ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สาม

กรฺม-โยค

SIMPLE

โศลก 1

arjuna uvāca
jyāyasī cet karmaṇas te
matā buddhir janārdana
tat kiṁ karmaṇi ghore māṁ
niyojayasi keśava
อรฺชุน อุวาจ
ชฺยายสี เจตฺ กรฺมณสฺ เต
มตา พุทฺธิรฺ ชนารฺทน
ตตฺ กึ กรฺมณิ โฆเร มำ
นิโยชยสิ เกศว
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัส, ชฺยายสี — ดีกว่า, เจตฺ — ถ้าหาก, กรฺมณห์ — กว่ากิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ, เต — โดยพระองค์, มตา — พิจารณาว่า, พุทฺธิห์ — ปัญญา, ชนารฺทน — โอ้ กฺฤษฺณ, ตตฺ — ดังนั้น, กิมฺ — ทำไม, กรฺมณิ — ในการกระทำ, โฆเร — น่าสะพรึงกลัว, มามฺ — ข้าพเจ้า, นิโยชยสิ — พระองค์ทรงปฎิบัติอยู่, เกศว — โอ้ กฺฤษฺณ

คำแปล

อรฺชุน ตรัสว่า โอ้ ชนารฺทน โอ้ เกศว ทำไมพระองค์ทรงปรารถนาให้ข้าพเจ้าต่อสู้ในสงครามอันน่าสะพรึงกลัวเช่นนี้ หากทรงคิดว่าปัญญานั้นดีกว่าการทำงานเพื่อผลทางวัตถุ

คำอธิบาย

บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าศฺรีกฺฤษฺณทรงอธิบายถึงสถานภาพพื้นฐานของดวงวิญญาณอย่างละเอียดในบทที่ผ่านมาด้วยพระประสงค์ที่จะส่ง อรฺชุน สหายสนิทของพระองค์ให้ออกจากมหาสมุทรแห่งความทุกข์ทางวัตถุ และทรงแนะนำวิถีแห่งการรู้แจ้งตนเองคือ พุทฺธิ-โยค หรือกฺฤษฺณจิตสำนึก บางครั้งมีผู้เข้าใจผิดคิดว่า กฺฤษฺณจิตสำนึกหมายถึงความเฉื่อยชา เกียจคร้าน ผู้ที่เข้าใจผิดเช่นนี้จะปลีกตัวไปอยู่ตามลำพังโดยสวดมนต์ภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ศฺรีกฺฤษฺณเพื่อให้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยสมบูรณ์ หากว่าไม่ได้รับการฝึกฝนในปรัชญาแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกแล้วจะไม่แนะนำให้ไปสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานฺโดยลำพัง ซึ่งอาจได้รับการสรรเสริญเยินยอจากประชาชนผู้พาซื่อ อรฺชุน ทรงคิดเช่นเดียวกันว่ากฺฤษฺณจิตสำนึกหรือ พุทฺธิ-โยค หรือการใช้สติปัญญาในความเจริญก้าวหน้าแห่งความรู้ทิพย์เป็นเสมือนการเกษียณจากชีวิตการทำงานไปบำเพ็ญเพียรและปฏิบัติสมถะอย่างเคร่งครัดในที่โดดเดี่ยว อีกนัยหนึ่ง อรฺชุน ทรงปรารถนาที่จะหลีกเลี่ยงการต่อสู้ และใช้ความชำนาญอ้างเอากฺฤษฺณจิตสำนึกมาเป็นข้อแก้ตัวแต่ในฐานะที่เป็นศิษย์ผู้มีความจริงใจ อรฺชุน ได้วางปัญหาลงต่อหน้าพระอาจารย์และถามองค์กฺฤษฺณ ว่าควรปฏิบัติอย่างไรจึงจะดีที่สุด ในการตอบคำถามนี้องค์ศฺรีกฺฤษฺณ ทรงอธิบาย กรฺม-โยค หรือการทำงานในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างละเอียดในบทที่สามนี้

โศลก 2

vyāmiśreṇeva vākyena
buddhiṁ mohayasīva me
tad ekaṁ vada niścitya
yena śreyo ’ham āpnuyām
วฺยามิเศฺรเณว วาเกฺยน
พุทฺธึ โมหยสีว เม
ตทฺ เอกํ วท นิศฺจิตฺย
เยน เศฺรโย ’หมฺ อาปฺนุยามฺ
วฺยามิเศฺรณ — ด้วยความไม่แน่นอน, อิว — แน่นอน, วาเกฺยน — คำพูด, พุทฺธิมฺ — ปัญญา, โมหยสิ — พระองค์ทรงสับสน, อิว — แน่นอน, เม — ของข้าพเจ้า, ตตฺ — ดังนั้น, เอกมฺ — ผู้เดียวเท่านั้น, วท — กรุณาตรัส, นิศฺจิตฺย — อย่างชัดเจน, เยน — ที่ซึ่ง, เศฺรยห์ — ประโยชน์อันแท้จริง, อหมฺ — ข้าพเจ้า, อาปฺนุยามฺ — อาจได้รับ

คำแปล

ปัญญาของข้าพเจ้าสับสนจากคำสั่งสอนที่ไม่แน่นอนของพระองค์ฉะนั้นทรงโปรดตรัสอย่างชัดเจนว่า อะไรคือสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับข้าพเจ้า

คำอธิบาย

บทที่ผ่านมาเป็นการเริ่มดำเนินเรื่องของ ภควัท-คีตา ซึ่งได้อธิบายถึงวิธีต่างๆ เช่น สางฺขฺย-โยค, พุทฺธิ-โยค หรือการควบคุมประสาท สัมผัสด้วยปัญญา การทำงานโดยไม่ปรารถนาผลทางวัตถุ และสถานภาพของผู้เริ่มฝึกปฏิบัติทั้งหมดนี้ได้เสนอไว้อย่างไม่เป็นระบบ วิธีจัดการให้เป็นระเบียบเรียบร้อยกว่านี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ ดังนั้น อรฺชุน ทรงปรารถนาจะขจัดสิ่งที่ดูเหมือนว่ายังสับสนอยู่และเพื่อบุคคลธรรมดาสามัญทั่วไปจะได้รับไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องโดยไม่ตีความหมายอย่างผิดๆ ถึงแม้ว่าองค์กฺฤษฺณทรงไม่ตั้งใจที่จะทำให้ อรฺชุน รู้สึกสับสนด้วยสำนวนโวหาร อรฺชุน ทรงไม่สามารถเข้าใจในวิธีการของกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่รู้ว่าจะให้อยู่นิ่งเฉยหรือให้ปฏิบัติตนรับใช้ อีกนัยหนึ่งคือคำถามของ อรฺชุน จะทำให้วิธีการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกชัดเจนขึ้น เพื่อให้นักศึกษาทั้งหลายผู้ที่มีความจริงจังจะได้เข้าใจความเร้นลับของ ภควัท-คีตา

โศลก 3

śrī-bhagavān uvāca
loke ’smin dvi-vidhā niṣṭhā
purā proktā mayānagha
jñāna-yogena sāṅkhyānāṁ
karma-yogena yoginām
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
โลเก ’สฺมินฺ ทฺวิ-วิธา นิษฺฐา
ปุรา โปฺรกฺตา มยานฆ
ชฺญาน-โยเคน สางฺขฺยานำ
กรฺม-โยเคน โยคินามฺ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัส, โลเก — ในโลก, อสฺมินฺ — นี้, ทฺวิ-วิธา — สองประเภท, นิษฺฐา — ความศรัทธา, ปุรา — อดีต, โปฺรกฺตา — ได้กล่าวไว้, มยา — โดยข้า, อนฆ — โอ้ ผู้ไร้บาป, ชฺญาน-โยเคน — โดยวิธีการเชื่อมด้วยความรู้, สางฺขฺยานามฺ — ของปราชญ์ผู้สังเกตุ, กรฺม-โยเคน — โดยวิธีการเชื่อมด้วยการอุทิศตนเสียสละ, โยคินามฺ — ของสาวก

คำแปล

องค์ภควานตรัสว่า โอ้ อรฺชุน ผู้ไร้บาป ข้าได้อธิบายเรียบร้อยแล้วว่ามีคนอยู่สองประเภทที่พยายามรู้แจ้งตนเอง บางคนมีแนวโน้มที่จะเข้าใจด้วยการสังเกตและคาดคะเนทางปรัชญา และบางคนเข้าใจด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้

คำอธิบาย

ในบทที่สอง โศลก 39 องค์ภควานฺทรงอธิบายไปแล้วสองวิธีคือ สางฺขฺย-โยค และ กรฺม-โยค หรือ พุทฺธิ-โยค ในโศลกนี้องค์ภควานฺทรงอธิบายเรื่องเดียวกันแต่ว่าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น สางฺขฺย-โย หรือการศึกษาด้วยการวิเคราะห์ธรรมชาติของดวงวิญญาณและวัตถุเป็นเรื่องของผู้ที่มีแนวโน้มในทางคาดคะเน และเข้าใจสิ่งต่างๆด้วยความรู้จากการทดลองและปรัชญา บุคคลอีกประเภทหนึ่งทำงานในกฺฤษฺณจิตสำนึกดังที่ได้อธิบายไว้ในโศลก 61 ของบทที่สอง องค์ภควานฺทรงอธิบายในโศลก39 เช่นกันว่าด้วยการทำงานตามหลักของ พุทฺธิ-โยค หรือกฺฤษฺณจิตสำนึกเราจะสามารถหลุดพ้นจากพันธนาการแห่งกรรมได้ ยิ่งไปกว่านั้นจะไม่มีข้อบกพร่องใดๆในวิธีการนั้น หลักเดียวกันนี้ได้อธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้นในโศลก 61 ว่า พุทฺธิ-โยค คือ ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับองค์ภควานฺ (หรือขึ้นอยู่กับองค์กฺฤษฺณโดยตรง) ด้วยวิธีนี้ประสาทสัมผัสทั้งหมดสามารถถูกควบคุมได้อย่างง่ายดาย ฉะนั้นโยคะทั้งสองต่างต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เหมือนเช่นศาสนาและปรัชญา ศาสนาที่ไร้ปรัชญาคือความอ่อนไหวทางอารมณ์ หรือบางครั้งก็บ้าคลั่ง และปรัชญาที่ไร้ศาสนาคือการคาดคะเนทางจิตใจ จุดมุ่งหมายสูงสุดคือองค์กฺฤษฺณ เพราะนักปราชญ์ผู้ค้นหาสัจธรรมด้วยความจริงใจจะมาจบลงที่กฺฤษฺณจิตสำนึก ได้กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา เช่นกันว่าวิธีการทั้งหมดนี้เพื่อให้เข้าใจถึงสถานภาพอันแท้จริงของตัวเราในความสัมพันธ์กับองค์ภควานฺ วิธีทางอ้อมคือการคาดคะเนทางปรัชญาซึ่งอาจจะค่อยๆนำเราไปถึงจุดแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึก อีกวิธีหนึ่งคือการเชื่อมสัมพันธ์ทุกสิ่งทุกอย่างกับองค์กฺฤษฺณในกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรง ทั้งสองวิธีนี้วิธีกฺฤษฺณจิตสำนึกจะดีกว่า เพราะว่าไม่ขึ้นอยู่กับการทำให้ประสาทสัมผัสบริสุทธิ์ด้วยวิธีทางปรัชญา กฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นวิธีการที่มีความบริสุทธิ์อยู่ในตัว และปฎิบัติโดยตรงด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้จึงเป็นวิธีที่ทั้งง่ายและประเสริฐพร้อมๆกัน

โศลก 4

na karmaṇām anārambhān
naiṣkarmyaṁ puruṣo ’śnute
na ca sannyasanād eva
siddhiṁ samadhigacchati
น กรฺมณามฺ อนารมฺภานฺ
ไนษฺกรฺมฺยํ ปุรุโษ ’ศฺนุเต
น จ สนฺนฺยสนาทฺ เอว
สิทฺธึ สมธิคจฺฉติ
— ไม่, กรฺมณามฺ — แห่งหน้าที่ที่กำหนดไว้, อนารมฺภาตฺ — ด้วยการไม่ปฎิบัติ, ไนษฺกรฺมฺยมฺ — มีอิสระจากผลกรรม, ปุรุษห์ — บุคคล, อศฺนุเต — บรรลุ, — ไม่, — เช่นกัน, สนฺนฺยสนาตฺ — ด้วยการเสียสละ, เอว — เพียงแต่, สิทฺธิมฺ — ประสบผลสำเร็จ, สมธิคจฺฉติ — บรรลุ

คำแปล

มิใช่เพียงแต่การหยุดทำงานที่จะทำให้เราหลุดพ้นจากผลกรรม หรือด้วยการเสียสละเพียงอย่างเดียวที่สามารถทำให้เราบรรลุถึงความสมบูรณ์

คำอธิบาย

ชีวิตระดับสละโลกรับนำมาปฏิบัติหลังจากจิตใจได้รับความบริสุทธิ์โดยการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ หน้าที่นี้วางไว้เพื่อทำให้จิตใจของนักวัตถุนิยมบริสุทธิ์ขึ้น หากไร้ซึ่งความบริสุทธิ์การรับเอาชีวิตระดับที่สี่หรือ สนฺนฺยาส มาปฏิบัติอย่างเร่งด่วนนั้นจะไม่สามารถทำให้เราประสบผลสำเร็จได้ ตามที่นักปราชญ์ชอบทดลองกล่าวว่าเพียงแต่รับเอาชีวิต สนฺนฺยาส หรือเกษียณจากกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุแล้วเราจะดีเทียบเท่ากับพระนารายณ์ทันที หลักการนี้องค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงไม่ยอมรับ หากจิตใจยังไม่บริสุทธิ์การอุปสมบทในระดับ สนฺนฺยาส เพียงแต่จะสร้างความเดือดร้อนให้กับสังคมเท่านั้น อีกด้านหนึ่งหากบางคนมีความยินดีปฏิบัติรับใช้ทิพย์ต่อองค์ภควานฺ ถึงแม้ว่าจะไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ ไม่ว่าอะไรที่เขาสามารถทำให้เจริญขึ้นในวิถีทางนี้องค์ภควานฺจะทรงรับไว้ (พุทฺธิ-โยค) สฺวฺ-อลฺปมฺ อปฺยฺ อสฺย ธรฺมสฺย ตฺรายเต มหโต ภยาตฺ แม้แต่การปฏิบัติตนเพียงนิดเดียวในหลักธรรมนี้จะสามารถนำเราให้ข้ามพ้นความยากลำบากอันใหญ่หลวงได้

โศลก 5

na hi kaścit kṣaṇam api
jātu tiṣṭhaty akarma-kṛt
kāryate hy avaśaḥ karma
sarvaḥ prakṛti-jair guṇaiḥ
น หิ กศฺจิตฺ กฺษณมฺ อปิ
ชาตุ ติษฺฐตฺยฺ อกรฺม-กฺฤตฺ
การฺยเต หฺยฺ อวศห์ กรฺม
สรฺวห์ ปฺรกฺฤติ-ไชรฺ คุไณห์
— ไม่, หิ — แน่นอน, กศฺจิตฺ — ทุกคน, กฺษณมฺ — ชั่วครู่, อปิ — เช่นกัน, ชาตุ — ไม่ว่าในเวลาใด, ติษฺฐติ — คงอยู่, อกรฺม-กฺฤตฺ — ไม่ทำอะไร, การฺยเต — ถูกบังคับให้ทำ, หิ — แน่นอน, อวศห์ — อย่างช่วยไม่ได้, กรฺม — งาน, สรฺวห์ — ทั้งหมด, ปฺรกฺฤติ-ไชห์ — เกิดขึ้นจากระดับของธรรมชาติวัตถุ, คุไณห์ — โดยคุณสมบัติ

คำแปล

ทุกคนถูกบังคับให้ทำงานตามคุณสมบัติที่ตนได้รับมาจากระดับต่างๆของธรรมชาติวัตถุอย่างช่วยไม่ได้ ดังนั้นจึงไม่มีใครสามารถหยุดการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้แม้แต่เพียงชั่วครู่

คำอธิบาย

มันไม่ใช่ร่างกายที่มีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ แต่เป็นธรรมชาติของดวงวิญญาณต่างหาก หากไม่มีดวงวิญญาภายอยู่ในร่างกายแล้วร่างกายนั้นก็จะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ร่างกายเป็นเพียงพาหนะที่ไร้ชีวิตที่จำเป็นต้องให้ดวงวิญญาณเป็นผู้สั่งงาน ดวงวิญญาณเป็นผู้ที่มีความตื่นตัวอยู่เสมอไม่สามารถหยุดนิ่งได้แม้แต่เสี้ยววินาทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ดวงวิญญาณควรปฏิบัติงานที่ดีในกฺฤษฺณจิตสำนึก มิฉะนั้นดวงวิญญาณจะไปปฏิบัติในอาชีพการงานที่พลังงานแห่งความหลงเป็นผู้บงการ การไปสัมผัสกับพลังงานวัตถุนั้นดวงวิญญาณจะได้รับระดับแห่งวัตถุเข้ามา และการจะทำให้ดวงวิญญาณบริสุทธิ์ขึ้นจากความผูกพันเช่นนี้มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ใน ศาสฺตฺร หากดวงวิญญาณปฏิบัติหน้าที่ตามธรรมชาติของตนในกฺฤษฺณจิตสำนึก อะไรก็แล้วแต่ที่สามารถทำได้จะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับตนเอง ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (1.5.17) ยืนยันไว้ดังนี้

ตฺยกฺตฺวา สฺว-ธรฺมํ จรณามฺพุชํ หเรรฺ
ภชนฺนฺ อปโกฺว ’ถ ปเตตฺ ตโต ยทิ
ยตฺร กฺว วาภทฺรมฺ อภูทฺ อมุษฺย กึ
โก วารฺถ อาปฺโต ’ภชตำ สฺว-ธรฺมตห์
“หากผู้ใดเริ่มรับเอากฺฤษฺณจิตสำนึกไปปฏิบัติ ถึงแม้ว่าเขาอาจจะไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ใน ศาสฺตฺร หรือไม่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างถูกต้อง และแม้ว่าเขาอาจจะตกลงต่ำกว่ามาตรฐานเขาจะไม่สูญเสียและไม่มีความชั่วร้ายสำหรับเขา แต่ถ้าหากว่าเขาปฏิบัติตามคำสั่งสอนของ ศาสฺตฺร ทั้งหมดเพื่อความบริสุทธิ์แล้วไม่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกตัวเขาจะได้รับประโยชน์อันใด” ดังนั้นวิธีการที่ทำให้บริสุทธิ์จึงมีความจำเป็นเพื่อที่จะมาถึงจุดแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกนี้ ฉะนั้น สนฺนฺยาส หรือวิธีการที่ทำให้บริสุทธิ์อื่นใดก็เพื่อที่จะช่วยให้เราไปถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ มีกฺฤษฺณจิตสำนึก ถ้าหากว่าไปไม่ถึงจุดนั้นทุกสิ่งทุกอย่างถือว่าล้มเหลว

โศลก 6

karmendriyāṇi saṁyamya
ya āste manasā smaran
indriyārthān vimūḍhātmā
mithyācāraḥ sa ucyate
กรฺเมนฺทฺริยาณิ สํยมฺย
ย อาเสฺต มนสา สฺมรนฺ
อินฺทฺริยารฺถานฺ วิมูฒาตฺมา
มิถฺยาจารห์ ส อุจฺยเต
กรฺม-อินฺทฺริยาณิ — อวัยวะประสาทสัมผัสสำหรับทำงานทั้งห้า, สํยมฺย — ควบคุม, ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, อาเสฺต — ยังคง, มนสา — โดยจิตใจ, สฺมรนฺ — คิดถึง, อินฺทฺริย-อรฺถานฺ — รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส, วิมูฒ — ความโง่, อาตฺมา — ดวงวิญญาณ, มิถฺยา-อาจารห์ — ผู้เสแสร้ง, สห์ — เขา, อุจฺยเต — เรียกว่า

คำแปล

ผู้ที่เหนี่ยวรั้งการทำงานของประสาทสัมผัสแต่ว่าจิตใจยังจดจ่ออยู่ที่ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส เขาเป็นผู้หลอกตัวเอง และได้ชื่อว่าเป็นผู้เสแสร้งอย่างแน่นอน

คำอธิบาย

มีผู้เสแสร้งมากมายที่ปฏิบัติการทำงานในกฺฤษฺณจิตสำนึก แต่จะแสดงท่าว่าเป็นนักปฏิบัติสมาธิในขณะที่ความเป็นจริงภายในจิตใจของเขาจดจ่ออยู่ที่ความสุขทางประสาทสัมผัส บางครั้งผู้เสแสร้งเช่นนี้อาจคุยปรัชญาอย่างลมๆแล้งๆเพื่อชักชวนศิษย์ผู้สับสนไปในทางที่ผิด แต่ตามโศลกนี้บุคคลเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้ฉ้อโกงอย่างมหันต์ เพื่อความสุขทางประสาทสัมผัสแล้วนั้นคนเราสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างในสังคมได้ แต่หากว่าเขาปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในระดับสังคมที่ตนเองอยู่เขาก็จะสามารถค่อยๆทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของตนบริสุทธิ์ขึ้นได้ แต่ถ้าเขาอวดตนว่าเป็นโยคีทั้งที่ความเป็นจริงแล้วเขากำลังแสวงหาอายตนะภายนอกเพื่อสนองประสาทสัมผัสจะต้องถูกเรียกว่า เป็นผู้ฉ้อโกงอย่างมหันต์ แม้บางครั้งเขาอาจพูดคุยเกี่ยวกับปรัชญาแต่วิชาความรู้ของเขานั้นไร้คุณค่า เพราะว่าผลแห่งวิชาความรู้ของคนบาปเช่นนี้ได้ถูกพลังงานแห่งความหลงขององค์ภควานฺยึดเอาไปเสียแล้ว จิตใจของผู้เสแสร้งเช่นนี้จะไม่มีความบริสุทธิ์ ดังนั้นการแสดงออกว่าตนเองเป็นโยคี หรือนักทำสมาธิจะไม่มีคุณค่าอันใดเลย

โศลก 7

yas tv indriyāṇi manasā
niyamyārabhate ’rjuna
karmendriyaiḥ karma-yogam
asaktaḥ sa viśiṣyate
ยสฺ ตฺวฺ อินฺทฺริยาณิ มนสา
นิยมฺยารภเต ’รฺชุน
กรฺเมนฺทฺริไยห์ กรฺม-โยคมฺ
อสกฺตห์ ส วิศิษฺยเต
ยห์ — ผู้ซึ่ง, ตุ — แต่, อินฺทฺริยาณิ — ประสาทสัมผัส, มนสา — ด้วยจิตใจ, นิยมฺย — ประมาณ, อารภเต — เริ่มต้น, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน, กรฺม-อินฺทฺริไยห์ — ด้วยอวัยวะประสาทสัมผัสที่ทำงาน, กรฺม-โยคมฺ — อุทิศตนเสียสละ, อสกฺตห์ — ไม่ยึดติด, สห์ — เขา, วิศิษฺยเต — ดีกว่าเป็นไหนๆ

คำแปล

อีกด้านหนึ่ง ถ้าหากผู้มีความจริงใจพยายามใช้จิตใจควบคุมประสาทสัมผัสที่ตื่นตัวและเริ่มปฏิบัติ กรฺม - โยค (ในกฺฤษฺณจิตสำนึก) โดยไม่ยึดติดบุคคลเช่นนี้สูงส่งกว่าเป็นไหนๆ

คำอธิบาย

แทนที่จะมาเป็นนักทิพย์นิยมจอมปลอมเพื่อมีชีวิตอยู่อย่างสำมะเลเทเมาและแสวงหาความสุขทางประสาทสัมผัสสู้อยู่ในธุรกิจของตนเอง และปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของชีวิตเพื่อให้ได้รับอิสรภาพจากพันธนาการทางวัตถุ และบรรลุถึงอาณาจักรแห่งองค์ภควานฺจะดีกว่าเป็นไหนๆ สฺวารฺถ-คติ หรือจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์แห่งตนคือ การบรรลุถึงพระวิษณุ การวางรูปแบบสถาบัน วรฺณ และ อาศฺรม ทั้งหมดเพื่อช่วยให้เราบรรลุถึงจุดมุ่งหมายแห่งชีวิตนี้นั้นคฤหัสถ์ก็สามารถบรรลุถึงจุดหมายปลายทางนี้ได้เช่นเดียวกัน ด้วยการประมาณการปฏิบัติรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเพื่อความรู้แจ้งแห่งตน เราสามารถใช้ชีวิตอยู่แบบควบคุมได้ดังที่ได้อธิบายไว้ใน ศาสฺตฺร ดำเนินธุรกิจของตนต่อไปโดยไม่ยึดติด และเจริญก้าวหน้าด้วยวิธีนี้ ผู้ที่มีความจริงใจปฏิบัติตามวิธีนี้สถิตในสถานภาพที่ดีกว่าผู้เสแสร้งจอมปลอมที่อวดอ้างตนเองว่าเป็นนักทิพย์นิยมเพื่อหลอกลวงประชาชนผู้พาซื่อโดยทั่วไปเป็นไหนๆ คนกวาดถนนผู้มีความจริงใจยังดีกว่านักปฏิบัติธรรมจอมปลอมที่ทำสมาธิเพียงเพื่อหาเลี้ยงชีพเท่านั้น

โศลก 8

niyataṁ kuru karma tvaṁ
karma jyāyo hy akarmaṇaḥ
śarīra-yātrāpi ca te
na prasidhyed akarmaṇaḥ
นิยตํ กุรุ กรฺม ตฺวํ
กรฺม ชฺยาโย หฺยฺ อกรฺมณห์
ศรีร-ยาตฺราปิ จ เต
น ปฺรสิเธฺยทฺ อกรฺมณห์
นิยตมฺ — กำหนด, กุรุ — ทำ, กรฺม — หน้าที่, ตฺวมฺ — ท่าน, กรฺม — งาน, ชฺยายห์ — ดีกว่า, หิ — แน่นอน, อกรฺมณห์ — ดีกว่าไม่ทำงาน, ศรีร — ร่างกาย, ยาตฺรา — รักษา, อปิ — แม้, — เช่นกัน, เต — ของท่าน, — ไม่เคย, ปฺรสิเธฺยตฺ — มีผล, อกรฺมณห์ — ไม่ทำงาน

คำแปล

จงปฏิบัติหน้าที่ของเธอที่ได้กำหนดไว้ การกระทำเช่นนี้ดีกว่าไม่ทำงาน เราไม่สามารถแม้แต่จะดำรงรักษาร่างกายนี้ไว้ได้โดยไม่ทำงาน

คำอธิบาย

มีนักปฏิบัติสมาธิจอมปลอมมากมายที่อวดอ้างตนอย่างผิดๆว่าตนเองอยู่ในตระกูลสูง และมีบุคคลผู้มีอาชีพสูงอวดอ้างอย่างผิดๆว่าตนเองได้เสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อเห็นแก่ความเจริญก้าวหน้าในชีวิตทิพย์ องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงไม่ปรารถนาให้ อรฺชุน มาเป็นผู้เสแสร้ง แต่พระองค์ทรงปรารถนาให้มาปฏิบัติหน้าที่ที่กำหนดไว้สำหรับ กฺษตฺริย อรฺชุน ทรงเป็นคฤหัสถ์และเป็นขุนพลดังนั้นจึงเป็นการดีที่จะดำรงรักษาตำแหน่งนี้ไว้ และปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนาที่กำหนดไว้สำหรับ กฺษตฺริย ในฐานะคฤหัสถ์กิจกรรมเช่นนี้จะชะล้างจิตใจของบุคคลทางโลกให้ค่อยๆสะอาดขึ้นและมีอิสระจากมลทินทางวัตถุ สิ่งที่อ้างว่าเป็นการเสียสละที่ทำไปเพื่อหาเลี้ยงชีพนั้นองค์ภควานฺ หรือแม้แต่พระคัมภีร์ของศาสนาใดๆก็ไม่เห็นด้วย แต่ว่าเราจะต้องทำงานบางอย่างเพื่อดำรงรักษาร่างกายและดวงวิญญาณนี้ให้อยู่ด้วยกันจึงไม่ควรยกเลิกงานตามอำเภอใจโดยไม่มีการชะล้างนิสัยทางวัตถุให้บริสุทธิ์ขึ้น ไม่ว่าใครที่อยู่ในโลกวัตถุจะต้องมีนิสัยที่ไม่บริสุทธิ์อยากเป็นเจ้าเหนือธรรมชาติวัตถุ หรืออยากสนองประสาทสัมผัสของตนเองอย่างแน่นอน นิสัยที่ไม่ดีเช่นนี้ต้องทำให้บริสุทธิ์ขึ้นด้วยการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ หากไม่ทำเช่นนี้เราไม่ควรพยายามอวดอ้างว่าเป็นนักทิพย์นิยมที่ยกเลิกกิจการงาน และยังชีพอยู่ด้วยค่าใช้จ่ายของคนอื่น

โศลก 9

yajñārthāt karmaṇo ’nyatra
loko ’yaṁ karma-bandhanaḥ
tad-arthaṁ karma kaunteya
mukta-saṅgaḥ samācara
ยชฺญารฺถาตฺ กรฺมโณ ’นฺยตฺร
โลโก ’ยํ กรฺม-พนฺธนห์
ตทฺ-อรฺถํ กรฺม เกานฺเตย
มุกฺต-สงฺคห์ สมาจร
ยชฺญ-อรฺถาตฺ — ทำไปเพื่อ ยชฺญ หรือพระวิษฺณุ, กรฺมณห์ — ดีกว่างาน, อนฺยตฺร — มิฉะนั้น, โลกห์ — โลก, อยมฺ — นี้, กรฺม-พนฺธนห์ — พันธนาการด้วยงาน, ตตฺ — ของพระองค์, อรฺถมฺ — เพื่อประโยชน์, กรฺม — งาน, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, มุกฺต-สงฺคห์ — มีอิสระจากการคบหาสมาคม, สมาจร — ทำอย่างสมบูรณ์

คำแปล

งานที่ทำไปเพื่อเป็นการบูชาพระวิษฺณุจะต้องมีการปฏิบัติ มิฉะนั้นงานจะเป็นต้นเหตุแห่งพันธนาการในโลกวัตถุนี้ ดังนั้นโอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี จงปฏิบัติหน้าที่ของเธอที่กำหนดไว้เพื่อให้องค์ภควานทรงพอพระทัย ด้วยการกระทำเช่นนี้เธอจะมีอิสรภาพจากพันธนาการทางวัตถุอยู่ตลอดเวลา

คำอธิบาย

เนื่องจากเราจะต้องทำงานแม้เพื่อเป็นการดำรงรักษาอย่างง่ายๆให้กับร่างกาย หน้าที่ และคุณสมบัติที่กำหนดไว้สำหรับสถานภาพโดยเฉพาะในสังคมที่ได้จัดไว้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายนี้ ยชฺญ หมายถึงพระวิษฺณุ หรือการปฏิบัติบูชา การปฏิบัติบูชาทั้งหมดก็เพื่อให้พระวิษฺณุทรงพอพระทัย คัมภีร์พระเวทกล่าวไว้ว่า ยชฺโญ ไว วิษฺณุห์ หมายความว่า เราสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายเดียวกันไม่ว่าเราจะปฏิบัติ ยชฺญ ที่กำหนดไว้ หรือรับใช้พระวิษฺณุโดยตรง ดังนั้นกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงเป็นการปฏิบัติ ยชฺญ ดังที่อธิบายไว้ในโศลกนี้ สถาบัน วรฺณาศฺรม ก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พระวิษฺณุทรงพอพระทัยเช่นเดียวกัน วรฺณาศฺรมาจารวตา ปุรุเษณ ปรห์ ปุมานฺ / วิษฺณุรฺ อาราธฺยเต (วิษฺณุ ปุราณ 3.8.8)

ดังนั้นเราจะต้องทำงานเพื่อให้พระวิษฺณุทรงพอพระทัย งานใดๆก็ตามที่ทำในโลกวัตถุนี้จะเป็นต้นเหตุแห่งพันธนาการ ทั้งกรรมดีและกรรมชั่วจะต้องมีผลกรรม ไม่ว่าผลกรรมใดก็ตามมันจะพันธนาการผู้กระทำ ฉะนั้นเราต้องทำงานในกฺฤษฺณจิตสำนึกเพื่อให้องค์กฺฤษฺณ หรือองค์วิษฺณุทรงพอพระทัย และในขณะที่ปฏิบัติกิจกรรมเช่นนี้เราจะอยู่ในระดับหลุดพ้น นี่คือศิลปะอันยิ่งใหญ่ในการทำงาน ในขั้นต้นวิธีการนี้จำเป็นต้องมีผู้แนะนำที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ ฉะนั้นเราต้องปฏิบัติด้วยความอดทนขยันหมั่นเพียรมากภายใต้การแนะนำที่เชี่ยวชาญของสาวกขององค์ศฺรี กฺฤษฺณ หรือภายใต้คำสั่งสอนโดยตรงขององค์กฺฤษฺณ (ซึ่ง อรฺชุน ทรงได้รับโอกาสปฏิบัติงานเช่นนี้) เราไม่ควรทำงานใดๆเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตนเอง แต่ทุกสิ่งทุกอย่างควรทำไปเพื่อให้องค์กฺฤษฺณทรงพอพระทัย การปฏิบัติเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะปกป้องเราจากผลกรรมหากแต่ยังจะค่อยๆยกระดับตัวเราไปสู่การรับใช้ทิพย์ด้วยความรักต่อพระองค์ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่จะส่งเสริมเราให้ขึ้นไปถึงอาณาจักรแห่งองค์ภควานฺได้

โศลก 10

saha-yajñāḥ prajāḥ sṛṣṭvā
purovāca prajāpatiḥ
anena prasaviṣyadhvam
eṣa vo ’stv iṣṭa-kāma-dhuk
สห-ยชฺญาห์ ปฺรชาห์ สฺฤษฺฏฺวา
ปุโรวาจ ปฺรชาปติห์
อเนน ปฺรสวิษฺยธฺวมฺ
เอษ โว ’สฺตฺวฺ อิษฺฏ-กาม-ธุกฺ
สห — พร้อมกับ, ยชฺญาห์ — การบูชา, ปฺรชาห์ — ชั่วอายุคน, สฺฤษฺฏฺวา — การสร้าง, ปุรา — โบราณกาล, อุวาจ — กล่าว, ปฺรชา-ปติห์ — พระผู้เป็นเจ้าแห่งสรรพสัตว์, อเนน — ด้วยวิธีนี้, ปฺรสวิษฺยธฺวมฺ — จงเจริญรุ่งเรืองมากยิ่งขึ้น, เอษห์ — นี้, วห์ — ของท่าน, อสฺตุ — อนุญาตให้เป็น, อิษฺฏ — ของสิ่งที่ปรารถนาทั้งหมด, กาม-ธุกฺ — ผู้ให้

คำแปล

ในตอนเริ่มต้นของการสร้างพระผู้เป็นเจ้าแห่งสรรพสัตว์ทรงส่งประชากรมนุษย์และเทวดา พร้อมทั้งพิธีการบูชาพระวิษฺณุและทรงให้พรด้วยการตรัสว่า “พวกเธอจงมีความสุขด้วย ยชฺญ (การบูชา) นี้ เพราะการปฏิบัติเช่นนี้จะส่งผลทุกสิ่งที่เธอปรารถนาเพื่อให้ชีวิตอยู่อย่างมีความสุขและได้รับอิสรภาพหลุดพ้น”

คำอธิบาย

พระผู้เป็นเจ้าแห่งสรรพสัตว์ทั้งหลาย (พระวิษฺณุ) ทรงสร้างโลกวัตถุเพื่อเสนอให้พันธวิญญาณได้มีโอกาสกลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควานฺ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายภายในการสร้างโลกวัตถุอยู่ภายใต้สภาวะของธรรมชาติวัตถุ เพราะลืมความสัมพันธ์กับพระวิษฺณุ หรือองค์กฺฤษฺณ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า หลักการพระเวทมีไว้เพื่อช่วยเราให้เข้าใจความสัมพันธ์นิรันดรนี้ ดังที่กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา : เวไทศฺ สไรฺวรฺ อหมฺ เอว เวทฺยห์ องค์ภควานฺทรงตรัสว่า จุดมุ่งหมายของพระเวทคือ เพื่อให้เข้าใจพระองค์บทสวดมนต์พระเวท ได้กล่าวว่า ปตึ วิศฺวสฺยาตฺเมศฺวรมฺ ดังนั้นพระผู้เป็นเจ้าของมวลชีวิตคือ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า พระวิษฺณุ ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (2.4.20) ศฺรีล ศุกเทว โคสฺวามี อธิบายถึงองค์ภควานฺว่าเป็น ปติ ในหลายรูปแบบ

ศฺริยห์ ปติรฺ ยชฺญ-ปติห์ ปฺรชา-ปติรฺ
ธิยำ ปติรฺ โลก-ปติรฺ ธรา-ปติห์
ปติรฺ คติศฺ จานฺธก-วฺฤษฺณิ-สาตฺวตำ
ปฺรสีทตำ เม ภควานฺ สตำ ปติห์
ปฺรชา-ปติ คือพระวิษฺณุ พระองค์ทรงเป็นองค์ภควานฺของมวลชีวิต เป็นเจ้าแห่งโลกทั้งหมด เป็นเจ้าแห่งความสง่างามทั้งหมด และเป็นผู้ปกป้องทุกๆคน พระองค์ทรงสร้างโลกวัตถุนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ดวงวิญญาณที่อยู่ในสภาวะได้เรียนรู้การปฎิบัติ ยชฺญ (การบูชา) เพื่อให้พระวิษฺณุทรงพอพระทัย เพื่อให้เราขณะที่อยู่ในโลกวัตถุนี้ได้สามารถใช้ชีวิตอยู่อย่างสะดวกสบายโดยไม่มีความวิตกกังวล และหลังจากร่างกายวัตถุปัจจุบันนี้จบสิ้นลงเราจะสามารถบรรลุถึงอาณาจักรแห่งองค์ภควานฺได้ นี่คือโครงการทั้งหมดสำหรับพันธวิญญาณ ด้วยการปฎิบัติ ยชฺญ พันธวิญญาณจะค่อยๆมีกฺฤษฺณจิตสำนึก และมีคุณธรรมในทุกแง่ทุกมุม ใน กลิ ยุคนี้คัมภีร์พระเวทได้แนะนำ สงฺกีรฺตน-ยชฺญ การร้องเพลงภาวนาพระนามขององค์ภควานฺ ระบบทิพย์นี้องค์ไจตนฺย ทรงแนะนำไว้เพื่อการขนส่งมวลมนุษย์ในยุคนี้ สงฺกีรฺตน-ยชฺญ และกฺฤษฺณจิตสำนึกไปด้วยกันได้เป็นอย่างดี ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (11.5.32) ได้กล่าวถึงองค์ศฺรี กฺฤษฺณในรูปของผู้ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ (องค์ไจตนฺย) สัมพันธ์กับ สงฺกีรฺตน-ยชฺญ เป็นพิเศษไว้ดังนี้

กฺฤษฺณ-วรฺณํ ตฺวิษากฺฤษฺณํ
สางฺโคปางฺคาสฺตฺร-ปารฺษทมฺ
ยชฺไญห์ สงฺกีรฺตน-ปฺราไยรฺ
ยชนฺติ หิ สุ-เมธสห์
“ใน กลิ ยุคนี้บุคคลผู้มีสติปัญญาเพียงพอจะบูชาองค์ภควานฺ ผู้ทรงมีพระสหายร่วมปฏิบัติ สงฺกีรฺตน-ยชฺญ ยชฺญ อื่นๆที่ได้อธิบายไว้ในวรรณกรรมพระเวทปฏิบัติได้ยากลำบากมากใน กลิ ยุคนี้ แต่ สงฺกีรฺตน-ยชฺญ นี้ ทั้งง่ายและประเสริฐด้วยประการทั้งปวง ดังที่ได้แนะนำไว้เช่นเดียวกันใน ภควัท-คีตา (9.14)

โศลก 11

devān bhāvayatānena
te devā bhāvayantu vaḥ
parasparaṁ bhāvayantaḥ
śreyaḥ param avāpsyatha
เทวานฺ ภาวยตาเนน
เต เทวา ภาวยนฺตุ วห์
ปรสฺปรํ ภาวยนฺตห์
เศฺรยห์ ปรมฺ อวาปฺสฺยถ
เทวานฺ — เทวดา, ภาวยตา — มีความพึงพอใจ, อเนน — ด้วยการบูชานี้, เต — ท่านเหล่า นั้น, เทวาห์ — เทวดา, ภาวยนฺตุ — จะมีความพอใจ วห์ — ท่าน, ปรสฺปรมฺ — ทั้งสองฝ่าย, ภาวยนฺตห์ — ต่างทำให้พึงพอใจซึ่งกันและกัน, เศฺรยห์ — พร, ปรมฺ — สูงสุด, อวาปฺสฺยถ — ท่านจะได้รับ

คำแปล

เหล่าเทวดาที่ทรงพอพระทัยจากการปฏิบัติบูชาจะทำให้พวกเธอได้รับความพึงพอใจด้วยเช่นเดียวกัน จากการร่วมมือกันระหว่างมนุษย์และเทวดาความเจริญรุ่งเรืองจะครอบคลุมไปทั่ว

คำอธิบาย

เทวดาได้รับพลังอำนาจให้เป็นผู้บริหารภารกิจทางวัตถุ ทรงเป็นผู้จัดส่งลม แสง น้ำ และพรอื่นๆทั้งหมดเพื่อให้ดำรงรักษาร่างกายและดวงวิญญาณของมวลชีวิต ภาระหน้าที่นี้องค์ภควานฺทรงมอบให้มวลเทวดาจำนวนมหาศาลทรงเป็นผู้ช่วยตามส่วนต่างๆของพระวรกายของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ความพึงพอพระทัยและไม่พึงพอพระทัยของมวลเทวดาขึ้นอยู่กับการปฎิบัติ ยชฺญ ของมนุษย์ ยชฺญ บางประเภทปฏิบัติเพื่อให้เทวดาเฉพาะองค์ได้รับความพอพระทัย ถึงกระนั้นพระวิษฺณุทรงเป็นผู้ได้รับการบูชาใน ยชฺญ ทั้งหมด เพราะพระวิษฺณุทรงเป็นผู้นำในการได้รับประโยชน์ทั้งหมด ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา ว่า องค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้ได้รับประโยชน์จาก ยชฺญ ทั้งหมด โภกฺตารํ ยชฺญ-ตปสามฺ ดังนั้นความพึงพอพระทัยครั้งสุดท้ายของ ยชฺญ-ปติ คือจุดมุ่งหมายที่สำคัญของ ยชฺญ ทั้งหมด เมื่อ ยชฺญ เหล่านี้ได้มีการปฏิบัติอย่างสมบูรณ์โดยธรรมชาติเทวดาผู้ควบคุมหน่วยที่แจกจ่ายสิ่งต่างๆก็ทรงพอพระทัย และจะไม่มีการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ

การปฏิบัติ ยชฺญ มีผลดีตามมามากมาย และในที่สุดจะนำเราให้หลุดพ้นมีอิสรภาพจากพันธนาการทางวัตถุ ด้วยการปฏิบัติ ยชฺญ จะทำให้กิจกรรมทั้งหมดบริสุทธิ์ ดังที่ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์พระเวทว่า อาหาร-ศุทฺเธา สตฺตฺว-ศุทฺธิห์ สตฺตฺว-ศุทฺเธา ธฺรุวา สฺมฺฤติห์ สฺมฺฤติ-ลมฺเภ สรฺว-คฺรนฺถีนำ วิปฺรโมกฺษห์ จากการปฏิบัติ ยชฺญ ทำให้อาหารบริสุทธิ์และถูกต้อง จากการรับประทานอาหารที่บริสุทธิ์และถูกต้องชีวิตความเป็นอยู่จะบริสุทธิ์และถูกต้อง และจากการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่บริสุทธิ์และถูกต้องเนื้อเยื่ออันละเอียดอ่อนที่ช่วยในความจำจะมีความบริสุทธิ์และถูกต้อง เมื่อความจำบริสุทธิ์ถูกต้องเราจึงสามารถคิดถึงวิถีแห่งความหลุดพ้นเพื่ออิสรภาพ และทั้งหมดนี้เมื่อรวมกันเข้าจะนำเราไปสู่กฺฤษฺณจิตสำนึก ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบัน

โศลก 12

iṣṭān bhogān hi vo devā
dāsyante yajña-bhāvitāḥ
tair dattān apradāyaibhyo
yo bhuṅkte stena eva saḥ
อิษฺฏานฺ โภคานฺ หิ โว เทวา
ทาสฺยนฺเต ยชฺญ-ภาวิตาห์
ไตรฺ ทตฺตานฺ อปฺรทาไยโภฺย
โย ภุงฺกฺเต เสฺตน เอว สห์
อิษฺฏานฺ — ปรารถนา, โภคานฺ — ความจำเป็นของชีวิต, หิ — แน่นอน, วห์ — แด่ท่าน, เทวาห์ — เทวดา, ทาสฺยนฺเต — จะให้รางวัล, ยชฺญ-ภาวิตาห์ — ได้รับความพึงพอใจจากการปฎิบัติบูชา, ไตห์ — โดยพวกเขา, ทตฺตานฺ — สิ่งที่ให้, อปฺรทาย — ไม่มีการถวาย, เอภฺยห์ — แด่เหล่าเทวดา, ยห์ — ผู้ซึ่ง, ภุงฺกฺเต — มีความสุข, เสฺตนห์ — ขโมย, เอว — แน่นอน, สห์ — เขา

คำแปล

เหล่าเทวดาผู้ควบคุมสิ่งจำเป็นต่างๆสำหรับชีวิตได้รับความพึงพอพระทัยจากการปฏิบัติ ยชฺญ (การบูชา) จะจัดส่งสิ่งของจำเป็นทั้งหมดให้แด่พวกเธอ แต่ผู้ที่ได้รับความสุขจากของขวัญเหล่านี้โดยมิได้นำมาถวายคืนให้เทวดาถือว่าเป็นขโมยอย่างแน่นอน

คำอธิบาย

มวลเทวดาเป็นผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจจากบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์วิษฺณุในการจัดส่ง ฉะนั้นเหล่าเทวดาต้องได้รับความพึงพอพระทัยจากการปฏิบัติ ยชฺญ ที่ได้กำหนดไว้ ในคัมภีร์พระเวทมี ยชฺญ ต่างๆที่ได้กำหนดไว้สำหรับมวลเทวดา แต่ว่าในที่สุดการบูชาทั้งหมดจะถวายให้บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า สำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจว่าบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าคือใครนั้นจึงมีการแนะนำการบูชาเทวดา คัมภีร์พระเวทได้แนะนำ ยชฺญ ต่างๆตามลักษณะทางวัตถุของแต่ละบุคคล การบูชาเทวดาก็มีหลักพื้นฐานเหมือนกันคือตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น ผู้ที่รับประทานเนื้อสัตว์จะได้รับคำแนะนำให้บูชาสัตว์ต่อหน้าเจ้าแม่กาลี รูปลักษณ์อันน่าสะพรึงกลัวของธรรมชาติวัตถุสำหรับผู้ที่อยู่ในระดับความดีได้แนะนำให้ปฏิบัติทิพย์บูชาแด่พระวิษฺณุ แต่ในที่สุดผลของ ยชฺญ ทั้งหมดจะค่อยๆส่งเสริมเราให้ไปอยู่ในสถานภาพทิพย์ สำหรับบุคคลทั่วไปอย่างน้อยที่สุด ยชฺญ ห้าอย่าง มีชื่อว่า ปญฺจ-มหา-ยชฺญ เป็นสิ่งจำเป็น

อย่างไรก็ตามเราควรทราบว่าสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตทั้งหมดที่สังคมมนุษย์ต้องการ เทวดาผู้เป็นตัวแทนขององค์ภควานฺทรงเป็นผู้จัดส่งและไม่มีผู้ใดสามารถผลิตอะไรขึ้นมาได้ ตัวอย่างเช่น อาหารทั้งหมดในสังคมมนุษย์ที่อยู่ในระดับความดีซึ่งรวมทั้งเมล็ดข้าว ผลไม้ ผัก นม น้ำตาล และอาหารสำหรับนักมังสะบริโภคด้วย เช่น เนื้อสัตว์ มนุษย์ไม่สามารถผลิตอะไรได้เลย มีตัวอย่างอีกเช่น ความร้อน แสง น้ำ ลม ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตเช่นกัน สังคมมนุษย์ก็ไม่สามารถผลิตได้ถ้าไม่มีองค์ภควานฺจะไม่มีแสงอาทิตย์ แสงจันทร์ ฝน และลม ฯลฯ หากขาดสิ่งเหล่านี้จะไม่มีใครสามารถมีชีวิตอยู่ได้ ดังนั้นชีวิตเราจึงขึ้นอยู่กับการจัดส่งสิ่งต่างๆจากองค์ภควานฺ แม้แต่โรงงานผู้ผลิตซึ่งต้องการวัตถุดิบมากมาย เช่น โลหะ กำมะถัน เมอร์คิวรี่ แมงกานีส และสิ่งจำเป็นอื่นๆอีกมาก ทั้งหมดนี้ผู้แทนขององค์ภควานฺทรงเป็นผู้จัดส่งให้ด้วยจุดมุ่งหมาย เพื่อให้เราได้ใช้สิ่งต่างๆอย่างเหมาะสมในการที่จะรักษาสุขภาพพลานามัยให้ดีเพื่อความรู้แจ้งแห่งตน และนำเราไปสู่จุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต นั่นคือเสรีภาพจากการดิ้นรนทางวัตถุเพื่อความอยู่รอด จุดมุ่งหมายของชีวิตนี้สามารถบรรลุได้ด้วยการปฏิบัติ ยชฺญ หากเราลืมจุดมุ่งหมายของชีวิตมนุษย์และได้แต่รับเอาสิ่งของต่างๆจากผู้แทนขององค์ภควานฺเพื่อสนองประสาทสัมผัสตนเอง ก็จะถูกพันธนาการมากยิ่งขึ้นในความเป็นอยู่ทางวัตถุ ซึ่งไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการสร้างเราจึงเป็นขโมยอย่างแน่นอน ดังนั้นเราต้องถูกลงโทษตามกฎแห่งธรรมชาติวัตถุ ในสังคมโจรจะไม่มีวันมีความสุขเพราะว่าพวกโจรไม่มีจุดมุ่งหมายในชีวิต โจรหยาบหรือนักวัตถุนิยมไม่มีจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต พวกโจรมุ่งแต่จะสนองประสาทสัมผัสและไม่มีความรู้ว่าจะปฏิบัติ ยชฺญ อย่างไร อย่างไรก็ดีองค์ไจตนฺย ได้ทรงสถาปนาการปฏิบัติ ยชฺญ ที่ง่ายที่สุดเรียกว่า สงฺกีรฺตน-ยชฺญ ซึ่งไม่ว่าใครในโลกก็สามารถปฏิบัติได้หากยอมรับในหลักการของกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 13

yajña-śiṣṭāśinaḥ santo
mucyante sarva-kilbiṣaiḥ
bhuñjate te tv aghaṁ pāpā
ye pacanty ātma-kāraṇāt
ยชฺญ-ศิษฺฏาศินห์ สนฺโต
มุจฺยนฺเต สรฺว-กิลฺพิไษห์
ภุญฺชเต เต ตฺวฺ อฆํ ปาปา
เย ปจนฺตฺยฺ อาตฺม-การณาตฺ
ยชฺญ-ศิษฺฏ — อาหารที่รับประทานหลังจากการปฎิบัติ ยชฺญ, อศินห์ — ผู้รับประทาน, สนฺตห์ — สาวก, มุจฺยนฺเต — ได้รับการปลดเปลื้อง, สรฺว — ทุกชนิด, กิลฺพิไษห์ — จากความบาป, ภุญฺชเต — ความสุข, เต — พวกเขา, ตุ — แต่, อฆมฺ — บาปที่เศร้าโศก, ปาปาห์ — ผู้ทำบาป, เย — ผู้ซึ่ง, ปจนฺติ — ปรุงอาหาร, อาตฺม-การณาตฺ — เพื่อความสุขทางประสาทสัมผัส

คำแปล

สาวกขององค์ภควานได้รับการปลดเปลื้องจากบาปทั้งปวงเพราะว่ารับประทานอาหารที่ถวายเพื่อเป็นการบูชาก่อน บุคคลอื่นที่ปรุงอาหารเพื่อความสุขทางประสาทสัมผัสของตนเองนั้น แน่นอนว่าได้รับประทานแต่ความบาปเท่านั้น

คำอธิบาย

สาวกขององค์ภควานฺ หรือบุคคลที่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเรียกว่า สนฺต พวกท่านอยู่ในความรักกับองค์ภควานฺเสมอ ดังที่ได้กล่าวไว้ใน พฺรหฺม-สํหิตา (5.38) เปฺรมาญฺชน-จฺฉุริต-ภกฺติ-วิโลจเนน สนฺตห์ สไทว หฺฤทเยษุ วิโลกยนฺติ สนฺต อยู่ในความรักอย่างแน่นแฟ้นกับบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์โควินฺท (ผู้ให้ความสุขทั้งปวง) หรือองค์มุกุนฺท (ผู้ให้อิสรภาพ) หรือองค์กฺฤษฺณ(ผู้มีเสน่ห์สูงสุด) อยู่เสมอและไม่สามารถรับเอาสิ่งใดที่ไม่ได้ถวายให้องค์ภควานฺก่อน ฉะนั้นสาวกเหล่านี้ปฏิบัติ ยชฺญ ในระดับต่างๆแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้อยู่เสมอ เช่น ศฺรวณมฺ, กีรฺตนมฺ, สฺมรณมฺ, อรฺจนมฺ ฯลฯ และการปฏิบัติ ยชฺญ เหล่านี้จะคุ้มครองท่านให้อยู่ห่างจากมลทินแห่งการคบหาสมาคมที่เป็นบาปในโลกวัตถุทุกชนิด ผู้ที่ปรุงอาหารเพื่อตนเองหรือเพื่อสนองประสาทสัมผัสแห่งตนไม่เพียงแต่เป็นขโมยเท่านั้น หากแต่ยังเป็นผู้ที่รับประทานเอาความบาปทุกชนิดเข้าไปด้วย หากเป็นทั้งขโมยและคนบาปจะมีความสุขได้อย่างไร มันเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นเพื่อให้ประชากรมีความสุขในทุกๆด้านจึงต้องได้รับการสอนให้ปฏิบัติวิธีการง่ายๆ คือ สงฺกีรฺตน-ยชฺญ ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ มิฉะนั้นโลกนี้ก็จะไม่มีความสงบหรือความสุข

โศลก 14

annād bhavanti bhūtāni
parjanyād anna-sambhavaḥ
yajñād bhavati parjanyo
yajñaḥ karma-samudbhavaḥ
อนฺนาทฺ ภวนฺติ ภูตานิ
ปรฺชนฺยาทฺ อนฺน-สมฺภวห์
ยชฺญาทฺ ภวติ ปรฺชโนฺย
ยชฺญห์ กรฺม-สมุทฺภวห์
อนฺนาตฺ — จากธัญพืช, ภวนฺติ — เจริญเติบโต, ภูตานิ — ร่างวัตถุ, ปรฺชนฺยาตฺ — จากฝน, อนฺน — ของธัญญาหาร, สมฺภวห์ — การผลิต, ยชฺญาตฺ — จากการปฎิบัติบูชา, ภวติ — ทำให้เป็นไปได้, ปรฺชนฺยห์ — ฝน, ยชฺญห์ — การปฎิบัติ ยชฺญ, กรฺม — หน้าที่ที่กำหนดไว้, สมุทฺภวห์ — เกิดจาก

คำแปล

ร่างที่มีชีวิตทั้งหมดนั้นมีชีวิตอยู่ได้ด้วยธัญญาหารซึ่งผลิตมาจากฝน ฝนเป็นผลผลิตจากการปฏิบัติ ยชฺญ (การบูชา) และ ยชฺญ เกิดจากหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้

คำอธิบาย

ศฺรีล วิทฺยาภูษณ นักเขียนและนักบรรยาย ภควัท-คีตา ผู้ยิ่งใหญ่ได้เขียนดังต่อไปนี้ เย อินฺทฺราทฺยฺ-องฺคตยาวสฺถิตํ ยชฺญํ สเรฺวศฺวรํ วิษฺณุมฺ อภฺยรฺจฺย ตจฺ-เฉษมฺ อศฺนนฺติ เตน ตทฺ เทห-ยาตฺรำ สมฺปาทยนฺติ เต สนฺตห์ สเรฺวศฺวรสฺย ยชฺญ-ปุรุษสฺย ภกฺตาห์ สรฺว-กิลฺพิไษรฺ อนาทิ-กาล-วิวฺฤทฺไธรฺ อาตฺมานุภว-ปฺรติพนฺธไกรฺ นิขิไลห์ ปาไปรฺ วิมุจฺยนฺเต องค์ภควานฺทรงมีพระนามว่า ยชฺญ-ปุรุษ หรือผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากการบูชาทั้งหมด ทรงเป็นเจ้านายของปวงเทวดาผู้ทรงรับใช้พระองค์เสมือนส่วนต่างๆของพระวรกายที่รับใช้ทั่วทั้งพระวรกายเทวดา เช่น พระอินทร์ (อินฺทฺร) พระจันทร์ (จนฺทฺร) และพระ วรุณ ทรงเป็นเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งให้บริหารภารกิจในโลกวัตถุ คัมภีร์พระเวทได้แนะนำการบูชาเทวดาเพื่อให้เทพเหล่านี้ทรงได้รับความพึงพอพระทัยและยินดีจัดส่งลม แสง และน้ำให้เพียงพอในการผลิตธัญญาหาร เมื่อองค์ศฺรี กฺฤษฺณได้รับการบูชามวลเทวดาที่เปรียบเสมือนส่วนต่างๆของพระวรกายขององค์ภควานฺก็ทรงได้รับการบูชาโดยปริยายเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องบูชาเหล่าเทวดาอีกต่างหากด้วยเหตุนี้สาวกผู้อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงถวายเครื่องเสวยแด่องค์กฺฤษฺณก่อนแล้วตนเองจึงค่อยรับประทาน ซึ่งเป็นวิธีการบำรุงรักษาร่างทิพย์ การปฏิบัติเช่นนี้ไม่เพียงแต่ผลบาปของร่างกายในอดีตถูกชะล้างไป แต่ร่างกายยังได้รับเชื้อวัคซีนป้องกันมลพิษทั้งมวลจากธรรมชาติวัตถุ เมื่อมีเชื้อโรคระบาดวัคซีนป้องกันโรคจะป้องกันเราจากการบุกรุกของโรคระบาดนั้นๆ เครื่องเสวยที่ถวายให้พระวิษฺณุและเรานำมารับประทานก็เช่นเดียวกันจะทำให้เรามีภูมิต้านทานเชื้อโรคทางวัตถุอย่างเพียงพอ ผู้ที่เคยชินต่อการปฎิบัติเช่นนี้เรียกว่า สาวกขององค์ภควานฺ ดังนั้นบุคคลที่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงรับประทานแต่อาหารที่ถวายแด่องค์กฺฤษฺณแล้ว สิ่งนี้สามารถต่อต้านผลกรรมทั้งมวลจากเชื้อโรคทางวัตถุในอดีต ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความเจริญก้าวหน้าในการรู้แจ้งตนเอง ขณะเดียวกันบุคคลที่ไม่ทำเช่นนี้จะเพิ่มพูนการกระทำบาปให้มากยิ่งๆขึ้นไป และจะเตรียมร่างต่อไปที่เหมือนกับสุกรและสุนัขเพื่อรับกรรมจากผลบาปทั้งหมด โลกวัตถุเต็มไปด้วยมลพิษและผู้ที่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันด้วยการรับประทานพระสาดัมขององค์ภควานฺ (เครื่องเสวยที่ถวายให้พระวิษฺณุแล้ว) จะได้รับความปลอดภัยจากการบุกรุก ผู้ไม่ทำเช่นนี้ต้องได้รับมลพิษอย่างแน่นอน

ธัญพืชหรือผักเป็นอาหารที่ควรรับประทาน มนุษย์รับประทานข้าว ผัก และผลไม้ต่างๆ สัตว์กินกากอาหารจากข้าวและผัก กินหญ้า กินพืช ฯลฯ มนุษย์ผู้เคยชินกับการรับประทานเนื้อสัตว์ต้องขึ้นอยู่กับผลผลิตของพืชพันธุ์ธัญญาหารเช่นกันถึงจะกินสัตว์ได้ ดังนั้นในที่สุดเราจะต้องขึ้นอยู่กับผลผลิตของไร่นาไม่ใช่ผลผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่โต ผลผลิตจากไร่นามาจากฝนที่ตกลงมาจากฟากฟ้าอย่างเพียงพอ และฝนนี้เหล่าเทวดา เช่น พระอินทร์ พระอาทิตย์ พระจันทร์ ฯลฯ ทรงเป็นผู้ควบคุม และเทวดาทั้งหมดนี้ทรงเป็นผู้รับใช้ขององค์ภควานฺ พระองค์ทรงได้รับความพึงพอพระทัยจากการบูชา ดังนั้นผู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติการบูชาจะพบว่าตนเองอยู่ในสภาวะขาดแคลน นี่คือกฎแห่งธรรมชาติ ยชฺญ โดยเฉพาะ สงฺกีรฺตน-ยชฺญ ได้กำหนดไว้สำหรับยุคนี้จะต้องปฏิบัติเพื่อคุ้มครองเรา ซึ่งอย่างน้อยที่สุดก็ปกป้องเราจากการขาดแคลนอาหาร

โศลก 15

karma brahmodbhavaṁ viddhi
brahmākṣara-samudbhavam
tasmāt sarva-gataṁ brahma
nityaṁ yajñe pratiṣṭhitam
กรฺม พฺรโหฺมทฺภวํ วิทฺธิ
พฺรหฺมากฺษร-สมุทฺภวมฺ
ตสฺมาตฺ สรฺว-คตํ พฺรหฺม
นิตฺยํ ยชฺเญ ปฺรติษฺฐิตมฺ
กรฺม — งาน, พฺรหฺม — จากคัมภีร์พระเวท , อุทฺภวมฺ — ผลิต, วิทฺธิ — เธอควรรู้, พฺรหฺม — คัมภีร์พระเวท , อกฺษร — จาก พฺรหฺมนฺ สูงสุด (บุคลิกภาพแห่งพระเจ้า), สมุทฺภวมฺ — ปรากฎออกมาโดยตรง, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, สรฺว-คตมฺ — แผ่พระจายไปทั่ว, พฺรหฺม — เหนือโลก, นิตฺยมฺ — อมตะ, ยชฺเญ — ในการบูชา, ปฺรติษฺฐิตมฺ — สถิต

คำแปล

ระเบียบกิจกรรมได้กำหนดไว้ในคัมภีร์พระเวท และคัมภีร์พระเวทปรากฎออกมาโดยตรงจากบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ดังนั้นองค์ภควานฺผู้ทรงแผ่กระจายไปทั่วทรงสถิตในการปฏิบัติบูชานิรันดร

คำอธิบาย

ยชฺญารฺถ-กรฺม หรือความจำเป็นของงานเพื่อให้องค์กฺฤษฺณทรงพอพระทัยเพียงอย่างเดียวได้เน้นมากขึ้นในโศลกนี้ หากเราต้องทำงานเพื่อให้ ยชฺญ-ปุรุษ หรือพระวิษฺณุทรงพอพระทัยเราจะต้องค้นหาวิธีการทำงานใน พฺรหฺมนฺ หรือคัมภีร์ทิพย์พระเวท ดังนั้นคัมภีร์พระเวทจึงเป็นกฎระเบียบแนะนำวิธีการทำงาน การทำอะไรที่คัมภีร์พระเวทไม่ได้แนะนำไว้เรียกว่า วิกรฺม งานที่ไม่ได้รับอนุญาตหรืองานที่เป็นบาป ดังนั้นเราจึงควรรับคำแนะนำจากคัมภีร์พระเวทเสมอเพื่อความปลอดภัยจากผลกรรม เฉกเช่นเราต้องทำงานในชีวิตประจำวันทั่วไปตามคำแนะนำของรัฐ ในทำนองเดียวกันเราก็ต้องทำงานภายใต้คำแนะนำของรัฐสูงสุดแห่งองค์ภควานฺ คำแนะนำเช่นนี้อยู่ในคัมภีร์พระเวทซึ่งออกมาโดยตรงจากการหายใจของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ได้กล่าวไว้ว่า อสฺย มหโต ภูตสฺย นิศฺวสิตมฺ เอตทฺ ยทฺ ฤคฺ-เวโท ยชุรฺ-เวทห์ สาม-เวโท ’ถรฺวางฺคิรสห์ “คัมภีร์พระเวททั้งสี่เล่ม ฤคฺ เวท, ยชุรฺ เวท, สาม เวท และ อถรฺว เวท ทั้งหมดออกมาจากการหายใจของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่” (พฺฤหทฺ-อารณฺยก อุปนิษทฺ 4.5.11) องค์ภควานฺ ในฐานะที่ทรงมีพระเดชทั้งปวงทรงสามารถตรัสด้วยลมหายใจ ดังที่ได้ยืนยันไว้ใน พฺรหฺม-สํหิตา ว่าพระองค์ทรงพระเดชทั้งปวงประสาทสัมผัสแต่ละส่วนของพระองค์จึงสามารถทำหน้าที่ของประสาทสัมผัสอื่นๆได้ หรืออีกนัยหนึ่งองค์ภควานฺทรงสามารถตรัสด้วยการหายใจ และทรงสามารถทำให้มีครรภ์ได้ด้วยพระเนตรของพระองค์ อันที่จริงได้กล่าวไว้ว่าพระองค์ทรงชำเลืองไปที่ธรรมชาติวัตถุ และทรงเป็นพระบิดาของมวลชีวิต หลังจากการสร้างหรือการให้พันธวิญญาณไปอยู่ในครรภ์ของธรรมชาติวัตถุ พระองค์ทรงให้คำแนะนำสั่งสอนในปรัชญาพระเวทว่า พันธวิญญาณเหล่านี้จะกลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควานฺได้อย่างไร เราควรระลึกเสมอว่าพันธวิญญาณในโลกวัตถุทั้งหมดมีความกระตือรือร้นที่จะแสวงหาความสุขทางวัตถุ แต่คำแนะนำของคัมภีร์พระเวททำให้เราสามารถทำให้ความต้องการนอกลู่นอกทางของเราสมปรารถนา และการกลับคืนสู่พระองค์จบสิ้นกับสิ่งที่สมมุติว่าเป็นความสุข เป็นโอกาสของพันธวิญญาณที่จะได้รับอิสรภาพ ดังนั้นพันธวิญญาณต้องพยายามปฏิบัติตามวิธีการ ยชฺญ ด้วยการมีกฺฤษฺณจิตสำนึก หากพวกที่ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของคัมภีร์พระเวทก็อาจจะรับเอาหลักการของกฺฤษฺณจิตสำนึกไปปฏิบัติแทนการปฏิบัติ ยชฺญ หรือ กรฺม ตามคัมภีร์พระเวทได้

โศลก 16

evaṁ pravartitaṁ cakraṁ
nānuvartayatīha yaḥ
aghāyur indriyārāmo
moghaṁ pārtha sa jīvati
เอวํ ปฺรวรฺติตํ จกฺรํ
นานุวรฺตยตีห ยห์
อฆายุรฺ อินฺทฺริยาราโม
โมฆํ ปารฺถ ส ชีวติ
เอวมฺ — ดังนั้น, ปฺรวรฺติตมฺ — สถาปนาโดยคัมภีร์พระเวท , จกฺรมฺ — วัฎจักร, — ไม่, อนุวรฺตยติ — รับเอา, อิห — ในชีวิตนี้, ยห์ — ผู้ซึ่ง, อฆ-อายุห์ — ผู้ที่ชีวิตเต็มไปด้วยความบาป, อินฺทฺริย-อารามห์ — พึงพอใจในการสนองประสาทสัมผัส, โมฆมฺ — อย่างไร้ประโยชน์, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา (อารจุนะ), สห์ — เขา, ชีวติ — มีชีวิตอยู่

คำแปล

อรฺชุน ที่รัก ผู้ที่ไม่ปฏิบัติบูชาอย่างครบวงจรตามที่คัมภีร์พระเวทได้สถาปนาไว้ ชีวิตในร่างมนุษย์นี้เต็มไปด้วยความบาปอย่างแน่นอน การมีชีวิตอยู่ก็เพียงเพื่อความพึงพอใจของประสาทสัมผัสเท่านั้น บุคคลเช่นนี้มีชีวิตอยู่อย่างไร้ประโยชน์

คำอธิบาย

ปรัชญาละโมบที่ว่า “จงทำงานให้หนักและหาความสุขด้วยการสนองประสาทสัมผัส” องค์ภควานฺทรงตำหนิไว้ ที่นี้ ดังนั้นสำหรับพวกที่ต้องการหาความสุขในโลกวัตถุนี้วงจรแห่งการปฏิบัติ ยชฺญ ที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์นี้มีชีวิตอยู่ด้วยความเสี่ยงสูงและจะถูกลงโทษมากยิ่งขึ้นตามกฎแห่งธรรมชาติ ชีวิตมนุษย์มีไว้เพื่อความรู้แจ้งแห่งตนโดยเฉพาะจากหนึ่งในสามวิธีคือ กรฺม-โยค, ชฺญาน-โยค หรือ ภกฺติ-โยค ไม่มีความจำเป็นสำหรับนักทิพย์นิยมผู้อยู่เหนือความดีและความชั่วที่ต้องปฏิบัติตาม ยชฺญ ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด แต่สำหรับพวกที่ทำไปเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตนเองจำเป็นต้องปฏิบัติ ยชฺญ ตามวงจรที่กล่าวไว้ เพื่อความบริสุทธิ์ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ ผู้ที่ไม่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกแน่นอนว่าปฏิบัติตนอยู่ในประสาทสัมผัสจิตสำนึก ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นต้องทำงานที่เป็นกุศล ระบบ ยชฺญ ได้วางแผนไว้เพื่อให้บุคคลผู้มีประสาทสัมผัสจิตสำนึกอาจสามารถทำให้ประสาทสัมผัสของตนพึงพอใจได้โดยไม่ต้องถูกพันธนาการอยู่ในผลกรรมจากการสนองประสาทสัมผัส ความเจริญรุ่งเรืองของโลกมิได้ขึ้นอยู่ที่ความพยายามของเรา แต่ขึ้นอยู่กับการบริหารขององค์ภควานฺที่ทรงอยู่เบื้องหลัง ซึ่งมอบหมายให้มวลเทวดาเป็นผู้ปฏิบัติโดยตรง ดังนั้น ยชฺญ จึงมีเป้าหมายไปที่เทวดาโดยเฉพาะดังที่ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์พระเวทซึ่งเป็นทางอ้อมในการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึก เพราะว่าเมื่อเราประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติ ยชฺญ แล้วเราต้องมาเป็นผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างแน่นอน หากหลังจากปฏิบัติ ยชฺญ แล้วเราไม่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกถือว่าหลักธรรมนี้เป็นเพียงแค่หลักศีลธรรมเท่านั้น ดังนั้นเราไม่ควรจำกัดความเจริญก้าวหน้าให้มาถึงแค่ระดับศีลธรรมเท่านั้น แต่ควรข้ามพ้นไปให้บรรลุถึงกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 17

yas tv ātma-ratir eva syād
ātma-tṛptaś ca mānavaḥ
ātmany eva ca santuṣṭas
tasya kāryaṁ na vidyate
ยสฺ ตฺวฺ อาตฺม-รติรฺ เอว สฺยาทฺ
อาตฺม-ตฺฤปฺตศฺ จ มานวห์
อาตฺมนฺยฺ เอว จ สนฺตุษฺฏสฺ
ตสฺย การฺยํ น วิทฺยเต
ยห์ — ผู้ซึ่ง, ตุ — แต่, อาตฺม-รติห์ — มีความสุขอยู่ในตัว, เอว — แน่นอน, สฺยาตฺ — ยังคง, อาตฺม-ตฺฤปฺตห์ — ส่องแสงในตัว, — และ, มานวห์ — มนุษย์, อาตฺมนิ — ในตัวเขา, เอว — เท่านั้น, — และ, สนฺตุษฺฏห์ — เพียงพออย่างบริบูรณ์, ตสฺย — เขา, การฺยมฺ — หน้าที่, — ไม่, วิทฺยเต — เป็นอยู่

คำแปล

สำหรับผู้ที่มีความสุขอยู่ในตัวเอง ผู้ที่ชีวิตมนุษย์ของเขาเป็นไปเพื่อความรู้แจ้งแห่งตนนั้นเป็นผู้ที่มีความพึงพอใจในตนเองเท่านั้น มีความพอเพียงอย่างบริบูรณ์ สำหรับบุคคลเช่นนี้ไม่มีหน้าที่การงานใดๆ

คำอธิบาย

ผู้ที่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์และมีความพึงพอใจอย่างบริบูรณ์ในการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่มีหน้าที่การงานอื่นใดที่ต้องทำ เพราะว่าอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกความไม่บริสุทธิ์ทั้งหมดภายในตัวเขาได้ถูกชะล้างให้สะอาดโดยฉับพลัน เทียบเท่ากับผลของการปฏิบัติ ยชฺญ หลายๆพันครั้ง จากการทำให้จิตสำนึกบริสุทธิ์เช่นนี้จะมีความมั่นใจอย่างแน่วแน่เกี่ยวกับสถานภาพนิรันดรในความสัมพันธ์กับองค์ภควานฺ หน้าที่ของเขาจึงมีความสว่างไสวในตัวเองอันเนื่องมาจากพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺ ดังนั้นเขาจะไม่มีพันธกรณีใดๆเกี่ยวกับคำสั่งสอนในคัมภีร์พระเวท บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกเช่นนี้จะไม่สนใจกิจกรรมทางวัตถุและจะไม่ใฝ่หาความสุขทางวัตถุ เช่น สุรา นารี และสิ่งที่ทำให้ลุ่มหลงต่างๆ

โศลก 18

naiva tasya kṛtenārtho
nākṛteneha kaścana
na cāsya sarva-bhūteṣu
kaścid artha-vyapāśrayaḥ
ไนว ตสฺย กฺฤเตนารฺโถ
นากฺฤเตเนห กศฺจน
น จาสฺย สรฺว-ภูเตษุ
กศฺจิทฺ อรฺถ-วฺยปาศฺรยห์
— ไม่เคย, เอว — แน่นอน, ตสฺย — ของเขา, กฺฤเตน — ด้วยการปฏิบัติหน้าที่, อรฺถห์ — จุดมุ่งหมาย, — ไม่, อกฺฤเตน — โดยไม่ปฎิบัติหน้าที่, อิห — ในโลกนี้, กศฺจน — อะไรก็แล้วแต่, — ไม่เคย, — และ, อสฺย — ของเขา, สรฺว-ภูเตษุ — ระหว่างสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย, กศฺจิตฺ — ใดๆ, อรฺถ — จุดมุ่งหมาย, วฺยปาศฺรยห์ — เป็นที่พึ่ง

คำแปล

บุคคลผู้รู้แจ้งตนเองจะไม่มีจุดมุ่งหมายอื่นใดที่จะต้องบรรลุในการปฏิบัติหน้าที่ของตนที่กำหนดไว้ เขาไม่มีเหตุผลอันใดที่จะไม่ปฏิบัติงานนี้ และก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตใดๆ

คำอธิบาย

บุคคลผู้รู้แจ้งแห่งตนจะไม่มีพันธกรณีใดๆในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้นอกจากกิจกรรมในกฺฤษฺณจิตสำนึก กฺฤษฺณจิตสำนึกมิใช่ว่าไม่มีกิจกรรม ดังจะอธิบายในโศลกต่อๆไป บุคคลที่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่จำเป็นต้องไปพึ่งผู้ใดไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือเทวดา สิ่งใดที่สามารถทำได้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกนั้นถือว่าเพียงพอในการปฏิบัติภาระกิจหน้าที่ของเขาแล้ว

โศลก 19

tasmād asaktaḥ satataṁ
kāryaṁ karma samācara
asakto hy ācaran karma
param āpnoti pūruṣaḥ
ตสฺมาทฺ อสกฺตห์ สตตํ
การฺยํ กรฺม สมาจร
อสกฺโต หฺยฺ อาจรนฺ กรฺม
ปรมฺ อาปฺโนติ ปูรุษห์
ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, อสกฺตห์ — ไม่ยึดติด, สตตมฺ — สม่ำเสมอ, การฺยมฺ — เป็นหน้าที่, กรฺม — งาน, สมาจร — ปฏิบัติ, อสกฺตห์ — ไม่ยึดติด, หิ — แน่นอน, อาจรนฺ — ปฏิบัติ, กรฺม — งาน, ปรมฺ — สูงสุด, อาปฺโนติ — ได้รับ, ปูรุษห์ — มนุษย์

คำแปล

ฉะนั้น โดยการปราศจากการยึดติดกับผลของงานเราควรปฏิบัติตนตามหน้าที่ เพราะจากการทำงานโดยไม่ยึดติดนั้นเราจะบรรลุถึงองค์ภควานฺ

คำอธิบาย

องค์ภควานฺคือ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าสำหรับสาวก และคือความหลุดพ้นสำหรับผู้ที่ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ ดังนั้นบุคคลผู้ปฏิบัติตนเพื่อองค์กฺฤษฺณ หรืออยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกภายใต้การแนะนำที่ถูกต้อง โดยไม่ยึดติดต่อผลของงานนั้นแน่นอนว่าต้องเจริญก้าวหน้าไปสู่จุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งชีวิต อรฺชุน ได้รับคำแนะนำว่าควรต่อสู้ในสนามรบ กุรุกฺเษตฺร เพื่อประโยชน์ขององค์กฺฤษฺณ เพราะว่าองค์กฺฤษฺณทรงปรารถนาให้ อรฺชุน สู้ การเป็นคนดีหรือเป็นคนที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่นเป็นการยึดติดส่วนตัว แต่การปฏิบัติตนเพื่อองค์ภควานฺเป็นการปฏิบัติโดยไม่ยึดติดต่อผลงาน นี่คือการปฏิบัติที่สมบูรณ์สูงสุดที่บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงได้แนะนำ

พิธีกรรมในคัมภีร์พระเวทเป็นพิธีการบวงสรวงบูชา กำหนดให้ปฏิบัติเพื่อชะล้างความไม่บริสุทธิ์อันเนื่องมาจากกิจกรรมที่ไม่เป็นมงคลในการสนองประสาทสัมผัส แต่การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เหนือผลกรรมทั้งดีและชั่ว บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่ยึดติดกับผลของงานแต่ปฏิบัติไปเพื่อองค์กฺฤษฺณเท่านั้น เขาสามารถทำกิจกรรมทุกชนิดแต่ว่าไม่มีความยึดติดใดๆเลย

โศลก 20

karmaṇaiva hi saṁsiddhim
āsthitā janakādayaḥ
loka-saṅgraham evāpi
sampaśyan kartum arhasi
กรฺมไณว หิ สํสิทฺธิมฺ
อาสฺถิตา ชนกาทยห์
โลก-สงฺคฺรหมฺ เอวาปิ
สมฺปศฺยนฺ กรฺตุมฺ อรฺหสิ
กรฺมณา — ด้วยงาน, เอว — แม้แต่, หิ — แน่นอน, สํสิทฺธิมฺ — ในความสมบูรณ์, อาสฺถิตาห์ — สถิต, ชนก-อาทยห์ชนก และกษัตริย์อื่นๆ, โลก-สงฺคฺรหมฺ — ผู้คนโดยทั่วไป, เอว อปิ — เช่นกัน, สมฺปศฺยนฺ — พิจารณา, กรฺตุมฺ — ปฎิบัติ, อรฺหสิ — เธอควรได้รับ

คำแปล

กษัตริย์ เช่น พระเจ้า ชนก ทรงบรรลุถึงความสมบูรณ์ด้วยเพียงแต่ทรงปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้เท่านั้น ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาแก่ประชาชนโดยทั่วไป เธอควรจะปฏิบัติงานของเธอ

คำอธิบาย

เหล่า กฺษตฺริย เช่น พระเจ้า ชนก ทรงเป็นดวงวิญญาณผู้รู้แจ้งแห่งตน ดังนั้น กฺษตฺริย เหล่านี้ทรงไม่มีข้อผูกพันในการที่จะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ในคัมภีร์พระเวท แต่ถึงกระนั้น กฺษตฺริย เหล่านี้ก็ยังทรงปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ทั้งหมดเพื่อทำตนเป็นตัวอย่างสำหรับประชาชนโดยทั่วไป พระเจ้า ชนก เป็นพระราชบิดาของพระนางสีดา ทรงเป็นพระสัสสุระของพระราม เนื่องจากเป็นสาวกผู้ยิ่งใหญ่ขององค์ภควานฺ พระองค์ทรงสถิตเหนือโลกวัตถุ แต่เนื่องจากทรงเป็น กฺษตฺริย แห่งนคร มิถิลา (เมืองหนึ่งของจังหวัดบิฮารในประเทศอินเดีย) จึงจำเป็นต้องสอนประชาชนของพระองค์ว่าควรปฏิบัติหน้าที่ที่กำหนดไว้อย่างไร อรฺชุน ผู้เป็นสหายนิรันดรขององค์กฺฤษฺณ ไม่มีความจำเป็นต้องต่อสู้ในสนามรบ กุรุกฺเษตฺร แต่ทั้งสองพระองค์ทรงต่อสู้เพื่อสอนประชาชนโดยทั่วไปว่าความรุนแรงบางครั้งมีความจำเป็นในสถานการณ์ที่ความถูกต้องยุติธรรมพ่ายแพ้ ก่อนจะเกิดสงครามที่ กุรุกฺเษตฺร ได้มีความพยายามทุกวิถีทางที่จะหลีกเลี่ยงสงคราม แม้แต่บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าเองก็ทรงพยายาม แต่ฝ่ายตรงข้ามยืนกรานว่าจะต้องรบ ดังนั้นเพื่อความถูกต้องยุติธรรมสงครามจึงเป็นสิ่งจำเป็น ถึงแม้ว่าผู้ที่สถิตในกฺฤษฺณจิตสำนึกอาจจะไม่มีความสนใจต่อสิ่งใดในโลก แต่ยังต้องทำงานเพื่อสอนประชาชนทั่วไปว่าควรจะมีชีวิตอยู่อย่างไร และควรจะทำงานอย่างไร บุคคลผู้มีประสบการณ์ในกฺฤษฺณจิตสำนึกสามารถปฏิบัติตนให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้ ดังที่จะได้อธิบายในโศลกต่อไป

โศลก 21

yad yad ācarati śreṣṭhas
tat tad evetaro janaḥ
sa yat pramāṇaṁ kurute
lokas tad anuvartate
ยทฺ ยทฺ อาจรติ เศฺรษฺฐสฺ
ตตฺ ตทฺ เอเวตโร ชนห์
ส ยตฺ ปฺรมาณํ กุรุเต
โลกสฺ ตทฺ อนุวรฺตเต
ยตฺ ยตฺ — อะไรก็แล้วแต่, อาจรติ — เขากระทำ, เศฺรษฺฐห์ — ผู้นำที่ควรเคารพ, ตตฺ — นั้น, ตตฺ — และสิ่งนั้นสิ่งเดียว, เอว — แน่นอน, อิตรห์ — ทั่วไป, ชนห์ — บุคคล, สห์ — เขา, ยตฺ — อะไรก็แล้วแต่, ปฺรมาณมฺ — ตัวอย่าง, กุรุเต — ปฎิบัติ, โลกห์ — โลกทั้งหมด, ตตฺ — นั้น, อนุวรฺตเต — ปฎิบัติตามรอยพระบาท

คำแปล

มหาบุรุษปฏิบัติอย่างไรบุคคลธรรมดาทั่วไปจะปฏิบัติตาม และมาตรฐานใดที่ท่านวางไว้ด้วยการปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างทั่วโลกจะเจริญรอยตาม

คำอธิบาย

ประชาชนทั่วไปจำเป็นต้องมีผู้นำที่สามารถสอนด้วยการปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง ผู้นำไม่สามารถสอนให้ประชาชนงดสูบบุหรี่หากตนเองยังสูบบุหรี่อยู่ องค์ไจตนฺย ตรัสว่าครูควรจะปฏิบัติตนให้เหมาะสมถูกต้องก่อนที่จะเริ่มทำการสอนผู้อื่น ผู้ที่สอนแบบนี้เรียกว่า อาจารฺย หรือครูที่ดีเลิศ ฉะนั้นครูต้องปฏิบัติตามหลักของ ศาสฺตฺร (พระคัมภีร์) ในการสอนบุคคลทั่วไปครูไม่ควรออกกฎเกณฑ์ที่ขัดกับหลักธรรมในพระคัมภีร์ที่เปิดเผย พระคัมภีร์ที่เปิดเผย เช่น มนุ-สํหิตา และเล่มอื่นๆในลักษณะเดียวกันนี้ ถือว่าเป็นหนังสือมาตรฐานที่สังคมมนุษย์ควรปฏิบัติตาม ฉะนั้นคำสอนของผู้นำควรจะมีพื้นฐานมาจากหลักธรรมของ ศาสฺตฺร ที่ได้มาตรฐานเหล่านี้ ผู้ปรารถนาจะพัฒนาตนเองต้องปฏิบัติตามหลักมาตรฐานดังที่พระอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ปฏิบัติ ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ได้ยืนยันเช่นเดียวกันว่าเราควรเจริญรอยตามพระบาทของสาวกผู้ยิ่งใหญ่ นี่คือวิธีแห่งความเจริญก้าวหน้าบนหนทางแห่งความรู้แจ้งทิพย์ กฺษตฺริย หรือผู้บริหารรัฐบิดาและครูอาจารย์ถือว่าเป็นผู้นำโดยธรรมชาติของประชาชนผู้พาซื่อโดยทั่วไป ผู้นำโดยธรรมชาติทั้งหมดนี้มีความรับผิดชอบอันใหญ่หลวงต่อผู้ที่อยู่ภายใต้การดูแลของตน ฉะนั้นผู้นำเหล่านี้จะต้องรอบรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ศีลธรรมและศาสนาของหนังสือมาตรฐานเหล่านี้

โศลก 22

na me pārthāsti kartavyaṁ
triṣu lokeṣu kiñcana
nānavāptam avāptavyaṁ
varta eva ca karmaṇi
น เม ปารฺถาสฺติ กรฺตวฺยํ
ตฺริษุ โลเกษุ กิญฺจน
นานวาปฺตมฺ อวาปฺตวฺยํ
วรฺต เอว จ กรฺมณิ
— ไม่, เม — ของข้า, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, อสฺติ — มี, กรฺตวฺยมฺ — หน้าที่ที่กำหนดไว้, ตฺริษุ — ในทั้งสาม, โลเกษุ — ระบบดาวเคราะห์, กิญฺจน — ใด, — ไม่มี, อนวาปฺตมฺ — ต้องการ, อวาปฺตวฺยมฺ — ได้กำไร, วรฺเต — ข้าปฎิบัติอยู่, เอว — แน่นอน, — เช่นกัน, กรฺมณิ — ในหน้าที่ที่กำหนดไว้

คำแปล

โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา ไม่มีงานใดที่กำหนดไว้สำหรับข้าภายในระบบดาวเคราะห์ทั้งสาม ข้าไม่ต้องการสิ่งใด และข้าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องบรรลุถึงอะไร ถึงกระนั้นข้ายังต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้กำหนดไว้

คำอธิบาย

วรรณกรรมพระเวทได้อธิบายถึงบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ดังต่อไปนี้

ตมฺ อีศฺวราณำ ปรมํ มเหศฺวรํ
ตํ เทวตานำ ปรมํ จ ไทวตมฺ
ปตึ ปตีนำ ปรมํ ปรสฺตาทฺ
วิทาม เทวํ ภุวเนศมฺ อีฑฺยมฺ
น ตสฺย การฺยํ กรณํ จ วิทฺยเต
น ตตฺ-สมศฺ จาภฺยธิกศฺ จ ทฺฤศฺยเต
ปราสฺย ศกฺติรฺ วิวิไธว ศฺรูยเต
สฺวาภาวิกี ชฺญาน-พล-กฺริยา จ
องค์ภควานฺทรงเป็นผู้ควบคุมผู้ควบคุมทั้งหลาย พระองค์ทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาผู้นำของดาวเคราะห์ต่างๆทั้งหมด ทุกๆชีวิตอยู่ภายใต้การควบคุมของพระองค์สิ่งมีชีวิตทั้งมวลมิใช่ผู้สูงสุดแต่ได้รับพลังอำนาจเฉพาะจากองค์ภควานฺเท่านั้น เหล่าเทวดาบูชาพระองค์องค์ภควานฺทรงเป็นผู้บัญชาการสูงสุดในหมู่ผู้บัญชาการทั้งหลาย ฉะนั้นทรงเป็นทิพย์อยู่เหนือผู้นำและผู้ควบคุมทางวัตถุทั้งมวล ทุกๆชีวิตบูชาพระองค์ไม่มีผู้ใดยิ่งใหญ่ไปกว่าพระองค์และพระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง

“องค์ภควานฺทรงมิได้มีพระวรกายเหมือนกับสิ่งมีชีวิตสามัญทั่วไป ไม่มีข้อแตกต่างระหว่างพระวรกายและดวงวิญญาณของพระองค์พระองค์ทรงสมบูรณ์บริบูรณ์ทุกประการ ประสาทสัมผัสทั้งหมดของพระองค์เป็นทิพย์ แต่ละประสาทสัมผัสสามารถทำหน้าที่ของประสาทสัมผัสอื่นๆได้ทั้งหมด ดังนั้นจึงไม่มีผู้ใดยิ่งใหญ่ไปกว่าหรือเสมอเหมือนพระองค์พระเดชของพระองค์มีหลากหลายมากมาย ฉะนั้นกิจกรรมของพระองค์เป็นไปตามลำดับตามธรรมชาติ” (เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ 6.7-8)

เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างมีความมั่งคั่งสมบูรณ์อยู่ในองค์ภควานฺ และปรากฎอยู่เป็นสัจธรรมที่สมบูรณ์ จึงไม่มีหน้าที่อันใดสำหรับบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงต้องปฏิบัติ ผู้ที่ต้องรับผลของงานจะต้องมีหน้าที่ที่กำหนดไว้บางประการ แต่ผู้ที่ไม่มีจุดมุ่งหมายใดๆจะต้องบรรลุภายในระบบดาวเคราะห์ทั้งสามย่อมไม่มีหน้าที่อย่างแน่นอน ถึงกระนั้นองค์ศฺรี กฺฤษฺณยังทรงรับพระภารกิจในสมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร ในฐานะเป็นผู้นำ กฺษตฺริย เพราะเป็นหน้าที่ของ กฺษตฺริย ที่ต้องปกป้องคุ้มครองประชาชนผู้ได้รับความทุกข์ แม้ว่าองค์ภควานฺทรงอยู่เหนือกฎเกณฑ์ทั้งหลายที่ปรากฎอยู่ในพระคัมภีร์ แต่พระองค์ทรงมิได้กระทำสิ่งที่ละเมิดพระคัมภีร์ที่เปิดเผยไว้

โศลก 23

yadi hy ahaṁ na varteyaṁ
jātu karmaṇy atandritaḥ
mama vartmānuvartante
manuṣyāḥ pārtha sarvaśaḥ
ยทิ หฺยฺ อหํ น วรฺเตยํ
ชาตุ กรฺมณฺยฺ อตนฺทฺริตห์
มม วรฺตฺมานุวรฺตนฺเต
มนุษฺยาห์ ปารฺถ สรฺวศห์
ยทิ — ถ้าหาก, หิ — แน่นอน, อหมฺ — ข้า, — ไม่, วรฺเตยมฺ — ปฎิบัติ, ชาตุ — เคย, กรฺมณิ — ในการปฎิบัติหน้าที่ที่กำหนดไว้, อตนฺทฺริตห์ — ด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง, มม — ของข้า, วรฺตฺม — วิถีทาง, อนุวรฺตนฺเต — จะปฎิบัติตาม, มนุษฺยาห์ — มนุษย์ทั้งหลาย, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, สรฺวศห์ — ในทั้งหมด

คำแปล

ถ้าหากข้าไม่ปฏิบัติหน้าที่ที่กำหนดไว้อย่างระมัดระวังแล้วไซร้ โอ้ ปารฺถ ทุกคนจะปฏิบัติตามแนวทางของข้าอย่างแน่นอน

คำอธิบาย

เพื่อรักษาสมดุลแห่งความสงบของสังคมให้เจริญก้าวหน้าในชีวิตทิพย์จึงมีขนบธรรมเนียมประเพณีของครอบครัวที่มีอารยธรรม แม้ว่ากฎเกณฑ์เหล่านี้มีไว้สำหรับพันธวิญญาณไม่ใช่สำหรับองค์ศฺรี กฺฤษฺณ แต่เนื่องจากเสด็จลงมาเพื่อสถาปนาหลักศาสนาพระองค์จึงทรงปฏิบัติหน้าที่ตามกฎเกณฑ์ต่างๆที่กำหนดไว้ให้เป็นแบบอย่าง เพื่อคนธรรมดาสามัญทั่วไปจะได้เจริญรอยตามพระบาทของพระองค์เนื่องจากทรงเป็นผู้ที่เชื่อถือได้มากที่สุด จาก ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ เราเข้าใจว่าองค์กฺฤษฺณทรงปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนาทั้งหมดทั้งในบ้านและนอกบ้านตามที่ได้กำหนดไว้สำหรับชีวิตคฤหัสถ์

โศลก 24

utsīdeyur ime lokā
na kuryāṁ karma ced aham
saṅkarasya ca kartā syām
upahanyām imāḥ prajāḥ
อุตฺสีเทยุรฺ อิเม โลกา
น กุรฺยำ กรฺม เจทฺ อหมฺ
สงฺกรสฺย จ กรฺตา สฺยามฺ
อุปหนฺยามฺ อิมาห์ ปฺรชาห์
อุตฺสีเทยุห์ — จะตกอยู่ในความหายนะ, อิเม — ทั้งหมดนี้, โลกาห์ — โลกต่างๆ, — ไม่, กุรฺยามฺ — ข้าปฎิบัติ, กรฺม — หน้าที่ที่ได้กำหนดไว้, เจตฺ — หาก, อหมฺ — ข้า, สงฺกรสฺย — ของประชากรที่ไม่ต้องการ, — และ, กรฺตา — ผู้สร้าง, สฺยามฺ — จะเป็น, อุปหนฺยามฺ — จะทำลาย, อิมาห์ — ทั้งหมดนี้, ปฺรชาห์ — สิ่งมีชีวิตต่างๆ

คำแปล

หากข้าไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ โลกทั้งหลายจะตกอยู่ในความหายนะ ข้าจะเป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดประชากรที่ไม่พึงปรารถนา และจะเป็นผู้ทำลายความสงบของมวลชีวิต

คำอธิบาย

วรฺณ-สงฺกร คือประชากรที่ไม่พึงปรารถนา ผู้ที่ชอบก่อความไม่สงบให้เกิดขึ้นในสังคมโดยทั่วไป เพื่อเป็นการถ่วงดุลความไม่สงบในสังคมจึงมีกฎเกณฑ์กำหนดไว้ให้ประชาชนสามารถได้รับความสงบ และรวมพลังเพื่อความเจริญก้าวหน้าในชีวิตทิพย์ เมื่อองค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเสด็จลงมาโดยธรรมชาติพระองค์ทรงปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านี้เพื่อรักษาชื่อเสียง และทำให้เห็นถึงความจำเป็นในการปฏิบัติสิ่งสำคัญเหล่านี้ องค์ภควานฺทรงเป็นพระบิดาของมวลชีวิต หากสิ่งมีชีวิตถูกนำพาไปในทางที่ผิดโดยทางอ้อมพระองค์ทรงรับผิดชอบ ดังนั้นเมื่อใดที่มีการละเลยหลักธรรมโดยทั่วไปพระองค์จะเสด็จลงมาเพื่อแก้ปัญหาสังคม อย่างไรก็ดีเราควรจะระมัดระวังไว้ถึงแม้ว่าเราต้องปฏิบัติตามรอยพระบาทขององค์ภควานฺ เราควรจดจำไว้เสมอว่าเราไม่สามารถเลียนแบบพระองค์การปฏิบัติตามและการเลียนแบบไม่เหมือนกัน เราไม่สามารถเลียนแบบองค์ภควานฺด้วยการยกภูเขา โควรฺธน ดังที่ทรงกระทำในขณะที่ยังทรงพระเยาว์ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้สำหรับมนุษย์ เราต้องปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์แต่ไม่ควรเลียนแบบพระองค์ไม่ว่าในขณะใดก็ตาม ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (10.33.30-31) ยืนยันไว้ดังนี้

ไนตตฺ สมาจเรชฺ ชาตุ
มนสาปิ หฺยฺ อนีศฺวรห์
วินศฺยตฺยฺ อาจรนฺ เมาฒฺยาทฺ
ยถารุโทฺร ’พฺธิ-ชํ วิษมฺ
อีศฺวราณำ วจห์ สตฺยํ
ตไถวาจริตํ กฺวจิตฺ
เตษำ ยตฺ สฺว-วโจ-ยุกฺตํ
พุทฺธิมำสฺ ตตฺ สมาจเรตฺ
“เราควรปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์ภควานฺ และผู้รับใช้ของพระองค์ที่ได้รับมอบอำนาจ คำสั่งสอนของท่านเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ดีสำหรับพวกเรา ผู้ที่มีสติปัญญาจะปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ อย่างไรก็ดีเราควรระวังว่าจะไม่พยายามเลียนแบบการกระทำของพวกท่าน เฉกเช่นเราไม่ควรดื่มมหาสมุทรยาพิษเพื่อเลียนแบบพระศิวะ”

เราควรพิจารณาตำแหน่งของ อีศฺวร หรือผู้ที่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ว่าทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่อยู่เสมอ หากเราไม่มีพลังอำนาจเช่นนี้เราไม่สามารถเลียนแบบ อีศฺวร ผู้งทรงพลังที่สูกว่า พระศิวะทรงดื่มยาพิษถึงขนาดกลืนมหาสมุทรได้ แต่หากว่าคนธรรมดาสามัญทั่วไปพยายามดื่มยาพิษนี้แม้เพียงนิดเดียวจะตายทันที มีสาวกจอมปลอมมากมายของพระศิวะผู้ที่ต้องการจะสูบกัญชาและยาเสพติดในลักษณะเดียวกันนี้ โดยลืมไปว่าการเลียนแบบการกระทำของพระศิวะเช่นนี้เทียบเท่ากับเรียกหาความตายเข้ามาใกล้ตัว ในทำนองเดียวกันมีสาวกจอมปลอมขององค์กฺฤษฺณที่ชอบเลียนแบบองค์ภควานฺ ใน ราส-ลีลา หรือลีลาศแห่งความรัก โดยลืมไปว่าตนเองไม่มีความสามารถที่จะยกภูเขา โควรฺธน ได้ ฉะนั้นจึงเป็นการดีที่สุดที่เราจะไม่พยายามเลียนแบบพระองค์ผู้ทรงเดชเพียงแค่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนก็พอแล้ว เราไม่ควรพยายามไปยึดตำแหน่งของพระองค์โดยที่เราไม่มีคุณสมบัติ มี“อวตาร” ขององค์ภควานฺอยู่เกลื่อนกลาดที่ปราศจากพระเดชแห่งองค์ภควานฺ

โศลก 25

saktāḥ karmaṇy avidvāṁso
yathā kurvanti bhārata
kuryād vidvāṁs tathāsaktaś
cikīrṣur loka-saṅgraham
สกฺตาห์ กรฺมณฺยฺ อวิทฺวำโส
ยถา กุรฺวนฺติ ภารต
กุรฺยาทฺ วิทฺวำสฺ ตถาสกฺตศฺ
จิกีรฺษุรฺ โลก-สงฺคฺรหมฺ
สกฺตาห์ — มีความยึดติด, กรฺมณิ — ในหน้าที่ที่กำหนดไว้, อวิทฺวำสห์ — อวิชชา, ยถา — มากเท่ากับ, กุรฺวนฺติ — พวกเขาทำ, ภารต — โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ ภรต, กุรฺยาตฺ — จะต้องทำ, วิทฺวานฺ — ผู้รู้, ตถา — ดังนั้น, อสกฺตห์ — ไม่มีความยึดติด, จิกีรฺษุห์ — ต้องการนำ, โลก-สงฺคฺรหมฺ — ผู้คนโดยทั่วไป

คำแปล

เฉกเช่นผู้อยู่ในอวิชชาปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความยึดติดในผลของงาน ผู้รู้อาจปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกันแต่ไม่ยึดติด ทำไปเพียงเพื่อที่จะนำผู้คนให้มาสู่วิถีทางที่ถูกต้องเท่านั้น

คำอธิบาย

บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกและบุคคลผู้ไม่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกต่างกันที่ความปรารถนาไม่เหมือนกัน บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่ทำอะไรที่ไม่เอื้ออำนวยให้พัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึก เขาอาจปฏิบัติตนเหมือนกับบุคคลผู้อยู่ในอวิชชาที่ยึดติดในกิจกรรมทางวัตถุทุกประการ แต่คนหนึ่งปฏิบัติในกิจกรรมเหล่านี้เพื่อสนองประสาทสัมผัสของตน ในขณะที่อีกคนหนึ่งปฏิบัติตนเพื่อให้องค์กฺฤษฺณทรงพอพระทัย ดังนั้นบุคคลผู้ที่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจำเป็นต้องแสดงให้ผู้คนเห็นว่าควรปฏิบัติตนอย่างไร และควรนำผลของการปฏิบัติมาใช้เพื่อจุดมุ่งหมายในกฺฤษฺณจิตสำนึกได้อย่างไร

โศลก 26

na buddhi-bhedaṁ janayed
ajñānāṁ karma-saṅginām
joṣayet sarva-karmāṇi
vidvān yuktaḥ samācaran
น พุทฺธิ-เภทํ ชนเยทฺ
อชฺญานำ กรฺม-สงฺคินามฺ
โชษเยตฺ สรฺว-กรฺมาณิ
วิทฺวานฺ ยุกฺตห์ สมาจรนฺ
— ไม่, พุทฺธิ-เภทมฺ — ความยุ่งของปัญญา, ชนเยตฺ — เขาอาจเป็นต้นเหตุ, อชฺญานามฺ — ของคนโง่, กรฺม-สงฺคินามฺ — ผู้ที่ยึดติดในผลของงาน, โชษเยตฺ — เขาควรจะประสาน, สรฺว — ทั้งหมด, กรฺมาณิ — งาน, วิทฺวานฺ — ผู้รู้, ยุกฺตห์ — ปฎิบัติ, สมาจรนฺ — ฝึกฝน

คำแปล

เพื่อไม่เป็นการรบกวนจิตใจของผู้อยู่ในอวิชชาที่ยึดติดต่อผลของงานในหน้าที่ที่กำหนดไว้ ผู้รู้ไม่ควรแนะนำให้พวกเขาหยุดทำงาน แต่ให้ทำงานในสปิริตแห่งการเสียสละ ควรแนะนำให้พวกเขาปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ (เพื่อค่อยๆพัฒนามาสู่กฺฤษฺณจิตสำนึก)

คำอธิบาย

เวไทศฺ สไรฺวรฺ อหมฺ เอว เวทฺยห์ นี่คือจุดหมายปลายทางของพิธีกรรมทั้งหลายในคัมภีร์พระเวท พิธีกรรมทั้งหมด การปฏิบัติบูชาทั้งหมด และทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในคัมภีร์พระเวท รวมทั้งคำแนะนำทั้งหมดเพื่อกิจกรรมทางวัตถุ ทั้งหมดนี้เพื่อให้เข้าใจองค์กฺฤษฺณ ผู้ทรงเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต แต่เนื่องจากพันธวิญญาณไม่รู้อะไรมากไปกว่าการสนองประสาทสัมผัสจึงศึกษาคัมภีร์พระเวทด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อสนองประสาทสัมผัส จากการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์และสนองประสาทสัมผัสที่ประมาณไว้โดยพิธีกรรมทางพระเวทเราจะค่อยๆพัฒนามาสู่กฺฤษฺณจิตสำนึก ดังนั้นดวงวิญญาณผู้รู้แจ้งในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่ควรรบกวนผู้อื่นในกิจกรรมหรือความเข้าใจของพวกเขา แต่ควรปฏิบัติด้วยการแสดงให้เห็นว่าผลของงานทั้งหมดสามารถอุทิศเพื่อรับใช้องค์กฺฤษฺณได้อย่างไร บุคคลผู้รู้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอาจปฏิบัติในวิธีที่จะทำให้บุคคลผู้อยู่ในอวิชชา ซึ่งทำงานเพื่อสนองประสาทสัมผัสได้เรียนรู้ว่าควรทำงานและปฏิบัติตนอย่างไร ถึงแม้ว่าผู้ที่อยู่ในอวิชชาไม่ควรถูกรบกวนในกิจกรรมของเขา แต่บุคคลผู้พัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึกแม้เพียงเล็กน้อยอาจปฏิบัติตนรับใช้องค์ภควานฺโดยตรงได้โดยไม่ต้องรอสูตรต่างๆจากคัมภีร์พระเวท สำหรับผู้โชคดีเช่นนี้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามพิธีกรรมทางพระเวท เพราะจากการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรงเราสามารถได้รับผลพวงทั้งหมดที่อาจจะได้รับจากการปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้

โศลก 27

prakṛteḥ kriyamāṇāni
guṇaiḥ karmāṇi sarvaśaḥ
ahaṅkāra-vimūḍhātmā
kartāham iti manyate
ปฺรกฺฤเตห์ กฺริยมาณานิ
คุไณห์ กรฺมาณิ สรฺวศห์
อหงฺการ-วิมูฒาตฺมา
กรฺตาหมฺ อิติ มนฺยเต
ปฺรกฺฤเตห์ — ของธรรมชาติวัตถุ, กฺริยมาณานิ — กระทำอยู่, คุไณห์ — โดยระดับต่างๆ, กรฺมาณิ — กิจกรรม, สรฺวศห์ — ทุกชนิด, อหงฺการ-วิมูฒ — สับสนด้วยอหังการ, อาตฺมา — ดวงวิญญาณ, กรฺตา — ผู้กระทำ, อหมฺ — ข้า, อิติ — ดังนั้น, มนฺยเต — เขาคิด

คำแปล

จิตวิญญาณเกิดสับสนอันเนื่องมาจากอิทธิพลของอหังการที่คิดว่าตนเองเป็นผู้กระทำกิจกรรมทั้งหลาย แท้ที่จริงสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุเป็นผู้นำพาไป

คำอธิบาย

มีบุคคลอยู่สองคน คนหนึ่งมีกฺฤษฺณจิตสำนึก และอีกคนหนึ่งมีวัตถุจิตสำนึกที่ทำงานในระดับเดียวกัน อาจดูเหมือนว่าทำงานอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน แต่มีข้อแตกต่างอย่างมหาศาลในสถานภาพของบุคคลทั้งสอง บุคคลในวัตถุจิตสำนึกมีความมั่นใจด้วยอหังการว่าตนเองเป็นผู้กระทำทุกสิ่งทุกอย่างโดยไม่รู้ว่ากลไกแห่งร่างกายนี้ ธรรมชาติวัตถุซึ่งทำงานภายใต้การควบคุมขององค์ภควานฺเป็นผู้ผลิต นักวัตถุนิยมไม่รู้ว่าในที่สุดตัวเขาเองก็อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กฺฤษฺณ บุคคลผู้อยู่ภายใต้อหังการจะรับเอาเกียรติยศชื่อเสียงทั้งหมดในการทำทุกสิ่งโดยเอกเทศ และนี่คือลักษณะอาการแห่งอวิชชา โดยไม่รู้ว่าร่างกายทั้งหยาบและละเอียดของเขานี้ธรรมชาติวัตถุนั้นเป็นผู้สร้าง ภายใต้คำสั่งขององค์ภควานฺ เมื่อเป็นเช่นนี้กิจกรรมของร่างกายและจิตใจของเขาควรทำไปเพื่อรับใช้องค์กฺฤษฺณในกฺฤษฺณจิตสำนึก ผู้อยู่ในอวิชชาลืมไปว่าบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงพระนามว่า หฺฤษีเกศ หรือเจ้านายของประสาทสัมผัสแห่งร่างวัตถุ เนื่องจากการใช้ประสาทสัมผัสไปในทางที่ผิดเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตนเองเป็นเวลายาวนาน เขาจึงเกิดสับสนอย่างจริงจังจากอหังการซึ่งทำให้ลืมความสัมพันธ์นิรันดรกับองค์กฺฤษฺณ

โศลก 28

tattva-vit tu mahā-bāho
guṇa-karma-vibhāgayoḥ
guṇā guṇeṣu vartanta
iti matvā na sajjate
ตตฺตฺว-วิตฺ ตุ มหา-พาโห
คุณ-กรฺม-วิภาคโยห์
คุณา คุเณษุ วรฺตนฺต
อิติ มตฺวา น สชฺชเต
ตตฺตฺว-วิตฺ — ผู้รู้สัจธรรมอันสมบูรณ์, ตุ — แต่, มหา-พาโห — โอ้ นักรบผู้ยิ่งใหญ่, คุณ-กรฺม — งานภายใต้อิทธิพลของวัตถุ, วิภาคโยห์ — แตกต่างกัน, คุณาห์ — ประสาทสัมผัส, คุเณษุ — ในการสนองประสาทสัมผัส, วรฺตนฺเต — กำลังปฎิบัติ, อิติ — ดังนั้น, มตฺวา — ความคิด, — ไม่เคย, สชฺชเต — ยึดติด

คำแปล

โอ้ นักรบผู้ยอดเยี่ยม ผู้รู้สัจธรรมอันสมบูรณ์จะไม่ปฏิบัติตนอยู่ในระดับประสาทสัมผัสและจะไม่สนองประสาทสัมผัส เขารู้ดีถึงข้อแตกต่างระหว่างงานเพื่อการอุทิศตนเสียสละ และงานเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุ

คำอธิบาย

ผู้รู้สัจธรรมอันสมบูรณ์มีความมั่นใจในสถานภาพอันแสนอึดอัดของตนในการที่มาคลุกคลีกับวัตถุ รู้ดีว่าตนเองเป็นละอองอณูของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์กฺฤษฺณ และสถานภาพของตนไม่ควรอยู่ภายในการสร้างทางวัตถุ รู้ตัวจริงของตนเองว่าเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ ผู้ทรงมีความสุขเกษมสำราญนิรันดรและทรงเป็นสัพพัญญู อย่างไรก็ดีเขายังรู้แจ้งอีกด้วยว่าตนเองมาติดกับดักในชีวิตที่มีแนวคิดทางวัตถุ ในสภาวะความเป็นอยู่ที่บริสุทธิ์เขาควรประสานกิจกรรมต่างๆของตนเพื่อการอุทิศเสียสละรับใช้องค์ภควานฺกฺฤษฺณ ดังนั้นจึงปฏิบัติตนในกิจกรรมของกฺฤษฺณจิตสำนึก และโดยธรรมชาติจะไม่ยึดติดกับกิจกรรมทางประสาทสัมผัสวัตถุ ซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงสภาวะชั่วคราว ไม่ถาวร โดยรู้ดีว่าสภาวะวัตถุของชีวิตตนอยู่ภายใต้การควบคุมสูงสุดขององค์ภควานฺ ฉะนั้นจึงไม่ถูกรบกวนจากผลกรรมนานัปการทางวัตถุซึ่งพิจารณาว่าเป็นพระเมตตาธิคุณของพระองค์ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ กล่าวว่าผู้ที่รู้สัจธรรมอันสมบูรณ์ทั้งสามลักษณะ คือ พฺรหฺมนฺ ปรมาตฺมา และองค์ภควานฺ เรียกว่า ตตฺตฺว-วิตฺ เพราะว่าเขารู้ถึงตำแหน่งอันแท้จริงของตนเองในความสัมพันธ์กับองค์ภควานฺ

โศลก 29

prakṛter guṇa-sammūḍhāḥ
sajjante guṇa-karmasu
tān akṛtsna-vido mandān
kṛtsna-vin na vicālayet
ปฺรกฺฤเตรฺ คุณ-สมฺมูฒาห์
สชฺชนฺเต คุณ-กรฺมสุ
ตานฺ อกฺฤตฺสฺน-วิโท มนฺทานฺ
กฺฤตฺสฺน-วินฺ น วิจาลเยตฺ
ปฺรกฺฤเตห์ — ของธรรมชาติวัตถุ, คุณ — โดยสามระดับ, สมฺมูฒาห์ — โง่เพราะสำนึกตนกับ วัตถุ, สชฺชนฺเต — พวกเขามาปฎิบัติ, คุณ-กรฺมสุ — ในกิจกรรมทางวัตถุ, ตานฺ — ของพวกเขา, อกฺฤตฺสฺน-วิทห์ — บุคคลผู้ด้อยความรู้, มนฺทานฺ — เกียจคร้านที่จะเข้าใจการรู้แจ้งแห่งตน, กฺฤตฺสฺน-วิตฺ — ผู้มีความรู้ที่ถูกต้อง, — ไม่, วิจาลเยตฺ — ควรพยายามรบกวน

คำแปล

เนื่องด้วยสับสนจากระดับของธรรมชาติวัตถุ ผู้ที่อยู่ในอวิชชาจะปฏิบัติตนอย่างเต็มที่ในกิจกรรมทางวัตถุและเกิดการยึดติด แต่ผู้ที่ฉลาดไม่ควรกังวลกับสิ่งเหล่านี้ ถึงแม้ว่าหน้าที่เหล่านี้จะต่ำกว่าอันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติขาดความรู้

คำอธิบาย

ผู้ที่ไม่มีความรู้จะสำนึกตนเองอย่างผิดๆกับจิตสำนึกวัตถุหยาบๆและเต็มไปด้วยชื่อระบุทางวัตถุต่างๆ ร่างกายนี้เป็นของขวัญจากธรรมชาติวัตถุ ผู้ที่ยึดติดมากกับจิตสำนึกทางร่างกายเรียกว่า มนฺท หรือผู้เกียจคร้านที่ไม่เข้าใจดวงวิญญาณ ผู้ที่อยู่ภายใต้อวิชชาคิดว่าตนเองคือร่างกาย และยอมรับความสัมพันธ์ทางร่างกายกับผู้อื่นว่าเป็นวงศาคณาญาติ แผ่นดินที่ร่างกายนี้ได้รับมาเป็นสถานที่สักการะบูชา และพิจารณาว่าระเบียบการของพิธีกรรมทางศาสนาคือ จุดมุ่งหมายสูงสุดในตัวมันเอง งานสังคม ลัทธิความรักชาติ และลัทธิการเห็นประโยชน์ผู้อื่นเหล่านี้คือกิจกรรมบางประการของบุคคลผู้อยู่ภายใต้ชื่อระบุทางวัตถุ ภายใต้มนต์สะกดแห่งชื่อระบุนี้ทำให้พวกเขามีภารกิจยุ่งยากอยู่ในสนามวัตถุเสมอ สำหรับบุคคลเหล่านี้ความรู้แจ้งดวงวิญญาณเป็นสิ่งเร้นลับ ดังนั้นพวกเขาจึงไม่สนใจ อย่างไรก็ดีผู้ที่ได้รับแสงสว่างในชีวิตทิพย์ไม่ควรพยายามรบกวนบุคคลผู้หมกมุ่นอยู่ในวัตถุเช่นนี้ ทางที่ดีเราควรปฏิบัติกิจกรรมทิพย์ของเราอย่างเงียบสงบ ผู้ที่สับสนเช่นนี้อาจปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรมพื้นฐานของชีวิต เช่น ไม่เบียดเบียนกัน และร่วมงานการกุศลทางวัตถุ

ผู้อยู่ในอวิชชาไม่สามารถรู้ถึงคุณค่าแห่งกิจกรรมในกฺฤษฺณจิตสำนึก ฉะนั้นองค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงแนะนำไม่ให้ไปรบกวนพวกเขา และเสียเวลาอันมีค่าไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่สาวกขององค์ภควานฺมีความเมตตามากกว่าพระองค์เพราะเข้าใจจุดมุ่งหมายขององค์ภควานฺ ดังนั้นท่านจึงยอมเสี่ยงอันตรายนานัปการถึงแม้ว่าจะต้องเข้าพบผู้อยู่ภายใต้อวิชชาเพื่อแนะนำให้ปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึก ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับชีวิตมนุษย์

โศลก 30

mayi sarvāṇi karmāṇi
sannyasyādhyātma-cetasā
nirāśīr nirmamo bhūtvā
yudhyasva vigata-jvaraḥ
มยิ สรฺวาณิ กรฺมาณิ
สนฺนฺยสฺยาธฺยาตฺม-เจตสา
นิราศีรฺ นิรฺมโม ภูตฺวา
ยุธฺยสฺว วิคต-ชฺวรห์
มยิ — แต่ข้า, สรฺวาณิ — ทุกชนิด, กรฺมาณิ — กิจกรรม, สนฺนฺยสฺย — ยกเลิกทั้งหมด, อธฺยาตฺม — ด้วยความรู้อันสมบูรณ์เกี่ยวกับตนเอง, เจตสา — ด้วยจิตสำนึก, นิราศีห์ — ไม่มีความปรารถนาเพื่อผลกำไร, นิรฺมมห์ — ไม่เป็นเจ้าของ, ภูตฺวา — เป็นดังนี้, ยุธฺยสฺว — ต่อสู้, วิคต-ชฺวรห์ — ไม่เฉื่อยชา

คำแปล

ฉะนั้น โอ้ อรฺชุน จงศิโรราบงานของเธอทั้งหมดแด่ข้า เปี่ยมไปด้วยความรู้แห่งข้า ไม่ปรารถนาผลกำไร ไม่อ้างความเป็นเจ้าของ และปราศจากความเฉื่อยชา เธอจงสู้!

คำอธิบาย

โศลกนี้แสดงถึงจุดมุ่งหมายของ ภควัท-คีตา อย่างชัดเจน องค์ภควานฺทรงสอนว่าเราต้องมีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ในการปฏิบัติหน้าที่เฉกเช่นการมีวินัยในกองทัพ คำสั่งสอนเช่นนี้อาจทำได้ยาก แต่ถึงอย่างไรหน้าที่จะต้องดำเนินต่อไปโดยขึ้นอยู่กับองค์กฺฤษฺณ เพราะว่านั่นคือสถานภาพพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตไม่สามารถมีความสุขโดยปราศจากการร่วมมือกับองค์ภควานฺ เพราะว่าสถานภาพพื้นฐานนิรันดรของสิ่งมีชีวิตคือ มาเป็นผู้ร่วมงานกับความปรารถนาขององค์ภควานฺ ฉะนั้นองค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงรับสั่งให้ อรฺชุน ต่อสู้เสมือนดั่งองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้บังคับบัญชาทหาร เราต้องเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความปรารถนาดีขององค์ภควานฺ และในขณะเดียวกันปฏิบัติหน้าที่ที่กำหนดไว้โดยไม่อ้างความเป็นเจ้าของ อรฺชุน ทรงไม่ต้องพิจารณาคำสั่งของพระองค์เพียงแต่ทรงต้องปฏิบัติตามคำสั่งเท่านั้น องค์ภควานฺทรงเป็นดวงวิญญาณของมวลวิญญาณ ฉะนั้นผู้ที่ขึ้นอยู่กับองค์อภิวิญญาณสูงสุดร้อยเปอร์เซ็นต์โดยปราศจากการพิจารณาส่วนตัว หรืออีกนัยหนึ่งคือผู้ที่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์เรียกว่า อธฺยาตฺม-เจตสา คำว่า นิราศีห์ หมายความว่าเราต้องปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้านาย แต่ไม่ควรคาดหวังผลประโยชน์ แคชเชียร์อาจนับเงินเป็นจำนวนล้านๆบาทให้นายจ้างแต่จะไม่อ้างแม้แต่สตางค์แดงเดียวสำหรับตนเอง ในลักษณะเดียวกันเราต้องรู้แจ้งว่าไม่มีอะไรในโลกนี้เป็นของผู้หนึ่งผู้ใด แต่ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นขององค์ภควานฺ นั่นคือความหมายอันแท้จริงของคำว่า มยิ หรือ “แด่ข้า” และเมื่อเราปฏิบัติตนในกฺฤษฺณจิตสำนึกเช่นนี้ แน่นอนว่าเราจะไม่อ้างความเป็นเจ้าของในสิ่งใดๆ จิตสำนึกเช่นนี้เรียกว่า นิรฺมม หรือ “ไม่มีอะไรเป็นของข้า” หากเกิดมีความไม่เต็มใจในการปฏิบัติตามคำสั่งอันเข้มงวดเช่นนี้ โดยปราศจากการพิจารณาถึงสิ่งที่สมมุติว่าเป็นวงศาคณาญาติในความสัมพันธ์ทางร่างกาย ความไม่เต็มใจเช่นนี้ควรสลัดทิ้งไป เช่นนี้เราอาจมาเป็น วิคต-ชฺวร หรือปราศจากอารมณ์เร่าร้อนหรืออารมณ์เฉื่อยชา ทุกๆคนตามคุณสมบัติและสถานภาพของตนมีงานโดยเฉพาะให้ปฏิบัติ และงานทั้งหมดนี้อาจปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งจะนำเราไปสู่หนทางแห่งอิสรภาพ

โศลก 31

ye me matam idaṁ nityam
anutiṣṭhanti mānavāḥ
śraddhāvanto ’nasūyanto
mucyante te ’pi karmabhiḥ
เย เม มตมฺ อิทํ นิตฺยมฺ
อนุติษฺฐนฺติ มานวาห์
ศฺรทฺธาวนฺโต ’นสูยนฺโต
มุจฺยนฺเต เต ’ปิ กรฺมภิห์
เย — ผู้ซึ่ง, เม — ของข้า, มตมฺ — คำสั่งสอน, อิทมฺ — เหล่านั้น, นิตฺยมฺ — เสมือนดังหน้าที่นิรันดร, อนุติษฺฐนฺติ — ปฎิบัติสม่ำเสมอ, มานวาห์ — มนุษย์, ศฺรทฺธา-วนฺตห์ — ด้วยความศรัทธาและอุทิศตนเสียสละ, อนสูยนฺตห์ — ไม่มีความอิจฉาริษยา, มุจฺยนฺเต — เป็นอิสระ, เต — ทั้งหมด, อปิ — แม้แต่, กรฺมภิห์ — จากพันธนาการแห่งกฎของการปฎิบัติเพื่อหวังผล

คำแปล

ผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของข้า และปฏิบัติตามคำสั่งสอนนี้ด้วยความศรัทธา หากปราศจากความอิจฉาริษยาจะได้รับอิสรภาพจากพันธนาการแห่งการกระทำเพื่อผลทางวัตถุ

คำอธิบาย

คำสั่งของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์กฺฤษฺณเป็นแก่นสารสาระสำคัญที่สุดของปรัชญาพระเวททั้งหมด ฉะนั้นจึงเป็นสัจธรรมอมตะโดยไม่มีข้อแม้ เฉกเช่นคัมภีร์พระเวทที่เป็นอมตะ สัจธรรมแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกนี้ก็เป็นอมตะเช่นเดียวกัน เราควรมีความศรัทธาอย่างแน่วแน่ในคำสั่งนี้โดยไม่อิจฉาริษยาองค์ภควานฺ มีนักปราชญ์มากมายเขียนคำอธิบายเกี่ยวกับ ภควัท-คีตา หากแต่ไม่มีความศรัทธาในองค์กฺฤษฺณนักปราชญ์เหล่านี้จะไม่มีวันได้รับอิสรภาพจากพันธนาการแห่งการกระทำเพื่อผลทางวัตถุ หากสามัญชนทั่วไปมีความศรัทธาอย่างมั่นคงในคำสั่งอมตะขององค์ภควานฺแม้จะไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งเหล่านี้ก็สามารถได้รับอิสรภาพจากพันธนาการของกฎแห่งกรรม (กรฺม) ได้ ในเบื้องต้นของกฺฤษฺณจิตสำนึกเราอาจจะไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ได้อย่างสมบูรณ์ แต่เนื่องจากการที่เราไม่ขัดใจต่อหลักธรรมนี้และทำงานด้วยความจริงใจโดยไม่พิจารณาถึงเรื่องพ่ายแพ้และสิ้นหวัง แน่นอนว่าเราจะได้รับการส่งเสริมไปจนถึงระดับที่บริสุทธิ์แห่งกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 32

ye tv etad abhyasūyanto
nānutiṣṭhanti me matam
sarva-jñāna-vimūḍhāṁs tān
viddhi naṣṭān acetasaḥ
เย ตฺวฺ เอตทฺ อภฺยสูยนฺโต
นานุติษฺฐนฺติ เม มตมฺ
สรฺว-ชฺญาน-วิมูฒำสฺ ตานฺ
วิทฺธิ นษฺฏานฺ อเจตสห์
เย — เขาเหล่านั้น, ตุ — อย่างไรก็ดี, เอตตฺ — นี้, อภฺยสูยนฺตห์ — ด้วยความอิจฉาริษยา, — ไม่, อนุติษฺฐนฺติ — ปฎิบัติอย่างสม่ำเสมอ, เม — ของข้า, มตมฺ — คำสั่ง, สรฺว-ชฺญาน — ในความรู้ทั้งหมด, วิมูฒานฺ — โง่อย่างสมบูรณ์, ตานฺ — เขาเหล่านั้น, วิทฺธิ — รู้ดีว่า, นษฺฏานฺ — ถูกทำลายทั้งหมด, อเจตสห์ — ไม่มีกฺฤษฺณจิตสำนึก

คำแปล

แต่ผู้ที่มีความอิจฉาริษยา ละเลยคำสั่งสอนเหล่านี้ และไม่ปฏิบัติตามอย่างสม่ำเสมอ พิจารณาว่าความรู้ทั้งหมดได้สูญเสียไป เป็นคนโง่ และได้ทำลายความพยายามเพื่อความสมบูรณ์

คำอธิบาย

ข้อผิดพลาดในการที่ไม่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน ที่นี้เหมือนกับมีการลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บริหารสูงสุดของรัฐ แน่นอนว่าจะมีการลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งขององค์ภควานฺ ผู้ไม่ปฏิบัติตามไม่ว่าจะยิ่งใหญ่แค่ไหนจะมีอวิชชาเกี่ยวกับตนเองเกี่ยวกับ พฺรหฺมนฺ สูงสุด กี่ยวกับ ปรมาตฺมา และเกี่ยวกับองค์ภควานฺ อันเนื่องมาจากหัวใจที่ว่างเปล่า ดังนั้นจึงไม่มีความหวังแห่งความสมบูรณ์ในชีวิตสำหรับบุคคลผู้นี้

โศลก 33

sadṛśaṁ ceṣṭate svasyāḥ
prakṛter jñānavān api
prakṛtiṁ yānti bhūtāni
nigrahaḥ kiṁ kariṣyati
สทฺฤศํ เจษฺฏเต สฺวสฺยาห์
ปฺรกฺฤเตรฺ ชฺญานวานฺ อปิ
ปฺรกฺฤตึ ยานฺติ ภูตานิ
นิคฺรหห์ กึ กริษฺยติ
สทฺฤศมฺ — ตามนั้น, เจษฺฏเต — พยายาม, สฺวสฺยาห์ — ด้วยตัวเขาเอง, ปฺรกฺฤเตห์ — ระดับของธรรมชาติ, ชฺญาน-วานฺ — มีความรู้, อปิ — ถึงแม้ว่า, ปฺรกฺฤติมฺ — ธรรมชาติ, ยานฺติ — ได้รับ, ภูตานิ — มวลสิ่งมีชีวิต, นิคฺรหห์ — ความอดกลั้น, กิมฺ — อะไร, กริษฺยติ — สามารถทำ

คำแปล

แม้ผู้รู้ยังต้องปฏิบัติตามธรรมชาติของตนเอง เพราะทุกคนปฏิบัติตามธรรมชาติที่ตนได้รับมาจากสามระดับ การเก็บกดเอาไว้จะได้รับผลสำเร็จอันใด

คำอธิบาย

นอกเสียจากว่าเราจะสถิตในระดับทิพย์แห่งกฺฤษฺณจิตสำนึก มิฉะนั้นแล้วเราจะไม่สามารถมีอิสรภาพจากอิทธิพลของระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ ดังที่องค์ภควานฺได้ทรงยืนยันไว้ในบทที่เจ็ด (7.14) ฉะนั้นแม้ผู้มีการศึกษาสูงสุดทางโลกก็ยังหลุดพ้นจากบ่วงของมายาไม่ได้ ด้วยความรู้ทางทฤษฎี หรือด้วยการแยกดวงวิญญาณออกจากร่างกาย มีผู้ที่สมมุติว่าเป็นนักทิพย์นิยมมากมาย ภายนอกวางตัวว่ามีความเจริญในศาสตร์นี้ แต่ภายในหรือส่วนตัวยังอยู่ภายใต้ระดับใดระดับหนึ่งของธรรมชาติวัตถุอย่างราบคาบ ซึ่งตนเองไม่สามารถข้ามพ้นไปได้ ในเชิงวิชาการเขาอาจจะเป็นผู้มีการศึกษาสูงมากแต่เนื่องจากมาคลุกคลีอยู่กับธรรมชาติวัตถุอันแสนจะยาวนานจึงถูกพันธนาการ กฺฤษฺณจิตสำนึกสามารถช่วยให้เราออกจากพันธนาการทางวัตถุได้ ถึงแม้ว่าเราจะปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ตามความเป็นอยู่ทางวัตถุ ฉะนั้นหากไม่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์เราไม่ควรยกเลิกอาชีพการงาน ไม่มีผู้ใดควรยกเลิกหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้โดยฉับพลัน และไปสมมุติตนเองว่าเป็นโยคี หรือนักทิพย์นิยมแบบผิดธรรมชาติ การสถิตในสถานภาพของตนเองและพยายามบรรลุถึงกฺฤษฺณจิตสำนึกภายใต้การฝึกฝนที่สูงยังจะดีกว่า เช่นนี้เราอาจได้รับอิสรภาพจากเงื้อมมือพระนาง มายา ซึ่งก็เป็นผู้รับใช้ขององค์กฺฤษฺณเช่นกัน

โศลก 34

indriyasyendriyasyārthe
rāga-dveṣau vyavasthitau
tayor na vaśam āgacchet
tau hy asya paripanthinau
อินฺทฺริยเสฺยนฺทฺริยสฺยารฺเถ
ราค-เทฺวเษา วฺยวสฺถิเตา
ตโยรฺ น วศมฺ อาคจฺเฉตฺ
เตา หฺยฺ อสฺย ปริปนฺถิเนา
อินฺทฺริยสฺย — ของประสาทสัมผัส, อินฺทฺริยสฺย อรฺเถ — ในอายตนะภายนอก, ราค — การยึดติด, เทฺวเษา — การไม่ยึดติดก็เช่นกัน, วฺยวสฺถิเตา — ไว้ภายใต้กฎเกณฑ์, ตโยห์ — ของเขาเหล่านั้น, — ไม่เคย, วศมฺ — ควบคุม, อาคจฺเฉตฺ — เราควรจจะมา, เตา — ของเขาเหล่านั้น, หิ — แน่นอน, อสฺย — ของเขา, ปริปนฺถิเนา — อุปสรรค

คำแปล

มีหลักการประมาณความยึดติดและความเกลียดชัง ที่เกี่ยวกับอายตนะภายในและอายตนะภายนอก เราไม่ควรไปอยู่ภายใต้การควบคุมของความยึดติดและความเกลียดชังเช่นนี้ เพราะมันเป็นอุปสรรคในความรู้แจ้งแห่งตน

คำอธิบาย

ผู้อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยธรรมชาติจะไม่เต็มใจปฏิบัติตนเพื่อสนองประสาทสัมผัสวัตถุ แต่ผู้ที่ไม่อยู่ในจิตสำนึกเช่นนี้ควรปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ ความสุขทางประสาทสัมผัสที่ไม่มีขอบเขตเป็นเหตุให้ถูกกักขังทางวัตถุ แต่ผู้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ดังที่ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์จะไม่ถูกพันธนาการโดยอายตนะภายนอก ตัวอย่างเช่น ความสุขทางเพศสัมพันธ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพันธวิญญาณ และความสุขทางเพศสัมพันธ์อนุโลมให้ภายใต้ใบอนุญาตสมรส คำสั่งสอนของพระคัมภีร์ห้ามไม่ให้เรามีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่น นอกจากภรรยาของตนเองแล้วสตรีอื่นทั้งหมดถือว่าเป็นมารดา แม้มีคำสั่งเช่นนี้ผู้ชายยังมีแนวโน้มที่จะมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่น นิสัยเช่นนี้ต้องปรับปรุงมิฉะนั้นจะเป็นสิ่งกีดขวางทางในความรู้แจ้งแห่งตน ตราบเท่าที่เรายังมีร่างวัตถุอยู่ความจำเป็นต่างๆของร่างกายอนุญาตให้ได้ แต่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ และไม่ควรขึ้นอยู่กับการควบคุมกับสิ่งที่ได้รับอนุญาตเช่นนี้ เราต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านี้โดยไม่ยึดติดกับมัน เพราะการฝึกฝนเพื่อสนองประสาทสัมผัสภายใต้กฎเกณฑ์อาจนำเราให้หลงทางได้เหมือนกัน มากเท่าๆกับที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุเสมอแม้บนทางหลวงที่มีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี ไม่มีใครรับประกันได้ว่าจะไม่มีอันตรายเกิดขึ้นแม้บนถนนที่ปลอดภัยที่สุด แนวโน้มในความสุขทางประสาทสัมผัสโดยประมาณก็มีโอกาสมากที่จะทำให้เราตกต่ำลงได้ ดังนั้นการยึดติดใดๆแม้กับความสุขทางประสาทสัมผัสโดยประมาณจะต้องหลีกเลี่ยงทุกวิถีทางเช่นเดียวกัน แต่ควรยึดมั่นกับกฺฤษฺณจิตสำนึก หรือปฏิบัติรับใช้องค์กฺฤษฺณด้วยความรักอยู่เสมอ และไม่ยึดติดกับกิจกรรมทางประสาทสัมผัสทุกชนิด ฉะนั้นไม่มีใครควรปลีกตัวออกห่างจากกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่ว่าในช่วงไหนของชีวิต จุดมุ่งหมายในการเป็นอิสระจากการยึดติดอยู่กับประสาทสัมผัสทั้งหมดก็เพื่อในที่สุดให้เราได้สถิตในระดับกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 35

śreyān sva-dharmo viguṇaḥ
para-dharmāt sv-anuṣṭhitāt
sva-dharme nidhanaṁ śreyaḥ
para-dharmo bhayāvahaḥ
เศฺรยานฺ สฺว-ธรฺโม วิคุณห์
ปร-ธรฺมาตฺ สฺวฺ-อนุษฺฐิตาตฺ
สฺว-ธรฺเม นิธนํ เศฺรยห์
ปร-ธรฺโม ภยาวหห์
เศฺรยานฺ — ดีกว่าเป็นไหนๆ, สฺว-ธรฺมห์ — หน้าที่ของตนที่ได้กำหนดไว้, วิคุณห์ — แม้ว่าจะผิดพลาด, ปร-ธรฺมาตฺ — มากกว่าหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้สำหรับผู้อื่น, สุ-อนุษฺฐิตาตฺ — กระทำอย่างสมบูรณ์, สฺว-ธรฺเม — ในหน้าที่ของตนที่กำหนดไว้, นิธนมฺ — การทำลาย, เศฺรยห์ — ดีกว่า, ปร-ธรฺมห์ — หน้าที่ที่ได้กำหนดไว้สำหรับผู้อื่น, ภย-อาวหห์ — อันตราย

คำแปล

การปฏิบัติหน้าที่ของตนที่ได้กำหนดไว้ ถึงแม้ว่าจะมีข้อบกพร่องยังดีกว่าไปทำหน้าที่ของผู้อื่นอย่างสมบูรณ์เป็นไหนๆ การถูกทำลายขณะปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง ยังดีกว่าไปปฏิบัติหน้าที่ของผู้อื่น เพราะการปฏิบัติตามวิถีทางของผู้อื่นนั้นเป็นอันตราย

คำอธิบาย

เราควรปฏิบัติหน้าที่ของเราที่ได้กำหนดไว้ด้วยกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ดีกว่าไปทำงานที่กำหนดไว้สำหรับผู้อื่น ในวิถีวัตถุหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้เป็นหน้าที่ที่ถูกบัญชาตามสภาวะทางจิตวิทยาของแต่ละคนภายใต้มนต์สะกดของระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ ในวิถีทิพย์หน้าที่คือคำสั่งจากพระอาจารย์ทิพย์เพื่อให้เรารับใช้ทิพย์แด่องค์กฺฤษฺณ ไม่ว่าจะเป็นวิถีวัตถุหรือวิถีทิพย์เราควรจะยึดอยู่กับหน้าที่ของเราตามที่ได้กำหนดไว้จนวันตาย ดีกว่าไปเลียนแบบหน้าที่ที่กำหนดไว้สำหรับผู้อื่น หน้าที่ในระดับทิพย์และหน้าที่ในระดับวัตถุอาจแตกต่างกัน แต่หลักการปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ที่เชื่อถือได้เป็นสิ่งดีสำหรับผู้ปฏิบัติเสมอ เมื่ออยู่ภายใต้มนต์สะกดของระดับแห่งธรรมชาติวัตถุเราควรปฏิบัติตามกฎที่ได้กำหนดไว้สำหรับสภาวะโดยเฉพาะของเราและไม่ควรเลียนแบบผู้อื่น ตัวอย่างเช่น พฺราหฺมณ อยู่ในระดับความดีไม่เบียดเบียนผู้อื่น ในขณะที่ กฺษตฺริย อยู่ในระดับตัณหาอนุญาตให้เบียดเบียนได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ กฺษตฺริย จึงปฏิบัติตามกฎที่เบียดเบียนและกำราบศัตรูได้ ดีกว่าที่จะไปเลียนแบบ พฺราหฺมณ ผู้ยึดหลักอหิงสา ทุกคนต้องชะล้างจิตใจของตนเองทีละน้อยไม่ใช่โดยฉับพลัน อย่างไรก็ดีเมื่อเราข้ามพ้นระดับต่างๆของธรรมชาติวัตถุ และสถิตในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ เราจะปฏิบัติอย่างไรก็ได้ภายใต้คำแนะนำของพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ ในระดับสมบูรณ์ของกฺฤษฺณจิตสำนึกนี้ กฺษตฺริย อาจปฏิบัติตนเป็น พฺราหฺมณ หรือว่า พฺราหฺมณ อาจจะปฏิบัติตนเป็น กฺษตฺริย ในระดับทิพย์แล้วข้อแตกต่างทางโลกวัตถุนำมาใช้ไม่ได้ ตัวอย่างเช่น วิศฺวามิตฺร เดิมทีทรงเป็น กฺษตฺริย แต่ต่อมาปฏิบัติตนเป็น พฺราหฺมณ ในขณะที่ ปรศุราม เดิมเป็น พฺราหฺมณ แต่ต่อมาปฏิบัติตนเป็น กฺษตฺริย เมื่อสถิตในระดับทิพย์ทั้งสองท่านสามารถทำเช่นนี้ได้ แต่ตราบใดที่เรายังอยู่ในระดับวัตถุเราต้องปฏิบัติหน้าที่ของเราตามระดับของธรรมชาติวัตถุ ในขณะเดียวกันนั้นเราจะต้องมีสติอย่างสมบูรณ์ในกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 36

arjuna uvāca
atha kena prayukto ’yaṁ
pāpaṁ carati pūruṣaḥ
anicchann api vārṣṇeya
balād iva niyojitaḥ
อรฺชุน อุวาจ
อถ เกน ปฺรยุกฺโต ’ยํ
ปาปํ จรติ ปูรุษห์
อนิจฺฉนฺนฺ อปิ วารฺษฺเณย
พลาทฺ อิว นิโยชิตห์
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัส, อถ — จากนั้น, เกน — ด้วยอะไร, ปฺรยุกฺตห์ — กระตุ้น, อยมฺ — บุคคล, ปาปมฺ — ความบาป, จรติ — ทำ, ปูรุษห์ — มนุษย์, อนิจฺฉนฺ — ไม่มีความปรารถนา, อปิ — ถึงแม้ว่า, วารฺษฺเณย — โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ วฺฤษฺณิ, พลาตฺ — ด้วยกำลัง, อิว — ประหนึ่งว่า, นิโยชิตห์ — ปฏิบัติ

คำแปล

อรฺชุน ตรัสว่า โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ วฺฤษฺณิ อะไรคือสิ่งกระตุ้นให้คนทำบาปแม้จะไม่เต็มใจ ประหนึ่งทำไปเพราะถูกบังคับ

คำอธิบาย

สิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ เดิมทีเป็นทิพย์ บริสุทธิ์ และปราศจากมลทินทางวัตถุทั้งปวง ฉะนั้นโดยธรรมชาติจะไม่อยู่ภายใต้อำนาจแห่งความบาปในโลกวัตถุ แต่เมื่อมาสัมผัสกับธรรมชาติวัตถุเราทำบาปนานัปการโดยไม่ลังเลใจ แม้บางครั้งตนเองไม่ปรารถนา ดังนั้น อรฺชุน ทรงถามองค์กฺฤษฺณ เช่นนี้จึงให้ความหวังมากเกี่ยวกับธรรมชาติอันวิปริตของสิ่งมีชีวิต แม้สิ่งมีชีวิตบางครั้งไม่ต้องการทำบาปแต่ถูกบังคับให้ทำ อย่างไรก็ดีอภิวิญญาณผู้ประทับอยู่ภายในหัวใจของเราทรงมิได้เป็นผู้กระตุ้นให้ทำบาป แต่เนื่องมาจากสาเหตุอื่น ดังที่องค์ภควานฺจะทรงอธิบายในโศลกต่อไป

โศลก 37

śrī-bhagavān uvāca
kāma eṣa krodha eṣa
rajo-guṇa-samudbhavaḥ
mahāśano mahā-pāpmā
viddhy enam iha vairiṇam
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
กาม เอษ โกฺรธ เอษ
รโช-คุณ-สมุทฺภวห์
มหาศโน มหา-ปาปฺมา
วิทฺธฺยฺ เอนมฺ อิห ไวริณมฺ
ศฺริ-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพแห่งพระเจ้าตรัส, กามห์ — ราคะ, เอษห์ — นี้, โกฺรธห์ — ความโกรธ, เอษห์ — นี้, รชห์-คุณ — ระดับของตัณหา, สมุทฺภวห์ — เกิดจาก, มหา-อศนห์ — เผาผลาญทั้งหมด, มหา-ปาปฺมา — ความบาปอันยิ่งใหญ่, วิทฺธิ — รู้, เอนมฺ — นี้, อิห — ในโลกวัตถุ, ไวริณมฺ — ศัตรูที่ร้ายกาจที่สุด

คำแปล

บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัสว่า โอ้ อรฺชุน ราคะเท่านั้นที่เกิดจากการมาสัมผัสกับระดับตัณหาทางวัตถุ และต่อมากลายเป็นความโกรธ ซึ่งเป็นศัตรูบาปที่จะเผาผลาญทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้

คำอธิบาย

เมื่อสิ่งมีชีวิตมาสัมผัสกับการสร้างทางวัตถุ ความรักนิรันดรที่มีต่อองค์กฺฤษฺณกลายเป็นราคะอันเนื่องมาจากการที่มาคบหาสมาคมกับระดับของตัณหา หรืออีกนัยหนึ่งความรู้สึกรักองค์ภควานฺได้เปลี่ยนแปลงกลายเป็นราคะ เฉกเช่นนมเมื่อมาสัมผัสกับมะขามเปรี้ยวจะกลายเป็นนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต หลังจากราคะไม่สมดังใจปราถนาจะกลายมาเป็นความโกรธ จากนั้นความโกรธจะเปลี่ยนมาเป็นความหลง และความหลงทำให้การเป็นอยู่ทางวัตถุดำเนินต่อไป ฉะนั้นราคะจึงเป็นศัตรูที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสิ่งมีชีวิต ราคะเท่านั้นที่ล่อใจให้สิ่งมีชีวิตผู้บริสุทธิ์ยังคงวนเวียนอยู่ในโลกวัตถุ ความโกรธคือ ปรากฏการณ์ของระดับอวิชชา ระดับเหล่านี้ปรากฏตัวเองออกมาในรูปของความโกรธ และอาการอื่นๆในลักษณะเดียวกันนี้ ฉะนั้นหากว่าระดับตัณหาแทนที่จะตกต่ำไปอยู่ในระดับอวิชชา แต่ควรจะพัฒนาให้สูงขึ้นมาสู่ระดับความดีด้วยการใช้ชีวิต และปฏิบัติตนตามวิถีทิพย์ที่กำหนดไว้ เราจะสามารถอยู่รอดปลอดภัยจากการตกลงต่ำอันเนื่องมาจากความโกรธ

องค์ภควานฺทรงแบ่งภาคมากมายเพื่อความสุขเกษมสำราญทิพย์อันหาที่สุดมิได้ของพระองค์สิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูของความสุขเกษมสำราญทิพย์นี้มีส่วนของเสรีภาพเช่นกัน แต่เมื่อเสรีภาพถูกใช้ไปในทางที่ผิด เมื่อนิสัยชอบรับใช้กลายมาเป็นนิสัยชอบหาความสุขทางประสาทสัมผัสเราจึงมาอยู่ภายใต้อำนาจของราคะ การสร้างวัตถุนี้องค์ภควานฺทรงเป็นผู้สร้างเพื่อเปิดโอกาสให้พันธวิญญาณสนองนิสัยแห่งราคะนี้ และเมื่อกิจกรรมแห่งราคะอันแสนจะยาวนานนี้ทำให้จนปัญญาโดยสิ้นเชิง แล้วสิ่งมีชีวิตจึงเริ่มถามถึงสถานภาพอันแท้จริงของตนเอง

คำถามเช่นนี้คือจุดเริ่มต้นของ เวทานฺต-สูตฺร ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า อถาโต พฺรหฺม-ชิชฺญาสา เราควรถามถึงองค์ภควานฺ และคำว่าองค์ภควานฺได้ให้คำนิยามไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ว่า ชนฺมาทฺยฺ อสฺย ยโต ’นฺวยาทฺ อิตรตศฺ หรือ “แหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่างคือ พฺรหฺมนฺ สูงสุด” ฉะนั้นจุดเริ่มต้นของราคะก็อยู่ในองค์ภควานฺเช่นเดียวกัน หากราคะเปลี่ยนมาเป็นความรักต่อองค์ภควานฺ หรือเปลี่ยนมาเป็นกฺฤษฺณจิตสำนึก อีกนัยหนึ่งคือปรารถนาทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อองค์กฺฤษฺณ เช่นนี้ทั้งราคะและความโกรธจะสามารถเปลี่ยนไปเป็นทิพย์ได้ หนุมานฺ ผู้รับใช้ที่ยิ่งใหญ่ของพระรามได้แสดงความโกรธด้วยการเผาเมืองทองของ ราวณ (ทศกัณฑ์) การกระทำเช่นนี้ทำให้ หนุมานฺ กลายมาเป็นสาวกผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของพระราม ใน ภควัท-คีตา ก็เช่นเดียวกันองค์ภควานฺทรงแนะนำให้ อรฺชุน ใช้ความโกรธกับศัตรูเพื่อให้พระองค์ทรงพอพระทัย ฉะนั้นทั้งราคะและความโกรธเมื่อนำมาใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะกลายมาเป็นเพื่อนแทนที่จะเป็นศัตรู

โศลก 38

dhūmenāvriyate vahnir
yathādarśo malena ca
yatholbenāvṛto garbhas
tathā tenedam āvṛtam
ธูเมนาวฺริยเต วหฺนิรฺ
ยถาทรฺโศ มเลน จ
ยโถลฺเพนาวฺฤโต ครฺภสฺ
ตถา เตเนทมฺ อาวฺฤตมฺ
ธูเมน — ด้วยควัน, อาวฺริยเต — ถูกปกคลุม, วหฺนิห์ — ไฟ, ยถา — ดังเช่น, อาทรฺศห์ — กระจก, มเลน — ด้วยฝุ่น, — เช่นกัน, ยถา — ดังเช่น, อุลฺเพน — ด้วยครรภ์, อาวฺฤตห์ — ถูกปกคลุม, ครฺภห์ — ตัวอ่อนในครรภ์, ตถา — ดังนั้น, เตน — ด้วยราคะ, อิทมฺ — นี้, อาวฺฤตมฺ — ถูกปกคลุม

คำแปล

เสมือนดังควันที่ปกคลุมไฟ ฝุ่นที่ปกคลุมกระจกเงา หรือครรภ์ที่ปกคลุมทารก สิ่งมีชีวิตก็ถูกปกคลุมไปด้วยระดับต่างๆของราคะนี้เช่นเดียวกัน

คำอธิบาย

มีสิ่งปกคลุมสิ่งมีชีวิตอยู่สามระดับที่ทำให้จิตสำนึกอันบริสุทธิ์ของเขามืดมน สิ่งปกคลุมนี้คือ ราคะภายใต้ปรากฏการณ์ที่แตกต่างกัน ดังเช่น ควันที่อยู่ในไฟ ฝุ่นที่อยู่บนกระจก และครรภ์ที่ปกคลุมทารก เมื่อราคะเปรียบเทียบกับควันจะเข้าใจได้ว่าประกายไฟของสิ่งมีชีวิตสามารถสำเหนียกได้เล็กน้อย หรือว่าขณะที่สิ่งมีชีวิตแสดงกฺฤษฺณจิตสำนึกออกมาเล็กน้อย อาจเปรียบได้กับไฟที่ถูกปกคลุมด้วยควันแม้ว่าที่ใดมีควันที่นั่นต้องมีไฟแต่ไฟมิได้ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดในระยะเริ่มต้น ระยะนี้คล้ายกับระยะเริ่มแรกของกฺฤษฺณจิตสำนึก ฝุ่นบนกระจกเปรียบเทียบกับวิธีการทำความสะอาดกระจกแห่งจิตใจด้วยวิธีการปฏิบัติธรรมต่างๆ วิธีที่ดีที่สุดคือการสวดมนต์ภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานฺ ครรภ์ที่ปกคลุมทารกอุปมาให้เห็นถึงสภาวะที่ช่วยไม่ได้ เด็กในครรภ์ช่วยตัวเองไม่ได้เพราะว่ายังไม่สามารถเคลื่อนไหวตัวเองได้ ระดับของสภาวะชีวิตเช่นนี้เปรียบเทียบได้กับต้นไม้ ต้นไม้ก็เป็นสิ่งมีชีวิตแต่ถูกจับให้มาอยู่ในสภาวะชีวิตที่แสดงให้เห็นว่ามีราคะมากเสียจนเกือบจะไม่มีจิตสำนึกเหลืออยู่เลย ฝุ่นที่ปกคลุมกระจกเปรียบเทียบได้กับนกและสัตว์ต่างๆ และควันที่ปกคลุมไฟเปรียบเทียบได้กับมนุษย์ ในร่างมนุษย์สิ่งมีชีวิตอาจฟื้นฟูกฺฤษฺณจิตสำนึกได้เล็กน้อย และหากว่าพัฒนาต่อไปไฟแห่งชีวิตทิพย์อาจสามารถจุดให้เป็นประกายขึ้นมาในร่างชีวิตมนุษย์ได้ ด้วยการดูแลควันไฟอย่างระมัดระวังไฟอาจจะลุกโชติช่วงขึ้นมาได้ ฉะนั้นชีวิตในร่างมนุษย์จึงเป็นโอกาสสำหรับสิ่งมีชีวิตที่จะหลบหนีจากพันธนาการแห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุ ในร่างชีวิตมนุษย์เราสามารถกำราบศัตรูหรือราคะนี้ได้ด้วยการพัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึกภายใต้คำชี้แนะของผู้นำที่มีความสามารถ

โศลก 39

āvṛtaṁ jñānam etena
jñānino nitya-vairiṇā
kāma-rūpeṇa kaunteya
duṣpūreṇānalena ca
อาวฺฤตํ ชฺญานมฺ เอเตน
ชฺญานิโน นิตฺย-ไวริณา
กาม-รูเปณ เกานฺเตย
ทุษฺปูเรณานเลน จ
อาวฺฤตมฺ — ปกคลุม, ชฺญานมฺ — จิตสำนึกที่บริสุทธิ์, เอเตน — ด้วยสิ่งนี้, ชฺญานินห์ — ของผู้รู้, นิตฺย-ไวริณา — โดยศัตรูนิรันดร, กาม-รูเปณ — ในรูปของราคะ, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, ทุษฺปูเรณ — จะไม่มีวันพึงพอใจ, อนเลน — ด้วยไฟ, — เช่นกัน

คำแปล

ดังนั้น จิตสำนึกอันบริสุทธิ์ของสิ่งมีชีวิต ผู้มีปัญญาถูกปกคลุมไปด้วยศัตรูนิรันดรในรูปของราคะ ซึ่งไม่รู้จักพอเพียงและเผาผลาญเหมือนเปลวเพลิง

คำอธิบาย

ได้กล่าวไว้ใน มนุ-สฺมฺฤติ ว่าราคะจะไม่รู้จักความพอเพียงไม่ว่าจะป้อนด้วยความสุขทางประสาทสัมผัสในปริมาณมากเพียงใด เหมือนกับไฟที่ไม่มีวันดับลงได้ตราบใดที่ยังมีเชื้อเพลิงอยู่ ในโลกวัตถุจุดศูนย์กลางของกิจกรรมทั้งหมดคือ เพศสัมพันธ์ ดังนั้นโลกวัตถุนี้จึงได้ชื่อว่า ไมถุนฺย-อาคาร หรือโซ่ตรวนแห่งชีวิตเพศสัมพันธ์ โดยทั่วไปในตะรางนักโทษจะถูกกักขังให้อยู่ภายในกรงขัง ทำนองเดียวกันนักโทษผู้ไม่เชื่อฟังกฎแห่งองค์ภควานฺจะถูกล่ามโซ่ด้วยชีวิตเพศสัมพันธ์ ความเจริญรุ่งเรืองทางวัตถุบนฐานแห่งการตอบสนองประสาทสัมผัสหมายถึงการเพิ่มระยะเวลาแห่งการเป็นอยู่ทางวัตถุของสิ่งมีชีวิต ฉะนั้นราคะคือเครื่องหมายแห่งอวิชชาที่กักขังสิ่งมีชีวิตให้อยู่ในโลกวัตถุ ขณะที่เราเพลิดเพลินกับการสนองประสาทสัมผัสเราอาจรู้สึกว่ามีความสุขอยู่บ้าง แต่แท้ที่จริงความรู้สึกกับความสุขที่สมมุติขึ้นมานี้ในที่สุดมันคือศัตรูของผู้แสวงหาความสุขทางประสาทสัมผัสนั่นเอง

โศลก 40

indriyāṇi mano buddhir
asyādhiṣṭhānam ucyate
etair vimohayaty eṣa
jñānam āvṛtya dehinam
อินฺทฺริยาณิ มโน พุทฺธิรฺ
อสฺยาธิษฺฐานมฺ อุจฺยเต
เอไตรฺ วิโมหยตฺยฺ เอษ
ชฺญานมฺ อาวฺฤตฺย เทหินมฺ
อินฺทฺริยาณิ — ประสาทสัมผัส, มนห์ — จิตใจ, พุทฺธิห์ — ปัญญา, อสฺย — ของราคะนี้, อธิษฺฐานมฺ — ที่พำนัก, อุจฺยเต — เรียกว่า, เอไตห์ — ด้วยทั้งหมดนี้, วิโมหยติ — สับสน, เอษห์ — ราคะนี้, ชฺญานมฺ — ความรู้, อาวฺฤตฺย — ปกคลุม, เทหินมฺ — ของร่างกาย

คำแปล

ประสาทสัมผัสต่างๆรวมทั้งจิตใจและปัญญาเป็นสถานที่พำนักพักพิงของตัวราคะนี้ ราคะปิดบังความรู้อันแท้จริงของสิ่งมีชีวิตผ่านตามจุดต่างๆหล่านี้ และทำให้เขาสับสนงุนงง

คำอธิบาย

ศัตรู (ราคะ) ได้ยึดจุดยุทธศาสตร์ต่างๆภายในร่างกายของพันธวิญญาณ ดังนั้นองค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงแนะนำสถานที่เหล่านี้เพื่อผู้ที่ต้องการกำราบศัตรูจะได้รู้ว่าศัตรูอยู่ที่ไหน จิตใจเป็นศูนย์รวมกิจกรรมของประสาทสัมผัสทั้งหมด ดังนั้นเมื่อเราได้ยินเกี่ยวกับรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส โดยทั่วไปจิตใจจะเป็นที่รวมความคิดเพื่อสนองประสาทสัมผัสทั้งหมด ผลคือจิตใจและประสาทสัมผัสต่างๆ กลายเป็นศูนย์รวมของราคะ จากนั้นปัญญาก็กลายมาเป็นเมืองหลวงของนิสัยชอบราคะนี้ ปัญญาเป็นเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ชิดติดกับดวงวิญญาณ ปัญญาที่ชอบราคะจะมีอิทธิพลต่อดวงวิญญาณทำให้เกิดอหังการ และเชื่อมสัมพันธ์ตนเองกับวัตถุคือสัมพันธ์กับจิตใจและประสาทสัมผัส ดวงวิญญาณมาหลงติดกับความสุขทางประสาทสัมผัสวัตถุ และเข้าใจผิดคิดว่านี่คือความสุขที่แท้จริง การแสดงตัวผิดของดวงวิญญาณนี้ได้อธิบายไว้อย่างงดงามใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (10.84.13) ดังนี้

ยสฺยาตฺม-พุทฺธิห์ กุณเป ตฺริ-ธาตุเก
สฺว-ธีห์ กลตฺราทิษุ เภาม อิชฺย-ธีห์
ยตฺ-ตีรฺถ-พุทฺธิห์ สลิเล น กรฺหิจิชฺ
ชเนษฺวฺ อภิชฺเญษุ ส เอว โค-ขรห์
“มนุษย์ผู้แสดงตนว่าร่างกายที่ทำมาจากธาตุสามประการนี้คือตัวตนจริง พิจารณาว่าผลผลิตของร่างกายเป็นสังคญาติของตน พิจารณาว่าแผ่นดินที่เกิดเป็นสถานที่สักการะบูชา และไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของผู้แสวงบุญเพียงเพื่อไปอาบน้ำ แทนที่จะไปพบผู้มีความรู้ทิพย์ พิจารณาได้ว่าบุคคลเช่นนี้เปรียบเสมือนกับลาหรือโค”

โศลก 41

tasmāt tvam indriyāṇy ādau
niyamya bharatarṣabha
pāpmānaṁ prajahi hy enaṁ
jñāna-vijñāna-nāśanam
ตสฺมาตฺ ตฺวมฺ อินฺทฺริยาณฺยฺ อาเทา
นิยมฺย ภรตรฺษภ
ปาปฺมานํ ปฺรชหิ หฺยฺ เอนํ
ชฺญาน-วิชฺญาน-นาศนมฺ
ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, ตฺวมฺ — เธอ, อินฺทฺริยาณิ — ประสาทสัมผัส, อาเทา — ในตอนต้น, นิยมฺย — ด้วยการประมาณ, ภรต-ฤษภ — โอ้ ผู้นำในหมู่ผู้สืบราชวงศ์ ภรต, ปาปฺมานมฺ — เครื่องหมายบาปอันยิ่งใหญ่, ปฺรชหิ — ดัด, หิ — แน่นอน, เอนมฺ — นี้, ชฺญาน — ของความรู้, วิชฺญาน — และศาสตร์แห่งความรู้ดวงวิญญาณบริสุทธิ์, นาศนมฺ — ผู้ทำลาย

คำแปล

ฉะนั้น โอ้ อรฺชุน ผู้ดีเลิศแห่ง ภารต ในตอนแรกจงกั้นขอบเครื่องหมายแห่งบาปอันยิ่งใหญ่นี้ (ราคะ) ด้วยการประมาณประสาทสัมผัส และจงสังหารผู้ทำลายวิชาความรู้ และความรู้แจ้งแห่งตนนี้เสีย

คำอธิบาย

องค์ภควานฺทรงแนะนำ อรฺชุน ให้ทรงประมาณประสาทสัมผัสตั้งแต่ตอนแรก เพื่อให้สามารถกั้นขอบเขตของศัตรูบาปที่ร้ายกาจที่สุด คือตัวราคะซึ่งเป็นตัวทำลายพลังเพื่อความรู้แจ้งแห่งตนและวิชาความรู้แห่งตนโดยเฉพาะ ชฺญาน หมายถึงวิชาความรู้แห่งตนซึ่งแตกต่างจากความรู้ที่ไม่ใช่ตน อีกนัยหนึ่งคือความรู้ที่ว่าดวงวิญญาณไม่ใช่ร่างกาย วิชฺญาน หมายถึงความรู้โดยเฉพาะ คือรู้ถึงสถานภาพพื้นฐานของดวงวิญญาณและความสัมพันธ์ที่ตนเองมีต่อดวงอภิวิญญาณสูงสุด ได้อธิบายไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (2.9.31) ดังนี้

ชฺญานํ ปรม-คุหฺยํ เม
ยทฺ วิชฺญาน-สมนฺวิตมฺ
ส-รหสฺยํ ตทฺ-องฺคํ จ
คฺฤหาณ คทิตํ มยา
“ความรู้แห่งตนเองและความรู้แห่งองค์ภควานฺเป็นความรู้ที่ลับเฉพาะและลึกซึ้งมาก ความรู้เช่นนี้และความรู้แจ้งโดยเฉพาะนี้สามารถเข้าใจได้หากองค์ภควานฺทรงอธิบายทุกแง่ทุกมุมด้วยพระองค์เอง” ภควัท-คีตา ได้ให้ความรู้ทั่วไปและความรู้โดยเฉพาะของตัวเรา สิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ ฉะนั้นชีวิตเรามีไว้เพียงเพื่อรับใช้พระองค์เท่านั้น จิตสำนึกเช่นนี้เรียกว่ากฺฤษฺณจิตสำนึก จากตอนเริ่มต้นของชีวิตต้องเรียนรู้กฺฤษฺณจิตสำนึกนี้ หลังจากนั้นเราอาจมีกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยสมบูรณ์และปฏิบัติตนตามนั้น

ราคะเป็นความวิปริตที่สะท้อนมาจากความรักแห่งองค์ภควานฺอันเป็นธรรมชาติของทุกๆชีวิต หากเราได้รับการศึกษาในกฺฤษฺณจิตสำนึกตั้งแต่แรกเริ่ม ความรักองค์ภควานฺโดยธรรมชาติไม่สามารถเสื่อมทรามไปเป็นราคะได้ เมื่อความรักแห่งองค์ภควานฺเสื่อมไปเป็นราคะจะยากมากที่จะให้กลับคืนมาสู่สภาวะปรกติดังเดิม แต่กฺฤษฺณจิตสำนึกมีพลังมากแม้แต่ผู้เริ่มต้นช้าก็ยังสามารถกลายมาเป็นผู้รักองค์ภควานฺได้ด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ฉะนั้นไม่ว่าจะอยู่ในช่วงไหนของชีวิต หรือเริ่มจากจุดที่เข้าใจความฉุกเฉินนี้เราสามารถเริ่มประมาณประสาทสัมผัสในกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺ และเปลี่ยนจากราคะไปเป็นความรักพระองค์ซึ่งเป็นระดับที่สมบูรณ์สูงสุดของชีวิตมนุษย์

โศลก 42

indriyāṇi parāṇy āhur
indriyebhyaḥ paraṁ manaḥ
manasas tu parā buddhir
yo buddheḥ paratas tu saḥ
อินฺทฺริยาณิ ปราณฺยฺ อาหุรฺ
อินฺทฺริเยภฺยห์ ปรํ มนห์
มนสสฺ ตุ ปรา พุทฺธิรฺ
โย พุทฺเธห์ ปรตสฺ ตุ สห์
อินฺทฺริยาณิ — ประสาทสัมผัส, ปราณิ — สูงกว่า, อาหุห์ — ได้กล่าวไว้, อินฺทฺริเยภฺยห์ — มากกว่าประสาทสัมผัส, ปรมฺ — เหนือกว่า, มนห์ — จิตใจ, มนสห์ — มากกว่าจิตใจ, ตุ — เช่นเดียวกัน, ปรา — เหนือกว่า, พุทฺธิห์ — ปัญญา, ยห์ — ใคร, พุทฺเธห์ — มากกว่าปัญญา, ปรตห์ — เหนือกว่า, ตุ — แต่, สห์ — เขา

คำแปล

ประสาทสัมผัสที่ทำงานสูงกว่าวัตถุที่ไม่มีชีวิต จิตใจสูงกว่าประสาทสัมผัส ปัญญาสูงไปกว่าจิตใจ และเขา (ดวงวิญญาณ) ยิ่งสูงขึ้นกว่าปัญญา

คำอธิบาย

ประสาทสัมผัสเป็นทางออกให้กิจกรรมของราคะ ราคะสงบนิ่งอยู่ภายในร่างกายแต่ได้รับการระบายออกผ่านทางประสาทสัมผัส ดังนั้นประสาทสัมผัสจึงเหนือกว่าร่างกายทั้งร่าง ทางออกเหล่านี้ไม่ได้ใช้เมื่อมีจิตสำนึกที่สูงกว่าหรือมีกฺฤษฺณจิตสำนึก ในกฺฤษฺณจิตสำนึกดวงวิญญาณจะเชื่อมสัมพันธ์โดยตรงกับบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ดังนั้นลำดับชั้นตามหน้าที่ของร่างกายจะมาจบลงที่องค์อภิวิญญาณกิจกรรมของร่างกายหมายถึงหน้าที่ของประสาทสัมผัส และการหยุดประสาทสัมผัสหมายถึงการหยุดทำงานของร่างกายทั้งหมด แต่เนื่องจากจิตใจไม่เคยหยุดนิ่งถึงแม้ว่าร่างกายอาจจะนิ่งสงบและพักผ่อนแต่จิตใจยังคงทำงานต่อไป ดังเช่นขณะที่เราฝันแต่เหนือไปกว่าจิตใจคือการตัดสินใจของปัญญา และเหนือไปกว่าปัญญาคือดวงวิญญาณ ฉะนั้นถ้าหากดวงวิญญาณปฏิบัติงานกับองค์ภควานฺโดยตรงตามธรรมชาติส่วนที่รองลงมาทั้งหมด เช่น ปัญญา จิตใจ และประสาทสัมผัสก็จะร่วมปฏิบัติงานโดยปริยาย ใน กฐ อุปนิษทฺ มีข้อความคล้ายๆกันซึ่งกล่าวไว้ว่า อายตนะภายนอกเพื่อสนองประสาทสัมผัสเหนือกว่าประสาทสัมผัส และจิตใจเหนือกว่าอายตนะภายนอก ฉะนั้นหากจิตใจปฏิบัติงานโดยตรงในการรับใช้องค์ภควานฺอยู่เสมอจะไม่เปิดโอกาสให้ประสาทสัมผัสถูกใช้ไปในทางอื่น ท่าทีของจิตใจเช่นนี้ได้อธิบายไว้แล้ว ปรํ ทฺฤษฺฏฺวา นิวรฺตเต หากจิตใจถูกใช้ไปในการรับใช้ทิพย์แด่องค์ภควานฺจะไม่เปิดโอกาสให้มันไปรับใช้นิสัยที่ต่ำกว่า ใน กฐ อุปนิษทฺ ได้อธิบายดวงวิญญาณว่า มหานฺ หรือยิ่งใหญ่ ดังนั้นดวงวิญญาณอยู่เหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมด เช่น อายตนะภายนอก อายตนะภายในหรือประสาทสัมผัส จิตใจ และปัญญา ดังนั้นการเข้าใจสถานภาพพื้นฐานอันแท้จริงโดยตรงของดวงวิญญาณคือคำตอบของปัญหาทั้งปวง

ด้วยสติปัญญาเราจะต้องค้นหาสถานภาพพื้นฐานอันแท้จริงของดวงวิญญาณ และให้จิตใจทำงานในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เสมอซึ่งจะแก้ไขปัญหาทั้งหมด ผู้ปฏิบัติเริ่มแรกจะได้รับคำแนะนำให้อยู่ห่างจากอายตนะภายนอก นอกจากนี้ยังต้องฝึกจิตใจให้เข้มแข็งด้วยการใช้สติปัญญา และด้วยสติปัญญาเราใช้จิตใจของเราปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก จากการศิโรราบอย่างสมบูรณ์แด่บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าจิตใจจะเข้มแข็งขึ้นโดยปริยาย ถึงแม้ว่าประสาทสัมผัสจะร้ายกาจมากเหมือนกับงูพิษ แต่จะกลายมาเป็นงูพิษที่ปราศจากเขี้ยว แม้ว่าดวงวิญญาณเป็นนายของปัญญา จิตใจ รวมทั้งประสาทสัมผัส ถึงกระนั้นดวงวิญญาณจะยังต้องได้รับการฝึกฝนให้เข้มแข็งด้วยการมาคบหาสมาคมกับกฺฤษฺณในกฺฤษฺณจิตสำนึก มิฉะนั้นจะมีโอกาสตกต่ำลงอันเนื่องมาจากจิตใจที่หวั่นไหว

โศลก 43

evaṁ buddheḥ paraṁ buddhvā
saṁstabhyātmānam ātmanā
jahi śatruṁ mahā-bāho
kāma-rūpaṁ durāsadam
เอวํ พุทฺเธห์ ปรํ พุทฺธฺวา
สํสฺตภฺยาตฺมานมฺ อาตฺมนา
ชหิ ศตฺรุํ มหา-พาโห
กาม-รูปํ ทุราสทมฺ
เอวมฺ — ดังนั้น, พุทฺเธห์ — แด่ปัญญา, ปรมฺ — เหนือกว่า, พุทฺธฺวา — รู้, สํสฺตภฺย — ด้วยความมั่นคง, อาตฺมานมฺ — จิตใจ, อาตฺมนา — ด้วยปัญญาที่สุขุม, ชหิ — ได้ชัยชนะ, ศตฺรุมฺ — ศัตรู, มหา-พาโห — โอ้ นักรบผู้เก่งกล้า, กาม-รูปมฺ — ในรูปของราคะ, ทุราสทมฺ — น่าสะพรึงกลัว

คำแปล

ดังนั้น เมื่อรู้ว่าตนเองเป็นทิพย์อยู่เหนือประสาทสัมผัสวัตถุ จิตใจ และปัญญา โอ้ อรฺชุน นักรบผู้เก่งกล้า เธอควรทำจิตใจให้แน่วแน่มั่นคงด้วยปัญญาทิพย์ที่สุขุม (กฺฤษฺณจิตสำนึก) และด้วยพลังทิพย์จงกำราบเจ้าตัวราคะ ศัตรูผู้ไม่รู้จักพอ

คำอธิบาย

บทที่สามของ ภควัท-คีตา นี้ได้นำเราไปถึงจุดสรุปของกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยการรู้จักตนเองว่าเป็นผู้รับใช้นิรันดรของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า โดยไม่พิจารณาว่าในที่สุดคือความว่างเปล่าไร้บุคลิกภาพ ในชีวิตความเป็นอยู่ทางวัตถุแน่นอนว่าเราจะต้องได้รับอิทธิพลที่มีนิสัยชอบราคะ และต้องการมีอำนาจเหนือทรัพยากรธรรมชาติวัตถุ ความต้องการเป็นเจ้าเหนือหัว และต้องการสนองประสาทสัมผัสเป็นศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดของพันธวิญญาณ แต่ด้วยพลังอำนาจแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกเราสามารถควบคุมประสาทสัมผัสทางวัตถุ จิตใจ และปัญญาได้ เราอาจจะไม่ต้องยกเลิกการงานและหน้าที่ที่กำหนดไว้ทั้งหมดโดยฉับพลัน แต่ด้วยการพัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึกทีละน้อยเราจะสามารถสถิตในสถานภาพทิพย์โดยไม่ถูกอิทธิพลของประสาทสัมผัสวัตถุและจิตใจครอบงำ ด้วยปัญญาอันแน่วแน่มั่นคงจะนำเราไปสู่ตัวของเราเองที่บริสุทธิ์ นี่คือข้อสรุปของบทนี้ ในระดับความเป็นอยู่ทางวัตถุที่ยังไม่พัฒนาการคาดคะเนทางปรัชญา และความพยายามที่ฝืนธรรมชาติในการที่จะควบคุมประสาทสัมผัสด้วยการฝึกปฏิบัติสิ่งที่เรียกว่าท่าโยคะต่างๆจะไม่มีวันช่วยให้มาสู่ชีวิตทิพย์ เราจึงต้องได้รับการฝึกฝนในกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยสติปัญญาที่สูงกว่า

ดังนั้นได้จบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่สาม ของหนังสือ ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา ในหัวข้อเรื่อง กรฺม-โยค