ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ เจ็ด

ความรู้แห่งสัจธรรม

SIMPLE

โศลก 1

śrī-bhagavān uvāca
mayy āsakta-manāḥ pārtha
yogaṁ yuñjan mad-āśrayaḥ
asaṁśayaṁ samagraṁ māṁ
yathā jñāsyasi tac chṛṇu
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
มยฺยฺ อาสกฺต-มนาห์ ปารฺถ
โยคํ ยุญฺชนฺ มทฺ-อาศฺรยห์
อสํศยํ สมคฺรํ มำ
ยถา ชฺญาสฺยสิ ตจฺ ฉฺฤณุ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — องค์ภควานฺตรัส, มยิ — แด่ข้า, อาสกฺต-มนาห์ — จิตยึดติด, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, โยคมฺ — รู้แจ้งแห่งตน, ยุญฺชนฺ — ปฏิบัติ, มตฺ-อาศฺรยห์ — ในจิตสำนึกแห่งข้า (กฺฤษฺณจิตสำนึก), อสํศยมฺ — ปราศจากความสงสัย, สมคฺรมฺ — โดยสมบูรณ์, มามฺ — ข้า, ยถา — อย่างไร, ชฺญาสฺยสิ — เธอสามารถรู้, ตตฺ — นั้น, ศฺฤณุ — พยายามสดับฟัง

คำแปล

บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัสว่า โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา บัดนี้เธอจงฟังว่าปฏิบัติโยคะด้วยจิตสำนึกที่สมบูรณ์ในข้า และด้วยจิตยึดมั่นต่อข้า เธอจึงจะสามารถรู้ถึงข้าโดยสมบูรณ์ ปราศจากความสงสัย

คำอธิบาย

บทที่เจ็ดของ ภควัท-คีตา นี้อธิบายถึงธรรมชาติของกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ องค์กฺฤษฺณทรงเปี่ยมไปด้วยความมั่งคั่งทั้งหมด วิธีที่พระองค์ทรงแสดงถึงความมั่งคั่งเหล่านี้ให้เราเห็นได้อธิบายไว้ตรงนี้ และทรงได้อธิบายถึงคนโชคดีสี่ประเภทที่มายึดมั่นต่อพระองค์พร้อมทั้งคนโชคร้ายสี่ประเภทที่จะไม่ยอมรับองค์กฺฤษฺณก็ได้อธิบายไว้ในบทนี้เช่นกัน

หกบทแรกของ ภควัท-คีตา ได้อธิบายว่าสิ่งมีชีวิตเป็นดวงวิญญาณ ไม่ใช่วัตถุและดวงวิญญาณสามารถพัฒนาตนเองให้มาถึงความรู้แจ้งแห่งตนด้วยวิธีโยคะต่างๆ ในตอนท้ายของบทที่หกได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าการทำสมาธิจิตตั้งมั่นอยู่ที่องค์กฺฤษฺณ หรือการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นโยคะสูงสุด ด้วยการตั้งสมาธิจิตอยู่ที่องค์กฺฤษฺณเราสามารถรู้ถึงสัจธรรมอย่างสมบูรณ์ มิใช่วิธีการรู้แจ้ง พฺรหฺม-โชฺยติรฺ ที่ไร้รูปลักษณ์ หรือรู้แจ้ง ปรมาตฺมา ในหัวใจของตนเองซึ่งไม่ใช่ความรู้แห่งสัจธรรมที่สมบูรณ์ เพราะเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ความรู้ที่สมบูรณ์และเป็นวิทยาศาสตร์คือองค์กฺฤษฺณ ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกเปิดเผยให้กับบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึก ในกฺฤษฺณจิตสำนึกที่สมบูรณ์เรารู้ว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นความรู้สุดยอดอยู่เหนือความสงสัยทั้งปวง โยคะต่างๆเป็นเพียงขั้นบันไดเพื่อก้าวไปสู่วิถีแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึก ผู้ปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรงจะทราบเกี่ยวกับ พฺรหฺม-โชฺยติรฺ และ ปรมาตฺมา อย่างสมบูรณ์โดยปริยายจากการปฏิบัติ โยคะแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกทำให้สามารถรู้ทุกสิ่งทุกอย่างโดยสมบูรณ์ เช่น สัจธรรมที่สมบูรณ์ สิ่งมีชีวิต ธรรมชาติวัตถุ และปรากฏการณ์เหล่านี้รวมทั้งองค์ประกอบอื่นๆ

ฉะนั้นเราควรเริ่มปฏิบัติโยคะดังที่ได้แนะนำไว้ในโศลกสุดท้ายของบทที่หก การตั้งสมาธิจิตอยู่ที่องค์กฺฤษฺณ องค์ภควานฺ ทำได้โดยปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในเก้ารูปแบบที่กำหนดไว้ซึ่งมี ศฺรวณมฺ เป็นข้อแรกและสำคัญที่สุด ดังนั้นองค์ภควานฺตรัสแด่ อรฺชุน ว่า ตจฺ ฉฺฤณุ หรือ “จงสดับฟังจากข้า” ไม่มีผู้ใดเป็นผู้ที่เชื่อถือได้มากไปกว่าองค์กฺฤษฺณ ฉะนั้นการสดับฟังจากพระองค์จึงเป็นโอกาสดีที่สุดที่จะทำให้เรามีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นเราต้องเรียนจากองค์กฺฤษฺณโดยตรงหรือเรียนจากสาวกผู้บริสุทธิ์ขององค์กฺฤษฺณ ไม่ใช่เรียนจากคนผยองผู้ไม่ใช่สาวกและลำพองตนอันเนื่องจากความรู้ทางวิชาการ

ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ วิธีการเข้าใจองค์กฺฤษฺณ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าผู้ทรงเป็นสัจธรรมที่สมบูรณ์ ได้มีการอธิบายไว้ในบทที่สองของภาคหนึ่งดังต่อไปนี้

ศฺฤณฺวตำ สฺว-กถาห์ กฺฤษฺณห์
ปุณฺย-ศฺรวณ-กีรฺตนห์
หฺฤทฺยฺ อนฺตห์-โสฺถ หฺยฺ อภทฺราณิ
วิธุโนติ สุหฺฤตฺ สตามฺ
นษฺฏ-ปฺราเยษฺวฺ อภเทฺรษุ
นิตฺยํ ภาควต-เสวยา
ภควตฺยฺ อุตฺตม-โศฺลเก
ภกฺติรฺ ภวติ ไนษฺฐิกี
ตทา รชสฺ-ตโม-ภาวาห์
กาม-โลภาทยศฺ จ เย
เจต เอไตรฺ อนาวิทฺธํ
สฺถิตํ สตฺเตฺว ปฺรสีทติ
เอวํ ปฺรสนฺน-มนโส
ภควทฺ-ภกฺติ-โยคตห์
ภควตฺ-ตตฺตฺว-วิชฺญานํ
มุกฺต-สงฺคสฺย ชายเต
ภิทฺยเต หฺฤทย-คฺรนฺถิศฺ
ฉิทฺยนฺเต สรฺว-สํศยาห์
กฺษียนฺเต จาสฺย กรฺมาณิ
ทฺฤษฺฏ เอวาตฺมนีศฺวเร
“การสดับฟังเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณจากวรรณกรรมพระเวท หรือสดับฟังจากพระองค์โดยตรงจาก ภควัท-คีตา เป็นกุศลกรรมในตัวเองสำหรับผู้ที่สดับฟังเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณ องค์กฺฤษฺณผู้ประทับอยู่ในหัวใจของทุกคนจะทรงปฏิบัติเหมือนกับเพื่อนผู้ปรารถนาดีที่สุด และทำให้สาวกผู้ปฏิบัติในการสดับฟังเกี่ยวกับพระองค์เสมอบริสุทธิ์ขึ้น เช่นนี้สาวกก็จะพัฒนาความรู้ทิพย์โดยธรรมชาติซึ่งซ่อนเร้นอยู่ภายในตนเอง ขณะที่สดับฟังเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณจาก ภาควต และจากสาวกมากขึ้นทำให้มีความมั่นคงในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺ จากการพัฒนาการอุทิศตนเสียสละรับใช้เขาจะเป็นอิสระจากระดับตัณหาและอวิชชา ฉะนั้นราคะและความโลภทางวัตถุจะเหือดแห้งไป เมื่อสิ่งไม่บริสุทธิ์เหล่านี้ถูกขจัดออกไป ผู้สมัครมีความมั่นคงอยู่ในสภาวะแห่งความดีที่บริสุทธิ์เขาจะมีความร่าเริงในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ และเข้าใจศาสตร์แห่งองค์ภควานฺอย่างสมบูรณ์ ดังนั้น ภกฺติ-โยค จึงตัดปมแห่งความหลงใหลในวัตถุอย่างเหนียวแน่นและทำให้เขาสามารถมาถึงระดับ อสํศยํ สมคฺรมฺ หรือเข้าใจสัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุดแห่งองค์ภควานฺ” (ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ 1.2.17-21)

ฉะนั้นด้วยการสดับฟังจากองค์กฺฤษฺณโดยตรง หรือจากสาวกของพระองค์ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้นที่จะทำให้เราสามารถเข้าใจศาสตร์แห่งองค์กฺฤษฺณได้

โศลก 2

jñānaṁ te ’haṁ sa-vijñānam
idaṁ vakṣyāmy aśeṣataḥ
yaj jñātvā neha bhūyo ’nyaj
jñātavyam avaśiṣyate
ชฺญานํ เต ’หํ ส-วิชฺญานมฺ
อิทํ วกฺษฺยามฺยฺ อเศษตห์
ยชฺ ชฺญาตฺวา เนห ภูโย ’นฺยชฺ
ชฺญาตวฺยมฺ อวศิษฺยเต
ชฺญานมฺ — ความรู้ที่ปรากฏตามธรรมชาติ, เต — แด่ท่าน, อหมฺ — ข้า, — กับ, วิชฺญานมฺ — ความรู้เหนือธรรมชาติ, อิทมฺ — นี้, วกฺษฺยามิ — จะอธิบาย, อเศษตห์ — อย่างสมบูรณ์, ยตฺ — ซึ่ง, ชฺญาตฺวา — เมื่อรู้, — ไม่, อิห — ในโลกนี้, ภูยห์ — กว่านี้, อนฺยตฺ — มากกว่า, ชฺญาตวฺยมฺ — ควรรู้, อวศิษฺยเต — คงเหลือ

คำแปล

บัดนี้ข้าจะประกาศความรู้อย่างสมบูรณ์แก่เธอ ทั้งที่ปรากฏตามธรรมชาติและเหนือธรรมชาติ เมื่อรู้แล้วจะไม่มีสิ่งใดเหลือให้เธอรู้อีกต่อไป

คำอธิบาย

ความรู้อันสมบูรณ์รวมทั้งความรู้ทางโลกที่ปรากฏตามธรรมชาติ จิตวิญญาณที่อยู่เบื้องหลัง และแหล่งกำเนิดของทั้งสองสิ่งนี้นี่คือความรู้ทิพย์ องค์ภควานฺทรงปรารถนาที่จะอธิบายระบบแห่งความรู้ที่กล่าวไว้เบื้องต้นเพราะ อรฺชุน ทรงเป็นทั้งสาวกและสหายที่ใกล้ชิดขององค์กฺฤษฺณ ในตอนต้นของบทที่สี่องค์ภควานฺได้ทรงอธิบายไว้แล้วและทรงยืนยันอีกครั้ง ที่นี้ ความรู้อันสมบูรณ์สามารถบรรลุได้โดยสาวกของพระองค์ในสาย ปรมฺปรา จากองค์ภควานฺโดยตรงเท่านั้น ดังนั้นเราควรมีปัญญาพอที่จะรู้ถึงแหล่งกำเนิดแห่งความรู้ทั้งหลายผู้ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง และทรงเป็นเพียงเป้าหมายเดียวในการทำสมาธิฝึกปฏิบัติโยคะทุกรูปแบบ เมื่อเรารู้แหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งหลายแล้วสิ่งที่ต้องรู้ทั้งหมดก็ได้รู้เรียบร้อยแล้ว และไม่มีสิ่งใดที่ยังไม่รู้ในคัมภีร์พระเวท (มุณฺฑก อุปนิษทฺ 1.3) กล่าวว่า กสฺมินฺนฺ อุ ภคโว วิชฺญาเต สรฺวมฺ อิทํ วิชฺญาตํ ภวตีติ

โศลก 3

manuṣyāṇāṁ sahasreṣu
kaścid yatati siddhaye
yatatām api siddhānāṁ
kaścin māṁ vetti tattvataḥ
มนุษฺยาณำ สหเสฺรษุ
กศฺจิทฺ ยตติ สิทฺธเย
ยตตามฺ อปิ สิทฺธานำ
กศฺจินฺ มำ เวตฺติ ตตฺตฺวตห์
มนุษฺยาณามฺ — แห่งมนุษย์, สหเสฺรษุ — จากหลายๆพันคน, กศฺจิตฺ — บางคน, ยตติ — พยายาม, สิทฺธเย — เพื่อความสมบูรณ์, ยตตามฺ — ของพวกที่พยายาม, อปิ — แน่นอน, สิทฺธานามฺ — ของพวกที่บรรลุความสมบูรณ์, กศฺจิตฺ — บางคน, มามฺ — ข้า, เวตฺติ — รู้, ตตฺตฺวตห์ — ความเป็นจริง

คำแปล

จากหลายๆพันคนอาจมีหนึ่งคนที่พยายามเพื่อความสมบูรณ์ และจากพวกที่บรรลุถึงความสมบูรณ์ ผู้ที่รู้จักข้าตามความเป็นจริงยังหาได้ยาก

คำอธิบาย

มีมนุษย์อยู่หลายระดับและจากหลายๆพันคนอาจมีคนหนึ่งที่มีความสนใจในความรู้แจ้งทิพย์และพยายามรู้ว่าตนเองคืออะไร ร่างกายคืออะไร และสัจธรรมที่สมบูรณ์คืออะไร โดยทั่วไปมนุษย์เพียงแต่ปฏิบัติตามนิสัยสัตว์เดรัจฉาน เช่น การกินนอน ป้องกันตัว และเพศสัมพันธ์ จะหาคนที่สนใจความรู้ทิพย์ได้ยาก หกบทแรกของ คีตา มีไว้สำหรับพวกที่สนใจความรู้ทิพย์ในการเข้าใจตนเอง เข้าใจอภิวิญญาณ และวิธีการเพื่อความรู้แจ้งด้วย ชฺญาน-โยค, ธฺยาน-โยค และรู้ข้อแตกต่างระหว่างตนเองกับวัตถุ อย่างไรก็ดีบุคคลผู้อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้นจึงจะสามารถรู้จักองค์กฺฤษฺณ นักทิพย์นิยมอื่นๆอาจบรรลุความรู้แจ้ง พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ซึ่งง่ายกว่าการเข้าใจองค์กฺฤษฺณ องค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแต่ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงอยู่เหนือความรู้แห่ง พฺรหฺมนฺ และ ปรมาตฺมา โยคี และ ชฺญานี สับสนในความพยายามของตนเองที่จะเข้าใจองค์กฺฤษฺณ แม้แต่ ศฺรีปาท ชังคะราชารยะผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดยังยอมรับในคำอธิบาย คีตา ของท่านว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า แต่สาวกของท่านไม่ยอมรับองค์กฺฤษฺณเหมือนกับท่าน เพราะเป็นสิ่งที่ยากมากในการที่จะรู้จักองค์กฺฤษฺณ แม้แต่ผู้ที่รู้แจ้งทิพย์แห่ง พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์แล้วก็เช่นกัน

องค์กฺฤษฺณทรงเป็นองค์ภควานฺแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง ทรงเป็น โควินฺท พระผู้เป็นเจ้าองค์แรก อีศฺวรห์ ปรมห์ กฺฤษฺณห์ สจฺ-จิทฺ-อานนฺท-วิคฺรหห์ / อนาทิรฺ อาทิรฺ โควินฺทห์ สรฺว-การณ-การณมฺ เป็นสิ่งยากมากสำหรับพวกที่ไม่ใช่สาวกที่จะรู้จักองค์กฺฤษฺณ ถึงแม้ประกาศว่าวิถีแห่ง ภกฺติ-โยค หรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้นั้นง่ายมากแต่พวกเขาไม่สามารถปฏิบัติได้ หากว่าวิถีแห่ง ภกฺติ-โยค ง่ายเหมือนดังเช่นพวกที่ไม่ใช่สาวกอ้างแล้วทำไมจึงไปปฏิบัติตามวิธีที่ยาก อันที่จริงวิถีแห่ง ภกฺติ-โยค ไม่ง่าย ภกฺติ-โยค ปลอมที่บุคคลผู้เชื่อถือไม่ได้ปฏิบัติกันโดยปราศจากความรู้ที่ถูกต้องแห่ง ภกฺติ-โยค อาจจะง่าย แต่เมื่อปฏิบัติกันจริงๆตามกฎระเบียบต่างๆนักวิชาการและนักปราชญ์ผู้คาดคะเนจะตกลงมาจากวิถีทาง ศฺรีล รูป โคสฺวามี ได้เขียนใน ภกฺติ-รสามฺฤต-สินฺธุ ( 1.2.101) ดังนี้

ศฺรุติ-สฺมฺฤติ-ปุราณาทิ-
ปญฺจราตฺร-วิธึ วินา
ไอกานฺติกี หเรรฺ ภกฺติรฺ
อุตฺปาตาไยว กลฺปเต
“การอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์ภควานฺ และปฏิเสธวรรณกรรมพระเวทที่เชื่อถือได้เช่น อุปนิษทฺสฺ, ปุราณ และ นารท ปญฺจราตฺร ได้แต่สร้างความเดือดร้อนให้สังคมโดยไม่จำเป็นเท่านั้น”

เป็นไปไม่ได้ที่ผู้รู้แจ้ง พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ หรือ โยคีผู้รู้แจ้ง ปรมาตฺมา จะเข้าใจองค์กฺฤษฺณบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าผู้ทรงเป็นโอรสของพระนาง ยโศทา หรือเป็นสารถีของ อรฺชุน แม้แต่เทวดาผู้ยิ่งใหญ่บางครั้งยังสับสนเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณ (มุหฺยนฺติ ยตฺ สูรยห์) มำ ตุ เวท กศฺจน องค์ภควานฺตรัสว่า “ไม่มีผู้ใดรู้จักข้าตามความเป็นจริง” และหากว่ามีผู้หนึ่งผู้ใดรู้จักพระองค์ มหาตฺมา สุ-ทุรฺลภห์ “ดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่เช่นนี้หาได้ยากมาก” ฉะนั้นนอกเสียจากว่าจะปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์ภควานฺมิฉะนั้นเราก็จะไม่สามารถรู้จักองค์กฺฤษฺณตามความเป็นจริง (ตตฺตฺวตห์) ถึงแม้เราจะเป็นนักวิชาการหรือเป็นนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ สาวกผู้บริสุทธิ์เท่านั้นที่สามารถรู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับคุณสมบัติทิพย์อันมองไม่เห็นในองค์กฺฤษฺณ เห็นพระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งมวล เห็นพระเดชและความมั่งคั่งของพระองค์ความร่ำรวย ชื่อเสียง พลังอำนาจ ความสง่างาม ความรู้ และความเสียสละของพระองค์เพราะว่าองค์กฺฤษฺณทรงมีแนวโน้มที่จะให้พระเมตตากรุณาต่อสาวก พระองค์ทรงเป็นคำสุดท้ายในความรู้แจ้ง พฺรหฺมนฺ สาวกเท่านั้นที่สามารถรู้แจ้งตามความเป็นจริงได้กล่าวไว้ว่า

อตห์ ศฺรี-กฺฤษฺณ-นามาทิ
น ภเวทฺ คฺราหฺยมฺ อินฺทฺริไยห์
เสโวนฺมุเข หิ ชิหฺวาเทา
สฺวยมฺ เอว สฺผุรตฺยฺ อทห์
“ไม่มีผู้ใดสามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณตามความเป็นจริงด้วยประสาทสัมผัสวัตถุอันหยาบ แต่พระองค์ทรงเปิดเผยตัวพระองค์แด่สาวก เนื่องจากทรงพอพระทัยกับการรับใช้ด้วยความรักทิพย์ที่มีต่อพระองค์” (ภกฺติ-รสามฺฤต-สินฺธุ 1.2.234)

โศลก 4

bhūmir āpo ’nalo vāyuḥ
khaṁ mano buddhir eva ca
ahaṅkāra itīyaṁ me
bhinnā prakṛtir aṣṭadhā
ภูมิรฺ อาโป ’นโล วายุห์
ขํ มโน พุทฺธิรฺ เอว จ
อหงฺการ อิตียํ เม
ภินฺนา ปฺรกฺฤติรฺ อษฺฏธา
ภูมิห์ — ดิน, อาปห์ — น้ำ, อนลห์ — ไฟ, วายุห์ — ลม, ขมฺ — อากาศ, มนห์ — จิต, พุทฺธิห์ — ปัญญา, เอว — แน่นอน, — และ, อหงฺการห์ — อหังการ, อิติ — ดังนั้น, อิยมฺ — ทั้งหมดนี้, เม — ของข้า, ภินฺนา — แยกออก, ปฺรกฺฤติห์ — พลังงาน, อษฺฏธา — แปดชนิด

คำแปล

ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ จิตใจ ปัญญา และอหังการแปดอย่างนี้รวมกันเป็นพลังงานวัตถุของข้าที่แยกออกไป

คำอธิบาย

วิทยาศาสตร์แห่งองค์ภควานฺวิเคราะห์ตำแหน่งพื้นฐานและพลังงานต่างๆของพระองค์ธรรมชาติวัตถุเรียกว่า ปฺรกฺฤติ หรือพลังงานขององค์ภควานฺในอวตาร ปุรุษ ต่างๆดังที่ได้อธิบายไว้ใน สาตฺวต-ตนฺตฺร ว่า

วิษฺโณสฺ ตุ ตฺรีณิ รูปาณิ
ปุรุษาขฺยานฺยฺ อโถ วิทุห์
เอกํ ตุ มหตห์ สฺรษฺฏฺฤ
ทฺวิตียํ ตฺวฺ อณฺฑ-สํสฺถิตมฺ
ตฺฤตียํ สรฺว-ภูต-สฺถํ
ตานิ ชฺญาตฺวา วิมุจฺยเต
“เพื่อการสร้างวัตถุองค์กฺฤษฺณทรงอวตารมาเป็นพระวิษณุสามองค์องค์แรก มหา-วิษฺณุ ทรงสร้างพลังงานวัตถุทั้งหมดเรียกว่า มหตฺ-ตตฺตฺว องค์ที่สอง ครฺโภทก-ศายี วิษฺณุ ทรงเสด็จเข้าไปในจักรวาลทั้งหมดเพื่อสร้างสิ่งต่างๆในแต่ละจักรวาล องค์ที่สาม กฺษีโรทก-ศายี วิษฺณุ ทรงแผ่กระจายไปทั่วทุกหนทุกแห่งในรูปของอภิวิญญาณและทรงอยู่ในมวลจักรวาลมีพระนามว่า ปรมาตฺมา ทรงประทับอยู่แม้ในปรมาณู ผู้ใดทราบถึงพระวิษณุทั้งสามองค์นี้สามารถหลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุได้”

โลกวัตถุนี้เป็นปรากฏการณ์ชั่วคราวของหนึ่งในพลังงานขององค์ภควานฺ กิจกรรมทั้งหมดในโลกวัตถุกำกับโดยพระวิษณุทั้งสามองค์ซึ่งเป็นอวตารขององค์กฺฤษฺณ ปุรุษ ทั้งสามองค์นี้เรียกว่าอวตารโดยทั่วไปผู้ไม่รู้ศาสตร์แห่งองค์ภควานฺ (กฺฤษฺณ) สันนิษฐานว่าโลกวัตถุนี้มีไว้เพื่อให้ความสุขแด่สิ่งมีชีวิตและสิ่งมีชีวิตคือ ปุรุษ เป็นแหล่งกำเนิด เป็นผู้ควบคุม และเป็นผู้มีความสุขกับพลังงานวัตถุ ภควัท-คีตา กล่าวว่าการสรุปของผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานฺเช่นนี้ผิด ในโศลกนี้ได้กล่าวไว้ว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นแหล่งกำเนิดเดิมแท้ของปรากฏการณ์ทางวัตถุ ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ได้ยืนยันไว้เช่นเดียวกันว่าส่วนผสมผสานของปรากฏการณ์ทางวัตถุเป็นพลังงานขององค์ภควานฺที่แยกออกมา แม้แต่ พฺรหฺม-โชฺยติรฺ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของ มายาวาที ก็เป็นพลังงานทิพย์ที่ปรากฏอยู่ในท้องฟ้าทิพย์ ใน พฺรหฺม-โชฺยติรฺ ไม่มีความหลากหลายทิพย์อย่างเช่นที่ ไวกุณฺฐ-โลก และ มายาวาที ยอมรับ พฺรหฺม-โชฺยติรฺ นี้ว่าเป็นเป้าหมายสูงสุดนิรันดร ปรากฏการณ์ของ ปรมาตฺมา ก็เป็นรูปลักษณ์ที่แผ่กระจายไปทั่วของ กฺษีโรทก-ศายี วิษฺณุ ซึ่งไม่ถาวรปรากฏการณ์ของ ปรมาตฺมา ไม่เป็นอมตะในโลกทิพย์ฉะนั้นสัจธรรมที่แท้จริงคือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้ากฺฤษฺณ พระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของพลังงานที่สมบูรณ์ ทรงเป็นเจ้าของพลังงานที่แยกออกไปและพลังงานเบื้องสูง

ในพลังงานวัตถุปรากฏการณ์หลักมีอยู่แปดอย่างดังได้กล่าวมาแล้ว จากทั้งหมดนี้ ห้าอย่างแรก คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม และอากาศเรียกว่าการสร้างที่ยิ่งใหญ่ห้าประการหรือการสร้างที่หยาบ ภายในนี้มีอายตนะภายนอกห้าอย่างรวมอยู่ด้วย คือปรากฏการณ์ของเสียง สัมผัส รูป รส และกลิ่น วิทยาศาสตร์ทางวัตถุประกอบไปด้วยสิบอย่างนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากนี้ แต่อีกสามสิ่ง เช่น จิตใจ ปัญญา และอหังการนักวัตถุนิยมนั้นละเลย นักปราชญ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางจิตใจก็ไม่มีความรู้ที่สมบูรณ์เพราะไม่รู้ว่าแหล่งกำเนิดสูงสุดคือองค์กฺฤษฺณ อหังการที่ว่า “ข้าเป็น” และ “มันเป็นของข้า” ซึ่งรวมกันเป็นหลักพื้นฐานแห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุ รวมทั้งอวัยวะประสาทสัมผัสสิบอย่างเพื่อทำกิจกรรมทางวัตถุ ปัญญาหมายถึงการสร้างวัตถุทั้งหมดเรียกว่า มหตฺ-ตตฺตฺว ฉะนั้นจากพลังงานแปดอย่างที่แยกออกมาจากองค์ภควานฺปรากฏมาเป็นยี่สิบสี่ธาตุแห่งโลกวัตถุซึ่งเป็นเรื่องราวของปรัชญา สางฺขฺย ที่ไม่เชื่อในองค์ภควานฺ สิ่งเหล่านี้เดิมทีมาจากพลังงานขององค์กฺฤษฺณ และแยกออกไปจากพระองค์แต่นักปราชญ์ สางฺขฺย ผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานฺ และด้วยความรู้น้อยจึงไม่รู้ว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นต้นกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง เนื้อหาสาระที่สนทนากันในปรัชญา สางฺขฺย เป็นเพียงปรากฏการณ์ของพลังงานภายนอกขององค์กฺฤษฺณดังที่ได้อธิบายไว้ใน ภควัท-คีตา

โศลก 5

apareyam itas tv anyāṁ
prakṛtiṁ viddhi me parām
jīva-bhūtāṁ mahā-bāho
yayedaṁ dhāryate jagat
อปเรยมฺ อิตสฺ ตฺวฺ อนฺยำ
ปฺรกฺฤตึ วิทฺธิ เม ปรามฺ
ชีว-ภูตำ มหา-พาโห
ยเยทํ ธารฺยเต ชคตฺ
อปรา — ต่ำกว่า, อิยมฺ — นี้, อิตห์ — นอกจากนี้, ตุ — แต่, อนฺยามฺ — อีก, ปฺรกฺฤติมฺ — พลังงาน, วิทฺธิ — เพียงแต่พยายามเข้าใจ, เม — ของข้า, ปรามฺ — สูงกว่า, ชีว-ภูตามฺ — ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิต, มหา-พาโห — โอ้ ยอดนักรบ, ยยา — ผู้ซึ่ง, อิทมฺ — นี้, ธารฺยเต — ใช้ประโยชน์หรือหาประโยชน์ส่วนตัว, ชคตฺ — โลกวัตถุ

คำแปล

โอ้ ยอดนักรบ อรฺชุน นอกจากนี้ยังมีพลังงานที่สูงกว่าของข้า ซึ่งประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตผู้แสวงหาทรัพยากรทางธรรมชาติวัตถุที่ต่ำกว่านี้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

คำอธิบาย

ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน ที่นี้ว่าสิ่งมีชีวิตเป็นธรรมชาติหรือพลังงานที่สูงกว่าขององค์ภควานฺ พลังงานที่ต่ำกว่าคือพลังงานวัตถุซึ่งปรากฏในธาตุต่างๆ เช่น ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ จิตใจ ปัญญา และอหังการ ธรรมชาติวัตถุทั้งสองรูปแบบคืออย่างหยาบ (ดิน) และอย่างละเอียด (จิตใจ) เป็นผลผลิตของพลังงานเบื้องต่ำ สิ่งมีชีวิตผู้แสวงหาประโยชน์ส่วนตัวจากพลังงานเบื้องต่ำด้วยจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันเป็นพลังงานที่สูงกว่าขององค์ภควานฺ และด้วยพลังงานนี้ทำให้โลกวัตถุทั้งหมดดำเนินไป ปรากฏการณ์แห่งจักรวาลไม่มีอำนาจปฏิบัติการแต่จะเคลื่อนไปด้วยพลังงานที่สูงกว่าคือสิ่งมีชีวิต พลังงานจะถูกควบคุมโดยแหล่งกำเนิดของมันเสมอ ฉะนั้นสิ่งมีชีวิตจึงถูกควบคุมเสมอโดยไม่มีความเป็นอยู่อิสระ และจะไม่มีวันมีอำนาจทัดเทียมกับองค์ภควานฺเหมือนดังที่มนุษย์ผู้ด้อยปัญญาคิด ข้อแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตและองค์ภควานฺได้อธิบายไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (10.87.30) ดังนี้

อปริมิตา ธฺรุวาสฺ ตนุ-ภฺฤโต ยทิ สรฺว-คตาสฺ
ตรฺหิ น ศาสฺยเตติ นิยโม ธฺรุว เนตรถา
อชนิ จ ยนฺ-มยํ ตทฺ อวิมุจฺย นิยนฺตฺฤ ภเวตฺ
สมมฺ อนุชานตำ ยทฺ อมตํ มต-ทุษฺฏตยา
“โอ้ ผู้เป็นอมตะสูงสุด หากสิ่งมีชีวิตผู้อยู่ในร่างเป็นอมตะและแผ่กระจายไปทั่วเหมือนกับพระองค์พวกเขาก็จะไม่มาอยู่ภายใต้การควบคุมของพระองค์แต่ถ้าหากยอมรับว่าสิ่งมีชีวิตเป็นพลังงานน้อยๆของพระองค์พวกเขาจะมาอยู่ภายใต้การควบคุมของพระองค์ทันที ฉะนั้นการหลุดพ้นที่แท้จริงจึงประกอบด้วยการที่สิ่งมีชีวิตศิโรราบและมาอยู่ภายใต้การควบคุมขององค์ภควานฺ การศิโรราบเช่นนี้จะทำให้พวกเขามีความสุข เมื่อมาอยู่ในตำแหน่งเดิมแท้เช่นนี้เท่านั้นที่พวกเขาสามารถเป็นผู้ควบคุม ดังนั้นมนุษย์ผู้มีความรู้จำกัดสนับสนุนทฤษฎีเป็นหนึ่งเดียวกันที่ว่าองค์ภควานฺ และสิ่งมีชีวิตเท่าเทียมกันในทุกๆด้าน อันที่จริงพวกนี้ถูกแนวคิดอันเป็นมลทินนำพาไปในทางที่ผิด”

องค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นผู้ควบคุมเพียงพระองค์เดียวและสิ่งมีชีวิตทั้งหมดถูกพระองค์ควบคุม สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เป็นพลังงานเบื้องสูงของพระองค์เพราะคุณภาพแห่งความเป็นอยู่ของพวกเขาเป็นหนึ่งเดียวและเหมือนกับพระองค์แต่จะไม่มีวันเทียบเท่ากับพระองค์ในปริมาณแห่งพลังอำนาจ ขณะที่แสวงหาประโยชน์ส่วนตัวอยู่กับพลังงานเบื้องต่ำ (วัตถุ) ทั้งหยาบและละเอียดพลังงานเบื้องสูง (สิ่งมีชีวิต) ได้ลืมจิตใจและปัญญาทิพย์อันแท้จริงของตนเอง การลืมเช่นนี้เนื่องมาจากอิทธิพลของวัตถุที่มีต่อสิ่งมีชีวิต แต่เมื่อสิ่งมีชีวิตหลุดพ้นจากอิทธิพลของพลังงานแห่งความหลงทางวัตถุเขาจะบรรลุถึงระดับ มุกฺติ หรือความหลุดพ้น อหังการภายใต้อิทธิพลของความหลงทางวัตถุคิดว่า “ข้าคือวัตถุและวัตถุที่ได้มาเป็นของข้า” ตำแหน่งอันแท้จริงสำนึกได้เมื่อเป็นอิสระจากความคิดทางวัตถุทั้งปวง รวมทั้งแนวความคิดที่ว่าจะกลายมาเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควานฺในทุกๆด้าน ฉะนั้นเราอาจสรุปได้ว่า คีตา ได้ยืนยันว่าสิ่งมีชีวิตเป็นเพียงหนึ่งในพลังงานอันหลากหลายขององค์กฺฤษฺณ และเมื่อพลังงานนี้เป็นอิสระเสรีจากมลทินทางวัตถุเขาจะมีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ หรือหลุดพ้นแล้ว

โศลก 6

etad-yonīni bhūtāni
sarvāṇīty upadhāraya
ahaṁ kṛtsnasya jagataḥ
prabhavaḥ pralayas tathā
เอตทฺ-โยนีนิ ภูตานิ
สรฺวาณีตฺยฺ อุปธารย
อหํ กฺฤตฺสฺนสฺย ชคตห์
ปฺรภวห์ ปฺรลยสฺ ตถา
เอตตฺ — ธรรมชาติทั้งสองนี้, โยนีนิ — แหล่งกำเนิดของพวกเขา, ภูตานิ — ทุกสิ่งถูกสร้างขึ้น, สรฺวาณิ — ทั้งหมด, อิติ — ดังนั้น, อุปธารย — รู้, อหมฺ — ข้า, กฺฤตฺสฺนสฺย — รวมทั้งหมด, ชคตห์ — ของโลก, ปฺรภวห์ — แหล่งกำเนิดของปรากฏการณ์, ปฺรลยห์ — การทำลาย, ตถา — รวมทั้ง

คำแปล

สิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นมาทั้งหมดมีแหล่งกำเนิดอยู่ในธรรมชาติทั้งสองนี้ จงรู้ไว้ด้วยว่า วัตถุทั้งหมดและวิญญาณทั้งหมดในโลกนี้ ข้าเป็นทั้งจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด

คำอธิบาย

ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่เป็นผลผลิตของวัตถุและวิญญาณ วิญญาณเป็นสนามหลักแห่งการสร้าง วัตถุได้ถูกสร้างขึ้นโดยวิญญาณ วิญญาณมิใช่ถูกสร้างขึ้นมาในช่วงหนึ่งช่วงใดของการพัฒนาทางวัตถุ แต่โลกวัตถุนี้ปรากฏขึ้นจากฐานของพลังงานวิญญาณเท่านั้น ร่างกายวัตถุนี้เจริญเติบโตขึ้นเพราะว่าวิญญาณอยู่ภายในวัตถุ ทารกค่อยๆเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นเด็กและเป็นหนุ่มสาวเพราะว่าพลังงานเบื้องสูงหรือดวงวิญญาณอยู่ในร่างกาย ในทำนองเดียวกันปรากฏการณ์ในจักรวาลทั้งหมดแห่งจักรวาลอันยิ่งใหญ่ไพศาลพัฒนาขึ้นเนื่องจากอภิวิญญาณ หรือพระวิษณุทรงประทับอยู่ ฉะนั้นวิญญาณและวัตถุรวมกันเข้าปรากฏมาเป็นรูปลักษณ์จักรวาลอันมหึมานี้โดยพื้นฐานทั้งสองเป็นพลังงานขององค์ภควานฺ และด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงเป็นแหล่งกำเนิดเดิมของทุกสิ่งทุกอย่าง ละอองอณูขององค์ภควานฺ เช่น สิ่งมีชีวิตอาจเป็นแหล่งกำเนิดของตึกระฟ้าสูงใหญ่ โรงงานใหญ่ๆ หรือแม้แต่เมืองใหญ่ๆ แต่ไม่สามารถเป็นแหล่งกำเนิดของจักรวาลอันมหึมาได้แหล่งกำเนิดของจักรวาลอันยิ่งใหญ่เป็นดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่หรืออภิวิญญาณ และองค์กฺฤษฺณบุคลิกภาพสูงสุดทรงเป็นแหล่งกำเนิดของทั้งอภิวิญญาณและอนุวิญญาณ ฉะนั้นองค์กฺฤษฺณทรงเป็นแหล่งกำเนิดเดิมแท้ของแหล่งกำเนิดทั้งปวง ใน กฐ อุปนิษทฺ (2.2.13) ได้ยืนยันไว้ดังนี้ นิโตฺย นิตฺยานำ เจตนศฺ เจตนานามฺ

โศลก 7

mattaḥ parataraṁ nānyat
kiñcid asti dhanañ-jaya
mayi sarvam idaṁ protaṁ
sūtre maṇi-gaṇā iva
มตฺตห์ ปรตรํ นานฺยตฺ
กิญฺจิทฺ อสฺติ ธนญฺ-ชย
มยิ สรฺวมฺ อิทํ โปฺรตํ
สูเตฺร มณิ-คณา อิว
มตฺตห์ — เหนือข้า, ปร-ตรมฺ — สูงกว่า, — ไม่, อนฺยตฺ กิญฺจิตฺ — สิ่งอื่นอีก, อสฺติ — มี, ธนมฺ-ชย — โอ้ ผู้ชนะความรวย, มยิ — ในข้า, สรฺวมฺ — ทั้งหมดที่มี, อิทมฺ — ที่เราเห็น, โปฺรตมฺ — ร้อย, สูเตฺร — ในเส้นด้าย, มณิ-คณาห์ — ไข่มุก, อิว — เหมือน

คำแปล

โอ้ ผู้ชนะความร่ำรวย ไม่มีสัจธรรมใดเหนือไปกว่าข้า ทุกสิ่งทุกอย่างพำนักอยู่ที่ข้า เฉกเช่นไข่มุกที่ถูกร้อยอยู่ในเส้นด้าย

คำอธิบาย

มีข้อขัดแย้งทั่วไปว่าสัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุดมีรูปลักษณ์หรือไม่มีรูปลักษณ์ ภควัท-คีตา กล่าวว่าสัจธรรมที่สมบูรณ์คือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าศฺรี กฺฤษฺณซึ่งได้ยืนยันไว้เช่นนี้ในทุกขั้นตอนโดยเฉพาะโศลกนี้ได้เน้นว่าสัจธรรมที่สมบูรณ์เป็นบุคคลบุคลิกภาพแห่งพระผู้เป็นเจ้าคือสัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุด ใน พฺรหฺม-สํหิตา ได้ยืนยันไว้เช่นกันว่า อีศฺวรห์ ปรมห์ กฺฤษฺณห์ สจฺ-จิทฺ-อานนฺท-วิคฺรหห์ สัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุดบุคลิกภาพแห่งองค์ภควานฺ คือ ศฺรี กฺฤษฺณผู้ทรงเป็นปฐมองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดแห่งความสุขทั้งปวง โควินฺท ผู้ทรงมีรูปลักษณ์อมตะที่เปี่ยมไปด้วยความปลื้มปิติสุขและความรู้ ความน่าเชื่อถือได้เช่นนี้ทำให้ไม่มีข้อสงสัยว่าสัจธรรมที่สมบูรณ์คือบุคลิกภาพสูงสุดแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง อย่างไรก็ดีผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์จะเถียงตามอำนาจคำแปลของคัมภีร์พระเวทที่ให้ไว้ใน เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ (3.10) ว่า ตโต ยทฺ อุตฺตร-ตรํ ตทฺ อรูปมฺ อนามยมฺ / เอตทฺ วิทุรฺ อมฺฤตาสฺ เต ภวนฺติ อเถตเร ทุห์ขมฺ เอวาปิยนฺติ “ในโลกวัตถุพระพรหมทรงเป็นชีวิตแรกในจักรวาลเข้าใจว่าเป็นบุคลิกภาพผู้สูงสุดในบรรดาเทวดา มนุษย์ และสัตว์ต่ำแต่เหนือไปกว่าพระพรหมยังมีองค์ภควานฺผู้ไม่มีร่างวัตถุและทรงเป็นอิสระจากมลทินทางวัตถุทั้งปวง ผู้ใดรู้ถึงพระองค์จะกลายมาเป็นทิพย์ได้เช่นเดียวกัน แต่พวกที่ไม่รู้จักพระองค์จะได้รับทุกข์ทรมานจากโลกวัตถุ”

ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์เน้นมากในคำว่า อรูปมฺ อรูปมฺ นี้ไม่ใช่ไร้รูปลักษณ์ แต่เป็นการแสดงถึงรูปลักษณ์ทิพย์แห่งความอมตะ เปี่ยมไปด้วยความสุข และความรู้ ดังที่ได้อธิบายไว้ใน พฺรหฺม-สํหิตา ข้างต้นนี้ โศลกอื่นๆ ใน เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ (3.8-9) ยืนยันไว้ว่า

เวทาหมฺ เอตํ ปุรุษํ มหานฺตมฺ
อาทิตฺย-วรฺณํ ตมสห์ ปรสฺตาตฺ
ตมฺ เอว วิทิตฺวาติ มฺฤตฺยุมฺ เอติ
นานฺยห์ ปนฺถา วิทฺยเต ’ยนาย
ยสฺมาตฺ ปรํ นาปรมฺ อสฺติ กิญฺจิทฺ
ยสฺมานฺ นาณีโย โน ชฺยาโย ’สฺติ กิญฺจิตฺ
วฺฤกฺษ อิว สฺตพฺโธ ทิวิ ติษฺฐตฺยฺ เอกสฺ
เตเนทํ ปูรฺณํ ปุรุเษณ สรฺวมฺ
“ข้าพเจ้ารู้ว่าบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ทรงเป็นทิพย์อยู่เหนือแนวคิดแห่งความมืดทางวัตถุทั้งปวง ผู้รู้ถึงพระองค์เช่นนี้เท่านั้นจึงสามารถข้ามพ้นวัฏจักรแห่งการเกิดและการตาย ไม่มีทางเลือกอื่นเพื่อความหลุดพ้นนอกจากความรู้แห่งบุคลิกภาพสูงสุดนี้”

“ไม่มีสัจธรรมใดสูงไปกว่าบุคลิกภาพสูงสุดเพราะว่าพระองค์ทรงสูงสุดยอดเล็กกว่าสิ่งที่เล็กที่สุด ใหญ่กว่าสิ่งที่ใหญ่ที่สุด สถิตในฐานะต้นไม้ที่เงียบสงบ ส่องรัศมีเจิดจรัสในท้องฟ้าทิพย์ และเหมือนต้นไม้ที่แผ่ขยายราก พระองค์ทรงแผ่ขยายพลังงานมากมาย”

จากสองโศลกนี้เราสรุปได้ว่าสัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุดคือ องค์ภควานฺผู้ทรงแผ่กระจายไปทั่วด้วยพลังงานอันหลากหลายของพระองค์ทั้งวัตถุและทิพย์

โศลก 8

raso ’ham apsu kaunteya
prabhāsmi śaśi-sūryayoḥ
praṇavaḥ sarva-vedeṣu
śabdaḥ khe pauruṣaṁ nṛṣu
รโส ’หมฺ อปฺสุ เกานฺเตย
ปฺรภาสฺมิ ศศิ-สูรฺยโยห์
ปฺรณวห์ สรฺว-เวเทษุ
ศพฺทห์ เข เปารุษํ นฺฤษุ
รสห์ — รส, อหมฺ — ข้า, อปฺสุ — ในน้ำ, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, ปฺรภา — แสง, อสฺมิ — ข้าเป็น, ศศิ-สูรฺยโยห์ — ของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์, ปฺรณวห์ — อักษรสาม ตัว อ-อุ-มฺ, สรฺว — ในทั้งหมด, เวเทษุ — คัมภีร์พระเวท, ศพฺทห์ — คลื่นเสียง, เข — ในอากาศ, เปารุษมฺ — ความสามารถ, นฺฤษุ — ในมนุษย์

คำแปล

โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี ข้าคือรสของน้ำ คือแสงของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ คือคำว่า โอํ ในบทมนต์พระเวท คือเสียงในอากาศ และคือความสามารถในมนุษย์

คำอธิบาย

โศลกนี้อธิบายว่าองค์ภควานฺทรงแผ่กระจายไปทั่วด้วยพลังงานวัตถุและพลังงานทิพย์อันหลากหลายได้อย่างไร องค์ภควานฺทรงสามารถสำเหนียกในเบื้องต้นได้ด้วยพลังงานต่างๆของพระองค์ด้วยวิธีนี้จึงได้รับการรู้แจ้งว่าพระองค์ทรงไร้รูปลักษณ์ดังเช่นเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ ทรงเป็นบุคคลและสำเหนียกได้ด้วยพลังงานที่แผ่กระจายไปทั่วคือแสงอาทิตย์ ฉะนั้นถึงแม้ว่าองค์ภควานฺทรงประทับอยู่ที่พระตำหนักนิรันดรเราสำเหนียกถึงพระองค์ได้ด้วยพลังงานที่แผ่กระจายไปทั่ว รสของน้ำเป็นสารที่มีฤทธิ์ ในน้ำไม่มีใครชอบดื่มน้ำทะเลเพราะว่ารสของน้ำไปผสมกับเกลือ เสน่ห์ของน้ำขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของรส รสที่บริสุทธิ์นี้คือหนึ่งในพลังงานของพระองค์มายาวาที สำเหนียกได้ว่าองค์ภควานฺว่าทรงปรากฏอยู่ในน้ำด้วยรส และสาวกสรรเสริญพระองค์ที่ทรงพระเมตตาส่งน้ำที่มีรสชาติเพื่อขจัดความกระหายของมนุษย์ นี่คือวิธีการสำเหนียกองค์ภควานฺในเชิงปฏิบัติจะไม่มีข้อขัดแย้งระหว่างลัทธิที่เชื่อว่ามีบุคคลและที่เชื่อว่าไม่มีบุคคล ผู้ที่รู้จักพระองค์ทราบดีว่าแนวคิดไม่มีบุคคลและแนวคิดว่ามีบุคคลปรากฏอยู่ควบคู่กันไปในทุกสิ่งทุกอย่างจึงไม่มีข้อขัดแย้ง ดังนั้นองค์ไจตนฺย ทรงสถาปนาหลักธรรม อจินฺตฺย เภท และ อเภท-ตตฺตฺว อันประเสริฐว่าเป็นทั้งหนึ่งเดียวและแตกต่างควบคู่กันไป

แสงของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เดิมทีสาดส่องออกมาจาก พฺรหฺม-โชฺยติรฺ ซึ่งเป็นรัศมีอันไร้รูปลักษณ์ขององค์ภควานฺเช่นเดียวกัน ปฺรณว หรือเสียงทิพย์แห่ง โอํ การ ที่เริ่มต้นมนต์พระเวททุกบทเป็นคำถวายพระพรชัยมงคลแด่องค์ภควานฺ เนื่องจากพวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์กลัวการถวายพระพรชัยมงคลแด่องค์ภควานฺด้วยพระนามอันมากมายขององค์กฺฤษฺณจึงชอบคลื่นเสียงทิพย์ โอํ-การ มากกว่า แต่พวกเขาไม่รู้แจ้งว่า โอํ-การ เป็นเสียงแทนองค์กฺฤษฺณ อาณาเขตของกฺฤษฺณจิตสำนึกแผ่กระจายไปทุกหนทุกแห่งผู้รู้กฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นผู้ได้รับพร พวกที่ไม่รู้จักองค์กฺฤษฺณจะอยู่ในความหลง ดังนั้นความรู้แห่งกฺฤษฺณคือความหลุดพ้นและความไม่รู้พระองค์คือพันธนาการ

โศลก 9

puṇyo gandhaḥ pṛthivyāṁ ca
tejaś cāsmi vibhāvasau
jīvanaṁ sarva-bhūteṣu
tapaś cāsmi tapasviṣu
ปุโณฺย คนฺธห์ ปฺฤถิวฺยำ จ
เตชศฺ จาสฺมิ วิภาวเสา
ชีวนํ สรฺว-ภูเตษุ
ตปศฺ จาสฺมิ ตปสฺวิษุ
ปุณฺยห์ — เดิมแท้, คนฺธห์ — กลิ่น, ปฺฤถิวฺยามฺ — ในดิน, — เช่นกัน, เตชห์ — ความร้อน, — เช่นกัน, อสฺมิ — ข้าเป็น, วิภาวเสา — ในไฟ, ชีวนมฺ — ชีวิต, สรฺว — ในทั้งหมด, ภูเตษุ — สิ่งมีชีวิต, ตปห์ — การบำเพ็ญเพียร, — เช่นกัน, อสฺมิ — ข้าเป็น, ตปสฺวิษุ — ในพวกที่ปฏิบัติการบำเพ็ญเพียร

คำแปล

ข้าคือกลิ่นเดิมแท้ของดิน ข้าคือความร้อนในไฟ ข้าคือดวงชีวิตของมวลชีวิต และข้าคือการบำเพ็ญเพียรของนักพรตทั้งหลาย

คำอธิบาย

ปุณฺย หมายความว่าสิ่งที่ไม่เน่าเปื่อย ปุณฺย เป็นสิ่งเดิมแท้ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกวัตถุนี้มีเชื้อกลิ่นหรือกลิ่นหอมโดยเฉพาะของมันดังเช่นเชื้อกลิ่นหอมในดอกไม้หรือในดิน ในน้ำ ในไฟ ในลม ฯลฯ เชื้อกลิ่นที่บริสุทธิ์หรือกลิ่นเดิมแท้ที่ซึมซาบอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างคือองค์กฺฤษฺณ ในทำนองเดียวกันทุกสิ่งทุกอย่างมีรสเดิมแท้โดยเฉพาะของมัน รสนี้สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการผสมกับสารเคมี ฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างในสภาพเดิมแท้จะมีกลิ่น มีความหอม และมีรสของมัน วิภาวสุ หมายถึงไฟ หากปราศจากไฟโรงงานอุตสาหกรรมจะดำเนินงานไม่ได้และเราไม่สามารถปรุงอาหารได้เช่นกัน ไฟนั้นคือองค์กฺฤษฺณ ความร้อนในไฟก็คือองค์กฺฤษฺณ ตามหลักเวชศาสตร์พระเวทท้องผูกเนื่องมาจากอุณหภูมิในท้องต่ำ ดังนั้นแม้แต่การย่อยอาหารไฟยังเป็นสิ่งจำเป็นในกฺฤษฺณจิตสำนึก เราทราบดีว่าดิน น้ำ ไฟ ลม และสารที่มีฤทธิ์ทุกชนิดเคมีทั้งหมด และธาตุวัตถุทั้งหมดเนื่องมาจากองค์กฺฤษฺณ อายุขัยของชีวิตมนุษย์ก็เนื่องมาจากองค์กฺฤษฺณเช่นเดียวกัน ด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์กฺฤษฺณทำให้มนุษย์มีอายุยืนหรืออายุสั้นได้ ฉะนั้นกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่ง

โศลก 10

bījaṁ māṁ sarva-bhūtānāṁ
viddhi pārtha sanātanam
buddhir buddhimatām asmi
tejas tejasvinām aham
พีชํ มำ สรฺว-ภูตานำ
วิทฺธิ ปารฺถ สนาตนมฺ
พุทฺธิรฺ พุทฺธิมตามฺ อสฺมิ
เตชสฺ เตชสฺวินามฺ อหมฺ
พีชมฺ — เมล็ดพันธ์ุ, มามฺ — ข้า, สรฺว-ภูตานามฺ — ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย, วิทฺธิ — พยายามเข้าใจ, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, สนาตนมฺ — เดิมแท้อมตะ, พุทฺธิห์ — ปัญญา, พุทฺธิ-มตามฺ — ของปัญญา, อสฺมิ — ข้าเป็น, เตชห์ — พลังอำนาจ, เตชสฺวินามฺ — ของผู้มีอำนาจ, อหมฺ — ข้า

คำแปล

โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา จงรู้ว่าข้าคือเมล็ดพันธุ์แรกของสิ่งที่มีอยู่ทั้งหลาย ข้าคือปัญญาของผู้มีปัญญา และข้าคือพลังอำนาจของผู้ที่มีอำนาจทั้งหลาย

คำอธิบาย

คำว่า พีชมฺ หมายถึงเมล็ดพันธ์ุ องค์กฺฤษฺณทรงเป็นเมล็ดพันธุ์ของทุกสิ่งทุกอย่างมีสิ่งมีชีวิตต่างๆทั้งเคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่ นก สัตว์ มนุษย์ และสัตว์อื่นๆอีกมากมายเป็นสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ อย่างไรก็ดีต้นไม้และไม้ล้มลุกอยู่กับที่ ไม่เคลื่อนไหวไปที่อื่น ทุกชีวิตอยู่ภายในขอบเขตของ 8,400,000 เผ่าพันธุ์ บ้างเคลื่อนที่และบ้างไม่เคลื่อนที่ ในทุกๆกรณีเมล็ดพันธุ์ของชีวิตเหล่านั้นคือองค์กฺฤษฺณ ดังที่กล่าวไว้ในวรรณกรรมพระเวทว่า พฺรหฺมนฺ หรือสัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุดคือบุคคลที่ทุกสิ่งทุกอย่างได้ผลิตออกมาองค์กฺฤษฺณ คือ ปร-พฺรหฺมนฺ ดวงวิญญาณสูงสุด พฺรหฺมนฺ ไร้รูปลักษณ์และ ปร-พฺรหฺมนฺ มีรูปลักษณ์ ภควัท-คีตา ได้กล่าวว่า พฺรหฺมนฺ ที่ไร้รูปลักษณ์สถิตย์อยู่ภายในรูปลักษณ์ ฉะนั้นเดิมทีองค์กฺฤษฺณทรงเป็นแหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง พระองค์ทรงเป็นรากดังเช่นรากของต้นไม้บำรุงเลี้ยงต้นไม้ทั้งต้นองค์กฺฤษฺณทรงเป็นรากเดิมแท้ของสรรพสิ่ง ทรงบำรุงเลี้ยงทุกสิ่งทุกอย่างในปรากฏการณ์ทางวัตถุนี้ได้ยืนยันไว้ในวรรณกรรมพระเวท (กฐ อุปนิษทฺ 2.2.13) เช่นกันว่า

นิโตฺย นิตฺยานำ เจตนศฺ เจตนานามฺ
เอโก พหูนำ โย วิทธาติ กามานฺ
พระองค์ทรงเป็นปฐมองค์อมตะองค์แรกในหมู่องค์อมตะทั้งหลาย ทรงเป็นสิ่งมีชีวิตสูงสุดของมวลชีวิต และพระองค์เท่านั้นที่ทรงบำรุงเลี้ยงมวลชีวิต เราไม่สามารถทำอะไรได้หากปราศจากปัญญาองค์กฺฤษฺณตรัสไว้เช่นกันว่าพระองค์ทรงเป็นรากของปัญญาทั้งหมด ถ้าหากเราไม่มีปัญญาเราก็จะไม่สามารถเข้าใจบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์กฺฤษฺณได้

โศลก 11

balaṁ balavatāṁ cāhaṁ
kāma-rāga-vivarjitam
dharmāviruddho bhūteṣu
kāmo ’smi bharatarṣabha
พลํ พลวตำ จาหํ
กาม-ราค-วิวรฺชิตมฺ
ธรฺมาวิรุทฺโธ ภูเตษุ
กาโม ’สฺมิ ภรตรฺษภ
พลมฺ — พลัง, พล-วตามฺ — ของคนแข็งแรง, — และ, อหมฺ — ข้าเป็น, กาม — ตัณหา, ราค — และความยึดติด, วิวรฺชิตมฺ — ปราศจาก, ธรฺม-อวิรุทฺธห์ — ไม่ผิดหลักธรรมศาสนา, ภูเตษุ — ในมวลชีวิต, กามห์ — ชีวิตเพศสัมพันธ์, อสฺมิ — ข้าเป็น, ภรต-ฤษภ — โอ้ เจ้าแห่ง ภารต

คำแปล

ข้าคือพลังของคนแข็งแรง ปราศจากตัณหาและความต้องการ ข้าคือชีวิตเพศสัมพันธ์ที่ไม่ผิดหลักธรรมศาสนา โอ้ เจ้าแห่ง ภารต (อรฺชุน)

คำอธิบาย

พลังของคนแข็งแรงควรมีไว้เพื่อใช้ปกป้องคนอ่อนแอไม่ใช่ไปรุกรานก้าวร้าวเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ในทำนองเดียวกันชีวิตเพศสัมพันธ์ตามหลักศาสนา (ธรฺม) ก็มีไว้เพื่อให้กำเนิดบุตรธิดามิใช่เพื่อจุดมุ่งหมายอื่น ดังนั้นความรับผิดชอบของผู้ปกครองคือทำให้บุตรธิดาของตนมีกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 12

ye caiva sāttvikā bhāvā
rājasās tāmasāś ca ye
matta eveti tān viddhi
na tv ahaṁ teṣu te mayi
เย ไจว สาตฺตฺวิกา ภาวา
ราชสาสฺ ตามสาศฺ จ เย
มตฺต เอเวติ ตานฺ วิทฺธิ
น ตฺวฺ อหํ เตษุ เต มยิ
เย — ทั้งหมดซึ่ง, — และ, เอว — แน่นอน, สาตฺตฺวิกาห์ — ในความดี, ภาวาห์ — ระดับของชีวิต, ราชสาห์ — ในระดับแห่งตัณหา, ตามสาห์ — ในระดับแห่งอวิชชา, — เช่นกัน, เย — ทั้งหมดซึ่ง, มตฺตห์ — จากข้า, เอว — แน่นอน, อิติ — ดังนั้น, ตานฺ — พวกเขา, วิทฺธิ — พยายามรู้, — ไม่, ตุ — แต่, อหมฺ — ข้า, เตษุ — ในพวกเขา, เต — พวกเขา, มยิ — ในข้า

คำแปล

จงรู้ไว้ว่าระดับแห่งชีวิตทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นความดี ตัณหา หรืออวิชชา ปรากฏออกมาด้วยพลังของข้า ด้านหนึ่งข้าคือทุกสิ่งทุกอย่างแต่ข้าก็เป็นอิสระ ข้ามิได้อยู่ภายใต้ระดับของธรรมชาติวัตถุ ตรงกันข้ามธรรมชาติวัตถุอยู่ภายในข้า

คำอธิบาย

กิจกรรมวัตถุทั้งหมดในโลกอยู่ภายใต้การกำกับของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุแม้ว่าระดับแห่งธรรมชาติวัตถุเหล่านี้ออกมาจากองค์ภควานฺ กฺฤษฺณพระองค์ทรงมิได้อยู่ภายใต้อำนาจของธรรมชาติวัตถุ ตัวอย่างเช่น เราอาจถูกลงโทษภายใต้กฎของรัฐแต่ กฺษตฺริย ผู้ออกกฎหมายทรงมิได้อยู่ภายใต้กฎหมายนั้นๆ ในทำนองเดียวกันระดับแห่งธรรมชาติวัตถุทั้งหลาย เช่น ความดี ตัณหา และอวิชชา ทั้งหมดออกมาจากองค์ภควานฺ กฺฤษฺณแต่องค์กฺฤษฺณทรงมิได้อยู่ภายใต้ธรรมชาติวัตถุ ฉะนั้นพระองค์ทรงเป็น นิรฺคุณ หมายความว่า คุณ หรือระดับเหล่านี้แม้ออกมาจากพระองค์แต่จะไม่มีผลกระทบต่อพระองค์คือหนึ่งในลักษณะพิเศษขององค์ภควานฺหรือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า

โศลก 13

tribhir guṇa-mayair bhāvair
ebhiḥ sarvam idaṁ jagat
mohitaṁ nābhijānāti
mām ebhyaḥ param avyayam
ตฺริภิรฺ คุณ-มไยรฺ ภาไวรฺ
เอภิห์ สรฺวมฺ อิทํ ชคตฺ
โมหิตํ นาภิชานาติ
มามฺ เอภฺยห์ ปรมฺ อวฺยยมฺ
ตฺริภิห์ — สาม, คุณ-มไยห์ — ประกอบด้วย คุณ, ภาไวห์ — โดยระดับของชีวิต, เอภิห์ — ทั้งหมดนี้, สรฺวมฺ — ทั้งหมด, อิทมฺ — นี้, ชคตฺ — จักรวาล, โมหิตมฺ — ความหลง, น อภิชานาติ — ไม่รู้, มามฺ — ข้า, เอภฺยห์ — เหนือสิ่งเหล่านี้, ปรมฺ — สูงสุด, อวฺยยมฺ — ไม่สิ้นสุด

คำแปล

ลุ่มหลงอยู่ในสามระดับ (ความดี ตัณหา และอวิชชา) โลกทั้งโลกไม่รู้จักข้า ผู้ซึ่งอยู่เหนือสามระดับและไม่มีวันสิ้นสุด

คำอธิบาย

ทั่วทั้งโลกหลงอยู่ในเสน่ห์ของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ พวกที่สับสนอยู่ในสามระดับนี้ไม่สามารถเข้าใจว่าเหนือกว่าธรรมชาติวัตถุนี้คือองค์ภควานฺกฺฤษฺณ

ทุกๆชีวิตที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของธรรมชาติวัตถุมีกิจกรรมทางร่างกาย จิตใจ และชีววิทยาโดยเฉพาะของตน มีมนุษย์อยู่สี่ประเภทที่ดำเนินอยู่ในธรรมชาติวัตถุสามระดับ พวกที่อยู่ในระดับความดีบริสุทธิ์เรียกว่า พฺราหฺมณ พวกที่อยู่ในระดับตัณหาบริสุทธิ์เรียกว่า กฺษตฺริย พวกที่อยู่ทั้งในตัณหาและอวิชชาเรียกว่า ไวศฺย พวกที่อยู่ในอวิชชาล้วนๆเรียกว่า ศูทฺร และพวกที่ต่ำกว่านี้คือสัตว์เดรัจฉาน อย่างไรก็ดีชื่อระบุเหล่านี้ไม่ถาวรเราอาจเป็น พฺราหฺมณ กฺษตฺริย ไวศฺย หรืออะไรก็ได้ไม่ว่าในกรณีใดชีวิตนี้ไม่ถาวร แต่ถึงแม้ว่าชีวิตไม่ถาวรและเราไม่รู้ว่าจะไปเป็นอะไรในชาติหน้า ด้วยมนต์สะกดของพลังแห่งความหลงนี้ทำให้เราพิจารณาตัวเราตามแนวคิดแห่งชีวิตทางร่างกาย ดังนั้นจึงคิดว่าเราเป็นคนอเมริกัน คนอินเดีย คนรัสเซีย หรือเป็น พฺราหฺมณ เป็นชาวฮินดูเป็นชาวมุสลิม ฯลฯ และถ้าหากว่าถูกพันธนาการอยู่ในสามระดับของธรรมชาติวัตถุเราก็ลืมบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าผู้ทรงอยู่เบื้องหลังระดับต่างๆเหล่านี้ ฉะนั้นองค์ศฺรี กฺฤษฺณตรัสว่าสิ่งมีชีวิตที่หลงอยู่ในสามระดับแห่งธรรมชาติจะไม่เข้าใจว่าเบื้องหลังฉากวัตถุคือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า

มีสิ่งมีชีวิตต่างๆมากมาย เช่น มนุษย์ เทวดา สัตว์เดรัจฉาน ฯลฯ แต่ละชีวิตอยู่ภายใต้อิทธิพลของธรรมชาติวัตถุ และทั้งหมดได้ลืมบุคลิกภาพแห่งพระเจ้าผู้ทรงเป็นทิพย์ พวกที่อยู่ระดับตัณหาและอวิชชาและแม้แต่พวกที่อยู่ในระดับความดีจะไม่สามารถไปสูงกว่าแนวความคิดแห่งสัจธรรม พฺรหฺมนฺ ที่ไร้รูปลักษณ์ พวกเขาสับสนเมื่อทราบว่าองค์ภควานฺในบุคลิกลักษณะส่วนพระองค์ประกอบไปด้วยความสง่างาม ความมั่งคั่ง ความรู้ พลังอำนาจ ชื่อเสียง และความเสียสละทั้งหมด ในเมื่อแม้แต่พวกที่อยู่ในความดียังไม่สามารถเข้าใจพระองค์แล้วพวกที่อยู่ในตัณหาและอวิชชาจะมีความหวังอะไร กฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นทิพย์เหนือสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุเหล่านี้ พวกที่สถิตย์อย่างแท้จริงในกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างแท้จริง

โศลก 14

daivī hy eṣā guṇa-mayī
mama māyā duratyayā
mām eva ye prapadyante
māyām etāṁ taranti te
ไทวี หฺยฺ เอษา คุณ-มยี
มม มายา ทุรตฺยยา
มามฺ เอว เย ปฺรปทฺยนฺเต
มายามฺ เอตำ ตรนฺติ เต
ไทวี — ทิพย์, หิ — แน่นอน, เอษา — นี้, คุณ-มยี — ประกอบด้วยสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ, มม — ของข้า, มายา — พลังงาน, ทุรตฺยยา — ข้ามพ้นได้ยากมาก, มามฺ — แด่ข้า, เอว — แน่นอน, เย — พวกซึ่ง, ปฺรปทฺยนฺเต — ศิโรราบ, มายามฺ เอตามฺ — พลังงานแห่งความหลงนี้, ตรนฺติ — ชัยชนะ, เต — พวกเขา

คำแปล

พลังทิพย์ของข้านี้ประกอบด้วยสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุซึ่งเอาชนะได้ยาก แต่พวกที่ศิโรราบต่อข้าสามารถข้ามพ้นไปได้โดยง่ายดาย

คำอธิบาย

องค์ภควานฺทรงมีพลังงานมากมายและพลังงานทั้งหมดนี้เป็นทิพย์ สิ่งมีชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของพลังงานของพระองค์ดังนั้นจึงเป็นทิพย์แต่เนื่องจากมาสัมผัสกับพลังงานวัตถุพลังงานเบื้องสูงเดิมแท้ของพวกเขาจึงถูกปกคลุม จากการถูกปกคลุมด้วยพลังงานวัตถุจึงทำให้ไม่สามารถเอาชนะอิทธิพลของมันได้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าทั้งธรรมชาติวัตถุและธรรมชาติทิพย์ที่ออกมาจากบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าเป็นอมตะ สิ่งมีชีวิตอยู่ในธรรมชาติอมตะที่สูงกว่าขององค์ภควานฺแต่เนื่องมาจากมลทินแห่งธรรมชาติวัตถุที่ต่ำกว่าความหลงของพวกเขาจึงเป็นอมตะเช่นเดียวกัน ฉะนั้นสภาวะของดวงวิญญาณจึงถูกเรียกว่า นิตฺย-พทฺธ หรืออยู่ในสภาวะอมตะ ไม่มีผู้ใดสามารถย้อนรอยประวัติศาสตร์ว่าตนเองมาอยู่ในสภาวะนี้วันที่เท่าไรในประวัติศาสตร์ทางวัตถุด้วยเหตุนี้การที่จะหลุดพ้นจากเงื้อมมือของธรรมชาติวัตถุจึงเป็นสิ่งที่ยากมาก แม้ว่าธรรมชาติวัตถุเป็นพลังงานที่ต่ำกว่าเพราะว่าในที่สุดพลังงานวัตถุที่ถูกกำกับโดยความปรารถนาสูงสุดขององค์ภควานฺซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถเอาชนะได้ คำจำกัดความของธรรมชาติวัตถุที่ต่ำกว่าได้ให้ไว้ที่นี้ว่าเป็นธรรมชาติทิพย์เนื่องจากการเชื่อมสัมพันธ์และการเคลื่อนไหวทิพย์จากความปรารถนาขององค์ภควานฺธรรมชาติวัตถุแม้จะต่ำกว่า แต่ถูกกำกับด้วยความปรารถนาทิพย์ปฏิบัติตนอย่างน่าอัศจรรย์ในการสร้างและการทำลายของปรากฏการณ์แห่งจักรวาล คัมภีร์พระเวทได้ยืนยันไว้ดังนี้ มายำ ตุ ปฺรกฺฤตึ วิทฺยานฺ มายินํ ตุ มเหศฺวรมฺ “แม้ว่า มายา (ความหลง) จะผิดหรือไม่ถาวร เบื้องหลังฉากของ มายา คือนักมายากลสูงสุดองค์ภควานฺผู้ทรงเป็น มเหศฺวร หรือผู้ควบคุมสูงสุด” (อุปนิษทฺ)

อีกความหมายหนึ่งของ คุณ คือเชือก เข้าใจว่าพันธวิญญาณถูกมัดอย่างแน่นหนาด้วยเชือกแห่งความหลง คนที่ถูกมัดมือมัดเท้าไม่สามารถช่วยตนเองเป็นอิสระได้จำต้องให้คนที่เป็นอิสระช่วยเพราะว่าคนที่ถูกมัดจะไม่สามารถช่วยคนถูกมัดได้ คนที่มาช่วยจะต้องเป็นอิสรเสรีไม่ถูกมัด ฉะนั้นศฺรี กฺฤษฺณหรือพระอาจารย์ทิพย์ผู้แทนของพระองค์ที่เชื่อถือได้เท่านั้นจึงสามารถปลดเปลื้องพันธวิญญาณได้ หากปราศจากการช่วยเหลือจากระดับสูงเช่นนี้เราจะไม่สามารถเป็นอิสระจากพันธนาการแห่งธรรมชาติวัตถุ การอุทิศตนเสียสละรับใช้หรือกฺฤษฺณจิตสำนึกสามารถช่วยเราให้ได้รับเสรีภาพเช่นนี้ องค์กฺฤษฺณทรงเป็นเจ้าแห่งพลังงานแห่งความหลง ทรงสามารถสั่งพลังงานที่ข้ามพ้นไม่ได้นี้ให้ปลดเปลื้องพันธวิญญาณ องค์กฺฤษฺณทรงสั่งให้ปลดปล่อยดวงวิญญาณที่ศิโรราบด้วยพระเมตตาอันหาที่สุดมิได้และจากความรักที่มีต่อสิ่งมีชีวิตดุจบิดาที่รักบุตรของตนซึ่งเดิมทีเป็นบุตรที่รักของพระองค์ฉะนั้นการศิโรราบต่อพระบาทรูปดอกบัวขององค์กฺฤษฺณจึงเป็นวิถีทางเดียวที่จะทำให้เราเป็นอิสระจากเงื้อมมือของธรรมชาติวัตถุอันเหนี่ยวแน่นนี้

คำว่า มามฺ เอว มีความสำคัญเช่นเดียวกัน มามฺ หมายความว่าแด่องค์กฺฤษฺณ (วิษฺณุ) เท่านั้น ไม่ใช่แด่พระพรหม หรือพระศิวะ ถึงแม้ว่าพระพรหม และพระศิวะจะมีความเจริญมากจนเกือบถึงระดับของพระวิษฺณุเป็นไปไม่ได้ที่อวตารแห่ง รโช-คุณ (ตัณหา) และ ตโม-คุณ (อวิชชา)จะปลดเปลื้องพันธวิญญาณจากเงื้อมมือของ มายา อีกนัยหนึ่งทั้งพระพรหม และพระศิวะก็ยังอยู่ภายใต้อิทธิพลของ มายา พระวิษณุ เท่านั้นที่ทรงเป็นเจ้านายของ มายา ฉะนั้นพระวิษณุเพียงองค์เดียวเท่านั้นที่ทรงสามารถปลดเปลื้องพันธวิญญาณ คัมภีร์พระเวท (เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ 3.8) ยืนยันเช่นนี้ในวลี ตมฺ เอว วิทิตฺวา หรือ “อิสรภาพเป็นไปได้จากการเข้าใจองค์กฺฤษฺณเท่านั้น” แม้พระศิวะยังทรงยืนยันว่าความหลุดพ้นสามารถบรรลุได้ด้วยพระเมตตาของพระวิษณุเท่านั้น พระศิวะตรัสว่า มุกฺติ-ปฺรทาตา สเรฺวษำ วิษฺณุรฺ เอว สํศยห์ “ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าพระวิษฺณุทรงเป็นผู้ให้ความหลุดพ้นสำหรับทุกๆชีวิต”

โศลก 15

na māṁ duṣkṛtino mūḍhāḥ
prapadyante narādhamāḥ
māyayāpahṛta-jñānā
āsuraṁ bhāvam āśritāḥ
น มำ ทุษฺกฺฤติโน มูฒาห์
ปฺรปทฺยนฺเต นราธมาห์
มายยาปหฺฤต-ชฺญานา
อาสุรํ ภาวมฺ อาศฺริตาห์
— ไม่, มามฺ — แด่ข้า, ทุษฺกฺฤตินห์ — คนสารเลว, มูฒาห์ — โง่, ปฺรปทฺยนฺเต — ศิโรราบ, นร-อธมาห์ — ต่ำสุดในหมู่มนุษย์, มายยา — ด้วยพลังแห่งความหลง, อปหฺฤต — ถูกขโมยไป, ชฺญานาห์ — ความรู้ของเขา, อาสุรมฺ — มาร, ภาวมฺ — ธรรมชาติ, อาศฺริตาห์ — รับเอา

คำแปล

พวกที่โง่เขลามาก ต่ำสุดในหมู่มนุษย์ ถูกความหลงขโมยเอาความรู้ไป และเป็นผู้มีส่วนร่วมกับธรรมชาติมารที่ไม่เชื่อในองค์ภควานจะไม่ศิโรราบต่อข้า

คำอธิบาย

ได้กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา ว่าเพียงแต่ศิโรราบตนเองต่อพระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานฺ กฺฤษฺณเราจะสามารถข้ามพ้นกฎเกณฑ์อันเข้มงวดของธรรมชาติวัตถุได้ ตรงนี้ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่าแล้วพวกนักปราชญ์ที่มีการศึกษา นักวิทยาศาสตร์ นักธุรกิจ นักบริหาร และผู้นำของคนโดยทั่วไปทำไมจึงไม่ศิโรราบต่อพระบาทรูปดอกบัวของศฺรี กฺฤษฺณ องค์ภควานฺผู้ทรงมีพลังอำนาจทั้งปวงเล่า มุกฺติ หรือความมีอิสรภาพจากกฎแห่งธรรมชาติวัตถุเป็นสิ่งที่ผู้นำแห่งมนุษยชาติเสาะแสวงหาด้วยวิธีต่างๆด้วยแผนการอันยิ่งใหญ่ และด้วยความอุตสาหะพยายามเป็นเวลาหลายต่อหลายปีและหลายต่อหลายชาติ หากว่าความมีอิสรภาพหลุดพ้นเป็นไปได้ด้วยเพียงแต่ศิโรราบต่อพระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานฺ แล้วทำไมผู้นำที่มีสติปัญญาและทำงานหนักเหล่านี้ไม่ยอมรับวิธีปฏิบัติที่ง่ายดายเช่นนี้

คีตา ตอบคำถามนี้อย่างเปิดเผยว่าผู้นำสังคมที่มีความรู้จริง เช่น พระพรหม, พระศิวะ, กปิล, สี่กุมาร, มนุ, วฺยาส, เทวล, อสิต, ชนก, ปฺรหฺลาท, พลิ,และต่อมา มธฺวาจารฺย, รามานุชาจารฺย, ศฺรี ไจตนฺย และผู้อื่นอีกมากมายที่เป็นนักปราชญ์ นักการเมือง นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ที่มีความซื่อสัตย์จะศิโรราบต่อพระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานฺผู้ทรงมีอำนาจทั้งปวงที่เชื่อถือได้ พวกที่ไม่ใช่นักปราชญ์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ และนักบริหาร ฯลฯ ที่แท้จริงแต่อวดอ้างตนเองว่าเป็นบุคคลเหล่านี้เพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุจะไม่ยอมรับแผนหรือวิธีขององค์ภควานฺ พวกเขาไม่มีความคิดเกี่ยวกับองค์ภควานฺเพียงแต่ผลิตแผนการทางโลกของตนเอง และต่อมาก็สับสนอยู่กับปัญหาความเป็นอยู่ทางวัตถุในความพยายามที่จะแก้ปัญหาและไม่ประสบความสำเร็จเพราะว่าพลังงาน (ธรรมชาติ) วัตถุมีพลังอำนาจมากสามารถต้านแผนที่เชื่อถือไม่ได้ของผู้ที่ไม่เชื่อในองค์ภควานฺและปิดกั้นความรู้ของ “คณะกรรมการวางแผน”

นักวางแผนผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานฺอธิบายไว้ ที่นี้ด้วยคำ ทุษฺกฺฤตินห์ หรือ “คนสารเลว” กฺฤตี หมายความถึงผู้ทำงานการกุศล นักวางแผนผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานฺ บางครั้งมีความฉลาดมากและมีใจกุศลเช่นกันเพราะว่าแผนงานใหญ่ใดๆ ไม่ว่าจะดีหรือเลวต้องใช้ปัญญาในการปฏิบัติแต่เนื่องจากสมองของผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานฺได้ถูกใช้ไปอย่างไม่เหมาะสมในการต่อต้านแผนของพระองค์นักวางแผนผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานฺจึงถูกเรียกว่า ทุษฺกฺฤตี ซึ่งแสดงว่าปัญญาและความพยายามถูกนำไปในทางที่ผิด

ใน คีตา ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าพลังงานวัตถุดำเนินไปภายใต้คำสั่งขององค์ภควานฺอย่างสมบูรณ์ โดยไม่มีอำนาจที่เป็นอิสระจึงดำเนินไปเหมือนเงาที่เคลื่อนตามการเคลื่อนไหวของตัวจริง ถึงกระนั้นพลังงานวัตถุก็มีพลังอำนาจมาก และผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานฺอันเนื่องมาจากอารมณ์ที่เห็นว่าไม่มีองค์ภควานฺจึงไม่สามารถรู้ว่ามันดำเนินไปอย่างไร และไม่สามารถรู้ถึงแผนของพระองค์ภายใต้ความหลงและภายใต้ระดับตัณหาและอวิชชาแผนของเขาทั้งหมดจึงล้มเหลว ดังเช่นกรณีของ หิรณฺยกศิปุ และ ราวณ ที่แผนการถูกทำลายเป็นผุยผงถึงแม้ว่าทั้งสองเป็นผู้ที่มีความรู้ทางวัตถุสูงเหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ นักปราชญ์ นักบริหาร และนักวิชาการ ทุษฺกฺฤติน หรือคนสารเลวเหล่านี้มีอยู่สี่รูปแบบดังจะอธิบายต่อไปนี้

(1) มูฒ คือพวกที่โง่มากเหมือนกับสัตว์เดรัจฉานที่แบกภาระทำงานหนักพวกนี้ต้องการหาความสุขกับผลจากแรงงานของตน ดังนั้นจึงไม่ต้องการมีส่วนร่วมกับพระองค์ตัวอย่างที่เห็นกันอยู่ทั่วไปของสัตว์ที่แบกภาระหนักคือลา สัตว์ผู้ถ่อมตนตัวนี้ถูกเจ้านายใช้งานอย่างหนักมาก เจ้าลาไม่รู้อย่างแท้จริงว่าตัวมันทำงานหนักทั้งวันทั้งคืนเพื่อใคร มันรู้สึกอิ่มใจจากการได้หญ้ามาหนึ่งกำที่ป้อนลงไปในท้อง นอนสักพักหนึ่งภายใต้ความกลัวที่จะถูกเจ้านายเฆี่ยน และพอใจกับเพศสัมพันธ์ภายใต้ความเสี่ยงที่จะถูกเพศตรงข้ามเตะซ้ำแล้วซ้ำอีก บางครั้งเจ้าลาร้องเพลงเป็นบทกวีและปรัชญาเสียงโอดครวญเช่นนี้ได้แต่รบกวนผู้อื่นเท่านั้น นี่คือตัวอย่างของคนโง่ที่ทำงานเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่รู้ว่าควรทำงานเพื่อใคร และไม่รู้ว่า กรฺม (กรรม) ทำไปเพื่อ ยชฺญ (การบูชา)

พวกที่ทำงานหนักทั้งวันทั้งคืนเพื่อสะสางภาระหน้าที่ที่ตนเองสร้างขึ้นมาจะกล่าวว่าไม่มีเวลามาสดับฟังเกี่ยวกับความเป็นอมตะของสิ่งมีชีวิต สำหรับพวก มูฒ ผลประโยชน์ทางวัตถุซึ่งในที่สุดจะสูญสลายเป็นทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต ถึงแม้ว่าพวก มูฒ ได้รับความสุขน้อยมากจากผลแห่งแรงงานของตน บางครั้งพวกนี้อดหลับอดนอนทั้งวันทั้งคืนเพื่อผลกำไร แม้จะเป็นโรคกระเพาะหรือท้องอืดเฟ้อก็ยังพึงพอใจกับการที่ไม่รับประทานอาหาร และได้แต่ซึมซาบอยู่กับการทำงานทั้งวันทั้งคืนเพื่อประโยชน์ของพวกเจ้านายที่ลวงตา อยู่ในอวิชชาเกี่ยวกับเจ้านายที่แท้จริงของตนเอง คนงานหน้าโง่เหล่านี้เสียเวลาอันมีค่าไปรับใช้ทรัพย์ศฤงคาร (ทรัพย์อันเป็นที่รักที่ชอบ) ด้วยความอับโชคจึงไม่เคยศิโรราบต่อเจ้านายสูงสุดของเจ้านายทั้งหลาย และไม่เคยให้เวลาในการสดับฟังเกี่ยวกับองค์ภควานฺจากแหล่งที่ถูกต้อง สุกรที่กินอุจจาระจะไม่ใยดีที่จะยอมรับอาหารอันหวานฉ่ำที่ทำจากน้ำตาลและเนยใส ในทำนองเดียวกันกรรมกรผู้โง่เขลาจะฟังข่าวเพื่อความสุขทางประสาทสัมผัสแห่งโลกวัตถุต่อไปโดยไม่รู้จักเบื่อ แต่มีเวลาเพียงเล็กน้อยเพื่อสดับฟังเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอมตะที่เป็นผู้เคลื่อนไหวโลกวัตถุ

(2) ทุษฺกฺฤตี หรือคนสารเลวอีกระดับหนึ่งเรียกว่า นราธม หรือต่ำสุดของมนุษยชาติ นร แปลว่ามนุษย์และ อธม แปลว่าต่ำสุด จาก 8,400,000 เผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต มีอยู่ 400,000 ที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ จากนี้มีรูปแบบที่ต่ำกว่าชีวิตมนุษย์มากมายซึ่งส่วนใหญ่ไม่เจริญ มุนษย์ที่เจริญแล้วเป็นพวกที่มีหลักศีลธรรมของสังคมการเมืองและชีวิตทางศาสนา พวกที่พัฒนาทางสังคมและการเมืองแต่ไม่มีหลักศาสนาต้องพิจารณาว่าเป็น นราธม หรือว่าศาสนาที่ไม่มีองค์ภควานฺ เพราะว่าจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาก็เพื่อให้รู้ถึงสัจธรรมสูงสุดและความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระองค์ ใน คีตา องค์ภควานฺทรงกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าไม่มีผู้ที่มีอำนาจเชื่อถือได้ผู้ใดที่เหนือไปกว่าพระองค์องค์ภควานฺคือสัจธรรมสูงสุด รูปลักษณ์ที่เจริญแล้วของชีวิตมนุษย์มีไว้เพื่อฟื้นฟูจิตสำนึกที่สูญหายไปของมนุษย์ในความสัมพันธ์นิรันดรกับสัจธรรมสูงสุด องค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณผู้ทรงมีพลังอำนาจทั้งปวง ผู้ใดที่สูญเสียโอกาสนี้จัดอยู่ในจำพวก นราธม เราได้ข้อมูลจากพระคัมภีร์ที่เปิดเผยว่าเมื่อทารกน้อยอยู่ในครรภ์มารดา (สภาวะที่อึดอัดมาก) เขาจะสวดมนต์ภาวนาต่อองค์ภควานฺเพื่อช่วยจัดส่งให้ออกมา และสัญญาว่าทันทีที่ออกมาจะบูชาแต่พระองค์เท่านั้น การสวดมนต์ภาวนาถึงองค์ภควานฺเมื่ออยู่ในสภาวะคับขันเป็นสัญชาตญาณธรรมชาติของทุกๆชีวิตเพราะมีความสัมพันธ์นิรันดรกับพระองค์แต่หลังจากคลอดออกมาแล้วเด็กคนนี้ก็ลืมความยากลำบากแห่งการเกิดและลืมทั้งผู้คลอด เนื่องด้วยอิทธิพลของ มายา หรือพลังแห่งความหลง

เป็นหน้าที่ของผู้ดูแลเด็กที่จะฟื้นฟูจิตสำนึกแห่งองค์ภควานฺที่มีอยู่ลึกๆภายในตัวเขา พิธีปฏิรูปสิบวิธีที่ได้กล่าวไว้ใน มนุ-สฺมฺฤติ เป็นแนวทางหลักศาสนาเพื่อฟื้นจิตสำนึกแห่งองค์ภควานฺในระบบของ วรฺณาศฺรม อย่างไรก็ดีไม่มีวิธีใดที่ปฏิบัติตามกันอย่างเคร่งครัดไม่ว่าส่วนไหนของโลกในปัจจุบันนี้ ดังนั้น 99.9 เปอร์เซ็นต์ของประชากรเป็น นราธม

เมื่อประชากรทั้งหมดเป็น นราธม โดยธรรมชาติสิ่งที่เรียกว่าการศึกษาของพวกเขาทั้งหมดเป็นโมฆะด้วยพลังงานที่มีอำนาจทั้งหมดของธรรมชาติวัตถุ ตามมาตรฐานของ คีตา ผู้ที่มีความรู้คือผู้ที่เห็นด้วยความเสมอภาคไม่ว่าจะเป็น พฺราหฺมณ ผู้คงแก่เรียน สุนัข วัว ช้าง และคนกินสุนัข นั่นคือวิสัยทัศน์ของสาวกที่แท้จริง ศฺรี นิตฺยานนฺท ปฺรภุ ผู้ทรงเป็นอวตารขององค์ภควานฺในรูปของพระอาจารย์ทิพย์ ทรงจัดส่ง นราธม ตัวอย่าง คือ สองพี่น้อง ชคาอิ และ มาธาอิ และทรงแสดงให้เห็นถึงพระเมตตาที่แท้จริงของสาวกที่มีต่อผู้ที่ต่ำสุดแห่งมนุษยชาติ ดังนั้น นราธม ที่ถูกองค์ภควานฺลงโทษสามารถฟื้นฟูจิตสำนึกทิพย์ของตนขึ้นอีกครั้งหนึ่งด้วยพระเมตตาของสาวกเท่านั้น

ในการเผยแพร่ ภาควต-ธรฺม หรือกิจกรรมของสาวก ศฺรี ไจตนฺย มหาปฺรภุ ทรงแนะนำให้ผู้คนสดับฟังสาส์นขององค์ภควานฺอย่างยอมจำนน เนื้อหาสาระของสาส์นนี้คือ ภควัท-คีตา ผู้ต่ำสุดในหมู่มนุษย์สามารถได้รับการจัดส่งด้วยวิธีการสดับฟังแบบยอมจำนนเท่านั้น แต่โชคร้ายที่พวกเขายังปฏิเสธในการรับฟังสาส์นเหล่านี้จึงไม่ต้องพูดถึงการศิโรราบต่อความปรารถนาขององค์ภควานฺ นราธม หรือผู้ต่ำสุดแห่งมนุษยชาติจะปฏิเสธอย่างเต็มที่เกี่ยวกับหน้าที่ที่สำคัญของมนุษย์

(3) ทุษฺกฺฤตี ระดับต่อไปเรียกว่า มายยาปหฺฤต-ชฺญานาห์ หรือพวกที่ความรู้อันสูงส่งของพวกเขาใช้ประโยชน์ไม่ได้ด้วยอิทธิพลของพลังงานแห่งความหลงทางวัตถุ พวกนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้มีความรู้มาก เช่น นักปราชญ์ นักกวี บัณฑิต นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย ฯลฯ แต่ถูกพลังงานแห่งความหลงนำไปในทางที่ผิด ดังนั้นพวกเขาจึงไม่เชื่อฟังองค์ภควานฺ

มี มายยาปหฺฤต-ชฺญานาห์ จำนวนมากในปัจจุบันแม้ในหมู่นักวิชาการแห่ง ภควัท-คีตา เอง ได้กล่าวไว้ใน คีตา ด้วยภาษาที่เรียบง่ายว่า ศฺรี กฺฤษฺณคือองค์ภควานฺ ไม่มีผู้ใดเทียบเท่าหรือยิ่งใหญ่ไปกว่าพระองค์ทรงเป็นพระบิดาของพระพรหมผู้ที่เป็นพระบิดาองค์แรกของมนุษย์ทั้งหลาย อันที่จริงได้กล่าวไว้ว่าศฺรี กฺฤษฺณทรงมิใช่เป็นเพียงพระบิดาของพระพรหมเท่านั้น แต่ยังเป็นพระบิดาของเผ่าพันธุ์ชีวิตทั้งหมด ทรงเป็นรากของ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์และ ปรมาตฺมา หรืออภิวิญญาณในทุกๆชีวิตซึ่งเป็นส่วนที่แบ่งแยกออกมาจากพระองค์พระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง และได้แนะนำไว้ว่าทุกคนควรศิโรราบต่อพระบาทรูปดอกบัวขององค์กฺฤษฺณ ถึงแม้จะมีข้อความที่ชัดเจนทั้งหมดนี้แต่พวก มายยาปหฺฤต-ชฺญานาห์ ยังเย้ยหยันบุคลิกภาพแห่งองค์ภควานฺ และพิจารณาว่าพระองค์ทรงเป็นเพียงมนุษย์อีกคนหนึ่งเท่านั้น โดยไม่รู้ว่ารูปร่างมนุษย์ที่ได้รับพรมานี้ออกแบบมาจากรูปร่างลักษณะทิพย์อันเป็นอมตะขององค์ภควานฺ

การตีความที่เชื่อถือไม่ได้ทั้งหลายของ คีตา โดยกลุ่ม มายยาปหฺฤต-ชฺญานาห์ ซึ่งอยู่นอกบทบัญญัติของระบบ ปรมฺปรา จะเป็นอุปสรรคมากบนหนทางแห่งความเข้าใจในวิถีทิพย์ ผู้ตีความที่อยู่ในความหลงจะไม่ศิโรราบต่อพระบาทรูปดอกบัวของศฺรี กฺฤษฺณ และพวกเขาจะไม่สอนผู้อื่นให้ปฏิบัติตามหลักธรรมนี้

(4) ทุษฺกฺฤตี ระดับสุดท้ายเรียกว่า อาสุรํ ภาวมฺ อาศฺริตาห์ หรือพวกที่มีหลักอธรรมหรือหลักมาร พวกนี้ไม่เชื่อในองค์ภควานฺอย่างเปิดเผย บางคนเถียงว่าองค์ภควานฺไม่สามารถเสด็จลงมาโลกวัตถุนี้ได้แต่ก็ไม่สามารถให้เหตุผลอย่างเป็นรูปธรรมว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น และมีบางคนคิดว่าพระองค์ทรงด้อยกว่าลักษณะที่ไร้รูปลักษณ์ ถึงแม้ได้ประกาศไว้ใน คีตา อย่างตรงกันข้ามด้วยความอิจฉาบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ผู้ไม่เชื่อองค์ภควานฺจะเสนออวตารตัวปลอมจำนวนมากมายที่ผลิตขึ้นในโรงงานสมองของตนเอง บุคคลเหล่านี้ที่หลักการของชีวิตชอบประณามองค์ภควานฺ และไม่ศิโรราบต่อพระบาทรูปดอกบัวของศฺรี กฺฤษฺณ

ศฺรี ยามุนาจารฺย อาลพนฺทรุ แห่งอินเดียตอนใต้กล่าวว่า “โอ้องค์ภควานฺของข้า บุคคลที่ไปยุ่งเกี่ยวกับหลักการของพวกไม่เชื่อในองค์ภควานฺไม่สามารถรู้ถึงพระองค์แม้คุณสมบัติ รูปลักษณ์ และกิจกรรมอันไม่ธรรมดาของพระองค์ถึงแม้ว่าบุคลิกภาพของพระองค์ได้รับการยืนยันไว้โดยพระคัมภีร์ที่เปิดเผยทั้งหลายในคุณลักษณะแห่งความดี ถึงแม้เป็นที่ยอมรับโดยผู้มีอำนาจเชื่อถือได้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในความรู้แห่งศาสตร์ทิพย์อันลึกซึ้งและสถิตอยู่ในคุณสมบัติแห่งเทพ”

ฉะนั้น (1) บุคคลที่โง่มาก (2) ผู้ต่ำสุดในหมู่มนุษย์ (3) นักคาดคะเนที่อยู่ในความหลง และ (4) ผู้ประกาศว่าตนเองไม่เชื่อในองค์ภควานฺที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้จะไม่มีวันศิโรราบต่อพระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานฺ แม้จะได้รับการแนะนำจากพระคัมภีร์และผู้ที่เชื่อถือได้ทั้งหลายก็ตาม

โศลก 16

catur-vidhā bhajante māṁ
janāḥ su-kṛtino ’rjuna
ārto jijñāsur arthārthī
jñānī ca bharatarṣabha
จตุรฺ-วิธา ภชนฺเต มำ
ชนาห์ สุ-กฺฤติโน ’รฺชุน
อารฺโต ชิชฺญาสุรฺ อรฺถารฺถี
ชฺญานี จ ภรตรฺษภ
จตุห์-วิธาห์ — สี่ประเภท, ภชนฺเต — ปฏิบัติตนรับใช้, มามฺ — แด่ข้า, ชนาห์ — บุคคล, สุ-กฺฤตินห์ — ผู้มีบุญ, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน, อารฺตห์ — ผู้มีความทุกข์, ชิชฺญาสุห์ — ผู้ชอบถาม, อรฺถ-อรฺถี — ผู้ปรารถนาผลกำไรทางวัตถุ, ชฺญานี — ผู้รู้สิ่งต่างๆตามความเป็นจริง, — เช่นกัน, ภรต-ฤษภ — โอ้ ผู้ยิ่งใหญ่ในบรรดาผู้สืบราชวงศ์บะระทะ

คำแปล

โอ้ ผู้ยอดเยี่ยมในหมู่ ภารต มนุษย์ผู้มีบุญสี่ประเภทเริ่มถวายการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อข้า คือ ผู้ที่มีความทุกข์ ผู้ที่ปรารถนาความร่ำรวย ผู้ที่ชอบถาม และผู้ที่แสวงหาความรู้แห่งสัจธรรม

คำอธิบาย

ไม่เหมือนกับพวกสารเลว พวกนี้จะปฏิบัติตามหลักธรรมที่กำหนดไว้ในพระคัมภีร์บุคคลเหล่านี้เรียกว่า สุ-กฺฤตินห์ หรือพวกที่เชื่อฟังหลักเกณฑ์ของพระคัมภีร์ กฎศีลธรรม กฎสังคม และอุทิศตนเสียสละต่อองค์ภควานฺไม่มากก็น้อย มีอยู่สี่ประเภท คือ พวกที่บางครั้งมีความทุกข์ พวกที่ต้องการเงินทอง พวกที่บางครั้งชอบถาม และพวกที่บางครั้งแสวงหาความรู้แห่งสัจธรรม บุคคลเหล่านี้มาหาองค์ภควานฺเพื่อการอุทิศตนเสียสละรับใช้ภายใต้สภาวะที่ต่างกัน แบบนี้ยังไม่ได้ถือว่าเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์เลยทีเดียว เพราะยังมีความปรารถนาบางประการที่ต้องสนองตอบในการแลกเปลี่ยนกับการอุทิศตนเสียสละรับใช้ การอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์ต้องไม่มีความมุ่งหวัง และไม่มีความปรารถนาเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุ ภกฺติ-รสามฺฤต-สินฺธุ (1.1.11) นิยามการอุทิศตนเสียสละที่บริสุทธิ์ไว้ดังนี้

อนฺยาภิลาษิตา-ศูนฺยํ
ชฺญาน-กรฺมาทฺยฺ-อนาวฺฤตมฺ
อานุกูเลฺยน กฺฤษฺณานุ-
ศีลนํ ภกฺติรฺ อุตฺตมา
“เราควรถวายการรับใช้ทิพย์ด้วยความรักต่อองค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณในเชิงบวก โดยไม่ปรารถนาผลประโยชน์หรือผลกำไรทางวัตถุผ่านทางกิจกรรมทางวัตถุ หรือผ่านทางการคาดคะเนทางปรัชญา เช่นนี้จึงจะเรียกว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์”

เมื่อบุคคลสี่ประเภทนี้มาหาองค์ภควานฺเพื่อการอุทิศตนเสียสละรับใช้และบริสุทธิ์ขึ้นอย่างสมบูรณ์ ด้วยการมาคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์พวกเขาจะกลายเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์เช่นเดียวกัน สำหรับพวกสารเลวการอุทิศตนเสียสละรับใช้เป็นสิ่งที่ยากมากเพราะเป็นชีวิตที่เห็นแก่ตัว ไร้วินัย และไม่มีจุดมุ่งหมายทิพย์ แต่จะมีบางคนที่มีโอกาสมาสัมผัสกับสาวกผู้บริสุทธิ์ก็จะกลายเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ได้เช่นเดียวกัน

พวกที่มีภารกิจยุ่งยากอยู่กับกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุเสมอไปหาองค์ภควานฺด้วยความทุกข์ทางวัตถุ ขณะที่มีความทุกข์ก็ได้ไปคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์และกลายเป็นสาวกขององค์ภควานฺ พวกที่ไม่สมหวังก็เช่นเดียวกันบางครั้งมาคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์และอยากรู้เกี่ยวกับองค์ภควานฺ ในลักษณะเดียวกันเมื่อนักปราชญ์ผู้แห้งแล้งไม่สมหวังกับความรู้ในทุกสาขา บางครั้งต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ภควานฺจะมาหาพระองค์ถวายการอุทิศตนเสียสละรับใช้ และข้ามพ้นความรู้ของ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ ความรู้แห่ง ปรมาตฺมา ผู้ประทับในหัวใจของทุกคน และไปถึงแนวคิดแห่งบุคลิกภาพแห่งองค์ภควานฺด้วยพระกรุณาขององค์ภควานฺ หรือสาวกผู้บริสุทธิ์ โดยสรุปคือ เมื่อผู้ที่มีความทุกข์ ผู้ที่ชอบถาม ผู้ที่แสวงหาความรู้ และพวกที่ต้องการเงินทองเป็นอิสระจากความต้องการทางวัตถุทั้งปวง และเมื่อเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าสิ่งตอบแทนทางวัตถุไม่มีความสัมพันธ์ใดๆกับความเจริญก้าวหน้าในวิถีทิพย์พวกเขาก็กลายเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ ตราบใดที่ระดับแห่งความบริสุทธิ์เช่นนี้ยังบรรลุไม่ถึง สาวกที่อยู่ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺยังแปดเปื้อนไปด้วยกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุ แสวงหาความรู้ทางโลก เป็นต้น ดังนั้นเราต้องข้ามให้พ้นทั้งหมดนี้ก่อนที่จะมาถึงระดับแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์

โศลก 17

teṣāṁ jñānī nitya-yukta
eka-bhaktir viśiṣyate
priyo hi jñānino ’tyartham
ahaṁ sa ca mama priyaḥ
เตษำ ชฺญานี นิตฺย-ยุกฺต
เอก-ภกฺติรฺ วิศิษฺยเต
ปฺริโย หิ ชฺญานิโน ’ตฺยรฺถมฺ
อหํ ส จ มม ปฺริยห์
เตษามฺ — จากทั้งหมดนี้, ชฺญานี — ผู้ที่อยู่ในความรู้อย่างสมบูรณ์, นิตฺย-ยุกฺตห์ — ปฏิบัติตนอยู่เสมอ, เอก — เท่านั้น, ภกฺติห์ — ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้, วิศิษฺยเต — เป็นพิเศษ, ปฺริยห์ — เป็นที่รักยิ่ง, หิ — แน่นอน, ชฺญานินห์ — แด่ผู้ที่อยู่ในความรู้, อตฺยรฺถมฺ — สูงส่ง, อหมฺ — ข้าเป็น, สห์ — เขา, — เช่นกัน, มม — แด่ข้า, ปฺริยห์ — รัก

คำแปล

จากทั้งหมดนี้ ผู้ที่อยู่ในความรู้โดยสมบูรณ์ และปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยความบริสุทธิ์อยู่เสมอดีที่สุด เพราะข้าเป็นที่รักยิ่งของเขา และเขาก็เป็นที่รักของข้า

คำอธิบาย

จากการปราศจากมลทินแห่งความปรารถนาทางวัตถุทั้งหลาย ผู้ที่มีความทุกข์ ผู้ที่ชอบถาม ผู้ที่สิ้นเนื้อประดาตัว และผู้แสวงหาความรู้สูงสุดทั้งหมดสามารถกลายมาเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ได้ แต่จากทั้งหมดนี้ผู้ที่อยู่ในความรู้แห่งสัจธรรมที่สมบูรณ์และเป็นอิสระจากความต้องการทางวัตถุทั้งปวงจะกลายมาเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ขององค์ภควานฺโดยแท้จริง และจากทั้งสี่ประเภทสาวกผู้อยู่ในความรู้อย่างสมบูรณ์และในขณะเดียวกันปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺตรัสว่าดีที่สุด จากการแสวงหาความรู้เขาสำนึกได้ว่าตนเองนั้นแตกต่างไปจากร่างกายวัตถุ เมื่อเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นเขาจะมาถึงความรู้แห่ง พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ และ ปรมาตฺมา เมื่อบริสุทธิ์อย่างเต็มที่เขาจะรู้สำนึกว่าสถานภาพพื้นฐานของตนเองคือเป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์ภควานฺ ดังนั้นด้วยการคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์ ผู้ที่ชอบถาม ผู้ที่มีความทุกข์ ผู้ที่แสวงหาความช่วยเหลือทางวัตถุ และผู้ที่มีความรู้ทั้งหมดกลายมาเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ในระดับเตรียมตัวผู้ที่มีความรู้แห่งองค์ภควานฺอย่างสมบูรณ์และในขณะเดียวกันปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้เป็นที่รักยิ่งของพระองค์ผู้ที่สถิตในความรู้ที่บริสุทธิ์ของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าจะได้รับการคุ้มครองในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ มลทินทางวัตถุนั้นจะไม่สามารถทำให้เขาแปดเปื้อนได้

โศลก 18

udārāḥ sarva evaite
jñānī tv ātmaiva me matam
āsthitaḥ sa hi yuktātmā
mām evānuttamāṁ gatim
อุทาราห์ สรฺว เอไวเต
ชฺญานี ตฺวฺ อาตฺไมว เม มตมฺ
อาสฺถิตห์ ส หิ ยุกฺตาตฺมา
มามฺ เอวานุตฺตมำ คติมฺ
อุทาราห์ — ใจกว้าง, สเรฺว — ทั้งหมด, เอว — แน่นอน, เอเต — เหล่านี้, ชฺญานี — ผู้อยู่ในความรู้, ตุ — แต่, อาตฺมา เอว — เหมือนกับตัวข้า, เม — ของข้า, มตมฺ — ความเห็น, อาสฺถิตห์ — สถิต, สห์ — เขา, หิ — แน่นอน, ยุกฺต-อาตฺมา — ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้, มามฺ — ในข้า, เอว — แน่นอน, อนุตฺตมามฺ — สูงสุด, คติมฺ — จุดมุ่งหมาย

คำแปล

สาวกทั้งหลายเหล่านี้เป็นดวงวิญญาณที่มีใจกว้างโดยไม่ต้องสงสัย แต่ผู้สถิตในความรู้แห่งข้า ข้าพิจารณาว่าเหมือนกับตัวข้า ปฏิบัติการรับใช้ทิพย์ต่อข้า เขาจะบรรลุถึงข้าซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายที่สมบูรณ์สูงสุดอย่างแน่นอน

คำอธิบาย

ไม่ใช่ว่าสาวกผู้ที่มีความรู้ที่ไม่สมบูรณ์จะไม่เป็นที่รักขององค์ภควานฺ พระองค์ตรัสว่าทั้งหมดมีใจกว้างเพราะว่าผู้ใดที่มาหาพระองค์ไม่ว่าพื่อจุดประสงค์อันใดเรียกว่า มหาตฺมา หรือดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ สาวกผู้ปรารถนาผลประโยชน์บางประการจากการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺทรงยอมรับเพราะว่ามีการแลกเปลี่ยนในความรัก ด้วยความรักสาวกจึงขอผลประโยชน์ทางวัตถุจากพระองค์เมื่อได้รับแล้วรู้สึกพอใจและเจริญก้าวหน้าในการอุทิศตนเสียสละรับใช้เช่นกัน แต่สาวกที่อยู่ในความรู้สมบูรณ์พิจารณาว่าเป็นที่รักยิ่งของพระองค์เพราะว่าเขามีเพียงจุดมุ่งหมายเดียวคือการรับใช้พระองค์ด้วยความรักและอุทิศตนเสียสละ สาวกเช่นนี้จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้แม้เสี้ยววินาทีเดียวโดยปราศจากการสัมผัสหรือรับใช้องค์ภควานฺ ในทำนองเดียวกันองค์ภควานฺก็มีความรักในสาวกเป็นอย่างยิ่งและไม่สามารถเหินห่างไปจากเขา

ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (9.4.68) องค์ภควานฺทรงตรัสว่า

สาธโว หฺฤทยํ มหฺยํ
สาธูนำ หฺฤทยํ ตฺวฺ อหมฺ
มทฺ-อนฺยตฺ เต น ชานนฺติ
นาหํ เตโภฺย มนาคฺ อปิ
“สาวกอยู่ในหัวใจของข้าตลอดเวลา และข้าก็อยู่ในหัวใจของพวกเขาตลอดเวลา สาวกไม่รู้จักสิ่งอื่นใดนอกเหนือไปจากข้า และข้าก็ไม่สามารถลืมพวกเขาได้เช่นเดียวกัน มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดสนิทสนมระหว่างข้าและสาวกผู้บริสุทธิ์ สาวกผู้บริสุทธิ์ที่อยู่ในความรู้อย่างสมบูรณ์ไม่มีวันหลุดไปจากการสัมผัสทิพย์ ดังนั้นพวกเขาจึงเป็นที่รักยิ่งของข้า”

โศลก 19

bahūnāṁ janmanām ante
jñānavān māṁ prapadyate
vāsudevaḥ sarvam iti
sa mahātmā su-durlabhaḥ
พหูนำ ชนฺมนามฺ อนฺเต
ชฺญานวานฺ มำ ปฺรปทฺยเต
วาสุเทวห์ สรฺวมฺ อิติ
ส มหาตฺมา สุ-ทุรฺลภห์
พหูนามฺ — มากมาย, ชนฺมนามฺ — เกิดและตายซ้ำซาก, อนฺเต — หลังจาก, ชฺญาน-วานฺ — ผู้ที่เปี่ยมไปด้วยความรู้, มามฺ — แด่ข้า, ปฺรปทฺยเต — ศิโรราบ, วาสุเทวห์ — องค์ภควานฺ กฺฤษฺณ , สรฺวมฺ — ทุกสิ่ง, อิติ — ดังนั้น, สห์ — นั้น, มหา-อาตฺมา — ดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่, สุ-ทุรฺลภห์ — เห็นได้ยากมาก

คำแปล

หลังจากเกิดและตายหลายต่อหลายชาติ ผู้ที่มีความรู้อย่างแท้จริงจะศิโรราบต่อข้า รู้ว่าข้าคือแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง รวมทั้งสรรพสิ่งที่เป็นอยู่ ดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่เช่นนี้หาได้ยากมาก

คำอธิบาย

ขณะปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้หรือปฏิบัติพิธีกรรมทิพย์หลังจากเกิดมาแล้วหลายต่อหลายชาติสิ่งมีชีวิตอาจสถิตในความรู้ทิพย์อันบริสุทธิ์อย่างแท้จริง และรู้ว่าองค์ภควานฺคือจุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งความรู้แจ้งทิพย์ ในขั้นต้นของความรู้ทิพย์ขณะที่พยายามยกเลิกความยึดติดกับลัทธิวัตถุนิยมจะมีแนวโน้มไปสู่ลัทธิไร้รูปลักษณ์ แต่เมื่อเจริญมากขึ้นจะสามารถเข้าใจว่ามีกิจกรรมมากมายในชีวิตทิพย์ และกิจกรรมเหล่านี้รวมกันเป็นการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เมื่อรู้แจ้งเช่นนี้เขาจะมายึดมั่นกับองค์ภควานฺศิโรราบต่อพระองค์เข้าใจว่าพระเมตตาของศฺรี กฺฤษฺณ คือทุกสิ่งทุกอย่าง พระองค์คือแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง และปรากฏการณ์ทางธรรมชาตินี้มิได้เป็นอิสระจากพระองค์เขารู้แจ้งว่าโลกวัตถุคือเงาสะท้อนที่กลับตาลปัตรจากความหลากหลายทิพย์ และรู้แจ้งในทุกสิ่งทุกอย่างว่ามีความสัมพันธ์กับองค์ภควานฺ กฺฤษฺณ ดังนั้นเขาจึงคิดถึงทุกสิ่งทุกอย่างในความสัมพันธ์กับ วาสุเทว หรือศฺรี กฺฤษฺณ วิสัยทัศน์อันเป็นสากลแห่งองค์วาสุเทว เช่นนี้จะส่งเสริมให้เขาศิโรราบโดยดุษฎีต่อองค์กฺฤษฺณผู้เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด ดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ที่ศิโรราบเช่นนี้หาได้ยากมาก

โศลกนี้อธิบายไว้อย่างงดงามมากในบทที่สาม (โศลก 14 และ 15) ของ เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ ดังนี้

สหสฺร-ศีรฺษา ปุรุษห์
สหสฺรากฺษห์ สหสฺร-ปาตฺ
ส ภูมึ วิศฺวโต วฺฤตฺวา-
ตฺยาติษฺฐทฺ ทศางฺคุลมฺ
ปุรุษ เอเวทํ สรฺวํ
ยทฺ ภูตํ ยจฺ จ ภวฺยมฺ
อุตามฺฤตตฺวเสฺยศาโน
ยทฺ อนฺเนนาติโรหติ
ใน ฉานฺโทคฺย อุปนิษทฺ (5.1.15) กล่าวว่า ไว วาโจ จกฺษูํษิ โศฺรตฺราณิ มนำสีตฺยฺ อาจกฺษเต ปฺราณ อิติ เอวาจกฺษเต ปฺราโณ หฺยฺ เอไวตานิ สรฺวาณิ ภวนฺติ “ร่างกายของสิ่งมีชีวิตไม่มีทั้งพลังในการพูด พลังในการเห็น พลังในการได้ยิน หรือพลังในความคิดที่เป็นปัจจัยพื้นฐานดวงชีวิตคือศูนย์กลางของกิจกรรมทั้งหลาย” ในทำนองเดียวกันองค์วาสุเทว หรือองค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นดวงชีวิตพื้นฐานในทุกสิ่งทุกอย่าง ในร่างกายนี้มีพลังในการพูด การเห็น การได้ยิน และในกิจกรรมของจิต ฯลฯ แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่มีความสำคัญหากไม่สัมพันธ์กับองค์ภควานฺ เพราะว่าองค์วาสุเทว ทรงแผ่กระจายไปทั่ว และทุกสิ่งทุกอย่างคือ วาสุเทว สาวกจึงศิโรราบด้วยความรู้ที่สมบูรณ์ (ภควัท-คีตา 7.17 และ 11.40)

โศลก 20

kāmais tais tair hṛta-jñānāḥ
prapadyante ’nya-devatāḥ
taṁ taṁ niyamam āsthāya
prakṛtyā niyatāḥ svayā
กาไมสฺ ไตสฺ ไตรฺ หฺฤต-ชฺญานาห์
ปฺรปทฺยนฺเต ’นฺย-เทวตาห์
ตํ ตํ นิยมมฺ อาสฺถาย
ปฺรกฺฤตฺยา นิยตาห์ สฺวยา
กาไมห์ — ด้วยความปรารถนา, ไตห์ ไตห์ — ต่างๆ, หฺฤต — แย่งเอาไป, ชฺญานาห์ — ความรู้, ปฺรปทฺยนฺเต — ศิโรราบ, อนฺย — แด่ผู้อื่น, เทวตาห์ — เหล่าเทวดา, ตมฺ ตมฺ — ตรงตาม, นิยมมฺ — กฏเกณฑ์, อาสฺถาย — ปฏิบัติตาม, ปฺรกฺฤตฺยา — โดยธรรมชาติ, นิยตาห์ — ถูกควบคุม, สฺวยา — ด้วยตนเอง

คำแปล

พวกที่ปัญญาถูกความปรารถนาทางวัตถุขโมยไป ศิโรราบต่อเหล่าเทวดา และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในการบูชาโดยเฉพาะตามธรรมชาติของพวกตน

คำอธิบาย

บุคคลที่เป็นอิสระจากมลทินทางวัตถุทั้งหมดจะศิโรราบต่อองค์ภควานฺ และปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อพระองค์ตราบใดที่มลทินทางวัตถุยังชะล้างไม่หมดโดยธรรมชาติพวกนี้ไม่ใช่สาวก แม้แต่บุคคลที่มีความปรารถนาทางวัตถุและอยู่บนวิถีทางขององค์ภควานฺจะไม่หลงใหลอยู่กับธรรมชาติภายนอกมากนัก เนื่องจากมาเข้าหาจุดมุ่งหมายที่ถูกต้องและในไม่ช้าก็จะเป็นอิสระจากราคะทางวัตถุทั้งปวง ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ได้แนะนำไว้ว่าไม่ว่าเราจะเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ ปราศจากความต้องการทางวัตถุทั้งปวง หรือจะเต็มไปด้วยความปรารถนาทางวัตถุ หรือปรารถนาความหลุดพ้นจากมลทินทางวัตถุ ในทุกกรณีเราควรศิโรราบต่อ วาสุเทว และบูชาพระองค์ได้กล่าวไว้ใน ภาควต (2.3.10) ว่า

อกามห์ สรฺว-กาโม วา
โมกฺษ-กาม อุทาร-ธีห์
ตีเวฺรณ ภกฺติ-โยเคน
ยเชต ปุรุษํ ปรมฺ
บุคคลผู้ด้อยปัญญาสูญเสียความสัมผัสทิพย์จะไปพึ่งเทวดาเพื่อได้รับการตอบสนองตามความต้องการทางวัตถุทันที โดยทั่วไปบุคคลเช่นนี้ไม่เข้าหาองค์ภควานฺ เพราะว่าอยู่ในระดับแห่งธรรมชาติที่ต่ำ (อวิชชาและตัณหา) ดังนั้นจึงบูชาเทวดา ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การบูชาและได้รับความพึงพอใจ พวกที่บูชาเทวดาถูกกระตุ้นด้วยความปรารถนาเพียงเล็กน้อย และไม่รู้ว่าจะไปถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดได้อย่างไร แต่สาวกขององค์ภควานฺไม่ถูกนำพาไปในทางที่ผิด ถึงแม้วรรณกรรมพระเวทจะแนะนำให้บูชาเทพต่างๆด้วยจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน (ตัวอย่างเช่น คนเป็นโรคได้รับคำแนะนำให้บูชาพระอาทิตย์) พวกที่ไม่ใช่สาวกขององค์ภควานฺคิดว่าเพื่อจุดประสงค์บางอย่างเทวดาอาจจะดีกว่า แต่สาวกผู้บริสุทธิ์ทราบว่าองค์ภควานฺ กฺฤษฺณทรงเป็นปรมาจารย์ของมวลเทวดา ใน ไจตนฺย-จริตามฺฤต (อาทิ 5.142) กล่าวว่า เอกเล อีศฺวร กฺฤษฺณ, อาร สพ ภฺฤตฺย องค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณเท่านั้นทรงเป็นปรมาจารย์ และองค์อื่นๆทั้งหมดทรงเป็นผู้รับใช้ ดังนั้นสาวกผู้บริสุทธิ์จะไม่เข้าหาเทวดาเพื่อความพึงพอใจในความต้องการทางวัตถุของตนแต่จะขึ้นอยู่กับองค์ภควานฺ สาวกผู้บริสุทธิ์พึงพอใจกับทุกสิ่งทุกอย่างที่พระองค์ทรงประทานให้

โศลก 21

yo yo yāṁ yāṁ tanuṁ bhaktaḥ
śraddhayārcitum icchati
tasya tasyācalāṁ śraddhāṁ
tām eva vidadhāmy aham
โย โย ยำ ยำ ตนุํ ภกฺตห์
ศฺรทฺธยารฺจิตุมฺ อิจฺฉติ
ตสฺย ตสฺยาจลำ ศฺรทฺธำ
ตามฺ เอว วิทธามฺยฺ อหมฺ
ยห์ ยห์ — ใครก็แล้วแต่, ยามฺ ยามฺ — อะไรก็แล้วแต่, ตนุมฺ — รูปลักษณ์ของเทวดา, ภกฺตห์ — สาวก, ศฺรทฺธยา — ด้วยศรัทธา, อรฺจิตุมฺ — บูชา, อิจฺฉติ — ความปรารถนา, ตสฺย ตสฺย — แด่เขา, อจลามฺ — สม่ำเสมอ, ศฺรทฺธามฺ — ความศรัทธา, ตามฺ — นั้น, เอว — แน่นอน, วิทธามิ — ให้, อหมฺ — ข้า

คำแปล

ข้าอยู่ภายในหัวใจของทุกๆคนในรูปของอภิวิญญาณ ทันทีที่เขาปรารถนาบูชาเทวดาองค์ใด ข้าทำให้ความศรัทธาของเขามั่นคง เพื่อให้เขาสามารถอุทิศตนต่อพระปฏิมาองค์นั้น

คำอธิบาย

องค์ภควานฺทรงให้อิสรภาพแด่ทุกคน ดังนั้นหากผู้ใดปรารถนาจะได้รับความสุขทางวัตถุและปรารถนาด้วยความจริงใจที่จะได้สิ่งอำนวยความสะดวกทางวัตถุจากเทวดา พระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นอภิวิญญาณประทับอยู่ในหัวใจของทุกๆคนทรงเข้าใจและให้สิ่งอำนวยความสะดวกนั้น ในฐานะที่เป็นพระบิดาสูงสุดของมวลชีวิตทรงไม่รบกวนกับเสรีภาพของเรา แต่ทรงให้สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลายเพื่อเราจะได้รับการสนองตอบจากความต้องการทางวัตถุ บางคนอาจถามว่าทำไมองค์ภควานฺผู้ทรงเดชให้สิ่งอำนวยความสะดวกแด่สิ่งมีชีวิตเพื่อให้เพลิดเพลินอยู่ในโลกวัตถุนี้ และปล่อยให้ตกลงไปอยู่ในกับดักของพลังงานแห่งความหลง คำตอบก็คือ หากพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นอภิวิญญาณไม่ให้สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้คำว่าเสรีภาพจะไม่มีความหมาย ดังนั้นจึงทรงให้เสรีภาพแด่ทุกคนอย่างสมบูรณ์ไม่ว่าเราจะชอบอะไร แต่คำสั่งสอนสูงสุดของพระองค์พบได้ใน ภควัท-คีตา ว่าเราควรยกเลิกการปฏิบัติรูปแบบอื่นทั้งหมด และศิโรราบโดยดุษฎีต่อพระองค์เช่นนี้จะทำให้มนุษย์มีความสุข

ความปรารถนาขององค์ภควานฺทรงเหนือกว่าทั้งของสิ่งมีชีวิตและเทวดา ดังนั้นสิ่งมีชีวิตไม่สามารถบูชาเทวดาตามความปรารถนาของตนเอง และเทวดาก็ไม่สามารถให้พรใดๆโดยปราศจากความปรารถนาขององค์ภควานฺ ดังที่ได้กล่าวไว้ว่าแม้แต่ใบหญ้าก็ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้หากองค์ภควานฺทรงไม่ปรารถนา โดยทั่วไปบุคคลผู้มีความทุกข์ในโลกวัตถุจะไปพึ่งเทวดา ดังที่คัมภีร์พระเวทแนะนำไว้ บุคคลผู้ต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใดอาจบูชาเทวดาเฉพาะองค์ตัวอย่างเช่น คนเป็นโรคได้รับคำแนะนำให้บูชาพระอาทิตย์ ผู้ที่ปรารถนาการศึกษาอาจบูชาเจ้าแม่แห่งความรู้ สรสฺวตี และผู้ที่ต้องการภรรยาที่สวยอาจบูชาเจ้าแม่ อุมา มเหสีของพระศิวะ อย่างนี้ได้แนะนำไว้ใน ศาสฺตฺร (คัมภีร์พระเวท) สำหรับคนในระดับต่างกันจะบูชาเทวดาต่างกัน เพราะบางคนต้องการหาความสุขกับสิ่งอำนวยความสะดวกทางวัตถุเฉพาะตน องค์ภควานฺทรงดลใจให้เขามีความปรารถนาอย่างแรงกล้าเพื่อบรรลุถึงพรนั้นๆจากเทวดาเฉพาะองค์และประสบความสำเร็จในพรนั้นๆ ระดับแห่งท่าทีในการอุทิศตนของสิ่งมีชีวิตที่มีต่อเทวดาเฉพาะองค์ภควานฺก็ทรงจัดเตรียมให้ เทวดาไม่สามารถจัดส่งให้สิ่งมีชีวิตได้รับความพึงพอใจได้เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นองค์ภควานฺ หรืออภิวิญญาณผู้ประทับอยู่ภายในหัวใจของมวลชีวิต องค์กฺฤษฺณทรงให้แรงกระตุ้นแก่มนุษย์ในการบูชาเทวดาเฉพาะองค์อันที่จริงเหล่าเทวดาคือส่วนต่างๆแห่งรูปลักษณ์จักรวาลขององค์ภควานฺดังนั้นจึงไม่มีอิสรภาพ ได้กล่าวไว้ในวรรณกรรมพระเวทว่า “องค์ภควานฺในฐานะอภิวิญญาณทรงประทับอยู่ภายในหัวใจของเทวดาเช่นเดียวกัน ฉะนั้นพระองค์ทรงจัดการผ่านทางเทวดาเพื่อสนองความต้องการของสิ่งมีชีวิต แต่ทั้งเทวดาและสิ่งมีชีวิตต้องขึ้นอยู่กับความปรารถนาสูงสุดขององค์ภควานฺพวกเขา ไม่มีอิสรภาพ”

โศลก 22

sa tayā śraddhayā yuktas
tasyārādhanam īhate
labhate ca tataḥ kāmān
mayaiva vihitān hi tān
ส ตยา ศฺรทฺธยา ยุกฺตสฺ
ตสฺยาราธนมฺ อีหเต
ลภเต จ ตตห์ กามานฺ
มไยว วิหิตานฺ หิ ตานฺ
สห์ — เขา, ตยา — ด้วยสิ่งนั้น, ศฺรทฺธยา — แรงดลใจ, ยุกฺตห์ — ให้, ตสฺย — ของเทวดาองค์นั้น, อาราธนมฺ — เพื่อการบูชา, อีหเต — เขาปรารถนา, ลภเต — ได้รับ, — และ, ตตห์ — จากนั้น, กามานฺ — ความปรารถนาของเขา, มยา — โดยข้า, เอว — ผู้เดียว, วิหิตานฺ — จัด, หิ — แน่นอน, ตานฺ — เขาเหล่านั้น

คำแปล

เมื่อมีความศรัทธาเช่นนี้ เขาพยายามบูชาเทวดาเฉพาะองค์และบรรลุถึงความปรารถนาของตน แต่อันที่จริงผลประโยชน์เหล่านี้ ข้าเพียงผู้เดียวเท่านั้นที่เป็นผู้ให้

คำอธิบาย

เหล่าเทวดาไม่สามารถประทานพรแด่สาวกของตนหากไม่ได้รับอนุญาตจากองค์ภควานฺ สิ่งมีชีวิตอาจลืมไปว่าทุกสิ่งทุกอย่างคือทรัพย์สมบัติของพระองค์แต่เทวดาทรงไม่ลืม ดังนั้นการบูชาเทวดาและบรรลุถึงผลที่ตนปรารถนามิได้เนื่องมาจากเทวดา แต่เนื่องมาจากการจัดการขององค์ภควานฺสิ่งมีชีวิตผู้ด้อยปัญญาไม่ทราบเรื่องนี้ ดังนั้นจึงเข้าไปหาเทวดาด้วยความโง่เขลาเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง หากสาวกผู้บริสุทธิ์ต้องการบางสิ่งบางอย่างเพียงแต่ภาวนาต่อองค์ภควานฺเท่านั้น อย่างไรก็ดีการขอผลประโยชน์ทางวัตถุไม่ใช่เป็นเครื่องหมายของสาวกผู้บริสุทธิ์ สิ่งมีชีวิตโดยทั่วไปเข้าหาเทวดาเพราะความบ้าคลั่งที่จะสนองตอบราคะของตน ที่เป็นเช่นนี้เพราะสิ่งมีชีวิตปรารถนาบางสิ่งบางอย่างที่ไม่สมควร องค์ภควานฺจึงทรงไม่ตอบสนองความต้องการของเขา ใน ไจตนฺย-จริตามฺฤต กล่าวไว้ว่าผู้ที่บูชาองค์ภควานฺ และในขณะเดียวกันปรารถนาความสุขทางวัตถุเป็นการขัดแย้งกันในความปรารถนาของตนเอง การอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺ และการบูชาเทวดามิใช่อยู่ในระดับเดียวกันเพราะการบูชาเทวดาเป็นวัตถุ และการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺเป็นทิพย์โดยสมบูรณ์

สำหรับสิ่งมีชีวิตผู้ปรารถนาจะกลับคืนสู่องค์ภควานฺความต้องการทางวัตถุจะเป็นอุปสรรค สาวกผู้บริสุทธิ์ของพระองค์จะไม่ได้รับรางวัลผลประโยชน์ทางวัตถุเหมือนกับสิ่งมีชีวิตผู้ด้อยปัญญาปรารถนา ดังนั้นคนโง่เขลาจึงนิยมการบูชาเทวดาในโลกวัตถุมากกว่าที่จะปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺ

โศลก 23

antavat tu phalaṁ teṣāṁ
tad bhavaty alpa-medhasām
devān deva-yajo yānti
mad-bhaktā yānti mām api
อนฺตวตฺ ตุ ผลํ เตษำ
ตทฺ ภวตฺยฺ อลฺป-เมธสามฺ
เทวานฺ เทว-ยโช ยานฺติ
มทฺ-ภกฺตา ยานฺติ มามฺ อปิ
อนฺต-วตฺ — สูญสลาย, ตุ — แต่, ผลมฺ — ผล, เตษามฺ — ของพวกเขา, ตตฺ — นั้น, ภวติ — กลายเป็น, อลฺป-เมธสามฺ — ของพวกมีปัญญาน้อย, เทวานฺ — แด่เหล่าเทวดา, เทว-ยชห์ — ผู้บูชาเหล่าเทวดา, ยานฺติ — ไป, มตฺ — ของข้า, ภกฺตาห์ — เหล่าสาวก, ยานฺติ — ไป, มามฺ — ถึงข้า, อปิ — เช่นกัน

คำแปล

มนุษย์ผู้มีปัญญาน้อยจะบูชาเทวดา ผลที่ได้รับนั้นจำกัดและไม่ถาวร พวกที่บูชาเทวดาจะไปยังดาวเคราะห์ของเทวดา แต่สาวกของข้าจะมาถึงดาวเคราะห์สูงสุดของข้าในที่สุด

คำอธิบาย

นักวิจารณ์ ภควัท-คีตา บางคนกล่าวว่าผู้บูชาเทวดาสามารถไปถึงองค์ภควานฺ แต่ตรงนี้ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าพวกที่บูชาเทวดาจะไปยังระบบดาวเคราะห์ที่เทวดาประทับอยู่ ดังเช่นผู้บูชาพระอาทิตย์จะไปถึงดวงอาทิตย์ หรือผู้บูชาพระจันทร์จะไปถึงดวงจันทร์ ในทำนองเดียวกันหากผู้ใดต้องการบูชาเทวดา เช่น พระอินทร์ เขาก็จะบรรลุถึงดาวเคราะห์ของเทพองค์นั้น ไม่ใช่ว่าบูชาเทวดาองค์ไหนแล้วจะไปถึงองค์ภควานฺ ตรงนี้จะปฏิเสธแนวคิดเช่นนี้ เพราะได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าพวกที่บูชาเทวดาจะไปยังดาวเคราะห์ต่างๆในโลกวัตถุ แต่สาวกขององค์ภควานฺจะไปที่ดาวเคราะห์สูงสุดขององค์ภควานฺโดยตรง

อาจจะมีคำถามว่าหากเหล่าเทวดาเป็นส่วนต่างๆของพระวรกายแห่งองค์ภควานฺ การบูชาเทวดาจึงควรบรรลุถึงจุดหมายปลายทางเดียวกัน อย่างไรก็ดีพวกที่บูชาเทวดาเป็นผู้ด้อยปัญญาเพราะไม่รู้ว่าควรจะส่งอาหารไปยังส่วนไหนของร่างกาย บางคนโง่จนกระทั่งอ้างว่ามีส่วนต่างๆมากมาย และมีวิธีต่างๆที่จะส่งอาหารไปได้ เช่นนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้เลย มีผู้ใดสามารถส่งอาหารให้ร่างกายโดยผ่านทางหูหรือทางตาได้บ้าง พวกเขาไม่รู้ว่าเทวดาเหล่านี้เป็นส่วนต่างๆแห่งรูปลักษณ์จักรวาลขององค์ภควานฺ และในความโง่จึงเชื่อว่าเทวดาทุกองค์คือองค์ภควานฺที่แยกออกมา และเป็นคู่แข่งกับพระองค์

ไม่เพียงแต่เหล่าเทวดาเป็นส่วนต่างๆขององค์ภควานฺ แต่สิ่งมีชีวิตธรรมดาทั่วไปก็เป็นส่วนหนึ่งของพระองค์เช่นเดียวกัน ได้กล่าวไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ว่า พฺราหฺมณ เป็นศีรษะขององค์ภควานฺ กฺษตฺริย เป็นแขนของพระองค์ไวศฺย เป็นเอวของพระองค์ศูทฺร เป็นเท้าของพระองค์และทั้งหมดรับใช้ในหน้าที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะใดหากเรารู้ว่าทั้งเทวดาและตัวเราเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺความรู้ของเราก็สมบูรณ์ แต่หากไม่เข้าใจเช่นนี้เราจะบรรลุถึงดาวเคราะห์ต่างๆที่เหล่าเทวดาพำนักอยู่ซึ่งมิใช่จุดหมายปลายทางเดียวกันกับที่สาวกจะบรรลุถึง

ผลจากพรของเทวดาที่เราได้รับนั้นจะสูญสลายเพราะว่าภายในโลกวัตถุ ดาวเคราะห์ของเทวดาพร้อมสาวกของท่านทั้งหมดจะต้องถูกทำลาย ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนในโศลกนี้ว่าผลทั้งหมดที่ได้รับจากการบูชาเทวดาต้องสูญสลาย ดังนั้นการบูชาเช่นนี้สิ่งมีชีวิตผู้ด้อยปัญญาเท่านั้นที่ปฏิบัติกัน เพราะว่าสาวกผู้บริสุทธิ์ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺจะบรรลุถึงความเป็นอยู่ที่ปลื้มปีติสุข นิรันดร และเปี่ยมไปด้วยความรู้ ผลสำเร็จเช่นนี้ไม่เหมือนกับของพวกที่บูชาเทวดาองค์ภควานฺทรงไร้ขอบเขต ความชื่นชอบของพระองค์ทรงไร้ขอบเขต พระเมตตาของพระองค์ก็ทรงไร้ขอบเขต ดังนั้นพระเมตตาธิคุณขององค์ภควานฺที่ทรงมีต่อสาวกผู้บริสุทธิ์จึงไร้ขอบเขต

โศลก 24

avyaktaṁ vyaktim āpannaṁ
manyante mām abuddhayaḥ
paraṁ bhāvam ajānanto
mamāvyayam anuttamam
อวฺยกฺตํ วฺยกฺติมฺ อาปนฺนํ
มนฺยนฺเต มามฺ อพุทฺธยห์
ปรํ ภาวมฺ อชานนฺโต
มมาวฺยยมฺ อนุตฺตมมฺ
อวฺยกฺตมฺ — ไม่ปรากฏ, วฺยกฺติมฺ — บุคลิกภาพ, อาปนฺนมฺ — บรรลุถึง, มนฺยนฺเต — คิด, มามฺ — ข้า, อพุทฺธยห์ — บุคคลผู้ด้อยปัญญา, ปรมฺ — สูงสุด, ภาวมฺ — เป็นอยู่, อชานนฺตห์ — โดยไม่รู้, มม — ของข้า, อวฺยยมฺ — ไม่สูญสลาย, อนุตฺตมมฺ — ละเอียดอ่อนที่สุด

คำแปล

มนุษย์ผู้ด้อยปัญญาไม่รู้จักข้าอย่างสมบูรณ์คิดว่าข้า องค์ภควานฺ กฺฤษฺณทรงไร้รูปลักษณ์ในอดีต และปัจจุบันมาอยู่ในรูปลักษณ์นี้ เนื่องจากความรู้อันน้อยนิดจึงไม่รู้ธรรมชาติที่สูงกว่าของข้า ซึ่งไม่มีวันสูญสลายและสูงที่สุด

คำอธิบาย

ได้อธิบายไว้ว่าพวกที่บูชาเทวดาเป็นบุคคลผู้มีปัญญาน้อยและผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ก็เช่นกัน องค์ภควานฺในรูปลักษณ์องค์กฺฤษฺณทรงประทับอยู่ต่อหน้า อรฺชุน ที่นี้ แต่เนื่องด้วยอวิชชาพวกที่ไม่เชื่อในรูปลักษณ์เถียงว่าในที่สุดองค์ภควานฺทรงไม่มีรูปลักษณ์ ยามุนาจารฺย สาวกผู้ยิ่งใหญ่ในสาย ปรมฺปรา ของ รามานุชาจารฺย ได้เขียนสองโศลกที่เหมาะสมเกี่ยวกับประเด็นนี้ไว้ดังนี้

ตฺวำ ศีล-รูป-จริไตห์ ปรม-ปฺรกฺฤษฺไฏห์
สตฺเตฺวน สาตฺตฺวิกตยา ปฺรพไลศฺ จ ศาไสฺตฺรห์
ปฺรขฺยาต-ไทว-ปรมารฺถ-วิทำ มไตศฺ จ
ไนวาสุร-ปฺรกฺฤตยห์ ปฺรภวนฺติ โพทฺธุมฺ
“พระผู้เป็นเจ้าที่รัก สาวกเช่น วฺยาสเทว และ นารท รู้ว่าพระองค์คือองค์ภควานฺจากการเข้าใจวรรณกรรมพระเวทเราจะสามารถรู้ถึงบุคลิกลักษณะของพระองค์รูปลักษณ์ของพระองค์และกิจกรรมต่างๆของพระองค์และเราสามารถเข้าใจว่าพระองค์คือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า แต่พวกที่อยู่ในระดับตัณหา ระดับอวิชชา และเหล่ามารที่ไม่ใช่สาวกไม่สามารถเข้าใจพระองค์ไม่ว่าพวกนี้จะมีความชำนาญมากเพียงใดในการสนทนา เวทานฺต, อุปนิษทฺ และวรรณกรรมพระเวทเล่มอื่นๆก็เป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจองค์ภควานฺ” (โสฺตตฺร-รตฺน 12)

ใน พฺรหฺม-สํหิตา ได้กล่าวไว้ว่าเราจะไม่สามารถเข้าใจองค์ภควานฺจากการศึกษาวรรณกรรม เวทานฺต แต่ด้วยพระเมตตาขององค์ภควานฺเท่านั้นที่ทำให้เรารู้ถึงองค์ภควานฺ ดังนั้นในโศลกนี้ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าไม่เพียงแต่พวกที่บูชาเทวดาเท่านั้นที่ด้อยปัญญา แต่พวกไม่ใช่สาวกที่ศึกษา เวทานฺต และคาดคะเนเกี่ยวกับวรรณกรรมพระเวทโดยไม่ประสานกับกฺฤษฺณจิตสำนึกที่แท้จริงความจริงแล้วพวกนี้ก็ด้อยปัญญาเช่นกัน และเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจธรรมชาติส่วนพระองค์ขององค์ภควานฺ มีการอธิบายไว้ว่าพวกที่อยู่ภายใต้ความรู้สึกที่ว่าสัจธรรมนั้นไร้รูปลักษณ์เป็น อพุทฺธยห์ ซึ่งหมายถึงพวกที่ไม่รู้ลักษณะสูงสุดของสัจธรรม ได้กล่าวไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ว่าความรู้แจ้งสูงสุดเริ่มจาก พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ จากนั้นก็เจริญขึ้นไปถึงอภิวิญญาณผู้ประทับอยู่ภายในหัวใจของทุกคน แต่คำสุดท้ายของสัจธรรมที่สมบูรณ์คือองค์ภควานฺ พวกที่ไม่เชื่อในรูปลักษณ์สมัยปัจจุบันก็เป็นผู้ด้อยปัญญาเช่นเดียวกัน เพราะยังไม่ปฏิบัติตามชังคะราชารยะบรรพบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของพวกตน ซึ่งกล่าวอย่างเจาะจงว่าองค์กฺฤษฺณ คือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ดังนั้นพวกไม่เชื่อในองค์ภควานฺ และไม่รู้สัจธรรมสูงสุดคิดว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นเพียงบุตรของ เทวกี และ วสุเทว หรือเป็นเพียงเจ้าชายองค์หนึ่งหรือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีพลังอำนาจ เช่นนี้ ภควัท-คีตา (9.11) ได้ประนามไว้เช่นกันว่า อวชานนฺติ มำ มูฒา มานุษีํ ตนุมฺ อาศฺริตมฺ “คนโง่เขลาเท่านั้นที่คิดว่าข้าเป็นบุคคลธรรมดา”

ความจริงคือไม่มีผู้ใดสามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณหากไม่ถวายการอุทิศตนเสียสละรับใช้และไม่พัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึก ภาควต (10.14.29) ยืนยันไว้ดังนี้

อถาปิ เต เทว ปทามฺพุช-ทฺวย-
ปฺรสาท-เลศานุคฺฤหีต เอว หิ
ชานาติ ตตฺตฺวํ ภควนฺ-มหิมฺโน
น จานฺย เอโก ’ปิ จิรํ วิจินฺวนฺ
“องค์ภควานฺของข้า หากผู้ใดได้รับความชื่นชอบแม้จากช่องทางเพียงเล็กน้อยด้วยพระเมตตาแห่งพระบาทรูปดอกบัวของพระองค์เขาจะสามารถเข้าใจความยิ่งใหญ่ในบุคลิกภาพของพระองค์แต่พวกที่คาดคะเนเพื่อเข้าใจบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าไม่สามารถรู้ถึงพระองค์ถึงแม้จะศึกษาคัมภีร์พระเวทติดต่อกันเป็นเวลาหลายต่อหลายปี” เราไม่สามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณ องค์ภควานฺ หรือรูปลักษณ์ คุณสมบัติ และพระนามของพระองค์จากการคาดคะเนทางจิต หรือจากการสนทนาวรรณกรรมพระเวทเท่านั้น เราต้องเข้าใจพระองค์ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เมื่อเราปฏิบัติตนอย่างสมบูรณ์ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเริ่มด้วยการสวดภาวนา มหา-มนฺตฺร หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร ตรงนี้เท่านั้นที่เราสามารถจะเข้าใจบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ผู้ไม่ใช่สาวกที่ไม่เชื่อในรูปลักษณ์คิดว่าองค์กฺฤษฺณทรงมีพระวรกายที่ทำมาจากธรรมชาติวัตถุ กิจกรรมทั้งหลายของพระองค์รูปลักษณ์ของพระองค์และทุกสิ่งทุกอย่างคือ มายา ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์เหล่านี้เรียกว่า มายาวาที ที่ไม่รู้สัจธรรมสูงสุด

โศลกยี่สิบได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า กาไมสฺ ไตสฺ ไตรฺ หฺฤต-ชฺญานาห์ ปฺรปทฺยนฺเต ’นฺย-เทวตาห์ “พวกที่ตาบอดอันเนื่องมาจากความปรารถนาแห่งราคะจะศิโรราบต่อเทวดา” เป็นที่ยอมรับว่านอกจากองค์ภควานฺแล้วยังมีเหล่าเทวดาผู้มีดาวเคราะห์ต่างๆ และองค์ภควานฺทรงมีดาวเคราะห์เช่นเดียวกัน ดังที่ได้กล่าวไว้ในโศลกที่ยี่สิบสามว่า เทวานฺ เทว-ยโช ยานฺติ มทฺ-ภกฺตา ยานฺติ มามฺ อปิ พวกที่บูชาเทวดาจะไปยังดาวเคราะห์ของเทวดา และพวกที่เป็นสาวกขององค์ศฺรี กฺฤษฺณจะไปที่ กฺฤษฺณโลก ถึงแม้จะกล่าวไว้อย่างชัดเจนเช่นนี้ คนโง่ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ยังยืนกรานว่าองค์ภควานฺทรงไร้รูปลักษณ์ และรูปลักษณ์เหล่านี้เป็นการกำหนดขึ้นมา จากการศึกษา คีตา มีปรากฏหรือไม่ว่าเทวดาและตำหนักของพวกท่านไร้รูปลักษณ์ ได้บ่งบอกไว้อย่างชัดเจนว่าทั้งเทวดาและองค์ภควานฺ กฺฤษฺณมิใช่ว่าไม่มีรูปลักษณ์ ทั้งหมดทรงเป็นบุคคล ศฺรี กฺฤษฺณคือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงมีดาวเคราะห์ของพระองค์เอง และเทวดาก็ทรงมีดาวเคราะห์ของพวกตน

ดังนั้นข้อโต้เถียงของพวกที่เชื่อในความเป็นหนึ่งเดียวกันว่าความจริงที่สูงสุดนั้นไร้รูปลักษณ์ และรูปลักษณ์ที่กำหนดขึ้นมาก็ไม่ใช่ของจริง ได้กล่าวไว้ที่นี้อย่างชัดเจนว่าไม่ใช่เป็นการกำหนดขึ้นมา จาก ภควัท-คีตา เราสามารถเข้าใจอย่างชัดเจนว่ารูปลักษณ์ของเทวดาและรูปลักษณ์ขององค์ภควานฺมีอยู่พร้อมๆกัน รูปลักษณ์ขององค์ศฺรี กฺฤษฺณเป็น สจฺ-จิทฺ-อานนฺท คือเป็นอมตะ เปี่ยมไปด้วยความปลื้มปีติสุข และความรู้ คัมภีร์พระเวทยังยืนยันด้วยว่าสัจธรรมสูงสุดคือ อานนฺท-มโย 'ภฺยาสาตฺ โดยธรรมชาติเต็มไปด้วยความปลื้มปีติสุข พระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของคุณสมบัติที่เป็นมงคลอันหาที่สุดมิได้ ใน คีตา องค์ภควานฺตรัสว่าแม้ทรงเป็น อช (ไม่มีการเกิด) พระองค์ยังทรงปรากฏ สิ่งเหล่านี้เป็นความจริงที่เราควรทำความเข้าใจจาก ภควัท-คีตา เราไม่เข้าใจว่าองค์ภควานฺทรงไร้รูปลักษณ์ได้อย่างไร ทฤษฎีหลอกลวงของผู้ที่เชื่อว่าไร้รูปลักษณ์และเป็นหนึ่งเดียวกันนั้นผิด ตามที่ ภควัท-คีตา ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนตรงที่นี้ว่าสัจธรรมสูงสุดองค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงมีทั้งรูปลักษณ์และมีบุคลิกภาพ

โศลก 25

nāhaṁ prakāśaḥ sarvasya
yoga-māyā-samāvṛtaḥ
mūḍho ’yaṁ nābhijānāti
loko mām ajam avyayam
นาหํ ปฺรกาศห์ สรฺวสฺย
โยค-มายา-สมาวฺฤตห์
มูโฒ ’ยํ นาภิชานาติ
โลโก มามฺ อชมฺ อวฺยยมฺ
— ไม่, อหมฺ — ข้า, ปฺรกาศห์ — ปรากฏ, สรฺวสฺย — ต่อทุกคน, โยค-มายา — ด้วยพลังเบื้องสูง, สมาวฺฤตห์ — ถูกปกคลุม, มูฒห์ — โง่, อยมฺ — เหล่านี้, — ไม่, อภิชานาติ — สามารถเข้าใจ, โลกห์ — บุคคล, มามฺ — ข้า, อชมฺ — ไม่มีการเกิด, อวฺยยมฺ — ไม่มีวันสิ้นสุด

คำแปล

ข้าไม่เคยปรากฏกับคนโง่และผู้ด้อยปัญญา สำหรับพวกนี้ข้าถูกปิดบังด้วยพลังเบื้องสูงของข้า ดังนั้นพวกเขาจึงไม่รู้ว่าข้าไม่มีการเกิดและไม่มีความผิดพลาด

คำอธิบาย

อาจเถียงว่าเนื่องจากองค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงปรากฏบนโลกนี้และทุกคนได้เห็นองค์กฺฤษฺณ แล้วเหตุใดปัจจุบันนี้พระองค์จึงไม่ทรงปรากฏให้ทุกคนเห็นอีก อันที่จริงพระองค์ทรงมิได้ปรากฏต่อทุกคน ขณะที่องค์กฺฤษฺณทรงปรากฏมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่สามารถเข้าใจว่าพระองค์คือองค์ภควานฺ ที่ชุมนุมของเหล่า กุรุ เมื่อ ศิศุปาล พูดต่อต้านการที่องค์กฺฤษฺณทรงได้รับเลือกให้เป็นองค์ประธานในที่ประชุม ภีษฺม สนับสนุนองค์กฺฤษฺณ และประกาศว่าองค์กฺฤษฺณคือองค์ภควานฺ ในทำนองเดียวกัน ปาณฺฑว และบุคคลอื่นๆอีกไม่กี่คนทราบว่าองค์กฺฤษฺณคือองค์ภควานฺไม่ใช่ทุกๆคนจะทราบ พระองค์ทรงมิได้เปิดเผยต่อผู้ไม่ใช่สาวกและบุคคลธรรมดาทั่วไป ดังนั้นใน ภควัท-คีตา องค์กฺฤษฺณทรงตรัสว่านอกจากสาวกผู้บริสุทธิ์ของพระองค์แล้วมวลมนุษย์พิจารณาว่าองค์กฺฤษฺณก็เหมือนกับพวกตน พระองค์ทรงปรากฏต่อสาวกในฐานะเป็นแหล่งกำเนิดแห่งความสุขทั้งปวง แต่สำหรับบุคคลอื่นผู้ที่ด้อยปัญญาไม่ใช่สาวกพระองค์ทรงถูกปกคลุมด้วยพลังงานเบื้องสูง

บทมนต์ของพระนาง กุนฺตี ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (1.8.19) ได้กล่าวไว้ว่าองค์ภควานฺทรงถูกปกคุลมด้วยม่านแห่ง โยค-มายา ดังนั้นบุคคลทั่วไปไม่สามารถเข้าใจพระองค์ม่านแห่ง โยค-มายา นี้ได้มีการยืนยันไว้ใน อีโศปนิษทฺ (มนฺตฺร 15) โดยสาวกภาวนาว่า

หิรณฺมเยน ปาเตฺรณ
สตฺยสฺยาปิหิตํ มุขมฺ
ตตฺ ตฺวํ ปูษนฺนฺ อปาวฺฤณุ
สตฺย-ธรฺมาย ทฺฤษฺฏเย
“โอ้ องค์ภควานฺของข้า พระองค์ทรงเป็นผู้ดำรงรักษาจักรวาลทั้งหมดและการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อพระองค์เป็นหลักศาสนาที่สูงสุด ดังนั้นข้าพเจ้าขอสวดภาวนาให้พระองค์ทรงดำรงรักษาข้าพเจ้าไว้เช่นเดียวกัน รูปลักษณ์ทิพย์ของพระองค์ถูกปกคลุมด้วย โยค-มายา รัศมี พฺรหฺม-โชฺยติรฺ คือพลังเบื้องสูงที่ปกคลุมพระองค์ขอให้พระองค์ทรงโปรดกรุณาเคลื่อนย้ายรัศมีอันเจิดจรัสที่บังข้าไม่ให้เห็นรูปลักษณ์ สจฺ-จิทฺ-อานนฺท-วิคฺรห ของพระองค์ซึ่งเป็นอมตะเปี่ยมไปด้วยความปลื้มปีติสุขและความรู้” องค์ภควานฺในรูปลักษณ์ทิพยที่ปลื้มปีติสุขและเปี่ยมความรู้ถูกปกคลุมด้วยพลังงานเบื้องสูงแห่ง พฺรหฺม-โชฺยติรฺ และผู้ด้อยปัญญาที่ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ไม่สามารถเห็นองค์ภควานฺด้วยเหตุนี้

ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (10.14.7) มีบทมนต์โดยพระพรหมเช่นกันดังนี้ “โอ้ องค์ภควานฺ โอ้ องค์อภิวิญญาณ โอ้ ปรมาจารย์แห่งมวลอิทธิฤทธิ์จะมีผู้ใดสามารถคำนวณพลังอำนาจและลีลาของพระองค์ในโลกนี้ได้ พระองค์ทรงแผ่ขยายพลังงานเบื้องสูงของพระองค์ตลอดเวลาจึงไม่มีผู้ใดสามารถเข้าใจพระองค์นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการผู้คงแก่เรียนสามารถตรวจสอบธาตุพื้นฐานของละอองปรมณูในโลกวัตถุหรือแม้แต่ดาวเคราะห์ต่างๆ แต่จะไม่สามารถคำนวณพลังงานและพลังอำนาจของพระองค์ถึงแม้ว่าพระองค์ทรงปรากฏอยู่ต่อหน้าพวกเขา” ศฺรี กฺฤษฺณบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงไม่เพียงแต่ไม่มีการเกิดเท่านั้น แต่ยังทรงเป็น อวฺยย ไม่มีที่สิ้นสุด รูปลักษณ์อมตะแห่งความปลื้มปีติสุขและความรู้ รวมทั้งพลังงานของพระองค์ทั้งหมดทรงไร้ขอบเขตไม่มีที่สิ้นสุด

โศลก 26

vedāhaṁ samatītāni
vartamānāni cārjuna
bhaviṣyāṇi ca bhūtāni
māṁ tu veda na kaścana
เวทาหํ สมตีตานิ
วรฺตมานานิ จารฺชุน
ภวิษฺยาณิ จ ภูตานิ
มำ ตุ เวท น กศฺจน
เวท — รู้, อหมฺ — ข้า, สมตีตานิ — ผ่านไปอย่างสมบูรณ์, วรฺตมานานิ — ปัจจุบัน, — และ, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน, ภวิษฺยาณิ — อนาคต, — เช่นกัน, ภูตานิ — มวลชีวิต, มามฺ — ข้า, ตุ — แต่, เวท — รู้, — ไม่, กศฺจน — ผู้ใด

คำแปล

โอ้ อรฺชุน ในฐานะที่เป็นองค์ภควานฺ ข้ารู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในอดีต ทุกสิ่งทุกอย่างที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน และทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น ข้ายังรู้มวลชีวิต แต่สำหรับตัวข้าไม่มีผู้ใดรู้

คำอธิบาย

ที่นี้คำถามเกี่ยวกับบุคลิกภาพและไร้บุคลิกภาพได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน หากรูปลักษณ์ขององค์ภควานฺ กฺฤษฺณเป็น มายา หรือเป็นวัตถุจริงดังที่พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์พิจารณา พระองค์ก็ทรงเหมือนกับสิ่งมีชีวิตทั่วไปคือ ทรงมีการเปลี่ยนร่างและลืมทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับอดีตชาติ ผู้ใดที่มีร่างวัตถุจะไม่สามารถระลึกถึงหรือจำชาติก่อนได้ ไม่สามารถทำนายชาติในอนาคตของตนเองได้ และก็ไม่สามารถทำนายผลกรรมของตนจากชาตินี้ ดังนั้นจึงไม่สามารถรู้ว่าอะไรได้เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต นอกจากเป็นอิสระหลุดพ้นจากมลทินทางวัตถุ ฉะนั้นจะไม่สามารถรู้อดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้

องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงไม่เหมือนกับมนุษย์ปุถุชนธรรมดา ทรงตรัสอย่างชัดเจนว่าพระองค์ทรงทราบว่าอะไรได้เกิดขึ้นในอดีต อะไรกำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน และอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างสมบูรณ์ ในบทที่สี่เราพบว่าองค์กฺฤษฺณทรงจำได้ว่าทรงสั่งสอนสุริยเทพองค์วิวสฺวานฺ เป็นล้านๆปีในอดีต องค์กฺฤษฺณทรงรู้ทุกๆชีวิตเพราะพระองค์สถิตภายในหัวใจของทุกชีวิตในรูปอภิวิญญาณ แต่ถึงแม้ว่าทรงประทับในทุกชีวิตในรูปอภิวิญญาณ และทรงปรากฏในรูปขององค์ภควานฺ ผู้ด้อยปัญญาแม้สามารถรู้แจ้ง พฺรหฺมนฺ ที่ไร้รูปลักษณ์แต่จะไม่สามารถรู้แจ้งองค์ศฺรี กฺฤษฺณว่าทรงเป็นองค์ภควานฺ แน่นอนว่าร่างทิพย์ของศฺรี กฺฤษฺณไม่มีวันสูญสลาย พระองค์ทรงเหมือนกับดวงอาทิตย์และ มายา เหมือนกับก้อนเมฆ ในโลกวัตถุเราเห็นว่ามีดวงอาทิตย์และมีหมู่เมฆ ดวงดาว และดาวเคราะห์ต่างๆ หมู่เมฆอาจปกคลุมท้องฟ้าทั้งหมดได้ชั่วขณะแต่การปกคลุมเช่นนี้ปรากฏเฉพาะกับสายตาที่มีขีดจำกัดของพวกเราเท่านั้น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่างๆอันที่จริงไม่ถูกปกคลุม ในทำนองเดียวกัน มายา ไม่สามารถปกคลุมองค์ภควานฺได้ด้วยพลังงานเบื้องสูง พระองค์ทรงไม่ปรากฏต่อบุคคลในระดับชั้นปัญญาน้อย ดังที่ได้กล่าวไว้ในโศลกสามของบทนี้ว่าจากจำนวนมนุษย์หลายต่อหลายล้านคน มีบางคนพยายามเพื่อความสมบูรณ์ในชีวิตมนุษย์นี้ และจากหลายพันคนของผู้สมบูรณ์เช่นนี้น้อยคนนักที่จะเข้าใจว่าองค์กฺฤษฺณ คือใคร หากเขามีความสมบูรณ์ด้วยการรู้แจ้ง พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์หรือ ปรมาตฺมา ภายในหัวใจของทุกคน เขาจะไม่สามารถเข้าใจว่าศฺรี กฺฤษฺณคือองค์ภควานฺ หากเขาไม่มาอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 27

icchā-dveṣa-samutthena
dvandva-mohena bhārata
sarva-bhūtāni sammohaṁ
sarge yānti paran-tapa
อิจฺฉา-เทฺวษ-สมุตฺเถน
ทฺวนฺทฺว-โมเหน ภารต
สรฺว-ภูตานิ สมฺโมหํ
สรฺเค ยานฺติ ปรนฺ-ตป
อิจฺฉา — ความปรารถนา, เทฺวษ — และความเกลียด, สมุตฺเถน — เกิดจาก, ทฺวนฺทฺว — สิ่ง คู่, โมเหน — ด้วยความหลง, ภารต — โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ ภรต, สรฺว — ทั้งหมด, ภูตานิ — สิ่งมีชีวิต, สมฺโมหมฺ — อยู่ในความหลง, สรฺเค — ขณะเกิด, ยานฺติ — ไป, ปรมฺ-ตป — โอ้ ผู้กำราบศัตรู

คำแปล

โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ ภรต โอ้ ผู้กำราบศัตรู สิ่งมีชีวิตทั้งหลายเกิดอยู่ในความหลงสับสนอยู่กับสิ่งคู่ ซึ่งเกิดมาจากความต้องการและความเกลียดชัง

คำอธิบาย

สถานภาพพื้นฐานอันแท้จริงของสิ่งมีชีวิตคืออยู่ภายใต้การดูแลขององค์ภควานฺเช่นนี้เท่ากับอยู่ในความรู้ที่บริสุทธิ์ เมื่อหลงผิดแยกออกจากความรู้ที่บริสุทธิ์นี้เขาจะถูกพลังงานแห่งความหลงควบคุมทำให้ไม่เข้าใจองค์ภควานฺ พลังงานแห่งความหลงปรากฏอยู่ในสิ่งคู่เช่นความต้องการและความเกลียดชัง เนื่องมาจากสองสิ่งนี้บุคคลในอวิชชาจึงต้องการกลายมาเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควานฺ และอิจฉาองค์กฺฤษฺณที่เป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า สาวกผู้บริสุทธิ์จะไม่หลงผิดหรือมีมลทินจากความต้องการและความเกลียดชังเช่นนี้จึงสามารถเข้าใจองค์ศฺรี กฺฤษฺณที่ทรงปรากฏด้วยพลังงานเบื้องสูงของพระองค์แต่พวกที่หลงผิดอยู่กับสิ่งคู่และอวิชชาคิดว่าองค์ภควานฺทรงถูกสร้างขึ้นด้วยพลังงานวัตถุ นี่คือความอับโชค บุคคลผู้หลงผิดเหล่านี้มีลักษณะอาการที่อิงอาศัยอยู่ในสิ่งคู่เช่นความเสียเกียรติและความมีเกียรติ ความทุกข์และความสุข เพศหญิงและเพศชาย ความดีและความชั่ว ความยินดีและความเจ็บปวด ฯลฯ คิดว่า “นี่คือภรรยาของข้า นี่คือบ้านของข้า ข้าคือเจ้าแห่งบ้านนี้ ข้าคือสามีของภรรยาคนนี้” สิ่งเหล่านี้คือสิ่งคู่แห่งความหลงผิด พวกที่หลงผิดด้วยสิ่งคู่อยู่ในความโง่อย่างบริบูรณ์ ดังนั้นจึงไม่สามารถเข้าใจองค์ภควานฺ

โศลก 28

yeṣāṁ tv anta-gataṁ pāpaṁ
janānāṁ puṇya-karmaṇām
te dvandva-moha-nirmuktā
bhajante māṁ dṛḍha-vratāḥ
เยษำ ตฺวฺ อนฺต-คตํ ปาปํ
ชนานำ ปุณฺย-กรฺมณามฺ
เต ทฺวนฺทฺว-โมห-นิรฺมุกฺตา
ภชนฺเต มำ ทฺฤฒ-วฺรตาห์
เยษามฺ — เหล่านั้น, ตุ — แต่, อนฺต-คตมฺ — ขจัดไปโดยสิ้นเชิง, ปาปมฺ — ความบาป, ชนานามฺ — ของบุคคล, ปุณฺย — บุญ, กรฺมณามฺ — กิจกรรมในอดีตของพวกเขา, เต — พวกเขา, ทฺวนฺทฺว — ของสิ่งคู่, โมห — หลงผิด, นิรฺมุกฺตาห์ — เป็นอิสระจาก, ภชนฺเต — ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้, มามฺ — ต่อข้า, ทฺฤฒ-วฺรตาห์ — ด้วยความมั่นใจ

คำแปล

บุคคลผู้ทำบุญในชาติก่อนๆและในชาตินี้ ผู้ที่ผลบาปถูกขจัดไปจนหมดสิ้น เป็นอิสระจากสิ่งคู่แห่งความหลงผิด และพวกเขาปฏิบัติตนรับใช้ข้าด้วยความมั่นใจ

คำอธิบาย

พวกที่มีสิทธิ์เพื่อพัฒนาไปสู่สถานภาพทิพย์ได้กล่าวไว้ในโศลกนี้ สำหรับพวกที่มีความบาปไม่เชื่อในองค์ภควานฺโง่เขลาและมีเจตนาหลอกลวงเป็นสิ่งยากมากที่จะข้ามพ้นสิ่งคู่แห่งความต้องการและความเกลียดชัง ผู้ที่ผ่านชีวิตในการฝึกปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนา ผู้ที่ทำบุญ และผู้ที่เอาชนะผลบาปเท่านั้นจึงสามารถรับเอาการอุทิศตนเสียสละรับใช้มาปฏิบัติ และค่อยๆเจริญขึ้นมาสู่ระดับความรู้ที่บริสุทธิ์ขององค์ภควานฺ จากนั้นก็จะค่อยๆทำสมาธิที่พระองค์นั่นคือวิธีการสถิตในระดับทิพย์ การเจริญก้าวหน้าเช่นนี้เป็นไปได้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยการมาคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์ จากการคบหาสมาคมกับสาวกผู้ยิ่งใหญ่สามารถจัดส่งเราให้ออกจากความหลงผิดได้

ได้กล่าวไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (5.5.2) ว่าหากเราต้องการหลุดพ้นจริงๆเราต้องถวายการรับใช้ต่อสาวก (มหตฺ-เสวำ ทฺวารมฺ อาหุรฺ วิมุกฺเตห์) แต่ผู้ที่คบหาสมาคมกับพวกวัตถุนิยมจะอยู่บนวิถีทางที่นำไปสู่ความเป็นอยู่อันมืดมน (ตโม-ทฺวารํ โยษิตำ สงฺคิ-สงฺคมฺ) สาวกทั้งหลายขององค์ภควานฺเดินทางท่องไปบนโลกนี้เพื่อฟื้นฟูพันธวิญญาณจากความหลงผิด ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ไม่รู้ว่าการลืมสถานภาพพื้นฐานเดิมของตนว่าเป็นรององค์ภควานฺเป็นการทำผิดกฎแห่งองค์ภควานฺอย่างร้ายแรง นอกเสียจากว่าจะกลับคืนมาสู่สถานภาพพื้นฐานเดิมของตนมิฉะนั้นก็จะเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจองค์ภควานฺ หรือปฏิบัติตนอย่างสมบูรณ์ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยความรักทิพย์ต่อพระองค์อย่างมุ่งมั่น

โศลก 29

jarā-maraṇa-mokṣāya
mām āśritya yatanti ye
te brahma tad viduḥ kṛtsnam
adhyātmaṁ karma cākhilam
ชรา-มรณ-โมกฺษาย
มามฺ อาศฺริตฺย ยตนฺติ เย
เต พฺรหฺม ตทฺ วิทุห์ กฺฤตฺสฺนมฺ
อธฺยาตฺมํ กรฺม จาขิลมฺ
ชรา — จากความแก่, มรณ — และความตาย, โมกฺษาย — เพื่อจุดมุ่งหมายแห่งความหลุดพ้น, มามฺ — ข้า, อาศฺริตฺย — มาพึ่ง, ยตนฺติ — พยายาม, เย — ทั้งหมดซึ่ง, เต — บุคคลเหล่านี้, พฺรหฺมพฺรหฺมนฺ, ตตฺ — อันที่จริงว่า, วิทุห์ — พวกเราทราบ, กฺฤตฺสฺนมฺ — ทุกสิ่งทุกอย่าง, อธฺยาตฺมมฺ — ทิพย์, กรฺม — กิจกรรม, — เช่นกัน, อขิลมฺ — ทั้งหมด

คำแปล

ผู้มีปัญญาพยายามเพื่อความหลุดพ้นจากความแก่และความตายมาพึ่งข้าในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ พวกนี้คือ พฺรหฺมนฺ โดยแท้จริง เพราะรู้ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับกิจกรรมทิพย์โดยสมบูรณ์

คำอธิบาย

การเกิด การตาย ความแก่ และโรคภัยไข้เจ็บมีผลกระทบต่อร่างวัตถุนี้ แต่จะไม่มีผลกระทบต่อร่างทิพย์ ไม่มีการเกิด การตาย ความแก่ และโรคภัยไข้เจ็บสำหรับร่างทิพย์ ดังนั้นผู้ที่บรรลุถึงร่างทิพย์จะมาอยู่ใกล้ชิดสนิทสนมกับองค์ภควานฺ และปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้นิรันดรจึงเป็นผู้หลุดพ้นที่แท้จริง อหํ พฺรหฺมาสฺมิ ข้าคือดวงวิญญาณ ได้กล่าวไว้ว่าเราควรเข้าใจว่าตัวเราคือ พฺรหฺมนฺ หรือจิตวิญญาณ แนวคิดชีวิต พฺรหฺมนฺ นี้ก็เป็นการอุทิศตนเสียสละรับใช้เช่นเดียวกัน ดังที่อธิบายไว้ในโศลกนี้ว่าสาวกบริสุทธิ์ผู้สถิตในระดับทิพย์แห่ง พฺรหฺมนฺ รู้ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับกิจกรรมทิพย์

สาวกผู้ไม่บริสุทธิ์สี่ประเภทปฏิบัติตนในการรับใช้ทิพย์ต่อองค์ภควานฺจะบรรลุถึงจุดมุ่งหมายของพวกตนตามลำดับด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺ เมื่อมีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์จะได้รับความรื่นเริงอย่างแท้จริงกับการคบหาสมาคมทิพย์กับพระองค์แต่พวกที่บูชาเทวดาจะมาไม่ถึงองค์ภควานฺที่ดาวเคราะห์สูงสุด แม้บุคคลผู้รู้แจ้ง พฺรหฺมนฺ ที่ด้อยปัญญาก็ไม่สามารถมาถึงดาวเคราะห์สูงสุดขององค์กฺฤษฺณ ชื่อ โคโลก วฺฤนฺทาวน บุคคลผู้ปฏิบัติกิจกรรมในกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้น (มามฺ อาศฺริตฺย) สมควรได้ชื่อ พฺรหฺมนฺ อย่างแท้จริง เพราะพยายามเพื่อบรรลุถึง กฺฤษฺณโลก โดยแท้ บุคคลเหล่านี้ไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณ ดังนั้นพวกเขาคือ พฺรหฺมนฺ ที่แท้จริง

พวกที่ปฏิบัติการบูชาพระปฏิมาหรือ อรฺจา ของพระองค์หรือปฏิบัติในการทำสมาธิที่องค์ภควานฺเพียงเพื่อความหลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุได้ชื่อว่าเข้าใจ พฺรหฺมนฺ เช่นเดียวกันด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺ อธิภูต ดังที่องค์ภควานฺจะทรงอธิบายในบทต่อไป

โศลก 30

sādhibhūtādhidaivaṁ māṁ
sādhiyajñaṁ ca ye viduḥ
prayāṇa-kāle ’pi ca māṁ
te vidur yukta-cetasaḥ
สาธิภูตาธิไทวํ มำ
สาธิยชฺญํ จ เย วิทุห์
ปฺรยาณ-กาเล ’ปิ จ มำ
เต วิทุรฺ ยุกฺต-เจตสห์
ส-อธิภูต — และหลักการปกครองแห่งปรากฏการณ์ทางวัตถุ, อธิไทวมฺ — ปกครองเทวดาทั้งหลาย, มามฺ — ข้า, ส-อธิยชฺญมฺ — และปกครองพิธีบูชาทั้งหมด, — เช่นกัน, เย — พวกที่, วิทุห์ — รู้, ปฺรยาณ — ความตาย, กาเล — ขณะที่, อปิ — แม้, — และ, มามฺ — ข้า, เต — พวกเขา, วิทุห์ — รู้, ยุกฺต-เจตสห์ — จิตใจพวกเขาปฏิบัติในข้า

คำแปล

พวกที่มีจิตสำนึกสมบูรณ์ในข้า ผู้รู้จักข้าองค์ภควานฺสูงสุดว่าเป็นหลักในการบริหารปรากฏการณ์ทางวัตถุ บริหารเหล่าเทวดา และพิธีบูชาทั้งหลายสามารถเข้าใจและรู้ถึงข้าบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า แม้ขณะที่ตาย

คำอธิบาย

บุคคลปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่เบี่ยงเบนจากวิถีทางในการเข้าใจบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ด้วยการคบหาสมาคมทิพย์ในกฺฤษฺณจิตสำนึก เขาสามารถเข้าใจว่าองค์ภควานฺทรงเป็นหลักในการบริหารปรากฏการณ์ทางวัตถุ และบริหารแม้เหล่าเทวดาได้อย่างไร จากการคบหาสมาคมทิพย์เช่นนี้เขาค่อยๆมีความมั่นใจต่อองค์ภควานฺ และในขณะตายบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกเช่นนี้จะไม่มีวันลืมองค์กฺฤษฺณ โดยธรรมชาติเขาจะได้รับการส่งเสริมไปยังดาวเคราะห์ขององค์ภควานฺ โคโลก วฺฤนฺทาวน

บทที่เจ็ดนี้อธิบายว่าเราสามารถจะมีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ได้อย่างไร จุดเริ่มต้นของกฺฤษฺณจิตสำนึกคือการมาคบหาสมาคมกับบุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึก การคบหาสมาคมเช่นนี้เป็นทิพย์จะทำให้เราไปสัมผัสกับองค์ภควานฺโดยตรง และด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺเราสามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณว่าทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ในขณะเดียวกันเราสามารถเข้าใจสถานภาพพื้นฐานอันแท้จริงของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตลืมองค์กฺฤษฺณและมาถูกกิจกรรมทางวัตถุพันธนาการได้อย่างไร จากการค่อยๆพัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยการคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร สิ่งมีชีวิตสามารถเข้าใจว่าเนื่องจากลืมองค์กฺฤษฺณเราจึงมาอยู่ในสภาวะตามกฎแห่งธรรมชาติวัตถุ และยังเข้าใจอีกว่าชีวิตในร่างวัตถุนี้เป็นโอกาสที่จะเรียกกฺฤษฺณจิตสำนึกกลับคืนมา จึงควรใช้สอยประโยชน์อย่างเต็มที่เพื่อให้ได้รับพระเมตตาอันหาที่สุดมิได้จากองค์ภควานฺ

ได้สนทนากันหลายประเด็นในบทนี้ เช่น บุคคลผู้อยู่ในความทุกข์ บุคคลผู้ชอบถาม บุคคลผู้ต้องการสิ่งจำเป็นทางวัตถุ ความรู้แห่ง พฺรหฺมนฺ ความรู้แห่ง ปรมาตฺมา ความหลุดพ้นจากการเกิด การตาย และโรคภัยไข้เจ็บ และการบูชาองค์ภควานฺ อย่างไรก็ดีผู้ที่พัฒนาในกฺฤษฺณจิตสำนึกจริงๆจะไม่สนใจกับวิธีต่างๆเหล่านี้ เขาเพียงแต่ปฏิบัติตนในกิจกรรมของกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรงและบรรลุถึงสถานภาพพื้นฐานอันแท้จริงของตนเองว่าเป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์ศฺรี กฺฤษฺณ ในสภาวะเช่นนี้เขาจะมีความยินดีในการสดับฟังและสรรเสริญองค์ภควานฺในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยความบริสุทธิ์ และมั่นใจว่าจากการกระทำเช่นนี้จุดมุ่งหมายทั้งหมดของเขาจะบรรลุผลสำเร็จ ความศรัทธาอันแรงกล้าเช่นนี้เรียกว่า ทฺฤฒ-วฺรต ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ ภกฺติ-โย หรือการรับใช้ทิพย์ด้วยความรัก นี่คือข้อสรุปของพระคัมภีร์ทั้งหลาย บทที่เจ็ดของ ภควัท-คีตา เป็นเนื้อหาสาระแห่งความมุ่งมั่นนี้

ดังนั้นได้จบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่เจ็ด ของหนังสือ ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา ในหัวข้อเรื่อง ความรู้แห่งสัจธรรม