บทที่ สี่
ความรู้ทิพย์
śrī-bhagavān uvāca
imaṁ vivasvate yogaṁ
proktavān aham avyayam
vivasvān manave prāha
manur ikṣvākave ’bravīt
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
อิมํ วิวสฺวเต โยคํ
โปฺรกฺตวานฺ อหมฺ อวฺยยมฺ
วิวสฺวานฺ มนเว ปฺราห
มนุรฺ อิกฺษฺวากเว ’พฺรวีตฺ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัส, อิมมฺ — นี้, วิวสฺวเต — แด่สุริยเทพ, โยคมฺ — ศาสตร์แห่งความสัมพันธ์ระหว่างเรากับองค์ภควาน, โปฺรกฺตวานฺ — สอน, อหมฺ — ข้า, อวฺยยมฺ — อมตะ, วิวสฺวานฺ — วิวสฺวานฺ (พระนามของสุริยเทพ), มนเว — แด่พระบิดาของมนุษยชาติ (มีพระนามว่าไววัสวะทา), ปฺราห — บอก, มนุห์ — พระบิดาแห่งมนุษยชาติ, อิกฺษฺวากเว — แด่กษัตริย์ อิกฺษฺวากุ, อพฺรวีตฺ — ตรัส
คำแปล
บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์ศฺรี กฺฤษฺณตรัสว่า ข้าได้สอนศาสตร์อมตะแห่งโยคะนี้แด่พระอาทิตย์ วิวสฺวานฺ และ วิวสฺวานฺ ได้สอนให้แด่ มนุ พระบิดาแห่งมนุษยชาติ และ มนุ ได้สอนให้แด่ อิกฺษฺวากุ
คำอธิบาย
ณ ที่นี้ เราพบประวัติศาสตร์แห่ง ภควัท-คีตา ย้อนอดีตถึงกาลเวลาที่ได้ถ่ายทอดผ่านราชวงศ์ กฺษตฺริย ของดาวเคราะห์ทั้งหลายเริ่มต้นจากดวงอาทิตย์ เจตนาโดยเฉพาะของ กฺษตฺริย แห่งดาวเคราะห์ทั้งหลายก็เพื่อปกป้องคุ้มครองผู้อยู่อาศัย ฉะนั้นราชวงศ์ กฺษตฺริย ควรเข้าใจศาสตร์แห่ง ภควัท-คีตา เพื่อสามารถปกครองและคุ้มครองป้องกันประชากรจากราคะซึ่งเป็นพันธนาการทางวัตถุ จุดมุ่งหมายของชีวิตมนุษย์นั้นก็เพื่อพัฒนาความรู้ทิพย์ในความสัมพันธ์นิรันดรกับองค์ภควานฺ และมวลผู้นำรัฐแห่งดาวเคราะห์ทั้งหลายมีพันธกรณีในการถ่ายทอดบทเรียนนี้แด่ประชากรด้วยการศึกษาวัฒนธรรมและการอุทิศตนเสียสละ อีกนัยหนึ่งเจตนาของมวลผู้นำรัฐคือเผยแพร่ศาสตร์แห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกเพื่อประชากรอาจได้รับประโยชน์จากศาสตร์อันยิ่งใหญ่นี้ และมุ่งหน้าอยู่บนหนทางแห่งความสำเร็จใช้ประโยชน์ที่ได้มีโอกาสมาอยู่ในร่างมนุษย์
ในกัปนี้เจ้าแห่งดวงอาทิตย์ทรงมีพระนามว่า วิวสฺวานฺ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของมวลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ มีการกล่าวไว้ใน พฺรหฺม-สํหิตา (5.52) ว่า
ยจฺ-จกฺษุรฺ เอษ สวิตา สกล-คฺรหาณำ
ราชา สมสฺต-สุร-มูรฺติรฺ อเศษ-เตชาห์
ยสฺยาชฺญยา ภฺรมติ สมฺภฺฤต-กาล-จโกฺร
โควินฺทมฺ อาทิ-ปุรุษํ ตมฺ อหํ ภชามิ
พระพรหมตรัสว่า “ข้าพเจ้าขอบูชาบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า โควินฺท (กฺฤษฺณ) ผู้ทรงเป็นบุคคลแรกจากคำสั่งของพระองค์ พระอาทิตย์ผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งมวลดาวเคราะห์ได้รับพลังและความร้อนอย่างมหาศาล ดวงอาทิตย์เสมือนดุจดังพระเนตรขององค์ภควานฺ และโคจรไปโดยรอบด้วยความเคารพในพระราชดำริของพระองค์”
พระอาทิตย์ทรงเป็นเจ้าแห่งมวลดาวเคราะห์สุริยเทพ (องค์ปัจจุบันทรงพระนามว่า วิวสฺวานฺ) ทรงเป็นผู้ปกครองดวงอาทิตย์และควบคุมมวลดาวเคราะห์โดยการแจกจ่ายความร้อนและแสง พระองค์ทรงโคจรไปรอบๆภายใต้คำสั่งขององค์กฺฤษฺณ เดิมทีองค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงให้ วิวสฺวานฺ เป็นสาวกองค์แรกที่เข้าใจศาสตร์แห่ง ภควัท-คีตา ดังนั้น คีตา จึงไม่ใช่ตำราคาดคะเนสำหรับนักวิชาการทางวัตถุผู้ไม่มีความสำคัญอันใด แต่เป็นหนังสือมาตรฐานที่ถ่ายทอดลงมาจากโบราณกาล
ในมหา ภรต ะ (ศานฺติ-ปรฺว 348.51-52) เราสามารถย้อนรอยประวัติศาสตร์ของ คีตา ได้ดังนี้
เตฺรตา-ยุคาเทา จ ตโต
วิวสฺวานฺ มนเว ทเทา
มนุศฺ จ โลก-ภฺฤตฺยฺ-อรฺถํ
สุตาเยกฺษฺวากเว ทเทา
อิกฺษฺวากุณา จ กถิโต
วฺยาปฺย โลกานฺ อวสฺถิตห์
“ในตอนต้นของกัปที่มีชื่อว่า เตฺรตา-ยุค ศาสตร์แห่งความสัมพันธ์กับองค์ภควานฺนี้ได้ถ่ายทอดจากองค์ วิวสฺวานฺ แด่ มนุ มนุ ผู้ทรงเป็นพระบิดาแห่งมนุษยชาติทรงประทานศาสตร์นี้แด่โอรสมีนามว่า มหาราช อิกฺษฺวากุ ผู้ทรงเป็น กฺษตฺริย แห่งโลกนี้และทรงเป็นบรรพบุรุษแห่งราชวงศ์ รฆุ ซึ่ง รามจนฺทฺร ทรงปรากฏพระวรกาย” ฉะนั้น ภควัท-คีตา มีอยู่ในสังคมมนุษย์ตั้งแต่สมัย มหาราช อิกฺษฺวากุ
ปัจจุบันเพิ่งผ่านกลียุคมาห้าพันปี กลียุคนี้จะมีเวลายาวนานถึง 432,000 ปี ก่อนหน้านี้เป็น ทฺวาปร-ยุค (800,000 ปี) และก่อนหน้านั้นเป็น เตฺรตา-ยุค (1,200,000 ปี) ดังนั้นประมาณ 2,005,000 ปีก่อนหน้านี้ มนุ ตรัส ภควัท-คีตา แด่สาวกและโอรสทรงพระนามว่า มหาราช อิกฺษฺวากุ ผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งโลกนี้อายุขัยของ มนุ องค์ปัจจุบันคำนวณได้ประมาณ 305,300,000 ปี ปัจจุบันได้ผ่านไปแล้ว 120,400,000 ปี เรายอมรับว่าก่อน มนุ ประสูติองค์ภควานฺได้ตรัส คีตา แด่สาวกสุริยเทพ วิวสฺวานฺ เราคำนวณอย่างคร่าวๆได้ว่า คีตา ได้ถูกตรัสขึ้นอย่างน้อย 120,400,000 ปีก่อน และได้มีอยู่ในสังคมมนุษย์เป็นเวลาสองล้านปี ภควัท-คีตา ได้ถูกตรัสขึ้นอีกครั้งแด่ อรฺชุน ประมาณห้าพันปีก่อน ทั้งหมดนี้คือการประมาณประวัติของ คีตา อย่างคร่าวๆตามที่ คีตา กล่าว และตามคำบอกเล่าของผู้ตรัสคือองค์ศฺรี กฺฤษฺณ คีตา ได้ถูกตรัสแด่สุริยเทพ วิวสฺวานฺ เนื่องจากทรงเป็น กฺษตฺริย และทรงเป็นพระบิดาของ กฺษตฺริย ทั้งหลายที่สืบราชวงศ์มาจากพระอาทิตย์ หรือ สูรฺย-วํศ กฺษตฺริย เพราะว่า ภควัท-คีตา ดีเท่ากับพระเวทเนื่องจากบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงเป็นผู้ตรัส ความรู้นี้เป็นความรู้เหนือมนุษย์ อเปารุเษย และเนื่องจากคำสอนพระเวทเป็นที่ยอมรับตามที่ปรากฏโดยไม่มีการตีความตามโลกียวัตรนักถกเถียงทางโลกอาจคาดคะเน คีตา ตามแนวความคิดของตน แต่นั่นมิใช่ ภควัท-คีตา ฉบับเดิม ฉะนั้น ภควัท-คีตา จะต้องได้รับการยอมรับไว้ให้เหมือนต้นฉบับเดิมจากสาย ปรมฺปรา และได้อธิบาย ณ ที่นี้ว่าองค์ภควานฺตรัสแด่สุริยเทพ และสุริยเทพตรัสแด่พระโอรสของพระองค์ทรงพระนามว่า มนุ และ มนุ ตรัสแด่พระโอรสของพระองค์ทรงพระนามว่า อิกฺษฺวากุ
evaṁ paramparā-prāptam
imaṁ rājarṣayo viduḥ
sa kāleneha mahatā
yogo naṣṭaḥ paran-tapa
เอวํ ปรมฺปรา-ปฺราปฺตมฺ
อิมํ ราชรฺษโย วิทุห์
ส กาเลเนห มหตา
โยโค นษฺฏห์ ปรนฺ-ตป
เอวมฺ — ดังนั้น, ปรมฺปรา — โดยปรัมปรา, ปฺราปฺตมฺ — ได้รับ, อิมมฺ — ศาสตร์นี้, ราช-ฤษยห์ — กษัตริย์ผู้ทรงธรรม, วิทุห์ — เข้าใจ, สห์ — ความรู้นั้น, กาเลน — กาลเวลาผ่านไป, อิห — ในโลกนี้, มหตา — ยิ่งใหญ่, โยคห์ — ศาสตร์แห่งความสัมพันธ์ระหว่างเรากับองค์ภควาน, นษฺฏห์ — กระจัดกระจาย, ปรมฺ-ตป — โอ้ อรฺชุน ผู้กำราบศัตรู
คำแปล
ฉะนั้น ศาสตร์สูงสุดนี้ได้รับสืบทอดผ่านทางสายปรัมปรา และกษัตริย์ผู้ทรงธรรมทรงเข้าใจตามสายนี้ แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปสายปรัมปราได้ขาดตอนลง จึงดูเหมือนว่าศาสตร์นี้สูญหายไป
คำอธิบาย
ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า คีตา มีไว้เฉพาะสำหรับ กฺษตฺริย ผู้ทรงธรรม เพราะว่า กฺษตฺริย ผู้ทรงธรรมเหล่านี้จะนำเจตนารมณ์ของ คีตา ไปบริหารปกครองประชากร แน่นอนว่า ภควัท-คีตา มิได้มีไว้สำหรับหมู่มารผู้ตัดทอนคุณค่าของ คีตา เพื่อไม่ให้ผู้ใดได้รับประโยชน์และจะออกอุบายต่างๆนานาเพื่อตีความหมายตามอำเภอใจของตนเอง ทันทีที่จุดมุ่งหมายเดิมเลือนหายไปอันเนื่องมาจากเจตนาของนักวิจารณ์ผู้ไร้คุณธรรมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสถาปนาสาย ปรมฺปรา ขึ้นมาใหม่ เมื่อห้าพันปีก่อนองค์ภควานฺทรงพบด้วยพระองค์เองว่าสายปรัมปราได้ขาดตอนลง ฉะนั้นพระองค์ทรงประกาศว่าจุดมุ่งหมายของ คีตา ดูเหมือนจะสูญหายไป ในทำนองเดียวกันปัจจุบันมีหนังสือ คีตา หลายเล่ม (โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ) แต่ก็เกือบทั้งหมดไม่ใช่ตามสายปรัมปราที่เชื่อถือได้ มีการแปลอย่างมากมายโดยนักวิชาการทางโลก แต่เกือบทั้งหมดนั้นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้ากฺฤษฺณทรงไม่ยอมรับ ถึงแม้ว่าพวกนักวิชาการทางโลกจะทำธุรกิจได้ดีจากคำดำรัสขององค์ศฺรี กฺฤษฺณจิตวิญญาณเช่นนี้เป็นมาร เพราะมารไม่เชื่อในองค์ภควานฺแต่ชอบหาความสุขกับทรัพย์สมบัติของพระองค์ เนื่องจากมีความต้องการหนังสือ คีตา ที่เป็นภาษาอังกฤษเป็นอย่างมากในระบบ ปรมฺปรา (สายปรัมปรา) จึงได้เกิดมีความพยายามตรงนี้เพื่อสนองความต้องการอันใหญ่หลวงนี้ ภควัท-คีตา ที่ได้รับการยอมรับเหมือนต้นฉบับเดิมเป็นสิ่งที่มีคุณประโยชน์อย่างมหาศาลต่อมนุษยชาติ แต่ถ้าหากว่าเรายอมรับ คีตา ว่าเป็นเพียงหนังสือตำราแห่งการคาดคะเนทางปรัชญาจะทำให้เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
sa evāyaṁ mayā te ’dya
yogaḥ proktaḥ purātanaḥ
bhakto ’si me sakhā ceti
rahasyaṁ hy etad uttamam
ส เอวายํ มยา เต ’ทฺย
โยคห์ โปฺรกฺตห์ ปุราตนห์
ภกฺโต ’สิ เม สขา เจติ
รหสฺยํ หฺยฺ เอตทฺ อุตฺตมมฺ
สห์ — เหมือนกัน, เอว — แน่นอน, อยมฺ — นี้, มยา — โดยข้า, เต — แก่เธอ, อทฺย — วันนี้, โยคห์ — ศาสตร์แห่งโยคะ, โปฺรกฺตห์ — ตรัส, ปุราตนห์ — โบราณมาก, ภกฺตห์ — สาวก, อสิ — เธอเป็น, เม — ของข้า, สขา — สหาย, จ — เช่นกัน, อิติ — ฉะนั้น, รหสฺยมฺ — ลึกลับ, หิ — แน่นอน, เอตตฺ — นี้, อุตฺตมมฺ — ทิพย์
คำแปล
ศาสตร์แห่งความสัมพันธ์กับองค์ภควานที่โบราณมากนั้น บัดนี้ ข้าตรัสแก่เธอเพราะว่าเธอเป็นทั้งสาวกและสหายของข้า ฉะนั้น เธอจึงสามารถเข้าใจความเร้นลับแห่งศาสตร์ทิพย์นี้
คำอธิบาย
มีบุคคลอยู่สองประเภทคือ สาวกและมาร องค์ภควานฺทรงเลือก อรฺชุน ให้เป็นผู้รับศาสตร์อันยิ่งใหญ่นี้เนื่องจาก อรฺชุน ทรงเป็นสาวกของพระองค์ แต่สำหรับมารเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจศาสตร์อันเร้นลับที่ยิ่งใหญ่นี้ มีหนังสือแห่งความรู้ยิ่งใหญ่นี้หลายเล่มบางเล่มเป็นคำอธิบายของสาวก และบางเล่มเป็นคำอธิบายของมาร คำวิจารณ์ของสาวกเป็นความจริง ขณะที่คำวิจารณ์ของมารไร้ประโยชน์ อรฺชุน ทรงยอมรับองค์ศฺรี กฺฤษฺณว่าทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า และคำอธิบายใดๆเกี่ยวกับ คีตา ตามรอยพระบาทของ อรฺชุน เป็นการรับใช้อุทิศตนเสียสละต่อแหล่งกำเนิดของศาสตร์อันยิ่งใหญ่นี้ อย่างไรก็ดีมารไม่ยอมรับองค์ศฺรี กฺฤษฺณตามความเป็นจริงและกุเรื่องบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณ อันจะนำพาผู้อ่านโดยทั่วไปให้ห่างจากวิถีทางที่องค์กฺฤษฺณทรงสั่งสอน ณ ที่นี้ได้เตือนเกี่ยวกับวิถีทางที่ผิดเช่นนี้ เราควรพยายามปฏิบัติตามสายปรัมปราจาก อรฺชุน และได้รับประโยชน์จากศาสตร์อันยิ่งใหญ่แห่ง ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา นี้
arjuna uvāca
aparaṁ bhavato janma
paraṁ janma vivasvataḥ
katham etad vijānīyāṁ
tvam ādau proktavān iti
อรฺชุน อุวาจ
อปรํ ภวโต ชนฺม
ปรํ ชนฺม วิวสฺวตห์
กถมฺ เอตทฺ วิชานียำ
ตฺวมฺ อาเทา โปฺรกฺตวานฺ อิติ
อรฺชุนห์ อุวาจ — อรฺชุน ตรัส, อปรมฺ — อ่อนวัยกว่า, ภวตห์ — ของท่าน, ชนฺม — เกิด, ปรมฺ — อาวุโสกว่า, ชนฺม — เกิด, วิวสฺวตห์ — แห่งองค์สุริยเทพ, กถมฺ — อย่างไร, เอตตฺ — นี้, วิชานียามฺ — ข้าพเจ้าจะเข้าใจ, ตฺวมฺ — ท่าน, อาเทา — ในตอนต้น, โปฺรกฺตวานฺ — สอน, อิติ — ดังนั้น
คำแปล
อรฺชุน ตรัสว่า สุริยเทพ วิวสฺวานฺ ทรงเป็นผู้อาวุโสกว่าและประสูติก่อนพระองค์ ข้าพเจ้าจะทราบได้อย่างไรว่าในตอนแรกพระองค์ทรงสอนศาสตร์นี้แก่สุริยเทพ
คำอธิบาย
อรฺชุน ทรงได้รับการยอมรับว่าเป็นสาวกขององค์ภควานฺ ฉะนั้นจะทรงไม่เชื่อในคำดำรัสขององค์กฺฤษฺณได้อย่างไร อันที่จริง อรฺชุน ทรงมิได้ถามคำถามนี้เพื่อพระองค์เอง แต่ทรงถามเพื่อผู้ที่ไม่เชื่อในบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า หรือเพื่อหมู่มารผู้ไม่ชอบความคิดที่ว่าองค์กฺฤษฺณควรได้รับการยอมรับว่าทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า อรฺชุน ทรงถามคำถามนี้เพื่อพวกมารเท่านั้น ประหนึ่งว่าไม่ทราบเกี่ยวกับบุคลิกภาพแห่งพระเจ้าหรือองค์กฺฤษฺณดังจะมีหลักฐานในบทที่สิบ อรฺชุน ทรงทราบเป็นอย่างดีว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงเป็นแหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่างและทรงเป็นคำสุดท้ายในความเป็นทิพย์ แน่นอนว่าองค์กฺฤษฺณทรงปรากฏพระวรกายเป็นโอรสของพระนาง เทวกี บนโลกนี้แล้วองค์กฺฤษฺณจะทรงรักษาความเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าบุคคลแรกผู้ทรงความเป็นอมตะได้อย่างไรนั้นเป็นสิ่งที่สามัญชนทั่วไปเข้าใจได้ยากมาก ดังนั้นเพื่อทำให้จุดนี้กระจ่างขึ้น อรฺชุน ทรงตั้งคำถามต่อหน้าพระพักตร์ขององค์กฺฤษฺณเพื่อให้พระองค์ตรัสเยี่ยงผู้ที่เชื่อถือได้ และเป็นที่ยอมรับกันทั่วสากลโลกว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้มีอำนาจเชื่อถือได้สูงสุดไม่เพียงแต่ปัจจุบันนี้เท่านั้น แต่เป็นที่ยอมรับมาตั้งแต่โบราณกาลมีแต่พวกมารเท่านั้นที่ปฏิเสธพระองค์ อย่างไรก็ดีเนื่องจากองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้มีอำนาจเชื่อถือได้ที่ยอมรับกันโดยทั่วไป อรฺชุน ทรงตั้งคำถามนี้ต่อหน้าพระองค์เพื่อให้องค์กฺฤษฺณทรงอธิบายถึงตัวพระองค์เองโดยไม่ต้องให้พวกมารมาพรรณนา แล้วพยายามบิดเบือนองค์กฺฤษฺณไปในทางที่พวกมารและสาวกของตนต้องการเข้าใจ มีความจำเป็นที่ทุกคนควรทราบศาสตร์แห่องค์กฺฤษฺณเพื่อประโยชน์แห่งตน ดังนั้นเมื่อองค์กฺฤษฺณตรัสเกี่ยวกับตัวพระองค์เองจึงเป็นสิริมงคลแด่โลกทั้งหลาย สำหรับพวกมารคำอธิบายขององค์กฺฤษฺณเช่นนี้อาจดูแปลกเพราะว่ามารชอบศึกษาเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณจากมุมมองของตนเอง แต่สาวกยินดีต้อนรับพระดำรัสขององค์กฺฤษฺณด้วยหัวใจ เมื่อองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้ตรัสเองสาวกจะเคารพบูชาพระดำรัสที่เชื่อถือได้ของพระองค์เสมอเพราะสาวกมีความกระตือรือร้นที่จะทราบเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณให้มากยิ่งขึ้น ผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานฺคิดว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นมนุษย์ธรรมดาด้วยวิธีนี้อาจรู้ว่าพระองค์ทรงเหนือมนุษย์เป็น สจฺ-จิทฺ-อานนฺท-วิคฺรห ที่ทรงเป็นรูปลักษณ์อมตะแห่งความสุขเกษมสำราญและความรู้ ทรงเป็นทิพย์อยู่เหนือการครอบงำของสามลักษณะแห่งธรรมชาติวัตถุ และทรงอยู่เหนืออิทธิพลของเวลาและอวกาศ สาวกขององค์กฺฤษฺณ เช่น อรฺชุน ทรงอยู่เหนือความเข้าใจผิดทั้งปวงอย่างไร้ข้อกังขาเกี่ยวกับสภาวะความเป็นทิพย์ขององค์กฺฤษฺณ ที่ อรฺชุน ทรงตั้งคำถามนี้ต่อหน้าพระพักตร์ขององค์ภควานฺนั้นเป็นเพียงความพยายามของสาวกเพื่อท้าทายท่าทีของผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานฺที่คิดว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นมนุษย์ธรรมดา ผู้อยู่ภายใต้อำนาจของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ
śrī-bhagavān uvāca
bahūni me vyatītāni
janmāni tava cārjuna
tāny ahaṁ veda sarvāṇi
na tvaṁ vettha paran-tapa
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
พหูนิ เม วฺยตีตานิ
ชนฺมานิ ตว จารฺชุน
ตานฺยฺ อหํ เวท สรฺวาณิ
น ตฺวํ เวตฺถ ปรนฺ-ตป
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพแห่งพระเจ้าตรัส, พหูนิ — หลาย, เม — ของข้า, วฺยตีตานิ — ได้ผ่านมา, ชนฺมานิ — เกิด, ตว — ของเธอ, จ — และเช่นกัน, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน, ตานิ — เหล่านั้น, อหมฺ — ข้า, เวท — ทราบ, สรฺวาณิ — ทั้งหมด, น — ไม่, ตฺวมฺ — เธอ, เวตฺถ — ทราบ, ปรมฺ-ตป — โอ้ ผู้กำราบศัตรู
คำแปล
บุคลิกภาพแห่งพระเจ้าตรัสว่า หลายต่อหลายชาติทั้งเธอและข้าได้ผ่านมา ข้าสามารถระลึกได้ทุกๆชาติ แต่เธอจำไม่ได้ โอ้ ผู้กำราบศัตรู
คำอธิบาย
ใน พฺรหฺม-สํหิตา (5.33) เรามีข้อมูลเกี่ยวกับอวตารต่างๆขององค์ภควานฺมากมาย ได้กล่าวไว้ดังนี้
อไทฺวตมฺ อจฺยุตมฺ อนาทิมฺ อนนฺต-รูปมฺ
อาทฺยํ ปุราณ-ปุรุษํ นว-เยาวนํ จ
เวเทษุ ทุรฺลภมฺ อทุรฺลภมฺ อาตฺม-ภกฺเตา
โควินฺทมฺ อาทิ-ปุรุษํ ตมฺ อหํ ภชามิ
“ข้าขอบูชาบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า โควินฺท (กฺฤษฺณ) ผู้ทรงเป็นบุคคลแรกที่มีความสมบูรณ์บริบูรณ์ ไม่มีข้อผิดพลาด ไม่มีจุดเริ่มต้น แม้ว่าทรงอวตารมาในรูปลักษณ์ไม่มีที่สิ้นสุด พระองค์ยังทรงเป็น ภควานฺ องค์แรกเหมือนเดิม อาวุโสที่สุด และทรงปรากฏอยู่ในรูปของชายหนุ่มผู้สดใสอยู่เสมอ รูปลักษณ์ที่เป็นอมตะ เปี่ยมไปด้วยความสุขเกษมสำราญและสัพพัญญูของพระองค์นี้ โดยทั่วไปแม้นักวิชาการพระเวทที่ดีที่สุดยังไม่เข้าใจ แต่รูปลักษณ์เหล่านี้จะปรากฏอยู่เสมอกับสาวกบริสุทธิ์ผู้ไร้มลทินเจือปน”
ได้กล่าวไว้ใน พฺรหฺม-สํหิตา (5.39) อีกเช่นกันว่า
รามาทิ-มูรฺติษุ กลา-นิยเมน ติษฺฐนฺ
นานาวตารมฺ อกโรทฺ ภุวเนษุ กินฺตุ
กฺฤษฺณห์ สฺวยํ สมภวตฺ ปรมห์ ปุมานฺ โย
โควินฺทมฺ อาทิ-ปุรุษํ ตมฺ อหํ ภชามิ
“ข้าขอบูชาบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า โควินฺท (กฺฤษฺณ) ผู้สถิตในอวตารต่างๆเสมอ เช่น ราม นฺฤสึห และในอนุอวตารอีกมากมายเช่นกัน แต่ทรงเป็นภควานฺองค์เดิมผู้ทรงพระนามว่า กฺฤษฺณ และทรงอวตารด้วยพระองค์เองเช่นกัน”
ในคัมภีร์พระเวทได้กล่าวไว้เช่นกันว่าองค์ภควานฺแม้ทรงเป็นหนึ่งไม่มีสองก็ยังทรงปรากฏพระวรกายในรูปลักษณ์ต่างๆมากมาย เหมือนกับมณี ไวทูรฺย ซึ่งเปลี่ยนสีแต่ยังคงเป็นหนึ่ง รูปลักษณ์อันหลากหลายทั้งหมดขององค์ภควานฺนั้นสาวกบริสุทธิ์ผู้ไร้มลทินจึงจะเข้าใจ มิใช่เพียงแต่ศึกษาคัมภีร์พระเวท (เวเทษุ ทุรฺลภมฺ อทุรฺลภมฺ อาตฺม-ภกฺเตา) สาวกเช่น อรฺชุน ทรงเป็นสหายสนิทขององค์ภควานฺเสมอ เมื่อใดที่องค์ภควานฺทรงอวตารเหล่าสาวกจะอวตารมาร่วมด้วยเช่นเดียวกันเพื่อรับใช้พระองค์ในขีดความสามารถของตนที่แตกต่างกันไป อรฺชุน ทรงเป็นหนึ่งในจำนวนสาวกเหล่านี้ ในโศลกนี้เราเข้าใจได้ว่าหลายล้านปีมาแล้วเมื่อองค์ศฺรี กฺฤษฺณตรัส ภควัท-คีตา แก่สุริยเทพ วิวสฺวานฺ และ อรฺชุน ในขีดความสามารถที่แตกต่างกันก็ทรงปรากฏเช่นเดียวกัน ข้อแตกต่างระหว่างองค์ภควานฺและ อรฺชุน คือองค์ภควานฺทรงจำเหตุการณ์ได้ในขณะที่ อรฺชุน ทรงจำไม่ได้ นี่คือข้อแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตผู้เป็นละอองอณูและองค์ภควานฺ แม้ อรฺชุน จะทรงได้รับการยกย่อง ณ ที่นี้ว่าเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่สามารถกำราบศัตรูแต่ไม่สามารถเรียกความจำกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชาติก่อนให้กลับคืนมาได้ ฉะนั้นสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะยิ่งใหญ่แค่ไหนในการประเมินค่าทางวัตถุจะไม่มีวันเทียบเท่าองค์ภควานฺได้ ผู้ใดเป็นสหายสนิทขององค์ภควานฺแน่นอนว่าเป็นบุคคลผู้หลุดพ้นแล้วแต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถเทียบเท่ากับองค์ภควานฺได้ พฺรหฺม-สํหิตา ได้อธิบายถึงองค์ภควานฺว่าทรงเป็นผู้ที่ไม่มีความผิดพลาด (อจฺยุต) หมายความว่าทรงไม่เคยลืมพระองค์เองแม้จะมาสัมผัสกับวัตถุ ดังนั้นองค์ภควานฺ และสิ่งมีชีวิตจะไม่มีวันเทียบเท่ากันได้ไม่ว่าในกรณีใด แม้กระทั่งสิ่งมีชีวิตที่หลุดพ้นแล้วเหมือนกับ อรฺชุน แม้ อรฺชุน ทรงเป็นสาวกขององค์ภควานฺบางครั้งทรงลืมธรรมชาติขององค์ภควานฺ แต่ด้วยพระกรุณาธิคุณของพระองค์สาวกสามารถเข้าใจสภาวะที่ไม่มีข้อผิดพลาดขององค์ภควานฺได้ทันที ในขณะที่ผู้ไม่ใช่สาวกหรือมารจะไม่สามารถเข้าใจธรรมชาติทิพย์นี้ ฉะนั้นคำอธิบายใน คีตา เหล่านี้สมองมารไม่สามารถเข้าใจได้ องค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงจำสิ่งที่กระทำเมื่อล้านๆปีก่อนหน้านี้แต่ อรฺชุน ทรงไม่สามารถจำได้ ถึงแม้ว่าทั้งองค์กฺฤษฺณและ อรฺชุน ทรงเป็นอมตะโดยธรรมชาติ เราอาจพิจารณา ณ ที่นี้ว่าสิ่งมีชีวิตลืมทุกสิ่งทุกอย่างเนื่องมาจากการเปลี่ยนร่างกาย แต่องค์ภควานฺทรงจำได้เพราะทรงมิได้เปลี่ยนร่าง สจฺ-จิทฺ-อานนฺท ของพรองค์ อไทฺวต หมายความว่าไม่มีข้อแตกต่างระหว่างพระวรกายและวิญญาณของพระองค์ ทุกสิ่งทุกอย่างที่สัมพันธ์กับพระองค์เป็นทิพย์ ในขณะที่พันธวิญญาณแตกต่างจากร่างวัตถุของตน และเนื่องจากร่างขององค์ภควานฺและดวงวิญญาณเหมือนกันสภาวะขององค์ภควานฺจึงทรงแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไปเสมอ แม้ในขณะที่พระองค์เสด็จมาในระดับวัตถุพวกมารไม่สามารถปรับตนเองให้เข้ากับธรรมชาติทิพย์ขององค์ภควานฺได้ ซึ่งพระองค์จะทรงอธิบายในโศลกต่อไป
ajo ’pi sann avyayātmā
bhūtānām īśvaro ’pi san
prakṛtiṁ svām adhiṣṭhāya
sambhavāmy ātma-māyayā
อโช ’ปิ สนฺนฺ อวฺยยาตฺมา
ภูตานามฺ อีศฺวโร ’ปิ สนฺ
ปฺรกฺฤตึ สฺวามฺ อธิษฺฐาย
สมฺภวามฺยฺ อาตฺม-มายยา
อชห์ — ไม่มีการเกิด, อปิ — ถึงแม้ว่า, สนฺ — เป็นเช่นนั้น, อวฺยย — ไม่มีการเสื่อมสลาย, อาตฺมา — ร่างกาย, ภูตานามฺ — ของผู้ที่เกิดทั้งหมด, อีศฺวรห์ — องค์ภควาน, อปิ — ถึงแม้ว่า, สนฺ — เป็นเช่นนั้น, ปฺรกฺฤติมฺ — ในรูปทิพย์, สฺวามฺ — ของตัวข้า, อธิษฺฐาย — สถิตเช่นนั้น, สมฺภวามิ — ข้าอวตาร, อาตฺม-มายยา — ด้วยพลังเบื้องสูงของข้า
คำแปล
แม้ไม่มีการเกิด ร่างทิพย์ของข้าไม่เคยเสื่อมสลาย และแม้เป็นเจ้าแห่งมวลชีวิต ข้าก็ยังปรากฏในร่างทิพย์เดิมของข้าทุกๆกัป
คำอธิบาย
องค์ภควานฺตรัสเกี่ยวกับลักษณะพิเศษแห่งการเกิดของพระองค์ แม้ทรงอาจปรากฏพระวรกายคล้ายบุคคลธรรมดาแต่ทรงจำทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับ“การเสด็จลงมา”หลายต่อหลายชาติของพระองค์ในอดีตได้ ขณะที่มนุษย์ธรรมดาไม่สามารถจำได้ว่าได้ทำอะไรไปเมื่อหลายชั่วโมงก่อนหน้านี้ หากมีใครมาถามว่าท่านได้ทำอะไรเมื่อวานนี้ในเวลาเดียวกัน จะตอบทันทีได้ยากมากสำหรับคนทั่วไป เขาจะต้องเค้นความจำว่าเมื่อวานนี้ช่วงเวลาเดียวกันนี้ได้ทำอะไรอยู่ ถึงกระนั้นยังมีบ่อยครั้งที่มนุษย์กล้าอ้างว่าตนเป็นองค์ภควานฺ หรือเป็นองค์กฺฤษฺณ เราไม่ควรหลงผิดกับคำกล่าวอ้างที่ไร้สาระเช่นนี้ จากนั้นองค์ภควานฺทรงอธิบายถึง ปฺรกฺฤติ หรือพระวรกายของพระองค์ คำว่า ปฺรกฺฤติ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า สฺวรูป “ธรรมชาติ” หรือ “รูปลักษณ์ของตนเอง” องค์ภควานฺทรงตรัสว่าพระองค์ทรงปรากฏมาในพระวรกายของพระองค์เอง ทรงมิได้เปลี่ยนพระวรกายของพระองค์เยี่ยงสิ่งมีชีวิตทั่วไปที่เปลี่ยนจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง พันธวิญญาณอาจมีร่างหนึ่งในชาตินี้แต่จะมีร่างอื่นในชาติหน้า ในโลกวัตถุสิ่งมีชีวิตไม่มีร่างกายที่ถาวรแต่จะเปลี่ยนจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง อย่างไรก็ดีองค์ภควานฺทรงมิได้เป็นเช่นนั้น เมื่อใดที่ทรงปรากฏจะทรงปรากฏในร่างเดิมด้วยพลังเบื้องสูงของพระองค์ อีกนัยหนึ่งองค์กฺฤษฺณทรงปรากฏพระวรกายในโลกวัตถุนี้ในร่างอมตะเดิมแท้ของพระองค์ที่มีสองกร ทรงขลุ่ย ทรงปรากฏมาในร่างอมตะของพระองค์เหมือนเดิมโดยปราศจากมลทินของโลกวัตถุนี้ แม้ทรงปรากฏในร่างทิพย์เดิม และทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าแห่งจักรวาล แต่ยังปรากฏว่าทรงประสูติเหมือนกับสิ่งมีชีวิตธรรมดาทั่วไป และแม้ว่าพระวรกายของพระองค์ทรงไม่เสื่อมสลายเหมือนร่างวัตถุยังปรากฏว่าองค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเจริญเติบโตจากวัยทารกมาเป็นวัยเด็ก และจากวัยเด็กมาเป็นวัยหนุ่ม แต่เป็นที่น่าอัศจรรย์ว่าพระองค์ทรงไม่แก่ไปกว่าวัยหนุ่ม ขณะที่อยู่ในสมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร ทรงมีพระราชนัดดาหลายองค์อยู่ที่พระราชวัง ซึ่งพระองค์ทรงมีพระชนมายุค่อนข้างมากจากการคำนวณทางวัตถุ แต่ทรงดูเหมือนเด็กหนุ่มที่มีอายุประมาณยี่สิบถึงยี่สิบห้าพรรษา เราไม่เคยเห็นภาพขององค์กฺฤษฺณในร่างของผู้สูงอายุ เพราะพระองค์ทรงไม่ชราเหมือนพวกเรา ถึงแม้ทรงเป็นบุคคลผู้อาวุโสที่สุดในขบวนการสร้างทั้งหมด ไม่ว่าในอดีตปัจจุบันและอนาคตทั้งพระวรกายและสติปัญญาของพระองค์ทรงไม่เคยเสื่อมสลายหรือเปลี่ยนแปลง ฉะนั้นจึงปรากฏชัดเจนว่าถึงแม้จะทรงประทับอยู่ในโลกวัตถุ เเต่ทรงอยู่ในร่างอมตะที่ไม่มีการเกิด เปี่ยมไปด้วยความสุขเกษมสำราญ และความรู้ พระวรกายทิพย์และสติปัญญาของพระองค์ทรงไม่มีการเปลี่ยนแปลง อันที่จริงการปรากฏและไม่ปรากฏของพระองค์ทรงเปรียบเสมือนกับดวงอาทิตย์ขึ้นที่ค่อยๆเคลื่อนผ่านหน้าเราและหายลับจากสายตาของเราไป เมื่อดวงอาทิตย์ลับตาเราคิดว่าดวงอาทิตย์ตก และเมื่อดวงอาทิตย์อยู่ในสายตาของเราเราคิดว่าดวงอาทิตย์อยู่บนขอบฟ้า อันที่จริงดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งถาวรเสมอ แต่เนื่องมาจากข้อบกพร่องของเราเอง ประสาทสัมผัสที่สมบูรณ์ไม่เพียงพอของเราคำนวณการปรากฏและไม่ปรากฏของดวงอาทิตย์ในท้องฟ้า และเพราะว่าการปรากฏและไม่ปรากฏขององค์กฺฤษฺณทรงแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตสามัญธรรมดาทั่วไปโดยสิ้นเชิง จึงเป็นหลักฐานว่าพระองค์ทรงเป็นอมตะ เปี่ยมไปด้วยความสุขเกษมสำราญ และความรู้ เนื่องมาจากพลังอำนาจเบื้องสูงของพระองค์ และปราศจากมลทินจากธรรมชาติวัตถุ คัมภีร์พระเวทได้ยืนยันไว้เช่นกันว่าบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงไม่มีการเกิด แต่ยังปรากฏว่าพระองค์ทรงเกิดมาในอวตารหลากหลายมากมาย ภาคผนวกของวรรณกรรมพระเวทยืนยันไว้เช่นกันว่า แม้ดูเหมือนว่าจะมีการเกิด แต่พระองค์ทรงไม่มีการเปลี่ยนแปลงพระวรกาย ใน ภาควต พระองค์ทรงปรากฏต่อหน้าพระพักตร์ของพระมารดาในรูปของพระนารายณ์สี่กร พร้อมทั้งเครื่องประดับหกชนิดด้วยความมั่งคั่งสมบูรณ์ การปรากฏมาในพระวรกายอมตะเดิมแท้ของพระองค์ทรงเป็นพระเมตตาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ที่ทรงประทานแก่สิ่งมีชีวิต เพื่อให้พวกเราสามารถทำสมาธิอยู่ที่องค์ภควานฺได้ตามความเป็นจริง มิใช่เป็นการกุขึ้น หรือเป็นจินตนาการจากจิตใจของเรา ดังเช่นพวก มายาวาที คิดผิดๆว่าพระวรกายขององค์ภควานฺทรงควรเป็นเช่นนั้นหรือเช่นนี้ คำว่า มายา หรือ อาตฺม-มายา หมายถึง พระเมตตาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ขององค์ภควานฺ ตามพจนานุกรม วิศฺว-โกศ องค์ภควานฺทรงมีจิตสำนึกถึงการปรากฏและไม่ปรากฏของพระองค์ในอดีต แต่สิ่งมีชีวิตจะลืมทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับอดีตชาติทันทีที่ได้รับร่างใหม่ พระองค์ทรงเป็นองค์ภควานฺของมวลชีวิต เพราะทรงปฏิบัติกิจกรรมอันมหัศจรรย์เหนือมนุษย์ขณะที่ทรงประทับอยู่บนโลกนี้ ดังนั้นองค์ภควานฺทรงเป็นสัจธรรมเหมือนเดิมอยู่เสมอ และทรงเป็นสัจธรรมที่ไม่มีข้อแตกต่างระหว่างพระวรกายและดวงวิญญาณของพระองค์ หรือระหว่างคุณสมบัติและพระวรกายของพระองค์ อาจมีคำถามว่าแล้วทำไมองค์ภควานฺจึงทรงปรากฏและไม่ปรากฏบนโลกนี้ คำถามนี้จะอธิบายในโศลกต่อไป
yadā yadā hi dharmasya
glānir bhavati bhārata
abhyutthānam adharmasya
tadātmānaṁ sṛjāmy aham
ยทา ยทา หิ ธรฺมสฺย
คฺลานิรฺ ภวติ ภารต
อภฺยุตฺถานมฺ อธรฺมสฺย
ตทาตฺมานํ สฺฤชามฺยฺ อหมฺ
ยทา ยทา — เมื่อใดและที่ไหน, หิ — แน่นอน, ธรฺมสฺย — ของศาสนา, คฺลานิห์ — ขัดแย้ง, ภวติ — ปรากฏออกมา, ภารต — โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ ภรต, อภฺยุตฺถานมฺ — มีอำนาจเหนือ, อธรฺมสฺย — ไร้ศาสนา, ตทา — เวลานั้น, อาตฺมานมฺ — ตัวข้า, สฺฤชามิ — ปรากฏ, อหมฺ — ข้า
คำแปล
เมื่อใดและที่ไหนที่การปฏิบัติตามหลักศาสนา (ธรรมะ) เสื่อมลง โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ ภรต และการปฏิบัติที่ผิดหลักศาสนา (อธรรม) มีอำนาจเหนือ ในขณะนั้นตัวข้าจะเสด็จลงมา
คำอธิบาย
คำว่า สฺฤชามิ มีความสำคัญ ณ ที่นี้ สฺฤชามิ มิใช่แปลว่าการสร้าง เพราะว่าโศลกก่อนหน้านี้ได้กล่าวไว้ว่าไม่มีการสร้างรูปร่างหรือพระวรกายขององค์ภควานฺ เนื่องจากรูปลักษณ์ของพระองค์นั้นทรงมีอยู่ชั่วกัลปวสาน ฉะนั้นคำว่า สฺฤชามิ หมายความว่าองค์ภควานฺทรงปรากฏมาตามความเป็นจริงแม้จะทรงปรากฏตามกำหนดเวลา เช่น ในปลาย ทฺวาปร-ยุค ของกัปที่ยี่สิบแปดแห่ง มนุ-สํหิตา องค์ที่เจ็ดในหนึ่งวันของพระพรหม พระองค์ทรงไม่มีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านี้ เพราะทรงมีอิสระเสรีอย่างสมบูรณ์ในการปฏิบัติ อย่างไรก็ได้ตามพระราชอัธยาศัย ฉะนั้นทรงปรากฏด้วยความปรารถนาของพระองค์เอง เมื่ออธรรมเฟื่องฟูมีอำนาจเหนือ และศาสนาที่แท้จริงสูญหายไป หลักธรรมแห่งศาสนานี้ได้วางไว้ในคัมภีร์พระเวท การปฏิบัติใดๆที่ขัดแย้งต่อกฎเกณฑ์อันถูกต้องของคัมภีร์พระเวทจะทำให้เราเป็นผู้ไร้คุณธรรม ใน ภาควต ได้กล่าวไว้ว่าหลักธรรมนี้คือ กฎขององค์ภควานฺ พระองค์เท่านั้นที่ทรงสามารถสร้างระบบศาสนา เป็นที่ยอมรับกันว่าองค์ภควานฺทรงเป็นผู้ตรัสคัมภีร์พระเวทเข้าสู่หัวใจของพระพรหม ฉะนั้นหลัก ธรฺม หรือหลักศาสนาคือคำสั่งโดยตรงของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า (ธรฺมํ ตุ สากฺษาทฺ ภควตฺ-ปฺรณีตมฺ) หลักธรรมต่างๆได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนตลอดทั้งเล่มใน ภควัท-คีตา จุดมุ่งหมายของคัมภีร์พระเวทคือ สถาปนาหลักธรรมเช่นนี้ภายใต้คำสั่งขององค์ภควานฺ และพระองค์ทรงสั่งโดยตรงในตอนท้ายของ คีตา ว่าหลักธรรมสูงสุดของศาสนาคือ การศิโรราบต่อองค์ภควานฺเท่านั้นไม่มีอะไรมากไปกว่านี้ หลักธรรมของพระเวทจะส่งเสริมเราไปสู่การศิโรราบอย่างสมบูรณ์ต่อพระองค์ และเมื่อใดที่มีมารมารังควานหลักธรรมนี้องค์ภควานฺจะทรงปรากฏ จาก ภาควต เราเข้าใจว่าองค์กฺฤษฺณทรงอวตารลงมาเป็นองค์พุทฺธ (พระพุทธเจ้า) ขณะที่ลัทธิวัตถุนิยมแพร่หลาย และนักวัตถุนิยมได้ใช้ข้ออ้างจากอำนาจแห่งคัมภีร์พระเวท ถึงแม้ว่าจะมีกฎเกณฑ์ข้อบังคับเกี่ยวกับการบูชายัญสัตว์เพื่อจุดมุ่งหมายบางประการในคัมภีร์พระเวท แต่ผู้มีแนวโน้มไปในทางมารก็ยังทำการบูชายัญสัตว์โดยไม่มีการอ้างอิงถึงหลักธรรมของพระเวท องค์พุทฺธ (พระพุทธเจ้า) ทรงประสูติเพื่อหยุดความเหลวไหลเช่นนี้ และทรงสถาปนาหลักอหิงสาแห่งพระเวท ดังนั้นทุกๆ อวตาร หรืออวตารขององค์ภควานฺจะทรงมีพระภารกิจโดยเฉพาะ และทั้งหมดได้อธิบายไว้ในพระคัมภีร์อย่างเปิดเผย เราไม่ควรยอมรับผู้ใดว่าเป็นอวตารนอกจากพระคัมภีร์ ได้อ้างอิงไว้ไม่เป็นความจริงที่ว่าองค์ภควานฺทรงปรากฏบนแผ่นดินของประเทศอินเดียเท่านั้น พระองค์ทรงสามารถปรากฏพระวรกายได้ทุกหนทุกแห่งตามที่ทรงปรารถนา องค์ภควานฺในรูปของอวตารทุกพระองค์จะตรัสเกี่ยวกับศาสนามากเท่าที่ประชาชนในยุคและสถานการณ์นั้นๆจะเข้าใจได้ แต่พระภารกิจของทุกพระองค์ทรงเหมือนกันคือ ทรงนำประชาชนมาสู่ ภควานฺ จิตสำนึก และเชื่อฟังปฏิบัติตามหลักธรรมแห่งศาสนา บางครั้งพระองค์เสด็จลงมาเอง บางครั้งทรงส่งผู้แทนที่เชื่อถือได้มาในรูปของสาวก หรือผู้รับใช้ หรือทรงแปลงพระวรกายมา
หลักธรรมแห่ง ภควัท-คีตา ได้ตรัสแก่ อรฺชุน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการตรัสแก่บุคคลอื่นๆที่เจริญแล้ว เนื่องจาก อรฺชุน ทรงมีความเจริญก้าวหน้ามากเมื่อเปรียบเทียบกับคนธรรมดาทั่วไป ในส่วนอื่นๆของโลกสองบวกสองเป็นสี่คือหลักคณิตศาสตร์ที่เป็นความจริง ไม่ว่าในชั้นคณิตศาสตร์เบื้องต้นหรือชั้นสูง ถึงกระนั้นก็ยังมีการคำนวณที่สูงกว่าและต่ำกว่า ดังนั้นอวตารทั้งหมดขององค์ภควานฺจะสอนหลักธรรมเดียวกัน แต่จะปรากฏว่าสูงกว่าหรือต่ำกว่าขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป หลักศาสนาที่สูงกว่าเริ่มจากการยอมรับสี่ระดับและสี่อาชีพแห่งชีวิตสังคมดังจะอธิบายต่อไป จุดมุ่งหมายทั้งหมดแห่งพระภารกิจขององค์อวตารคือ การรณรงค์กฺฤษฺณจิตสำนึกทั่วทุกหนทุกแห่ง จิตสำนึกเช่นนี้ปรากฏหรือไม่ปรากฏจะอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่แตกต่างกันเท่านั้น
paritrāṇāya sādhūnāṁ
vināśāya ca duṣkṛtām
dharma-saṁsthāpanārthāya
sambhavāmi yuge yuge
ปริตฺราณาย สาธูนำ
วินาศาย จ ทุษฺกฺฤตามฺ
ธรฺม-สํสฺถาปนารฺถาย
สมฺภวามิ ยุเค ยุเค
ปริตฺราณาย — เพื่อการจัดส่ง, สาธูนามฺ — สาวก, วินาศาย — เพื่อการทำลาย, จ — และ, ทุษฺกฺฤตามฺ — คนสารเลว, ธรฺม — หลักธรรมของศาสนา, สํสฺถาปน-อรฺถาย — สถาปนาขึ้นใหม่, สมฺภวามิ — ข้าปรากฏตัว, ยุเค — กัปแล้ว, ยุเค — กัปเล่า
คำแปล
เพื่อจัดส่งคนดีมีธรรมะ และทำลายคนชั่ว พร้อมกับสถาปนาหลักธรรมแห่งศาสนาขึ้นมาใหม่ ตัวข้าจึงปรากฏกัปแล้วกัปเล่า
คำอธิบาย
ตาม ภควัท-คีตา คำว่า สาธุ (ผู้บริสุทธิ์) คือบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึก บุคคลที่ดูเหมือนว่าทำผิดหลักศาสนาแต่หากว่ามีคุณสมบัติของกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์ผู้นี้คือ สาธุ และ ทุษฺกฺฤตามฺ คือพวกที่ไม่สนใจใยดีกับกฺฤษฺณจิตสำนึก ทุษฺกฺฤตามฺ หรือคนเลวเหล่านี้อธิบายไว้ว่าเป็นผู้ที่โง่เขลาเบาปัญญาต่ำสุดในหมู่มนุษย์ ถึงแม้จะประดับไปด้วยการศึกษาทางโลกที่สูงส่ง แต่บุคคลผู้ปฏิบัติตนในกฺฤษฺณจิตสำนึกร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นที่ยอมรับกันว่าคือ สาธุ แม้ว่าบุคคลนี้อาจไม่ได้รับการศึกษาหรือมีวัฒนธรรมสูง สำหรับพวกที่ไม่เชื่อในองค์ภควานฺไม่จำเป็นที่พระองค์ทรงต้องปรากฏพระวรกายมาทำลายพวกเขา ดังที่ทรงปรากฏมาเพื่อทำลายมาร เช่น ราวณ (ทศกัณฑ์) และ กํส องค์ภควานฺทรงมีผู้แทนมากมายที่มีขีดความสามารถเพียงพอในการทำลายมาร แต่ทรงเสด็จลงมาโดยเฉพาะเพื่อปลอบใจสาวกผู้ไร้มลทินที่ถูกมารข่มเหงอยู่เสมอ มารชอบข่มเหงสาวกแม้เป็นญาติเกี่ยวดองกัน แม้ ปฺรหฺลาท มหาราช ทรงเป็นโอรสของ หิรณฺยกศิปุ ก็ยังถูกพระบิดาสั่งประหาร และแม้ว่าพระนาง เทวกี พระมารดาขององค์กฺฤษฺณทรงเป็นพระขนิษฐภคินีของ กํส พระนางและพระสวามี วสุเทว ยังถูกตามประหารเนื่องจากองค์กฺฤษฺณจะทรงมาประสูติ ฉะนั้นองค์กฺฤษฺณทรงปรากฏเพื่อจัดส่งพระนาง เทวกี มากกว่าที่จะมาสังหาร กํส แต่ทั้งสองสิ่งทรงกระทำควบคู่กันไป ดังนั้นจึงได้กล่าว ณ ที่นี้ว่า เพื่อจัดส่งสาวกและทำลายมารชั่วองค์ภควานฺจึงทรงปรากฏในอวตารต่างๆ
ใน ไจตนฺย-จริตามฺฤต ของ กฺฤษฺณทาส กวิราช โศลกต่อไปนี้ (มธฺย 20.263-264) จะสรุปหลักธรรมขององค์อวตาร
สฺฤษฺฏิ-เหตุ เยอิ มูรฺติ ปฺรปญฺเจ อวตเร
เสอิ อีศฺวร-มูรฺติ ‘อวตาร’ นาม ธเร
มายาตีต ปรโวฺยเม สพาร อวสฺถาน
วิเศฺว อวตริ’ ธเร ‘อวตาร’ นาม
“อวตาร หรืออวตารขององค์ภควานฺเสด็จลงมาจากอาณาจักรของพระองค์เพื่อมาปรากฏที่โลกวัตถุ และรูปลักษณ์โดยเฉพาะของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าผู้เสด็จลงมา เรียกว่าอวตารหรือ อวตาร อวตารเหล่านี้ทรงสถิตอยู่ในโลกทิพย์ อาณาจักรแห่งองค์ภควานฺ เมื่อเสด็จลงมาในจักรวาลวัตถุทรงพระนามว่า อวตาร”
มีอวตารหลายรูปแบบ เช่น ปุรุษาวตารสฺ, คุณาวตารสฺ, ลีลาวตารสฺ, ศกฺตฺยฺ-อาเวศ, อวตารสฺ, มนฺวนฺตร-อวตาร และ ยุคาวตาร ทั้งหมดทรงปรากฏตามตารางเวลาในจักรวาลทั้งหลาย แต่องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็น ภควานฺ องค์แรกทรงเป็นแหล่งกำเนิดของ อวตาร ทั้งมวล องค์ศฺรี กฺฤษฺณเสด็จลงมาเพื่อจุดประสงค์โดยเฉพาะคือ ทรงขจัดความวิตกกังวลของสาวกผู้บริสุทธิ์ที่มีความกระตือรือร้นอยากพบพระองค์ในลีลาเดิมแห่ง วฺฤนฺทาวน ดังนั้นจุดมุ่งหมายแรกของ กฺฤษฺณ อวตารคือ ทรงตอบสนองความปราถนาของสาวกผู้บริสุทธิ์ของพระองค์
องค์ภควานฺตรัสว่าพระองค์ทรงอวตารลงมาในทุกๆกัป เช่นนี้แสดงให้เห็นว่าทรงอวตารลงมาในกลียุคเช่นกัน ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ว่าอวตารในกลียุคคือ องค์ ไจตนฺย มหาปฺรภุ ผู้ทรงเผยแพร่การบูชาองค์กฺฤษฺณด้วยขบวนการ สงฺกีรฺตน (การชุมนุมร่วมกันร้องเพลงสรรเสริญพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานฺ) และเผยแพร่กฺฤษฺณจิตสำนึกไปทั่วประเทศอินเดีย องค์ ไจตนฺย ทรงทำนายไว้ว่าวัฒนธรรมแห่ง สงฺกีรฺตน จะขจรขจายไปทั่วโลก จากเมืองสู่เมือง และจากหมู่บ้านสู่หมู่บ้าน องค์ ไจตนฺย ทรงเป็นอวตารขององค์กฺฤษฺณ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ได้อธิบายไว้ในส่วนลับเฉพาะของพระคัมภีร์ที่เปิดเผย เช่น อุปนิษทฺสฺ, มหาภารต และ ภาควต ว่าสาวกขององค์กฺฤษฺณรักขบวนการ สงฺกีรฺตน ขององค์ ไจตนฺย มาก อวตารของภควานฺองค์นี้ไม่สังหารคนเลว แต่จะจัดส่งพวกคนเลวให้หลุดพ้นด้วยพระเมตตาธิคุณอันหาที่สุดมิได้
janma karma ca me divyam
evaṁ yo vetti tattvataḥ
tyaktvā dehaṁ punar janma
naiti mām eti so ’rjuna
ชนฺม กรฺม จ เม ทิวฺยมฺ
เอวํ โย เวตฺติ ตตฺตฺวตห์
ตฺยกฺตฺวา เทหํ ปุนรฺ ชนฺม
ไนติ มามฺ เอติ โส ’รฺชุน
ชนฺม — เกิด, กรฺม — งาน, จ — เช่นกัน, เม — ของข้า, ทิวฺยมฺ — ทิพย์, เอวมฺ — เหมือนนี้, ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, เวตฺติ — ทราบ, ตตฺตฺวตห์ — ในความเป็นจริง, ตฺยกฺตฺวา — ปล่อยวาง, เทหมฺ — ร่างนี้, ปุนห์ — อีกครั้ง, ชนฺม — เกิด, น — ไม่เคย, เอติ — บรรลุ, มามฺ — แด่ข้า, เอติ — บรรลุ, สห์ — เขา, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน
คำแปล
ผู้ที่รู้ธรรมชาติทิพย์แห่งการปรากฏและกิจกรรมของข้า เมื่อออกจากร่างไปแล้วจะไม่กลับมาเกิดในโลกวัตถุนี้อีก แต่บรรลุถึงอาณาจักรอมตะของข้า โอ้ อรฺชุน
คำอธิบาย
การเสด็จลงมาขององค์ภควานฺจากอาณาจักรทิพย์ได้อธิบายไว้แล้วในโศลกที่หก ผู้ที่สามารถเข้าใจสัจธรรมแห่งการปรากฏของพระองค์เป็นผู้หลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุ ฉะนั้นเขาจะกลับคืนสู่อาณาจักรแห่งองค์ภควานฺทันทีหลังจากออกจากร่างวัตถุปัจจุบันนี้ไป การหลุดพ้นของสิ่งมีชีวิตจากพันธนาการทางวัตถุเช่นนี้มิใช่ของง่าย มายาวาที และโยคีได้รับความหลุดพ้นหลังจากความยากลำบากมากมายหลายต่อหลายชาติ ถึงกระนั้นความหลุดพ้นที่พวกเขาได้รับคือการกลืนเข้าไปใน พฺรหฺม-โชฺยติรฺ อันไร้รูปลักษณ์ขององค์ภควานฺซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของพระองค์เท่านั้น และยังเสี่ยงที่จะต้องกลับมาในโลกวัตถุนี้อีก แต่สาวกเพียงแต่เข้าใจธรรมชาติทิพย์แห่งพระวรกายและกิจกรรมของพระองค์ก็จะบรรลุถึงอาณาจักรแห่งองค์ภควานฺหลังจากจบสิ้นร่างกายนี้ และไม่ต้องเสี่ยงในการกลับมาโลกวัตถุนี้อีก ใน พฺรหฺม-สํหิตา (5.33) ได้กล่าวไว้ว่า องค์ภควานฺทรงมีรูปลักษณ์และอวตารมากมาย อไทฺวตมฺ อจฺยุตมฺ อนาทิมฺ อนนฺต-รูปมฺ แม้ทรงมีรูปลักษณ์ทิพย์มากมายทั้งหมดยังทรงเป็นหนึ่งเดียวกันคือ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า เราต้องเข้าใจความจริงอันนี้ด้วยความมั่นใจแม้ว่าอาจจะเข้าใจยากสำหรับนักวิชาการและนักปราชญ์ช่างสังเกตทางโลก ดังที่ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์พระเวท (ปุรุษ-โพธินี อุปนิษทฺ) ว่า
เอโก เทโว นิตฺย-ลีลานุรกฺโต
ภกฺต-วฺยาปี หฺฤทฺยฺ อนฺตรฺ-อาตฺมา
“บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์เดียวกันนี้ทรงมีกิจกรรมในรูปลักษณ์ทิพย์มากมายในความสัมพันธ์กับสาวกผู้บริสุทธิ์ของพระองค์” คำแปลของคัมภีร์พระเวทได้ยืนยันในโศลกนี้ของ คีตา โดยองค์ภควานฺเอง ผู้ที่ยอมรับสัจธรรมนี้ภายใต้อำนาจที่เชื่อถือได้ของคัมภีร์พระเวทและบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า และไม่เสียเวลาไปในการคาดคะเนทางปรัชญาจะบรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุดแห่งอิสรภาพ เพียงแต่ยอมรับสัจธรรมนี้ด้วยความศรัทธาเราสามารถบรรลุถึงความหลุดพ้นได้โดยไม่ต้องสงสัย คำแปลของพระ เวท ตตฺ ตฺวมฺ อสิ อันที่จริงใช้ในกรณีนี้ได้ ผู้ใดเข้าใจองค์ศฺรี กฺฤษฺณว่าสูงสุดหรือกล่าวต่อพระองค์ว่า “พระองค์ทรงเป็นองค์เดียวกับ พฺรหฺมนฺ สูงสุด บุคลิกภาพแห่งพระเจ้า” เป็นผู้หลุดพ้นโดยทันทีอย่างแน่นอน จากนั้นการเข้าสู่การคบหาสมาคมทิพย์กับพระองค์เป็นที่รับประกัน หรืออีกนัยหนึ่งสาวกขององค์ภควานฺผู้มีความศรัทธาเช่นนี้จะบรรลุความสมบูรณ์ ได้รับการยืนยันโดยคำอ้างอิงของพระเวท ดังต่อไปนี้
ตมฺ เอว วิทิตฺวาติ มฺฤตฺยุมฺ เอติ
นานฺยห์ ปนฺถา วิทฺยเต ’ยนาย
“เราสามารถบรรลุถึงระดับสมบูรณ์แห่งอิสรภาพจากการเกิดและการตาย เพียงแต่รู้ถึงองค์ภควานฺ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า และไม่มีทางอื่นในการบรรลุถึงความสมบูรณ์นี้” (เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ 3.8) ไม่มีทางเลือกอื่นหมายความว่าผู้ใดไม่เข้าใจองค์ศฺรี กฺฤษฺณว่าทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า แน่นอนว่าเขาอยู่ในรระดับแห่งอวิชชาและจะไม่บรรลุถึงความหลุดพ้น จากการพยายามที่จะลิ้มรสภายนอกของขวดน้ำผึ้ง หรือจากการตีความ ภควัท-คีตา ตามหลักวิชาการทางโลก นักปราชญ์ผู้คาดคะเนเช่นนี้อาจเล่นบทที่มีความสำคัญมากในโลกวัตถุ แต่ไม่มีสิทธิ์เพื่อความหลุดพ้น นักวิชาการทางโลกผู้ผยองเช่นนี้จะต้องรอพระเมตตาจากสาวกขององค์ภควานฺ ฉะนั้นเราควรปลูกฝังกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยความศรัทธา และความรู้เช่นนี้จะทำให้เราบรรลุถึงความสมบูรณ์
vīta-rāga-bhaya-krodhā
man-mayā mām upāśritāḥ
bahavo jñāna-tapasā
pūtā mad-bhāvam āgatāḥ
วีต-ราค-ภย-โกฺรธา
มนฺ-มยา มามฺ อุปาศฺริตาห์
พหโว ชฺญาน-ตปสา
ปูตา มทฺ-ภาวมฺ อาคตาห์
วีต — อิสระจาก, ราค — การยึดติด, ภย — ความกลัว, โกฺรธาห์ — และความโกรธ, มตฺ-มยาห์ — ในข้าอย่างสมบูรณ์, มามฺ — ในข้า, อุปาศฺริตาห์ — สถิตอย่างสมบูรณ์, พหวห์ — มากมาย, ชฺญาน — แห่งความรู้, ตปสา — ด้วยการบำเพ็ญเพียร, ปูตาห์ — บริสุทธิ์, มตฺ-ภาวมฺ — ความรักทิพย์ต่อข้า, อาคตาห์ — บรรลุถึง
คำแปล
มีอิสรเสรีจากการยึดติด ความกลัว และความโกรธ ซึมซาบอย่างเต็มเปี่ยมในข้า และยึดข้าเป็นที่พึ่ง บุคคลมากมายในอดีตได้รับความบริสุทธิ์ด้วยความรู้แห่งข้า และบรรลุถึงความรักทิพย์ต่อข้า
คำอธิบาย
ดังที่ได้อธิบายก่อนหน้านี้ว่า เป็นการยากมากสำหรับผู้มีความเสน่หามากทางวัตถุที่จะเข้าใจธรรมชาติของบุคลิกภาพแห่งสัจธรรมสูงสุด โดยทั่วไปผู้ยึดติดกับแนวคิดชีวิตทางร่างกายจะซึมซาบอยู่ในลัทธิวัตถุนิยม เกือบเป็นไปไม่ได้สำหรับคนพวกนี้ที่จะเข้าใจว่าองค์ภควานฺทรงเป็นบุคคลได้อย่างไร นักวัตถุนิยมเช่นนี้ไม่สามารถแม้แต่จะจินตนาการว่ามีร่างทิพย์ที่ไม่มีวันเสื่อมสลาย เต็มไปด้วยความรู้ และมีความปลื้มปิติสุขชั่วกัลปวสาน ในแนวคิดทางวัตถุร่างกายเสื่อมสลายเต็มไปด้วยอวิชชาและความทุกข์ ฉะนั้นผู้คนโดยทั่วไปจะรักษาแนวคิดเช่นเดียวกับร่างกายนี้อยู่ภายในใจ เมื่อได้รับข้อมูลเกี่ยวกับรูปลักษณ์ส่วนพระองค์ขององค์ภควานฺ สำหรับนักวัตถุนิยมประเภทนี้ปรากฏการณ์ทางวัตถุที่ยิ่งใหญ่มโหฬารคือสิ่งสูงสุด ดังนั้นจึงพิจารณาว่าองค์ภควานฺไร้รูปลักษณ์ และเนื่องจากซึมซาบอยู่ในวัตถุมากแนวคิดว่าจะมีบุคลิกภาพหลังหลุดพ้นจากโลกวัตถุแล้วทำให้เกิดความกลัว เมื่อได้รับข้อมูลว่าชีวิตทิพย์ยังเป็นปัจเจกบุคคลและมีบุคลิกภาพเช่นเดียวกันจึงรู้สึกกลัวที่จะมาเป็นบุคคลอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นโดยธรรมชาติพวกเขาชอบกลืนหายเข้าไปในความว่างเปล่าที่ไร้รูปลักษณ์มากกว่า โดยเปรียบเทียบสิ่งมีชีวิตเหมือนกับฟองน้ำในมหาสมุทรที่กลืนหายเข้าไปในมหาสมุทร นี่คือความสมบูรณ์สูงสุดแห่งชีวิตทิพย์ที่บรรลุโดยไร้ปัจเจกบุคลิกภาพ เช่นนี้เป็นระดับชีวิตที่น่ากลัวแบบหนึ่งซึ่งขาดความรู้อย่างสมบูรณ์แห่งชีวิตทิพย์ นอกจากนั้นยังมีหลายคนที่ไม่สามารถเข้าใจชีวิตทิพย์ได้เลย พวกนี้รู้สึกอึดอัดจากหลายทฤษฎีและข้อขัดแย้งต่างๆนานาในการคาดคะเนทางปรัชญา ในที่สุดก็รู้สึกเบื่อหน่าย โมโห และสรุปอย่างโง่ๆว่าไม่มีแหล่งกำเนิดสูงสุด ทุกสิ่งทุกอย่างว่างเปล่า บุคคลเช่นนี้อยู่ในสภาวะชีวิตที่ป่วยเป็นโรค บางคนยึดติดทางวัตถุมากดังนั้นจึงไม่ได้ให้ความสนใจกับชีวิตทิพย์ บางคนต้องการกลืนหายเข้าไปในแหล่งกำเนิดทิพย์สูงสุด และบางคนไม่เชื่อในทุกสิ่งทุกอย่าง ด้วยความหมดหวังจึงโมโหต่อการคาดคะเนในวิถีทิพย์ทั้งหมด คนกลุ่มสุดท้ายจะไปพึ่งยาเสพติดบางชนิด และบางครั้งเกิดภาพหลอนแต่กลับคิดว่าเป็นจักษุทิพย์ เราต้องขจัดการยึดติดในโลกวัตถุทั้งสามระดับคือ ละเลยต่อชีวิตทิพย์กลัวต่อปัจเจกบุคลิกภาพทิพย์ และแนวคิดในความว่างเปล่าที่เกิดขึ้นจากความผิดหวังในชีวิต การที่จะได้รับอิสรภาพจากสามระดับของแนวคิดชีวิตทางวัตถุ เราต้องยึดองค์ภควานฺเป็นที่พึ่งโดยสมบูรณ์ด้วยการนำทางของพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ และปฏิบัติตามระเบียบวินัยและหลักธรรมแห่งชีวิตอุทิศตนเสียสละ ระดับสุดท้ายของชีวิตอุทิศตนเสียสละเรียกว่า ภาว หรือความรักทิพย์ต่อองค์ภควานฺ
ภกฺติ-รสามฺฤต-สินฺธุ (1.4.15-16) ศาสตร์แห่งกาอุทิศตนเสียสละรับใช้กล่าวว่า
อาเทา ศฺรทฺธา ตตห์ สาธุ-
สงฺโค ’ถ ภชน-กฺริยา
ตโต ’นรฺถ-นิวฺฤตฺติห์ สฺยาตฺ
ตโต นิษฺฐา รุจิสฺ ตตห์
อถาสกฺติสฺ ตโต ภาวสฺ
ตตห์ เปฺรมาภฺยุทญฺจติ
สาธกานามฺ อยํ เปฺรมฺณห์
ปฺราทุรฺภาเว ภเวตฺ กฺรมห์
“ในตอนต้นเราต้องมีความปรารถนาพื้นฐานเพื่อความรู้แจ้งแห่งตนจึงจะนำเราไปถึงจุดที่จะพยายามคบหาสมาคมกับบุคคลผู้มีความเจริญในวิถีทิพย์ ระดับต่อไปเราจะต้องอุปสมบทโดยพระอาจารย์ทิพย์ผู้เจริญแล้ว และภายใต้คำสั่งสอนของท่านสาวกนวกะจึงเริ่มปฏิบัติตามขบวนการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ด้วยการปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ภายใต้คำแนะนำของพระอาจารย์ทิพย์ทำให้เราเป็นอิสระจากการยึดติดทางวัตถุทั้งมวล บรรลุถึงความมั่นคงในการรู้แจ้งแห่งตน และได้รับรสแห่งการสดับฟังเกี่ยวกับองค์ภควานฺผู้สมบูรณ์ ศฺรี กฺฤษฺณ รสชาตินี้จะนำเราก้าวต่อไปถึงความยึดมั่นในกฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งจะเจริญงอกงามจนถึง ภาว หรือระดับพื้นฐานของความรักทิพย์แห่งองค์ภควานฺ ความรักที่แท้จริงต่อองค์ภควานฺ เรียกว่า เปฺรม ซึ่งเป็นระดับสมบูรณ์สูงสุดแห่งชีวิต” ในระดับ เปฺรม จะมีการปฏิบัติรับใช้ด้วยความรักทิพย์ต่อองค์ภควานฺเสมอ ดังนั้นด้วยขบวนการแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้คำแนะนำของพระอาจารย์ทิพย์ที่เชื่อถือได้จะทำให้เราสามารถบรรลุถึงระดับสูงสุด ซึ่งมีอิสระจากการยึดติดทางวัตถุทั้งปวง และเสรีภาพจากความกลัวปัจเจกบุคลิกภาพทิพย์ของตนเอง รวมทั้งเสรีภาพจากความผิดหวังอันสืบเนื่องมาจากปรัชญาที่สูญเปล่า ในที่สุดเราจะสามารถบรรลุถึงอาณาจักรแห่งองค์ภควานฺ
ye yathā māṁ prapadyante
tāṁs tathaiva bhajāmy aham
mama vartmānuvartante
manuṣyāḥ pārtha sarvaśaḥ
เย ยถา มำ ปฺรปทฺยนฺเต
ตำสฺ ตไถว ภชามฺยฺ อหมฺ
มม วรฺตฺมานุวรฺตนฺเต
มนุษฺยาห์ ปารฺถ สรฺวศห์
เย — ทั้งหมดผู้ซึ่ง, ยถา — ดังที่, มามฺ — แด่ข้า, ปฺรปทฺยนฺเต — ศิโรราบ, ตานฺ — พวกเขา, ตถา — ดังนั้น, เอว — แน่นอน, ภชามิ — ได้รับรางวัล, อหมฺ — ข้า, มม — ของข้า, วรฺตฺม — หนทาง, อนุวรฺตนฺเต — ปฏิบัติตาม, มนุษฺยาห์ — มวลมนุษย์, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, สรฺวศห์ — ด้วยประการทั้งปวง
คำแปล
ดั่งที่ทุกคนศิโรราบต่อข้า ข้าให้รางวัลไปตามระดับแห่งการศิโรราบ ทุกๆคนปฏิบัติตามวิถีทางของข้าด้วยประการทั้งปวง โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา
คำอธิบาย
ทุกคนกำลังเสาะแสวงหาองค์กฺฤษฺณในมุมมองต่างๆแห่งปรากฏการณ์ของพระองค์ องค์กฺฤษฺณบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงรู้แจ้งได้เพียงบางส่วนในรัศมี พฺรหฺม-โชฺยติรฺ อันไร้รูปลักษณ์ของพระองค์ และทรงเป็นอภิวิญญาณที่แผ่กระจายไปทั่ว และทรงประทับอยู่ภายในทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งภายในละอองปรมาณู แต่สาวกผู้บริสุทธิ์ขององค์กฺฤษฺณเท่านั้นที่จะรู้แจ้งถึงพระองค์อย่างสมบูรณ์บริบูรณ์ ดังนั้นองค์กฺฤษฺณจึงทรงเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับทุกคนเพื่อความรู้แจ้ง และทุกๆคนจะได้รับความพึงพอใจตามที่ตนปรารถนาที่จะมีพระองค์ ในโลกทิพย์ก็เช่นเดียวกันองค์กฺฤษฺณทรงตอบสนองต่อสาวกผู้บริสุทธิ์ของพระองค์ในท่าทีทิพย์ตามที่สาวกปรารถนาพระองค์ สาวกรูปหนึ่งอาจปรารถนาให้องค์กฺฤษฺณทรงเป็นพระอาจารย์สูงสุด สาวกอีกรูปหนึ่งอาจปรารถนาให้องค์กฺฤษฺณเป็นเพื่อนสนิทของตน สาวกอีกรูปหนึ่งอาจปรารถนาให้องค์กฺฤษฺณเป็นบุตร และสาวกอีกรูปหนึ่งอาจปรารถนาองค์กฺฤษฺณให้เป็นคู่รัก องค์กฺฤษฺณทรงประทานรางวัลแก่สาวกทั้งหลายอย่างเสมอภาค ตามความแรงกล้าแห่งความรักที่แตกต่างกันของสาวกที่มีต่อพระองค์ในโลกวัตถุ ความรู้สึกในการสนองตอบเช่นเดียวกันนี้ก็มีอยู่ และการสนองตอบเช่นนี้องค์ภควานฺทรงแลกเปลี่ยนกับผู้บูชาที่แตกต่างกันอย่างเสมอภาค สาวกผู้บริสุทธิ์ทั้งในโลกนี้และในโลกทิพย์คบหาสมาคมกับองค์กฺฤษฺณเป็นการส่วนตัว และสามารถปฏิบัติตนรับใช้พระองค์เป็นการส่วนตัวจึงได้รับความปลื้มปีติสุขทิพย์ในการรับใช้ด้วยความรักต่อพระองค์ สำหรับ มายาวาที และผู้ที่ต้องการฆ่าชีวิตทิพย์ของตนเองด้วยการทำลายปัจเจกบุคคลของสิ่งมีชีวิตองค์กฺฤษฺณก็ทรงช่วยเช่นกัน ด้วยการดูดพวกเขาให้ไปอยู่ในรัศมีของพระองค์ พวก มายาวาที ไม่ยอมรับองค์ภควานฺผู้เป็นอมตะและมีแต่ความสุขเกษมสำราญ ดังนั้นจึงไม่สามารถรับรสแห่งความปลื้มปีติในการรับใช้ทิพย์ต่อพระองค์เป็นการส่วนตัว หลังจากที่ได้ดับขันธ์ปัจเจกบุคลิกภาพของตนเองบางคนที่ยังไม่สถิตใน มายาวาที อย่างมั่นคงจะกลับมาในสนามวัตถุนี้ ทำกิจกรรมต่างๆเพื่อแสดงออกถึงความปรารถนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน พวกนี้ไม่ได้รับการยอมรับให้ไปอยู่ในโลกทิพย์ แต่จะได้รับโอกาสให้มาปฏิบัติอยู่ในโลกวัตถุอีกครั้งหนึ่ง สำหรับผู้ทำงานเพื่อหวังผลทางวัตถุองค์ภควานฺทรงประทานผลที่พวกเขาปรารถนาตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ในฐานะ ยชฺเญศฺวร และพวกโยคีผู้ปรารถนาอิทธิฤทธิ์องค์ภควานฺทรงประทานอิทธิฤทธิ์นั้นให้ อีกนัยหนึ่งความสำเร็จของทุกคนขึ้นอยู่กับพระเมตตาขององค์ภควานฺเท่านั้น ขบวนการในวิถีทิพย์ทั้งหมดคือระดับแห่งความสำเร็จที่แตกต่างกันบนเส้นทางเดียวกัน ดังนั้นนอกเสียจากว่าเราจะไปถึงจุดสมบูรณ์สูงสุดแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกความพยายามอื่นๆทั้งหมดถือว่าไม่สมบูรณ์ ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (2.3.10) ว่า
อกามห์ สรฺว-กาโม วา
โมกฺษ-กาม อุทาร-ธีห์
ตีเวฺรณ ภกฺติ-โยเคน
ยเชต ปุรุษํ ปรมฺ
“ไม่ว่าเราจะเป็นผู้ที่ไม่มีความปรารถนา (สภาวะของสาวก) หรือปรารถนาผลทางวัตถุทั้งหมด หรือปรารถนาความหลุดพ้นด้วยความพยายามทั้งปวง เราควรบูชาองค์ภควานฺเพื่อความบริบูรณ์ และมาถึงซึ่งจุดสมบูรณ์สูงสุดที่กฺฤษฺณจิตสำนึก”
kāṅkṣantaḥ karmaṇāṁ siddhiṁ
yajanta iha devatāḥ
kṣipraṁ hi mānuṣe loke
siddhir bhavati karma-jā
กางฺกฺษนฺตห์ กรฺมณำ สิทฺธึ
ยชนฺต อิห เทวตาห์
กฺษิปฺรํ หิ มานุเษ โลเก
สิทฺธิรฺ ภวติ กรฺม-ชา
กางฺกฺษนฺตห์ — ปรารถนา, กรฺมณามฺ — กิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ, สิทฺธิมฺ — ความสมบูรณ์, ยชนฺเต — พวกเขาบูชาด้วยการเสียสละ, อิห — ในโลกวัตถุ, เทวตาห์ — เทวดา, กฺษิปฺรมฺ — โดยเร็ว, หิ — แน่นอน, มานุเษ — ในสังคมมนุษย์, โลเก — ภายในโลกนี้, สิทฺธิห์ — สำเร็จ, ภวติ — มา, กรฺม-ชา — จากงานเพื่อผลทางวัตถุ
คำแปล
มนุษย์ในโลกนี้ปรารถนาความสำเร็จในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ ดังนั้นจึงบูชาเทวดา แน่นอนว่ามนุษย์จะได้รับผลโดยเร็วจากงานทางวัตถุในโลกนี้
คำอธิบาย
มีความคิดที่ผิดอย่างใหญ่หลวงเกี่ยวกับเหล่าเทวดาของโลกวัตถุนี้ มนุษย์ผู้ด้อยปัญญาแม้จะได้ชื่อว่าเป็นนักวิชาการผู้ยิ่งใหญ่แต่ยังคิดว่าเทวดาเหล่านี้คือภาพลักษณ์ต่างๆขององค์ภควานฺ อันที่จริงเทวดามิใช่ภาพลักษณ์ขององค์ภควานฺแต่เป็นส่วนต่างๆของพระองค์ องค์ภควานฺทรงเป็นหนึ่งและทรงมีส่วนต่างๆมากมาย คัมภีร์พระเวทกล่าวว่า นิโตฺย นิตฺยานามฺ องค์ภควานฺทรงเป็นหนึ่ง อีศฺวรห์ ปรมห์ กฺฤษฺณห์ องค์ภควานฺทรงเป็นหนึ่งคือองค์กฺฤษฺณ และเทวดาทรงเป็นผู้ได้รับพลังอำนาจให้ไปบริหารโลกวัตถุนี้ เทวดาเหล่านี้คือสิ่งมีชีวิตทั้งหมด (นิตฺยานามฺ) พร้อมด้วยพลังอำนาจทางวัตถุในระดับต่างๆกัน เทวดาไม่สามารถเทียบเท่ากับองค์ภควานฺ พระนารายณ์ พระวิษฺณุ หรือองค์กฺฤษฺณได้ ผู้ใดที่คิดว่าองค์ภควานฺและเทวดาอยู่ในระดับเดียวกันได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ไม่เชื่อในองค์ภควานฺ หรือ ปาษณฺฑี แม้เทวดาผู้ยิ่งใหญ่ เช่น พระพรหม และพระศิวะก็ไม่สามารถเปรียบเทียบกับองค์ภควานฺได้ อันที่จริงเทวดา เช่น พระพรหม และพระศิวะจะบูชาองค์ภควานฺ (ศิว-วิริญฺจิ-นุตมฺ) แต่เป็นเรื่องน่าแปลกที่มนุษย์โง่เขลาเบาปัญญาไปบูชาผู้นำมนุษย์ด้วยกันหลายคนภายใต้ความเข้าใจผิดแห่งลัทธิการเปรียบเทียบรูปร่างลักษณะคน หรือลัทธิการดูรูปพรรณลักษณะของสัตว์ คำว่า อิห เทวตาห์ หมายความว่ามนุษย์ผู้มีอำนาจมากหรือเทวดาของโลกวัตถุนี้ แต่องค์นารายณ์ องค์วิษฺณุ หรือองค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ทรงมิใช่เป็นของโลกวัตถุนี้ พระองค์ทรงอยู่เหนือการสร้างทางวัตถุ แม้ ศฺรีปาท ศงฺกราจารฺย ผู้นำของพวก มายาวาที ยังยืนยันว่าองค์นารายณ์ หรือองค์กฺฤษฺณทรงอยู่เหนือการสร้างของโลกวัตถุนี้ อย่างไรก็ดีคนโง่ (หฺฤต-ชฺญาน) จะบูชาเทวดาเพราะต้องการผลตอบแทนในทันทีพวกเขาได้รับผลตอบแทน แต่ไม่รู้ว่าผลตอบแทนที่ตนเองได้รับนั้นเป็นสิ่งชั่วคราว และมีไว้สำหรับมนุษย์ผู้ด้อยปัญญา บุคคลผู้มีปัญญาอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่จำเป็นต้องบูชาเทวดาที่ไม่สำคัญเพื่อผลประโยชน์อันรวดเร็วชั่วคราวบางประการ เทวดาแห่งโลกวัตถุพร้อมทั้งเหล่าสาวกของตนจะถูกทำลายไปพร้อมกับโลกวัตถุนี้ ผลประโยชน์ที่เทวดาให้จะเป็นวัตถุและไม่ถาวร ทั้งโลกวัตถุและผู้อยู่อาศัยทั้งหมด รวมทั้งเทวดาและผู้บูชาเทวดาทั้งหลายเปรียบเสมือนฟองน้ำในมหาสมุทรแห่งจักรวาล อย่างไรก็ดีในโลกสังคมมนุษย์คลั่งใคล้ในสิ่งที่ไม่ถาวร เช่น ความมั่งคั่งทางวัตถุด้วยการเป็นเจ้าของที่ดิน ครอบครัว และส่วนประกอบต่างๆที่อำนวยความสุข เพื่อจะได้รับสิ่งของชั่วคราวเหล่านี้มนุษย์บูชาเทวดา หรือบูชามนุษย์ผู้มีอำนาจในสังคมมนุษย์ด้วยกัน หากใครได้ตำแหน่งในรัฐบาลด้วยการบูชาผู้นำนักการเมืองเขาคิดว่าได้รับผลตอบแทนอย่างใหญ่หลวง ดังนั้นพวกเขาจึงก้มลงกราบพวกผู้นำเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ชั่วคราวและได้รับผลประโยชน์เช่นนั้นจริงๆ บุคคลผู้ด้อยปัญญาเช่นนี้ไม่มีความสนใจกฺฤษฺณจิตสำนึกเพื่อแก้ปัญหาอย่างถาวรกับการที่ต้องลำบากอยู่ในโลกวัตถุ พวกเขาเสาะแสวงหาความสุขทางประสาทสัมผัส และได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงเล็กน้อยเพื่อความสุขทางประสาทสัมผัส จึงหลงใหลไปในการบูชาสิ่งมีชีวิตผู้มีอำนาจหรือเทวดา โศลกนี้แสดงให้เห็นว่ามีอยู่น้อยคนนักที่จะสนใจในกฺฤษฺณจิตสำนึก เพราะส่วนใหญ่แล้วจะสนใจอยู่กับความสุขทางวัตถุ ดังนั้นจึงบูชาสิ่งมีชีวิตผู้มีอำนาจ
cātur-varṇyaṁ mayā sṛṣṭaṁ
guṇa-karma-vibhāgaśaḥ
tasya kartāram api māṁ
viddhy akartāram avyayam
จาตุรฺ-วรฺณฺยํ มยา สฺฤษฺฏํ
คุณ-กรฺม-วิภาคศห์
ตสฺย กรฺตารมฺ อปิ มำ
วิทฺธฺยฺ อกรฺตารมฺ อวฺยยมฺ
จาตุห์-วรฺณฺยมฺ — การแบ่งสังคมมนุษย์ออกเป็นสี่ส่วน, มยา — โดยข้า, สฺฤษฺฏมฺ — ได้สร้าง, คุณ — คุณสมบัติ, กรฺม — และงาน, วิภาคศห์ — ในการแบ่งส่วน, ตสฺย — ในนั้น, กรฺตารมฺ — พระบิดา, อปิ — ถึงแม้ว่า, มามฺ — ข้า, วิทฺธิ — เธออาจทราบ, อกรฺตารมฺ — มิใช่ผู้ทำ, อวฺยยมฺ — ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
คำแปล
ตามสามระดับของธรรมชาติวัตถุ และงานที่สัมพันธ์กับระดับต่างๆนั้น ข้าเป็นผู้สร้างสี่ส่วนของสังคมมนุษย์ ถึงแม้ว่าข้าเป็นผู้สร้างระบบนี้ เธอควรรู้ว่าข้ามิใช่ผู้กระทำ และข้าไม่เปลี่ยนแปลง
คำอธิบาย
องค์ภควานฺทรงเป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกสิ่งทุกอย่างกำเนิดมาจากพระองค์ พระองค์ทรงค้ำจุนทุกสิ่งทุกอย่าง และหลังจากการทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างจะพำนักอยู่ในพระองค์ ฉะนั้นองค์ภควานฺทรงเป็นผู้สร้างสี่ส่วนของสังคมมนุษย์ เริ่มจากระดับมนุษย์ผู้มีปัญญาเรียกทางเทคนิคว่า พฺราหฺมณ หรือพราหมณ์ เนื่องจากสถิตในระดับแห่งความดี ถัดไปเป็นระดับบริหารเรียกทางเทคนิคว่า กฺษตฺริย หรือกษัตริย์ เนื่องจากสถิตในระดับแห่งตัณหา พ่อค้าวาณิชหรือ ไวศฺย สถิตในระดับผสมผสานระหว่างตัณหาและอวิชชา และ ศูทฺร หรือระดับใช้แรงงานสถิตในระดับอวิชชาของธรรมชาติวัตถุ ถึงแม้ว่าองค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นผู้สร้างสี่ส่วนของสังคมมนุษย์ แต่พระองค์ทรงมิได้อยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่ง เนื่องจากพระองค์ทรงมิได้เป็นพันธวิญญาณที่อยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของสังคมมนุษย์ สังคมมนุษย์นั้นคล้ายกับสังคมสัตว์ทั่วไป แต่เพื่อยกระดับสภาพความเป็นสัตว์พระองค์จึงทรงสร้างการแบ่งส่วนเพื่อพัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างเป็นระบบ นิสัยชอบหรือถนัดในเรื่องการทำงานขึ้นอยู่กับระดับของธรรมชาติวัตถุที่ตนได้รับ ลักษณะอาการของชีวิตตามระดับต่างๆของธรรมชาติวัตถุจะอธิบายในบทที่สิบแปดของหนังสือเล่มนี้ อย่างไรก็ดีบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เหนือแม้แต่ พฺราหฺมณ แม้โดยคุณสมบัติ พฺราหฺมณ ควรทราบเกี่ยวกับ พฺรหฺมนฺ หรือสัจธรรมสูงสุดแต่ส่วนใหญ่พวก พฺราหฺมณ จะเข้าหา พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ขององค์กฺฤษฺณเท่านั้น แต่ผู้ที่ข้ามพ้นขีดจำกัดแห่งความรู้ของ พฺราหฺมณ และบรรลุถึงความรู้แห่งบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์ศฺรี กฺฤษฺณจะมาเป็นบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึก หรือ ไวษฺณว กฺฤษฺณจิตสำนึกจะรวมถึงความรู้แห่งองค์อวตารทั้งหลายขององค์กฺฤษฺณ เช่น พระราม นฺฤสึห, วราห ฯลฯ ในฐานะที่องค์กฺฤษฺณทรงเป็นทิพย์อยู่เหนือระบบสี่ส่วนแห่งสังคมมนุษย์นี้บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกก็อยู่เหนือการแบ่งส่วนทั้งหลายในสังคมมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งส่วนในระดับกลุ่มชน ระดับชาติ หรือระดับเผ่าพันธุ์
na māṁ karmāṇi limpanti
na me karma-phale spṛhā
iti māṁ yo ’bhijānāti
karmabhir na sa badhyate
น มำ กรฺมาณิ ลิมฺปนฺติ
น เม กรฺม-ผเล สฺปฺฤหา
อิติ มำ โย ’ภิชานาติ
กรฺมภิรฺ น ส พธฺยเต
น — ไม่เคย, มามฺ — ข้า, กรฺมาณิ — งานทุกชนิด, ลิมฺปนฺติ — มีผล, น — ไม่, เม — ของข้า, กรฺม-ผเล — ในการกระทำเพื่อผลทางวัตถุ, สฺปฺฤหา — ปรารถนา, อิติ — ดังนั้น, มามฺ — ข้า, ยห์ — ผู้ซึ่ง, อภิชานาติ — ทราบ, กรฺมภิห์ — ด้วยผลแห่งกรรมนี้, น — ไม่เคย, สห์ — เขา, พธฺยเต — ถูกพันธนาการ
คำแปล
ไม่มีงานใดที่มีผลกระทบต่อข้า หรือว่าข้าปรารถนาผลแห่งการกระทำใดๆ ผู้ที่เข้าใจสัจธรรมเกี่ยวกับตัวข้าเช่นนี้จะไม่ถูกพันธนาการอยู่ในผลกรรมทางวัตถุ
คำอธิบาย
ดังเช่นมีกฎหมายธรรมนูญในโลกวัตถุกล่าวว่า กฺษตฺริย ทรงไม่ทำผิด หรือว่า กฺษตฺริย ทรงอยู่เหนือกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในลักษณะเดียวกันถึงแม้ว่าองค์ภควานฺทรงเป็นผู้สร้างโลกวัตถุนี้ แต่พระองค์ทรงไม่ได้รับผลกระทบใดๆจากกิจกรรมในโลกวัตถุนี้เลย พระองค์ทรงเป็นผู้สร้างและทรงอยู่นอกเหนือจากการสร้าง ในขณะที่สิ่งมีชีวิตถูกพันธนาการอยู่กับผลตอบแทนของกิจกรรมทางวัตถุเพราะมีนิสัยชอบเป็นเจ้าผู้ครองทรัพยากรวัตถุ เปรียบเทียบได้กับเจ้าของกิจการที่ไม่รับผิดชอบต่อกิจกรรมของคนงานไม่ว่าจะถูกหรือผิดแต่ตัวคนงานเองเป็นผู้รับผิดชอบ สิ่งมีชีวิตปฏิบัติในแต่ละกิจกรรมเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตนกิจกรรมเหล่านี้องค์ภควานฺทรงมิได้เป็นผู้บัญญัติเพื่อความเจริญก้าวหน้าในการสนองประสาทสัมผัส สิ่งมีชีวิตจึงปฏิบัติงานในโลกนี้ และใฝ่ฝันที่จะได้รับความสุขบนสวรรค์หลังจากตายไป องค์ภควานฺทรงเป็นผู้มีความเต็มเปี่ยมอยู่ในพระองค์เอง ทรงไม่หลงใหลอยู่กับสิ่งที่เรียกว่าความสุขบนสวรรค์ เทวดาบนสรวงสวรรค์ทรงเป็นเพียงผู้ปฏิบัติรับใช้ของพระองค์ เจ้าของกิจการไม่เคยปรารถนาความสุขชั้นต่ำเหมือนเช่นพวกคนงานปรารถนา พระองค์ทรงปลีกตัวให้ห่างจากกิจกรรมและผลกรรมทางวัตถุ ตัวอย่างเช่น ฝนไม่ต้องรับผิดชอบต่อพืชพันธุ์ต่างๆที่ปรากฏบนโลกถึงแม้ว่าถ้าหากไม่มีฝนพืชพันธุ์ต่างๆก็ไม่สามารถเจริญเติบโตขึ้นมาได้ พระเวท สฺมฺฤติ ได้ยืนยันความจริงนี้ ดังต่อไปนี้
นิมิตฺต-มาตฺรมฺ เอวาเสา
สฺฤชฺยานำ สรฺค-กรฺมณิ
ปฺรธาน-การณี-ภูตา
ยโต ไว สฺฤชฺย-ศกฺตยห์
“ในการสร้างวัตถุองค์ภควานฺทรงเป็นเพียงแหล่งกำเนิดสูงสุด แหล่งกำเนิดโดยตรงคือธรรมชาติวัตถุซึ่งทำให้เกิดปรากฏการณ์แห่งจักรวาล” สิ่งมีชีวิตที่สร้างขึ้นมามีมากมาย เช่น เทวดา มนุษย์ และสัตว์ที่ต่ำกว่า ทั้งหมดขึ้นอยู่กับผลกรรมในอดีตไม่ว่าดีหรือชั่ว องค์ภควานฺทรงเพียงแต่ให้สิ่งอำนวยความสะดวกอันเหมาะสมสำหรับกิจกรรมเหล่านี้ และทรงให้กฎข้อบังคับตามระดับของธรรมชาติ แต่พระองค์ทรงไม่รับผิดชอบต่อกิจกรรมทั้งในอดีตและปัจจุบันของพวกเขา ใน เวทานฺต-สูตฺร (2.1.34) ได้ยืนยันไว้ว่า ไวษมฺย-ไนรฺฆฺฤเณฺย น สาเปกฺษตฺวาตฺ องค์ภควานฺทรงไม่เคยลำเอียงต่อสิ่งมีชีวิตใดๆ สิ่งมีชีวิตรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง พระองค์ทรงเพียงแต่ให้สิ่งอำนวยความสะดวกโดยผ่านผู้แทนทางธรรมชาติวัตถุหรือพลังงานเบื้องต่ำ ผู้ใดที่รอบรู้ความละเอียดอ่อนทั้งหลายของกฎแห่งกรรมหรือกิจกรรมเพื่อหวังผลนี้จะไม่ได้รับผลกระทบจากผลกรรม หรืออีกนัยหนึ่งบุคคลผู้เข้าใจธรรมชาติทิพย์ขององค์ภควานฺเป็นผู้มีความชำนาญในกฺฤษฺณจิตสำนึก ดังนั้นเขาจึงไม่อยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม ผู้ที่ไม่ทราบธรรมชาติทิพย์ของพระองค์ และคิดว่ากิจกรรมขององค์ภควานฺทรงมุ่งไปที่ผลทางวัตถุเหมือนดังเช่นกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตธรรมดาทั่วไป แน่นอนว่าเขาจะถูกพันธนาการอยู่ในผลกรรมทางวัตถุ แต่ผู้ที่รู้สัจธรรมสูงสุดเป็นดวงวิญญาณที่หลุดพ้นและมั่นคงอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึก
evaṁ jñātvā kṛtaṁ karma
pūrvair api mumukṣubhiḥ
kuru karmaiva tasmāt tvaṁ
pūrvaiḥ pūrva-taraṁ kṛtam
เอวํ ชฺญาตฺวา กฺฤตํ กรฺม
ปูไรฺวรฺ อปิ มุมุกฺษุภิห์
กุรุ กรฺไมว ตสฺมาตฺ ตฺวํ
ปูไรฺวห์ ปูรฺว-ตรํ กฺฤตมฺ
เอวมฺ — ดังนั้น, ชฺญาตฺวา — ทราบดี, กฺฤตมฺ — ปฏิบัติ, กรฺม — งาน, ปูไรฺวห์ — โดยผู้ที่เชื่อถือได้ในอดีต, อปิ — ที่จริง, มุมุกฺษุภิห์ — ผู้บรรลุความหลุดพ้น, กุรุ — เพียงปฏิบัติ, กรฺม — งานที่กำหนดไว้, เอว — แน่นอน, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, ตฺวมฺ — เธอ, ปูไรฺวห์ — โดยบรรพบุรุษ, ปูรฺว-ตรมฺ — ในโบราณกาล, กฺฤตมฺ — ได้ปฎิบัติ
คำแปล
ดวงวิญญาณผู้หลุดพ้นทั้งหลายในอดีตกาลปฏิบัติด้วยความเข้าใจในธรรมชาติทิพย์ของข้า ดังนั้นเธอควรปฏิบัติหน้าที่ของเธอ โดยการเจริญตามรอยพระบาทพวกท่าน
คำอธิบาย
มีมนุษย์อยู่สองประเภท บางคนเต็มไปด้วยมลพิษทางวัตถุปกคลุมอยู่ในหัวใจ และบางคนมีเสรีทางวัตถุ กฺฤษฺณจิตสำนึกจะมีคุณประโยชน์เท่ากันต่อบุคคลทั้งสองประเภทนี้ ผู้ที่เต็มไปด้วยสิ่งสกปรกสามารถเข้ามาในสายของกฺฤษฺณจิตสำนึกเพื่อเข้าขบวนการชะล้างทีละน้อย โดยการปฏิบัติตามหลักธรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ผู้ที่มีความสะอาดจากมลทินต่างๆแล้วอาจปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันในกฺฤษฺณจิตสำนึก เพื่อผู้อื่นอาจปฏิบัติกิจกรรมตามเป็นตัวอย่างและได้รับประโยชน์ คนโง่หรือนวกะในกฺฤษฺณจิตสำนึกชอบเกษียณตัวเองจากกิจกรรมต่างๆโดยยังไม่มีความรู้ในกฺฤษฺณจิตสำนึก อรฺชุน ทรงปรารถนาที่จะเกษียณจากกิจกรรมในสมรภูมิแต่องค์ภควานฺทรงไม่อนุมัติ เราควรรู้ว่าควรจะปฏิบัติตนอย่างไร สำหรับการเกษียณจากกิจกรรมในกฺฤษฺณจิตสำนึก และไปนั่งอยู่ห่างๆแสดงท่าว่าตนเองมีกฺฤษฺณจิตสำนึกเช่นนี้ไม่สำคัญเท่ากับการปฏิบัติจริงในสนามกิจกรรมเพื่อองค์กฺฤษฺณ ณ ที่นี้ อรฺชุน ทรงได้รับการแนะนำให้ปฏิบัติตนในกฺฤษฺณจิตสำนึกตามรอยพระบาทสาวกขององค์กฺฤษฺณในอดีต เช่น สุริยเทพ องค์ วิวสฺวานฺ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าองค์ภควานฺทรงทราบกิจกรรมทั้งหลายในอดีตของพระองค์ รวมทั้งบุคคลต่างๆผู้ปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกในอดีต ดังนั้นพระองค์ทรงแนะนำการปฏิบัติของสุริยเทพผู้ทรงเรียนศิลปะนี้จากพระองค์เมื่อหลายล้านปีก่อน นักศึกษาเช่นนี้ขององค์กฺฤษฺณได้ถูกกล่าวไว้ ณ ที่นี้ว่าทรงเป็นผู้หลุดพ้น และปฏิบัติตนตามหน้าที่ที่องค์กฺฤษฺณทรงกำหนดให้
kiṁ karma kim akarmeti
kavayo ’py atra mohitāḥ
tat te karma pravakṣyāmi
yaj jñātvā mokṣyase ’śubhāt
กึ กรฺม กิมฺ อกรฺเมติ
กวโย ’ปฺยฺ อตฺร โมหิตาห์
ตตฺ เต กรฺม ปฺรวกฺษฺยามิ
ยชฺ ชฺญาตฺวา โมกฺษฺยเส ’ศุภาตฺ
กิมฺ — คืออะไร, กรฺม — การกระทำ, กิมฺ — คืออะไร, อกรฺม — การไม่ทำอะไร, อิติ — ดังนั้น, กวยห์ — ผู้มีปัญญา, อปิ — เช่นกัน, อตฺร — ในเรื่องนี้, โมหิตาห์ — สับสน, ตตฺ — นั้น, เต — แก่เธอ, กรฺม — งาน, ปฺรวกฺษฺยามิ — ข้าจะอธิบาย, ยตฺ — ซึ่ง, ชฺญาตฺวา — รู้, โมกฺษฺยเส — เธอจะหลุดพ้น, อศุภาตฺ — จากโชคร้าย
คำแปล
แม้แต่ผู้มีปัญญายังสับสนในการพิจารณาว่าอะไรคือการกระทำ และอะไรคือการไม่กระทำ บัดนี้ข้าจะอธิบายแก่เธอว่ากรรม หรือการกระทำคืออะไร เมื่อรู้แล้วเธอจะหลุดพ้นจากโชคร้ายทั้งปวง
คำอธิบาย
งานในกฺฤษฺณจิตสำนึกต้องปฏิบัติตามตัวอย่างจากสาวกที่แท้จริงในอดีต ซึ่งได้แนะนำไว้แล้วในโศลกที่สิบห้า เหตุใดงานนี้จึงไม่ควรปล่อยให้เป็นอิสรเสรีจะอธิบายในโศลกต่อไป
การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกนั้นเราต้องปฏิบัติตามการนำทางของบุคคลผู้เชื่อถือได้ที่อยู่ในสายปรัมปรา ดังที่ได้อธิบายไว้แล้วในตอนต้นของบทนี้ ระบบกฺฤษฺณจิตสำนึกครั้งแรกได้บรรยายให้สุริยเทพ และสุริยเทพทรงอธิบายให้พระโอรส มนุ มนุ ทรงอธิบายให้พระโอรส อิกฺษฺวากุ และจากโบราณกาลระบบนี้ได้อยู่บนโลกมาจนถึงปัจจุบันนี้ ฉะนั้นเราต้องปฏิบัติตามรอยพระบาทของบุคคลผู้เชื่อถือได้ในสายปรัมปรา มิฉะนั้นแม้แต่บุคคลผู้มีสติปัญญาสูงสุดจะสับสนเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก ด้วยเหตุนี้องค์ภควานฺทรงตัดสินพระทัยสอนกฺฤษฺณจิตสำนึกแก่ อรฺชุน โดยตรง จากการตรัสสอนแก่ อรฺชุน โดยตรงเช่นนี้นั้นหากผู้ใดปฏิบัติตามรอยพระบาทของ อรฺชุน จะไม่สับสนอย่างแน่นอน
ได้กล่าวไว้ว่าเพียงความรู้จากการทดลองที่ไม่สมบูรณ์เราไม่สามารถค้นคว้าหาวิธีทางศาสนาได้ อันที่จริงองค์ภควานฺเท่านั้นที่ทรงสามารถวางหลักแห่งศาสนาได้ ธรฺมํ ตุ สากฺษาทฺ ภควตฺ-ปฺรณีตมฺ (ภาควต 6.3.19) ไม่มีผู้ใดสามารถสร้างหลักศาสนาจากการคาดคะเนที่ไม่สมบูรณ์ได้ เราต้องปฏิบัติตามรอยพระบาทของบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ที่เชื่อถือได้ เช่น พระพรหม, พระศิวะ, นารท, มนุ, กุมาร, กปิล, ปฺรหฺลาท, ภีษฺม, ศุกเทว โคสฺวามี, ยมราช, ชนก และ พลิ มหาราช จากการคาดคะเนทางจิตเราไม่สามารถค้นคว้าว่าศาสนาหรือการรู้แจ้งแห่งตนนั้นคืออะไรได้ ดังนั้นด้วยพระเมตตาแก่สาวกองค์ภควานฺทรงอธิบายโดยตรงแก่ อรฺชุน ว่าอะไรคือการปฏิบัติ และอะไรคือการไม่ปฏิบัติ การปฏิบัติตนในกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้นที่สามารถนำพาเราให้ออกจากพันธนาการแห่งชีวิตทางวัตถุได้
karmaṇo hy api boddhavyaṁ
boddhavyaṁ ca vikarmaṇaḥ
akarmaṇaś ca boddhavyaṁ
gahanā karmaṇo gatiḥ
กรฺมโณ หฺยฺ อปิ โพทฺธวฺยํ
โพทฺธวฺยํ จ วิกรฺมณห์
คหนา กรฺมโณ คติห์
กรฺมณห์ — ของงาน, หิ — แน่นอน, อปิ — เช่นกัน, โพทฺธวฺยมฺ — ควรเข้าใจ, โพทฺธวฺยมฺ — ควรเข้าใจ, จ — เช่นกัน, วิกรฺมณห์ — ของงานต้องห้าม, อกรฺมณห์ — ของการไม่ทำ, จ — เช่นกัน, โพทฺธวฺยมฺ — ควรเข้าใจ, คหนา — ยากมาก, กรฺมณห์ — ของงาน, คติห์ — เข้า
คำแปล
ความละเอียดอ่อนของการปฏิบัติเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยากมาก ดังนั้นเราควรรู้อย่างถูกต้องว่ากรรมคืออะไร วิกรรมคืออะไร และอกรรมคืออะไร
คำอธิบาย
หากเรามีความจริงจังเกี่ยวกับความหลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุ เราจะต้องเข้าใจข้อแตกต่างระหว่างการกระทำ การไม่กระทำ และสิ่งที่ไม่ได้รับอนุญาตให้กระทำ เราต้องใช้สติปัญญาของเราเองในการวิเคราะห์เรื่องกรรม ผลแห่งกรรม และกรรมที่ต้องห้ามเพราะว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยากมาก ในการเข้าใจกฺฤษฺณจิตสำนึกและการปฏิบัติตามระดับของตัวเองเราต้องเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับองค์ภควานฺ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ได้ฝึกฝนเล่าเรียนจนรอบรู้ทราบดีว่าทุกๆชีวิตคือผู้รับใช้นิรันดรของพระองค์ และผลที่ตามมาคือเราต้องปฏิบัติตนในกฺฤษฺณจิตสำนึก ตลอดเล่ม ภควัท-คีตา จะนำเราไปถึงจุดสรุปนี้ จุดสรุปใดๆที่ขัดต่อจิตสำนึกนี้ และมีการปฏิบัติที่ตามมาเรียกว่า วิกรฺม หรือการปฏิบัติที่ต้องห้าม เพื่อให้เราเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดอย่างถ่องแท้นั้นเราต้องคบหาสมาคมกับบุคคลผู้ที่เชื่อถือได้ในกฺฤษฺณจิตสำนึก และศึกษาความลับจากท่านเหล่านั้น การกระทำเช่นนี้ดีเท่าๆกับการเรียนจากองค์ภควานฺโดยตรง มิฉะนั้นแม้บุคคลผู้มีปัญญาสูงสุดก็จะยังสับสน
karmaṇy akarma yaḥ paśyed
akarmaṇi ca karma yaḥ
sa buddhimān manuṣyeṣu
sa yuktaḥ kṛtsna-karma-kṛt
กรฺมณฺยฺ อกรฺม ยห์ ปเศฺยทฺ
อกรฺมณิ จ กรฺม ยห์
ส พุทฺธิมานฺ มนุเษฺยษุ
ส ยุกฺตห์ กฺฤตฺสฺน-กรฺม-กฺฤตฺ
กรฺมณิ — ในกรรม, อกรฺม — อกรรม, ยห์ — ผู้ซึ่ง, ปเศฺยตฺ — สังเกต, อกรฺมณิ — ในอกรรม, จ — เช่นกัน, กรฺม — การกระทำเพื่อหวังผลทางวัตถุ, ยห์ — ผู้ซึ่ง, สห์ — เขา, พุทฺธิ-มานฺ — มีปัญญา, มนุเษฺยษุ — ในสังคมมนุษย์, สห์ — เขา, ยุกฺตห์ — อยู่ในสถานภาพทิพย์, กฺฤตฺสฺน-กรฺม-กฺฤตฺ — แม้ปฏิบัติอยู่ในกิจกรรมทั้งหลาย
คำแปล
ผู้ที่เห็นอกรรมในกรรม และกรรมในอกรรม เป็นผู้มีปัญญาในหมู่มนุษย์และอยู่ในสถานภาพทิพย์ แม้จะปฏิบัติอยู่ในกิจกรรมทั้งหลาย
คำอธิบาย
บุคคลผู้ปฏิบัติอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยธรรมชาติจะหลุดพ้นจากพันธนาการแห่งกรรม กิจกรรมของเขาทั้งหมดปฏิบัติไปเพื่อองค์กฺฤษฺณ ดังนั้นจะไม่ได้รับความสุขหรือความทุกข์จากผลของงาน จึงเป็นผู้มีปัญญาในสังคมมนุษย์แม้ขณะปฏิบัติกิจกรรมอยู่มากมายเพื่อองค์กฺฤษฺณ อกรรมหมายถึงไม่มีผลกรรมจากการทำงาน มายาวาที หยุดกิจกรรมเพื่อหวังผลทางวัตถุอันเนื่องมาจากความกลัว และเพื่อผลกรรมจะไม่ไปกีดขวางทางเพื่อความรู้แจ้งตนเอง แต่ ภกฺต จะทราบดีถึงสถานภาพของตนเองว่าเป็นผู้รับใช้นิรันดรของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ฉะนั้นจึงปฏิบัติอยู่ในกิจกรรมของกฺฤษฺณจิตสำนึก เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างกระทำไปเพื่อองค์กฺฤษฺณเขาจึงได้รับรสแห่งความสุขทิพย์อยู่กับการปฏิบัติรับใช้เช่นนี้เท่านั้น ผู้ที่ปฏิบัติอยู่ในขบวนการนี้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความปรารถนาเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตนเอง ความรู้สึกที่ว่าตนเองเป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์กฺฤษฺณทำให้เขาปลอดภัยจากผลกรรมทั้งปวง
yasya sarve samārambhāḥ
kāma-saṅkalpa-varjitāḥ
jñānāgni-dagdha-karmāṇaṁ
tam āhuḥ paṇḍitaṁ budhāḥ
ยสฺย สเรฺว สมารมฺภาห์
กาม-สงฺกลฺป-วรฺชิตาห์
ชฺญานาคฺนิ-ทคฺธ-กรฺมาณํ
ตมฺ อาหุห์ ปณฺฑิตํ พุธาห์
ยสฺย — ผู้ซึ่ง, สเรฺว — ทั้งหมด, สมารมฺภาห์ — พยายาม, กาม — บนฐานแห่งความปรารถนาเพื่อสนองประสาทสัมผัส, สงฺกลฺป — ตั้งใจแน่วแน่, วรฺชิตาห์ — ปราศจาก, ชฺญาน — ความรู้อันสมบูรณ์, อคฺนิ — โดยไฟ, ทคฺธ — เผาไหม้, กรฺมาณมฺ — งานของเขา, ตมฺ — เขา, อาหุห์ — ประกาศ, ปณฺฑิตมฺ — บัณฑิต, พุธาห์ — หมู่ผู้รู้
คำแปล
ผู้ที่มีความรู้ถ่องแท้ ผู้ที่ความพยายามทั้งหมดปราศจากความปรารถนาเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตนเอง เหล่านักปราชญ์กล่าวไว้ว่าเป็นผู้ทำงานที่ผลกรรมได้ถูกเผาไหม้ไปจนหมดด้วยไฟแห่งความรู้อันสมบูรณ์
คำอธิบาย
บุคคลผู้มีความรู้ถ่องแท้เท่านั้นที่สามารถเข้าใจกิจกรรมของบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึก เพราะว่าบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกปราศจากนิสัยที่ชอบสนองประสาทสัมผัสของตนเองทุกชนิด เป็นที่เข้าใจว่าเขาได้เผาไหม้ผลกรรมจากการทำงานด้วยความรู้อันสมบูรณ์ และรู้ซึ้งถึงสถานภาพพื้นฐานของตนว่าเป็นผู้รับใช้นิรันดรของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ผู้ที่มีความรู้อย่างถ่องแท้จึงจะสามารถบรรลุถึงความรู้อันสมบูรณ์เช่นนี้ การพัฒนาความรู้แห่งการเป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์ภควานฺเปรียบเสมือนไฟ และไฟนี้เมื่อถูกจุดขึ้นมาแล้วจะสามารถเผาผลาญผลกรรมทั้งปวงได้
tyaktvā karma-phalāsaṅgaṁ
nitya-tṛpto nirāśrayaḥ
karmaṇy abhipravṛtto ’pi
naiva kiñcit karoti saḥ
ตฺยกฺตฺวา กรฺม-ผลาสงฺคํ
นิตฺย-ตฺฤปฺโต นิราศฺรยห์
กรฺมณฺยฺ อภิปฺรวฺฤตฺโต ’ปิ
ไนว กิญฺจิตฺ กโรติ สห์
ตฺยกฺตฺวา — ได้ยกเลิก, กรฺม-ผล-อาสงฺคมฺ — การยึดติดต่อผลทางวัตถุ, นิตฺย — เสมอ, ตฺฤปฺตห์ — มีความพึงพอใจ, นิราศฺรยห์ — ไม่มีที่พึ่ง, กรฺมณิ — ในกิจกรรม, อภิปฺรวฺฤตฺตห์ — ปฏิบัติอย่างเต็มที่, อปิ — ถึงแม้ว่า, น — ไม่, เอว — แน่นอน, กิญฺจิตฺ — ทุกสิ่ง, กโรติ — ทำ, สห์ — เขา
คำแปล
ปล่อยวางการยึดติดต่อผลของกิจกรรมทั้งปวง มีความพึงพอใจและมีอิสรเสรีอยู่เสมอ เขาจะไม่กระทำสิ่งใดๆเพื่อผลทางวัตถุถึงแม้จะปฏิบัติงานนานัปการ
คำอธิบาย
ความหลุดพ้นจากพันธนาการแห่งกรรมเป็นไปได้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้นเมื่อเราทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อองค์กฺฤษฺณ บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจะปฏิบัติตนด้วยความรักอันบริสุทธิ์ที่มีต่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ดังนั้นเขาไม่มีความเสน่หาต่อผลของการกระทำและไม่ยึดติด แม้แต่การดำรงชีวิตส่วนตัวของเขาเอง เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับองค์กฺฤษฺณเสมอเขาจึงไม่กระตือรือร้นที่จะสะสมสิ่งของหรือปกป้องสิ่งที่มีอยู่ แต่จะปฏิบัติหน้าที่อย่างดีที่สุดตามความสามารถของตนเอง นอกจากนั้นจะปล่อยให้ขึ้นอยู่กับองค์กฺฤษฺณ ผู้ที่ไม่ยึดติดเช่นนี้มีความหลุดพ้นจากผลกรรมไม่ว่าดีหรือชั่วประหนึ่งว่าตัวเขามิได้ทำอะไรเลย นี่คือเครื่องหมายของอกรรมหรือการกระทำที่ปราศจากผลกรรมทางวัตถุ ดังนั้นการกระทำใดๆที่ปราศจากกฺฤษฺณจิตสำนึกจะพันธนาการผู้กระทำ และนี่คือความหมายที่แท้จริงของคำว่า วิกรฺม หรือวิกรรม ดังที่ได้อธิบายไปแล้ว
nirāśīr yata-cittātmā
tyakta-sarva-parigrahaḥ
śārīraṁ kevalaṁ karma
kurvan nāpnoti kilbiṣam
นิราศีรฺ ยต-จิตฺตาตฺมา
ตฺยกฺต-สรฺว-ปริคฺรหห์
ศารีรํ เกวลํ กรฺม
กุรฺวนฺ นาปฺโนติ กิลฺพิษมฺ
นิราศีห์ — ไม่ปรารถนาผล, ยต — ควบคุม, จิตฺต-อาตฺมา — จิตใจและปัญญา, ตฺยกฺต — ยกเลิก, สรฺว — ทั้งหมด, ปริคฺรหห์ — ความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของสิ่งต่างๆ, ศารีรมฺ — ในการรักษาร่างกายและวิญญาณให้อยู่ด้วยกัน, เกวลมฺ — เท่านั้น, กรฺม — งาน, กุรฺวนฺ — ทำ, น — ไม่เคย, อาปฺโนติ — ได้รับ, กิลฺพิษมฺ — ผลบาป
คำแปล
ผู้ที่มีความเข้าใจเช่นนี้จะทำงานด้วยจิตใจและปัญญาที่ควบคุมได้อย่างสมบูรณ์ ยกเลิกความรู้สึกที่ว่าเป็นเจ้าของสิ่งต่างๆทั้งมวล และทำงานเท่าที่จำเป็นจริงๆเพื่อดำรงชีวิตเท่านั้น ด้วยการทำงานเช่นนี้เขาจะไม่ได้รับผลบาป
คำอธิบาย
บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่คาดหวังผลดีหรือผลชั่วในกิจกรรมของตนเอง จิตใจและปัญญาอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างสมบูรณ์ ตระหนักดีว่าส่วนที่เขากระทำเป็นเพียงเศษย่อยๆของส่วนทั้งหมด เนื่องจากเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺมันจึงไม่ใช่กิจกรรมของเขาเอง แต่ถูกกระทำผ่านตัวเขาโดยพระองค์ เมื่อมือเคลื่อนไหวมันไม่ได้เคลื่อนด้วยตัวมันเอง แต่ด้วยความพยายามของทั่วทั้งเรือนร่าง ผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจะประสานตนเองกับความปรารถนาของพระองค์เสมอ เพราะไม่มีความปรารถนาเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตนเองเขาเคลื่อนไหวไปเหมือนกับเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องยนต์ เฉกเช่นส่วนของเครื่องยนต์จำเป็นต้องมีการหล่อลื่นและทำความสะอาดเพื่อให้ดำรงอยู่ได้ บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกก็เช่นเดียวกันจะดำรงรักษาตนเองไว้ด้วยการทำงานเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีไว้คอยทำงานรับใช้ด้วยความรักทิพย์ต่อพระองค์ ฉะนั้นเขาจึงรอดพ้นจากผลกรรมทั้งมวลที่มาจากความพยายามของเขา เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงที่ไม่ได้เป็นเจ้าของแม้แต่ร่างของมันเอง เจ้าของสัตว์ผู้โหดร้ายบางครั้งฆ่าสัตว์เลี้ยงของตนเอง ถึงกระนั้นมันก็ไม่เคยต่อต้านหรือว่ามีเสรีภาพอย่างแท้จริง บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกปฏิบัติตนอย่างสมบูรณ์เพื่อความรู้แจ้งแห่งตนจึงมีเวลาน้อยมากที่จะมาคิดอย่างผิดๆว่าตนเองเป็นเจ้าของวัตถุใดๆ ในการดำรงรักษาให้ร่างกายและดวงวิญญาณให้อยู่ด้วยกัน เขาไม่จำเป็นต้องใช้วิธีที่ไม่เป็นธรรมเพื่อสะสมเงินทอง ดังนั้นจึงไม่มีมลทินอันเนื่องมาจากความบาปทางวัตถุนี้ เขาเป็นอิสระจากผลกรรมทั้งปวงอันเนื่องมาจากการปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก
yadṛcchā-lābha-santuṣṭo
dvandvātīto vimatsaraḥ
samaḥ siddhāv asiddhau ca
kṛtvāpi na nibadhyate
ยทฺฤจฺฉา-ลาภ-สนฺตุษฺโฏ
ทฺวนฺทฺวาตีโต วิมตฺสรห์
สมห์ สิทฺธาวฺ อสิทฺเธา จ
กฺฤตฺวาปิ น นิพธฺยเต
ยทฺฤจฺฉา — จากครรลองของตัวมันเอง, ลาภ — กับผลกำไร, สนฺตุษฺฏห์ — พึงพอใจ, ทฺวนฺทฺว — สิ่งคู่, อตีตห์ — ข้ามพ้น, วิมตฺสรห์ — ปราศจากความอิจฉาริษยา, สมห์ — มั่นคง, สิทฺเธา — ในความสำเร็จ, อสิทฺเธา — ความล้มเหลว, จ — เช่นกัน, กฺฤตฺวา — ทำ, อปิ — ถึงแม้ว่า, น — ไม่เคย, นิพธฺยเต — มีผลกระทบ
คำแปล
ผู้มีความพึงพอใจกับผลกำไรที่ได้มาตามครรลองของตัวมันเอง ผู้เป็นอิสระจากสิ่งคู่ และไม่อิจฉาริษยา ผู้มีความมั่นคงทั้งในความสำเร็จและล้มเหลว ถึงแม้ปฏิบัติงานแต่จะไม่มีวันถูกพันธนาการ
คำอธิบาย
บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่พยายามมากแม้ในการดำรงรักษาร่างกาย เขาพึงพอใจกับผลกำไรที่ได้รับตามครรลองของตัวมันเอง เขาไม่ขอหรือว่าขอยืม แต่จะทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตามกำลังความสามารถของตน และมีความพึงพอใจกับสิ่งที่ตนได้รับจากการทำงานด้วยความซื่อสัตย์ ฉะนั้นจึงเป็นอิสระในการหาเลี้ยงชีพ เขาไม่ปล่อยให้สิ่งใดมากีดขวางการรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึก อย่างไรก็ดีสำหรับการรับใช้องค์ภควานฺเขาสามารถร่วมขบวนด้วยไม่ว่างานใดๆโดยไม่ให้สิ่งคู่ในโลกวัตถุมารบกวน สิ่งคู่ในโลกวัตถุรู้สึกได้ เช่น ความร้อนและความเย็น ความทุกข์และความสุข บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เหนือสิ่งคู่ เพราะไม่เคยลังเลที่จะปฏิบัติสิ่งใดก็ตามเพื่อความพึงพอพระทัยขององค์ศฺรี กฺฤษฺณ ฉะนั้นเขาจึงมีความมั่นคงทั้งในความสำเร็จและล้มเหลว ลักษณะเหล่านี้ปรากฏให้เห็นเมื่อเรามีความรู้ทิพย์อย่างถ่องแท้
gata-saṅgasya muktasya
jñānāvasthita-cetasaḥ
yajñāyācarataḥ karma
samagraṁ pravilīyate
คต-สงฺคสฺย มุกฺตสฺย
ชฺญานาวสฺถิต-เจตสห์
ยชฺญายาจรตห์ กรฺม
สมคฺรํ ปฺรวิลียเต
คต-สงฺคสฺย — ของผู้ที่ไม่ยึดติดกับสามระดับของธรรมชาติวัตถุ, มุกฺตสฺย — ของผู้หลุดพ้น, ชฺญาน-อวสฺถิต — สถิตในความเป็นทิพย์, เจตสห์ — ปัญญาของเขา, ยชฺญาย — เพื่อ ยชฺญ (กฺฤษฺณ) , อาจรตห์ — กระทำ, กรฺม — งาน, สมคฺรมฺ — รวมทั้งหมด, ปฺรวิลียเต — กลืนไปทั้งหมด
คำแปล
งานของผู้ที่ไม่ยึดติดอยู่กับสามระดับของธรรมชาติวัตถุ และเป็นผู้สถิตในความรู้ทิพย์อย่างสมบูรณ์ ทั้งหมดจะรวมเข้าไปในความเป็นทิพย์
คำอธิบาย
การอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ทำให้เป็นอิสระจากสิ่งคู่ทั้งมวล ดังนั้นจึงเป็นอิสระจากมลทินของระดับต่างๆทางวัตถุ และสามารถหลุดพ้นได้เพราะว่าเขาทราบถึงสถานภาพพื้นฐานของตนในความสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณ ดังนั้นจิตใจของเขาจึงไม่หันเหไปจากกฺฤษฺณจิตสำนึก หลังจากนั้นไม่ว่าสิ่งใดที่ทำเขาจะทำเพื่อองค์กฺฤษฺณผู้ทรงเป็นพระวิชณุองค์แรก ฉะนั้นงานทั้งหมดโดยเทคนิคแล้วจะเป็นการบูชา เพราะว่าการบูชามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้องค์ภควานฺ วิษฺณุ หรือกฺฤษฺณทรงพอพระทัย ผลกรรมทั้งหมดจากการทำงานเช่นนี้แน่นอนว่าจะรวมเข้าไปในความเป็นทิพย์ และเขาไม่ต้องรับทุกข์จากผลกระทบทางวัตถุ
brahmārpaṇaṁ brahma havir
brahmāgnau brahmaṇā hutam
brahmaiva tena gantavyaṁ
brahma-karma-samādhinā
พฺรหฺมารฺปณํ พฺรหฺม หวิรฺ
พฺรหฺมาคฺเนา พฺรหฺมณา หุตมฺ
พฺรไหฺมว เตน คนฺตวฺยํ
พฺรหฺม-กรฺม-สมาธินา
พฺรหฺม — เป็นทิพย์โดยธรรมชาติ, อรฺปณมฺ — ช่วยเหลือสนับสนุน, พฺรหฺม — องค์ภควานฺ, หวิห์ — เนย, พฺรหฺม — ทิพย์, อคฺเนา — ในไฟแห่งจุดมุ่งหมายที่บริบูรณ์, พฺรหฺมณา — โดยดวงวิญญาณ, หุตมฺ — ถวาย, พฺรหฺม — อาณาจักรทิพย์, เอว — แน่นอน, เตน — โดยเขา, คนฺตวฺยมฺ — บรรลุถึง, พฺรหฺม — ทิพย์, กรฺม — ในกิจกรรม, สมาธินา — ในสมาธิที่สมบูรณ์
คำแปล
บุคคลผู้ซึมซาบอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์แน่นอนว่าจะบรรลุถึงอาณาจักรทิพย์ เนื่องจากการให้ความช่วยเหลือของเขาในกิจกรรมทิพย์อย่างเต็มที่ ซึ่งจุดมุ่งหมายคือสัจธรรม และสิ่งที่ถวายก็เป็นธรรมชาติทิพย์เช่นเดียวกัน
คำอธิบาย
กิจกรรมในกฺฤษฺณจิตสำนึกในที่สุดสามารถนำพาเราไปสู่จุดหมายปลายทางทิพย์ได้อย่างไรนั้นได้อธิบายไว้ ณ ที่นี้ มีกิจกรรมมากมายในกฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งทั้งหมดนั้นจะอธิบายในโศลกต่อๆไป แต่ในตอนนี้จะอธิบายเพียงหลักของกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้น พันธวิญญาณถูกพันธนาการอยู่ในมลทินทางวัตถุจึงเป็นที่แน่นอนว่าพวกเขาจะต้องปฏิบัติกิจกรรมต่างๆที่อยู่ในบรรยากาศวัตถุ ถึงกระนั้นเขาก็ยังต้องการอิสรภาพจากสิ่งแวดล้อมนี้ วิธีการที่พันธวิญญาณสามารถออกจากบรรยากาศวัตถุได้คือ กฺฤษฺณจิตสำนึก ตัวอย่างเช่น คนไข้ได้รับความทุกข์จากโรคท้องเดินอันเนื่องมาจากดื่มผลิตภัณฑ์นมมากเกินไป วิธีรักษาคือต้องใช้ผลิตภัณฑ์นมอีกชนิดหนึ่งคือนมที่เข็มข้น (curds) ในการรักษา พันธวิญญาณผู้ซึมซาบอยู่ในวัตถุสามารถรักษาได้ด้วยกฺฤษฺณจิตสำนึก ดังที่ได้วางหลักการไว้ในหนังสือ ภควัท-คีตา เล่มนี้ วิธีการนี้โดยทั่วไปเรียกว่า ยชฺญ หรือกิจกรรม (การบูชา) เพียงเพื่อให้องค์วิษฺณุ หรือองค์กฺฤษฺณทรงพอพระทัยเท่านั้น กิจกรรมในโลกวัตถุที่ทำถวายให้พระวิษฺณุ หรือในกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยการซึมซาบมากเพียงใดก็จะเปลี่ยนบรรยากาศให้กลายมาเป็นทิพย์มากเพียงเท่านั้น คำว่า พฺรหฺม มีความหมายว่า “ทิพย์” องค์ภควานฺทรงเป็นทิพย์ และรัศมีจากพระวรกายทิพย์ของพระองค์เรียกว่า พฺรหฺม-โชฺยติรฺ รัศมีทิพย์ของพระองค์ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่สถิตใน พฺรหฺม-โชฺยติรฺ นั้นแต่เมื่อ โชฺยติรฺ นั้นถูกปกคลุมไปด้วยความหลงแห่ง มายา หรือการสนองประสาทสัมผัสจึงเรียกว่าวัตถุ ม่านแห่งวัตถุนี้สามารถถูกรูดออกไปได้ทันทีด้วยกฺฤษฺณจิตสำนึก ฉะนั้นการถวายเพื่อกฺฤษฺณจิตสำนึก กรรมวิธีในการถวาย ผู้ถวาย และผลทั้งหมดเมื่อรวมกันคือ พฺรหฺมนฺ หรือสัจธรรมที่สมบูรณ์ สัจธรรมที่สมบูรณ์ถูกปกคลุมด้วย มายา เรียกว่าวัตถุ เมื่อวัตถุมาประสานกับสัจธรรมที่สมบูรณ์จะได้รับคุณสมบัติทิพย์ของตนเองกลับคืนมา กฺฤษฺณจิตสำนึกจึงเป็นวิธีเปลี่ยนสภาพจิตสำนึกที่หลงผิดมาเป็น พฺรหฺมนฺ หรือองค์ภควานฺ เมื่อจิตใจซึมซาบอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์เรียกว่าอยู่ในสมาธิหรือ สมาธิ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำไปด้วยจิตสำนึกทิพย์เช่นนี้ เรียกว่า ยชฺญ หรือการบูชาเพื่อสัจธรรมที่สมบูรณ์ ในสภาวะจิตสำนึกทิพย์นี้ ผู้ช่วยเหลือสนับสนุน การช่วยเหลือสนับสนุน การบริโภค ผู้ปฏิบัติหรือผู้นำการปฏิบัติ และผลลัพธ์ หรือผลที่ได้รับสูงสุดคือ ทุกสิ่งทุกอย่างกลายเป็นหนึ่งในสัจธรรมที่สมบูรณ์ พฺรหฺมนฺ สูงสุด นั่นคือวิธีการของกฺฤษฺณจิตสำนึก
daivam evāpare yajñaṁ
yoginaḥ paryupāsate
brahmāgnāv apare yajñaṁ
yajñenaivopajuhvati
ไทวมฺ เอวาปเร ยชฺญํ
โยคินห์ ปรฺยุปาสเต
พฺรหฺมาคฺนาวฺ อปเร ยชฺญํ
ยชฺเญไนโวปชุหฺวติ
ไทวมฺ — ในการบูชาเทวดา, เอว — เช่นนี้, อปเร — บุคคลอื่นๆ, ยชฺญมฺ — การบูชา, โยคินห์ — โยคี, ปรฺยุปาสเต — บูชาอย่างสมบูรณ์, พฺรหฺม — ของสัจธรรมสูงสุด, อคฺเนา — ในไฟ, อปเร — ผู้อื่น, ยชฺญมฺ — บูชา, ยชฺเญน — ด้วยการบูชา, เอว — ดังนั้น, อุปชุหฺวติ — ถวาย
คำแปล
โยคีบางท่านบูชาเทวดาอย่างสมบูรณ์ด้วยการถวายเครื่องบูชาต่างๆให้เทวดา และโยคีบางท่านถวายการบูชาในไฟแห่ง พฺรหฺมนฺ สูงสุด
คำอธิบาย
ดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น บุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเรียกว่าโยคี ผู้สมบูรณ์ หรือนักทิพย์นิยมชั้นหนึ่ง มีผู้อื่นที่ปฏิบัติการบูชาคล้ายคลึงกันนี้แต่บูชาเทวดา และยังมีผู้อื่นอีกที่บูชา พฺรหฺมนฺ สูงสุด หรือลักษณะที่ไร้รูปลักษณ์ขององค์ภควานฺ ดังนั้นจึงมีการบูชาประเภทต่างๆกัน ประเภทของการบูชาที่ต่างกันโดยผู้ปฏิบัติที่ต่างกันแสดงให้เห็นว่าการบูชาที่หลากหลายแตกต่างกันโดยผิวเผินเท่านั้น อันที่จริงการบูชาหมายถึงการทำให้องค์ภควานฺ พระวิษฺณุ ผู้ทรงมีอีกพระนามหนึ่งว่า ยชฺญ ทรงพอพระทัย การบูชาที่หลากหลายทั้งหมดนี้จัดเข้าอยู่ในสองประเภทหลักคือ การบูชาด้วยสิ่งของวัตถุทางโลก และการบูชาเพื่อผลแห่งความรู้ทิพย์ ผู้ที่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกสละความเป็นเจ้าของวัตถุทั้งหลายเป็นการบูชาเพื่อให้องค์ภควานฺทรงพอพระทัย ในขณะที่ผู้อื่นต้องการความสุขชั่วคราวทางวัตถุบูชาสิ่งของวัตถุเพื่อให้เทวดา เช่น พระอินทร์ พระอาทิตย์ ฯลฯ ทรงพอพระทัย และยังมี มายาวาที บูชารูปลักษณ์ของตนเองให้กลืนเข้าไปในความเป็นอยู่แห่ง พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ เทวดาคือสิ่งมีชีวิตผู้มีพลังอำนาจที่องค์ภควานฺทรงแต่งตั้งให้ดำรงรักษา และบริหารหน้าที่ทั้งหลายในโลกวัตถุ เช่น ความร้อน น้ำ และแสงของจักรวาล ผู้ที่สนใจในผลประโยชน์ทางวัตถุจะบูชาเทวดาด้วยพิธีบูชาต่างๆ ตามพิธีกรรมพระเวทพวกนี้เรียกว่า พหฺวฺ-อีศฺวร-วาที หรือผู้เชื่อในเทวดาหลายองค์ แต่พวกที่บูชาสัจธรรมสูงสุดที่ไร้รูปลักษณ์ และคิดว่ารูปลักษณ์ของเทวดาไม่ถาวรจะบูชาปัจเจกชีวิตของตนเองไปในไฟสูงสุด ดังนั้นจึงจบปัจเจกชีวิตของตนด้วยการกลืนหายเข้าไปในความเป็นอยู่ขององค์ภควานฺ มายาวาที พวกนี้บูชาเวลาของพวกตนไปกับการคาดคะเนทางปรัชญา เพื่อที่จะเข้าใจธรรมชาติทิพย์ของพระองค์ หรืออีกนัยหนึ่งผู้ทำงานเพื่อหวังผลบูชาวัตถุสิ่งของของตนเพื่อความสุขทางวัตถุ ขณะที่ มายาวาที ถวายการบูชาชื่อระบุต่างๆทางวัตถุด้วยแนวคิดที่จะกลืนเข้าไปในความเป็นอยู่ขององค์ภควานฺ สำหรับ มายาวาที แท่นบูชาแห่งการบูชาไฟคือ พฺรหฺมนฺ สูงสุด และสิ่งของบูชาคือชีวิตของตนเองที่ถูกเผาผลาญไปในไฟแห่ง พฺรหฺมนฺ อย่างไรก็ดีบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึก เช่น อรฺชุน ทรงบูชาทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้องค์กฺฤษฺณทรงพอพระทัย ดังนั้นความเป็นเจ้าของวัตถุทั้งหลายรวมทั้งชีวิตของตนเอง ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเครื่องบูชาสำหรับองค์กฺฤษฺณ ดังนั้นจึงเป็นโยคีชั้นหนึ่งแต่ท่านมิได้สูญเสียความเป็นปัจเจกบุคคล
śrotrādīnīndriyāṇy anye
saṁyamāgniṣu juhvati
śabdādīn viṣayān anya
indriyāgniṣu juhvati
โศฺรตฺราทีนีนฺทฺริยาณฺยฺ อเนฺย
สํยมาคฺนิษุ ชุหฺวติ
ศพฺทาทีนฺ วิษยานฺ อนฺย
อินฺทฺริยาคฺนิษุ ชุหฺวติ
โศฺรตฺร-อาทีนิ — เช่นวิธีการฟัง, อินฺทฺริยาณิ — ประสาทสัมผัส, อเนฺย — ผู้อื่น, สํยม — หน่วงเหนี่ยว, อคฺนิษุ — ในไฟ, ชุหฺวติ — ถวาย, ศพฺท-อาทีนฺ — คลื่นเสียง ฯลฯ, วิษยานฺ — อายตนะภายนอกเพื่อสนองประสาทสัมผัส, อเนฺย — ผู้อื่น, อินฺทฺริย — ประสาทสัมผัส, อคฺนิษุ — ในไฟ, ชุหฺวติ — พวกเขาบูชา
คำแปล
บางคน (พฺรหฺมจารี ผู้บริสุทธิ์) บูชาวิธีการสดับฟัง และประสาทสัมผัสไปในเพลิงแห่งการควบคุมจิตใจ และบางคน (คฤหัสถ์ผู้มีวินัย) ถวายอายตนะภายนอกไปในเพลิงแห่งประสาทสัมผัส
คำอธิบาย
สมาชิกของสี่ระดับแห่งชีวิตมนุษย์ เช่น พฺรหฺมจารี, คฺฤหสฺถ, วานปฺรสฺถ และ สนฺนฺยาสี ทั้งหมดมีจุดมุ่งหมายเพื่อมาเป็นโยคี หรือนักทิพย์นิยมที่สมบูรณ์เพราะว่าชีวิตมนุษย์มิได้มีไว้เพื่อหาความสุขด้วยการสนองประสาทสัมผัสเหมือนพวกสัตว์ ชีวิตมนุษย์จึงถูกจัดแบ่งไว้สี่ระดับเพื่อเราอาจบรรลุถึงความสมบูรณ์ในชีวิตทิพย์ พฺรหฺมจารี หรือนักศึกษาภายใต้การดูแลของพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ การควบคุมจิตใจของตนเองด้วยการละเว้นการสนองประสาทสัมผัส พฺรหฺมจารี จะสดับฟังเฉพาะคำพูดที่เกี่ยวกับกฺฤษฺณจิตสำนึก การสดับฟังคือหลักปฏิบัติพื้นฐานเพื่อความเข้าใจ ดังนั้น พฺรหฺมจารี ผู้บริสุทธิ์จะต้องปฏิบัติตนอย่างเต็มที่ใน หเรรฺ นามานุกีรฺตนมฺ หรือการสวดมนต์ภาวนา และการสดับฟังคำสรรเสริญพระบารมีขององค์ภควานฺ โดยจะหลีกเลี่ยงคลื่นเสียงวัตถุและสดับฟังเฉพาะคลื่นเสียงทิพย์ของ หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ ในลักษณะเดียวกันคฤหัสถ์ผู้ได้รับอนุญาตในการสนองประสาทสัมผัสปฏิบัติตนด้วยความอดกลั้นเป็นอย่างมาก โดยทั่วไปสังคมมนุษย์มีนิสัยชอบชีวิตเพศสัมพันธ์ ยาเสพติด และรับประทานเนื้อสัตว์ แต่คฤหัสถ์ผู้มีวินัยจะไม่ปล่อยตัวตามใจไปกับชีวิตเพศสัมพันธ์ และการสนองประสาทสัมผัสที่ไร้วินัย ฉะนั้นการสมรสตามหลักของชีวิตทางศาสนาจึงปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ในสังคมที่มีอารยธรรม เพราะว่านั่นคือชีวิตเพศสัมพันธ์ที่มีระเบียบวินัย ชีวิตเพศสัมพันธ์ที่มีวินัยและไม่ยึดติดเช่นนี้ก็เป็น ยชฺญ ชนิดหนึ่ง เพราะว่าคฤหัสถ์ผู้มีระเบียบวินัยจะถวายนิสัยชอบสนองประสาทสัมผัสของตนเองโดยทั่วไปเพื่อชีวิตทิพย์ที่สูงกว่า
sarvāṇīndriya-karmāṇi
prāṇa-karmāṇi cāpare
ātma-saṁyama-yogāgnau
juhvati jñāna-dīpite
สรฺวาณีนฺทฺริย-กรฺมาณิ
ปฺราณ-กรฺมาณิ จาปเร
อาตฺม-สํยม-โยคาคฺเนา
ชุหฺวติ ชฺญาน-ทีปิเต
สรฺวาณิ — ของทั้งหมด, อินฺทฺริย — ประสาทสัมผัส, กรฺมาณิ — หน้าที่, ปฺราณ-กรฺมาณิ — หน้าที่ของลมหายใจแห่งชีวิต, จ — เช่นกัน, อปเร — คนอื่นๆ, อาตฺม-สํยม — ของการควบคุมจิตใจ, โยค — วิธีการเชื่อม, อคฺเนา — ในไฟแห่ง, ชุหฺวติ — ถวาย, ชฺญาน-ทีปิเต — เพราะแรงกระตุ้นเพื่อความรู้แจ้งแห่งตน
คำแปล
คนอื่นผู้สนใจการบรรลุความรู้แจ้งแห่งตนด้วยการควบคุมจิตใจและประสาทสัมผัส ถวายหน้าที่ของประสาทสัมผัสทั้งหมดและลมปราณแห่งชีวิตเพื่อเป็นการบวงสรวงไปในไฟแห่งการควบคุมจิตใจ
คำอธิบาย
ระบบโยคะที่เริ่มโดย พะทันจะลิ ได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้ ใน โยค-สูตฺร ของพะทันจะลิ เรียกดวงวิญญาณว่า ปฺรตฺยคฺ-อาตฺมา และ ปราคฺ-อาตฺมา ตราบใดที่ดวงวิญญาณยึดติดอยู่กับความสุขทางประสาทสัมผัสเรียกว่า ปราคฺ-อาตฺมา แต่ในทันทีที่วิญญาณดวงเดียวกันนี้ไม่ยึดติดกับความสุขทางประสาทสัมผัสเรียกว่า ปฺรตฺยคฺ-อาตฺมา ดวงวิญญาณอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของลมสิบชนิดที่ทำงานอยู่ภายในร่างกายสำเหนียกได้โดยผ่านทางระบบการหายใจ ระบบโยคะพะทันจะลิจะสอนเราให้ควบคุมหน้าที่ของลมภายในร่างกายแบบใช้เทคนิค เพื่อในที่สุดหน้าที่ทั้งหมดของลมภายในจะเอื้ออำนวยให้ดวงวิญญาณบริสุทธิ์ขึ้นจากการยึดติดกับวัตถุ ตามระบบโยคะนี้ ปฺรตฺยคฺ-อาตฺมา คือจุดมุ่งหมายสูงสุด ปฺรตฺยคฺ-อาตฺมา นี้ถอนตัวจากกิจกรรมทางวัตถุ การกระทบกันระหว่างอายตนะภายในและอายตนะภายนอก เช่น หูกับการฟังจมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส มือกับสัมผัส ทั้งหมดเป็นการปฏิบัติกิจกรรมนอกตัวเรา เรียกว่าหน้าที่ของ ปฺราณ-วายุ ลม อปาน-วายุ ลงข้างล่าง วฺยาน-วายุ หดตัวและขยายตัว สมาน-วายุ ปรับสมดุล อุทาน-วายุ ขึ้นข้างบน และเมื่อได้รับแสงสว่างเราจะทำทั้งหมดนี้เพื่อค้นหาความรู้แจ้งแห่งตน
dravya-yajñās tapo-yajñā
yoga-yajñās tathāpare
svādhyāya-jñāna-yajñāś ca
yatayaḥ saṁśita-vratāḥ
ทฺรวฺย-ยชฺญาสฺ ตโป-ยชฺญา
โยค-ยชฺญาสฺ ตถาปเร
สฺวาธฺยาย-ชฺญาน-ยชฺญาศฺ จ
ยตยห์ สํศิต-วฺรตาห์
ทฺรวฺย-ยชฺญาห์ — บูชาสิ่งของของตน, ตปห์-ยชฺญาห์ — บูชาในความสมถะ, โยค-ยชฺญาห์ — บูชาในระบบเข้าฌานทั้งแปด, ตถา — ดังนั้น, อปเร — ผู้อื่น, สฺวาธฺยาย — บูชาในการศึกษาคัมภีร์พระเวท, ชฺญาน-ยชฺญาห์ — ถวายในการพัฒนาความรู้ทิพย์, จ — เช่นกัน, ยตยห์ — ผู้ได้รับแสงสว่าง, สํศิต-วฺรตาห์ — ปฏิญาณตนโดยเคร่งครัด
คำแปล
จากการถือคำปฏิญาณโดยเคร่งครัด บางคนรู้แจ้งด้วยการบูชาสิ่งของของตน และบางคนปฏิบัติสมถะความเพียรอย่างเคร่งครัดด้วยการฝึกโยคะอิทธิฤทธิ์แปดวิธี หรือด้วยการศึกษาคัมภีร์พระเวทเพื่อพัฒนาความรู้ทิพย์
คำอธิบาย
การบูชาทั้งหมดนี้อาจจัดอยู่ในประเภทต่างๆกัน มีบุคคลผู้บูชาสิ่งของของตนในรูปของการบริจาคทานต่างๆในประเทศอินเดีย กลุ่มนักธุรกิจคนรวยหรือกลุ่มผู้มียศเป็นเจ้าจะเปิดสถาบันการกุศลต่างๆ เช่น ธรฺม-ศาลา, อนฺน-กฺเษตฺร, อติถิ-ศาลา, อนาถาลย และ วิทฺยา-ปีฐ ในประเทศต่างๆก็เช่นเดียวกันมีโรงพยาบาลบ้านผู้สูงอายุและมูลนิธิการกุศลแบบนี้มากมายที่แจกจ่ายอาหาร การศึกษา และรักษาโรคฟรีสำหรับคนจน กิจกรรมการกุศลทั้งหมดนี้เรียกว่า ทฺรวฺยมย-ยชฺญ มีบางคนอาสาปฏิบัติสมถะมากมายเพื่อความเจริญสูงขึ้นในชีวิต หรือเพื่อส่งเสริมให้ไปสู่โลกที่สูงกว่าภายในจักรวาล เช่น จนฺทฺรายณ และ จาตุรฺมาสฺย วิธีการเหล่านี้มีเงื่อนไขคำอธิฐานที่เคร่งครัดในการใช้ชีวิตภายใต้กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดกวดขัน ตัวอย่างเช่น ภายใต้คำปฏิญาณ จาตุรฺมาสฺย ผู้อาสาจะไม่โกนหนวดเป็นเวลาสี่เดือนในหนึ่งปี (เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม) จะไม่รับประทานอาหารบางชนิด ไม่รับประทานวันละสองมื้อ และไม่ออกไปจากบ้าน การถวายบูชาความสะดวกสบายของชีวิตเช่นนี้เรียกว่า ตโปมย-ยชฺญ ยังมีบางคนปฏิบัติโยคะ การเข้าฌานต่างๆ เช่น ระบบ ปตญฺชลิ (เพื่อกลืนเข้าไปในความเป็นอยู่แห่งสัจธรรม) หรือ หฐ-โยค หรือ อษฺฏางฺค-โยค (เพื่อความสมบูรณ์บางอย่างโดยเฉพาะ) และบางคนเดินทางไปตามสถานที่ทางศักดิ์สิทธิ์ต่างๆของนักบุญ การปฏิบัติทั้งหมดนี้เรียกว่า โยค-ยชฺญ ถวายการบูชาเพื่อความสมบูรณ์บางประการในโลกวัตถุ มีบางคนศึกษาวรรณกรรมพระเวทต่างๆโดยเฉพาะ เช่น อุปนิษทฺ และ เวทานฺต-สูตฺร หรือปรัชญา สางฺขฺย ทั้งหมดนี้เรียกว่า สฺวาธฺยาย-ยชฺญ หรือปฏิบัติตนถวายบูชาด้วยการศึกษาโยคะ ทั้งหมดนี้ปฏิบัติด้วยความศรัทธาในการถวายการบูชาต่างๆและค้นหาสภาวะชีวิตที่สูงกว่า อย่างไรก็ดีกฺฤษฺณจิตสำนึกแตกต่างจากสิ่งเหล่านี้เพราะว่าเป็นการรับใช้องค์ภควานฺโดยตรง เราไม่สามารถบรรลุถึงกฺฤษฺณจิตสำนึกได้ด้วยการถวายบูชาวิธีหนึ่งวิธีใดดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ แต่เราสามารถบรรลุได้โดยพระเมตตาธิคุณขององค์ภควานฺและสาวกผู้เชื่อถือได้ของพระองค์เท่านั้น ดังนั้นกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงเป็นทิพย์
apāne juhvati prāṇaṁ
prāṇe ’pānaṁ tathāpare
prāṇāpāna-gatī ruddhvā
prāṇāyāma-parāyaṇāḥ
apare niyatāhārāḥ
prāṇān prāṇeṣu juhvati
อปาเน ชุหฺวติ ปฺราณํ
ปฺราเณ ’ปานํ ตถาปเร
ปฺราณาปาน-คตี รุทฺธฺวา
ปฺราณายาม-ปรายณาห์
อปเร นิยตาหาราห์
ปฺราณานฺ ปฺราเณษุ ชุหฺวติ
อปาเน — ในลมซึ่งเดินลงข้างล่าง, ชุหฺวติ — ถวาย, ปฺราณมฺ — ลมเดินออกข้างนอก, ปฺราเณ — ในลมที่เดินออก, อปานมฺ — ลมเดินลงข้างล่าง, ตถา — เป็นเช่นเดียวกัน, อปเร — คนอื่น, ปฺราณ — ของลมเดินออก, อปาน — และลมเดินลงข้างล่าง, คตี — การเคลื่อนไหว, รุทฺธฺวา — ตรวจสอบ, ปฺราณ-อายาม — ฌานอันเกิดจากการกลั้นลมหายใจทั้งหมด, ปรายณาห์ — เอนเอียง, อปเร — คนอื่น, นิยต — ควบคุม, อาหาราห์ — การรับประทาน, ปฺราณานฺ — ลมที่เดินออก, ปฺราเณษุ — ในลมที่เดินออก, ชุหฺวติ — บูชา
คำแปล
ยังมีผู้อื่นที่ชอบวิธีการกลั้นลมหายใจให้อยู่ในฌาน ปฏิบัติด้วยการถวายการเคลื่อนไหวของลมหายใจออกไปในลมหายใจเข้า และถวายลมหายใจเข้าไปในลมหายใจออก และในที่สุดจะอยู่ในฌาน หยุดการหายใจทั้งหมด และยังมีผู้อื่นตัดทอนวิธีการรับประทานอาหารถวายลมหายใจออกไปในตัวมันเองเป็นการบูชา
คำอธิบาย
ระบบโยคะแห่งการควบคุมขบวนการหายใจนี้เรียกว่า ปฺราณายาม ในตอนต้นฝึกปฏิบัติในระบบ หฐ-โยค ด้วยท่านั่งต่างๆ วิธีการทั้งหมดนี้แนะนำเพื่อให้ควบคุมประสาทสัมผัส และพัฒนาในความรู้แจ้งทิพย์ การปฏิบัติเช่นนี้เกี่ยวกับการควบคุมลมต่างๆภายในร่างกายเพื่อให้มันเดินไปในทางตรงกันข้าม ลม อปาน เดินลงข้างล่างและลม ปฺราณ เดินขึ้นข้างบน ปฺราณายาม-โยคี ฝึกปฏิบัติการหายใจไปในทางตรงกันข้ามจนกว่ากระแสลมจะเป็นกลางอยู่ใน ปูรก หรือดุลยภาพสงบนิ่ง การถวายลมหายใจออกไปในลมหายใจเข้าเรียกว่า เรจก เมื่อลมทั้งสองกระแสหยุดแน่นิ่งกล่าวได้ว่าผู้นั้นอยู่ใน กุมฺภก-โยค ด้วยการฝึกปฏิบัติ กุมฺภก-โยค เราสามารถเพิ่มเวลาให้แก่ชีวิตเพื่อความสมบูรณ์แห่งความรู้แจ้งทิพย์ โยคีผู้มีปัญญาสนใจในการบรรลุความสมบูรณ์ในชาติเดียวโดยไม่ต้องรอชาติหน้าด้วยการฝึกปฏิบัติ กุมฺภก-โยค พวกโยคีสามารถเพิ่มเวลาให้แก่ชีวิตได้หลายต่อหลายปี อย่างไรก็ดีบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกสถิตในการปฏิบัติรับใช้ทิพย์ด้วยความรักต่อองค์ภควานฺ และเป็นผู้ควบคุมประสาทสัมผัสได้โดยปริยาย ประสาทสัมผัสของท่านปฏิบัติรับใช้องค์กฺฤษฺณเสมอโดยไม่เปิดโอกาสให้ไปทำอย่างอื่น ดังนั้นในบั้นปลายของชีวิตจะถูกย้ายไปสู่ระดับทิพย์แห่งองค์กฺฤษฺณโดยธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้จึงไม่พยายามต่ออายุ ท่านได้ยกระดับมาถึงจุดหลุดพ้นทันที ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา (14.26)
มำ จ โย ’วฺยภิจาเรณ
ภกฺติ-โยเคน เสวเต
ส คุณานฺ สมตีไตฺยตานฺ
พฺรหฺม-ภูยาย กลฺปเต
“ผู้ที่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺด้วยความบริสุทธิ์ใจได้ข้ามพ้นระดับต่างๆของธรรมชาติวัตถุ และพัฒนามาสู่ระดับทิพย์โดยทันที” บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกเริ่มต้นจากระดับทิพย์และจะอยู่ในจิตสำนึกเช่นนี้เสมอ ดังนั้นจึงไม่มีการตกต่ำลงและในที่สุดจะบรรลุถึงอาณาจักรขององค์ภควานฺโดยไม่ล่าช้า การฝึกปฏิบัติตัดทอนการรับประทานอาหารทำไปโดยปริยายเมื่อเรารับประทาน กฺฤษฺณ-ปฺรสาทมฺ หรืออาหารที่ถวายให้องค์ภควานฺก่อนเท่านั้น วิธีการลดอาหารช่วยได้มากในเรื่องของการควบคุมประสาทสัมผัส หากปราศจากการควบคุมประสาทสัมผัสก็เป็นไปไม่ได้ที่จะหลุดออกจากพันธนาการทางวัตถุ
sarve ’py ete yajña-vido
yajña-kṣapita-kalmaṣāḥ
yajña-śiṣṭāmṛta-bhujo
yānti brahma sanātanam
สเรฺว ’ปฺยฺ เอเต ยชฺญ-วิโท
ยชฺญ-กฺษปิต-กลฺมษาห์
ยชฺญ-ศิษฺฏามฺฤต-ภุโช
ยานฺติ พฺรหฺม สนาตนมฺ
สเรฺว — ทั้งหมด, อปิ — แม้ว่าดูเหมือนแตกต่างกัน, เอเต — เหล่านี้, ยชฺญ-วิทห์ — รอบรู้กับจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติพิธีบวงสรวง, ยชฺญ-กฺษปิต — บริสุทธิ์ขึ้นจากผลของการปฏิบัติเช่นนี้, กลฺมษาห์ — ของผลบาป, ยชฺญ-ศิษฺฏ — ของผลแห่งการปฏิบัติ ยชฺญ เช่นนี้, อมฺฤต-ภุชห์ — ผู้ที่ได้รับรสน้ำทิพย์นี้, ยานฺติ — เข้าพบ, พฺรหฺม — สูงสุด, สนาตนมฺ — บรรยากาศนิรันดร
คำแปล
ผู้ปฏิบัติทั้งหลายที่รู้ความหมายของการถวายบูชาทำให้บริสุทธิ์จากผลบาป และได้รับรสน้ำทิพย์จากผลแห่งการถวายบูชา พวกเขาพัฒนาไปสู่บรรยากาศสูงสุดนิรันดร
คำอธิบาย
การอธิบายวิธีการถวายบูชาต่างๆข้างต้นนี้ (เช่น การถวายบูชาสิ่งของของตน การศึกษาคัมภีร์พระเวท หรือคำสอนปรัชญา และการปฏิบัติตามระบบโยคะ) เราได้พบว่าจุดมุ่งหมายทั้งหมดนี้เพื่อควบคุมประสาทสัมผัส การสนองประสาทสัมผัสคือสาเหตุแห่งการเป็นอยู่ทางวัตถุ ฉะนั้นนอกจากเราจะสถิตในระดับที่ปลีกตัวออกห่างจากการสนองประสาทสัมผัสมิฉะนั้นจะไม่มีโอกาสพัฒนามาถึงระดับอมตะแห่งความรู้อันสมบูรณ์ เต็มไปด้วยความปลื้มปีติสุข และเต็มไปด้วยชีวิตทิพย์ ระดับนี้อยู่ในบรรยากาศนิรันดรหรือบรรยากาศแห่ง พฺรหฺมนฺ การถวายบูชาที่กล่าวมาทั้งหมดช่วยให้เราบริสุทธิ์จากผลบาปแห่งการเป็นอยู่ทางวัตถุ ด้วยการพัฒนาชีวิตเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้เรามีความสุขและมั่งคั่งในชีวิตนี้ แต่ในที่สุดเราจะบรรลุถึงอาณาจักรนิรันดรแห่งองค์ภควานฺด้วย ไม่ว่าจะกลืนเข้าไปใน พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ หรือไปคบหาสมาคมกับบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์ศฺรี กฺฤษฺณ
nāyaṁ loko ’sty ayajñasya
kuto ’nyaḥ kuru-sattama
นายํ โลโก ’สฺตฺยฺ อยชฺญสฺย
กุโต ’นฺยห์ กุรุ-สตฺตม
น — ไม่เคย, อยมฺ — นี้, โลกห์ — โลก, อสฺติ — มี, อยชฺญสฺย — สำหรับผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติการถวายบูชา, กุตห์ — มีที่ไหน, อนฺยห์ — ผู้อื่น, กุรุ-สตฺ-ตม — โอ้ ผู้ยอดเยี่ยมในหมู่คุรุ
คำแปล
โอ้ ผู้ยอดเยี่ยมแห่งราชวงศ์ กุรุ ปราศจากการถวายบูชาเราจะไม่มีความสุขอยู่บนโลกนี้หรือในชีวิตนี้ แล้วอะไรจะเกิดขึ้นในชาติหน้า
คำอธิบาย
ไม่ว่าเราจะมีชีวิตอยู่ทางวัตถุในรูปลักษณ์ใดก็ตาม เราก็ยังจะอยู่ในอวิชชาเกี่ยวกับสถานภาพอันแท้จริงของเราอย่างถาวร หรืออีกนัยหนึ่งการมีชีวิตอยู่ในโลกวัตถุก็เนื่องมาจากผลกรรมอันมากมายจากความบาปหลายๆชาติของเรา อวิชชาคือต้นเหตุของชีวิตบาป และชีวิตบาปคือต้นเหตุที่ฉุดให้เราอยู่ต่อในชีวิตทางวัตถุ ชีวิตในร่างมนุษย์เป็นหนทางเดียวที่อาจจะออกไปจากพันธนาการเช่นนี้ได้ ฉะนั้นคัมภีร์พระเวทจึงเปิดโอกาสให้เราหลบหนีโดยการชี้วิถีทางแห่งศาสนา ความสะดวกทางเศรษฐกิจ การประมาณการสนองประสาทสัมผัส และในที่สุดวิถีทางที่จะออกจากสภาวะแห่งความทุกข์ทั้งหมด วิถีทางแห่งศาสนาหรือการถวายบูชาต่างๆที่ได้แนะนำมาแล้วข้างต้นจะแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจได้โดยปริยาย ด้วยการปฏิบัติ ยชฺญ เราจะมีอาหาร นม และอื่นๆเพียงพอ แม้จะมีประชากรเพิ่มมากขึ้นเมื่อร่างกายได้รับอาหารเพียงพอโดยธรรมชาติขั้นต่อไปจะสนองประสาทสัมผัส ดังนั้นคัมภีร์พระเวทจึงแนะนำพิธีสมรสอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อประมาณการสนองประสาทสัมผัส จากนั้นเราจะค่อยๆพัฒนามาถึงระดับที่ปล่อยวางจากพันธนาการทางวัตถุและความสมบูรณ์สูงสุดแห่งชีวิต อิสรเสรีคือการมาคบหาสมาคมกับองค์ภควานฺ ความสมบูรณ์บรรลุได้ด้วยการปฏิบัติ ยชฺญ (การถวายบูชา) ดังที่ได้อธิบายมาข้างต้น หากเรายังไม่ชอบการปฏิบัติ ยชฺญ ตามคัมภีร์พระเวท เราก็ยังคาดหวังชีวิตที่มีความสุขแม้ในร่างนี้ไม่ได้ แล้วจะพูดถึงร่างหน้าในโลกหน้าได้อย่างไร มีระดับแห่งความสะดวกสบายทางวัตถุที่แตกต่างกันในโลกสวรรค์ และทั้งหมดมีความสุขอย่างมหาศาลสำหรับผู้ปฏิบัติ ยชฺญ ต่างๆ แต่ความสุขสูงสุดที่มนุษย์สามารถบรรลุได้คือ ได้รับการส่งเสริมให้ไปถึงโลกทิพย์ด้วยการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึก ดังนั้นชีวิตของกฺฤษฺณจิตสำนึกคือผลสรุปในการแก้ปัญหาชีวิตทางวัตถุทั้งปวง
evaṁ bahu-vidhā yajñā
vitatā brahmaṇo mukhe
karma-jān viddhi tān sarvān
evaṁ jñātvā vimokṣyase
เอวํ พหุ-วิธา ยชฺญา
วิตตา พฺรหฺมโณ มุเข
กรฺม-ชานฺ วิทฺธิ ตานฺ สรฺวานฺ
เอวํ ชฺญาตฺวา วิโมกฺษฺยเส
เอวมฺ — ดังนั้น, พหุ-วิธาห์ — ชนิดต่างๆของ, ยชฺญาห์ — การบูชา, วิตตาห์ — เผยแพร่, พฺรหฺมณห์ — ของคัมภีร์พระเวท, มุเข — ผ่านทางพระโอษฐ์, กรฺม-ชานฺ — เกิดจากงาน, วิทฺธิ — เธอควรรู้, ตานฺ — พวกเขา, สรฺวานฺ — ทั้งหมด, เอวมฺ — ดังนั้น, ชฺญาตฺวา — รู้, วิโมกฺษฺยเส — เธอจะเป็นอิสรเสรี
คำแปล
การบูชาต่างๆทั้งหมดนี้คัมภีร์พระเวทได้รับรอง และทั้งหมดเกิดขึ้นจากงานที่แตกต่างกันไป เมื่อทราบเช่นนี้เธอจะมีอิสรภาพ
คำอธิบาย
การถวายเพื่อเป็นการบูชาต่างๆดังที่ได้อธิบายข้างต้น ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์พระเวทเพื่อให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติที่ไม่เหมือนกันเพราะว่ามนุษย์ซึมซาบอย่างลึกซึ้งในแนวคิดทางร่างกาย การถวายบูชาเหล่านี้จัดไว้เพื่อให้เราสามารถปฏิบัติได้ไม่ว่าในทางร่างกาย ทางจิตใจ หรือทางปัญญา แต่ทั้งหมดแนะนำให้เราได้รับอิสรเสรีภาพจากร่างกายในที่สุด ณ ที่นี้ องค์ภควานฺทรงยืนยันด้วยพระโอษฐ์ของพระองค์เอง
śreyān dravya-mayād yajñāj
jñāna-yajñaḥ paran-tapa
sarvaṁ karmākhilaṁ pārtha
jñāne parisamāpyate
เศฺรยานฺ ทฺรวฺย-มยาทฺ ยชฺญาชฺ
ชฺญาน-ยชฺญห์ ปรนฺ-ตป
สรฺวํ กรฺมาขิลํ ปารฺถ
ชฺญาเน ปริสมาปฺยเต
เศฺรยานฺ — ยิ่งใหญ่กว่า, ทฺรวฺย-มยาตฺ — ของความเป็นเจ้าของวัตถุ, ยชฺญาตฺ — กว่าการถวายการบูชา, ชฺญาน-ยชฺญห์ — ถวายในความรู้, ปรมฺ-ตป — โอ้ ผู้กำราบศัตรู, สรฺวมฺ — ทั้งหมด, กรฺม — กิจกรรม, อขิลมฺ — ในทั้งหมด, ปารฺถ — โอ้ โอรสของพระนาง ปฺฤถา, ชฺญาเน — ในความรู้, ปริสมาปฺยเต — สุดท้าย
คำแปล
โอ้ ผู้กำราบศัตรู การบูชาปฏิบัติไปด้วยความรู้ดีกว่าถวายการบูชาด้วยเพียงสิ่งของวัตถุเท่านั้น โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา ในที่สุดการถวายการบูชาของงานทั้งหมดจะมาจบลงที่ความรู้ทิพย์
คำอธิบาย
จุดมุ่งหมายของการถวายบูชาทั้งหมดเพื่อให้มาถึงระดับแห่งความรู้อันสมบูรณ์ หลุดพ้นจากความทุกข์ทางวัตถุ และในที่สุดจะมาปฏิบัติรับใช้ทิพย์ต่อองค์ภควานฺ (กฺฤษฺณจิตสำนึก) ด้วยความรัก มีความเร้นลับเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆในการถวายบูชาทั้งหมดนี้ และเราควรทราบความเร้นลับนี้ บางครั้งการถวายบูชามาในรูปแบบต่างๆกันตามความศรัธทาโดยเฉพาะของผู้ปฏิบัติ เมื่อความศรัทธาของเราไปถึงระดับแห่งความรู้ทิพย์ ผู้ปฏิบัติการถวายบูชาควรพิจารณาได้ว่าเป็นผู้ที่เจริญกว่า พวกที่เพียงแต่ถวายบูชาสิ่งของโดยไม่มีความรู้เช่นนี้ปราศจากความรู้ การถวายบูชายังคงอยู่ในระดับวัตถุและไม่ได้รับผลประโยชน์ทิพย์ ความรู้ที่แท้จริงคือการมาถึงจุดสุดยอดในกฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งเป็นระดับสูงสุดของความรู้ทิพย์ ปราศจากการพัฒนาความรู้ การถวายบูชาเป็นเพียงกิจกรรมทางวัตถุ อย่างไรก็ดีเมื่อพัฒนาไปถึงระดับความรู้ทิพย์กิจกรรมทั้งหมดนั้นก็จะขึ้นไปสู่ระดับทิพย์ มันขึ้นอยู่กับจิตสำนึกที่แตกต่างกันกิจกรรมถวายการบูชาบางครั้งเรียกว่า กรฺม-กาณฺฑ (กิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ) และบางครั้งเป็น ชฺญาน-กาณฺฑ (ความรู้เพื่อแสวงหาสัจธรรม) เมื่อในที่สุดมาจบลงที่ความรู้จะดีกว่า
tad viddhi praṇipātena
paripraśnena sevayā
upadekṣyanti te jñānaṁ
jñāninas tattva-darśinaḥ
ตทฺ วิทฺธิ ปฺรณิปาเตน
ปริปฺรศฺเนน เสวยา
อุปเทกฺษฺยนฺติ เต ชฺญานํ
ชฺญานินสฺ ตตฺตฺว-ทรฺศินห์
ตตฺ — ความรู้แห่งการถวายบูชาต่างๆ, วิทฺธิ — พยายามเข้าใจ, ปฺรณิปาเตน — ด้วยการเข้าพบพระอาจารย์ทิพย์, ปริปฺรศฺเนน — ด้วยคำถามที่อ่อนน้อม, เสวยา — ด้วยการถวายการรับใช้, อุปเทกฺษฺยนฺติ — ท่านจะเริ่มสอน, เต — เธอ, ชฺญานมฺ — ในความรู้, ชฺญานินห์ — ผู้รู้แจ้งแห่งตน, ตตฺตฺว — ของสัจธรรม, ทรฺศินห์ — ผู้เห็น
คำแปล
เพียงแต่พยายามเรียนรู้สัจธรรมด้วยการเข้าพบพระอาจารย์ทิพย์ ถามท่านด้วยความอ่อนน้อมยอมจำนน และถวายการรับใช้แด่ท่าน ดวงวิญญาณผู้รู้แจ้งแห่งตนสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แด่เธอ เพราะท่านได้พบเห็นสัจธรรมแล้ว
คำอธิบาย
หนทางแห่งความรู้แจ้งทิพย์เป็นสิ่งที่ยากโดยไม่ต้องสงสัย ฉะนั้นทรงแนะนำเราให้เข้าพบพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ที่อยู่ในสาย ปรมฺปรา เริ่มต้นจากองค์ภควานฺเอง ไม่มีใครสามารถเป็นพระอาจารย์ทิพย์ที่เชื่อถือได้โดยปราศจากการปฏิบัติตามหลักธรรมแห่ง ปรมฺปรา นี้ องค์ภควานฺทรงเป็นพระอาจารย์ทิพย์องค์แรก และบุคคลในสาย ปรมฺปรา สามารถถ่ายทอดสาสน์แห่งองค์ภควานฺที่เหมือนเดิมให้แก่สาวก ไม่มีผู้ใดสามารถรู้แจ้งทิพย์ได้ด้วยการผลิตวิธีการของตนเอง เหมือนดังที่เป็นแฟชั่นของพวกจอมปลอมผู้ด้อยปัญญา ภาควต (6.3.19) กล่าวว่า ธรฺมํ ตุ สากฺษาทฺ ภควตฺ-ปฺรณีตมฺ องค์ภควานฺทรงเป็นผู้กำหนดวิถีทางแห่งศาสนาโดยตรง ดังนั้นการคาดคะเนทางจิตใจหรือการถกเถียงอย่างลมๆแล้งๆจึงไม่สามารถช่วยนำเราไปสู่หนทางที่ถูกต้องได้ หรือด้วยการศึกษาหนังสือแห่งความรู้โดยเสรีก็ไม่สามารถทำให้เจริญก้าวหน้าในชีวิตทิพย์ได้ เราต้องเข้าพบพระอาจารย์ผู้เชื่อถือได้และรับความรู้จากท่าน พระอาจารย์ทิพย์เช่นนี้ควรได้รับการยอมรับด้วยการศิโรราบอย่างราบคาบ และเราควรรับใช้พระอาจารย์ทิพย์เหมือนกับคนรับใช้โดยปราศจากการถือศักดิ์ศรีที่ผิดๆ การทำให้พระอาจารย์ทิพย์ผู้รู้แจ้งแห่งตนพึงพอใจคือเคล็ดลับแห่งความเจริญก้าวหน้าในชีวิตทิพย์ การถามคำถามและความอ่อนน้อมยอมจำนนนั้นเป็นปัจจัยอย่างดีที่รวมกันเพื่อให้เราเข้าใจวิถีทิพย์ เฉพาะการถามคำถามเพียงอย่างเดียวจากพระอาจารย์ทิพย์ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ได้ส่งผลอะไรมากมาย นอกจากว่าเราจะมีการยอมจำนนและการรับใช้ท่าน เราจะต้องผ่านการทดสอบของพระอาจารย์ทิพย์ และเมื่อเห็นความปรารถนาอันบริสุทธิ์ใจของสาวกท่านจะประทานพรแก่สาวกให้เข้าใจวิถีทิพย์อย่างถ่องแท้โดยปริยาย โศลกนี้การปฏิบัติตามเยี่ยงคนตาบอด และคำถามที่เหลวไหลไร้สาระไม่เป็นที่ยอมรับ ไม่เพียงแต่ว่าเราควรสดับฟังด้วยการยอมจำนนต่อพระอาจารย์ทิพย์เท่านั้น แต่เรายังต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้จากท่านอีกด้วย จากการยอมจำนน การรับใช้ และคำถามโดยธรรมชาติ พระอาจารย์ทิพย์ผู้ที่เชื่อถือได้จะมีความเมตตากรุณาต่อสาวกมาก ฉะนั้นเมื่อนักศึกษายอมจำนน และพร้อมที่จะถวายการรับใช้อยู่เสมอ การตอบสนองความรู้และคำถามก็จะสมบูรณ์
yaj jñātvā na punar moham
evaṁ yāsyasi pāṇḍava
yena bhūtāny aśeṣāṇi
drakṣyasy ātmany atho mayi
ยชฺ ชฺญาตฺวา น ปุนรฺ โมหมฺ
เอวํ ยาสฺยสิ ปาณฺฑว
เยน ภูตานฺยฺ อเศษาณิ
ทฺรกฺษฺยสฺยฺ อาตฺมนฺยฺ อโถ มยิ
ยตฺ — ซึ่ง, ชฺญาตฺวา — รู้, น — ไม่เคย, ปุนห์ — อีกครั้ง, โมหมฺ — ความหลง, เอวมฺ — เหมือนนี้, ยาสฺยสิ — เธอจะไป, ปาณฺฑว — โอ้ โอรสของ ปาณฺฑุ, เยน — โดยซึ่ง, ภูตานิ — สิ่งมีชีวิต, อเศษาณิ — ทั้งหมด, ทฺรกฺษฺยสิ — เธอจะเห็น, อาตฺมนิ — ในดวงวิญญาณสูงสุด, อถ อุ — หรืออีกนัยหนึ่ง, มยิ — ในข้า
คำแปล
เมื่อได้รับความรู้ที่แท้จริงจากดวงวิญญาณผู้รู้แจ้งตนเอง เธอจะไม่ตกลงไปในความหลงนี้อีก ด้วยความรู้นี้เธอจะเห็นว่ามวลชีวิตเป็นส่วนขององค์ภควานฺ หรืออีกนัยหนึ่ง พวกเขาเป็นของข้า
คำอธิบาย
ผลของการได้รับความรู้จากดวงวิญญาณผู้รู้แจ้งแห่งตนหรือจากผู้รู้สิ่งต่างๆตามความเป็นจริงคือ การเรียนรู้ว่าสิ่งมีชีวิตทั้งมวลเป็นละอองอณูของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์ศฺรี กฺฤษฺณ ความรู้สึกที่ว่ามีชีวิตอยู่แยกจากองค์กฺฤษฺณเรียกว่า มายา (มา -ไม่ ยา -นี้) บางคนคิดว่าตัวเราไม่มีอะไรสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณ องค์กฺฤษฺณทรงเป็นเพียงบุคลิกภาพในประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ผู้หนึ่งเท่านั้น และสัจธรรมคือ พฺรหฺมนฺ ที่ไร้รูปลักษณ์ อันที่จริงได้กล่าวไว้แล้วใน ภควัท-คีตา ว่า พฺรหฺมนฺ ที่ไร้รูปลักษณ์นี้เป็นรัศมีส่วนพระองค์ขององค์กฺฤษฺณ องค์ภควานฺกฺฤษฺณทรงเป็นแหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง ใน พฺรหฺม-สํหิตา ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า แหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง แม้อวตารเป็นล้านๆองค์ทรงเป็นเพียงภาคที่แบ่งแยกออกมาจากองค์กฺฤษฺณเท่านั้น ในทำนองเดียวกันนี้สิ่งมีชีวิตก็เป็นส่วนที่แยกออกมาจากองค์กฺฤษฺณเช่นเดียวกัน นักปราชญ์ มายาวาที คิดผิดๆว่าองค์กฺฤษฺณทรงสูญเสียความเป็นตัวของพระองค์เองไปในอวตารต่างๆมากมาย ความคิดเช่นนี้โดยธรรมชาติเป็นแนวคิดทางวัตถุ เรามีประสบการณ์ในโลกวัตถุว่าสิ่งของสิ่งหนึ่งเมื่อถูกแบ่งแยกแจกจ่ายออกไปจะสูญเสียบุคลิกภาพเดิมของตัวเอง แต่นักปราชญ์ มายาวาที ไม่เข้าใจว่าความสมบูรณ์หมายความว่าหนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับหนึ่ง และหนึ่งลบหนึ่งก็เท่ากับหนึ่ง นี่คือกรณีที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความสมบูรณ์
เนื่องจากมีความต้องการความรู้ให้เพียงพอในศาสตร์แห่งความสมบูรณ์ แต่บัดนี้เราถูกครอบคลุมไปด้วยความหลงเช่นนี้จึงทำให้เราคิดว่าตัวเราไม่เกี่ยวข้องกับองค์กฺฤษฺณ ถึงแม้ว่าเราจะเป็นส่วนที่แยกมาจากองค์กฺฤษฺณแต่เรามิได้แตกต่างไปจากพระองค์ ความแตกต่างทางร่างกายของสิ่งมีชีวิตคือ มายา หรือไม่ใช่ความจริง เราทั้งหมดมีชีวิตอยู่เพื่อทำให้องค์กฺฤษฺณทรงพอพระทัย มายา เท่านั้นที่ทำให้ อรฺชุน ทรงคิดว่าความสัมพันธ์ทางร่างกายชั่วคราวกับวงศาคณาญาติของพระองค์มีความสำคัญมากกว่าความสัมพันธ์ทิพย์นิรันดรกับองค์กฺฤษฺณ คำสอนทั้งหมดของ คีตา ตั้งเป้าอยู่ที่จุดหมายนี้ว่าสิ่งมีชีวิตเป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์กฺฤษฺณ ไม่สามารถแยกไปจากองค์กฺฤษฺณได้ และความรู้สึกที่ว่าตัวเขาไม่เกี่ยวข้องกับองค์กฺฤษฺณ เรียกว่า มายา สิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ มีจุดมุ่งหมายที่ต้องทำให้สำเร็จจากการลืมจุดมุ่งหมายเดิมตั้งแต่สมัยดึกคำบรรพ์ทำให้สถิตในร่างต่างๆ เช่น ร่างมนุษย์ ร่างสัตว์ ร่างเทวดา ร่างกายที่แตกต่างกันเช่นนี้เกิดขึ้นจากการลืมการรับใช้ทิพย์ต่อพระองค์ แต่เมื่อปฏิบัติรับใช้ทิพย์ผ่านทางกฺฤษฺณจิตสำนึก ทันใดนั้นจะเป็นอิสระเสรีจากความหลงเขาสามารถได้รับความรู้อันบริสุทธิ์นี้จากพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้เท่านั้น จากนั้นก็หลีกเลี่ยงความหลงที่ว่าสิ่งมีชีวิตนั้นเทียบเท่ากับองค์กฺฤษฺณ ความรู้อันสมบูรณ์คือดวงวิญญาณสูงสุดองค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นที่พึ่งสูงสุดของมวลชีวิต และการยกเลิกที่พึ่งนี้เนื่องจากสิ่งมีชีวิตถูกพลังงานวัตถุทำให้หลงผิดคิดว่าตนเองมีบุคลิกภาพที่แยกออกไป ดังนั้นภายใต้มาตรฐานต่างๆของบุคลิกภาพทางวัตถุพวกเขาจึงลืมองค์กฺฤษฺณ อย่างไรก็ดี เมื่อสิ่งมีชีวิตผู้อยู่ในความหลงนี้สถิตในกฺฤษฺณจิตสำนึกเข้าใจได้ว่าพวกเขาอยู่บนหนทางเพื่อความหลุดพ้น ดังที่ได้ยืนยันไว้ใน ภาควต (2.10.6) มุกฺติรฺ หิตฺวานฺยถา-รูปํ สฺวรูเปณ วฺยวสฺถิติห์ ความหลุดพ้นหมายถึงสถิตในสถานภาพพื้นฐานเดิมของตนเองว่าเป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์กฺฤษฺณ (กฺฤษฺณจิตสำนึก)
api ced asi pāpebhyaḥ
sarvebhyaḥ pāpa-kṛt-tamaḥ
sarvaṁ jñāna-plavenaiva
vṛjinaṁ santariṣyasi
อปิ เจทฺ อสิ ปาเปภฺยห์
สเรฺวภฺยห์ ปาป-กฺฤตฺ-ตมห์
สรฺวํ ชฺญาน-ปฺลเวไนว
วฺฤชินํ สนฺตริษฺยสิ
อปิ — ถึงแม้, เจตฺ — ถ้า, อสิ — เธอเป็น, ปาเปภฺยห์ — ของคนบาป, สเรฺวภฺยห์ — ทั้งหมด, ปาป-กฺฤตฺ-ตมห์ — คนบาปที่สุด, สรฺวมฺ — ผลบาปทั้งหมดนี้, ชฺญาน-ปฺลเวน — ด้วยนาวาแห่งความรู้ทิพย์, เอว — แน่นอน, วฺฤชินมฺ — มหาสมุทรแห่งความทุกข์, สนฺตริษฺยสิ — เธอจะข้ามได้อย่างสมบูรณ์
คำแปล
ถึงแม้ว่าจะได้รับการพิจารณาว่าเป็นคนบาปที่สุดในหมู่คนบาปทั้งหลาย แต่เมื่อสถิตในนาวาแห่งความรู้ทิพย์ เธอจะสามารถข้ามพ้นมหาสมุทรแห่งความทุกข์ได้
คำอธิบาย
การเข้าใจสถานภาพพื้นฐานอันแท้จริงของตนเองอย่างถูกต้องในความสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะความเข้าใจเช่นนี้สามารถนำเราให้ออกจากการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดที่กำลังดำเนินอยู่ในมหาสมุทรแห่งอวิชชาได้โดยทันที โลกวัตถุนี้บางครั้งถือว่าเป็นมหาสมุทรแห่งอวิชชา บางครั้งถือว่าเป็นป่าที่กำลังถูกไฟเผาไหม้ เราอาจเป็นนักว่ายน้ำที่เก่งมากแต่ในมหาสมุทรการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดนั้นเป็นสิ่งที่ยากลำบากมาก ถ้าหากว่ามีใครคนหนึ่งยื่นมือเข้ามาอุ้มนักว่ายน้ำที่กำลังดิ้นรนต่อสู้อยู่ให้ออกจากมหาสมุทร ท่านผู้นี้ถือเป็นผู้ช่วยเหลือที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ความรู้อันสมบูรณ์ที่ได้รับจากบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าคือวิถีทางแห่งความหลุดพ้น นาวาแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกนั้นเรียบง่ายมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ประเสริฐที่สุด
yathaidhāṁsi samiddho ’gnir
bhasma-sāt kurute ’rjuna
jñānāgniḥ sarva-karmāṇi
bhasma-sāt kurute tathā
ยไถธำสิ สมิทฺโธ ’คฺนิรฺ
ภสฺม-สาตฺ กุรุเต ’รฺชุน
ชฺญานาคฺนิห์ สรฺว-กรฺมาณิ
ภสฺม-สาตฺ กุรุเต ตถา
ยถา — ดังเช่น, เอธำสิ — ไม้ฟืน, สมิทฺธห์ — เผาไหม้, อคฺนิห์ — ไฟ, ภสฺม-สาตฺ — เถ้าถ่าน, กุรุเต — เปลี่ยน, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน, ชฺญาน-อคฺนิห์ — ไฟแห่งความรู้, สรฺว-กรฺมาณิ — ผลกรรมจากกิจกรรมทางวัตถุทั้งหมด, ภสฺม-สาตฺ — เป็นเถ้าถ่าน, กุรุเต — มันกลับกลาย, ตถา — ในทำนองเดียวกัน
คำแปล
ดังเช่นเปลวไฟเปลี่ยนสภาพไม้ฟืนให้เป็นเถ้าถ่านได้ฉันใด โอ้ อรฺชุน ไฟแห่งความรู้ก็สามารถเผาผลาญผลกรรมทั้งมวลจากกิจกรรมทางวัตถุได้ฉันนั้น
คำอธิบาย
ความรู้อันสมบูรณ์แห่งตัวเราพร้อมทั้งองค์ภควานฺและความสัมพันธ์ของทั้งสองเปรียบเทียบได้กับไฟ ตรงนี้ไฟไม่เพียงเผาผลาญผลกรรมจากกิจกรรมบาปทั้งมวล แต่ยังเผาผลาญผลกรรมจากกิจกรรมบุญทั้งมวล ด้วยการเผาผลาญทั้งหมดให้เป็นเถ้าถ่าน มีผลกรรมอยู่หลายลักษณะ เช่น ผลกรรมที่กำลังก่ออยู่ ผลกรรมที่กำลังบังเกิดผล ผลกรรมที่ได้รับเรียบร้อยแล้ว และผลกรรมก่อนหน้านี้ แต่ความรู้สถานภาพพื้นฐานอันแท้จริงของสิ่งมีชีวิตเผาผลาญทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นจุณ เมื่อเรามีความรู้อันสมบูรณ์ผลกรรมทั้งหมดทั้งตั้งแต่ก่อนหน้านี้และหลังจากนี้จะถูกเผาผลาญจนหมดสิ้น ในคัมภีร์พระเวท (พฺฤหทฺ-อารณฺยก อุปนิษทฺ 4.4.22) กล่าวไว้ว่า อุเภ อุไหไวษ เอเต ตรตฺยฺ อมฺฤตห์ สาธฺวฺ-อสาธูนี “เราได้รับชัยชนะจากผลกรรมทั้งสอง คือ จากผลบุญและผลบาป”
na hi jñānena sadṛśaṁ
pavitram iha vidyate
tat svayaṁ yoga-saṁsiddhaḥ
kālenātmani vindati
น หิ ชฺญาเนน สทฺฤศํ
ปวิตฺรมฺ อิห วิทฺยเต
ตตฺ สฺวยํ โยค-สํสิทฺธห์
กาเลนาตฺมนิ วินฺทติ
น — ไม่มีสิ่งใด, หิ — แน่นอน, ชฺญาเนน — ด้วยความรู้, สทฺฤศมฺ — ในการเปรียบเทียบ, ปวิตฺรมฺ — ทำให้ถูกต้อง, อิห — ในโลกนี้, วิทฺยเต — มีอยู่, ตตฺ — นั้น, สฺวยมฺ — ตัวเขา, โยค — ในการอุทิศตนเสียสละ, สํสิทฺธห์ — ผู้ที่มีวุฒิภาวะ, กาเลน — ตามกาลเวลา, อาตฺมนิ — ในตัวเขา, วินฺทติ — ได้รับความสุข
คำแปล
ในโลกนี้ไม่มีอะไรประเสริฐและบริสุทธิ์เท่ากับความรู้ทิพย์ ความรู้เช่นนี้คือผลอันสมบูรณ์จากการเข้าฌานทั้งหลาย และผู้ที่ได้รับผลสำเร็จในการปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้จะได้รับความสุขกับความรู้นี้ภายในตัวเขาเองตามกาลเวลา
คำอธิบาย
เมื่อพูดถึงความรู้ทิพย์เราพูดถึงความเข้าใจทางจิตวิญญาณ ฉะนั้นจึงไม่มีสิ่งใดประเสริฐและบริสุทธิ์ไปกว่าความรู้ทิพย์ อวิชชาคือต้นเหตุแห่งการพันธนาการ และความรู้คือต้นเหตุแห่งความหลุดพ้น ความรู้นี้คือผลอันสมบูรณ์แห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ และเมื่อเราสถิตในความรู้ทิพย์เราก็ไม่จำเป็นต้องแสวงหาความสงบที่ไหนอีก เพราะเราได้รับความสุขจากความสงบภายในตัวเรา หรืออีกนัยหนึ่งความรู้และความสงบนี้เกิดขึ้นในกฺฤษฺณจิตสำนึก และนี่คือสิ่งสุดท้ายใน ภควัท-คีตา
śraddhāvāḻ labhate jñānaṁ
tat-paraḥ saṁyatendriyaḥ
jñānaṁ labdhvā parāṁ śāntim
acireṇādhigacchati
ศฺรทฺธาวาฬฺ ลภเต ชฺญานํ
ตตฺ-ปรห์ สํยเตนฺทฺริยห์
ชฺญานํ ลพฺธฺวา ปรำ ศานฺติมฺ
อจิเรณาธิคจฺฉติ
ศฺรทฺธา-วานฺ — ผู้ที่มีความศรัทธา, ลภเต — ได้รับ, ชฺญานมฺ — ความรู้, ตตฺ-ปรห์ — ยึดติดมากกับมัน, สํยต — ควบคุม, อินฺทฺริยห์ — ประสาทสัมผัส, ชฺญานมฺ — ความรู้, ลพฺธฺวา — ได้รับแล้ว, ปรามฺ — ทิพย์, ศานฺติมฺ — ความสงบ, อจิเรณ — เร็วๆนี้, อธิคจฺฉติ — ได้รับ
คำแปล
ผู้มีความศรัทธาที่อุทิศตนให้กับความรู้ทิพย์ และเป็นผู้ปรามประสาทสัมผัสของตนเองได้นั้นมีสิทธิ์ที่จะได้รับความรู้เช่นนี้ และเมื่อได้รับความรู้นี้แล้วเขาจะบรรลุถึงความสงบสูงสุดทางจิตวิญญาณโดยเร็ว
คำอธิบาย
ผู้มีความศรัทธาอย่างแน่วแน่ในองค์กฺฤษฺณสามารถได้รับความรู้นี้ในกฺฤษฺณจิตสำนึก บุคคลที่ได้ชื่อว่ามีความศรัทธาคือผู้ที่คิดว่าความเชื่อคือเพียงแต่ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเขาจะบรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุด ความศรัทธานี้บรรลุได้ด้วยการปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ และด้วยการสวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร ซึ่งทำให้หัวใจเขาบริสุทธิ์จากความสกปรกทางวัตถุทั้งมวล นอกเหนือจากนี้เขาควรควบคุมประสาทสัมผัส บุคคลผู้มีความศรัทธาต่อองค์กฺฤษฺณและควบคุมประสาทสัมผัสได้จะสามารถบรรลุถึงความสมบูรณ์อย่างง่ายดายในความรู้แห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยไม่ล่าช้า
ajñaś cāśraddadhānaś ca
saṁśayātmā vinaśyati
nāyaṁ loko ’sti na paro
na sukhaṁ saṁśayātmanaḥ
อชฺญศฺ จาศฺรทฺทธานศฺ จ
สํศยาตฺมา วินศฺยติ
นายํ โลโก ’สฺติ น ปโร
น สุขํ สํศยาตฺมนห์
อชฺญห์ — ผู้อยู่ในอวิชชาไม่มีความรู้ในพระคัมภีร์มาตรฐาน, จ — และ, อศฺรทฺทธานห์ — ไม่มีความศรัทธาในพระคัมภีร์ที่เปิดเผย, จ — เช่นกัน, สํศย — แห่งความสงสัย, อาตฺมา — บุคคล, วินศฺยติ — ตกต่ำ, น — ไม่เคย, อยมฺ — ในนี้, โลกห์ — โลก, อสฺติ — มี, น — ไม่, ปรห์ — ในชาติหน้า, น — ไม่, สุขมฺ — ความสุข, สํศย — สงสัย, อาตฺมนห์ — ของบุคคล
คำแปล
แต่บุคคลผู้อยู่ในอวิชชา ไม่มีความศรัทธา และสงสัยในพระคัมภีร์ที่เปิดเผยจะไม่บรรลุถึงจิตสำนึกแห่งองค์ภควานฺ พวกเขาตกต่ำลง สำหรับดวงวิญญาณผู้มีความสงสัยจะไม่มีความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า
คำอธิบาย
จากพระคัมภีร์มาตรฐานและเชื่อถือได้ที่เปิดเผยมากมาย ภควัท-คีตา ดีที่สุด บุคคลผู้ด้อยปัญญาที่เกือบเหมือนสัตว์ไม่มีทั้งความศรัทธาและความรู้ในพระคัมภีร์มาตรฐานที่เปิดเผยเหล่านี้ บางคนถึงแม้มีความรู้หรือสามารถท่องบทมนต์ต่างๆจากพระคัมภีร์ที่เปิดเผยได้ แต่อันที่จริงไม่มีความศรัทธาในคำพูดเหล่านี้ และถึงแม้ว่าบางคนมีความศรัทธาในพระคัมภีร์ เช่น ภควัท-คีตา แต่ไม่เชื่อหรือไม่บูชาบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าศฺรี กฺฤษฺณ บุคคลเช่นนี้ไม่มีจุดยืนในกฺฤษฺณจิตสำนึก พวกเขาตกต่ำลง จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้พวกที่ไม่มีความศรัทธาและมีความสงสัยอยู่เสมอจะไม่พัฒนาอะไรเลย มนุษย์ผู้ไม่มีความศรัทธาในองค์ภควานฺและพระราชดำรัสที่เปิดเผยของพระองค์จะไม่มีอะไรดีในโลกนี้หรือโลกหน้า และจะไม่มีความสุขอันใดเลย ฉะนั้นเราควรปฏิบัติตามหลักธรรมของพระคัมภีร์ที่เปิดเผยด้วยความศรัทธาจากนั้นยกระดับขึ้นไปสู่ระดับแห่งความรู้ ความรู้นี้เท่านั้นจะช่วยส่งเสริมเราไปสู่ระดับทิพย์แห่งความเข้าใจจิตวิญญาณ อีกนัยหนึ่งบุคคลผู้มีความสงสัยจะไม่มีจุดยืนในความหลุดพ้นของดวงวิญญาณ ดังนั้นเราควรปฏิบัติตามรอยพระบาทของ อาจารฺย ผู้ยิ่งใหญ่ที่อยู่ในสายปรัมปราและบรรลุถึงความสำเร็จ
yoga-sannyasta-karmāṇaṁ
jñāna-sañchinna-saṁśayam
ātmavantaṁ na karmāṇi
nibadhnanti dhanañ-jaya
โยค-สนฺนฺยสฺต-กรฺมาณํ
ชฺญาน-สญฺฉินฺน-สํศยมฺ
อาตฺมวนฺตํ น กรฺมาณิ
นิพธฺนนฺติ ธนญฺ-ชย
โยค — ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้ใน กรฺม-โยค, สนฺนฺยสฺต — ผู้ที่สละทางโลก, กรฺมาณมฺ — ผลของการกระทำ, ชฺญาน — ด้วยความรู้, สญฺฉินฺน — ตัด, สํศยมฺ — สงสัย, อาตฺม-วนฺตมฺ — สถิตในตนเอง, น — ไม่เคย, กรฺมาณิ — ทำงาน, นิพธฺนนฺติ — พันธนาการ, ธนมฺ-ชย — โอ้ ผู้ชนะความร่ำรวย
คำแปล
ผู้ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ สละผลการกระทำของตนเอง และความสงสัยของเขาได้ถูกทำลายไปด้วยความรู้ทิพย์ สถิตอย่างแท้จริงในตัวเอง ฉะนั้นเขาไม่ถูกพันธนาการด้วยผลกรรมจากงาน โอ้ ผู้ชนะความร่ำรวย
คำอธิบาย
ผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของ ภควัท-คีตา ตามที่บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงเป็นผู้ถ่ายทอดด้วยพระองค์เอง จะได้รับอิสรภาพจากความสงสัยทั้งปวงด้วยพระกรุณาธิคุณแห่งความรู้ทิพย์ ในฐานะที่เขาเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺและอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ได้สถิตในความรู้แห่งตนเรียบร้อยแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้เขาจึงอยู่เหนือพันธนาการแห่งกรรมโดยไม่ต้องสงสัย
tasmād ajñāna-sambhūtaṁ
hṛt-sthaṁ jñānāsinātmanaḥ
chittvainaṁ saṁśayaṁ yogam
ātiṣṭhottiṣṭha bhārata
ตสฺมาทฺ อชฺญาน-สมฺภูตํ
หฺฤตฺ-สฺถํ ชฺญานาสินาตฺมนห์
ฉิตฺไตฺวนํ สํศยํ โยคมฺ
อาติษฺโฐตฺติษฺฐ ภารต
ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, อชฺญาน-สมฺภูตมฺ — เกิดจากอวิชชา, หฺฤตฺ-สฺถมฺ — สถิตในหัวใจ, ชฺญาน — แห่งความรู้, อสินา — ด้วยอาวุธ, อาตฺมนห์ — ของชีวิต, ฉิตฺตฺวา — ตัดออก, เอนมฺ — นี้, สํศยมฺ — สงสัย, โยคมฺ — ในโยคะ, อาติษฺฐ — สถิต, อุตฺติษฺฐ — ลุกขึ้นมาสู้, ภารต — โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ ภารต
คำแปล
ฉะนั้น ความสงสัยที่เกิดขึ้นในหัวใจของเธออันเนื่องมาจากอวิชชาควรถูกตัดออกด้วยอาวุธแห่งความรู้ เตรียมพร้อมด้วยโยคะ จงลุกขึ้นมาและสู้ โอ้ ภารต
คำอธิบาย
ระบบโยคะที่สอนในบทนี้เรียกว่า สนาตน-โยค หรือกิจกรรมอมตะที่สิ่งมีชีวิตปฏิบัติ โยคะนี้แบ่งเป็นการปฏิบัติบูชาได้สองส่วน ส่วนหนึ่งเรียกว่าการถวายบูชาสิ่งของวัตถุของตน และอีกส่วนหนึ่งเรียกว่าความรู้แห่งชีวิตซึ่งเป็นกิจกรรมทิพย์ที่บริสุทธิ์ หากถวายบูชาสิ่งของวัตถุของตนโดยไม่ประสานกับความรู้แจ้งทิพย์การถวายเช่นนี้เป็นวัตถุ แต่ผู้ที่ปฏิบัติการถวายบูชาเช่นนี้ด้วยจุดมุ่งหมายทิพย์หรือในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ทำให้การถวายบูชาสมบูรณ์ เมื่อเราไปถึงกิจกรรมทิพย์จะพบว่าแบ่งเป็นสองส่วนอีกเช่นกัน คือ การเข้าใจตัวเราเอง (หรือเข้าใจสถานภาพพื้นฐานอันแท้จริงของเรา) และเข้าใจสัจธรรมเกี่ยวกับบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ผู้ปฏิบัติตามวิธีของ ภควัท-คีตา ฉบับเดิมสามารถเข้าใจสองส่วนสำคัญแห่งความรู้ทิพย์นี้ สำหรับบุคคลนี้ไม่เป็นการยากที่จะบรรลุถึงความรู้ที่สมบูรณ์แห่งตนว่าเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ ดังนั้นการเข้าใจเช่นนี้จึงเป็นประโยชน์เพราะบุคคลนี้สามารถเข้าใจกิจกรรมทิพย์ของพระองค์ได้อย่างง่ายดาย ในตอนต้นของบทนี้องค์ภควานฺทรงกล่าวถึงกิจกรรมทิพย์ของพระองค์ด้วยตัวพระองค์เอง ผู้ที่ไม่เข้าใจคำสั่งสอนของ คีตา คือผู้ไม่มีความศรัทธาและถือว่าได้ใช้เสรีภาพส่วนน้อยนิดที่พระองค์ทรงประทานให้ไปในทางที่ผิด แม้จะมีคำสอนเหล่านี้เราก็ยังไม่เข้าใจธรรมชาติอันแท้จริงขององค์ภควานฺว่าทรงเป็นบุคลิกภาพที่มีความเป็นอมตะ เต็มไปด้วยความสุขเกษมสำราญ และความรู้ ผู้ไม่รู้เช่นนี้แน่นอนว่าเป็นคนโง่อันดับหนึ่ง ความไม่รู้นี้สามารถลบออกได้ด้วยการค่อยๆยอมรับหลักธรรมของกฺฤษฺณจิตสำนึก กฺฤษฺณจิตสำนึกฟื้นฟูขึ้นมาได้ด้วยวิธีการถวายบูชาต่างๆแด่เทวดา ถวายบูชาแด่ พฺรหฺมนฺ ถวายบูชาในการถือเพศพรหมจรรย์ ถวายบูชาในชีวิตคฤหัสถ์ ถวายบูชาในการควบคุมประสาทสัมผัส ถวายบูชาในการฝึกปฏิบัติโยคะ เข้าฌานสมาธิ ถวายบูชาด้วยการบำเพ็ญเพียร ถวายบูชาด้วยการยอมสละสิ่งของวัตถุ ถวายบูชาด้วยการศึกษาคัมภีร์พระเวท และถวายบูชาด้วยการมีส่วนร่วมในสถาบันสังคมที่เรียกว่า วรฺณาศฺรม-ธรฺม ทั้งหมดนี้เรียกว่าการถวายบูชา และทั้งหมดมีพื้นฐานอยู่ที่การประมาณการปฏิบัติ แต่ภายในกิจกรรมทั้งหลายเหล่านี้ปัจจัยสำคัญคือการรู้แจ้งแห่งตน ผู้แสวงหาจุดมุ่งหมายนี้คือนักศึกษาที่แท้จริงของ ภควัท-คีตา แต่ผู้ที่สงสัยความน่าเชื่อถือได้ขององค์กฺฤษฺณจะถอยหลัง ฉะนั้นจึงแนะนำให้เราศึกษา ภควัท-คีตา หรือพระคัมภีร์เล่มใดก็ได้ภายใต้การแนะนำของพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ด้วยการรับใช้และศิโรราบ พระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้อยู่ในสายปรัมปราตั้งแต่โบราณกาล ท่านจะไม่บิดเบือนจากคำสั่งสอนขององค์ภควานฺเลยแม้แต่น้อย ดังที่ได้ถูกถ่ายทอดมาเป็นเวลาหลายๆล้านปีมาแล้วแด่สุริยเทพ จากสุริยเทพคำสั่งสอนของ ภควัท-คีตา ได้ถูกส่งลงมายังอาณาจักรโลก ดังนั้นเราควรปฏิบัติตามวิธีของ ภควัท-คีตา ให้เหมือนเดิมดังที่ได้กล่าวไว้ใน คีตา เอง และโปรดจงระวังคนเห็นแก่ตัวที่พยายามคุยโวหาเสียงให้แก่ตนเอง และหันเหผู้อื่นไปจากวิถีทางที่แท้จริง องค์ภควานฺทรงเป็นบุคลิกภาพที่สูงสุดอย่างแน่นอน และกิจกรรมของพระองค์ทรงเป็นทิพย์ ผู้ใดที่เข้าใจเช่นนี้เป็นผู้ที่หลุดพ้นแล้วตั้งแต่เริ่มศึกษา ภควัท-คีตา
ดังนั้นได้จบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่สี่ ของหนังสือ ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา ในหัวข้อเรื่อง ความรู้ทิพย์