กฺฤษฺณ-ตตฺตฺว-เวตฺตา, เสอิ ‘คุรุ’ หย
“มันไม่สำคัญว่าบุคคลนั้นจะเป็น วิปฺร (ผู้มีความรู้มากในปรัชญาพระเวท) ผู้เกิดในตระกูลต่ำ หรือเป็นผู้ใช้ชีวิตสละโลกวัตถุ หากผู้ใดมีความรู้จริงในศาสตร์แห่งกฺฤษฺณจิตสำนึก ผู้นั้นมีความสมบูรณ์ และเป็นพระอาจารย์ทิพย์ที่เชื่อถือได้” (ไจตนฺย-จริตามฺฤต, มธฺย 8.128) ดังนั้นหากไม่มีความรู้จริงในศาสตร์แห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกก็ไม่มีผู้ใดสามารถเป็นพระอาจารย์ทิพย์ที่เชื่อถือได้ ได้กล่าวไว้ในวรรณกรรมพระเวทอีกเช่นกันว่า
ษฏฺ-กรฺม-นิปุโณ วิโปฺร
มนฺตฺร-ตนฺตฺร-วิศารทห์
อไวษฺณโว คุรุรฺ น สฺยาทฺ
ไวษฺณวห์ ศฺว-ปโจ คุรุห์
“พฺราหฺมณ ผู้คงแก่เรียนมีความชำนาญในสาขาวิชาของพระเวททั้งหมดยังไม่เหมาะสมที่จะมาเป็นพระอาจารย์ทิพย์ หากมิได้เป็น ไวษฺณว หรือผู้มีความชำนาญในศาสตร์แห่งกฺฤษฺณจิตสำนึก แต่ผู้ที่เกิดในตระกูลต่ำสามารถเป็นพระอาจารย์ทิพย์ที่เชื่อถือได้ หากว่าผู้นั้นเป็น ไวษฺณว หรือมีกฺฤษฺณจิตสำนึก” (ปทฺม ปุราณ)
ปัญหาชีวิตทางวัตถุ เช่น การเกิด การแก่ การเจ็บ และการตายแก้ไขไม่ได้ด้วยการสะสมทรัพย์สมบัติ และการพัฒนาเศรษฐกิจ มีสถานที่ต่างๆมากมายในโลกที่รัฐมีสิ่งอำนวยความสะดวกแด่ชีวิตอย่างสมบูรณ์ เต็มไปด้วยความมั่งคั่งและเศรษฐกิจที่ดี แต่ปัญหาทางวัตถุก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่ พวกเขาเสาะแสวงหาสันติภาพด้วยวิธีต่างๆ แต่จะได้รับความสุขอย่างแท้จริงก็ด้วยการมาปรึกษากับองค์กฺฤษฺณหรือ ภควัท-คีตา และ ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ เท่านั้น ซึ่งประกอบกันเป็นศาสตร์แห่งองค์กฺฤษฺณ โดยผ่านทางผู้แทนที่เชื่อถือได้ขององค์กฺฤษฺณ หรือบุคคลผู้อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึก
หากการพัฒนาเศรษฐกิจ และความสะดวกสบายทางวัตถุจะสามารถขจัดความเศร้าโศกเสียใจของเราจากความมึนเมาทางครอบครัว สังคม ชาติ และระดับนานาชาติได้ อรฺชุน คงไม่ตรัสว่า แม้แต่ราชอาณาจักรในโลกที่ไร้ศัตรูคู่แข่ง หรืออำนาจสูงสุดเยี่ยงเหล่าเทวดาบนสรวงสวรรค์ยังไม่สามารถขจัดความเศร้าโศกของพระองค์ได้ ฉะนั้น อรฺชุน จึงทรงแสวงหาที่พึ่งในกฺฤษฺณจิตสำนึก และนี่คือวิถีทางที่ถูกต้องเพื่อสันติภาพและความสามัคคี การพัฒนาเศรษฐกิจหรืออำนาจความยิ่งใหญ่ในโลกอาจจบสิ้นลงในวินาทีใดก็ได้จากภัยพิบัติแห่งธรรมชาติวัตถุ แม้วิวัฒนาการที่จะไปอยู่ในดาวเคราะห์ที่สูงกว่า ดังเช่นที่มนุษย์พยายามที่จะขึ้นไปบนดวงจันทร์อาจจบสิ้นลงในวินาทีใดก็ได้ ภควัท-คีตา ยืนยันไว้ดังนี้ กฺษีเณ ปุเณฺย มรฺตฺย-โลกํ วิศนฺติ “เมื่อผลบุญหมดสิ้นเราจะตกลงจากจุดมีความสุขที่สุดไปสู่สภาพชีวิตที่ต่ำสุด” มีนักการเมืองมากมายในโลกที่ตกต่ำลงในแบบนี้ การตกต่ำลงเช่นนี้เป็นเพียงการเพิ่มความเศร้าโศกให้มีมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
ฉะนั้น หากเราต้องการขจัดความเศร้าโศกให้หมดสิ้นไปอย่างถาวร เราต้องยอมรับเอาองค์กฺฤษฺณมาเป็นที่พึ่งดังเช่น อรฺชุน ทรงปรารถนาที่จะทำ ดังนั้น อรฺชุน จึงทรงตรัสถามองค์กฺฤษฺณให้ทรงช่วยแก้ปัญหาอย่างถอนรากถอนโคน และนี่คือวิธีแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึก
sañjaya uvāca
evam uktvā hṛṣīkeśaṁ
guḍākeśaḥ paran-tapaḥ
na yotsya iti govindam
uktvā tūṣṇīṁ babhūva ha
สญฺชย อุวาจ
เอวมฺ อุกฺตฺวา หฺฤษีเกศํ
คุฑาเกศห์ ปรนฺ-ตปห์
น โยตฺสฺย อิติ โควินฺทมฺ
อุกฺตฺวา ตูษฺณีํ พภูว ห
สญฺชยห์ อุวาจ — สญฺชย กล่าวว่า, เอวมฺ — ดังนั้น, อุกฺตฺวา — ตรัส, หฺฤษีเกศมฺ — แด่องค์กฺฤษฺณ เจ้าแห่งประสาทสัมผัส, คุฑาเกศห์ — อรฺชุน เจ้าแห่งผู้ขจัดอวิชชา, ปรมฺ-ตปห์ — ผู้กำราบศัตรู, น โยตฺเสฺย — ข้าพเจ้าจะไม่ต่อสู้, อิติ — ดังนั้น, โควินฺทมฺ — แด่องค์กฺฤษฺณ ผู้ให้ความสุขแด่ประสาทสัมผัส, อุกฺตฺวา — ตรัส, ตูษฺณีมฺ — นิ่งเงียบ, พภูว — มาเป็น, ห — แน่นอน
คำแปล
สญฺชย กล่าวว่า หลังจากตรัสเช่นนี้แล้ว อรฺชุน ผู้กำราบศัตรูตรัสต่อองค์กฺฤษฺณว่า “ข้าแต่องค์ โควินฺท ข้าพเจ้าจะไม่รบ” และมีอาการสงบนิ่ง
คำอธิบาย
พระราชา ธฺฤตราษฺฏฺร ทรงมีความยินดีมากที่รู้ว่า อรฺชุน ไม่ยอมที่จะรบ และจะหนีออกจากสนามรบเพื่อไปภิกขาจารหาเลี้ยงชีพ แต่ สญฺชย ได้ทำให้ ธฺฤตราษฺฏฺร ทรงผิดหวังอีกครั้งหนึ่งด้วยการกล่าว อรฺชุน ทรงมีความสามารถในการสังหารศัตรู (ปรนฺ-ตปห์) ถึงแม้ในตอนนี้ อรฺชุน จะเปี่ยมไปด้วยความเศร้าโศกอันมิบังควรเนื่องจากความรักและความห่วงใยที่มีต่อครอบครัว อรฺชุน ทรงยอมศิโรราบมาเป็นสาวกขององค์กฺฤษฺณพระอาจารย์ทิพย์สูงสุด แสดงให้เห็นว่าในไม่ช้าจะเป็นอิสระจากความเศร้าโศกอันมิควรซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากความรักและความห่วงใยในครอบครัว และจะได้รับแสงสว่างจากความรู้อันสมบูรณ์ในการรู้แจ้งแห่งตนหรือ กฺฤษฺณจิตสำนึก จากนั้น อรฺชุน จะทรงลุกขึ้นมาสู้อย่างแน่นอน ดังนั้นความสุขของ ธฺฤตราษฺฏฺร ทรงถูกลบเลือนหายไปเพราะองค์กฺฤษฺณทรงทำให้ อรฺชุน ได้รับแสงสว่างและจะต่อสู้จนถึงที่สุด
tam uvāca hṛṣīkeśaḥ
prahasann iva bhārata
senayor ubhayor madhye
viṣīdantam idaṁ vacaḥ
ตมฺ อุวาจ หฺฤษีเกศห์
ปฺรหสนฺนฺ อิว ภารต
เสนโยรฺ อุภโยรฺ มเธฺย
วิษีทนฺตมฺ อิทํ วจห์
ตมฺ — แต่เขา, อุวาจ — ตรัส, หฺฤษีเกศห์ — องค์กฺฤษฺณ เจ้าแห่งประสาทสัมผัส, ปฺรหสนฺ — ทรงแย้มพระสรวล, อิว — เหมือนเช่นนั้น, ภารต โอ้ ธฺฤตราษฺฏฺร ผู้สืบราชวงศ์ ภรต, เสนโยห์ — ของศัตรู, อุภโยห์ — ของทั้งสองฝ่าย, มเธฺย — ระหว่าง, วิษีทนฺตมฺ — แด่ผู้ที่มีความโศกเศร้า, อิทมฺ — ต่อไปนี้, วจห์ — คำพูด
คำแปล
โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ ภรต ขณะนั้น องค์กฺฤษฺณทรงแย้มพระสรวลอยู่ท่ามกลางกองทัพทั้งสองฝ่าย และตรัสแด่ อรฺชุน ผู้ทรงเปี่ยมไปด้วยความเศร้าโศกดังต่อไปนี้
คำอธิบาย
การสนทนาได้ดำเนินต่อไประหว่างสหายสนิทผู้ทรงมีพระนามว่า หฺฤษีเกศ และ คุฑาเกศ ในฐานะที่เป็นสหายทั้งคู่ทรงอยู่ในระดับเดียวกัน แต่องค์หนึ่งอาสามาเป็นศิษย์ องค์กฺฤษฺณทรงแย้มพระสรวลเพราะสหายของพระองค์ยอมมาเป็นศิษย์ ในฐานะที่เป็นเจ้าของมวลชีวิตพระองค์ทรงอยู่ในสถานภาพที่เหนือกว่าคือ เป็นพระอาจารย์ของทุกๆชีวิต แต่พระองค์ทรงยอมเป็นสหาย เป็นโอรส หรือเป็นที่รักของสาวกผู้ปรารถนาที่จะให้พระองค์แสดงบทเหล่านี้ เมื่อได้รับการยอมรับให้เป็นพระอาจารย์ก็ทรงรับบทนี้ทันที และตรัสต่อสาวกเยี่ยงพระอาจารย์ด้วยสุรเสียงอันหนักแน่น การสนทนาระหว่างพระอาจารย์ และศิษย์ได้มีการแลกเปลี่ยนกันอย่างเปิดเผยต่อหน้ากองทัพทั้งสองฝ่ายเพื่อประโยชน์ของทุกคน ฉะนั้นการสนทนา ภควัท-คีตา มิใช่สำหรับเฉพาะบุคคล สมาคม หรือเฉพาะสังคมใดสังคมหนึ่งเท่านั้น แต่สำหรับทุกคนไม่ว่าจะเป็นมิตร หรือเป็นศัตรูก็มีสิทธิ์รับฟังได้เท่าเทียมกัน
śrī-bhagavān uvāca
aśocyān anvaśocas tvaṁ
prajñā-vādāṁś ca bhāṣase
gatāsūn agatāsūṁś ca
nānuśocanti paṇḍitāḥ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
อโศจฺยานฺ อนฺวโศจสฺ ตฺวํ
ปฺรชฺญา-วาทำศฺ จ ภาษเส
คตาสูนฺ อคตาสูํศฺ จ
นานุโศจนฺติ ปณฺฑิตาห์
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัส, อโศจฺยานฺ — ไม่ควรค่าแก่การเศร้าโศก, อนฺวโศจห์ — เธอกำลังโศกเศร้า, ตฺวมฺ — ท่าน, ปฺรชฺญา-วาทานฺ — พูดอย่างมีการศึกษาสูง, จ — เช่นกัน, ภาษเส — พูด, คต — สูญเสีย, อสูนฺ — ชีวิต, อคต — ไม่ผ่านพ้น, อสูนฺ — ชีวิต, จ — เช่นกัน, น — ไม่เคย, อนุโศจนฺติ — เศร้าโศก, ปณฺฑิตาห์ — ผู้มีความรู้สูง
คำแปล
บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัสว่า ขณะที่พูดด้วยวาจาอันสูงส่งแต่เธอกลับมาเศร้าโศกกับสิ่งที่ไม่ควรค่าแก่การโศกเศร้า ผู้ที่มีปัญญาจะไม่เศร้าโศกไปกับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
คำอธิบาย
ทันทีที่องค์ภควานฺทรงรับตำแหน่งเป็นพระอาจารย์ก็ทรงสั่งสอนศิษย์ด้วยการเรียกโดยอ้อมว่าเจ้าคนโง่ องค์กฺฤษฺณตรัสว่า “เธอพูดเหมือนกับนักปราชญ์ แต่ไม่รู้ว่าผู้ที่เป็นนักปราชญ์หรือผู้ที่รู้ข้อแตกต่างระหว่างร่างกายกับดวงวิญญาณจะไม่เศร้าโศกไม่ว่าร่างกายจะอยู่ในสภาวะที่มีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว” ดังที่จะอธิบายในบทต่อๆไปให้ทราบชัดเจนว่าความรู้หมายถึง รู้วัตถุและดวงวิญญาณ และรู้ถึงผู้ควบคุมทั้งสองสิ่งนี้ อรฺชุน ทรงโต้เถียงว่าเราควรจะให้ความสำคัญแก่หลักศาสนามากกว่าการเมืองหรือการสังคม แต่ อรฺชุน ทรงไม่ทราบว่าความรู้วัตถุ ดวงวิญญาณ และองค์ภควานฺมีความสำคัญกว่าพิธีกรรมทางศาสนา หากไม่มีความรู้เช่นนี้ก็ไม่ควรอวดอ้างตนเองว่าเป็นผู้มีความรู้สูง เพราะไม่รู้จึงต้องมาเศร้าโศกกับสิ่งที่ไม่ควรค่าแก่ความโศกเศร้า ร่างกายที่เกิดมาแล้วจะต้องมาถึงจุดจบ ไม่วันนี้ก็พรุ่งนี้ ฉะนั้นร่างกายจึงไม่สำคัญเท่าดวงวิญญาณ ผู้ทราบเช่นนี้จึงจะเป็นผู้รู้ที่แท้จริง และบุคคลผู้นี้จะไม่มีความเศร้าโศกเสียใจอันเนื่องมาจากร่างกายวัตถุ
na tv evāhaṁ jātu nāsaṁ
na tvaṁ neme janādhipāḥ
na caiva na bhaviṣyāmaḥ
sarve vayam ataḥ param
น ตฺวฺ เอวาหํ ชาตุ นาสํ
น ตฺวํ เนเม ชนาธิปาห์
น ไจว น ภวิษฺยามห์
สเรฺว วยมฺ อตห์ ปรมฺ
น — ไม่เคย, ตุ — แต่, เอว — แน่นอน, อหมฺ — ข้าพเจ้า, ชาตุ — ทุกขณะ, น — ไม่, อาสมฺ — เป็นอยู่, น — ไม่, ตฺวมฺ — ท่าน, น — ไม่, อิเม ทั้งหมดนี้, ชน-อธิปาห์ — เหล่ากษัตริย์, น — ไม่, จ — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, น — ไม่, ภวิษฺยามห์ — จะมีชีวิตอยู่, สเรฺว วยมฺ — เราทั้งหมด, อตห์ ปรมฺ — หลังจากนี้
คำแปล
ไม่มีขณะใดเลยที่ตัวข้า ตัวเธอ หรือกษัตริย์ทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีชีวิตอยู่ แม้ในอนาคตพวกเราทั้งหมดก็จะยังคงมีชีวิตอยู่
คำอธิบาย
ในคัมภีร์พระเวท กฐ อุปนิษทฺ รวมทั้งใน เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ ได้กล่าวไว้ว่าบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงเป็นผู้ค้ำจุนสิ่งมีชีวิตจำนวนนับไม่ถ้วนตามสภาวะแห่งกรรม และผลกรรมของแต่ละชีวิต และภาคที่แยกมาจากบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์เดียวกันนี้ทรงประทับอยู่ภายในหัวใจของทุกๆชีวิต นักบุญเท่านั้นที่สามารถเห็นบุคลิกภาพแห่งพระเจ้าองค์เดียวกันนี้ทั้งภายในและภายนอก และสามารถได้รับความสงบที่สมบูรณ์นิรันดรอย่างแท้จริง
นิโตฺย นิตฺยานำ เจตนศฺ เจตนานามฺ
เอโก พหูนำ โย วิทธาติ กามานฺ
ตมฺ อาตฺม-สฺถํ เย ’นุปศฺยนฺติ ธีราสฺ
เตษำ ศานฺติห์ ศาศฺวตี เนตเรษามฺ
สัจธรรมพระเวทที่ทรงให้แด่ อรฺชุน ก็ทรงให้กับทุกๆคนในโลกที่อ้างว่าตนเองมีการศึกษาสูงแต่อันที่จริงด้อยการศึกษา องค์ภควานฺตรัสอย่างชัดเจนว่า พระองค์เอง อรฺชุน และบรรดา กฺษตฺริย ทั้งหลายที่มาชุมนุมกัน ณ สมรภูมิแห่งนี้ แท้ที่จริงแล้วเป็นปัจเจกบุคคลนิรันดร องค์ภควานฺทรงเป็นผู้ค้ำจุนมวลปัจเจกชีวิตทั้งในสภาวะวัตถุและสภาวะหลุดพ้นแล้ว บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงเป็นปัจเจกบุคลิกภาพสูงสุด อรฺชุน สหายนิรันดรของพระองค์และ กฺษตฺริย ทั้งหมดที่มาชุมนุมกันอยู่ที่นี้ทรงเป็นปัจเจกบุคคลนิรันดร มิใช่ว่ามิได้เป็นปัจเจกบุคคลในอดีต และมิใช่ว่าจะไม่มีชีวิตอยู่เป็นปัจเจกบุคคลตลอดเวลา ความเป็นปัจเจกบุคคลมีอยู่ในอดีต และความเป็นปัจเจกบุคคลจะคงมีอยู่ต่อไปในอนาคตอย่างไม่หยุดยั้ง ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่จะต้องเศร้าโศกต่อผู้ใด
ทฤษฎีของ มายาวาที ที่ว่าหลังจากหลุดพ้นเป็นอิสรภาพแล้วปัจเจกวิญญาณจะถูกแยกออกจากการครอบงำของ มายา หรือความหลง จะกลืนหายเข้าไปใน พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ และสูญเสียความเป็นปัจเจกบุคคล องค์ศฺรีกฺฤษฺณผู้ที่เชื่อถือได้สูงสุดทรงไม่เห็นด้วย ณ ที่นี้ หรือทฤษฎีที่ว่าเราคิดถึงความเป็นปัจเจกบุคคลในเฉพาะสภาวะวัตถุเท่านั้นมิได้รับการยอมรับ องค์กฺฤษฺณทรงตรัสอย่างชัดเจนที่นี้ว่าในความเป็นปัจเจกบุคคลของพระองค์และทุกๆชีวิตจะคงอยู่ตลอดไปนิรันดรแม้อนาคตก็ตาม ดังที่ได้ยืนยันไว้ใน อุปนิษทฺ คำดำรัสเช่นนี้ขององค์กฤษฺณทรงเป็นที่เชื่อถือได้เพราะว่าองค์กฺฤษฺณทรงไม่ได้อยู่ภายใต้ความหลง หากความเป็นปัจเจกบุคคลไม่เป็นความจริงองค์กฺฤษฺณจะไม่ทรงเน้นมากเช่นนี้ แม้ในอนาคต มายาวาที อาจโต้เถียงว่าปัจเจกบุคคลที่องค์กฺฤษฺณตรัสมิใช่เป็นทิพย์แต่เป็นวัตถุ ถึงแม้ว่าเรายอมรับข้อโต้เถียงว่าปัจเจกบุคคลเป็นวัตถุ แล้วเราจะแยกความเป็นปัจเจกบุคคลขององค์กฺฤษฺณได้อย่างไร องค์กฺฤษฺณทรงยืนยันความเป็นปัจเจกบุคคลของพระองค์ในอดีต และทรงยืนยันความเป็นปัจเจกบุคคลของพระองค์ในอนาคตเช่นเดียวกัน พระองค์ทรงยืนยันความเป็นปัจเจกบุคคลของพระองค์ในหลายๆทาง และ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ได้อธิบายไว้ว่าเป็นรองลงมาจากพระองค์ องค์กฺฤษฺณทรงอนุรักษ์ความเป็นปัจเจกทิพย์เรื่อยมา ถ้าหากว่าเรายอมรับพระองค์ว่าทรงเป็นพันธวิญญาณธรรมดาในปัจเจกจิตสำนึก ภควัท-คีตา ของพระองค์ก็จะไม่มีคุณค่าว่าเป็นพระคัมภีร์ที่เชื่อถือได้ บุคคลธรรมดาผู้มีจุดอ่อนที่บกพร่องสี่ประการของมนุษย์จะไม่สามารถสอนสิ่งที่ควรค่าแก่การสดับฟังได้ คีตา อยู่เหนือวรรณกรรมเช่นนี้จึงไม่มีหนังสือใดๆทางโลกเปรียบเทียบกับ ภควัท-คีตา ได้ เมื่อเรายอมรับว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคคลธรรมดา คีตา จะสูญเสียความสำคัญโดยสิ้นเชิง พวก มายาวาที อาจเถียงว่าความหลากหลายบุคลิกภาพที่ได้กล่าวไว้ในโศลกนี้เป็นไปตามประเพณีนิยมและหมายถึงร่างกาย แต่โศลกก่อนหน้านี้แนวคิดทางร่างกายเช่นนี้ได้ถูกตำหนิไว้แล้ว หลังจากการตำหนิแนวคิดทางร่างกายของสิ่งมีชีวิตไปแล้ว จะเป็นไปได้อย่างไรที่องค์กฺฤษฺณจะทรงเสนอแนะเกี่ยวกับร่างกายตามประเพณีนิยมอีก ฉะนั้นความเป็นปัจเจกบุคคลจะคงอนุรักษ์ไว้บนพื้นฐานความเป็นทิพย์และได้รับการยืนยันไว้โดย อาจารฺย ผู้ยิ่งใหญ่ เช่น ศฺรี รามานุช และท่านอื่นๆได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนหลายแห่งใน คีตา ว่า สาวกขององค์ภควานฺเท่านั้นที่จะสามารถเข้าใจปัจเจกบุคคลทิพย์ได้ ผู้ที่อิจฉาองค์กฺฤษฺณว่าทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าจะไม่มีหนทางเข้าถึงวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่ที่เชื่อถือได้นี้ การเข้าหาหลักธรรม คีตา ของผู้ไม่ใช่สาวกคล้ายกับผึ้งที่ไปเลียอยู่ที่ขวดน้ำผึ้ง เราไม่สามารถลิ้มรสน้ำผึ้งได้นอกจากเราจะเปิดขวดมาชิม ในลักษณะเดียวกันความเร้นลับของ ภควัท-คีตา ก็สามารถที่จะเข้าใจได้โดยสาวกเท่านั้น ไม่มีผู้อื่นสามารถลิ้มรสได้ ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทที่สี่ของ คีตา ว่าผู้ที่อิจฉาความเป็นอยู่ขององค์ภควานฺจะไม่สามารถแตะต้อง คีตา ได้ ฉะนั้นคำอธิบาย คีตา ของพวก มายาวาที เป็นการให้ข้อมูลที่ผิดไปจากความเป็นจริงทั้งหมด องค์ ไจตนฺย ทรงห้ามเราไม่ให้อ่านคำอธิบายที่เขียนโดย มายาวาที และทรงเตือนเราว่าผู้ที่รับเอาแนวคิดของปรัชญา มายาวาที จะสูญเสียพลังอำนาจทั้งหมดในการเข้าใจความเร้นลับอันแท้จริงของ คีตา หากปัจเจกบุคคล หมายถึงจักรวาลแห่งทฤษฏี คำสั่งสอนขององค์ภควานฺก็ไม่มีความจำเป็น ความหลากหลายบุคลิกภาพของปัจเจกวิญญาณ และองค์ภควานฺเป็นความจริงอมตะ และคัมภีร์พระเวทได้ยืนยันไว้ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
dehino ’smin yathā dehe
kaumāraṁ yauvanaṁ jarā
tathā dehāntara-prāptir
dhīras tatra na muhyati
เทหิโน ’สฺมินฺ ยถา เทเห
เกามารํ เยาวนํ ชรา
ตถา เทหานฺตร-ปฺราปฺติรฺ
ธีรสฺ ตตฺร น มุหฺยติ
เทหินห์ — ของร่างกาย, อสฺมินฺ — ในนี้, ยถา — ดังเช่น, เทเห — ในร่างกาย, เกามารมฺ — วัยเด็ก, เยาวนมฺ — วัยรุ่น, ชรา — วัยชรา, ตถา — เช่นเดียวกัน, เทห-อนฺตร — แห่งการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย, ปฺราปฺติห์ — ความสำเร็จ, ธีรห์ — มีสติ, ตตฺร — จากนั้น, น — ไม่เคย, มุหฺยติ — อยู่ในความหลง
คำแปล
ดังเช่นดวงวิญญาณในร่างวัตถุ เดินทางผ่านจากร่างวัยเด็กมาสู่ร่างวัยรุ่น และเข้าสู่ร่างวัยชรา ในลักษณะเดียวกันดวงวิญญาณจะผ่านจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่งเมื่อตาย ผู้มีสติจะไม่สับสนต่อการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้
คำอธิบาย
เนื่องจากทุกชีวิตเป็นปัจเจกวิญญาณ แต่ละชีวิตจึงเปลี่ยนร่างกายอยู่ทุกๆวินาที บางครั้งเป็นร่างเด็ก บางครั้งเป็นร่างหนุ่มสาว และบางครั้งเป็นร่างคนแก่ แต่ว่าดวงวิญญาณดวงเดียวกันนี้จะคงอยู่โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง และในที่สุดปัจเจกวิญญาณนี้จะเปลี่ยนร่างเมื่อตาย และย้ายเข้าไปสู่อีกร่างหนึ่ง เราจะมีอีกร่างหนึ่งในชาติหน้าอย่างแน่นอน ซึ่งอาจจะเป็นร่างวัตถุหรือร่างทิพย์จึงไม่มีเหตุให้ อรฺชุน ทรงต้องเสียใจจากการตายของ ภีษฺม หรือ โทฺรณ ที่ทรงเป็นห่วงใยยิ่งนัก อรฺชุน ทรงควรยินดีในการเปลี่ยนจากร่างชราไปสู่ร่างใหม่ของท่านทั้งสองซึ่งทำให้ได้รับพลังงานใหม่ การเปลี่ยนร่างเช่นนี้นำไปสู่ความสุขหรือความทุกข์อย่างหลากหลายแล้วแต่กรรมหรือการกระทำในชีวิต ภีษฺม และ โทฺรณ เป็นดวงวิญญาณที่ประเสริฐ ดังนั้นพวกท่านจะต้องได้รับร่างทิพย์ในชาติหน้าอย่างแน่นอน หรืออย่างน้อยที่สุดจะได้ใช้ชีวิตในร่างเทวดาเพื่อความสุขทางวัตถุที่สูงกว่า ดังนั้นจึงไม่มีเหตุให้ต้องเสียใจไม่ว่าในกรณีใด
ผู้ใดที่รู้พื้นฐานเดิมแท้อย่างสมบูรณ์ของปัจเจกวิญญาณ อภิวิญญาณ และธรรมชาติทั้งวัตถุและทิพย์ มีชื่อว่า ธีร หรือผู้มีความสุขุมคัมภีรภาพมากที่สุด บุคคลเช่นนี้จะไม่ให้การเปลี่ยนร่างกายมาลวงตาได้
ทฤษฎีความเป็นหนึ่งของดวงวิญญาณโดย มายาวาที จะรับพิจารณาไว้ไม่ได้ บนฐานที่ว่าดวงวิญญาณไม่สามารถถูกตัดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ หากดวงวิญญาณสามารถถูกตัดให้แบ่งแยกออกมาเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้จะทำให้องค์ภควานฺทรงแตกแยกหรือเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งขัดกับหลักที่ว่าดวงวิญญาณขององค์ภควานฺทรงไม่มีการเปลี่ยนแปลง คีตา ได้ยืนยันไว้ว่าละอองอณูขององค์ภควานฺจะทรงเป็นอยู่นิรันดร (สนาตน) และเรียกว่า กฺษร หมายถึงดวงวิญญาณที่มีแนวโน้มตกต่ำลงสู่ธรรมชาติวัตถุ ละอองวิญญาณเหล่านี้จะเป็นเช่นนี้นิรันดร และหลังจากหลุดพ้นได้รับอิสรภาพแล้วปัจเจกวิญญาณยังคงเป็นละอองอณูเหมือนเดิม แต่เมื่อหลุดพ้นแล้วเขาจะใช้ชีวิตทิพย์ที่เป็นอมตะ มีความสุขเกษมสำราญ และมีความรู้ร่วมกับบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ทฤษฏีการสะท้อนกลับใช้ได้กับอภิวิญญาณที่ทรงประทับอยู่ในทุกๆร่างมีพระนามว่า ปรมาตฺมา พระองค์ทรงแตกต่างจากปัจเจกชีวิต เมื่อท้องฟ้าสะท้อนอยู่ในน้ำภาพสะท้อนนั้นจะปรากฏให้เห็นดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และหมู่ดวงดาวได้เช่นกัน ดวงดาวเปรียบเสมือนกับสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์เปรียบเสมือนองค์ภควานฺ อรฺชุน ทรงเปรียบเสมือนปัจเจกวิญญาณซึ่งเป็นละอองอณู และดวงวิญญาณสูงสุดคือ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์ศฺรีกฺฤษฺณ ทั้งคู่ทรงมิได้อยู่ในระดับเดียวกันดังจะปรากฏให้เห็นในตอนต้นของบทที่สี่ หากว่า อรฺชุน ทรงอยู่ในระดับเดียวกันกับองค์กฺฤษฺณ และองค์กฺฤษฺณทรงไม่ได้ยิ่งใหญ่ไปกว่า อรฺชุน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้รับคำสอนจะไม่มีความหมาย เพราะทั้งคู่ถูกลวงตาด้วยพลังแห่งความหลง (มายา) ดังนั้นไม่จำเป็นต้องมีผู้สอนและผู้รับคำสอน การสอนเช่นนั้นจะไร้ประโยชน์เพราะว่าภายใต้อุ้งมือของพระนาง มายา ไม่มีผู้ใดเป็นผู้สอนที่เชื่อถือได้ ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้เป็นที่ยอมรับแล้วว่าองค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงเป็นองค์ภควานฺที่มีสถานภาพอยู่เหนือสิ่งมีชีวิต เช่น อรฺชุน ผู้ทรงเป็นดวงวิญญาณหลงลืมที่ถูกมายาครอบงำ
mātrā-sparśās tu kaunteya
śītoṣṇa-sukha-duḥkha-dāḥ
āgamāpāyino ’nityās
tāṁs titikṣasva bhārata
มาตฺรา-สฺปรฺศาสฺ ตุ เกานฺเตย
ศีโตษฺณ-สุข-ทุห์ข-ทาห์
อาคมาปายิโน ’นิตฺยาสฺ
ตำสฺ ติติกฺษสฺว ภารต
มาตฺรา-สฺปรฺศาห์ — การสำเหนียกทางประสาทสัมผัส, ตุ — เท่านั้น, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, ศีต — ฤดูหนาว, อุษฺณ — ฤดูร้อน, สุข — ความสุข, ทุห์ข — ความเจ็บปวด, ทาห์ — ให้, อาคม — ปรากฏ, อปายินห์ — ไม่ปรากฏ, อนิตฺยาห์ — ไม่ถาวร, ตานฺ — ทั้งหมด, ติติกฺษสฺว — เพียงพยายามอดทน, ภารต — โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ ภรต
คำแปล
โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี การปรากฏ และไม่ปรากฏอันไม่ถาวรแห่งความสุข และความทุกข์ที่เป็นไปตามกาลเวลานั้น เปรียบเสมือนการปรากฏและการไม่ปรากฏ ของฤดูหนาวและฤดูร้อน ซึ่งเกิดขึ้นจากการสำเหนียกของประสาทสัมผัส โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ ภรต เราต้องเรียนรู้ถึงการอดทนต่อสิ่งเหล่านี้โดยไม่หวั่นไหว
คำอธิบาย
ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องเราจะต้องเรียนรู้การอดทนต่อการปรากฏและการไม่ปรากฏแห่งความสุขและความทุกข์อันไม่ถาวรตามคำสั่งสอนของพระเวทว่า เราต้องอาบน้ำในตอนเช้าตรู่แม้ในเดือน มาฆ (มกราคม-กุมภาพันธ์) ซึ่งในช่วงนี้จะหนาวมาก ถึงกระนั้นผู้ปฏิบัติธรรมตามหลักศาสนาจะไม่ลังเลในการอาบน้ำ ลักษณะเดียวกันสตรีจะไม่ลังเลในการอยู่ครัวเพื่อปรุงอาหารในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนซึ่งเป็นช่วงที่ร้อนที่สุดของฤดูร้อน เราต้องปฏิบัติหน้าที่ของเราแม้อากาศจะไม่เอื้ออำนวยความสะดวก เช่นเดียวกันการต่อสู้เป็นหลักศาสนาของ กฺษตฺริย แม้จะต้องต่อสู้กับสหายหรือสังคญาติ เราจึงไม่ควรบ่ายเบี่ยงจากหน้าที่ที่กำหนดไว้ เราต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามหลักศาสนาเพื่อพัฒนาระดับความรู้ เนื่องจากว่าความรู้และการอุทิศตนเสียสละเท่านั้นที่จะสามารถนำเราให้หลุดพ้นจากบ่วงของ มายา หรือความหลงได้
ทั้งสองพระนามที่ทรงใช้เรียก อรฺชุน มีความสำคัญเช่นกัน เกานฺเตย แสดงถึงความสัมพันธ์ทางสายเลือดอันยิ่งใหญ่ของฝ่ายพระมารดา และ ภารต แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของฝ่ายพระบิดา อรฺชุน ทรงได้รับมรดกอันยิ่งใหญ่จากทั้งสองฝ่าย และมรดกอันยิ่งใหญ่นี้ทำให้ทรงต้องมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้อง ดังนั้น อรฺชุน ทรงไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงการต่อสู้ได้
yaṁ hi na vyathayanty ete
puruṣaṁ puruṣarṣabha
sama-duḥkha-sukhaṁ dhīraṁ
so ’mṛtatvāya kalpate
ยํ หิ น วฺยถยนฺตฺยฺ เอเต
ปุรุษํ ปุรุษรฺษภ
สม-ทุห์ข-สุขํ ธีรํ
โส ’มฺฤตตฺวาย กลฺปเต
ยมฺ — ผู้ซึ่ง, หิ — แน่นอน, น — ไม่เคย, วฺยถยนฺติ — มีความทุกข์, เอเต — ทั้งหมดนี้, ปุรุษมฺ — แด่บุคคล, ปุรุษ-ฤษภ — โอ้ ผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์, สม — ไม่เปลี่ยนแปลง, ทุห์ข — ในความทุกข์, สุขมฺ — และความสุข, ธีรมฺ — ความอดทน, สห์ — เขา, อมฺฤตตฺวาย — เพื่ออิสรภาพ, กลฺปเต — พิจารณาว่ามีสิทธิ์
คำแปล
โอ้ ผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ (อรฺชุน) ผู้ที่ไม่หวั่นไหวต่อความสุขและความทุกข์ และมีความมั่นคงในทั้งสองสิ่ง เป็นผู้มีสิทธิ์เพื่อความหลุดพ้นอย่างแน่นอน
คำอธิบาย
ผู้ใดมีความแน่วแน่มั่นคงเพื่อความเจริญแห่งความรู้แจ้งทิพย์ และสามารถทนต่อการโจมตีของทั้งความทุกข์และความสุขได้นั้น เป็นผู้มีสิทธิ์เพื่อความหลุดพ้นอย่างแน่นอน ในสถาบัน วรฺณาศฺรม ระดับที่สี่ของชีวิตเรียกว่าระดับสละโลก (สนฺนฺยาส) เป็นสภาวะที่ต้องใช้ความอุตสาหะมาก แต่ผู้ที่มีความจริงจังในการทำให้ชีวิตของตนสมบูรณ์จะต้องบรรพชาในระดับ สนฺนฺยาส ถึงแม้จะมีความยากลำบากอย่างมากมาย ความยากลำบากโดยทั่วไปเกิดขึ้นจากการที่ต้องตัดความสัมพันธ์ทางครอบครัว ยกเลิกความสัมพันธ์กับภรรยา และบุตรธิดา ถ้าหากว่าใครสามารถอดทนต่อความยากลำบากเช่นนี้ได้ หนทางรู้แจ้งแห่งดวงวิญญาณของเขาจะสมบูรณ์อย่างแน่นอน การปฏิบัติหน้าที่ของ อรฺชุน ในฐานะ กฺษตฺริย ก็เช่นเดียวกันทรงได้รับการชี้นำให้มีความวิริยะอุตสาหะ ถึงแม้ว่าจะเป็นความยากลำบากที่จะต้องสู้รบกับสมาชิกในครอบครัวของตนเองหรือผู้ที่พระองค์รัก องค์ ไจตนฺย ทรงบรรพชาในระดับ สนฺนฺยาส เมื่อพระชนมายุเพียงยี่สิบสี่พรรษาในขณะที่ภรรยาสาวและพระมารดาผู้สูงวัยก็ไม่มีใครดูแลและยังต้องพึ่งพระองค์อยู่ แต่เพื่อเหตุผลที่สูงกว่าจึงจำเป็นต้องบรรพชาในระดับ สนฺนฺยาส และทรงมีความแน่วแน่มั่นคงในการปฏิบัติหน้าที่ที่สูงกว่า นี่คือวิถีทางเพื่อบรรลุถึงความหลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุ
nāsato vidyate bhāvo
nābhāvo vidyate sataḥ
ubhayor api dṛṣṭo ’ntas
tv anayos tattva-darśibhiḥ
นาสโต วิทฺยเต ภาโว
นาภาโว วิทฺยเต สตห์
อุภโยรฺ อปิ ทฺฤษฺโฏ ’นฺตสฺ
ตฺวฺ อนโยสฺ ตตฺตฺว-ทรฺศิภิห์
น — ไม่เคย, อสตห์ — แห่งการไม่มีอยู่, วิทฺยเต — มี, ภาวห์ — ความทนทาน, น — ไม่เคย, อภาวห์ — คุณภาพที่เปลี่ยนแปลง, วิทฺยเต — มี, สตห์ — แห่งอมตะ, อุภโยห์ — ของทั้งสอง, อปิ — เป็นความจริง, ทฺฤษฺฏห์ — สังเกตดู, อนฺตห์ — สรุป, ตุ — แน่นอน, อนโยห์ — ของเขาทั้งหลาย, ตตฺตฺว — แห่งความจริง, ทรฺศิภิห์ — โดยผู้เห็น
คำแปล
ผู้เห็นสัจธรรมได้สรุปไว้ว่า สำหรับสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง (ร่างกายวัตถุ) จะไม่มีความคงทนถาวร และสำหรับสิ่งที่เป็นอมตะ (ดวงวิญญาณ) จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง พวกเขาสรุปเช่นนี้จากการศึกษาธรรมชาติของทั้งสองสิ่ง
คำอธิบาย
ร่างกายที่เปลี่ยนแปลงจะไม่มีความคงทนถาวร เนื่องจากร่างกายนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจากการกระทำและผลการกระทำของเซลส์ต่างๆดังที่วิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยปัจจุบันยอมรับ ดังนั้นการเจริญเติบโตและความแก่ชราจึงเกิดขึ้นกับร่างกาย แต่ดวงวิญญาณนั้นจะคงความเป็นอมตะนิรันดรแม้ร่างกายและจิตใจจะเปลี่ยนไป ทั้งหมดนี่คือข้อแตกต่างระหว่างวัตถุและดวงวิญญาณ โดยธรรมชาติร่างกายนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ดวงวิญญาณเป็นอมตะ ผลสรุปเช่นนี้ผู้พบเห็นสัจธรรมในทุกระดับได้ยืนยันไว้แล้วทั้งผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์และผู้ที่เชื่อในรูปลักษณ์ ใน วิษฺณุ ปุราณ (2.12.38) กล่าวไว้ว่า องค์ วิษฺณุ และที่ประทับของพระองค์มีรัศมีทิพย์ในตัวเอง (โชฺยตีํษิ วิษฺณุรฺ ภุวนานิ วิษฺณุห์) คำว่ามีอยู่จริงและไม่มีอยู่จริง หมายถึงดวงวิญญาณและวัตถุเท่านั้น นั่นคือคำบอกเล่าของผู้ที่เห็นสัจธรรมทั้งหลาย
นี่คือจุดเริ่มต้นของคำสอนโดยองค์ภควานฺที่ให้แก่สิ่งมีชีวิต ผู้มีความสับสนมืดมนนั้นอยู่ภายใต้อิทธิพลของอวิชชา การขจัดอวิชชาจะต้องมีการสถาปนาความสัมพันธ์ที่เป็นอมตะระหว่างผู้บูชาและผู้ได้รับการบูชา จากนั้นจะต้องมีความเข้าใจข้อแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตอันเป็นละอองอณูและบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า เราสามารถเข้าใจธรรมชาติขององค์ภควานฺด้วยการศึกษาตนเองอย่างละเอียดถี่ถ้วน ข้อแตกต่างระหว่างตัวเราและองค์ภควานฺคือความสัมพันธ์ระหว่างเศษย่อยกับส่วนรวมทั้งหมด ทั้งใน เวทานฺต-สูตฺร และ ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ องค์ ภควานฺทรงได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งกำเนิดของสิ่งที่ปรากฏมาทั้งหมด การปรากฏเช่นนี้มีประสบการณ์จากทั้งธรรมชาติระดับสูงและธรรมชาติระดับต่ำ สิ่งมีชีวิตอยู่ในธรรมชาติที่สูงกว่าดังจะเปิดเผยในบทที่เจ็ด แม้ไม่มีข้อแตกต่างระหว่างพลังงานและแหล่งกำเนิดพลังงาน แหล่งกำเนิดพลังงานได้รับการยอมรับว่าคือองค์ภควานฺ และพลังงานหรือธรรมชาติได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนที่รองลงมา ฉะนั้นสิ่งมีชีวิตจะเป็นรององค์ภควานฺเสมอ ดั่งเช่นเจ้านายกับบ่าว หรืออาจารย์กับศิษย์ ความรู้ที่ชัดเจนเช่นนี้ไม่สามารถเข้าใจได้สำหรับผู้ที่อยู่ภายใต้มนต์สะกดของอวิชชา เพื่อขจัดอวิชชานี้องค์ภควานฺทรงสอน ภควัท-คีตา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายได้รู้แจ้งสัจธรรมอันแท้จริงตลอดกาล
avināśi tu tad viddhi
yena sarvam idaṁ tatam
vināśam avyayasyāsya
na kaścit kartum arhati
อวินาศิ ตุ ตทฺ วิทฺธิ
เยน สรฺวมฺ อิทํ ตตมฺ
วินาศมฺ อวฺยยสฺยาสฺย
น กศฺจิตฺ กรฺตุมฺ อรฺหติ
อวินาศิ — ไม่เสื่อมสลาย, ตุ — แต่, ตตฺ — นั้น, วิทฺธิ — รู้มัน, เยน — ผู้ซึ่ง, สรฺวมฺ — ร่างกายทั้งหมด, อิทมฺ — นี้, ตตมฺ — แผ่กระจายไปทั่ว, วินาศมฺ — การทำลาย, อวฺยยสฺย — แห่งการไม่เสื่อม สลาย, อสฺย — ของมัน, น กศฺจิตฺ — ไม่มีใคร, กรฺตุมฺ — ทำ, อรฺหติ — สามารถ
คำแปล
เธอควรทราบว่าสิ่งที่แผ่กระจายไปทั่วร่างกายถูกทำลายไม่ได้ ไม่มีผู้ใดสามารถทำลายดวงวิญญาณที่ไม่มีวันเสื่อมสลายนี้ได้
คำอธิบาย
โศลกนี้อธิบายถึงธรรมชาติอันแท้จริงของดวงวิญญาณที่แผ่กระจายไปทั่วร่างกาย ใครๆก็สามารถเข้าใจได้ว่าสิ่งที่แผ่กระจายไปทั่วร่างกายคือ จิตสำนึก ทุกคนมีความรู้สึกถึงความเจ็บปวดและความสุขของร่างกายตามส่วนต่างๆหรือทั่วทั้งร่างกายได้ การแผ่กระจายของจิตสำนึกนี้จำกัดอยู่ภายในร่างกายของตนเอง ความเจ็บปวดและความสุขของร่างหนึ่งนั้นอีกร่างหนึ่งไม่สามารถรับรู้ได้ ดังนั้นในแต่ละร่างคือการรวมตัวของปัจเจกวิญญาณ และลักษณะอาการของจิตวิญญาณที่อยู่ในร่างสำเหนียกจากปัจเจกจิตสำนึกดวงวิญญาณนี้ มีขนาดเศษหนึ่งส่วนหนึ่งหมื่นของปลายเส้นผม เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ (5.9) ยืนยันไว้ดังนี้
พาลาคฺร-ศต-ภาคสฺย
ศตธา กลฺปิตสฺย จ
ภาโค ชีวห์ ส วิชฺเญยห์
ส จานนฺตฺยาย กลฺปเต
“เมื่อปลายเส้นผมแบ่งออกเป็นร้อยส่วน และเศษหนึ่งส่วนร้อยนี้แบ่งออกเป็นร้อยส่วนอีกครั้ง แต่ละส่วนคือขนาดของดวงวิญญาณ”คำแปลเดียวกันนี้นั้นได้แปลไว้ในลักษณะเดียวกันว่า
เกศาคฺร-ศต-ภาคสฺย
ศตำศห์ สาทฺฤศาตฺมกห์
ชีวห์ สูกฺษฺม-สฺวรูโป ’ยํ
สงฺขฺยาตีโต หิ จิตฺ-กณห์
“มีละอองอะตอมทิพย์นับจำนวนไม่ถ้วน วัดขนาดได้เศษหนึ่งส่วนหนึ่งหมื่นของจุดปลายเส้นผม”
ฉะนั้น ปัจเจกวิญญาณทิพย์คือ อะตอมทิพย์ที่เล็กกว่าอะตอมวัตถุ และอะตอมนี้มีจำนวนนับไม่ถ้วน ละอองทิพย์ที่เล็กมากนี้เป็นหลักฐานของร่างวัตถุ และอิทธิพลของละอองทิพย์นี้แผ่กระจายไปทั่วร่าง เสมือนดั่งอิทธิพลของฤทธิ์ยาที่แผ่กระจายไปทั่วร่างกายคลื่นแห่งดวงวิญญาณทิพย์นี้มีความรู้สึกไปทั่วร่างกายด้วยจิตสำนึก นี่คือข้อพิสูจน์ว่าดวงวิญญาณมีอยู่ สามัญชนทั่วไปสามารถเข้าใจว่าร่างวัตถุที่ไร้จิตสำนึกคือร่างที่ตายซาก จิตสำนึกนี้ไม่สามารถเรียกกลับคืนเข้ามาสู่ร่างกายได้ด้วยวิธีจัดการทางวัตถุ ฉะนั้นจิตสำนึกมิได้มีผลมาจากจำนวนการรวมตัวของวัตถุแต่มีผลมาจากดวงวิญญาณ ใน มุณฺฑก อุปนิษทฺ (3.1.9) ขนาดของละอองวิญญาณได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ดังนี้
เอโษ ’ณุรฺ อาตฺมา เจตสา เวทิตโวฺย
ยสฺมินฺ ปฺราณห์ ปญฺจธา สํวิเวศ
ปฺราไณศฺ จิตฺตํ สรฺวมฺ โอตํ ปฺรชานำ
ยสฺมินฺ วิศุทฺเธ วิภวตฺยฺ เอษ อาตฺมา
“ดวงวิญญาณมีขนาดคล้ายอะตอม สามารถสำเหนียกได้ด้วยปัญญาที่สมบูรณ์ ดวงวิญญาณอะตอมนี้ลอยอยู่ในอากาศห้าชนิด (ปฺราณ อปาน วฺยาน สมาน และ อุทาน) สถิตอยู่ในหัวใจ และมีอิทธิพลแผ่กระจายไปทั่วร่างกายของสิ่งมีชีวิต เมื่อดวงวิญญาณบริสุทธิ์จากมลทินของลมวัตถุห้าชนิด อิทธิพลทิพย์ในตัวเองจะปรากฏออกมา”
ระบบ หฐ-โยค มีจุดมุ่งหมายเพื่อควบคุมลมห้าชนิดที่หมุนเวียนอยู่รอบดวงวิญญาณอันบริสุทธิ์ด้วยท่านั่งต่างๆ มิใช่เพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุแต่เพื่อความหลุดพ้นของดวงวิญญาณจากพันธนาการแห่งบรรยากาศวัตถุ
ดังนั้น วรรณกรรมพระเวททั้งหมดได้ยอมรับองค์ประกอบแห่งดวงวิญญาณ คนปกติทั่วไปมีความรู้สึกจริงเช่นนี้เหมือนกันจากประสบการณ์มีแต่คนวิกลจริตเท่านั้นที่คิดว่าละอองดวงวิญญาณนี้คือ วิษฺณุ-ตตฺตฺว ที่แผ่กระจายไปทั่ว
อิทธิพลของดวงวิญญาณนั้นสามารถที่จะแผ่กระจายไปทั่วเป็นเฉพาะร่างๆไป ตาม มุณฺฑก อุปนิษทฺ ดวงวิญญาณนี้จะสถิตในหัวใจของทุกๆชีวิต และดวงวิญญาณอยู่เหนืออำนาจของนักวิทยาศาสตร์ทางวัตถุที่จะรู้ถึงคุณค่า นักวิทยาศาสตร์บางท่านยืนยันอย่างเบาปัญญาว่าไม่มีดวงวิญญาณ ปัจเจกวิญญาณอยู่ในหัวใจคู่กับ ปรมาตฺมา อย่างแน่นอน ฉะนั้นพลังงานการเคลื่อนไหวทั้งหมดกำเนิดจากส่วนนี้ของร่างกาย เม็ดโลหิตที่นำออกซิเจนจากปอดรวบรวมพลังงานจากดวงวิญญาณ เมื่อดวงวิญญาณออกจากตำแหน่งนี้กิจกรรมการรวมตัวเพื่อผลิตโลหิตก็หยุดลง นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ยอมรับความสำคัญของเม็ดโลหิตแดง แต่ไม่สามารถยืนยันแหล่งกำเนิดของพลังงานนั้นว่าคือดวงวิญญาณ อย่างไรก็ดี วิทยาศาสตร์การแพทย์ยอมรับว่าหัวใจคือฐานแห่งพลังงานทั้งหมดของร่างกาย
ละอองวิญญาณเหล่านี้เปรียบเทียบได้กับโมเลกุลของแสงอาทิตย์ ภายในแสงอาทิตย์มีโมเลกุลที่เจิดจรัสนับจำนวนไม่ถ้วน เช่นเดียวกันกับปัจเจกวิญญาณหรือเศษย่อยๆขององค์ภควานฺ เป็นละอองอะตอมแห่งรัศมีขององค์ภควานฺ เรียกว่า ปฺรภา หรือพลังงานเบื้องสูง ดังนั้นไม่ว่าเราจะเชื่อความรู้พระเวทหรือเชื่อวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบัน เราก็ไม่สามารถปฏิเสธความมีอยู่จริงของดวงวิญญาณในร่างกาย และศาสตร์แห่งดวงวิญญาณนี้ องค์ภควานฺทรงอธิบายไว้อย่างชัดเจนใน ภควัท-คีตา
antavanta ime dehā
nityasyoktāḥ śarīriṇaḥ
anāśino ’prameyasya
tasmād yudhyasva bhārata
อนฺตวนฺต อิเม เทหา
นิตฺยโสฺยกฺตาห์ ศรีริณห์
อนาศิโน ’ปฺรเมยสฺย
ตสฺมาทฺ ยุธฺยสฺว ภารต
อนฺต-วนฺตห์ — เสื่อมสลาย, อิเม — ทั้งหมดนี้, เทหาห์ — ร่างกายวัตถุ, นิตฺยสฺย — เป็นอยู่ชั่วนิรันดร, อุกฺตาห์ — ถูกกล่าวไว้, ศรีริณห์ — แห่งดวงวิญญาณที่อยู่ในร่าง, อนาศินห์ — ไม่มีวันถูกทำลาย, อปฺรเมยสฺย — วัดไม่ได้, ตสฺมาตฺ — ฉะนั้น, ยุธฺยสฺว — ต่อสู้, ภารต — โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ ภรต
คำแปล
ร่างวัตถุของสิ่งมีชีวิต ผู้ไม่มีวันถูกทำลาย วัดขนาดไม่ได้ และเป็นอมตะ จะต้องจบสิ้นลงอย่างแน่นอน ฉะนั้น โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ ภรต เธอจงสู้
คำอธิบาย
ร่างวัตถุต้องเสื่อมสลายตามธรรมชาติ มันอาจเสื่อมสลายในทันทีทันใดหรืออาจจะเสื่อมสลายหนึ่งร้อยปีจากนี้ไปเพียงแต่รอเวลาเท่านั้น ไม่มีโอกาสที่เราจะรักษามันไว้ได้ชั่วกัลปวสาน แต่ละอองวิญญาณที่มีขนาดเล็กมากจนศัตรูมองไม่เห็นจะถูกฆ่าได้อย่างไร ดังที่ได้กล่าวไว้ในโศลกก่อนว่า เล็กมากจนไม่มีใครสามารถคิดได้ว่าจะวัดขนาดได้อย่างไร ดังนั้นเมื่อมองจากทั้งสองด้านจึงไม่มีเหตุที่ทำให้ต้องเสียใจเพราะว่าสิ่งมีชีวิตไม่มีวันถูกฆ่าได้ และร่างวัตถุก็ไม่มีใครสามารถรักษาไว้ได้นานหรือปกป้องไว้จนชั่วนิรันดรได้ ละอองเล็กๆของดวงวิญญาณได้ร่างวัตถุนี้มาตามผลกรรม ฉะนั้นการปฏิบัติตามหลักธรรมศาสนาควรทำให้เป็นประโยชน์ ใน เวทานฺต-สูตฺร สิ่งมีชีวิตมีคุณสมบัติเป็นแสง เพราะว่าเขาเป็นละอองอณูของแสงรัศมีที่สูงสุด ดังเช่นแสงอาทิตย์ค้ำจุนทั่วทั้งจักรวาล ดังนั้นแสงแห่งดวงวิญญาณค้ำจุนร่างวัตถุนี้ ทันทีที่ดวงวิญญาณออกจากร่างวัตถุร่างนี้ก็จะเริ่มเน่าเปื่อยลง ฉะนั้นดวงวิญญาณจึงเป็นผู้ค้ำจุนร่างกายวัตถุนี้ ตัวของร่างกายเองนั้นไม่ได้สำคัญ อรฺชุน ทรงได้รับการแนะนำให้ต่อสู้ และมิให้เสียสละเหตุผลทางศาสนาเพียงจากการพิจารณาแค่ร่างกายวัตถุเท่านั้น
ya enaṁ vetti hantāraṁ
yaś cainaṁ manyate hatam
ubhau tau na vijānīto
nāyaṁ hanti na hanyate
ย เอนํ เวตฺติ หนฺตารํ
ยศฺ ไจนํ มนฺยเต หตมฺ
อุเภา เตา น วิชานีโต
นายํ หนฺติ น หนฺยเต
ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, เอนมฺ — นี้, เวตฺติ — ทราบ, หนฺตารมฺ — ผู้สังหาร, ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, จ — เช่นเดียวกัน, เอนมฺ — นี้, มนฺยเต — คิด, หตมฺ — ถูกสังหาร, อุเภา — ทั้งคู่, เตา — พวกเขา, น — ไม่เคย, วิชานีตห์ — อยู่ในความรู้, น — ไม่เคย, อยมฺ — นี้, หนฺติ — สังหาร, น — หรือ, หนฺยเต — ถูกสังหาร
คำแปล
ผู้ที่คิดว่าสิ่งมีชีวิตเป็นผู้ฆ่า และผู้ที่คิดว่าสิ่งมีชีวิตถูกฆ่า ทั้งคู่ไม่มีความรู้ เพราะว่าดวงวิญญาณมิได้เป็นทั้งผู้ฆ่า หรือผู้ถูกฆ่า
คำอธิบาย
เมื่อร่างกายบาดเจ็บจากอาวุธร้ายแรงจะรู้ได้ว่าดวงวิญญาณภายในร่างกายนั้นไม่ได้ถูกฆ่า ดวงวิญญาณนั้นเล็กมากจนเป็นไปไม่ได้ที่จะถูกฆ่าด้วยอาวุธวัตถุชนิดใดๆ ดังจะมีหลักฐานในโศลกต่อๆไป และดวงวิญญาณก็ถูกฆ่าไม่ได้เนื่องจากมีพื้นฐานแห่งความเป็นทิพย์ สิ่งที่ถูกฆ่าหรือควรที่จะถูกฆ่านั้นเป็นเพียงร่างกายวัตถุเท่านั้น อย่างไรก็ดี ตรงนี้มิได้มีการส่งเสริมการเข่นฆ่าร่างกาย คำสอนของพระเวท มา หึสฺยาตฺ สรฺวา ภูตานิ ห้ามเบียดเบียนผู้ใด และเมื่อเข้าใจว่าสิ่งมีชีวิตไม่มีวันถูกฆ่าก็มิได้ส่งเสริมการฆ่าสัตว์ การฆ่าผู้ใดโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นบาปอย่างมหันต์ และจะต้องถูกลงโทษด้วยกฎของรัฐและกฎขององค์ภควานฺ อย่างไรก็ตาม อรฺชุน ทรงปฏิบัติการสังหารตามหลักศาสนามิได้ทำไปตามอำเภอใจ
na jāyate mriyate vā kadācin
nāyaṁ bhūtvā bhavitā vā na bhūyaḥ
ajo nityaḥ śāśvato ’yaṁ purāṇo
na hanyate hanyamāne śarīre
น ชายเต มฺริยเต วา กทาจินฺ
นายํ ภูตฺวา ภวิตา วา น ภูยห์
อโช นิตฺยห์ ศาศฺวโต ’ยํ ปุราโณ
น หนฺยเต หนฺยมาเน ศรีเร
น — ไม่เคย, ชายเต — เกิด, มฺริยเต — ตาย, วา — ไม่, กทาจิตฺ — ไม่ว่าเวลาใด (อดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต), น — ไม่เคย, อยมฺ — นี้, ภูตฺวา ได้มาเป็นอยู่, ภวิตา — จะมาเป็นอยู่, วา — หรือ, น — ไม่, ภูยห์ — หรือกลับมาเป็นอยู่อีกครั้งหนึ่ง, อชห์ — ไม่เกิด, นิตฺยห์ — อมตะ, ศาศฺวตห์ — ถาวร, อยมฺ — นี้, ปุราณห์ — เก่าแก่ที่สุด, น — ไม่เคย, หนฺยเต — ถูกสังหาร, หนฺยมาเน — ถูกสังหาร, ศรีเร — ร่างกาย
คำแปล
สำหรับดวงวิญญาณไม่มีการเกิดหรือตาย ไม่ว่าในเวลาใด เขาไม่เคยมาอยู่ในอดีต ไม่มาอยู่ในปัจจุบัน และจะไม่มาอยู่ในอนาคต ดวงวิญญาณไม่มีการเกิด เป็นอมตะ คงอยู่นิรันดร และเป็นสิ่งดั้งเดิม ดวงวิญญาณนั้นจะไม่ถูกสังหารเมื่อร่างกายนี้ถูกสังหาร
คำอธิบาย
อนุวิญญาณซึ่งเป็นละอองอณูของอภิวิญญาณสูงสุดเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควานฺโดยคุณภาพ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกับร่างกาย บางครั้งดวงวิญญาณเรียกว่าอมตะหรือ กูฏ-สฺถ ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงหกขั้นตอน มีการเกิดจากครรภ์มารดา คงอยู่ระยะหนึ่ง เจริญเติบโต สืบพันธุ์ ค่อยๆหดตัวลง และในที่สุดก็สูญสลายไป อย่างไรก็ดีดวงวิญญาณไม่ต้องผ่านขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ดวงวิญญาณไม่ต้องเกิดแต่เพราะว่าดวงวิญญาณรับเอาร่างวัตถุร่างกายจึงเกิด ดวงวิญญาณมิได้เกิดที่นี่และดวงวิญญาณไม่เคยตาย อะไรที่มีการเกิดย่อมมีการตาย เป็นเพราะว่าดวงวิญญาณไม่มีการเกิดฉะนั้นจึงไม่มีอดีต ไม่มีปัจจุบัน หรือไม่มีอนาคต ดวงวิญญาณเป็นอมตะ คงอยู่เสมอ และเป็นสิ่งดั้งเดิม หมายความว่าไม่มีประวัติศาสตร์ที่บ่งชี้การมาอยู่ของดวงวิญญาณ จากความรู้สึกทางร่างกายเราจึงค้นหาประวัติการเกิดของดวงวิญญาณ ดวงวิญญาณไม่มีการแก่เหมือนกับร่างกาย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าบุคคลผู้สูงอายุยังรู้สึกว่าตนเองมีสปิริตเหมือนตอนเป็นเด็กหรือวัยรุ่น การเปลี่ยนแปลงของร่างกายไม่มีผลกระทบต่อดวงวิญญาณ ดวงวิญญาณไม่เสื่อมโทรมเหมือนต้นไม้หรือสิ่งใดๆที่เป็นวัตถุ ดวงวิญญาณไม่มีการสืบพันธุ์และผลผลิตของร่างกาย เช่น บุตร ธิดา ก็เป็นปัจเจกวิญญาณแต่ละดวงเช่นกัน แต่เนื่องมาจากร่างกายวัตถุพวกเขาจึงปรากฏว่าเป็นบุตร ธิดา ของชายคนนั้น ร่างกายเจริญเติบโตได้เพราะมีดวงวิญญาณอยู่ แต่ดวงวิญญาณไม่มีทั้งเชื้อสายหรือการเปลี่ยนแปลง ฉะนั้นดวงวิญญาณจึงเป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลงทั้งหกขั้นตอนของร่างกาย
ใน กฐ อุปนิษทฺ (1.2.18) เราพบข้อความคล้ายกันนี้
น ชายเต มฺริยเต วา วิปศฺจินฺ
นายํ กุตศฺจินฺ น พภูว กศฺจิตฺ
อโช นิตฺยห์ ศาศฺวโต ’ยํ ปุราโณ
น หนฺยเต หนฺยมาเน ศรีเร
ความหมายและคำอธิบายของโศลกนี้เหมือนกับ ภควัท-คีตา แต่ในโศลกนี้มีคำพิเศษคำหนึ่ง วิปศฺจิตฺ ซึ่งหมายความว่ารู้หรือด้วยความรู้
ดวงวิญญาณเต็มไปด้วยความรู้หรือเต็มไปด้วยจิตสำนึกอยู่เสมอ ดังนั้นจิตสำนึกจึงเป็นลักษณะอาการของดวงวิญญาณ แม้ว่าเราไม่พบดวงวิญญาณในหัวใจที่เขาสถิตอยู่ แต่เราจะเข้าใจได้ว่าดวงวิญญาณมีอยู่เพราะเรามีจิตสำนึก บางครั้งเราไม่เห็นดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าเพราะก้อนเมฆมาบดบังหรือด้วยเหตุผลอื่นแต่แสงอาทิตย์จะมีอยู่เสมอ และทำให้เรามั่นใจได้ว่าเป็นเวลากลางวัน ทันทีที่มีแสงเพียงเล็กน้อยบนท้องฟ้าในตอนเช้าเราเข้าใจว่าดวงอาทิตย์อยู่บนท้องฟ้า ในลักษณะเดียวกันเพราะว่ามีจิตสำนึกอยู่ในทุกๆร่างไม่ว่าคนหรือสัตว์เราจึงเข้าใจได้ว่ามีดวงวิญญาณสถิตอยู่ อย่างไรก็ดี จิตสำนึกของดวงวิญญาณนี้แตกต่างจากจิตสำนึกขององค์ภควานฺ เพราะว่าจิตสำนึกขององค์ภควานฺทรงเป็นสัพพัญญู รู้ทั้งหมดทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต จิตสำนึกของปัจเจกวิญญาณมีแนวโน้มที่จะหลงลืม เมื่อหลงลืมธรรมชาติอันแท้จริงของตนเองเขาได้รับการศึกษาและความรู้แจ้งจากบทเรียนที่สูงกว่าขององค์กฺฤษฺณ แต่องค์กฺฤษฺณทรงไม่เหมือนกับดวงวิญญาณผู้หลงลืม หากเป็นเช่นนี้คำสอนของพระองค์ใน ภควัท-คีตา ก็จะไร้คุณค่า
มีดวงวิญญาณอยู่สองประเภทคือ อนุวิญญาณ (อณุ-อาตฺมา) และอภิวิญญาณ (วิภุ-อาตฺมา) ได้ยืนยันไว้ใน กฐ อุปนิษทฺ (1.2.20) เช่นกันว่า
อโณรฺ อณียานฺ มหโต มหียานฺ
อาตฺมาสฺย ชนฺโตรฺ นิหิโต คุหายามฺ
ตมฺ อกฺรตุห์ ปศฺยติ วีต-โศโก
ธาตุห์ ปฺรสาทานฺ มหิมานมฺ อาตฺมนห์
“ทั้งอภิวิญญาณ (ปรมาตฺมา) และอนุวิญญาณ (ชีวาตฺมา) สถิตอยู่บนต้นไม้แห่งร่างเดียวกันภายในหัวใจดวงเดียวกันของสิ่งมีชีวิต ผู้ที่เป็นอิสระจากความต้องการทางวัตถุและความเศร้าโศกทั้งหมดเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าใจถึงความเลิศเลอของดวงวิญญาณได้ด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺ” องค์กฺฤษฺณทรงเป็นแหล่งกำเนิดของอภิวิญญาณด้วยเช่นกัน ดังจะเปิดเผยในบทต่อๆไป และ อรฺชุน ทรงเป็นอนุวิญญาณที่หลงลืมธรรมชาติอันแท้จริงของตนเอง ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับแสงสว่างจากองค์กฺฤษฺณ หรือจากผู้แทนที่เชื่อถือได้ของพระองค์ (พระอาจารย์ทิพย์)
vedāvināśinaṁ nityaṁ
ya enam ajam avyayam
kathaṁ sa puruṣaḥ pārtha
kaṁ ghātayati hanti kam
เวทาวินาศินํ นิตฺยํ
ย เอนมฺ อชมฺ อวฺยยมฺ
กถํ ส ปุรุษห์ ปารฺถ
กํ ฆาตยติ หนฺติ กมฺ
เวท — รู้, อวินาศินมฺ — ไม่ถูกทำลาย, นิตฺยมฺ — เป็นอยู่เสมอ, ยห์ — ผู้ซึ่ง, เอนมฺ — นี้ (ดวงวิญญาณ), อชมฺ — ไม่เกิด, อวฺยยมฺ — ไม่เปลี่ยนแปลง, กถมฺ — อย่างไร, สห์ — นั้น, ปุรุษห์ — บุคคล, ปารฺถ — โอ้ ปารฺถ (อารจุนะ), กมฺ — ผู้ซึ่ง, ฆาตยติ — ต้นเหตุที่ทำให้เจ็บ, หนฺติ สังหาร, กมฺ — ผู้ซึ่ง
คำแปล
โอ้ ปารฺถ ผู้ที่รู้ว่าดวงวิญญาณไม่มีวันถูกทำลาย เป็นอมตะ ไม่มีการเกิด และไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะเป็นผู้สังหารผู้ใด หรือจะเป็นต้นเหตุที่ให้ผู้ใดสังหารได้อย่างไร
คำอธิบาย
ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนจะมีประโยชน์ในการใช้สอยอยู่ในตัวมันเองแล้วแต่ตามความเหมาะสม ผู้ที่มีความรู้สมบูรณ์นั้นจะรู้ว่าควรใช้สิ่งต่างๆให้เป็นประโยชน์ตามความเหมาะสมในตัวมันเองได้อย่างไรและเมื่อไร เช่นเดียวกับความรุนแรงก็มีประโยชน์ในตัวมันเอง และการที่จะใช้ความรุนแรงอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้ที่มีความรู้ ถึงแม้ว่าศาลสถิตยุติธรรมจะสั่งลงโทษประหารชีวิตผู้ทำผิดฐานฆ่าคนตาย ไม่มีใครสามารถที่จะไปกล่าวโทษศาลในการตัดสินลงโทษอย่างรุนแรงต่อบุคคลนั้นตามกฎหมายแห่งความยุติธรรมได้ ใน มนุ-สํหิตา ซึ่งเป็นกฎหมายสำหรับมนุษยชาติได้สนับสนุนว่า ผู้ฆ่าคนควรจะถูกลงโทษถึงชีวิตเพื่อในชาติหน้าจะได้ไม่ต้องมารับทุกข์ต่อบาปอันยิ่งใหญ่ที่ตนได้กระทำไว้ ฉะนั้น กฺษตฺริย ที่ลงโทษผู้ต้องหาฆ่าคนด้วยการแขวนคออันที่จริงแล้วเป็นประโยชน์ ในทำนองเดียวกันเมื่อองค์กฺฤษฺณทรงสั่งให้ต่อสู้ต้องสรุปได้ว่าความรุนแรงเช่นนี้เป็นไปเพื่อความยุติธรรมสูงสุด ดังนั้น อรฺชุน ทรงควรปฏิบัติตามคำสั่ง และควรรู้ดีด้วยว่าความรุนแรงเช่นนี้ทำไปเพื่อต่อสู้ให้องค์กฺฤษฺณซึ่งมิใช่เป็นความรุนแรงอะไรเลย เพราะว่าดวงชีวิตหรือดวงวิญญาณจะไม่มีวันถูกสังหารอยู่แล้ว เพื่อบริหารความยุติธรรมสิ่งที่เรียกว่าความรุนแรงจึงได้รับอนุญาต การผ่าตัดคนไข้มิได้หมายความว่าจะสังหารคนไข้แต่เป็นการรักษา ดังนั้นการต่อสู้ที่ อรฺชุน ทรงปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์กฺฤษฺณ ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความรู้นั้นจึงไม่มีผลบาป
vāsāṁsi jīrṇāni yathā vihāya
navāni gṛhṇāti naro ’parāṇi
tathā śarīrāṇi vihāya jīrṇāny
anyāni saṁyāti navāni dehī
วาสำสิ ชีรฺณานิ ยถา วิหาย
นวานิ คฺฤหฺณาติ นโร ’ปราณิ
ตถา ศรีราณิ วิหาย ชีรฺณานฺยฺ
อนฺยานิ สํยาติ นวานิ เทหี
วาสำสิ — เสื้อผ้า, ชีรฺณานิ — เก่าและขาด, ยถา — เช่นเดียวกัน, วิหาย — ยกเลิก, นวานิ — เสื้อผ้าใหม่, คฺฤหฺณาติ — ยอมรับ, นรห์ — บุคคล, อปราณิ — ผู้อื่น, ตถา — เช่นเดียวกัน, ศรีราณิ — ร่างกาย, วิหาย — ยกเลิก, ชิรฺณานิ — เก่าและไร้ประโยชน์, อนฺยานิ — แตกต่าง, สํยาติ — ยอมรับว่าเป็นความจริง, นวานิ — ชุดใหม่, เทหี — เป็นรูปร่าง
คำแปล
ดังเช่นบุคคลใส่เสื้อผ้าชุดใหม่ ได้ยกเลิกหรือทิ้งชุดเก่าไป ในลักษณะเดียวกัน ดวงวิญญาณก็รับเอาร่างวัตถุใหม่มา และยกเลิกร่างเก่าที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้
คำอธิบาย
การเปลี่ยนร่างของปัจเจกละอองวิญญาณเป็นที่ยอมรับว่าเป็นความจริง แม้กระทั่งนักวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบันผู้ที่ไม่เชื่อว่าดวงวิญญาณมีอยู่จริง ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถอธิบายแหล่งกำเนิดของพลังงานซึ่งมาจากหัวใจ แต่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอยู่ตลอดเวลา เริ่มปรากฏจากร่างทารกมาเป็นร่างเด็ก จากนั้นมาเป็นร่างหนุ่มสาว จากร่างหนุ่มสาวมาเป็นร่างคนชรา และจากร่างคนชราก็เปลี่ยนย้ายไปอยู่อีกร่างหนึ่ง ดังที่ได้อธิบายไว้แล้วในโศลกก่อนหน้านี้ (2.13)
การเปลี่ยนแปลงโยกย้ายของปัจเจกละอองวิญญาณจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้โดยพระกรุณาธิคุณของอภิวิญญาณ อภิวิญญาณทำให้ละอองวิญญาณได้รับความสมปรารถนา เหมือนกับเพื่อนคนหนึ่งที่ทำให้เพื่อนอีกคนหนึ่งได้รับความสมปรารถนาคัมภีร์พระเวท เช่น มุณฺฑก อุปนิษทฺ รวมทั้ง เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ ได้เปรียบเทียบอนุวิญญาณและอภิวิญญาณว่าเป็นเสมือนเพื่อนนกสองตัวที่เกาะอยู่บนต้นไม้ต้นเดียวกัน นกตัวหนึ่ง (ปัจเจกวิญญาณ) กำลังกินผลไม้ของต้นและนกอีกตัวหนึ่ง (องค์กฺฤษฺณ) ทรงเพียงแต่ทอดพระเนตรไปที่สหายของพระองค์เท่านั้น นกทั้งสองตัวนี้ถึงแม้ว่าจะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกัน แต่ตัวหนึ่งจะถูกยั่วยวนด้วยผลของต้นไม้วัตถุ ในขณะที่อีกตัวหนึ่งเพียงแต่เป็นพยานในกิจกรรมของเพื่อนนกเท่านั้น องค์กฺฤษฺณคือ นกพยาน และ อรฺชุน คือ นกที่กินผล ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะเป็นเพื่อนกันแต่นกตัวหนึ่งคงสถานภาพความเป็นนายและอีกตัวหนึ่งเป็นบ่าว การลืมความสัมพันธ์ของละอองวิญญาณเช่นนี้เป็นเหตุให้เราต้องเปลี่ยนตำแหน่งจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปสู่ต้นไม้อีกต้นหนึ่ง หรือเปลี่ยนจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง ดวงวิญญาณ ชีว ดิ้นรนต่อสู้ด้วยความยากลำบากบนต้นไม้แห่งร่างวัตถุ แต่ทันทีที่เขายอมรับนกอีกตัวหนึ่งว่าเป็นพระอาจารย์ทิพย์สูงสุด เหมือนกับที่ อรฺชุน ทรงอาสาที่จะศิโรราบเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์กฺฤษฺณ ด้วยความสมัครใจ นกบ่าวตัวนี้ก็จะมีอิสรภาพจากความโศกเศร้าทั้งมวลทันที ทั้ง มุณฺฑก อุปนิษทฺ (3.1.2) และ เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ (4.7) ได้ยืนยันไว้ดังต่อไปนี้
สมาเน วฺฤกฺเษ ปุรุโษ นิมคฺโน
’นีศยา โศจติ มุหฺยมานห์
ชุษฺฏํ ยทา ปศฺยตฺยฺ อนฺยมฺ อีศมฺ
อสฺย มหิมานมฺ อิติ วีต-โศกห์
“ถึงแม้ว่านกสองตัวจะอยู่บนต้นไม้ต้นเดียวกัน นกที่กินผลจะจดจ่อหมกมุ่นอยู่กับความวิตกกังวลและเศร้าสลดในฐานะเป็นผู้มีความสุขจากผลของต้นไม้ หากเป็นไปได้ที่เขาจะหันมาหาเพื่อนผู้ทรงเป็นองค์ภควานฺ และทราบถึงพระบารมีของพระองค์ นกที่ได้รับความทุกข์ทรมานอยู่นี้ก็จะมีอิสรภาพจากความวิตกกังวลทั้งปวงทันที” ถึงบัดนี้ อรฺชุน ทรงหันพระพักตร์เข้าหาพระสหายนิรันดรองค์กฺฤษฺณ และเข้าใจ ภควัท-คีตา จากพระองค์ และจากการสดับฟังจากองค์กฺฤษฺณเช่นนี้ อรฺชุน จึงทรงสามารถที่จะเข้าใจถึงพระบารมีอันสูงส่งของพระองค์ และมีอิสรภาพจากความเศร้าโศกทั้งปวงได้
องค์ภควานฺทรงแนะนำ อรฺชุน ณ ที่นี้ไว้ว่าอย่าได้โศกเศร้าต่อการที่พระอัยกาและพระอาจารย์จะมีการเปลี่ยนร่าง อรฺชุน ทรงควรยินดีกับการสังหารร่างกายของพวกท่านในการต่อสู้เพื่อคุณธรรม เพื่อที่ท่านเหล่านี้จะได้ชำระล้างผลแห่งกรรมจากกรรมของร่างกายในอดีตทั้งปวง ผู้ที่ได้สังเวยชีวิตบนแท่นบูชาหรือในสมรภูมิที่เหมาะสมเป็นผู้ชำระล้างผลกรรมของร่างกายได้ในทันที และเลื่อนขึ้นไปมีคุณภาพชีวิตที่สูงกว่า ฉะนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่ อรฺชุน จะทรงต้องเศร้าโศกเสียใจแต่อย่างใด
nainaṁ chindanti śastrāṇi
nainaṁ dahati pāvakaḥ
na cainaṁ kledayanty āpo
na śoṣayati mārutaḥ
ไนนํ ฉินฺทนฺติ ศสฺตฺราณิ
ไนนํ ทหติ ปาวกห์
น ไจนํ เกฺลทยนฺตฺยฺ อาโป
น โศษยติ มารุตห์
น — ไม่เคย, เอนมฺ — ดวงวิญญาณนี้, ฉินฺทนฺติ — ถูกหั่นเป็นชิ้นๆ, ศสฺตฺราณิ — อาวุธ, น — ไม่เคย, เอนมฺ — ดวงวิญญาณนี้, ทหติ — ไหม้, ปาวกห์ — ไฟ, น — ไม่เคย, จ — เช่นกัน, เอนมฺ — ดวงวิญญาณนี้, เกฺลทยนฺติ — ทำให้ชื้น, อาปห์ — น้ำ, น — ไม่เคย, โศษยติ — แห้ง, มารุตห์ — ลม
คำแปล
ดวงวิญญาณถูกหั่นให้เป็นชิ้นๆด้วยอาวุธใดๆไม่ได้ ถูกไฟเผาให้ไหม้ไม่ได้ ถูกน้ำทำให้เปียกไม่ได้ หรือถูกลมทำให้แห้งก็ไม่ได้
คำอธิบาย
อาวุธทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดาบ อาวุธไฟ อาวุธฝน อาวุธลมสลาตัน หรืออื่นๆก็ไม่สามารถที่จะสังหารดวงวิญญาณได้ ดังที่ปรากฏว่ามีอาวุธหลายชนิดที่ทำมาจากดิน น้ำ ลม และเหนือไปกว่านั้นก็คืออาวุธสมัยปัจจุบันที่ทำด้วยไฟ แม้กระทั่งอาวุธนิวเคลียร์ในยุคปัจจุบันก็จัดว่าอยู่ในอาวุธประเภทไฟ ในอดีตกาลมีอาวุธอื่นๆที่ทำมาจากธาตุวัตถุที่ต่างกัน อาวุธไฟจะถูกแก้ด้วยอาวุธน้ำซึ่งวิทยาศาสตร์ปัจจุบันยังไม่ทราบ และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ก็ไม่ทราบเกี่ยวกัอาวุธลมสลาตัน อย่างไรก็ดีดวงวิญญาณไม่สามารถถูกหั่นเป็นชิ้นๆ หรือถูกทำลายด้วยอาวุธชนิดใดได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์แบบไหนก็ตาม
พวก มายาวาที ไม่สามารถอธิบายได้ว่าปัจเจกวิญญาณมามีชีวิตอยู่ได้อย่างไร เนื่องมาจากอวิชชาและถูกพลังแห่งความหลงครอบคลุมเอาไว้จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะตัดปัจเจกวิญญาณให้ออกจากดวงวิญญาณสูงสุด เพราะปัจเจกวิญญาณเป็นละอองอณูนิรันดรที่แยกมาจากอภิวิญญาณสูงสุด เพราะว่าเราเป็นปัจเจกละอองวิญญาณอมตะ (สนาตน) จึงมีแนวโน้มที่จะถูกปกคลุมด้วยพลังแห่งความหลงจึงทำให้ขาดความสัมพันธ์กับองค์ภควานฺ ดังเช่นประกายไฟถึงแม้ว่าจะมีคุณสมบัติเหมือนดังไฟแต่มีแนวโน้มที่จะดับมอดเมื่อไฟหมด ใน วราห ปุราณ ได้อธิบายไว้ว่าสิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูที่แยกมาจากองค์ภควานฺ และจะเป็นอยู่เช่นนี้นิรันดร ใน ภควัท-คีตา ก็ได้กล่าวไว้เช่นเดียวกัน ดังนั้นถึงแม้หลังจากที่ได้รับอิสรภาพจากความหลงสิ่งมีชีวิตจะยังคงรักษาบุคลิกภาพของตนเอง ดังเช่นหลักฐานคำสั่งสอนขององค์กฺฤษฺณที่ทรงให้แด่ อรฺชุน และ อรฺชุน ทรงได้รับอิสรภาพด้วยความรู้ที่ได้รับจากองค์กฺฤษฺณ แต่ อรฺชุน ทรงไม่เคยที่จะกลายมาเป็นหนึ่งเดียวกับองค์กฺฤษฺณ
acchedyo ’yam adāhyo ’yam
akledyo ’śoṣya eva ca
nityaḥ sarva-gataḥ sthāṇur
acalo ’yaṁ sanātanaḥ
อจฺเฉโทฺย ’ยมฺ อทาโหฺย ’ยมฺ
อเกฺลโทฺย ’โศษฺย เอว จ
นิตฺยห์ สรฺว-คตห์ สฺถาณุรฺ
อจโล ’ยํ สนาตนห์
อจฺเฉทฺยห์ — ไม่มีวันแตก, อยมฺ — ดวงวิญญาณนี้, อทาหฺยห์ — ไม่สามารถถูกเผา, อยมฺ — ดวงวิญญาณนี้, อเกฺลทฺยห์ — ละลายไม่ได้, อโศษฺยห์ — ไม่แห้ง, เอว — แน่นอน, จ — และ, นิตฺยห์ — นิรันดร, สรฺว-คตห์ — แผ่กระจายไปทั่ว, สฺถาณุห์ — ไม่เปลี่ยนแปลง, อจลห์ — ไม่เคลื่อนไหว, อยมฺ — ดวงวิญญาณนี้, สนาตนห์ — เหมือนเดิมนิรันดร
คำแปล
ปัจเจกวิญญาณไม่แตกสลาย ไม่ละลาย เผาไม่ไหม้ และไม่แห้ง ปัจเจกวิญญาณเป็นอมตะ ปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่ง ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เคลื่อนไหว และเป็นเหมือนเดิมนิรันดร
คำอธิบาย
คุณสมบัติทั้งหมดนี้ของละอองวิญญาณเป็นที่พิสูจน์ได้ว่าปัจเจกวิญญาณเป็นละอองอณูของดวงวิญญาณสูงสุดอย่างแน่นอน และจะคงเป็นละอองอณูเหมือนเดิมนิรันดรโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในกรณีนี้ทฤษฏีของลัทธิที่ว่าใจและกายเป็นหนึ่งเดียวกันเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าปัจเจกวิญญาณไม่มีทางที่จะมาเป็นเนื้อเดียวกันกับวัตถุ หลังจากที่ได้รับอิสรภาพจากมลทินทางวัตถุ ละอองวิญญาณบางดวงอาจพอใจอยู่เป็นประกายทิพย์ในแสงรัศมีของบุคลิกภาพสูงสุดของพระเจ้า แต่ดวงวิญญาณที่มีปัญญาจะเข้าไปในโลกทิพย์เพื่ออยู่ร่วมกับบุคลิกภาพแห่งองค์ภควานฺ
คำว่า สรฺว-คต (แผ่กระจายไปทั่ว) มีความสำคัญเพราะว่าไม่ต้องสงสัยเลยว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดมีอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง จากการสร้างขององค์ภควานฺพวกเขาอยู่บนบก อยู่ในน้ำ อยู่ในอากาศ อยู่ในดิน และแม้กระทั่งอยู่ในไฟ ความเชื่อที่ว่าดวงวิญญาณจะถูกฆ่าด้วยไฟไม่เป็นที่ยอมรับเพราะได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนตรงนี้ว่า ดวงวิญญาณไม่สามารถถูกเผาไหม้ด้วยไฟ ฉะนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในดวงอาทิตย์ด้วยร่างอันเหมาะสมได้หรือไม่ หากดวงอาทิตย์เป็นที่อยู่อาศัยไม่ได้คำว่า สรฺว-คต “อาศัยอยู่ทุกหนทุกแห่ง” ก็จะไม่มีความหมาย
avyakto ’yam acintyo ’yam
avikāryo ’yam ucyate
tasmād evaṁ viditvainaṁ
nānuśocitum arhasi
อวฺยกฺโต ’ยมฺ อจินฺโตฺย ’ยมฺ
อวิกาโรฺย ’ยมฺ อุจฺยเต
ตสฺมาทฺ เอวํ วิทิไตฺวนํ
นานุโศจิตุมฺ อรฺหสิ
อวฺยกฺตห์ — มองไม่เห็น, อยมฺ — ดวงวิญญาณนี้, อจินฺตฺยห์ — มองไม่เห็น, อยมฺ — ดวงวิญญาณนี้, อวิการฺยห์ — ไม่เปลี่ยนแปลง, อยมฺ — ดวงวิญญาณนี้, อุจฺยเต — ได้กล่าวไว้, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, เอวมฺ — เหมือนดังนี้, วิทิตฺวา — ทราบดี, เอนมฺ — ดวงวิญญาณนี้, น — ไม่, อนุโศจิตุมฺ — โศกเศร้า, อรฺหสิ — เธอสมควรได้รับ
คำแปล
ได้กล่าวไว้ว่าดวงวิญญาณนั้นไม่ปรากฏ มองไม่เห็น และไม่เปลี่ยนรูป เมื่อทราบเช่นนี้แล้วเธอไม่ควรโศกเศร้ากับร่างกาย
คำอธิบาย
ดังที่ได้อธิบายมาแล้วว่าขนาดของดวงวิญญาณนั้นเล็กมากจากการคำนวณทางวัตถุของเรา แม้แต่กล้องจุลทรรศน์ที่ดีที่สุดก็ไม่สามารถมองเห็นได้ ดังนั้นดวงวิญญาณจึงไม่ปรากฏให้เราเห็น เกี่ยวกับความมีอยู่จริงของดวงวิญญาณนั้น จะไม่มีใครสามารถพิสูจน์ได้ด้วยการทดลองว่าดวงวิญญาณมีอยู่จริงนอกจากการพิสูจน์ของ ศฺรุติ หรือปรัชญาพระเวท เราต้องยอมรับความจริงนี้ถึงแม้จะเป็นความจริงจากการสำเหนียก ไม่มีแหล่งอื่นรู้ถึงความมีอยู่ของดวงวิญญาณ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราจะต้องยอมรับขึ้นอยู่กับผู้ที่มีอำนาจน่าเชื่อถือได้มากกว่า เราไม่มีใครปฏิเสธว่าตนเองมีบิดาขึ้นอยู่กับคำบอกเล่าที่เชื่อถือได้ของมารดา ไม่มีแหล่งให้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาของบิดานอกจากคำบอกเล่าที่เชื่อถือได้ของมารดา ในทำนองเดียวกันก็ไม่มีแหล่งให้ความเข้าใจเกี่ยวกับดวงวิญญาณได้นอกจากจะศึกษาจากคัมภีร์พระเวท ดวงวิญญาณไม่ปรากฏให้เห็นได้ด้วยความรู้จากการทดลองของมนุษย์ จิตวิญญาณคือจิตสำนึกและความรู้สำนึก นี่คือคำบอกเล่าของคัมภีร์พระเวทและเราต้องยอมรับเช่นนี้ ดวงวิญญาณไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่เหมือนกับร่างกายของเราที่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลงชั่วนิรันดรดวงวิญญาณจึงคงความเป็นละอองอณูเมื่อเปรียบเทียบกับอภิวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ องค์อภิวิญญาณมีความยิ่งใหญ่ไม่มีที่สิ้นสุดและดวงวิญญาณเป็นละอองอณูเล็กๆ ฉะนั้นดวงวิญญาณละอองอณูเล็กๆที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่มีทางที่จะเทียบเท่ากับอภิวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่หรือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าได้ แนวคิดเช่นนี้จะกล่าวซ้ำในคัมภีร์พระเวทด้วยวิธีต่างกันเพื่อยืนยันความมั่นคงแห่งแนวคิดในเรื่องของดวงวิญญาณ การกล่าวซ้ำและทบทวนเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เราเข้าใจอย่างถ่องแท้โดยไม่ผิดพลาด
atha cainaṁ nitya-jātaṁ
nityaṁ vā manyase mṛtam
tathāpi tvaṁ mahā-bāho
nainaṁ śocitum arhasi
อถ ไจนํ นิตฺย-ชาตํ
นิตฺยํ วา มนฺยเส มฺฤตมฺ
ตถาปิ ตฺวํ มหา-พาโห
ไนนํ โศจิตุมฺ อรฺหสิ
อถ — ถ้า อย่างไรก็ดี, จ — เช่นกัน, เอนมฺ — ดวงวิญญาณนี้, นิตฺย-ชาตมฺ — เกิดอยู่เสมอ, นิตฺยมฺ — นิรันดร, วา — ไม่ก็, มนฺยเส — คุณคิดเช่นนั้น, มฺฤตมฺ — ตาย, ตถา อปิ — ยัง, ตฺวมฺ — ท่าน, มหา-พาโห — โอ้ นักรบผู้ยิ่งใหญ่, น — ไม่เคย, เอนมฺ — เกี่ยวกับดวงวิญญาณ, โศจิตุมฺ — โศกเศร้า, อรฺหสิ — สมควรได้รับ
คำแปล
อย่างไรก็ดี ถ้าหากเธอคิดว่าดวงวิญญาณ (หรือลักษณะอาการของชีวิต) มีการเกิดและตายชั่วนิรันดร เธอก็ไม่มีเหตุผลที่จะต้องโศกเศร้า โอ้ ยอดนักรบ
คำอธิบาย
มักจะมีนักปราชญ์กลุ่มหนึ่งคล้ายกับ ศูนฺยวาทิ ที่ไม่เชื่อในความมีอยู่จริงของดวงวิญญาณนอกเหนือจากร่างกาย เมื่อองค์ศฺรีกฺฤษฺณตรัส ภควัท-คีตา ปรากฏว่ามีนักปราชญ์กลุ่มที่ชื่อ โลกายติก และ ไวภาษิก นักปราชญ์เหล่านี้เชื่อว่าลักษณะอาการของชีวิตเกิดขึ้นภายใต้สภาวะอันสมบูรณ์เต็มที่จากการผสมผสานทางวัตถุ นักวิทยาศาสตร์ทางวัตถุสมัยปัจจุบันและนักปราชญ์ทางวัตถุก็มีแนวคิดเช่นเดียวกันตามความเชื่อที่ว่าร่างกายคือ การผสมผสานของธาตุวัตถุ และเมื่อมาถึงจุดๆหนึ่งลักษณะอาการของชีวิตจะเกิดขึ้นเนื่องมาจากการผสมผสานของธาตุวัตถุและสารเคมี ศาสตร์แห่งมนุษยวิทยาก็มีแนวคิดพื้นฐานมาจากปรัชญานี้ ปัจจุบันมีศาสนาจอมปลอมที่เป็นแฟชั่นอยู่ในสหรัฐอเมริกามากมายก็ยึดหลักปรัชญานี้เช่นกัน รวมทั้งนิกายของ ศูนฺยวาทิ ที่ไม่มีการอุทิศตนเสียสละรับใช้
และถึงแม้ว่า อรฺชุน จะทรงไม่เชื่อในความมีอยู่จริงของดวงวิญญาณเหมือนดังปรัชญา ไวภาษิก ก็ยังไม่ควรเป็นเหตุให้ต้องเศร้าโศก ไม่มีใครควรเสียใจในการสูญเสียวัตถุสารเคมีไปบางส่วนถึงกับต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่การงานของตนที่กำหนดไว้ อีกด้านหนึ่งสารเคมีเป็นตันๆได้สูญเสียไปกับวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบันและสงครามวิทยาศาสตร์เพื่อเอาชนะศัตรู ตามปรัชญา ไวภาษิก สิ่งที่เรียกว่าดวงวิญญาณหรือ อาตฺมา จะสูญสลายไปพร้อมกับการเสื่อมโทรมของร่างกาย ฉะนั้นไม่ว่าจะพิจารณาในกรณีใด อรฺชุน จะทรงยอมรับข้อสรุปของพระเวทว่ามีดวงวิญญาณจริงหรือไม่เชื่อว่าดวงวิญญาณมีอยู่จริงพระองค์ก็ทรงไม่มีเหตุผลที่จะต้องเศร้าโศก จากทฤษฎีนี้ที่ว่าทุกๆนาทีจะมีสิ่งมีชีวิตเกิดจากวัตถุมากมายและก็ตายจากไปทุกๆนาทีจึงไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องโศกเศร้าต่อเหตุการณ์เช่นนี้ หากดวงวิญญาณไม่มีการเกิดอีก อรฺชุน ก็ทรงไม่มีเหตุผลต้องกลัวผลบาปอันเนื่องมาจากการสังหารพระอัยกาและพระอาจารย์ แต่ในขณะเดียวกันองค์กฺฤษฺณทรงตรัสกระทบด้วยการเรียก อรฺชุน ว่า มหา-พาหุ ยอดนักรบเพราะว่าอย่างน้อยก็ทรงไม่ยอมรับทฤษฎีของ ไวภาษิก ซึ่งทฤฎีนั้นจะปฏิเสธปรัชญาพระเวท ในฐานะที่เป็น กฺษตฺริย อรฺชุน ทรงอยู่ในวัฒนธรรมพระเวทจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามหลักธรรมนั้นต่อไป
jātasya hi dhruvo mṛtyur
dhruvaṁ janma mṛtasya ca
tasmād aparihārye ’rthe
na tvaṁ śocitum arhasi
ชาตสฺย หิ ธฺรุโว มฺฤตฺยุรฺ
ธฺรุวํ ชนฺม มฺฤตสฺย จ
ตสฺมาทฺ อปริหาเรฺย ’รฺเถ
น ตฺวํ โศจิตุมฺ อรฺหสิ
ชาตสฺย — สำหรับผู้ที่เกิดมาแล้ว, หิ — แน่นอน, ธฺรุวห์ — ความจริง, มฺฤตฺยุห์ — ความตาย, ธฺรุวมฺ — และก็เป็นความจริงอีกเช่นเดียวกัน, ชนฺม — การเกิด, มฺฤตสฺย — แห่งความตาย, จ — เช่นกัน, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, อปริหาเรฺย — ในสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้, อรฺเถ — ในเรื่องนี้, น — ไม่, ตฺวมฺ — ท่าน, โศจิตุมฺ — โศกเศร้า, อรฺหสิ — สมควรได้รับ
คำแปล
ผู้ที่เกิดมาแล้วจะต้องตายอย่างแน่นอน และหลังจากตายไปแล้วก็ต้องกลับมาเกิดใหม่อย่างแน่นอน ฉะนั้น ในการปฏิบัติหน้าที่ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของเธอนั้น เธอจึงไม่ควรเศร้าโศก
คำอธิบาย
เราต้องเกิดตามผลกรรมแห่งชีวิต และหลังจากเสร็จสิ้นกรรมชาติหนึ่งแล้วเราก็ต้องตายเพื่อไปเกิดชาติหน้า เช่นนี้เราจึงต้องผ่านวัฏจักรการเกิดและการตายอย่างไม่มีวันหลุดพ้นและเป็นอิสระ อย่างไรก็ดีวัฏจักรแห่งการเกิดและการตายนี้มิได้เป็นการส่งเสริมให้เราทำการสังหารเข่นฆ่าและทำสงครามโดยไม่จำเป็น แต่ในขณะเดียวกันความรุนแรงและสงครามเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในสังคมมนุษย์เพื่อรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อย
สงครามที่ กุรุกฺเษตฺร เป็นพระราชประสงค์ขององค์ภควานฺ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และการต่อสู้เพื่อคุณธรรมเป็นหน้าที่ของ กฺษตฺริย ทำไม อรฺชุน ทรงต้องกลัวหรือเสียใจในการตายของสังคญาติ ในเมื่อทรงปฏิบัติตามหน้าที่อย่างถูกต้องไม่ได้ทำผิดกฎหมายจึงไม่ต้องรับผลบาปซึ่งรู้สึกกลัวยิ่งนัก การหลีกเลี่ยงการปฏิบัติหน้าที่ที่เราควรจะทำนั้นไม่สามารถหยุดความตายของบรรดาสังคญาติได้ แต่จะทำให้ อรฺชุน เสื่อมเสียเนื่องจากการตัดสินใจเดินในทางที่ผิด
avyaktādīni bhūtāni
vyakta-madhyāni bhārata
avyakta-nidhanāny eva
tatra kā paridevanā
อวฺยกฺตาทีนิ ภูตานิ
วฺยกฺต-มธฺยานิ ภารต
อวฺยกฺต-นิธนานฺยฺ เอว
ตตฺร กา ปริเทวนา
อวฺยกฺต-อาทีนิ — ในตอนต้นไม่ปรากฏ, ภูตานิ — ทั้งหมดที่ได้สร้างขึ้นมา, วฺยกฺต — ปรากฏ, มธฺยานิ — ในตอนกลาง, ภารต — โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ ภรต, อวฺยกฺต — ไม่ปรากฏ, นิธนานิ — เมื่อสูญสลาย, เอว — ทั้งหมดก็เป็นเช่นนี้, ตตฺร — ดังนั้น, กา — อะไร, ปริเทวนา — ความเศร้าโศก
คำแปล
สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่ถูกสร้างขึ้นมา ไม่ปรากฏในช่วงต้น ปรากฏในช่วงกลาง และไม่ปรากฏอีกครั้งเมื่อถูกทำลายลง ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องเศร้าโศกเสียใจ
คำอธิบาย
เป็นที่ยอมรับว่ามีนักปราชญ์อยู่สองประเภท ประเภทหนึ่งเชื่อในความมีอยู่จริงของดวงวิญญาณ และอีกประเภทหนึ่งไม่เชื่อในความมีอยู่จริงของดวงวิญญาณ ไม่ว่าจะมีความเชื่อในประเภทใดก็ไม่มีเหตุผลให้ต้องเศร้าโศกเสียใจแต่อย่างใด ผู้ปฏิบัติตามปรัชญาพระเวทจะเรียกบุคคลที่ไม่เชื่อในความมีอยู่จริงของดวงวิญญาณเหล่านี้ว่าเป็นผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานฺ แต่เพื่อเป็นหลักในการพิจารณาเราจะยอมรับทฤษฎีของผู้ที่ไม่เชื่อในองค์ภควานฺ แม้กระนั้นก็ยังไม่มีเหตุผลต้องเศร้าโศก ถ้าเราแยกความมีอยู่ของดวงวิญญาณออกต่างหากจะเห็นว่าธาตุวัตถุต่างๆมิได้ปรากฏก่อนการสร้าง จากระยะที่ละเอียดอ่อนแห่งการไม่ปรากฏมาจนถึงการปรากฏออกมา ดังเช่นจากอากาศธาตุ ลมปรากฏออกมา, จากลม ไฟปรากฏออกมา, จากไฟ น้ำปรากฏออกมา, จากน้ำ ดินปรากฏออกมา และจากดิน สิ่งต่างๆมากมายหลากหลายปรากฏออกมา ตัวอย่างเช่น ตึกสูงระฟ้าปรากฏขึ้นมาจากดินเมื่อถูกรื้อถอนทำลายลง การปรากฏกลายเป็นการไม่ปรากฏอีกครั้ง และในขั้นสุดท้ายยังคงเป็นอะตอมอยู่ กฎแห่งการอนุรักษ์พลังงานยังคงอยู่ ข้อแตกต่างคือตามกาลเวลาสิ่งต่างๆจะปรากฏและไม่ปรากฏ แล้วอะไรเป็นเหตุแห่งความเศร้าโศก ไม่ว่าจะปรากฏหรือไม่ปรากฏออกมา อย่างไรก็ดีแม้อยู่ในสภาวะที่ไม่ปรากฏก็ไม่มีอะไรสูญเสียทั้งในตอนต้นและตอนปลาย ธาตุต่างๆทั้งหมดก็ไม่ปรากฏออกมา และในช่วงกลางเท่านั้นที่จะปรากฏออกมา ซึ่งมิได้ทำให้มีข้อแตกต่างกันเลย
หากว่าเรายอมรับข้อสรุปของพระเวท ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา ว่าร่างกายวัตถุเหล่านี้เสื่อมสลายตามกาลเวลา (อนฺตวนฺต อิเม เทหาห์) แต่ว่าดวงวิญญาณเป็นอมตะ (นิตฺยโสฺยกฺตาห์ ศรีริณห์) ฉะนั้นเราต้องจดจำไว้เสมอว่าร่างกายนี้เปรียบเสมือนเสื้อผ้า แล้วจะไปโศกเศร้ากับการเปลี่ยนเสื้อผ้าทำไม ร่างกายวัตถุนั้นไม่ได้มีอยู่จริงในความสัมพันธ์กับดวงวิญญาณอมตะ มันคล้ายกับความฝันในฝันอาจคิดว่าเราบินอยู่บนท้องฟ้าหรือนั่งอยู่บนราชรถเยี่ยง กฺษตฺริย แต่เมื่อตื่นขึ้นมาจะพบว่าเราไม่ได้อยู่ทั้งในท้องฟ้าหรือบนราชรถ ปรัชญาพระเวทส่งเสริมความรู้แจ้งแห่งตนบนพื้นฐานที่ว่าร่างกายวัตถุไม่มีอยู่จริง ดังนั้นไม่ว่าในกรณีใด ไม่ว่าเราจะเชื่อในความมีอยู่จริงของดวงวิญญาณ หรือเราจะไม่เชื่อในความมีอยู่ของดวงวิญญาณก็ไม่มีเหตุผลที่จะต้องเศร้าโศกเสียใจในการสูญเสียร่างกาย
āścarya-vat paśyati kaścid enam
āścarya-vad vadati tathaiva cānyaḥ
āścarya-vac cainam anyaḥ śṛṇoti
śrutvāpy enaṁ veda na caiva kaścit
อาศฺจรฺย-วตฺ ปศฺยติ กศฺจิทฺ เอนมฺ
อาศฺจรฺย-วทฺ วทติ ตไถว จานฺยห์
อาศฺจรฺย-วจฺ ไจนมฺ อนฺยห์ ศฺฤโณติ
ศฺรุตฺวาปฺยฺ เอนํ เวท น ไจว กศฺจิตฺ
อาศฺจรฺย-วตฺ — เป็นที่น่าอัศจรรย์, ปศฺยติ — เห็น, กศฺจิตฺ — บางคน, เอนมฺ — ดวงวิญญาณนี้, อาศฺจรฺย-วตฺ — เป็นที่น่าอัศจรรย์, วทติ — กล่าวถึง, ตถา — ดังนั้น, เอว — แน่นอน, จ — เช่นกัน, อนฺยห์ — ผู้อื่น, อาศฺจรฺย-วตฺ — น่าอัศจรรย์เช่นเดียวกัน, จ — เช่นกัน, เอนมฺ — ดวงวิญญาณนี้, อนฺยห์ — ผู้อื่น, ศฺฤโณติ — สดับฟัง, ศฺรุตฺวา — ได้ยินมาแล้ว, อปิ — ถึงแม้ว่า, เอนมฺ — ดวงวิญญาณนี้, เวท — ทราบ, น — ไม่เคย, จ — และ, เอว — แน่นอน, กศฺจิตฺ — บางคน
คำแปล
บางคนมองดูดวงวิญญาณว่าเป็นสิ่งอัศจรรย์ บางคนอธิบายดวงวิญญาณว่าเป็นสิ่งอัศจรรย์ และบางคนได้ยินเกี่ยวกับดวงวิญญาณว่าเป็นสิ่งอัศจรรย์ แต่ในขณะที่อีกหลายคนแม้หลังจากที่ได้ยินเกี่ยวกับดวงวิญญาณแล้วก็ยังไม่สามารถเข้าใจอะไรได้เลย
คำอธิบาย
คีโตปนิษทฺ ส่วนใหญ่มีพื้นฐานบนหลักธรรมของ อุปนิษทฺ จึงไม่น่าแปลกใจที่ได้พบข้อความเช่นนี้ใน กฐ อุปนิษทฺ (1.2.7)
ศฺรวณยาปิ พหุภิรฺ โย น ลภฺยห์
ศฺฤณฺวนฺโต ’ปิ พหโว ยํ น วิทฺยุห์
อาศฺจโรฺย วกฺตา กุศโล ’สฺย ลพฺธา
อาศฺจโรฺย ’สฺย ชฺญาตา กุศลานุศิษฺฏห์
เป็นความจริงที่ว่าละอองวิญญาณอยู่ในร่างสัตว์ใหญ่ อยู่ในร่างต้นไทรมหึมา และอยู่ในจุลินทรีย์เล็กๆที่มีจำนวนเป็นร้อยๆล้านตัวในพื้นที่เพียงหนึ่งตารางนิ้วซึ่งนับว่าเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์มาก มนุษย์ผู้เบาปัญญาและมนุษย์ผู้ไม่มีความสมถะจะไม่สามารถเข้าใจถึงความอัศจรรย์ของปัจเจกละอองวิญญาณได้แม้จะอธิบายโดยผู้ที่เชื่อถือได้มากที่สุดในวิชาความรู้นี้ ซึ่งถ่ายทอดบทเรียนให้แม้กระทั่งพระพรหม (พฺรหฺมา) ผู้เป็นชีวิตแรกในจักรวาล เนื่องจากแนวความคิดต่อสิ่งต่างๆทางวัตถุคนส่วนใหญ่ในยุคนี้จึงไม่สามารถจินตนาการได้ว่าประกายเล็กๆเช่นนี้จะสามารถที่จะยิ่งใหญ่มากและเล็กมากได้อย่างไร ดังนั้นมนุษย์จึงมองดูดวงวิญญาณว่าเป็นสิ่งอัศจรรย์ไม่ว่าด้วยสถานภาพพื้นฐานหรือด้วยการอธิบาย ผู้คนมัวแต่หลงอยู่ในพลังงานวัตถุจึงหมกมุ่นอยู่กับเรื่องราวเพื่อสนองประสาทสัมผัสจนมีเวลาน้อยมากที่จะเข้าใจเกี่ยวกับตนเองแม้จะเป็นความจริงที่ว่าหากไม่มีความเข้าใจตนเอง กิจกรรมทั้งหมดในการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดผลที่สุดคือความพ่ายแพ้พวกเขาไม่มีความคิดว่าควรจะต้องคิดถึงดวงวิญญาณเพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ทางวัตถุ
บางคนสนใจฟังเกี่ยวกับดวงวิญญาณ อาจไปรับฟังคำบรรยายร่วมกับหมู่คณะที่ดี แต่บางครั้งเนื่องจากอวิชชาถูกชักนำไปในทางที่ผิดโดยยอมรับว่าอภิวิญญาณและอนุวิญญาณเป็นหนึ่งเดียวกันโดยไม่มีข้อแตกต่างในปริมาณ เป็นการยากมากที่จะพบบุคคลผู้เข้าใจสถานภาพของอภิวิญญาณและอนุวิญญาณ รวมทั้งหน้าที่และความสัมพันธ์ของทั้งสองและรายละเอียดต่างๆอย่างครบถ้วน และยากยิ่งไปกว่านี้คือการที่จะพบบุคคลผู้ได้รับประโยชน์อย่างสมบูรณ์จากความรู้แห่งดวงวิญญาณ และยังสามารถอธิบายถึงสถานภาพของดวงวิญญาณในแง่มุมต่างๆได้ อย่างไรก็ดี หากผู้ใดสามารถเข้าใจเรื่องราวของดวงวิญญาณชีวิตของผู้นั้นจะประสบความสำเร็จ
วิธีที่ง่ายที่สุดในการเข้าใจเรื่องความรู้แจ้งแห่งตนคือการยอมรับคำสอนใน ภควัท-คีตา ที่ตรัสโดยองค์ศฺรีกฺฤษฺณ ผู้ที่เชื่อถือได้สูงสุด โดยไม่ถูกบิดเบือนจากทฤษฎีอื่นๆ แต่จำเป็นต้องมีความวิริยะและความเสียสละอย่างสูงไม่ว่าในชาตินี้หรือในอดีตชาติ ก่อนที่เราจะสามารถยอมรับว่าองค์กฺฤษฺณคือ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า อย่างไรก็ดีเราจะสามารถรู้จักองค์กฺฤษฺณว่าทรงเป็นองค์ภควานฺสูงสุดได้ก็ด้วยพระกรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ของสาวกผู้บริสุทธิ์ทางเดียวเท่านั้น
dehī nityam avadhyo ’yaṁ
dehe sarvasya bhārata
tasmāt sarvāṇi bhūtāni
na tvaṁ śocitum arhasi
เทหี นิตฺยมฺ อวโธฺย ’ยํ
เทเห สรฺวสฺย ภารต
ตสฺมาตฺ สรฺวาณิ ภูตานิ
น ตฺวํ โศจิตุมฺ อรฺหสิ
เทหี — เจ้าของร่างกายวัตถุ, นิตฺยมฺ — อมตะ, อวธฺยห์ — ไม่สามารถถูกสังหาร, อยมฺ — ดวงวิญญาณนี้, เทเห — ในร่างกาย, สรฺวสฺย — ของทุกคน, ภารต — ผู้สืบราชวงศ์ ภรต, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, สรฺวาณิ — ทั้งหมด, ภูตานิ — สิ่งมีชีวิต (ที่เกิด), น — ไม่เคย, ตฺวมฺ — ท่าน, โศจิตุมฺ — โศกเศร้า, อรฺหสิ — สมควรได้รับ
คำแปล
โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ ภรต ดวงวิญญาณผู้พำนักอยู่ในร่างกายไม่มีวันถูกสังหาร ฉะนั้น เธอไม่จำเป็นต้องโศกเศร้ากับชีวิตของผู้ใด
คำอธิบาย
องค์ภควานฺ ทรงสรุปบทคำสอนเกี่ยวกับดวงวิญญาณทิพย์ที่เป็นอมตะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงด้วยการอธิบายดวงวิญญาณอมตะในวิธีต่างๆกันไว้ ณ ที่นี้องค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงสถาปนาว่าดวงวิญญาณเป็นอมตะและร่างกายไม่ถาวร ดังนั้น อรฺชุน ในฐานะที่ทรงเป็น กฺษตฺริย จึงไม่ควรละทิ้งหน้าที่อันเนื่องมาจากความกลัวว่าพระอัยกา ภีษฺม และพระอาจารย์ โทฺรณ จะตายในสนามรบ ด้วยความน่าเชื่อถือขององค์ศฺรีกฺฤษฺณเราต้องเชื่อว่ามีดวงวิญญาณที่แตกต่างไปจากร่างวัตถุไม่ใช่ว่าไม่มีดวงวิญญาณหรือลักษณะอาการของชีวิตเกิดขึ้นจากการผสมผสานของวัตถุเคมีที่มาถึงจุดอิ่มตัว แม้ว่าดวงวิญญาณจะเป็นอมตะแต่มิได้หมายความว่าจะสนับสนุนความรุนแรง แต่เมื่อมีความจำเป็นจริงๆในยามศึกสงครามซึ่งเราไม่สามารถจะห้ามได้ ความจำเป็นนั้นจะต้องมีความยุติธรรมโดยการได้รับอนุญาตจากองค์ภควานฺ มิใช่ทำตามอำเภอใจ
sva-dharmam api cāvekṣya
na vikampitum arhasi
dharmyād dhi yuddhāc chreyo ’nyat
kṣatriyasya na vidyate
สฺว-ธรฺมมฺ อปิ จาเวกฺษฺย
น วิกมฺปิตุมฺ อรฺหสิ
ธรฺมฺยาทฺ ธิ ยุทฺธาจฺ เฉฺรโย ’นฺยตฺ
กฺษตฺริยสฺย น วิทฺยเต
สฺว-ธรฺมมฺ — หลักศาสนาของตน, อปิ — เช่นกัน, จ — แน่นอน, อเวกฺษฺย — พิจารณา, น — ไม่เคย, วิกมฺปิตุมฺ — ลังเลใจ, อรฺหสิ — เธอสมควรได้รับ, ธรฺมฺยาตฺ — เพื่อหลักศาสนา, หิ — แน่นอน, ยุทฺธาตฺ — กว่าการต่อสู้, เศฺรยห์ — งานที่ดีกว่า, อนฺยตฺ — สิ่งอื่นๆ, กฺษตฺริยสฺย — ของ กฺษตฺริย, น — ไม่, วิทฺยเต — เป็นอยู่
คำแปล
เมื่อพิจารณาหน้าที่โดยเฉพาะของเธอในฐานะที่เป็น กฺษตฺริย เธอควรรู้ว่าไม่มีงานอื่นใดดีไปกว่าการต่อสู้เพื่อหลักศาสนา ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องลังเลใจ
คำอธิบาย
จากสี่วรรณะในการบริหารสังคมเพื่อการบริหารที่ดีวรรณะที่สองเรียกว่า กฺษตฺริย กฺษตฺ หมายถึงความเจ็บปวด ผู้ให้ความปกป้องจากภยันตรายเรียกว่า กฺษตฺริย (ตฺรายเต -ให้การปกป้องคุ้มครอง) กฺษตฺริย ฝึกฝนการสังหารในป่า กฺษตฺริย จะถือดาบเข้าไปในป่าท้าทายเสือซึ่งๆหน้ามาต่อสู้ เมื่อสังหารเสือแล้วจะจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพให้อย่างสมเกียรติ ระบบนี้ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันโดย กฺษตฺริย แห่งรัฐชัยปุระ กฺษตฺริย ได้รับการฝึกฝนเพื่อท้าทายและสังหารโดยเฉพาะ เนื่องจากความรุนแรงทางศาสนาบางครั้งเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้น กฺษตฺริย ไม่ควรบรรพชาเป็น สนฺนฺยาส หรือเป็นผู้สละโลกโดยตรง อหิงสาในการเมืองอาจเป็นศิลปะในการเจรจา แต่ไม่ใช่เป็นปัจจัยหรือเป็นหลักการหนังสือกฎหมายทางศาสนากล่าวไว้ว่า
อาหเวษุ มิโถ ’โนฺยนฺยํ
ชิฆำสนฺโต มหี-กฺษิตห์
ยุทฺธมานาห์ ปรํ ศกฺตฺยา
สฺวรฺคํ ยานฺตฺยฺ อปรางฺ-มุขาห์
ยชฺเญษุ ปศโว พฺรหฺมนฺ
หนฺยนฺเต สตตํ ทฺวิไชห์
สํสฺกฺฤตาห์ กิล มนฺไตฺรศฺ จ
เต ’ปิ สฺวรฺคมฺ อวาปฺนุวนฺ
“ขณะที่กษัตริย์หรือ กฺษตฺริย ต่อสู้กับ กฺษตฺริย อีกองค์หนึ่งที่อิจฉาตนในสนามรบนั้นจะมีสิทธิ์ไปสู่สรวงสวรรค์ หลังจากสิ้นพระชนม์เหมือนกับ พฺราหฺมณ หรือ พฺราหฺมณ ที่บูชาสัตว์ในพิธีไฟบูชาก็จะไปสู่สรวงสวรรค์เช่นเดียวกัน” ดังนั้นการสังหารกันในสนามรบตามหลักศาสนาและการฆ่าสัตว์ในไฟพิธีบวงสรวงจึงไม่พิจารณาว่าเป็นการกระทำรุนแรง เพราะทุกชีวิตได้รับประโยชน์เมื่อมีหลักศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องสัตว์ในพิธีจะได้รับร่างมนุษย์ทันที โดยไม่ต้องผ่านวิวัฒนาการตามขั้นตอนจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง กฺษตฺริย ผู้ถูกสังหารในสนามรบจะไปสู่สรวงสวรรค์เหมือน พฺราหฺมณ ผู้ปฏิบัติพิธีบวงสรวงบูชา
มี สฺว-ธรฺม หรือหน้าที่โดยเฉพาะสองประเภท ตราบใดที่ยังไม่หลุดพ้นเราต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เหมาะสมกับร่างกายที่ได้มาตามหลักศาสนาเพื่อบรรลุถึงอิสรภาพ เมื่อหลุดพ้นแล้ว สฺว-ธรฺม หรือหน้าที่โดยเฉพาะของเราจะเป็นทิพย์ไม่อยู่ในแนวคิดทางร่างกายวัตถุ ชีวิตที่มีแนวคิดทางร่างกายวัตถุจะมีหน้าที่โดยเฉพาะสำหรับ พฺราหฺมณ และ กฺษตฺริย ตามลำดับหน้าที่เช่นนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ องค์ภควานฺทรงลิขิต สฺว-ธรฺม บทที่สี่จะอธิบายชัดเจนยิ่งขึ้น สฺว-ธรฺม ในระดับร่างกายเรียกว่า วรฺณาศฺรม-ธรฺม หรือขั้นบันไดของมนุษย์เพื่อเข้าใจวิถีทิพย์ ความเจริญรุ่งเรืองของมนุษย์เริ่มต้นจากระดับของ วรฺณาศฺรม-ธรฺม หรือหน้าที่โดยเฉพาะของตนตามระดับเฉพาะของธรรมชาติร่างกายที่ได้รับมา การปฏิบัติหน้าที่โดยเฉพาะของเราไม่ว่าในกิจกรรมใดๆต้องทำตามคำสั่งของผู้ที่เชื่อถือได้ที่สูงกว่า เพื่อพัฒนาตัวเราไปสู่ระดับชีวิตที่สูงขึ้น
yadṛcchayā copapannaṁ
svarga-dvāram apāvṛtam
sukhinaḥ kṣatriyāḥ pārtha
labhante yuddham īdṛśam
ยทฺฤจฺฉยา โจปปนฺนํ
สฺวรฺค-ทฺวารมฺ อปาวฺฤตมฺ
สุขินห์ กฺษตฺริยาห์ ปารฺถ
ลภนฺเต ยุทฺธมฺ อีทฺฤศมฺ
ยทฺฤจฺฉยา — สอดคล้องอยู่ในตัว, จ — เช่นกัน, อุปปนฺนมฺ — มาถึง, สฺวรฺค — แห่งโลก สวรรค์, ทฺวารมฺ — ประตู, อปาวฺฤตมฺ — เปิดกว้าง, สุขินห์ — มีความสุขมาก, กฺษตฺริยาห์ — สมาชิกของราชวงศ์, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, ลภนฺเต — ได้รับ, ยุทฺธมฺ — สงคราม, อีทฺฤศมฺ — เหมือนเช่นนี้
คำแปล
โอ้ ปารฺถ กฺษตฺริย ผู้มีความสุขคือ ผู้ที่โอกาสการต่อสู้เช่นนี้ เอื้ออำนวยโดยไม่ต้องเสาะแสวงหา ซึ่งเป็นการเปิดประตูสวรรค์ให้
คำอธิบาย
ในฐานะที่เป็นบรมครูแห่งโลก องค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงตำหนิกริยาท่าทีของ อรฺชุน ที่ตรัสว่า “ข้าพเจ้าไม่เห็นว่ามีอะไรดีในการสู้รบกันครั้งนี้ซึ่งจะทำให้ข้าพเจ้าไปอยู่ในขุมนรกชั่วนิรันดร” คำดำรัสเช่นนี้ของ อรฺชุน เนื่องมาจากอวิชชาเท่านั้น โดยปรารถนามาเป็นผู้ยึดหลักอหิงสาในการปฏิบัติหน้าที่โดยเฉพาะของตน กฺษตฺริย ผู้ทรงอยู่ในสนามรบแล้วมาทำเป็นผู้ยึดหลักอหิงสาเป็นปรัชญาของคนโง่เขลา ใน ปราศร-สฺมฺฤติ หลักศาสนาที่ ปราศร นักปราชญ์ผู้เป็นพระบิดาของ วฺยาสเทว กล่าวไว้ว่า
กฺษตฺริโย หิ ปฺรชา รกฺษนฺ
ศสฺตฺร-ปาณิห์ ปฺรทณฺฑยนฺ
นิรฺชิตฺย ปร-ไสนฺยาทิ
กฺษิตึ ธรฺเมณ ปาลเยตฺ
“หน้าที่ของ กฺษตฺริย คือการปกป้องคุ้มครองประชาชนจากความทุกข์ยากลำบากทั้งปวง ด้วยเหตุผลนี้จึงจำต้องใช้ความรุนแรงในกรณีที่เหมาะสมเพื่อความสงบเรียบร้อย ฉะนั้นพระองค์ทรงต้องกำราบศัตรูและปกครองโลกตามหลักศาสนา”
เมื่อพิจารณาทุกมุมมอง อรฺชุน ทรงไม่มีเหตุผลที่จะไม่ต่อสู้ หากทรงปราบศัตรูได้จะมีความสุขกับราชบัลลังก์ และหากสิ้นพระชนม์ในสนามรบจะเสด็จไปสู่สรวงสวรรค์ ซึ่งประตูสวรรค์เปิดรอรับอยู่แล้ว การต่อสู้จึงเป็นผลดีสำหรับ อรฺชุน ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม
atha cet tvam imaṁ dharmyaṁ
saṅgrāmaṁ na kariṣyasi
tataḥ sva-dharmaṁ kīrtiṁ ca
hitvā pāpam avāpsyasi
อถ เจตฺ ตฺวมฺ อิมํ ธรฺมฺยํ
สงฺคฺรามํ น กริษฺยสิ
ตตห์ สฺว-ธรฺมํ กีรฺตึ จ
หิตฺวา ปาปมฺ อวาปฺสฺยสิ
อถ — ดังนั้น, เจตฺ — ถ้า, ตฺวมฺ — ท่าน, อิมมฺ — นี้, ธรฺมฺยมฺ — ซึ่งเป็นหน้าที่ทางศาสนา, สงฺคฺรามมฺ — ต่อสู้, น — ไม่, กริษฺยสิ — ปฏิบัติ, ตตห์ — จากนั้น, สฺว-ธรฺมมฺ — หน้าที่ทางศาสนาของท่าน, กีรฺติมฺ — ชื่อเสียง, จ — เช่นกัน, หิตฺวา — สูญเสีย, ปาปมฺ — ผลแห่งบาป, อวาปฺสฺยสิ — จะได้รับ
คำแปล
อย่างไรก็ดี หากเธอไม่ปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนาในการต่อสู้ เธอจะต้องได้รับบาปที่ละเลยต่อหน้าที่อย่างแน่นอน และจะเสื่อมเสียชื่อเสียงในฐานะที่เป็นนักรบ
คำอธิบาย
อรฺชุน ทรงเป็นนักรบผู้มีชื่อเสียงซึ่งได้รับชื่อเสียงจากการต่อสู้กับเทวดาผู้ยิ่งใหญ่หลายองค์แม้กระทั่งองค์ศิวะเทพ หลังจากทรงต่อสู้และได้รับชัยชนะพระศิวะในร่างของนักล่าสัตว์แล้ว อรฺชุน ทรงทำให้พระศิวะทรงพอพระทัยและมอบอาวุธ ปาศุปต-อสฺตฺร ให้เป็นรางวัล ทุกคนทราบดีว่า อรฺชุน ทรงเป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่แม้แต่ โทฺรณาจารฺย ได้ให้พร และให้อาวุธพิเศษเป็นรางวัลทำให้สามารถสังหารได้แม้แต่อาจารย์ของตนเอง ดังนั้น อรฺชุน ทรงได้รับความเชื่อถือด้วยประกาศนียบัตรทางทหารมากมายจากผู้ที่เชื่อถือได้หลายท่านรวมทั้งพระอินทร์เจ้าแห่งสวรรค์ผู้ทรงเป็นพระบิดาอุปถัมภ์ หากละทิ้งสนามรบไป อรฺชุน ทรงไม่เพียงแต่ละเลยหน้าที่ของตนโดยเฉพาะในฐานะที่เป็น กฺษตฺริย เท่านั้น แต่จะสูญเสียเกียรติยศและชื่อเสียงทั้งหมดและเป็นการเตรียมเปิดทางลงสู่นรก อีกนัยหนึ่งหาก อรฺชุน ทรงไม่ต่อสู้และถอนตัวออกจากสมรภูมิจะต้องตกไปสู่นรก
akīrtiṁ cāpi bhūtāni
kathayiṣyanti te ’vyayām
sambhāvitasya cākīrtir
maraṇād atiricyate
อกีรฺตึ จาปิ ภูตานิ
กถยิษฺยนฺติ เต ’วฺยยามฺ
สมฺภาวิตสฺย จากีรฺติรฺ
มรณาทฺ อติริจฺยเต
อกีรฺติมฺ — เสียชื่อเสียง, จ — เช่นกัน, อปิ — อยู่เหนือ, ภูตานิ — ผู้คนทั้งหลาย, กถยิษฺยนฺติ — จะพูด, เต — ถึงเธอ, อวฺยยามฺ — ชั่วกาล, สมฺภาวิตสฺย — สำหรับผู้ที่เคยได้รับความเคารพนับถือ, จ — เช่นกัน, อกีรฺติห์ — เสียชื่อ, มรณาตฺ — มากกว่าความตาย, อติริจฺยเต — มากกว่า
คำแปล
ผู้คนจะกล่าวถึงเรื่องเสื่อมเสียเกียรติยศชื่อเสียงของเธอตลอดเวลา สำหรับผู้ที่เคยได้รับความเคารพนับถือนั้นการสูญเสียเกียรติเช่นนี้เลวร้ายยิ่งกว่าความตาย
คำอธิบาย
องค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงเป็นทั้งสหายและนักปราชญ์สำหรับ อรฺชุน บัดนี้องค์กฺฤษฺณทรงให้คำตัดสินสุดท้ายกับ อรฺชุน ที่ปฏิเสธการต่อสู้ โดยตรัสว่า “อรฺชุน เอ๋ย หากเธอหนีไปจากสมรภูมิก่อนที่สงครามจะเริ่มขึ้นผู้คนจะเรียกเธอว่าเจ้าขี้ขลาด หากคิดว่าถูกประณามเช่นนี้แล้วเธอยังจะรักษาชีวิตได้ด้วยการหนีไปจากสมรภูมิ ข้าแนะนำว่าให้มาตายในสมรภูมิจะดีกว่า สำหรับผู้ที่เคยได้รับความเคารพนับถืออย่างเธอการเสื่อมเสียชื่อเสียงนั้นเลวร้ายยิ่งกว่าความตาย ดังนั้นไม่ควรหลบหนีไปเนื่องมาจากการความกลัวตาย การตายอยู่ในสนามรบยังดีเสียกว่าเพราะจะช่วยให้พ้นจากการเสื่อมเสียชื่อเสียงที่ใช้ความเป็นเพื่อนของข้าไปในทางที่ผิด และเสียศักดิ์ศรีของตนเองในสังคม”
ดังนั้นคำตัดสินสุดท้ายขององค์ภควานฺ คือทรงให้ อรฺชุน ตายในสมรภูมิและไม่ถอนตัว
bhayād raṇād uparataṁ
maṁsyante tvāṁ mahā-rathāḥ
yeṣāṁ ca tvaṁ bahu-mato
bhūtvā yāsyasi lāghavam
ภยาทฺ รณาทฺ อุปรตํ
มํสฺยนฺเต ตฺวำ มหา-รถาห์
เยษำ จ ตฺวํ พหุ-มโต
ภูตฺวา ยาสฺยสิ ลาฆวมฺ
ภยาตฺ — เนื่องมาจากความกลัว, รณาตฺ — จากสนามรบ, อุปรตมฺ — หยุด, มํสฺยนฺเต — พวกเขาจะพิจารณาว่า, ตฺวามฺ — ท่าน, มหา-รถาห์ — ขุนพลผู้ยิ่งใหญ่, เยษามฺ — ผู้ซึ่ง, จ — เช่นกัน, ตฺวมฺ — เธอ, พหุ-มตห์ — ในการประเมินอันยิ่งใหญ่, ภูตฺวา — ได้เป็น, ยาสฺยสิ — ท่านจะไป, ลาฆวมฺ — ลดคุณค่า
คำแปล
บรรดาขุนพลผู้ยิ่งใหญ่ที่เคยยกย่องนับถือในชื่อเสียงและเกียรติยศของเธอ จะคิดว่าเธอหนีจากสมรภูมิไปเพราะความกลัวเท่านั้น และจะพิจารณาว่าเธอนั้นไม่สำคัญ
คำอธิบาย
องค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงให้คำตัดสินแด่ อรฺชุน ต่อไปว่า “จงอย่าคิดว่าขุนพลผู้ยิ่งใหญ่ เช่น ทุโรฺยธน กรฺณ และบุคคลอื่นๆที่นี้จะคิดว่าเธอจากสนามรบไปเพราะความเมตตาสงสารต่อญาติพี่น้องและพระอัยกา พวกเขาจะคิดว่าเธอหนีจากสนามรบไปเพราะความกลัวตายต่างหาก ดังนั้นการประเมินค่าอันสูงส่งในตัวเธอจะดิ่งลงนรก”
avācya-vādāṁś ca bahūn
vadiṣyanti tavāhitāḥ
nindantas tava sāmarthyaṁ
tato duḥkha-taraṁ nu kim
อวาจฺย-วาทำศฺ จ พหูนฺ
วทิษฺยนฺติ ตวาหิตาห์
นินฺทนฺตสฺ ตว สามรฺถฺยํ
ตโต ทุห์ข-ตรํ นุ กิมฺ
อวาจฺย — ไม่มีความกรุณา, วาทานฺ — คำพูดที่แต่งขึ้น, จ — เช่นกัน, พหูนฺ — มาก, วทิษฺยนฺติ — จะกล่าวว่า, ตว — ของเธอ, อหิตาห์ — ศัตรู, นินฺทนฺตห์ — ขณะที่หมิ่นประมาท, ตว — ของเธอ, สามรฺถฺยมฺ — ความสามารถ, ตตห์ — กว่านั้น, ทุห์ข-ตรมฺ — เจ็บปวดมากกว่า, นุ — แน่นอน, กิมฺ — อะไรที่นั่น
คำแปล
ศัตรูจะตำหนิเธอด้วยคำหยาบ และเหยียดหยามความสามารถของเธอ แล้วจะมีอะไรที่ทำให้เธอเจ็บปวดมากไปกว่านี้
คำอธิบาย
ในตอนแรกองค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงประหลาดใจที่ อรฺชุน ทรงมีความเมตตาสงสารที่ไม่จำเป็นจะเป็นเพียงข้ออ้าง และองค์กฺฤษฺณทรงอธิบายความเมตตาสงสารนี้ว่าเหมาะสำหรับอนารยชน ขณะนี้องค์กฺฤษฺณทรงพิสูจน์คำดำรัสของพระองค์ต่อสิ่งที่ อรฺชุน ทรงเรียกว่าความเมตตาสงสาร
hato vā prāpsyasi svargaṁ
jitvā vā bhokṣyase mahīm
tasmād uttiṣṭha kaunteya
yuddhāya kṛta-niścayaḥ
หโต วา ปฺราปฺสฺยสิ สฺวรฺคํ
ชิตฺวา วา โภกฺษฺยเส มหีมฺ
ตสฺมาทฺ อุตฺติษฺฐ เกานฺเตย
ยุทฺธาย กฺฤต-นิศฺจยห์
หตห์ — ถูกฆ่า, วา — ไม่ก็, ปฺราปฺสฺยสิ — เธอได้รับ, สฺวรฺคมฺ — อาณาจักรสวรรค์, ชิตฺวา — ด้วยชัยชนะ, วา — หรือ, โภกฺษฺยเส — เธอมีความสุข, มหีมฺ — โลก, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, อุตฺติษฺฐ — ลุกขึ้น, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, ยุทฺธาย — ต่อสู้, กฺฤต — ความมั่นใจ, นิศฺจยห์ — แน่นอน
คำแปล
โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี เธออาจถูกสังหารในสมรภูมิและไปสู่สรวงสวรรค์ หรืออาจได้รับชัยชนะและมีความสุขกับอาณาจักรโลก ฉะนั้นจงลุกขึ้นมาสู้ด้วยความมั่นใจ
คำอธิบาย
ถึงแม้ยังไม่แน่นอนว่า อรฺชุน จะทรงเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ แต่พระองค์ทรงต้องสู้แม้ถูกสังหารก็จะเสด็จไปสู่สรวงสวรรค์
sukha-duḥkhe same kṛtvā
lābhālābhau jayājayau
tato yuddhāya yujyasva
naivaṁ pāpam avāpsyasi
สุข-ทุห์เข สเม กฺฤตฺวา
ลาภาลาเภา ชยาชเยา
ตโต ยุทฺธาย ยุชฺยสฺว
ไนวํ ปาปมฺ อวาปฺสฺยสิ
สุข — ความสุข, ทุห์เข — และความทุกข์, สเม — ในความสงบ, กฺฤตฺวา — ทำเช่นนั้น, ลาภ-อลาเภา — ทั้งกำไรและขาดทุน, ชย-อชเยา — ทั้งชัยชนะและพ่ายแพ้, ตตห์ — หลังจาก นั้น, ยุทฺธาย — เพื่อเห็นแก่การต่อสู้, ยุชฺยสฺว — ปฏิบัติ (การต่อสู้), น — ไม่เคย, เอวมฺ — ในทางนี้, ปาปมฺ — ผลแห่งบาป, อวาปฺสฺยสิ — เธอจะได้รับ
คำแปล
เธอจงสู้เพื่อการต่อสู้โดยไม่พิจารณาถึงความสุขหรือความทุกข์ ขาดทุนหรือกำไร ชัยชนะหรือพ่ายแพ้ ด้วยการกระทำเช่นนี้เธอจะไม่ได้รับผลแห่งบาป
คำอธิบาย
บัดนี้องค์ศฺรีกฺฤษฺณตรัสกับ อรฺชุน โดยตรงว่าควรสู้เพื่อการต่อสู้เพราะว่าองค์กฺฤษฺณทรงปรารถนาให้มีสงครามนี้โดยไม่ต้องพิจารณาถึงความสุขหรือความทุกข์ ผลกำไรหรือขาดทุน ชัยชนะหรือพ่ายแพ้ ในกิจกรรมกฺฤษฺณจิตสำนึกทุกสิ่งทุกอย่างกระทำไปเพื่อองค์กฺฤษฺณจึงเป็นจิตสำนึกทิพย์ ดังนั้นจะไม่มีผลกรรมทางวัตถุ ผู้กระทำเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตนเองไม่ว่าในความดีหรือตัณหาจะต้องได้รับผลดีหรือผลชั่ว แต่ผู้ที่ศิโรราบอย่างสมบูรณ์ในกิจกรรมกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่เป็นหนี้บุญคุณใคร หรือติดหนี้กรรมผู้ใดอีกต่อไปซึ่งไม่เหมือนกับการทำกิจกรรมธรรมดาทั่วไปได้กล่าวไว้ว่า
เทวรฺษิ-ภูตาปฺต-นฺฤณำ ปิตฺฤๅณำ
น กิงฺกโร นายมฺ ฤณี จ ราชนฺ
สรฺวาตฺมนา ยห์ ศรณํ ศรณฺยํ
คโต มุกุนฺทํ ปริหฺฤตฺย กรฺตมฺ
“ผู้ใดที่ศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณ มุกุนฺท อย่างสมบูรณ์ ยกเลิกหน้าที่อื่นทั้งหมดจะไม่ติดหนี้กรรมหรือหนี้บุญคุณผู้ใดอีกต่อไป แม้แต่เทวดา นักบวช บุคคลทั่วไป สังคญาติ มนุษยชาติ หรือบรรพบุรุษ” (ภาควต 11.5.41) นี่คือสิ่งที่องค์กฺฤษฺณทรงเปรยโดยอ้อมแด่ อรฺชุน ในโศลกนี้และจะอธิบายให้ละเอียดในโศลกต่อๆไป
eṣā te ’bhihitā sāṅkhye
buddhir yoge tv imāṁ śṛṇu
buddhyā yukto yayā pārtha
karma-bandhaṁ prahāsyasi
เอษา เต ’ภิหิตา สางฺเขฺย
พุทฺธิรฺ โยเค ตฺวฺ อิมำ ศฺฤณุ
พุทฺธฺยา ยุกฺโต ยยา ปารฺถ
กรฺม-พนฺธํ ปฺรหาสฺยสิ
เอษา — ทั้งหมดนี้, เต — แด่เธอ, อภิหิตา — อธิบาย, สางฺเขฺย — ด้วยการวิเคราะห์ศึกษา, พุทฺธิห์ — ปัญญา, โยเค — ในงานที่ไม่มีผลตอบแทน, ตุ — แต่, อิมามฺ — นี้, ศฺฤณุ — เพียงแต่สดับฟัง, พุทฺธฺยา — ด้วยปัญญา, ยุกฺตห์ — รับเอา, ยยา — ซึ่ง, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, กรฺม-พนฺธมฺ — พันธนาการแห่งผลกรรม, ปฺรหาสฺยสิ — เธอสามารถหลุดพ้น จากมัน
คำแปล
ข้าได้อธิบายความรู้นี้แด่เธอด้วยการวิเคราะห์ศึกษา บัดนี้จงฟัง ข้าจะอธิบายเกี่ยวกับการทำงานโดยไม่หวังผลตอบแทนทางวัตถุ โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา เมื่อปฏิบัติด้วยความรู้เช่นนี้เธอจะสามารถเป็นอิสระจากพันธนาการของงาน
คำอธิบาย
ตาม นิรุกฺติ หรือพจนานุกรมพระเวท สงฺขฺยา หมายถึงการอธิบายสิ่งต่างๆอย่างละเอียด สางฺขฺย หมายถึงปรัชญาที่อธิบายธรรมชาติอันแท้จริงของดวงวิญญาณ และโยคะเกี่ยวกับการควบคุมประสาทสัมผัส คำเสนอของ อรฺชุน ที่จะไม่ต่อสู้มีฐานอยู่ที่การสนองประสาทสัมผัสโดยลืมหน้าที่สำคัญของตน อรฺชุน ไม่ต้องการต่อสู้เพราะคิดว่าการไม่ฆ่าสังคญาติจะทำให้พระองค์ทรงมีความสุขมากกว่าการครองราชหลังจากได้รับชัยชนะจากญาติพี่น้องเหล่าโอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร แนวคิดทั้งสองประการนี้มีฐานอยู่ที่การสนองประสาทสัมผัส ความสุขที่ได้รับจากชัยชนะ และความสุขที่ได้รับจากการเห็นสังคญาติมีชีวิตอยู่ ทั้งสองสิ่งนี้ตั้งอยู่บนฐานแห่งการสนองประสาทสัมผัสตนเองจนกระทั่งสูญเสียปัญญาและละเว้นหน้าที่ ฉะนั้นองค์กฺฤษฺณทรงประสงค์จะอธิบายให้ อรฺชุน เห็นว่าการสังหารร่างกายพระอัยกา ดวงวิญญาณนั้นจะมิได้ถูกสังหารไปด้วย และอธิบายว่ามวลปัจเจกชีวิตรวมทั้งองค์ภควานฺเองเป็นปัจเจกนิรันดร ทั้งหมดเป็นปัจเจกบุคคลในอดีต เป็นปัจเจกบุคคลในปัจจุบัน และยังคงเป็นปัจเจกบุคคลในอนาคต เพราะว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดเป็นปัจเจกดวงวิญญาณนิรันดร เราเพียงแต่เปลี่ยนเครื่องแต่งกายในรูปแบบต่างๆกัน แต่อันที่จริงเรายังคงรักษาความเป็นปัจเจกดวงวิญญาณแม้หลังจากหลุดพ้นจากพันธนาการแห่งเครื่องแต่งกายวัตถุ องค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงอธิบายการวิเคราะห์ศึกษาระหว่างดวงวิญญาณและร่างกายอย่างเห็นภาพได้ชัดเจน ความรู้ที่ทรงอธิบายเกี่ยวกับดวงวิญญาณและร่างกายในแง่มุมต่างๆกันนี้ได้อธิบายที่นี้ว่าเป็น สางฺขฺย ตามพจนานุกรม นิรุกฺติ สงฺขฺยา นี้ไม่มีความสัมพันธ์กับปรัชญา สางฺขฺย ของ กปิล ผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานฺ ก่อนหน้า สางฺขฺย ของ กปิล ตัวปลอมนี้ ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ได้อธิบายถึงปรัชญา สางฺขฺย โดยองค์ภควานฺ กปิล ตัวจริงอวตารขององค์กฺฤษฺณผู้ทรงอธิบายให้พระมารดาเดวะฮูทิ ทรงอธิบายอย่างชัดเจนว่า ปุรุษ หรือองค์ภควานฺทรงตื่นตัว พระองค์ทรงสร้างด้วยการทอดพระเนตรไปที่ ปฺรกฺฤติ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในคัมภีร์พระเวทและใน คีตา คัมภีร์พระเวท อธิบายว่าองค์ภควานฺทรงทอดพระเนตรไปที่ ปฺรกฺฤติ หรือธรรมชาติและทรงทำให้มีครรภ์ด้วยปัจเจกละอองวิญญาณ ปัจเจกวิญญาณทั้งหมดทำงานในโลกวัตถุเพื่อสนองประสาทสัมผัสและภายใต้มนต์สะกดของพลังงานวัตถุทำให้พวกเขาคิดว่าตนเองเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญ แนวคิดเช่นนี้จะถูกลากไปจนถึงจุดสุดท้ายแห่งความหลุดพ้นและเมื่อนั้นสิ่งมีชีวิตต้องการเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควานฺ นี่คือบ่วงสุดท้ายของ มายา หรือความหลงอยู่ในการสนองประสาทสัมผัส และหลังจากการสนองประสาทสัมผัสหลายต่อหลายชาติดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่จะศิโรราบต่อองค์ วาสุเทว ศฺรี กฺฤษฺณ ซึ่งทำให้การค้นหาสัจธรรมสูงสุดประสบผลสำเร็จ
อรฺชุน ทรงยอมรับองค์กฺฤษฺณว่าทรงเป็นพระอาจารย์ทิพย์ด้วยการศิโรราบต่อพระองค์ ศิษฺยสฺ เต ’หํ ศาธิ มำ ตฺวำ ปฺรปนฺนมฺ จากนี้ไปองค์กฺฤษฺณจะทรงตรัสเกี่ยวกับวิธีการทำงานใน พุทฺธิ-โยค หรือ กรฺม-โยค หรืออีกนัยหนึ่ง คือปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้เพื่อสนองประสาทสัมผัสขององค์ภควานฺเท่านั้น พุทฺธิ-โยค นี้บทที่สิบ โศลกที่สิบได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นการสัมพันธ์กับองค์ภควานฺผู้ทรงประทับเป็น ปรมาตฺมา อยู่ในหัวใจของทุกคนโดยตรง แต่การติดต่อสัมพันธ์กันเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นหากปราศจากการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ฉะนั้นบุคคลผู้สถิตในการอุทิศตนเสียสละหรือการรับใช้ด้วยความรักทิพย์แด่องค์ภควานฺในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะบรรลุถึงระดับ พุทฺธิ-โยค นี้ด้วยพระกรุณาธิคุณโดยเฉพาะขององค์ภควานฺ และตรัสว่าผู้ปฏิบัติการอุทิศตนรับใช้ด้วยความรักทิพย์อยู่เสมอเท่านั้น พระองค์จะทรงให้รางวัลความรู้บริสุทธิ์แห่งการอุทิศตนเสียสละในความรักเช่นนี้สาวกจะสามารถบรรลุถึงองค์ภควานฺได้โดยง่ายดายในอาณาจักรของพระองค์ด้วยความปลื้มปีติสุข
ดังนั้น พุทฺธิ-โยค ที่กล่าวไว้ในโศลกนี้คือการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺ และคำว่า สางฺขฺย-โยค ที่กล่าวถึงในที่นี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับ สางฺขฺย-โยค ที่ไม่เชื่อในองค์ภควานฺซึ่ง กปิล ตัวปลอมเป็นผู้ประกาศ ฉะนั้นเราไม่ควรเข้าใจผิดคิดว่า สางฺขฺย-โยค ที่กล่าวในที่นี้มีความสัมพันธ์กับ สางฺขฺย ที่ไม่เชื่อในองค์ภควานฺ หรือปรัชญา สางฺขฺย นี้มีอิทธิพลใดๆในขณะนั้น หรือคิดว่าองค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงเอาใจใส่มาตรัสถึงปรัชญาคาดคะเนที่ไร้องค์ภควานฺ เช่นนี้องค์ กปิล ทรงอธิบายปรัชญา สางฺขฺย ที่แท้จริงไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ แม้ สางฺขฺย นั้นจะไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นในปัจจุบัน สางฺขฺย ในที่นี้หมายถึงการวิเคราะห์อธิบายถึงร่างกายและดวงวิญญาณ องค์กฺฤษฺณทรงวิเคราะห์อธิบายถึงดวงวิญญาณเพื่อนำ อรฺชุน ให้มาถึงจุด พุทฺธิ-โยค หรือ ภกฺติ-โยค ฉะนั้น สางฺขฺย ขององค์กฺฤษฺณ และ สางฺขฺย ของ กปิล ดังที่ได้อธิบายไว้ใน ภาควต เป็นหนึ่งเดียวและเหมือนกัน ทั้งคู่คือ ภกฺติ-โยค ดังนั้นองค์กฺฤษฺณตรัสว่าผู้ด้อยปัญญาเท่านั้นที่เห็นว่า สางฺขฺย-โยค และ ภกฺติ-โยค ไม่เหมือนกัน (สางฺขฺย-โยเคา ปฺฤถคฺ พาลาห์ ปฺรวทนฺติ น ปณฺฑิตาห์)
แน่นอนที่ สางฺขฺย-โยค ที่ไม่เชื่อในองค์ภควานฺจะไม่มีความสัมพันธ์กับ ภกฺติ-โยค แต่ผู้ด้อยปัญญายังอ้างว่า สางฺขฺย-โยค และ ภกฺติ-โยค ที่ไม่เชื่อในองค์ภควานฺได้ถูกอ้างอิงไว้ใน ภควัท-คีตา
ฉะนั้น เราควรเข้าใจว่า พุทฺธิ-โยค หมายถึงการทำงานในกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยความปลื้มปีติสุข และด้วยความรู้อย่างสมบูรณ์ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ผู้ทำงานเพื่อให้องค์ภควานฺทรงพอพระทัยเพียงอย่างเดียวไม่ว่างานนั้นจะยากลำบากแค่ไหนเป็นการทำงานภายใต้หลักธรรมของ พุทฺธิ-โยค และจะพบว่าตนเองอยู่ในความปลื้มปีติสุขทิพย์เสมอ ด้วยการปฏิบัติทิพย์เช่นนี้เขาจะบรรลุความเข้าใจทิพย์ทั้งหมดโดยปริยายด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺ ดังนั้นความหลุดพ้นของเขามีความสมบูรณ์อยู่ในตัวโดยไม่ต้องพยายามเป็นพิเศษเพื่อให้ได้รับความรู้ มีข้อแตกต่างกันมากระหว่างการทำงานในกฺฤษฺณจิตสำนึก และการทำงานเพื่อหวังผลประโยชน์ทางวัตถุ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการสนองประสาทสัมผัสเพื่อบรรลุผลทางครอบครัว หรือความสุขทางวัตถุ ฉะนั้น พุทฺธิ-โยค จึงเป็นคุณสมบัติทิพย์แห่งงานที่เราปฏิบัติ
nehābhikrama-nāśo ’sti
pratyavāyo na vidyate
sv-alpam apy asya dharmasya
trāyate mahato bhayāt
เนหาภิกฺรม-นาโศ ’สฺติ
ปฺรตฺยวาโย น วิทฺยเต
สฺวฺ-อลฺปมฺ อปฺยฺ อสฺย ธรฺมสฺย
ตฺรายเต มหโต ภยาตฺ
น — ไม่มี, อิห — ในโยคะนี้, อภิกฺรม — ในความพยายาม, นาศห์ — สูญเสีย, อสฺติ — มี, ปฺรตฺยวายห์ — ลดน้อยลง, น — ไม่เคย, วิทฺยเต — มี, สุ-อลฺปมฺ — เล็กน้อย, อปิ — ถึงแม้ว่า, อสฺย — นี้, ธรฺมสฺย — อาชีพ, ตฺรายเต — ปลดปล่อย, มหตห์ — จากความยิ่งใหญ่มาก, ภยาตฺ — อันตราย
คำแปล
ความพยายามเช่นนี้ไม่มีการสูญเสียหรือลดน้อยลง และความเจริญบนวิถีทางนี้แม้เพียงเล็กน้อย จะสามารถปกป้องเราจากความกลัวที่มีอันตรายมากที่สุด
คำอธิบาย
กิจกรรมในกฺฤษฺณจิตสำนึก หรือการปฎิบัติเพื่อประโยชน์ขององค์กฺฤษฺณโดยไม่คาดหวังจะสนองประสาทสัมผัสของตนเองเป็นคุณสมบัติทิพย์สูงสุดแห่งการทำงาน แม้เริ่มต้นเพียงเล็กน้อยในกิจกรรมเช่นนี้จะไม่มีอุปสรรคใดขัดขวาง และการเริ่มต้นเพียงเล็กน้อยนี้จะไม่สูญหายไม่ว่าในระดับใด งานที่เริ่มต้นในระดับวัตถุต้องทำให้สมบูรณ์มิฉะนั้นจะถือว่าความพยายามทั้งหมดล้มเหลว แต่งานที่เริ่มทำในกฺฤษฺณจิตสำนึกมีผลที่ถาวรแม้จะไม่สำเร็จสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานนี้ไม่มีการสูญเสียแม้งานที่ทำในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่สมบูรณ์ หนึ่งเปอร์เซ็นต์ที่ทำในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะให้ผลลัพธ์ที่ถาวรเมื่อเริ่มครั้งต่อไปจะเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สอง ขณะที่กิจกรรมในโลกวัตถุหากทำไม่สำเร็จร้อยเปอร์เซ็นต์จะไม่ได้รับผลกำไรอะไรเลย อชามิล ได้ปฏิบัติหน้าที่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ได้รับผลแห่งความสุขหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์เต็มด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺ มีโศลกอันงดงามที่สัมพันธ์กับประเด็นนี้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (1.5.17) ดังนี้
ตฺยกฺตฺวา สฺว-ธรฺมํ จรณามฺพุชํ หเรรฺ
ภชนฺนฺ อปโกฺว ’ถ ปเตตฺ ตโต ยทิ
ยตฺร กฺว วาภทฺรมฺ อภูทฺ อมุษฺย กึ
โก วารฺถ อาปฺโต ’ภชตำ สฺว-ธรฺมตห์
“หากผู้ใดยกเลิกอาชีพของตนแล้วมาทำงานในกฺฤษฺณจิตสำนึก ต่อมาตกลงต่ำโดยทำไม่สำเร็จสมบูรณ์ บุคคลนี้จะไม่สูญเสียอะไรเลย แต่หากเขาปฏิบัติกิจกรรมทางวัตถุอย่างสมบูรณ์แล้วจะได้รับประโยชน์อันใด” ดังเช่นชาวคริสเตียนกล่าวว่า “จะมีประโยชน์อันใดหากมนุษย์ครอบครองได้ทั้งโลก แต่ได้รับความทุกข์ในการสูญเสียดวงวิญญาณอมตะของตนเอง”
กิจกรรมทางวัตถุและผลของมันจบลงพร้อมกับร่างกาย แต่การปฏิบัติงานในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะนำเราไปสู่กฺฤษฺณจิตสำนึกอีกครั้งหนึ่งแม้หลังจากสูญเสียร่างกายนี้ไปแล้ว อย่างน้อยจะต้องได้รับโอกาสในชาติหน้าโดยเกิดมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง อาจจะเกิดในครอบครัวพราหมณ์ที่มีวัฒนธรรมสูง หรือเกิดในครอบครัวที่ร่ำรวยเพื่อได้รับโอกาสทำความเจริญสืบต่อไป นี่คือคุณสมบัติเฉพาะสำหรับงานปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก
vyavasāyātmikā buddhir
ekeha kuru-nandana
bahu-śākhā hy anantāś ca
buddhayo ’vyavasāyinām
วฺยวสายาตฺมิกา พุทฺธิรฺ
เอเกห กุรุ-นนฺทน
พหุ-ศาขา หฺยฺ อนนฺตาศฺ จ
พุทฺธโย ’วฺยวสายินามฺ
วฺยวสาย-อาตฺมิกา — แน่วแน่ในกฺฤษฺณจิตสำนึก, พุทฺธิห์ — ปัญญา, เอกา — คนเดียวเท่านั้น, อิห — ในโลกนี้, กุรุ-นนฺทน — โอ้ โอรสที่รักแห่งราชวงค์ กุรุ, พหุ-ศาขาห์ — มีสาขามากมาย, หิ — แน่นอน, อนนฺตาห์ — ไม่จำกัด, จ — เช่นกัน, พุทฺธยห์ — ปัญญา, อวฺยวสายินามฺ — ของผู้ที่ไม่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึก
คำแปล
โอ้ ผู้เป็นที่รักแห่งราชวงศ์ กุรุ บุคคลผู้ที่เดินอยู่บนหนทางสายนี้มีเป้าหมายที่แน่วแน่และมีจุดมุ่งหมายเป็นหนึ่ง ปัญญาของผู้ที่ไม่แน่วแน่มั่นคงจะแตกสาขามาก
คำอธิบาย
ความศรัทธาอันมั่นคงในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะทำให้เราเจริญไปถึงความสมบูรณ์สูงสุดแห่งชีวิต เรียกว่าปัญญาแห่ง วฺยวสายาตฺมิกา ใน ไจตนฺย-จริตามฺฤต (มธฺย 22.62) กล่าวไว้ว่า
‘ศฺรทฺธา’-ศพฺเท – วิศฺวาส กเห สุทฺฤฒ นิศฺจย
กฺฤษฺเณ ภกฺติ ไกเล สรฺว-กรฺม กฺฤต หย
ความศรัทธา หมายถึงความเชื่ออย่างมั่นคงในสิ่งที่ประเสริฐ เมื่อปฏิบัติหน้าที่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเราไม่จำเป็นต้องปฏิบัติในความสัมพันธ์กับโลกวัตถุอันเนื่องมาจากพันธกรณีตามประเพณีครอบครัว มนุษยชาติ หรือประเทศชาติ กิจกรรมเพื่อผลประโยชน์เป็นการกระทำตามผลกรรมของเราในอดีตไม่ว่าดีหรือชั่ว เมื่อเราได้ตื่นขึ้นมาในกฺฤษฺณจิตสำนึกเราก็ไม่จำเป็นต้องพยายามเพื่อให้ได้ผลดีในกิจกรรมของเรา หากสถิตในกฺฤษฺณจิตสำนึกแล้วกิจกรรมทั้งหมดจะอยู่ในระดับที่สมบูรณ์ไม่ขึ้นอยู่กับสภาวะคู่ เช่น ความดีหรือความชั่ว ความสมบูรณ์สูงสุดของกฺฤษฺณจิตสำนึกคือการสลัดแนวคิดชีวิตทางวัตถุ ระดับนี้จะบรรลุถึงโดยปริยายเมื่อเราเจริญขึ้นในกฺฤษฺณจิตสำนึก
จุดมุ่งหมายอันแน่วแน่ของบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกมีพื้นฐานอยู่ที่ความรู้ วาสุเทวห์ สรฺวมฺ อิติ ส มหาตฺมา สุ-ทุรฺลภห์ บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกคือดวงวิญญาณดีที่หาได้ยากและเป็นผู้รู้อย่างสมบูรณ์ว่าองค์ วาสุเทว หรือองค์กฺฤษฺณทรงเป็นรากฐานแห่งแหล่งกำเนิดของปรากฏการณ์ทั้งมวล ด้วยการรดน้ำที่รากของต้นไม้เท่ากับเราได้แจกจ่ายน้ำไปที่ใบและกิ่งก้านสาขาโดยปริยาย ฉะนั้นด้วยการปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่ากับเป็นการรับใช้อย่างสูงสุดแด่ทุกๆคน เช่น รับใช้ตัวเราเองครอบครัว สังคม ประเทศชาติ มนุษยชาติ หากองค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงพอพระทัยในการปฏิบัติของเราทุกๆคนก็จะพึงพอใจ
อย่างไรก็ดีการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกทำได้ดีที่สุดภายใต้คำแนะนำที่ถูกต้องของพระอาจารย์ทิพย์ซึ่งเป็นผู้แทนที่เชื่อถือได้ขององค์กฺฤษฺณ ท่านรู้ธรรมชาติของศิษย์และสามารถนำศิษย์ให้ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกได้ ดังนั้นการจะเป็นผู้มีความชำนาญในกฺฤษฺณจิตสำนึกเราต้องปฏิบัติตามผู้แทนขององค์กฺฤษฺณอย่างแน่วแน่ และเราควรน้อมรับคำสั่งสอนของพระอาจารย์ทิพย์ผู้ที่เชื่อถือได้เสมือนเป็นภารกิจแห่งชีวิตของเรา ศฺรีล วิศฺวนาถ จกฺรวรฺตี ฐากุร สอนเราในบทมนต์ที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับพระอาจารย์ทิพย์ดังนี้
ยสฺย ปฺรสาทาทฺ ภควตฺ-ปฺรสาโท
ยสฺยาปฺรสาทานฺ น คติห์ กุโต ’ปิ
ธฺยายนฺ สฺตุวํสฺ ตสฺย ยศสฺ ตฺริ-สนฺธฺยํ
วนฺเท คุโรห์ ศฺรี-จรณารวินฺทมฺ
“การทำให้พระอาจารย์ทิพย์พึงพอใจองค์ภควานฺก็จะทรงพึงพอพระทัย หากพระอาจารย์ทิพย์ไม่พึงพอใจเราจะไม่มีโอกาสได้รับการส่งเสริมมาสู่ระดับแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกได้ ฉะนั้นข้าพเจ้าควรทำสมาธิและสวดมนต์ภาวนาเพื่อพระเมตตาจากพระอาจารย์ทิพย์วันละสามครั้งและแสดงความเคารพอย่างสูงแด่ท่าน”
อย่างไรก็ดี กรรมวิธีทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความรู้อันสมบูรณ์ว่าดวงวิญญาณอยู่เหนือแนวความคิดทางร่างกาย นี่ไม่ใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้นแต่เป็นการปฏิบัติจริงเพื่อไม่เปิดโอกาสให้บุคคลได้สนองประสาทสัมผัส ซึ่งปรากฏออกมาในกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุ ผู้ไม่มีจิตใจที่แน่วแน่มั่นคงจะถูกหันเหไปในกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุต่างๆนานา
yām imāṁ puṣpitāṁ vācaṁ
pravadanty avipaścitaḥ
veda-vāda-ratāḥ pārtha
nānyad astīti vādinaḥ
ยามฺ อิมำ ปุษฺปิตำ วาจํ
ปฺรวทนฺตฺยฺ อวิปศฺจิตห์
เวท-วาท-รตาห์ ปารฺถ
นานฺยทฺ อสฺตีติ วาทินห์
kāmātmānaḥ svarga-parā
janma-karma-phala-pradām
kriyā-viśeṣa-bahulāṁ
bhogaiśvarya-gatiṁ prati
กามาตฺมานห์ สฺวรฺค-ปรา
ชนฺม-กรฺม-ผล-ปฺรทามฺ
กฺริยา-วิเศษ-พหุลำ
โภไคศฺวรฺย-คตึ ปฺรติ
ยามฺ อิมามฺ — ทั้งหมดนี้, ปุษฺปิตามฺ — สำนวนโวหาร, วาจมฺ — คำพูด, ปฺรวทนฺติ — กล่าว, อวิปศฺจิตห์ — ผู้ด้อยปัญญา, เวท-วาท-รตาห์ — ผู้อ้างตนว่าปฏิบัติตามพระเวท, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, น — ไม่เคย, อนฺยตฺ — อื่นๆ, อสฺติ — มี, อิติ — ดังนั้น, วาทินห์ — สนับสนุน, กาม-อาตฺมานห์ — ต้องการสนองประสาทสัมผัส, สฺวรฺค-ปราห์ — จุดมุ่งหมายไปถึงโลกสวรรค์, ชนฺม-กรฺม-ผล-ปฺรทามฺ — ได้ผลเกิดในตระกูลดีและผลดีอื่นๆทางวัตถุ, กฺริยา-วิเศษ — พิธีกรรมอันหรูหรา, พหุลามฺ — ต่างๆ, โภค — ความสุขทางประสาทสัมผัส, ไอศฺวรฺย — และความมั่นคั่ง, คติมฺ — ความก้าวหน้า, ปฺรติ — ไปสู่
คำแปล
บุคคลผู้ด้อยปัญญาจะยึดติดอยู่กับคำพูดสำนวนโวหารในคัมภีร์พระเวทที่แนะนำกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ต่างๆ เช่น เจริญขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์ เกิดในตระกูลดี มีอำนาจ และอื่นๆ จากความปรารถนาเพื่อสนองประสาทสัมผัสและมีชีวิตที่มั่งคั่ง พวกเขาจะกล่าวว่าไม่มีอะไรมากไปกว่านี้
คำอธิบาย
บุคคลทั่วไปไม่ฉลาดเท่าไรนัก และด้วยความอวิชชาของพวกเขาส่วนใหญ่จะยึดติดในกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ที่คัมภีร์พระเวทแนะนำไว้ในบท กรฺม-กาณฺฑ พวกเขาไม่ต้องการอะไรมากไปกว่าข้อเสนอให้สนองประสาทสัมผัสเพื่อหาความเพลิดเพลินในชีวิตบนสวรรค์ที่มีสุรา นารี พร้อมทั้งความมั่งคั่งทางวัตถุอันเป็นปกติธรรมดา คัมภีร์พระเวทแนะนำพิธีบูชาหลายวิธีเพื่อให้ไปสู่สวรรค์โดยเฉพาะพิธีบูชา โชฺยติษฺโฏม ได้กล่าวไว้ว่าผู้ใดปรารถนาความเจริญก้าวหน้าไปสู่สวรรค์ต้องปฏิบัติพิธีบูชาเหล่านี้ และมนุษย์ผู้ด้อยปัญญาคิดว่านี่คือจุดมุ่งหมายทั้งหมดของปรัชญาพระเวท เป็นสิ่งยากลำบากมากสำหรับผู้ที่ด้อยประสบการณ์เหล่านี้จะสถิตด้วยความมั่นใจในการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึก ดังเช่นคนโง่ยึดติดอยู่กับดอกไม้ของต้นที่มีพิษโดยไม่รู้ถึงผลแห่งการยึดติดนี้ บุคคลผู้ไม่รู้แจ้งสนุกสนานอยู่กับความมั่งคั่งแห่งสวรรค์และหาความสุขทางประสาทสัมผัสก็เช่นเดียวกัน
ในบท กรฺม-กาณฺฑ ของคัมภีร์พระเวท ได้กล่าวไว้ว่า อปาม โสมมฺ อมฺฤตา อภูม และ อกฺษยฺยํ ห ไว จาตุรฺมาสฺย-ยาชินห์ สุกฺฤตํ ภวติ หมายความว่า ผู้ปฏิบัติตนเอย่างเคร่งครัดเป็นเวลาสี่เดือนมีสิทธิ์ดื่มเครื่องดื่ม โสม-รส เพื่อเป็นอมตะและมีความสุขตลอดกาล แม้ในโลกนี้บางคนกระตือรือร้นจะดื่ม โสม-รส เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงเหมาะที่จะหาความสุขในการสนองประสาทสัมผัส บุคคลเช่นนี้ไม่มีความศรัทธาที่จะหลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุ และจะยึดมั่นมากกับพิธีการบูชาอย่างหรูหราของพระเวท ส่วนมากเพื่อสนองประสาทสัมผัส และไม่ต้องการอะไรมากไปกว่าความสุขเหมือนชีวิตบนสวรรค์ เข้าใจว่ามีอุทยานชื่อ นนฺทน-กานน สถานที่ซึ่งเปิดโอกาสอย่างดีให้คบหาสมาคมกับนางฟ้าที่สวยสดงดงาม และมีไวน์ โสม-รส ให้ดื่มอย่างเหลือเฟื่อ ความสุขทางร่างกายเช่นนี้ก็คือความใคร่อย่างแน่นอน ดังนั้นจึงมีผู้ยึดติดอย่างจริงจังกับความสุขทางวัตถุที่ไม่ถาวรเช่นนี้เสมือนดั่งตนเองเป็นเจ้าแห่งโลกวัตถุ
bhogaiśvarya-prasaktānāṁ
tayāpahṛta-cetasām
vyavasāyātmikā buddhiḥ
samādhau na vidhīyate
โภไคศฺวรฺย-ปฺรสกฺตานำ
ตยาปหฺฤต-เจตสามฺ
วฺยวสายาตฺมิกา พุทฺธิห์
สมาเธา น วิธียเต
โภค — ความสุขทางวัตถุ, ไอศฺวรฺย — และความมั่งคั่ง, ปฺรสกฺตานามฺ — สำหรับผู้ที่ยึดติด, ตยา — ด้วยสิ่งเหล่านี้, อปหฺฤต-เจตสามฺ — สับสนในใจ, วฺยวสาย-อาตฺมิกา — ความมั่นใจอันแน่วแน่, พุทฺธิห์ — การอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺ, สมาเธา — ในการควบคุมจิตใจ, น — ไม่เคย, วิธียเต — เกิดขึ้น
คำแปล
ในใจของผู้ที่ยึดติดมากอยู่กับความสุขทางประสาทสัมผัสและความมั่งคั่งทางวัตถุ และผู้ที่สับสนอยู่กับสิ่งเหล่านี้ ความมั่นใจอันแน่วแน่ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺจะไม่บังเกิดขึ้น
คำอธิบาย
สมาธิ หมายความว่า “จิตที่ตั้งมั่น” พจนานุกรมพระเวท นิรุกฺติ กล่าวว่า สมฺยคฺ อาธียเต ’สฺมินฺนฺ อาตฺม-ตตฺตฺว-ยาถาตฺมฺยมฺ “เมื่อจิตตั้งมั่นเพื่อให้เข้าใจตนเองเรียกว่าจิตนั้นอยู่ในสมาธิ” สมาธิ จะไม่เกิดขึ้นกับบุคคลผู้ฝักใฝ่ในความสุขทางประสาทสัมผัสวัตถุ หรือผู้ที่สับสนอยู่ในสิ่งอันไม่ถาวรเหล่านี้ พวกเขาถูกลงโทษด้วยขบวนการแห่งพลังงานวัตถุ
trai-guṇya-viṣayā vedā
nistrai-guṇyo bhavārjuna
nirdvandvo nitya-sattva-stho
niryoga-kṣema ātmavān
ไตฺร-คุณฺย-วิษยา เวทา
นิไสฺตฺร-คุโณฺย ภวารฺชุน
นิรฺทฺวนฺโทฺว นิตฺย-สตฺตฺว-โสฺถ
นิโรฺยค-กฺเษม อาตฺมวานฺ
ไตฺร-คุณฺย — เกี่ยวเนื่องกับสามระดับของธรรมชาติวัตถุ, วิษยาห์ — เรื่องนี้, เวทาห์ — วรรณกรรมพระเวท, นิไสฺตฺร-คุณฺยห์ — อยู่เหนือสามระดับของธรรมชาติวัตถุ, ภว — เป็น, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน, นิรฺทฺวนฺทฺวห์ — ปราศจากสภาวะคู่, นิตฺย-สตฺตฺว-สฺถห์ — ในระดับบริสุทธิ์ของความเป็นอยู่ทิพย์, นิโรฺยค-กฺเษมห์ — ปราศจากความคิดเพื่อผลกำไรและสวัสดิภาพ, อาตฺม-วานฺ — สถิตอยู่ในตัว
คำแปล
คัมภีร์พระเวทส่วนใหญ่กล่าวถึงเรื่องสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ โอ้ อรฺชุน จงอยู่เหนือทั้งสามระดับนี้ จงเป็นอิสระจากสภาวะคู่ทั้งปวง และเป็นอิสระจากความวิตกกังวลเพื่อผลกำไรและความปลอดภัยทั้งปวง และจงสถิตในตนเอง
คำอธิบาย
กิจกรรมทางวัตถุทั้งหมดเกี่ยวกับกรรมและผลกรรมในสามระดับของธรรมชาติวัตถุ หมายไว้เพื่อผลประโยชน์ซึ่งเป็นเหตุให้ถูกพันธนาการในโลกวัตถุ คัมภีร์พระเวทส่วนใหญ่จะกล่าวถึงกิจกรรมที่ให้ผลทางวัตถุแล้วจึงค่อยๆพัฒนาผู้คนทั่วไปให้เจริญขึ้นจากสนามแห่งการสนองประสาทสัมผัสมาสู่ระดับทิพย์ อรฺชุน ทรงเป็นทั้งศิษย์และสหายขององค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงได้รับคำแนะนำให้ยกระดับตนเองมาสู่ระดับทิพย์แห่งปรัชญา เวทานฺต ซึ่งในตอนต้นมี พฺรหฺม-ชิชฺญาสา หรือคำถามเกี่ยวกับองค์ภควานฺ สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกวัตถุดิ้นรนด้วยความยากลำบากมากเพื่อความอยู่รอด ดังนั้นหลังจากการสร้างโลกวัตถุองค์ภควานฺทรงให้ปรัชญาพระเวทเพื่อแนะนำวิธีการดำรงชีวิตและขจัดพันธนาการทางวัตถุ พระองค์ทรงให้ปรัชญาพระเวทเพื่อแนะนำวิธีการดำรงชีวิตและขจัดพันธนาการทางวัตถุ เมื่อกิจกรรมเพื่อสนองประสาทสัมผัสชื่อบท กรฺม-กาณฺฑ สิ้นสุดลงก็จะเปิดโอกาสเพื่อความรู้แจ้งทิพย์ในรูปของ อุปนิษทฺ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์พระเวทที่มีหลายเล่ม ดังเช่น ภควัท-คีตา เป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์พระเวทเล่มที่ห้าชื่อ มหาภารต หนังสือ อุปนิษทฺ จึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งชีวิตทิพย์
ตราบใดที่เรายังมีร่างกายวัตถุอยู่จะมีกรรมและผลกรรมในสามระดับทางวัตถุ เราต้องฝึกฝนความอดทนในการเผชิญหน้ากับสภาวะคู่เช่น ความสุขและความทุกข์ ความเย็นและความร้อน และจากการอดทนต่อสภาวะคู่เช่นนี้เราจะได้รับอิสรภาพจากความวิตกกังวลที่มาจากผลกำไรและขาดทุน ระดับทิพย์นี้บรรลุได้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกที่สมบูรณ์เมื่อเราขึ้นอยู่กับพระราชประสงค์อันดีงามขององค์กฺฤษฺณอย่างบริบูรณ์
yāvān artha uda-pāne
sarvataḥ samplutodake
tāvān sarveṣu vedeṣu
brāhmaṇasya vijānataḥ
ยาวานฺ อรฺถ อุท-ปาเน
สรฺวตห์ สมฺปฺลุโตทเก
ตาวานฺ สเรฺวษุ เวเทษุ
พฺราหฺมณสฺย วิชานตห์
ยาวานฺ — ทั้งหมดนั้น, อรฺถห์ — หมายถึง, อุท-ปาเน — ในบ่อน้ำ, สรฺวตห์ — ทุกแง่ทุกมุม, สมฺปฺลุต-อุทเก — ในแหล่งน้ำอันยิ่งใหญ่, ตาวานฺ — เช่นเดียวกัน, สเรฺวษุ — ในทั้งหมด, เวเทษุ — วรรณกรรมพระเวท, พฺราหฺมณสฺย — ของผู้ที่รู้ พฺรหฺมนฺ สูงสุด, วิชานตห์ — ผู้อยู่ในความรู้อันสมบูรณ์
คำแปล
ความปรารถนาทั้งหลายที่ได้มาจากบ่อน้ำเล็กๆ แหล่งน้ำที่ใหญ่จะสามารถตอบสนองได้ในทันที ในทำนองเดียวกันความปรารถนาทั้งปวงในคัมภีร์พระเวทนั้นจะสามารถได้รับการสนองตอบโดยผู้ที่รู้จุดมุ่งหมายอันแท้จริง
คำอธิบาย
พิธีกรรมและการบูชาที่กล่าวไว้ในบท กรฺม-กาณฺฑ ของวรรณกรรมพระเวทมีไว้เพื่อส่งเสริมการค่อยๆพัฒนาความรู้แจ้งแห่งตน และจุดมุ่งหมายของการรู้แจ้งแห่งตนเองได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนในบทที่สิบห้าของ ภควัท-คีตา (15.15) ว่าจุดมุ่งหมายของการศึกษาคัมภีร์พระเวทนั้นเพื่อให้ทราบถึงองค์ศฺรีกฺฤษฺณผู้ทรงเป็นแหล่งกำเนิดแรกของสรรพสิ่ง ดังนั้นการรู้แจ้งตนเองหมายถึงการเข้าใจองค์กฺฤษฺณ และความสัมพันธ์นิรันดรที่เรามีต่อพระองค์ ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีต่อองค์กฺฤษฺณได้กล่าวไว้ในบทที่สิบห้าของ ภควัท-คีตา (15.7) เช่นกันว่าสิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูขอองค์กฺฤษฺณ ฉะนั้นการฟื้นฟูกฺฤษฺณจิตสำนึกของปัจเจกชีวิตจึงเป็นระดับที่สมบูรณ์สูงสุดของวิชาพระเวท ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (3.33.7) ได้ยืนยันไว้ดังต่อไปนี้
อโห พต ศฺว-ปโจ ’โต ครียานฺ
ยชฺ-ชิหฺวาเคฺร วรฺตเต นาม ตุภฺยมฺ
เตปุสฺ ตปสฺ เต ชุหุวุห์ สสฺนุรฺ อารฺยา
พฺรหฺมานูจุรฺ นาม คฺฤณนฺติ เย เต
“โอ้ องค์ภควานฺ บุคคลผู้สวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์แม้เกิดในตระกูลต่ำ เช่น จณฺฑาล (คนกินสุนัข) จะสถิตในระดับสูงสุดแห่งการรู้แจ้งตนเอง บุคคลเช่นนี้ต้องปฏิบัติการบำเพ็ญเพียรและการบูชานานัปการตามพิธีกรรมพระเวท และศึกษาวรรณ กรรมพระเวทมาแล้วหลายต่อหลายครั้งหลังจากได้อาบน้ำในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ทุกแห่งของนักบุญ บุคคลนี้พิจารณาว่าดีที่สุดในครอบครัว อารฺยนฺ”
ดังนั้นเราต้องมีปัญญาพอที่จะเข้าใจจุดมุ่งหมายของพระเวทโดยไม่ยึดติดกับพิธีกรรมเท่านั้น และต้องไม่ปรารถนาจะพัฒนาตนเองไปสู่อาณาจักรสวรรค์เพื่อคุณภาพแห่งการสนองประสาทสัมผัสที่ดีกว่า เป็นไปไม่ได้สำหรับคนธรรมดาทั่วไปในยุคนี้ที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทั้งหมดในพิธีกรรมพระเวทหรือจะศึกษา เวทานฺต และ อุปนิษทฺ อย่างละเอียดถี่ถ้วนเพราะต้องใช้เวลา พลังงาน ความรู้ และทรัพยากรอย่างมากมายเพื่อปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายต่างๆของพระเวท จึงเป็นไปได้ยากมากในยุคนี้ อย่างไรก็ดีจุดประสงค์ที่ดีที่สุดของวัฒนธรรมพระเวทสามารถตอบสนองได้ด้วยการสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานฺ ดังที่ได้แนะนำโดยองค์ ไจตนฺย ผู้จัดส่งมวลวิญญาณที่ตกต่ำ เมื่อนักวิชาการพระเวทผู้ยิ่งใหญ่ชื่อ ปฺรกาศานนฺท สรสฺวตี ถามองค์ ไจตนฺย ว่าทำไมมาสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององภควานฺเหมือนเป็นคนเจ้าอารมณ์ แทนที่จะไปศึกษาปรัชญา เวทานฺต องค์ ไจตนฺย ทรงตอบว่าพระอาจารย์เห็นว่าพระองค์ทรงเบาปัญญายิ่งนัก ดังนั้นท่านจึงขอร้องให้ไปสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ศฺรีกฺฤษฺณ พระองค์จึงทรงทำเช่นนี้และมีความปลื้มปีติสุขเหมือนคนเสียสติ ใน กลิ ยุคนี้ประชาชนส่วนใหญ่เบาปัญญาและไม่พร้อมที่จะศึกษาและเข้าใจปรัชญา เวทานฺต จุดประสงค์ที่ดีที่สุดของปรัชญา เวทานฺต จะได้รับการตอบสนองด้วยการสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานฺอย่างไร้อาบัติ เวทานฺต เป็นคำสุดท้ายของปรัชญาพระเวท ผู้เขียนและผู้รู้ปรัชญา เวทานฺต คือองค์ศฺรี กฺฤษฺณและนัก เวทานฺต สูงสุดคือดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ที่มีความสุขในการสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานฺ นี่คือจุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งความเร้นลับของคัมภีร์พระเวททั้งหมด
karmaṇy evādhikāras te
mā phaleṣu kadācana
mā karma-phala-hetur bhūr
mā te saṅgo ’stv akarmaṇi
กรฺมณฺยฺ เอวาธิการสฺ เต
มา ผเลษุ กทาจน
มา กรฺม-ผล-เหตุรฺ ภูรฺ
มา เต สงฺโค ’สฺตฺวฺ อกรฺมณิ
กรฺมณิ — ในหน้าที่ที่กำหนดไว้, เอว — แน่นอน, อธิการห์ — ถูกต้อง, เต — ของเธอ, มา — ไม่เคย, ผเลษุ — ในผล, กทาจน — ทุกเวลา, มา — ไม่เคย, กรฺม-ผล — ในผลของงาน, เหตุห์ — เหตุ, ภูห์ — มาเป็น, มา — ไม่เคย, เต — ของเธอ, สงฺคห์ — ความยึดติด, อสฺตุ — ควรมี, อกรฺมณิ — ในการไม่ทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้
คำแปล
เธอมีสิทธิ์ในการปฏิบัติหน้าที่ดังที่กำหนดไว้ แต่ไม่มีสิทธิ์ได้รับผลของการกระทำ จงอย่าพิจารณาว่าตัวเองเป็นแหล่งกำเนิดของผลงานที่ทำ และอย่ายึดติดกับการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของเธอ
คำอธิบาย
ณ ที่นี้ พิจารณาได้สามประเด็นคือ หน้าที่ที่กำหนดไว้ การทำงานตามอำเภอใจ และการอยู่เฉยๆ หน้าที่ที่กำหนดไว้คือคำสั่งที่ได้รับให้ทำกิจกรรมตามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุที่ตนได้มา งานตามอำเภอใจหมายถึงงานที่ทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ที่เชื่อถือได้ และการอยู่เฉยๆคือไม่ทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ องค์ภควานฺทรงมิได้แนะนำให้ อรฺชุน ทรงอยู่เฉยๆแต่ให้ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนที่ได้กำหนดไว้โดยไม่ยึดติดกับผลงาน ผู้ที่ยึดติดกับผลของงานก็เป็นต้นเหตุแห่งการทำงานเช่นกัน ดังนั้นเขาจะได้รับความสุขหรือความทุกข์จากผลกรรม
หน้าที่ที่กำหนดไว้แบ่งออกเป็นสามประเภท คือ งานประจำ งานฉุกเฉิน และงานที่ปรารถนา งานประจำคือการปฏิบัติตามข้อบังคับตามคำสั่งของพระคัมภีร์โดยไม่หวังผลเป็นการกระทำในระดับแห่งความดี การทำงานเพื่อหวังผลจะเป็นเหตุแห่งพันธนาการ ดังนั้นงานประเภทนี้ไม่เป็นสิริมงคล ทุกคนมีสิทธิ์พื้นฐานเกี่ยวกับหน้าที่ที่กำหนดไว้ แต่ควรทำโดยไม่ยึดติดกับผล หน้าที่ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียเช่นนี้จะนำเราไปสู่หนทางแห่งอิสรภาพโดยไม่ต้องสงสัย
ฉะนั้นองค์ภควานฺทรงแนะนำ อรฺชุน ให้ต่อสู้ในฐานะที่เป็นหน้าที่โดยไม่ยึดติดกับผล การอยู่เฉยๆของ อรฺชุน ในสนามรบเป็นการยึดติด อีกด้านหนึ่งการยึดติดเช่นนี้จะไม่นำเราไปสู่หนทางแห่งความหลุดพ้น การยึดติดใดๆไม่ว่าจะในเชิงบวกหรือเชิงลบนั้นเป็นเหตุแห่งพันธนาการและการอยู่เฉยๆเป็นบาป ฉะนั้นการต่อสู้ตามหน้าที่จึงเป็นวิถีทางเดียวที่เป็นสิริมงคลเพื่อความหลุดพ้นของ อรฺชุน
yoga-sthaḥ kuru karmāṇi
saṅgaṁ tyaktvā dhanañ-jaya
siddhy-asiddhyoḥ samo bhūtvā
samatvaṁ yoga ucyate
โยค-สฺถห์ กุรุ กรฺมาณิ
สงฺคํ ตฺยกฺตฺวา ธนญฺ-ชย
สิทฺธฺยฺ-อสิทฺโธฺยห์ สโม ภูตฺวา
สมตฺวํ โยค อุจฺยเต
โยค-สฺถห์ — แน่วแน่, กุรุ — ปฏิบัติ, กรฺมาณิ — หน้าที่ของเธอ, สงฺคมฺ — ความยึดติด, ตฺยกฺตฺวา — ยกเลิก, ธนมฺ-ชย — โอ้ อรฺชุน, สิทฺธิ-อสิทฺโธฺยห์ — ในความสำเร็จและล้มเหลว, สมห์ — สมดุล, ภูตฺวา — มาเป็น, สมตฺวมฺ — ความสงบ, โยคห์ — โยคะ, อุจฺยเต — เรียกว่า
คำแปล
จงปฏิบัติหน้าที่ของเธอด้วยความแน่วแน่ โอ้ อรฺชุน สลัดการยึดติดต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวทั้งปวง ความสงบอันมั่นคงเช่นนี้เรียกว่า โยคะ
คำอธิบาย
องค์กฺฤษฺณทรงตรัสแด่ อรฺชุน ว่าควรปฏิบัติโยคะ และโยคะที่ว่านี้คืออะไร โยค หมายถึงการตั้งสมาธิจิตอยู่ที่บุคลิกภาพสูงสุดด้วยการควบคุมประสาทสัมผัสที่คอยรบกวนอยู่เสมอ และใครคือบุคลิกภาพสูงสุด บุคลิกภาพสูงสุดคือองค์ภควานฺ เพราะว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ตรัสสั่งให้ อรฺชุน ต่อสู้ อรฺชุน จึงไม่เกี่ยวข้องกับผลของการต่อสู้ ผลกำไรหรือชัยชนะเป็นความรับผิดชอบขององค์กฺฤษฺณ อรฺชุน เพียงแต่ได้รับคำแนะนำให้ปฏิบัติตามคำสั่งขององค์กฺฤษฺณ การปฏิบัติตามคำสั่งขององค์กฺฤษฺณ คือ โยคะที่แท้จริง และวิธีการปฏิบัติเช่นนี้เรียกว่า กฺฤษฺณจิตสำนึก ด้วยกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้นเราจึงจะสามารถยกเลิกความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของ เราต้องมาเป็นผู้รับใช้ขององค์กฺฤษฺณ หรือมาเป็นผู้รับใช้ของผู้รับใช้ขององค์กฺฤษฺณ นี่คือวิธีที่ถูกต้องในการปฏิบัติหน้าที่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่สามารถช่วยให้เราได้ปฏิบัติโยคะ
อรฺชุน ทรงเป็น กฺษตฺริย ดังนั้นจึงร่วมอยู่ในสถาบัน วรฺณาศฺรม-ธรฺม ได้กล่าวไว้ใน วิษฺณุ ปุราณ ว่าจุดมุ่งหมายทั้งหมดใน วรฺณาศฺรม-ธรฺม คือการทำให้พระวิษฺณุทรงพอพระทัย ไม่มีใครควรทำให้ตนเองพึงพอใจเหมือนกฏเกณฑ์ในโลกวัตถุ แต่เราควรทำให้องค์กฺฤษฺณทรงพอพระทัย ดังนั้นเราต้องทำให้องค์กฺฤษฺณทรงพอพระทัยมิฉะนั้นเราก็จะไม่สามารถปฏิบัติตามหลัก วรฺณาศฺรม-ธรฺม อย่างถูกต้องได้ ในทางอ้อม อรฺชุน ทรงได้รับคำแนะนำให้ปฏิบัติตามที่องค์กฺฤษฺณทรงสั่ง
dūreṇa hy avaraṁ karma
buddhi-yogād dhanañ-jaya
buddhau śaranam anviccha
kṛpaṇāḥ phala-hetavaḥ
ทูเรณ หฺยฺ อวรํ กรฺม
พุทฺธิ-โยคาทฺ ธนญฺ-ชย
พุทฺเธา ศรนมฺ อนฺวิจฺฉ
กฺฤปณาห์ ผล-เหตวห์
ทูเรณ — ละทิ้งไปให้ไกล, หิ — แน่นอน, อวรมฺ — น่ารังเกียจ, กรฺม — กิจกรรม, พุทฺธิ-โยคาตฺ — ด้วยพลังของกฺฤษฺณจิตสำนึก, ธนมฺ-ชย — โอ้ ผู้ชนะความร่ำรวย, พุทฺเธา — ในจิตสำนึกเช่นนี้, ศรณมฺ — ศิโรราบอย่างสมบูรณ์, อนฺวิจฺฉ — พยายามเพื่อ, กฺฤปณาห์ — คนโลภ, ผล-เหตวห์ — ผู้ปรารถนาผลทางวัตถุ
คำแปล
โอ้ ธนญฺชย เธอจงละทิ้งการกระทำอันน่ารังเกียจนี้ไปให้ไกลแสนไกลด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้ และด้วยจิตสำนึกเช่นนี้จงศิโรราบต่อองค์ภควาน ผู้ใดที่ปรารถนาจะหาความสุขจากผลงานของตนเองนั้นเป็นคนโลภ
คำอธิบาย
ผู้ที่เข้าใจสถานภาพพื้นฐานของตนเองอย่างแท้จริงว่าเป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์ภควานฺจะยกเลิกกิจกรรมอื่นๆทั้งหมดนอกจากการทำงานในกฺฤษฺณจิตสำนึก ดังที่อธิบายไว้แล้วว่า พุทฺธิ-โยค หมายถึงการรับใช้ทิพย์แด่องค์ภควานฺด้วยความรัก การอุทิศตนเสียสละรับใช้เช่นนี้เป็นวิธีการทำงานที่ถูกต้องของสิ่งมีชีวิต คนโลภเท่านั้นที่ปรารถนาจะหาความสุขกับผลงานของตนเองซึ่งทำให้ถูกพันธนาการทางวัตถุมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการทำงานในกฺฤษฺณจิตสำนึกแล้วกิจกรรมอื่นทั้งหลายเป็นที่น่ารังเกียจ เพราะว่าจะผูกมัดผู้กระทำให้เวียนว่ายอยู่ในวัฏจักรแห่งการเกิดและการตายตลอดไป ฉะนั้นเราไม่ควรปรารถนาที่จะเป็นต้นเหตุของงาน ทุกสิ่งทุกอย่างควรทำไปในกฺฤษฺณจิตสำนึกเพื่อให้องค์กฺฤษฺณทรงพอพระทัย คนโลภไม่รู้ว่าเขาควรใช้ทรัพย์สินความร่ำรวยที่ตนได้มาอันเนื่องมาจากความโชคดี หรือจากการทำงานหนักอย่างไร เราควรใช้พลังงานทั้งหมดทำงานในกฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งจะทำให้ชีวิตเราประสบความสำเร็จ ไม่เหมือนกับคนโลภผู้อับโชคที่ไม่รู้จักใช้พลังงานมนุษย์ในการรับใช้องค์ภควานฺ
buddhi-yukto jahātīha
ubhe sukṛta-duṣkṛte
tasmād yogāya yujyasva
yogaḥ karmasu kauśalam
พุทฺธิ-ยุกฺโต ชหาตีห
อุเภ สุกฺฤต-ทุษฺกฺฤเต
ตสฺมาทฺ โยคาย ยุชฺยสฺว
โยคห์ กรฺมสุ เกาศลมฺ
พุทฺธิ-ยุกฺตห์ — ผู้ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้, ชหาติ — สามารถขจัด, อิห — ในชีวิตนี้, อุเภ — ทั้งคู่, สุกฺฤต-ทุษฺกฺฤเต — ผลดีและผลเลว, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, โยคาย — เพื่อเห็นแก่การอุทิศตนเสียสละรับใช้, ยุชฺยสฺว — ปฏิบัติงานเช่นนั้น, โยคห์ — กฺฤษฺณจิตสำนึก, กรฺมสุ — ในกิจกรรมทั้งมวล, เกาศลมฺ — ศิลปะ
คำแปล
บุคคลผู้ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้จะทำให้ตนเองหลุดพ้นไปจากผลกรรมทั้งดีและชั่วแม้ในชาตินี้ ฉะนั้น จงสู้เพื่อโยคะซึ่งเป็นศิลปะแห่งการทำงานทั้งปวง
คำอธิบาย
แต่ละชีวิตได้สะสมผลกรรมต่างๆทั้งดีและชั่วนับตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ เมื่อเป็นเช่นนี้เราจึงอยู่ในอวิชชาตลอดเวลาเกี่ยวกับสถานภาพพื้นฐานอันแท้จริงของเรา อวิชชานี้สามารถขจัดออกไปได้ด้วยคำสั่งสอนของ ภควัท-คีตา ที่สอนให้เราศิโรราบต่อองค์ศฺรีกฺฤษฺณในทุกๆด้าน และมีอิสรภาพจากโซ่ตรวนในการเป็นเหยื่อแห่งกรรมและผลกรรมชาติแล้วชาติเล่า ดังนั้น อรฺชุน ทรงได้รับคำแนะนำให้ปฏิบัติงานในกฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้บริสุทธิ์จากผลกรรม
karma-jaṁ buddhi-yuktā hi
phalaṁ tyaktvā manīṣiṇaḥ
janma-bandha-vinirmuktāḥ
padaṁ gacchanty anāmayam
กรฺม-ชํ พุทฺธิ-ยุกฺตา หิ
ผลํ ตฺยกฺตฺวา มนีษิณห์
ชนฺม-พนฺธ-วินิรฺมุกฺตาห์
ปทํ คจฺฉนฺตฺยฺ อนามยมฺ
กรฺม-ชมฺ — เนื่องมาจากกิจกรรมเพื่อหวังผล, พุทฺธิ-ยุกฺตาห์ — ปฏิบัติในการอุทิศตนรับใช้, หิ — แน่นอน, ผลมฺ — ผลงาน, ตฺยกฺตฺวา — ยกเลิก, มนีษิณห์ — นักปราชณ์ผู้ยิ่งใหญ่หรือสาวก, ชนฺม-พนฺธ — จากพันธนาการแห่งการเกิดและการตาย, วินิรฺมุกฺตาห์ — อิสรภาพ, ปทมฺ — ตำแหน่ง, คจฺฉนฺติ — พวกเขาบรรลุถึง, อนามยมฺ — ไม่มีความทุกข์
คำแปล
ด้วยการปฏิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่หรือสาวกนั้นทำให้ตนเองได้รับอิสรภาพจากผลกรรมในโลกวัตถุ ซึ่งเท่ากับได้รับอิสรภาพจากวัฏจักรแห่งการเกิดและการตาย และบรรลุถึงระดับที่อยู่เหนือความทุกข์ทั้งปวง (ด้วยการกลับคืนสู่องค์ภควานฺ)
คำอธิบาย
สิ่งมีชีวิตผู้หลุดพ้นอยู่ ณ สถานที่ที่ไม่มีความทุกข์ทางวัตถุ ภาควต (10.14.58) กล่าวว่า
สมาษฺริตา เย ปท-ปลฺลว-ปฺลวํ
มหตฺ-ปทํ ปุณฺย-ยโศ มุราเรห์
ภวามฺพุธิรฺ วตฺส-ปทํ ปรํ ปทํ
ปทํ ปทํ ยทฺ วิปทำ น เตษามฺ
“สำหรับผู้ที่ยอมรับเอาพระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานฺมาเป็นนาวา องค์ภควานฺผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสิ่งที่ปรากฏอยู่ในจักรวาลทรงมีชื่อเสียงในพระนาม มุกุนฺท หรือผู้ให้ มุกฺติ (ความหลุดพ้น) ทำให้มหาสมุทรแห่งโลกวัตถุกลายมาเป็นน้ำที่อยู่ในรอยเท้าของลูกวัว ปรํ ปทมฺ คือสถานที่ที่ไม่มีความทุกข์ทางวัตถุ หรือ ไวกุณฺฐ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายไม่ใช่สถานที่ที่มีภยันตรายอยู่ทุกฝีก้าวในชีวิต”
เนื่องด้วยอวิชชาทำให้เราไม่รู้ว่าโลกวัตถุนี้เป็นสถานที่ที่มีความทุกข์และมีภยันตรายอยู่ทุกฝีก้าว ความอวิชชาเท่านั้นที่ทำให้ผู้ด้อยปัญญาพยายามปรับสถานการณ์ด้วยกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุโดยคิดว่าผลแห่งการกระทำเช่นนี้จะทำให้ตนเองมีความสุข โดยไม่รู้ว่าไม่มีร่างกายวัตถุชนิดใดไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนภายในจักรวาลวัตถุนี้จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่มีความทุกข์ ความทุกข์ในชีวิต เช่น การเกิด การตาย ความแก่ และโรคภัยต่างๆมีอยู่ทุกหนทุกแห่งภายในโลกวัตถุ แต่ผู้ที่เข้าใจสถานภาพพื้นฐานอันแท้จริงของตนเองว่าเป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์ภควานฺ และทราบถึงสถานภาพของบุคลิกภาพแห่งองค์ภควานฺจะปฏิบัติตนรับใช้พระองค์ด้วยความรักทิพย์ หลังจากนั้นเราจะเป็นผู้มีคุณวุฒิที่จะเข้าไปในโลก ไวกุณฺฐ สถานที่ที่ทุกชีวิตไม่มีความทุกข์ทางวัตถุ และไม่มีอิทธิพลของเวลาและความตาย การทราบถึงสถานภาพพื้นฐานของตัวเรา หมายถึงการทราบสถานภาพอันประเสริฐขององค์ภควานฺเช่นกัน ผู้ที่คิดผิดๆว่าสถานภาพของสิ่งมีชีวิตและสถานภาพขององค์ภควานฺอยู่ในระดับเดียวกัน ผู้นั้นอยู่ในความมืดมนอย่างแน่นอน ดังนั้นเขาจะไม่สามารถปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์ภควานฺได้ แต่จะพยายามเป็นองค์ภควานฺเสียเองซึ่งเป็นการปูทางเพื่อวัฏจักรแห่งการเกิดและการตาย ผู้ที่เข้าใจว่าสถานภาพของตนคือผู้รับใช้และหันมารับใช้องค์ภควานฺเขาจะมีสิทธิ์เข้าไปสู่ ไวกุณฺฐ-โลก ทันที การรับใช้องค์ภควานฺ เรียกว่า กรฺม-โยค หรือ พุทฺธิ-โยค หรือในคำพูดง่ายๆคือการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์ภควานฺ
yadā te moha-kalilaṁ
buddhir vyatitariṣyati
tadā gantāsi nirvedaṁ
śrotavyasya śrutasya ca
ยทา เต โมห-กลิลํ
พุทฺธิรฺ วฺยติตริษฺยติ
ตทา คนฺตาสิ นิเรฺวทํ
โศฺรตวฺยสฺย ศฺรุตสฺย จ
ยทา — เมื่อ, เต — ของเธอ, โมห — ความหลง, กลิลมฺ — ป่าทึบ, พุทฺธิห์ — การรับใช้ทิพย์ด้วยปัญญา, วฺยติตริษฺยติ — ข้ามพ้น, ตทา — ในเวลานั้น, คนฺตา อสิ — ท่านจะไป, นิเรฺวทมฺ — ไม่แตกต่าง, โศฺรตวฺยสฺย — ไปสู่ทั้งหมดที่จะได้ยิน, ศฺรุตสฺย — ทั้งหมดที่ได้ยินมาแล้ว, จ — เช่นกัน
คำแปล
เมื่อสติปัญญาของเธอได้ผ่านออกมาจากป่าทึบแห่งความหลง เธอจะเป็นกลางต่อสิ่งที่ได้ยินมาแล้วทั้งหมด และสิ่งที่จะได้ยินทั้งหมด
คำอธิบาย
มีตัวอย่างที่ดีมากมายในชีวิตสาวกผู้ยิ่งใหญ่ขององค์ภควานฺ ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์ภควานฺทำให้ท่านไม่สนใจใยดีต่อพิธีกรรมของพระเวท เมื่อผู้ใดเข้าใจองค์กฺฤษฺณ และความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับองค์กฺฤษฺณอย่างแท้จริง โดยธรรมชาติเขาจะไม่สนใจกับพิธีกรรมเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุ แม้จาก พฺราหฺมณ ผู้มีประสบการณ์ ศฺรี มาธเวนฺทฺร ปุรี สาวกและอารชารยะผู้ยิ่งใหญ่ในสายของสาวกกล่าวว่า
สนฺธฺยา-วนฺทน ภทฺรมฺ อสฺตุ ภวโต โภห์ สฺนาน ตุภฺยํ นโม
โภ เทวาห์ ปิตรศฺ จ ตรฺปณ-วิเธา นาหํ กฺษมห์ กฺษมฺยตามฺ
ยตฺร กฺวาปิ นิษทฺย ยาทว-กุโลตฺตํสสฺย กํส-ทฺวิษห์
สฺมารํ สฺมารมฺ อฆํ หรามิ ตทฺ อลํ มเนฺย กิมฺ อเนฺยน เม
“โอ้ การสวดมนต์ของข้าวันละสามครั้ง จงเจริญ! โอ้ ข้าขอแสดงความเคารพแด่การอาบน้ำ โอ้ เทวดา โอ้ บรรพบุรุษ โปรดให้อภัยแด่ข้าที่ไม่สามารถแสดงความเคารพแด่ท่าน ไม่ว่าจะนั่งอยู่ที่ไหนข้าจะระลึกถึงแต่ผู้สืบราชวงศ์อันยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์ ยทุ (กฺฤษฺณ) ผู้เป็นศัตรูของ กํส เช่นนี้ทำให้ข้าปราศจากพันธนาการแห่งบาปทั้งมวล ข้าคิดว่าเท่านี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับตัวข้า”
พิธีกรรมต่างๆของพระเวทบังคับใช้สำหรับนวกะ เช่น การทำความเข้าใจกับบทมนต์ทั้งหมดวันละสามครั้ง การอาบน้ำในตอนเช้า การแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษ เป็นต้น หากเราอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์และปฏิบัติตนรับใช้องค์ภควานฺด้วยความรักทิพย์ เราจะไม่สนใจใยดีต่อกฎเกณฑ์เหล่านี้เพราะว่าเราได้บรรลุถึงความสมบูรณ์แล้ว หากสามารถบรรลุถึงระดับความเข้าใจด้วยการรับใช้องค์ภควานฺศฺรีกฺฤษฺณเราไม่จำเป็นต้องปฏิบัติการบำเพ็ญเพียร และการบูชาต่างๆที่แนะนำไว้ในพระคัมภีร์อีกต่อไป ในทำนองเดียวกันหากว่าเราไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายของพระเวทว่าให้เข้าถึงองค์กฺฤษฺณและมัวแต่ปฏิบัติตามพิธีกรรมต่างๆ เราจะสูญเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์กับการปฎิบัติสิ่งเหล่านั้น บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกข้ามพ้นขีดจำกัดของ ศพฺท-พฺรหฺม หรือขอบเขตแห่งพระเวทและ อุปนิษทฺ
śruti-vipratipannā te
yadā sthāsyati niścalā
samādhāv acalā buddhis
tadā yogam avāpsyasi
ศฺรุติ-วิปฺรติปนฺนา เต
ยทา สฺถาสฺยติ นิศฺจลา
สมาธาวฺ อจลา พุทฺธิสฺ
ตทา โยคมฺ อวาปฺสฺยสิ
ศฺรุติ — ประทีปแห่งพระเวท, วิปฺรติปนฺนา — โดยไม่ถูกอิทธิพลแห่งผลทางวัตถุ, เต — ของเธอ, ยทา — เมื่อ, สฺถาสฺยติ — คงอยู่, นิศฺจลา — ไม่เคลื่อนที่, สมาเธา — ในจิตสำนึกทิพย์ หรือ กฺฤษฺณจิตสำนึก, อจลา — ความแน่วแน่, พุทฺธิห์ — ปัญญา, ตทา — ในเวลานั้น, โยคมฺ — ความรู้แจ้งตนเอง, อวาปฺสฺยสิ — เธอจะบรรลุผล
คำแปล
เมื่อจิตใจของเธอไม่ถูกรบกวนจากสำนวนโวหารของคัมภีร์พระเวท และเมื่อจิตของเธอตั้งมั่นอยู่ในสมาธิเพื่อความรู้แจ้งแห่งตน เมื่อนั้นเธอได้บรรลุถึงจิตสำนึกทิพย์แล้ว
คำอธิบาย
เมื่อกล่าวว่าบุคคลนี้อยู่ในสมาธิ หรือ สมาธิ หมายความว่าผู้นั้นมีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างบริบูรณ์ ผู้อยู่ใน สมาธิ ที่สมบูรณ์รู้แจ้งถึง พฺรหฺมนฺ ปรมาตฺมา และ ภควานฺ ความสมบูรณ์สูงสุดแห่งการรู้แจ้งแห่งตน คือการเข้าใจอย่างถูกต้องว่าตนเองเป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์กฺฤษฺณ ภารกิจเดียวของตนคือการปฏิบัติหน้าที่ในกฺฤษฺณจิตสำนึก บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกหรือสาวกผู้มีความมั่นคงต่อองค์ภควานฺจะไม่ถูกรบกวนจากสำนวนโวหารของคัมภีร์พระเวท หรือไปปฏิบัติกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุให้เจริญขึ้นไปสู่สวรรค์ ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเรามีความสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณโดยตรงและคำแนะนำทั้งหมดขององค์กฺฤษฺณ เราอาจเข้าใจได้จากระดับทิพย์นี้ด้วยการกระทำเช่นนี้เรามั่นใจได้ว่าจะบรรลุผลและได้รับความรู้ที่แท้จริงอย่างแน่นอน เราเพียงแต่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งขององค์กฺฤษฺณหรือพระอาจารย์ทิพย์ซึ่งเป็นผู้แทนของพระองค์
arjuna uvāca
sthita-prajñasya kā bhāṣā
samādhi-sthasya keśava
sthita-dhīḥ kiṁ prabhāṣeta
kim āsīta vrajeta kim
อรฺชุน อุวาจ
สฺถิต-ปฺรชฺญสฺย กา ภาษา
สมาธิ-สฺถสฺย เกศว
สฺถิต-ธีห์ กึ ปฺรภาเษต
กิมฺ อาสีต วฺรเชต กิมฺ
อรฺชุนห์ อุวาจ — อรฺชุน ตรัส, สฺถิต-ปฺรชฺญสฺย — ของผู้ที่สถิตในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างมั่นคง, กา — อะไร, ภาษา — ภาษา, สมาธิ-สฺถสฺย — ของผู้ที่สถิตในสมาธิ, เกศว — โอ้ กฺฤษฺณ, สฺถิต-ธีห์ — ผู้ที่ตั้งมั่นในกฺฤษฺณจิตสำนึก, กิมฺ — อะไร, ปฺรภาเษต — พูด, กิมฺ — อย่างไร, อาสีต — คงอยู่เหมือนเดิม, วฺรเชต — เดิน, กิมฺ — อย่างไร
คำแปล
อรฺชุน ตรัสว่า โอ้ กฺฤษฺณ บุคคลที่จิตสำนึกซึมซาบอยู่กับองค์ภควานฺจะมีลักษณะอาการเช่นไร เขาจะพูดอย่างไร และจะใช้ภาษาอะไร เขาจะนั่ง และจะเดินอย่างไร
คำอธิบาย
ดังที่ทุกคนมีลักษณะอาการเฉพาะตนในสถานการณ์เฉพาะของตน ผู้ที่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกก็มีธรรมชาติเฉพาะตนก็เช่นเดียวกัน เช่น การพูด การเดิน การคิด และความรู้สึก เป็นต้น คนรวยจะมีลักษณะอาการที่ส่อให้เห็นว่าเขาเป็นคนรวย คนเป็นโรคมีอาการที่แสดงให้รู้ว่าเขาเป็นโรค คนได้รับการศึกษาสูงก็มีลักษณะอาการของตน ดังนั้นผู้ที่มีจิตสำนึกทิพย์แห่งกฺฤษฺณก็มีลักษณะอาการเฉพาะตัวในการกระทำสิ่งต่างๆ เราสามารถทราบลักษณะอาการเฉพาะตัวนี้ได้จาก ภควัท-คีตา สิ่งสำคัญที่สุดคือผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจะพูดอย่างไร เพราะการพูดเป็นคุณสมบัติสำคัญที่สุดของมนุษย์ ได้กล่าวไว้ว่าคนโง่จะไม่มีใครรู้ถ้าหากเขาไม่พูด และคนโง่ที่แต่งตัวดีจะไม่มีใครรู้นอกจากเขาพูด ทันทีที่พูดออกมาเขาจะเปิดเผยตัวตนออกมา ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดเจนของผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกคือเขาจะพูดถึงแต่องค์กฺฤษฺณและเรื่องราวที่เกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณเท่านั้น ลักษณะอาการอื่นๆก็จะตามมาโดยปริยายดังจะกล่าวต่อไป
śrī-bhagavān uvāca
prajahāti yadā kāmān
sarvān pārtha mano-gatān
ātmany evātmanā tuṣṭaḥ
sthita-prajñas tadocyate
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
ปฺรชหาติ ยทา กามานฺ
สรฺวานฺ ปารฺถ มโน-คตานฺ
อาตฺมนฺยฺ เอวาตฺมนา ตุษฺฏห์
สฺถิต-ปฺรชฺญสฺ ตโทจฺยเต
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัส, ปฺรชหาติ — ยกเลิก, ยทา — เมื่อ, กามานฺ — ปรารถนาเพื่อสนองประสาทสัมผัส, สรฺวานฺ — ของสิ่งต่างๆทั้งหมด, ปารฺถ — โอ้ โอรสของพระนาง ปฺฤถา, มนห์-คตานฺ — การคาดคะเนทางจิตใจ, อาตฺมนิ — ในระดับที่บริสุทธิ์ของดวงวิญญาณ, เอว — แน่นอน, อาตฺมนา — ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์, ตุษฺฏห์ — พึงพอใจ, สฺถิต-ปฺรชฺญห์ — สถิตอยู่เหนือโลก, ตทา — ในเวลานั้น, อุจฺยเต — ถูกกล่าวไว้
คำแปล
บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัสว่า โอ้ ปารฺถ เมื่อบุคคลยกเลิกความปรารถนานานับปการเพื่อสนองประสาทสัมผัส ซึ่งเกิดขึ้นจากการคาดคะเนของจิต และเมื่อจิตบริสุทธิ์ขึ้นเขาจะพบแต่ความพึงพอใจในตนเองเท่านั้น กล่าวไว้ว่าบุคคลผู้นี้มีจิตสำนึกทิพย์ที่บริสุทธิ์
คำอธิบาย
ภาควต ยืนยันว่าบุคคลใดที่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ หรือมีการอุทิศตนรับใช้องค์ภควานฺจะมีคุณสมบัติที่ดีทั้งหมดของนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ในขณะที่ผู้ที่ไม่ได้สถิตในระดับทิพย์นี้จะไม่มีคุณสมบัติที่ดีเลยอย่างแน่นอน เพราะว่าเขาจะพึ่งแต่การคาดคะเนทางจิตใจของตนเอง ดังนั้นจึงกล่าวได้อย่างถูกต้อง ณ ที่นี้ว่าเราต้องยกเลิกความต้องการทางประสาทสัมผัสทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นจากการคาดคะเนของจิตใจ ความต้องการทางประสาทสัมผัสนี้ไม่สามารถหยุดอย่างผิดธรรมชาติได้ แต่ทันทีที่เราเริ่มปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกความต้องการทางประสาทสัมผัสจะลดลงโดยปริยายโดยไม่ต้องพยายามเป็นพิเศษ ฉะนั้นเราจะต้องปฏิบัติตนในกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยไม่ลังเล เพราะการอุทิศตนเสียสละรับใช้นี้จะช่วยนำเราไปสู่ระดับจิตสำนึกทิพย์ทันที จิตวิญญาณที่พัฒนาสูงแล้วจะมีความพึงพอใจในตนเองเสมอด้วยจิตสำนึกที่ว่าตนเองเป็นผู้รับใช้ขององค์ภควานฺ บุคคลผู้สถิตในระดับทิพย์เช่นนี้จะไม่มีความต้องการทางประสาทสัมผัสอันเนื่องมาจากลัทธิวัตถุนิยมที่ไม่สำคัญ แต่เขาจะมีความสุขอยู่เสมอในสภาวะธรรมชาติแห่งการรับใช้องค์ภควานฺนิรันดร
duḥkheṣv anudvigna-manāḥ
sukheṣu vigata-spṛhaḥ
vīta-rāga-bhaya-krodhaḥ
sthita-dhīr munir ucyate
ทุห์เขษฺวฺ อนุทฺวิคฺน-มนาห์
สุเขษุ วิคต-สฺปฺฤหห์
วีต-ราค-ภย-โกฺรธห์
สฺถิต-ธีรฺ มุนิรฺ อุจฺยเต
ทุห์เขษุ — ในความทุกข์สามคำรบ, อนุทฺวิคฺน-มนาห์ — ไม่มีความวุ่นวายภายในใจ, สุเขษุ — ในความสุข, วิคต-สฺปฺฤหห์ — ไม่มีความสนใจ, วีต — เป็นอิสระจาก, ราค — ความยึดติด, ภย — ความกลัว, โกฺรธห์ — และความโกรธ, สฺถิต-ธีห์ — ผู้ที่มีจิตใจมั่นคง, มุนิห์ — นักปราชญ์, อุจฺยเต — เรียกว่า
คำแปล
ผู้ที่จิตใจไม่ถูกรบกวนแม้ท่ามกลางความทุกข์สามคำรบ หรือไม่มีความปิติเมื่อได้รับความสุข และเป็นอิสระจากความยึดติด ความกลัว และความโกรธ ได้ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์ผู้มีจิตใจมั่นคง
คำอธิบาย
คำว่า มุนิ หมายถึงผู้ที่สามารถรบกวนจิตใจตนเองด้วยวิธีต่างๆจากการคาดคะเนทางจิตโดยไม่มีข้อสรุปอย่างแท้จริง กล่าวไว้ว่า มุนิ ทุกรูปมีมุมมองที่แตกต่างกันหากไม่มีมุมมองที่ต่างจาก มุนิ อื่นจะเรียกว่าเป็น มุนิ ไม่ได้ ตามคำนิยาม นาสาวฺ ฤษิรฺ ยสฺย มตํ น ภินฺนมฺ (มหาภารต, วน-ปรฺว 313.117) แต่ สฺถิต-ธีรฺ มุนิ ที่องค์ภควานฺตรัส ณ ที่นี้แตกต่างจาก มุนิ ทั่วไป สฺถิต-ธีรฺ มุนิ อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเสมอเพราะได้เสร็จสิ้นจากภารกิจการคาดคะเนสร้างสรรค์ทั้งปวง ท่านได้ชื่อว่า ปฺรศานฺต-นิห์เศษ-มโน-รถานฺตร (โสฺตตฺร-รตฺน 43) หรือผู้ที่ข้ามพ้นระดับแห่งการคาดคะเนทางจิตใจ และได้ผลสรุปว่าองค์ศฺรีกฺฤษฺณ หรือ วาสุเทว คือทุกสิ่งทุกอย่าง (วาสุเทวห์ สรฺวมฺ อิติ ส มหาตฺมา สุ-ทุรฺลภห์) ท่านได้ชื่อว่า มุนิ ผู้มีจิตใจมั่นคง ผู้ที่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์เช่นนี้จะไม่ถูกรบกวนจากการรุกรานของความทุกข์สามคำรบเพราะท่านน้อมรับความทุกข์ทั้งหมดว่าเป็นพระเมตตาขององค์ภควานฺ และคิดว่าตนเองควรได้รับทุกข์ทรมานมากกว่านี้อันเนื่องมาจากกรรมเก่า และยังเห็นอีกว่าด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺที่ทำให้ความทุกข์ได้รับการลดโทษจนถึงขีดต่ำสุด ลักษณะเดียวกันเมื่อได้รับความสุขท่านจะส่งมอบให้แด่องค์ภควานฺ และคิดว่าตนเองไม่ควรค่ากับความสุขนี้ สำนึกว่าด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺเท่านั้นทีท่านจึงได้มาอยู่ในสภาวะที่สะดวกสบายเช่นนี้ และทำให้สามารถปฏิบัติรับใช้พระองค์ได้ดียิ่งขึ้น สำหรับการรับใช้องค์ภควานฺท่านจะมีความกล้าหาญและตื่นตัวเสมอโดยไม่มีอิทธิพลของการยึดติดหรือการไม่ยึดติดใดๆมาครอบงำ การยึดติด หมายถึงยอมรับเอาบางสิ่งเพื่อสนองประสาทสัมผัส และการไม่ยึดติด คือปราศจากการยึดติดกับการสนองประสาทสัมผัสเช่นนี้ แต่ผู้ที่ตั้งมั่นในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่มีทั้งการยึดติดและการไม่ยึดติด เพราะท่านได้อุทิศชีวิตเพื่อการรับใช้องค์ภควานฺเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีความโกรธเลยแม้ว่าความพยายามจะไม่ประสบผลสำเร็จ บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะมีความมั่นใจอยู่เสมอไม่ว่าจะได้รับความสำเร็จหรือความล้มเหลว
yaḥ sarvatrānabhisnehas
tat tat prāpya śubhāśubham
nābhinandati na dveṣṭi
tasya prajñā pratiṣṭhitā
ยห์ สรฺวตฺรานภิเสฺนหสฺ
ตตฺ ตตฺ ปฺราปฺย ศุภาศุภมฺ
นาภินนฺทติ น เทฺวษฺฏิ
ตสฺย ปฺรชฺญา ปฺรติษฺฐิตา
ยห์ — ผู้ซึ่ง, สรฺวตฺร — ทุกหนทุกแห่ง, อนภิเสฺนหห์ — ไม่มีความรัก, ตตฺ — นั้น, ตตฺ — นั้น, ปฺราปฺย — ได้รับ, ศุภ — ดี, อศุภมฺ — ชั่ว, น — ไม่เคย, อภินนฺทติ — สรรเสริญ, น — ไม่เคย, เทฺวษฺฏิ — อิจฉา, ตสฺย — ของเขา, ปฺรชฺญา — ความรู้ที่สมบูรณ์, ปฺรติษฺฐิตา — มั่นคง
คำแปล
ในโลกวัตถุนี้ ผู้ที่ไม่เสน่หาต่อสิ่งดีหรือชั่วที่ตนเองอาจได้รับ ทั้งไม่ยกย่องหรือเหยียดหยาม ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความแน่วแน่มั่นคงในความรู้อันสมบูรณ์
คำอธิบาย
จะมีการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในโลกวัตถุอยู่เสมอซึ่งอาจจะดีหรือเลว ผู้ที่ไม่ถูกรบกวนจากการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุเช่นนี้เป็นผู้ที่ไม่เสน่หากับความดีหรือความชั่วเข้าใจได้ว่าเป็นผู้มีความมั่นคงในกฺฤษฺณจิตสำนึก ตราบใดที่เรายังอยู่ในโลกวัตถุจะมีทั้งดีและชั่วอยู่เสมอเพราะว่าโลกใบนี้เต็มไปด้วยสภาวะคู่ แต่ผู้ที่มั่นคงในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่เสน่หากับความดีหรือความชั่ว เพราะเขาสนใจแต่องค์กฺฤษฺณผู้ทรงไว้ซึ่งความดีทั้งหมดอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์เท่านั้น จิตสำนึกในกฺฤษฺณเช่นนี้จะสถิตตนเองให้อยู่ในสภาวะทิพย์โดยสมบูรณ์ เรียกตามศัพท์เทคนิคว่า สมาธิ
yadā saṁharate cāyaṁ
kūrmo ’ṅgānīva sarvaśaḥ
indriyāṇīndriyārthebhyas
tasya prajñā pratiṣṭhitā
ยทา สํหรเต จายํ
กูรฺโม ’งฺคานีว สรฺวศห์
อินฺทฺริยาณีนฺทฺริยารฺเถภฺยสฺ
ตสฺย ปฺรชฺญา ปฺรติษฺฐิตา
ยทา — เมื่อ, สํหรเต — ม้วนกลับ, จ — เช่นกัน, อยมฺ — เขา, กูรฺมห์ — เต่า, องฺคานิ — แขน ขา, อิว — เหมือน, สรฺวศห์ — ทั้งหมด, อินฺทฺริยาณิ — ประสาทสัมผัสต่างๆ, อินฺทฺริย-อรฺเถภฺยห์ — จากอายตะภายนอก, ตสฺย — ของเขา, ปฺรชฺญา — จิตสำนึก, ปฺรติษฺฐิตา — มั่นคง
คำแปล
ผู้ที่สามารถดึงประสาทสัมผัสของตนเองให้กลับมาจากอายตนะภายนอก ดังเช่นเต่าที่หดแขนขาเข้าไว้ในกระดอง เป็นผู้ที่มีความแน่วแน่มั่นคงในจิตสำนึกที่สมบูรณ์
คำอธิบาย
การทดสอบโยคี สาวก หรือดวงวิญญาณผู้รู้แจ้งแห่งตน คือเขาจะสามารถควบคุมประสาทสัมผัสตามแผนของตนเองได้ อย่างไรก็ดี คนส่วนใหญ่จะเป็นทาสของประสาทสัมผัสจึงให้ประสาทสัมผัสเป็นผู้นำทาง นี่คือคำตอบต่อคำถามที่ว่าโยคีนั้นสถิตอย่างไร ประสาทสัมผัสเปรียบเสมือนงูพิษที่ต้องการทำอะไรตามอำเภอใจอย่างไร้กฎเกณฑ์ โยคี หรือสาวกจะต้องเข็มแข็งมากในการควบคุมงูเหมือนกับหมองูผู้ไม่ยอมปล่อยให้งูเลื้อยไปอย่างอิสระ มีกฎเกณฑ์มากมายในพระคัมภีร์ที่เปิดเผยบ้างเป็นข้อห้าม บ้างเป็นข้อปฏิบัติ นอกจากว่าเราสามารถจะทำตามข้อห้ามและข้อปฏิบัติและควบคุมตนเองจากความสุขทางประสาทสัมผัสนั้นได้ มิฉะนั้นก็จะเป็นไปไม่ได้ที่จะมีความแน่วแน่มั่นคงในกฺฤษฺณจิตสำนึก ตัวอย่างที่ดีที่สุด ณ ที่นี้คือเต่า ไม่ว่าในขณะใดเต่าสามารถหดประสาทสัมผัสของตนเองให้เข้ามาอยู่ภายในกระดองและยืดออกมาใหม่เมื่อต้องการใช้งาน ทำนองเดียวกันประสาทสัมผัสของบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกนั้นจะใช้เฉพาะในจุดมุ่งหมายเพื่อรับใช้องค์ภควานฺเท่านั้นมิฉะนั้นก็จะดึงกลับมา อรฺชุน ทรงได้รับคำสั่งสอน ณ ที่นี้ว่าให้ใช้ประสาทสัมผัสของพระองค์เพื่อรับใช้องค์ภควานฺ แทนที่จะใช้เพื่อความพึงพอใจของตนเอง การรักษาประสาทสัมผัสไว้เพื่อรับใช้องค์ภควานฺอยู่เสมอ คือตัวอย่างเปรียบเทียบกับเต่าที่สามารถรักษาประสาทสัมผัสของตนเองไว้ให้อยู่ภายในได้
viṣayā vinivartante
nirāhārasya dehinaḥ
rasa-varjaṁ raso ’py asya
paraṁ dṛṣṭvā nivartate
วิษยา วินิวรฺตนฺเต
นิราหารสฺย เทหินห์
รส-วรฺชํ รโส ’ปฺยฺ อสฺย
ปรํ ทฺฤษฺฏฺวา นิวรฺตเต
วิษยาห์ — อาตนะภายนอกเพื่อความสุขทางประสาทสัมผัส, วินิวรฺตนฺเต — ฝึกฝนเพื่อให้ละเว้นจาก, นิราหารสฺย — ด้วยข้อห้ามเชิงลบ, เทหินห์ — สำหรับร่างกาย, รส-วรฺชมฺ — ยกเลิกรส, รสห์ — ความสุขทางประสาทสัมผัส, อปิ — ถึงแม้ว่าจะมี, อสฺย — ของเขา, ปรมฺ — สิ่งที่สูงส่งกว่ามาก, ทฺฤษฺฏฺวา — โดยประสบการณ์, นิวรฺตเต — เขาหยุดจาก
คำแปล
ดวงวิญญาณในร่างอาจถูกควบคุมจากความสุขทางประสาทสัมผัส แม้รสของอายตนะภายนอกยังคงอยู่ แต่หยุดการกระทำเช่นนี้ได้ด้วยการได้สัมผัสกับรสที่สูงกว่าจะทำให้เขามีความมั่นคงในจิตสำนึก
คำอธิบาย
นอกจากว่าเราจะสถิตในระดับทิพย์มิฉะนั้นก็จะเป็นไปไม่ได้ที่จะหยุดแสวงหาความสุขทางประสาทสัมผัส วิธีการควบคุมความสุขทางประสาทสัมผัสด้วยกฎเกณฑ์เหมือนกับการจำกัดอาหารบางชนิดสำหรับผู้ป่วย อย่างไรก็ดีคนป่วยไม่ชอบทั้งการควบคุมและการสูญเสียรสอาหาร ในทำนองเดียวกันการจำกัดประสาทสัมผัสด้วยวิธีปฏิบัติธรรม เช่น อษฺฏางฺค-โยค ในเรื่องของ ยม, นิยม, อาสน, ปฺราณายาม, ปฺรตฺยาหาร, ธารณา, ธฺยาน ฯลฯ แนะนำไว้สำหรับผู้ด้อยปัญญาที่ไม่รู้อะไรดีไปกว่านี้ แต่สำหรับผู้ที่ได้รับรสแห่งความสง่างามของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าศฺรีกฺฤษฺณในขณะที่เจริญก้าวหน้าในกฺฤษฺณจิตสำนึก จะไม่มีรสสำหรับสิ่งของวัตถุที่ตายซากอีกต่อไป ฉะนั้นข้อจำกัดมีไว้สำหรับนวกะผู้ด้อยปัญญาเพื่อให้ชีวิตก้าวหน้าในวิถีทิพย์ แต่การจำกัดเช่นนี้จะเป็นผลดีจนกระทั่งเราได้รับรสอันแท้จริงในกฺฤษฺณจิตสำนึก เมื่อมีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างแท้จริงเราจะสูญเสียรสชาติในสิ่งที่ตายซากไปโดยปริยาย
yatato hy api kaunteya
puruṣasya vipaścitaḥ
indriyāṇi pramāthīni
haranti prasabhaṁ manaḥ
ยตโต หฺยฺ อปิ เกานฺเตย
ปุรุษสฺย วิปศฺจิตห์
อินฺทฺริยาณิ ปฺรมาถีนิ
หรนฺติ ปฺรสภํ มนห์
ยตตห์ — ขณะที่พยายาม, หิ — แน่นอน, อปิ — ถึงแม้ว่า, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, ปุรุษสฺย — ของมนุษย์, วิปศฺจิตห์ — เต็มไปด้วยความรู้ที่แยกแยะ, อินฺทฺริยาณิ — ประสาทสัมผัส, ปฺรมาถีนิ — เร่าร้อน, หรนฺติ — โยน, ปฺรสภมฺ — โดยการบังคับ, มนห์ — จิตใจ
คำแปล
โอ้ อรฺชุน ประสาทสัมผัสนั้นรุนแรงและรวดเร็วมากจนสามารถบังคับนำพาจิตใจให้เตลิดเปิดเปิงไป แม้จิตใจของผู้มีดุลยพินิจที่พยามยามควบคุมมัน
คำอธิบาย
มีนักบุญผู้คงแก่เรียน นักปราชญ์ และนักทิพย์นิยมมากมายที่พยายามเอาชนะประสาทสัมผัส แต่ถึงจะพยายามอย่างไรแม้แต่ผู้ที่เก่งกาจที่สุดบางครั้งยังพ่ายแพ้ตกลงมาเสพสุขทางประสาทสัมผัสวัตถุอันเนื่องมาจากจิตใจที่หวั่นไหว แม้แต่ วิศฺวามิตฺร ผู้เป็นทั้งนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่และโยคีที่สมบูรณ์ได้ถูกนางเมนะคายั่วยวนให้ไปเสพสุขทางเพศ ถึงแม้ว่าโยคีพยายามที่จะควบคุมประสาทสัมผัสด้วยการบำเพ็ญเพียรอย่างหนักและฝึกโยคะด้วยวิธีการต่างๆ และแน่นอนว่ายังมีตัวอย่างคล้ายคลึงกันนี้อีกมากในประวัติศาสตร์โลก ฉะนั้นจึงเป็นการยากมากที่จะควบคุมจิตใจและประสาทสัมผัสโดยไม่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ หากไม่ใช้จิตใจทำสมาธิอยู่ที่องค์กฺฤษฺณ เราก็จะไม่สามารถหยุดกิจกรรมทางวัตถุได้ ศฺรี ยามุนาจารฺย นักบุญและสาวกผู้ยิ่งใหญ่ได้ให้ตัวอย่างเชิงปฏิบัติดังนี้
ยทฺ-อวธิ มม เจตห์ กฺฤษฺณ-ปาทารวินฺเท
นว-นว-รส-ธามนฺยฺ อุทฺยตํ รนฺตุมฺ อาสีตฺ
ตทฺ-อวธิ พต นารี-สงฺคเม สฺมรฺยมาเน
ภวติ มุข-วิการห์ สุษฺฐุ นิษฺฐีวนํ จ
“ตั้งแต่นำจิตใจมาปฏิบัติรับใช้พระบาทรูปดอกบัวขององค์ศฺรีกฺฤษฺณ อาตมาได้รับความสุขในอารมณ์ทิพย์ที่สดใหม่อยู่เสมอ เมื่อใดที่เริ่มคิดถึงเรื่องเพศสัมพันธ์กับผู้หญิง อาตมาจะเมินหน้าหนีทันที และถ่มน้ำลายให้กับความคิดเช่นนี้”
กฺฤษฺณจิตสำนึกมีความสวยงามแบบทิพย์จนทำให้ความสุขทางวัตถุหมดรสชาติไปโดยปริยาย เหมือนกับคนที่หิวโหยเมื่อได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารในปริมาณที่เพียงพอจะรู้สึกพึงพอใจ มหาราช อมฺพรีษ ทรงได้รับชัยชนะจากโยคีผู้ยิ่งใหญ่ ดุรวาสา มุนิ เพียงเพราะว่าจิตใจของพระองค์ทรงปฏิบัติอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึก (ส ไว มนห์ กฺฤษฺณ-ปทารวินฺทโยรฺ วจำสิ ไวกุณฺฐ-คุณานุวรฺณเน)
tāni sarvāṇi saṁyamya
yukta āsīta mat-paraḥ
vaśe hi yasyendriyāṇi
tasya prajñā pratiṣṭhitā
ตานิ สรฺวาณิ สํยมฺย
ยุกฺต อาสีต มตฺ-ปรห์
วเศ หิ ยเสฺยนฺทฺริยาณิ
ตสฺย ปฺรชฺญา ปฺรติษฺฐิตา
ตานิ — ประสาทสัมผัสเหล่านี้, สรฺวาณิ — ทั้งหมด, สํยมฺย — อยู่ภายใต้การควบคุม, ยุกฺตห์ — ใช้, อาสีต — ควรสถิต, มตฺ-ปรห์ — ในความสัมพันธ์กับข้า (กฺฤษฺณ) , วเศ — ในการปรามอย่างสมบูรณ์, หิ — แน่นอน, ยสฺย — ผู้ซึ่ง, อินฺทฺริยาณิ — ประสาทสัมผัส, ตสฺย — ของเขา, ปฺรชฺญา — จิตสำนึก, ปฺรติษฺฐิตา — ตั้งมั่น
คำแปล
บุคคลผู้ที่สามารถปรามประสาทสัมผัสของตนเอง รักษาให้อยู่ภายใต้การควบคุมได้อย่างสมบูรณ์ และตั้งมั่นจิตสำนึกอยู่ที่ข้า ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีปัญญามั่นคง
คำอธิบาย
แนวคิดสูงสุดแห่งความสมบูรณ์ของโยคะ คือ กฺฤษฺณจิตสำนึก ซึ่งได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนในโศลกนี้ นอกจากว่าเราจะมีกฺฤษฺณจิตสำนึกมิฉะนั้นจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะควบคุมประสาทสัมผัสไว้ได้ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าดุรวาสา มุนิ ผู้ยิ่งใหญ่มีเรื่องบาดหมางกับ มหาราช อมฺพรีษ ดุรวาสา มุนิ เกิดโมโหโดยไม่ใช่เหตุด้วยความทะนงตน และจึงไม่สามารถควบคุมประสาทสัมผัสของตนเองได้ อีกด้านหนึ่ง กฺษตฺริย แม้จะไม่ใช่โยคีหรือเป็นผู้มีฤทธิ์ เช่น มุนิ แต่ทรงเป็นสาวกขององค์ภควานฺ ทรงอดทนและนิ่งเฉยต่อความไม่ยุติธรรมของ มุนิ จนได้รับชัยชนะ เป็นเพราะ กฺษตฺริย ทรงสามารถควบคุมประสาทสัมผัสของพระองค์ไว้ได้ ได้กล่าวถึงคุณสมบัติที่ดีใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (9.4.18-20) ดังต่อไปนี้
ส ไว มนห์ กฺฤษฺณ-ปทารวินฺทโยรฺ
วจำสิ ไวกุณฺฐ-คุณานุวรฺณเน
กเรา หเรรฺ มนฺทิร-มารฺชนาทิษุ
ศฺรุตึ จการาจฺยุต-สตฺ-กโถทเย
มุกุนฺท-ลิงฺคาลย-ทรฺศเน ทฺฤเศา
ตทฺ-ภฺฤตฺย-คาตฺร-สฺปรฺเศ ’งฺค-สงฺคมมฺ
ฆฺราณํ จ ตตฺ-ปาท-สโรช-เสารเภ
ศฺรีมตฺ-ตุลสฺยา รสนำ ตทฺ-อรฺปิเต
ปาเทา หเรห์ เกฺษตฺร-ปทานุสรฺปเณ
ศิโร หฺฤษีเกศ-ปทาภิวนฺทเน
กามํ จ ทาเสฺย น ตุ กาม-กามฺยยา
ยโถตฺตม-โศฺลก-ชนาศฺรยา รติห์
“กฺษตฺริย อมฺพรีษ ทรงตั้งมั่นจิตใจของพระองค์อยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวขององค์ศฺรีกฺฤษฺณ ทรงใช้พระราชดำรัสอธิบายถึงอาณาจักรขององค์ภควานฺ ทรงใช้พระหัตถ์ทำความสะอาดวัดขององค์ภควานฺ ทรงใช้พระกรรณสดับฟังลีลาขององค์ภควานฺ ทรงใช้พระเนตรดูรูปลักษณ์ขององค์ภควานฺ ทรงใช้พระวรกายสัมผัสร่างของสาวก ทรงใช้พระนาสิกดมกลิ่นดอกไม้ที่ถวายให้พระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานฺ ทรงใช้พระชิวหาลิ้มรสใบ ตุลสี ที่ถวายให้องค์ภควานฺ ทรงใช้พระบาทเดินทางไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีวัดขององค์ภควานฺ ทรงใช้พระเศียรถวายความเคารพแด่องค์ภควานฺ และทรงใช้พระราชประสงค์เพื่อให้พระราชประสงค์ขององค์ภควานฺสมปรารถนา และคุณสมบัติทั้งหมดนี้ทรงทำให้ กฺษตฺริย อมฺพรีษ เหมาะสมที่จะเป็นสาวก มตฺ-ปร ขององค์ภควานฺ”
คำว่า มตฺ-ปร มีความสำคัญมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ เราจะเป็น มตฺ-ปร ได้อย่างไรนั้นได้อธิบายไว้ในชีวิตของ มหาราช อมฺพรีษ ศฺรีล วิทฺยาภูษณ นักวิชาการและอาชรยะผู้ยิ่งใหญ่ในสายของ มตฺ-ปร กล่าวว่า มทฺ-ภกฺติ-ปฺรภาเวน สเรฺวนฺทฺริย-วิชย-ปูรฺวิกา สฺวาตฺม-ทฺฤษฺฏิห์ สุ-ลเภติ ภาวห์ “ประสาทสัมผัสสามารถควบคุมได้อย่างสมบูรณ์ด้วยพลังแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์กฺฤษฺณเท่านั้น” บางครั้งได้ให้ไฟไว้เป็นตัวอย่างเช่นกันว่า “เสมือนดั่งเปลวไฟเผาไหม้ทุกสิ่งทุกอย่างภายในห้อง พระวิษฺณุผู้ทรงสถิตในหัวใจของโยคีจะทรงเผาผลาญทุกสิ่งทุกอย่างที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งหมด” โยค-สูตฺร ได้อธิบายการทำสมาธิที่พระวิษฺณุ เช่นกันว่ามิใช่เป็นการทำสมาธิอยู่กับสิ่งที่ว่างเปล่า ผู้ที่สมมติว่าเป็นโยคีทำสมาธิอยู่กับบางสิ่งที่ไม่ใช่พระวิษฺณุจะเสียเวลาของตนไปโดยเปล่าประโยชน์ในการค้นหาสิ่งที่เป็นภาพหลอน เราต้องมีกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยการอุทิศตนให้แด่บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า นี่คือจุดมุ่งหมายของโยคะที่แท้จริง
dhyāyato viṣayān puṁsaḥ
saṅgas teṣūpajāyate
saṅgāt sañjāyate kāmaḥ
kāmāt krodho ’bhijāyate
ธฺยายโต วิษยานฺ ปุํสห์
สงฺคสฺ เตษูปชายเต
สงฺคาตฺ สญฺชายเต กามห์
กามาตฺ โกฺรโธ ’ภิชายเต
ธฺยายตห์ — ขณะที่จิตจดจ่อ, วิษยานฺ — อายตนะภายนอก, ปุํสห์ — ของบุคคล, สงฺคห์ — ความยึดติด, เตษุ — ในอายตนะภายนอก, อุปชายเต — พัฒนา, สงฺคาตฺ — จากการยึดติด, สญฺชายเต — พัฒนา, กามห์ — ความต้องการ, กามาตฺ — จากความต้องการ, โกฺรธห์ — ความโกรธ, อภิชายเต — ปรากฏออกมา
คำแปล
ขณะที่จิตใจจดจ่ออยู่ในรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส ผู้นั้นก็จะเกิดความยึดติดต่อสิ่งเหล่านั้น จากการยึดติดราคะเริ่มก่อตัว และจากราคะความโกรธก็ตามมา
คำอธิบาย
ผู้ที่ไม่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจะต้องตกอยู่ภายใต้ความต้องการทางวัตถุ ขณะที่จิตใจจดจ่ออยู่ที่รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส ประสาทสัมผัสจำเป็นต้องปฏิบัติงาน ถ้าหากว่าประสาทสัมผัสมิได้ปฏิบัติงานรับใช้องค์ภควานฺด้วยความรักทิพย์ ประสาทสัมผัสจะแสวงหางานรับใช้ลัทธิวัตถุนิยมอย่างแน่นอน ในโลกวัตถุทุกๆคนรวมทั้งพระศิวะและพระพรหม โดยเราไม่ต้องกล่าวถึงเทวดาองค์อื่นๆบนสวรรค์ ล้วนอยู่ภายใต้อิทธิพลของรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส มีวิธีเดียวเท่านั้นที่จะทำให้เราออกจากปัญหาทางโลกวัตถุนี้ คือการมาปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึก พระศิวะทรงเข้าฌานอย่างลึกซึ้งแต่เมื่อพระนาง ปารฺวตี มายั่วยวนพระองค์เพื่อความสุขทางประสาทสัมผัส พระศิวะทรงคล้อยตาม ผลก็คือ การฺติเกย ได้กำเนิดออกมา เมื่อ หริทาส ฐากุร สาวกหนุ่มขององค์ภควานฺถูกยั่วยวนในลักษณะเดียวกัน โดยอวตารของ มายา-เทวี แต่ หริทาส สามารถผ่านการทดสอบไปได้อย่างง่ายดาย เพราะว่าท่านได้อุทิศตนเสียสละแด่องค์ศฺรี กฺฤษฺณด้วยความบริสุทธิ์ใจ ดังที่ได้กล่าวไว้ในโศลกของ ศฺรี ยามุนาจารฺย สาวกขององค์ภควานฺผู้มีความจริงใจจะสามารถหลีกเลี่ยงความสุขทางประสาทสัมผัสทั้งหมดได้ เนื่องจากได้รับรสความสุขทิพย์ที่สูงกว่าในความสัมพันธ์กับองค์ภควานฺ นี่คือเคล็ดลับแห่งความสำเร็จ ฉะนั้นผู้ที่ไม่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่ว่าจะมีพลังอำนาจมากมายเพียงใดในการควบคุมประสาทสัมผัสด้วยการเก็บกดอย่างผิดธรรมชาติ ในที่สุดก็จะต้องล้มเหลวอย่างแน่นอนเพราะแม้แต่เสี้ยวแห่งความคิดเพื่อความสุขทางประสาทสัมผัสจะทำให้เขาหวั่นไหวไปกับการสนองความต้องการนั้น
krodhād bhavati sammohaḥ
sammohāt smṛti-vibhramaḥ
smṛti-bhraṁśād buddhi-nāśo
buddhi-nāśāt praṇaśyati
โกฺรธาทฺ ภวติ สมฺโมหห์
สมฺโมหาตฺ สฺมฺฤติ-วิภฺรมห์
สฺมฺฤติ-ภฺรํศาทฺ พุทฺธิ-นาโศ
พุทฺธิ-นาศาตฺ ปฺรณศฺยติ
โกฺรธาตฺ — จากความโกรธ, ภวติ — เกิดขึ้น, สมฺโมหห์ — ความหลงที่สมบูรณ์, สมฺโมหาตฺ — จากความหลง, สฺมฺฤติ — ของความจำ, วิภฺรมห์ — ความสับสน, สฺมฺฤติ-ภฺรํศาตฺ — หลัง จากความจำสับสน, พุทฺธิ-นาศห์ — สูญเสียปัญญา, พุทฺธิ-นาศาตฺ — และจากการสูญเสีย ปัญญา, ปฺรณศฺยติ — เขาตกต่ำลง
คำแปล
จากความโกรธความหลงงมงายเกิดขึ้น จากความหลงงมงายทำให้ความจำเกิดความสับสน เมื่อความจำสับสนปัญญาก็จะสูญเสียไป และเมื่อปัญญาได้สูญเสียไป เขาก็จะตกต่ำลงไปในสระวัตถุอีกครั้งหนึ่ง
คำอธิบาย
ศฺรีล รูป โคสฺวามี ให้คำแนะนำเราดังนี้
ปฺราปญฺจิกตยา พุทฺธฺยา
หริ-สมฺพนฺธิ-วสฺตุนห์
มุมุกฺษุภิห์ ปริตฺยาโค
ไวราคฺยํ ผลฺคุ กถฺยเต
(ภกฺติ-รสามฺฤต-สินฺธุ 1.2.258)
ด้วยการพัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึกเราจึงสามารถรู้ได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างสามารถนำมาใช้สอยเพื่อประโยชน์ในการรับใช้องค์ภควานฺ ผู้ที่ไม่มีความรู้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งของวัตถุอย่างผิดธรรมชาติ ผลก็คือแม้จะต้องการเสรีภาพจากพันธนาการทางวัตถุเพียงใดก็จะไม่สามารถบรรลุถึงระดับความสมบูรณ์แห่งการเสียสละได้ สิ่งที่เรียกว่าการเสียสละของพวกเขาเรียกว่า ผลฺคุ หรือสำคัญน้อย อีกด้านหนึ่งบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกทราบว่าควรจะใช้ทุกสิ่งทุกอย่างในการรับใช้องค์ภควานฺได้อย่างไร ฉะนั้นท่านไม่มาเป็นผู้พ่ายแพ้แก่จิตสำนึกทางวัตถุ ดังตัวอย่างของผู้ที่ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ และเข้าใจว่าองค์ภควานฺ หรือสัจธรรมทรงไม่มีรูปลักษณ์ จึงไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ขณะที่ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์พยายามหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดีๆ สาวกทราบว่าองค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญสูงสุด พระองค์ทรงเสวยทุกสิ่งทุกอย่างที่เราถวายให้พระองค์ด้วยการอุทิศตนเสียสละ ฉะนั้นหลังจากการถวายเครื่องเสวยอันประณีตแด่องค์ภควานฺแล้วสาวกจะรับประทานส่วนที่เหลือซึ่งเรียกว่า ปฺรสาทมฺ ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างจึงกลายเป็นทิพย์และไม่มีอันตรายที่จะทำให้ตกต่ำลง สาวกรับประทาน ปฺรสาทมฺ ในกฺฤษฺณจิตสำนึกขณะที่ผู้ไม่ใช่สาวกปฏิเสธว่าเป็นวัตถุ ฉะนั้นผู้ที่ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ไม่สามารถมีความสุขในชีวิตอันเนื่องมาจากการเสียสละที่ผิดธรรมชาติ และด้วยเหตุนี้ความหวั่นไหวทางจิตใจเพียงเล็กน้อยจะดึงเขาให้ตกต่ำลงไปในสระแห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุอีกครั้ง ได้กล่าวไว้ว่าจิตวิญญาณนี้ถึงแม้จะเจริญขึ้นมาถึงจุดแห่งความหลุดพ้น แต่จะสามารถตกลงต่ำได้อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากไม่มีการอุทิศตนเสียสละรับใช้มาสนับสนุน
rāga-dveṣa-vimuktais tu
viṣayān indriyaiś caran
ātma-vaśyair vidheyātmā
prasādam adhigacchati
ราค-เทฺวษ-วิมุกฺไตสฺ ตุ
วิษยานฺ อินฺทฺริไยศฺ จรนฺ
อาตฺม-วไศฺยรฺ วิเธยาตฺมา
ปฺรสาทมฺ อธิคจฺฉติ
ราค — ความยึดติด, เทฺวษ — และความรังเกียจ, วิมุกฺไตห์ — โดยผู้มีอิสระจาก, ตุ — แต่, วิษยานฺ — อายตนะภายนอก, อินฺทฺริไยห์ — ด้วยประสาทสัมผัส, จรนฺ — กระทำอยู่, อาตฺม-วไศฺยห์ — ภายใต้การควบคุมของตน, วิเธย-อาตฺมา — ผู้ปฏิบัติตามกฎแห่งอิสรภาพ, ปฺรสาทมฺ — พระเมตตาธิคุณขององค์ภควาน, อธิคจฺฉติ — ได้รับ
คำแปล
แต่ผู้ที่มีอิสรภาพจากการยึดติดและความรังเกียจ จะสามารถควบคุมประสาทสัมผัสของตนเองได้ และด้วยการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์แห่งอิสรภาพจะสามารถได้รับพระเมตตาโดยสมบูรณ์จากองค์ภควานฺ
คำอธิบาย
ได้อธิบายแล้วว่าเราอาจจะควบคุมประสาทสัมผัสภายนอกด้วยวิธีที่ฝืนธรรมชาติ แต่หากประสาทสัมผัสไม่ได้ใช้ในการปฏิบัติการรับใช้ทิพย์ต่อองค์ภควานฺ เราก็จะมีโอกาสตกต่ำลงได้ทุกเมื่อ อาจดูเหมือนว่าผู้ที่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์อยู่ในระดับประสาทสัมผัส แต่ด้วยการที่เขาอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงไม่ยึดติดกับกิจกรรมทางประสาทสัมผัส ผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจะคำนึงเพียงแต่การทำให้องค์กฺฤษฺณทรงพอพระทัยเท่านั้น ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้ ฉะนั้นท่านจึงอยู่เหนือความยึดติดและความรังเกียจทั้งปวง หากองค์กฺฤษฺณทรงปรารถนา สาวกจะสามารถทำอะไรก็ได้ซึ่งโดยปกติแล้วไม่ชอบทำ และถ้าหากว่าองค์กฺฤษฺณไม่ทรงปรารถนาท่านจะไม่ทำ แม้โดยปกติธรรมดาชอบทำเพื่อความพึงพอใจของตนเอง ดังนั้นการจะทำหรือไม่ทำจะอยู่ภายใต้การควบคุมของท่าน เพราะว่าท่านปฏิบัติภายใต้การแนะนำขององค์กฺฤษฺณเท่านั้น จิตสำนึกเช่นนี้คือพระเมตตาธิคุณอันหาที่สุดมิได้จากองค์ภควานฺ ซึ่งสาวกสามารถบรรลุได้แม้จะมีความยึดติดอยู่ในระดับประสาทสัมผัส
prasāde sarva-duḥkhānāṁ
hānir asyopajāyate
prasanna-cetaso hy āśu
buddhiḥ paryavatiṣṭhate
ปฺรสาเท สรฺว-ทุห์ขานำ
หานิรฺ อโสฺยปชายเต
ปฺรสนฺน-เจตโส หฺยฺ อาศุ
พุทฺธิห์ ปรฺยวติษฺฐเต
ปฺรสาเท — จากการได้รับพระเมตตาธิคุณอันล้นพ้นขององค์ภควานฺ, สรฺว — ทั้งหมด, ทุห์ขานามฺ — ความทุกข์ทางวัตถุ, หานิห์ — การทำลาย, อสฺย — ของเขา, อุปชายเต — เกิดขึ้น, ปฺรสนฺน-เจตสห์ — ของจิตใจที่มีความสุข, หิ — แน่นอน, อาศุ — เร็วๆนี้, พุทฺธิห์ — ปัญญา, ปริ — เพียงพอ, อวติษฺฐเต — มั่นคง
คำแปล
สำหรับผู้ที่มีความพึงพอใจ (ในกฺฤษฺณจิตสำนึก) ความทุกข์สามคำรบแห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุจะไม่มีอีกต่อไป ในจิตสำนึกที่มีความพึงพอใจเช่นนี้ ในไม่ช้าปัญญาของเขาจะแน่วแน่มั่นคง
nāsti buddhir ayuktasya
na cāyuktasya bhāvanā
na cābhāvayataḥ śāntir
aśāntasya kutaḥ sukham
นาสฺติ พุทฺธิรฺ อยุกฺตสฺย
น จายุกฺตสฺย ภาวนา
น จาภาวยตห์ ศานฺติรฺ
อศานฺตสฺย กุตห์ สุขมฺ
น อสฺติ — ไม่สามารถมี, พุทฺธิห์ — ปัญญาทิพย์, อยุกฺตสฺย — ของผู้ที่ไม่สัมพันธ์ (กับกฺฤษฺณจิตสำนึก), น — ไม่, จ — และ, อยุกฺตสฺย — ของผู้ไม่มีกฺฤษฺณจิตสำนึก, ภาวนา — จิตตั้งมั่น (ในความสุข), น — ไม่, จ — และ, อภาวยตห์ — ของผู้ที่ไม่ตั้งมั่น, ศานฺติห์ — ความสงบ, อศานฺตสฺย — ของความไม่สงบ, กุตห์ — ที่ไหน, สุขมฺ — ความสุข
คำแปล
ผู้ที่ไม่เชื่อมสัมพันธ์กับองค์ภควาน (ในกฺฤษฺณจิตสำนึก) ไม่มีทั้งปัญญาทิพย์หรือจิตใจที่มั่นคง หากขาดสองสิ่งนี้แล้วจะหาความสงบไม่ได้ แล้วจะมีความสุขได้อย่างไรโดยปราศจากความสงบ
คำอธิบาย
หากเราไม่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่มีความสงบ บทที่ห้า (5.29) ได้ยืนยันว่าเมื่อเราเข้าใจว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญเพียงพระองค์เดียวจากผลดีแห่งพิธีบูชาและการบำเพ็ญเพียรทั้งหมด พระองค์ทรงเป็นเจ้าของสิ่งที่ปรากฏอยู่ในจักรวาลทั้งหมด และพระองค์ทรงเป็นมิตรแท้ของมวลชีวิต ด้วยความเข้าใจเช่นนี้เท่านั้นเราจึงสามารถมีความสงบที่แท้จริงได้ ดังนั้นหากไม่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเราจะไม่มีจุดมุ่งหมายสูงสุดภายในจิตใจ ความวุ่นวายใจเกิดจากความต้องการจุดมุ่งหมายสูงสุดและเมื่อมั่นใจว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญ ทรงเป็นเจ้าของ และทรงเป็นเพื่อนของทุกชีวิตและทุกสิ่ง ด้วยจิตใจอันแน่วแน่มั่นคงเช่นนี้จะนำมาซึ่งความสงบ ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติตนโดยไม่มีความสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณแน่นอนว่าจะต้องมีความทุกข์ ไร้ความสงบ ไม่ว่าเขาจะพยายามแสดงออกมาว่าชีวิตมีความสงบและมีความเจริญในวิถีทิพย์มากเพียงใด กฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นสภาวะแห่งความสงบร่มเย็นที่ปรากฏอยู่ในตัวเองซึ่งสามารถบรรลุได้ด้วยการมาเชื่อมสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณเท่านั้น
indriyāṇāṁ hi caratāṁ
yan mano ’nuvidhīyate
tad asya harati prajñāṁ
vāyur nāvam ivāmbhasi
อินฺทฺริยาณำ หิ จรตำ
ยนฺ มโน ’นุวิธียเต
ตทฺ อสฺย หรติ ปฺรชฺญำ
วายุรฺ นาวมฺ อิวามฺภสิ
อินฺทฺริยาณามฺ — ของประสาทสัมผัส, หิ — แน่นอน, จรตามฺ — ขณะที่ท่องไป, ยตฺ — กับสิ่งที่, มนห์ — จิตใจ, อนุวิธียเต — ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ, ตตฺ — นั้น, อสฺย — ของเขา, หรติ — นำไป, ปฺรชฺญามฺ — ปัญญา, วายุห์ — ลม, นาวมฺ — เรือ, อิว — เหมือน, อมฺภสิ — บนน้ำ
คำแปล
เสมือนดั่งเรือในกระแสน้ำที่ถูกลมพายุพัดพาไป แม้ประสาทสัมผัสเพียงส่วนเดียวที่เตลิดเปิดเปิงไปตามกระแสแห่งจิตใจ จะสามารถนำพาปัญญาของผู้นั้นให้ล่องลอยไปได้
คำอธิบาย
หากประสาทสัมผัสทั้งหมดมิได้ปฏิบัติรับใช้องค์ภควานฺ แม้ประสาทสัมผัสเพียงส่วนเดียวที่ปฏิบัติเพื่อสนองประสาทสัมผัสก็สามารถหันเหสาวกจากวิถีทางเพื่อความเจริญในวิถีทิพย์ได้ ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในชีวิตของ มหาราช อมฺพรีษ ประสาทสัมผัสทั้งหมดจะต้องใช้ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้น เพราะนี่คือเทคนิคที่ถูกต้องในการควบคุมจิตใจ
tasmād yasya mahā-bāho
nigṛhītāni sarvaśaḥ
indriyāṇīndriyārthebhyas
tasya prajñā pratiṣṭhitā
ตสฺมาทฺ ยสฺย มหา-พาโห
นิคฺฤหีตานิ สรฺวศห์
อินฺทฺริยาณีนฺทฺริยารฺเถภฺยสฺ
ตสฺย ปฺรชฺญา ปฺรติษฺฐิตา
ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, ยสฺย — ผู้ซึ่ง, มหา-พาโห — โอ้ นักรบผู้ยอดเยี่ยม, นิคฺฤหีตานิ — เหนี่ยวรั้งลงมา, สรฺวศห์ — รอบๆทั้งหมด, อินฺทฺริยาณิ — ประสาทสัมผัส, อินฺทฺริย-อรฺเถภฺยห์ — จากอายตนะภายนอก, ตสฺย — ของเขา, ปฺรชฺญา — ปัญญา, ปฺรติษฺฐิตา — ตั้งมั่น
คำแปล
ฉะนั้น โอ้ ขุนศึกผู้ยอดเยี่ยม ผู้ที่สามารถปรามประสาทสัมผัสจากอายตนะภายนอกได้ จึงเป็นผู้มีปัญญาที่มั่นคงอย่างแน่นอน
คำอธิบาย
เราสามารถปรามพลังแห่งความต้องการสนองประสาทสัมผัสด้วยวิธีการในกฺฤษฺณจิตสำนึก หรือการใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดเพื่อรับใช้องค์ภควานฺด้วยความรักเท่านั้น เปรียบเสมือนศัตรูถูกกักบริเวณไว้ด้วยอำนาจที่สูงกว่า ประสาทสัมผัสสามารถถูกปรามไว้ได้เช่นเดียวกันไม่ใช่จากความพยายามใดๆของมนุษย์ แต่จากการให้ประสาทสัมผัสทั้งหมดปฏิบัติรับใช้องค์ภควานฺเท่านั้น ผู้ที่เข้าใจว่าจากการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้นจึงจะสามารถสถิตอยู่ในปัญญาอย่างแท้จริง และเราสมควรฝึกฝนศิลปะนี้ภายใต้การแนะนำของพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ จึงจะได้ชื่อว่า สาธก หรือผู้ที่เหมาะสมเพื่อความหลุดพ้น
yā niśā sarva-bhūtānāṁ
tasyāṁ jāgarti saṁyamī
yasyāṁ jāgrati bhūtāni
sā niśā paśyato muneḥ
ยา นิศา สรฺว-ภูตานำ
ตสฺยำ ชาครฺติ สํยมี
ยสฺยำ ชาคฺรติ ภูตานิ
สา นิศา ปศฺยโต มุเนห์
ยา — อะไร, นิศา — เป็นเวลากลางคืน, สรฺว — ทั้งหมด, ภูตานามฺ — ของสิ่งมีชีวิต, ตสฺยามฺ — ในนั้น, ชาครฺติ — จะตื่น, สํยมี — การควบคุมตนเอง, ยสฺยามฺ — ในที่ซึ่ง, ชาคฺรติ — ตื่นอยู่, ภูตานิ — สิ่งมีชีวิตทั้งหมด, สา — นั้นเป็น, นิศา — กลางคืน, ปศฺยตห์ — สำหรับผู้ใคร่ครวญ, มุเนห์ — นักปราชญ์
คำแปล
เวลากลางคืนของมวลชีวิต จะเป็นเวลาตื่นของผู้ควบคุมตนเองได้ และเวลาตื่นของมวลชีวิต จะเป็นเวลากลางคืนของนักปราชญ์ผู้พิจารณาใคร่ครวญตนเอง
คำอธิบาย
มีผู้มีปัญญาอยู่สองประเภท ประเภทที่หนึ่งมีปัญญาในกิจกรรมทางวัตถุเพื่อสนองประสาทสัมผัส และอีกประเภทหนึ่งเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญตนเองและเป็นผู้ตื่นในการฝึกฝนเพื่อความรู้แจ้งแห่งตน เวลาปฏิบัติธรรมของนักปราชญ์ผู้พิจารณาใคร่ครวญตนเองหรือผู้มีความสุขุมรอบคอบจะเป็นเวลากลางคืนของผู้ที่ซึมซาบอยู่ในวัตถุ นักวัตถุนิยมจะคงนอนในเวลากลางคืนเช่นนี้เนื่องมาจากอวิชชาในความรู้แจ้งแห่งตน นักปราชญ์ผู้พิจารณาใคร่ครวญตนเองจะตื่น “ในเวลากลางคืน” ของนักวัตถุนิยม นักปราชญ์มีความรู้สึกปลื้มปีติสุขทิพย์ในการพัฒนาวัฒนธรรมแห่งดวงวิญญาณทีละน้อย ขณะที่นักวัตถุนิยมนอนหลับต่อความรู้แจ้งแห่งตนจะฝันถึงความสุขทางประสาทสัมผัสต่างๆนานา มีความรู้สึกสุขบ้างและทุกข์บ้างในขณะที่หลับอยู่ ผู้ที่พิจารณาใคร่ครวญตนเองจะไม่ใยดีกับความสุขหรือความทุกข์ทางวัตถุ ท่านมุ่งหน้าต่อไปกับกิจกรรมเพื่อความรู้แจ้งแห่งตน โดยไม่หวั่นไหวต่อผลกรรมทางวัตถุ
āpūryamāṇam acala-pratiṣṭhaṁ
samudram āpaḥ praviśanti yadvat
tadvat kāmā yaṁ praviśanti sarve
sa śāntim āpnoti na kāma-kāmī
อาปูรฺยมาณมฺ อจล-ปฺรติษฺฐํ
สมุทฺรมฺ อาปห์ ปฺรวิศนฺติ ยทฺวตฺ
ตทฺวตฺ กามา ยํ ปฺรวิศนฺติ สเรฺว
ส ศานฺติมฺ อาปฺโนติ น กาม-กามี
อาปูรฺยมาณมฺ — เต็มเปี่ยมอยู่เสมอ, อจล-ปฺรติษฺฐมฺ — สถิตอย่างมั่นคง, สมุทฺรมฺ — มหาสมุทร, อาปห์ — น้ำ, ปฺรวิศนฺติ — เข้า, ยทฺวตฺ — ดังเช่น, ตทฺวตฺ — ดังนั้น, กามาห์ — ความต้องการ, ยมฺ — แด่ผู้ซึ่ง, ปฺรวิศนฺติ — เข้า, สเรฺว — ทั้งหมด, สห์ — ผู้นั้น, ศานฺติมฺ — ความสงบ, อาปฺโนติ — บรรลุ, น — ไม่, กาม-กามี — ผู้ปรารถนาสนองความต้องการ
คำแปล
ผู้ที่ไม่หวั่นไหวต่อความต้องการที่ไหลเชี่ยวอย่างไม่หยุดยั้ง เสมือนดังน้ำในแม่น้ำที่ไหลลงสู่มหาสมุทร ซึ่งเต็มเปี่ยมแต่นิ่งสงบอยู่เสมอ จะเป็นผู้เดียวที่สามารถได้รับความสงบ มิใช่บุคคลผู้พยายามสนองความต้องการเหล่านี้
คำอธิบาย
แม้มหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาลจะเต็มเปี่ยมไปด้วยน้ำอยู่เสมอโดยเฉพาะในฤดูฝนที่มีน้ำไหลเข้ามาอย่างมากมาย แต่มหาสมุทรก็ยังคงเหมือนเดิม มีความมั่นคง ไม่หวั่นไหว และน้ำไม่เคยข้ามพ้นขอบเขตของมหาสมุทร นี่คือความจริงเช่นเดียวกันกับผู้ที่มีความมั่นคงในกฺฤษฺณจิตสำนึก ตราบใดที่เรายังมีร่างวัตถุอยู่ความต้องการทางร่างกายเพื่อสนองประสาทสัมผัสจะดำเนินต่อไป อย่างไรก็ดีสาวกไม่หวั่นไหวไปกับความต้องการเหล่านี้เนื่องจากความเต็มเปี่ยมในตนเอง บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่ต้องการสิ่งใดเพราะว่าองค์ภควานฺทรงประทานสิ่งจำเป็นทางวัตถุทั้งหมดให้อยู่แล้ว ดังนั้นตัวเขาเปรียบเสมือนกับมหาสมุทรที่มีความเต็มเปี่ยมอยู่ในตัวเองเสมอ ความต้องการอาจไหลเข้ามาเสมือนดังน้ำในแม่น้ำที่ไหลลงสู่มหาสมุทร แต่เขายังมั่นคงในกิจกรรมของตนเองเสมอไม่เคยหวั่นไหวแม้แต่เพียงนิดเดียวจากความต้องการเพื่อสนองประสาทสัมผัส นี่คือข้อพิสูจน์ของบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึก ผู้ที่สูญเสียความต้องการทั้งหมดเพื่อสนองประสาทสัมผัสวัตถุ ถึงแม้จะยังมีความต้องการอยู่ เนื่องจากว่าเขายังคงรักษาความพึงพอใจในการรับใช้องค์ภควานฺด้วยความรักทิพย์จะยังคงสามารถรักษาความมั่นคงเหมือนดั่งมหาสมุทร และจึงได้รับความสุขจากความสงบอย่างเต็มเปี่ยม อย่างไรก็ดี ผู้อื่นที่ต้องการสนองความต้องการของตนแม้จะมาถึงจุดแห่งความหลุดพ้นก็จะไม่ได้รับความสงบจึงไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงความสำเร็จทางวัตถุ ผู้ทำงานเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุ ผู้ที่ต้องการความหลุดพ้น รวมทั้งโยคีที่ต้องการอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ พวกนี้ไม่ได้รับความสุข เพราะความต้องการจะไม่ได้รับการสนองตอบ แต่บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกมีความสุขในการรับใช้องค์ภควานฺและไม่มีความต้องการใดๆที่จะต้องตอบสนอง อันที่จริงเขาไม่ต้องการแม้กระทั่งความหลุดพ้นจากสิ่งที่เรียกว่าพันธนาการทางวัตถุ สาวกของศฺรี กฺฤษฺณไม่มีความต้องการทางวัตถุ ดังนั้นจึงเป็นผู้ที่มีความสงบอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์
vihāya kāmān yaḥ sarvān
pumāṁś carati niḥspṛhaḥ
nirmamo nirahaṅkāraḥ
sa śāntim adhigacchati
วิหาย กามานฺ ยห์ สรฺวานฺ
ปุมำศฺ จรติ นิห์สฺปฺฤหห์
นิรฺมโม นิรหงฺการห์
ส ศานฺติมฺ อธิคจฺฉติ
วิหาย — ยกเลิก, กามานฺ — ความต้องการทางวัตถุเพื่อสนองประสาทสัมผัส, ยห์ — ผู้ซึ่ง, สรฺวานฺ — ทั้งหมด, ปุมานฺ — บุคคล, จรติ — มีชีวิต, นิห์สฺปฺฤหห์ — ไม่มีความต้องการ, นิรฺมมห์ — ไม่มีความคิดว่าเป็นเจ้าของ, นิรหงฺการห์ — ไม่มีอหังการ, สห์ — เขา, ศานฺติมฺ — ความสงบที่สมบูรณ์, อธิคจฺฉติ — ได้รับ
คำแปล
บุคคลผู้สลัดความต้องการทั้งหมดในการสนองประสาทสัมผัส มีชีวิตอยู่โดยปราศจากความต้องการ สลัดความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของ ปราศจากอหังการ จะเป็นผู้เดียวเท่านั้นที่สามารถได้รับความสงบอย่างแท้จริง
คำอธิบาย
ไม่มีความต้องการ หมายความว่าไม่ต้องการสิ่งใดเพื่อสนองประสาทสัมผัส อีกนัยหนึ่งการมีกฺฤษฺณจิตสำนึกก็คือการที่ไม่มีความต้องการ การเข้าใจสถานภาพอันแท้จริงของเราว่าเป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์กฺฤษฺณโดยไม่อ้างอย่างผิดๆว่าร่างกายวัตถุนี้เป็นตนเอง และไม่อ้างอย่างผิดๆว่าตนเป็นเจ้าของสิ่งหนึ่งสิ่งใดในโลก นี่คือระดับสมบูรณ์ของกฺฤษฺณจิตสำนึก ผู้ที่สถิตในระดับอันสมบูรณ์นี้ทราบว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่าง ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างจึงต้องนำมาใช้เพื่อให้องค์กฺฤษฺณทรงพอพระทัย อรฺชุน ไม่ต้องการต่อสู้เช่นนี้เป็นการกระทำเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตนเอง แต่เมื่อมีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ อรฺชุน จะต่อสู้เพราะองค์กฺฤษฺณทรงปรารถนาให้สู้ เพื่อสนองความต้องการของตนเอง อรฺชุน ไม่ต้องการสู้ แต่เพื่อองค์กฺฤษฺณ อรฺชุน องค์เดียวกันนี้จะต่อสู้อย่างสุดความสามารถ การไม่มีความต้องการที่แท้จริง คือการต้องการเพียงให้องค์กฺฤษฺณทรงพึงพอพระทัย มิใช่พยายามละทิ้งความต้องการแบบผิดธรรมชาติ เป็นไปไม่ได้ที่สิ่งมีชีวิตจะไม่มีความต้องการหรือไม่มีความรู้สึก แต่เราต้องเปลี่ยนคุณภาพของความต้องการ บุคคลผู้ไม่มีความต้องการทางวัตถุทราบดีว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นขององค์กฺฤษฺณ (อีศาวาสฺยมฺ อิทํ สรฺวมฺ) ดังนั้นจึงไม่อ้างอย่างผิดๆว่าเป็นเจ้าของสิ่งใด ความรู้ทิพย์นี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความรู้แจ้งตนเอง เช่น รู้ดีว่าในบุคลิกภาพทิพย์ทุกๆชีวิตเป็นละอองอณูนิรันดรขององค์กฺฤษฺณ ฉะนั้นสถานภาพนิรันดรของสิ่งมีชีวิตจะไม่มีวันอยู่ในระดับเดียวกันกับองค์กฺฤษฺณ หรือจะยิ่งใหญ่ไปกว่าพระองค์ความเข้าใจกฺฤษฺณจิตสำนึก เช่นนี้เป็นหลักพื้นฐานแห่งความสงบอย่างแท้จริง
eṣā brāhmī sthitiḥ pārtha
naināṁ prāpya vimuhyati
sthitvāsyām anta-kāle ’pi
brahma-nirvāṇam ṛcchati
เอษา พฺราหฺมี สฺถิติห์ ปารฺถ
ไนนำ ปฺราปฺย วิมุหฺยติ
สฺถิตฺวาสฺยามฺ อนฺต-กาเล ’ปิ
พฺรหฺม-นิรฺวาณมฺ ฤจฺฉติ
เอษา — นี้, พฺราหฺมี — ทิพย์, สฺถิติห์ — สถานการณ์, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, น — ไม่เคย, เอนามฺ — นี้, ปฺราปฺย — บรรลุถึง, วิมุหฺยติ — ผู้ที่สับสน, สฺถิตฺวา — สถิต, อสฺยามฺ — ในนี้, อนฺต-กาเล — ในบั้นปลายของชีวิต, อปิ — เช่นกัน, พฺรหฺม-นิรฺวาณมฺ — อาณาจักรทิพย์ขององค์ภควาน, ฤจฺฉติ — ผู้ได้รับ
คำแปล
นี่คือวิถีแห่งชีวิตทิพย์ที่มีศีลธรรม หลังจากบรรลุแล้วผู้นั้นจะไม่สับสน หากเราสถิตเช่นนี้แม้ในชั่วโมงแห่งความตาย เราจะสามารถบรรลุถึงอาณาจักรแห่งองค์ภควานฺ
คำอธิบาย
เราสามารถบรรลุถึงกฺฤษฺณจิตสำนึก หรือชีวิตทิพย์นี้ได้ในทันทีภายในหนึ่งวินาที หรือเราอาจไม่บรรลุถึงระดับชีวิตเช่นนี้ได้เลยแม้เป็นเวลาล้านๆชาติ มันเป็นเรื่องของความเข้าใจและยอมรับความจริงเท่านั้น ขฏฺวางฺค มหาราช ทรงบรรลุถึงระดับชีวิตเช่นนี้เพียงไม่กี่นาทีก่อนจะสวรรคตด้วยการศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณ นิรฺวาณ หมายถึงสิ้นสุดการดำเนินชีวิตทางวัตถุ ตามปรัชญา ศูนฺยวาทิ จะมีแต่ความว่างเปล่าหลังจากเสร็จสิ้นชีวิตวัตถุนี้ แต่ ภควัท-คีตา สอนแตกต่างออกไป ชีวิตจริงเริ่มต้นหลังจากชีวิตวัตถุนี้สิ้นสุดลง สำหรับนักวัตถุนิยมหยาบๆเป็นการเพียงพอแล้วที่ได้รู้ว่าเราต้องจบสิ้นวิถีชีวิตทางวัตถุนี้ แต่สำหรับบุคคลผู้เจริญทางจิตวิญญาณจะมีอีกชีวิตหนึ่งหลังจากชีวิตวัตถุนี้ ก่อนจบสิ้นชีวิตนี้หากเราโชคดีพอที่จะพัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึกเราจะบรรลุถึงระดับ พฺรหฺม-นิรฺวาณ ทันที ไม่มีข้อแตกต่างระหว่างอาณาจักรแห่งองค์ภควานฺและการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺ เพราะทั้งสองสิ่งอยู่ในระดับที่สมบูรณ์บริบูรณ์ การอุทิศตนรับใช้องค์ภควานฺด้วยความรักทิพย์ คือการบรรลุถึงอาณาจักรทิพย์ ในโลกวัตถุมีกิจกรรมเพื่อสนองประสาทสัมผัส ขณะที่ในโลกทิพย์มีกิจกรรมกฺฤษฺณจิตสำนึก การบรรลุถึงกฺฤษฺณจิตสำนึกแม้ในชีวิตนี้ก็เป็นการบรรลุถึง พฺรหฺมนฺ ทันที และผู้ที่สถิตในกฺฤษฺณจิตสำนึกได้เข้าไปสู่อาณาจักรแห่งองค์ภควานฺเรียบร้อยแล้วอย่างแน่นอน
พฺรหฺมนฺ เป็นสิ่งตรงข้ามกับวัตถุ ดังนั้น พฺราหฺมี สฺถิติ หมายถึง “ไม่อยู่ในระดับกิจกรรมทางวัตถุ” การอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺได้รับการยอมรับใน ภควัท-คีตา ว่าเป็นระดับหลุดพ้น (ส คุณานฺ สมตีไตฺยตานฺ พฺรหฺม-ภูยาย กลฺปเต) ดังนั้น พฺราหฺมี สฺถิติ คือความหลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุ
ศฺรีล ภกฺติวิโนท ฐากุร สรุปบทที่สองของ ภควัท-คีตา ว่าเป็นบทสรุปทั้งหมดของหนังสือเล่มนี้ ใน ภควัท-คีตา เป็นเรื่องของ กรฺม-โยค, ชฺญาน-โยค และ ภกฺติ-โยค ในบทที่สองได้อธิบาย กรฺม-โยค และ ชฺญาน-โยค อย่างชัดเจน และกล่าวถึง ภกฺติ-โยค เพียงเล็กน้อย ดังนั้นจึงเป็นบทสรุปของหนังสือเล่มนี้
ดังนั้นขอจบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่สองของหนังสือ ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา ในหัวข้อเรื่อง บทสรุป ภควัท-คีตา